ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
ตอนที่ ๓๘๗
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ฟัง ใส ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงใส อย่างที่เรา
ท่านอาจารย์ ใสคือภาวะที่สามารถกระทบ ผ่านกระจกเงาเห็นอะไร เวลาผ่านที่ไม่ใช่กระจกเห็นอะไรไหม เพราะไม่สามารถจะกระทบกับรูปนั้นได้ ถ้ามีใครที่มาตีเรา โกรธไหม โกรธใคร โกรธคนตี ถ้าเราไม่มีกรรมที่จะเป็นปัจจัยให้กายวิญญาณจิตเกิด ใครจะทำอะไรได้ไหม หกล้มเองได้ไหม อยู่ดีๆ ก็ป่วยไข้ เป็นมะเร็ง เป็นอะไรได้ไหม ใครมาทำให้ ถ้าเป็นวิบากแล้วต้องเกิดจากกรรมเป็นปัจจัยทั้งหมด วิบากจิตต้องมีกรรมเป็นปัจจัย กรรมที่ได้กระทำแล้วของตนเอง
ผู้ฟัง คำถามเมื่อกี้อันสุดท้าย จักขุอะไร หมายความว่าอะไร อยากจะขอความกรุณาอธิบาย
ท่านอาจารย์ จักขุปสาทอยู่ตรงนี้ โสตปสาทอยู่ตรงนี้ ฆานปสาทอยู่ตรงนี้ ชิวหาปสาทอยู่ตรงนี้ กายปสาทซึมซาบตัว มันก็ต้องมีที่หนึ่งที่จิตเกิด ที่ไม่ใช่ปสาท ๕ ใช้คำว่าหทยวัตถุ ตอนที่เกิดในครรภ์ขณะแรกที่จิตเกิดขึ้น มีรูปเกิดด้วย เพราะเหตุว่ากรรมเป็นปัจจัยให้วิบากจิตทำกิจปฏิสนธิ ที่เกิดมาแต่ละคนเป็นผลของกรรม แต่ไม่ใช่ตัวเราทั้งตัวหรือจิตทั้งหมด เป็นจิตที่เป็นผลของกรรม ขณะแรกทำกิจเกิดขึ้นสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ถ้าไม่ได้เคยทำกรรมที่จะทำให้เป็นคนนี้ จะเป็นคนนี้ไม่ได้เลย เราต่างกันมาก เพราะว่ากรรมของเราวิจิตรมาก รูปร่างหน้าตาก็ต่างกัน นิสัยใจคอแต่ละขณะก็สะสมมาต่างกัน เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตเป็นวิบาก เป็นจิตที่เป็นผล เมื่อกี้นี้เราพูดเรื่องจิต ๔ ชาติแล้ว ใช่ไหม กุศล อกุศลเป็นเหตุ วิบากเป็นผล กิริยาก็ไม่ใช่ทั้งกุศล อกุศล วิบาก
ปฏิสนธิจิตคือจิตขณะแรกที่เกิด ไม่มีใครเลือกได้เลย แล้วแต่ว่ากรรมไหนจะให้ผล ทำให้ปฏิสนธิจิตประเภทนั้นเกิดขึ้นสืบต่อจากจุติจิต คือ จิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน มดไม่ได้อยากเกิดเป็นมดเลย ช้างก็ไม่ได้อยากเกิดเป็นช้าง แล้วทำไมเกิดเป็นมด ทำไมเกิดเป็นช้าง แล้วแต่กรรมซึ่งเลือกไม่ได้ จะเป็นผีเสื้อ จะเป็นนก จะเป็นคน ก็แล้วแต่กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิเกิดขึ้นเป็นบุคคลนั้น ในขณะที่กรรมทำให้เกิดในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จะมีปฏิสนธิซึ่งเป็นวิบากจิตเกิด พร้อมเจตสิกหรือเปล่า พร้อม เพราะฉะนั้น กรรมทำให้ทั้งจิต และเจตสิกที่เป็นวิบากเกิด พร้อมกับกัมมัชรูป รูปที่เกิดเพราะกรรม ซึ่งขณะนั้นเป็นที่เกิดของปฏิสนธิจิต เป็นหทยวัตถุ
เพราะฉะนั้น ถามว่าหทยวัตถุคืออะไรเมื่อไร คือที่เกิดของจิตตั้งแต่ปฏิสนธิ แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมีร่างกาย หทัยวัตถุก็แสดงไว้ว่าอยู่ตรงกลางหัวใจ แต่ว่าเราต้องคิดไปถึงตอนเกิดด้วย ตอนนั้นไม่มีหัวใจเลย แต่ก็มีรูปซึ่งกรรมเป็นปัจจัย ทำให้จิตเกิดที่รูปนั้น แล้วก็ไม่ใช่แต่เฉพาะรูปกลุ่มนั้น ซึ่งเป็นที่เกิด ยังมีกลุ่มอื่นเกิดร่วมด้วย แต่ละภพภูมิก็ต่างกัน
ผู้ฟัง หทยวัตถุทำหน้าที่รู้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ วัตถุเป็นรูป รูปจะรู้อะไรได้ เมื่อเป็นรูป
ผู้ฟัง ไม่รู้ เป็นที่เกิดของตัวรู้
ท่านอาจารย์ ของจิต และเจตสิก
ผู้ฟัง มีชาวต่างชาติถามว่า ต้นไม้บางชนิดแตะแล้วมีสัมผัส นอนหลับก็ได้ อย่างเช่นต้นไมยราพ อะไรอย่างนี้ มีลักษณะที่มีจิตไหม
ผู้ฟัง จิต คือ สภาพที่รู้อารมณ์ จิต และเจตสิกเป็นนามธรรม ต้นไม้เป็นรูปปรมัตถ์ หรือเป็นรูปธรรมอย่างเดียว ต้นไม้ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส เพราะฉะนั้น ต้นไม้ไม่มีจิต และเจตสิก
ท่านอาจารย์ ที่เกิดของจิต อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง เกิดเมื่อรู้
ท่านอาจารย์ ทั่วตัว ที่เมื่อกี้นี้สงสัยก็เรื่องหทยวัตถุ เวลาที่กระทบที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของกาย จิตอะไรเกิด
ผู้ฟัง เรียกไม่เป็น กายวิญญาณหรือ
ท่านอาจารย์ วิญญาณคืออีกคำหนึ่งของจิต และกายก็คือกาย เพราะฉะนั้น จิตที่รู้ทางกายคือกายวิญญาณ กระทบตรงไหน มันก็กายวิญญาณ เพราะฉะนั้น ตรงที่กายวิญญาณกำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางกาย คือที่เกิดของกายวิญญาณ เพราะฉะนั้น นอกจากนี้ไป ตรงนั้นก็เป็นที่เกิดของจิต นอกจากวัตถุ ๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของ ๕ วิญญาณ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ รวมเป็น ๑๐ จิตที่เหลือทั้งหมดเกิดที่อื่น ที่ไม่ใช่พวกนี้ พอกระทบตรงไหนกายวิญญาณ กายวิญญาณหมด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หทยวัตถุ เพราะว่าเป็นกายวิญญาณที่กำลังรู้ เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเกิดที่กายวิญญาณ เราจะรู้กายปสาทได้ไหม
ผู้ฟัง รู้ไม่ได้เลย
ท่านอาจารย์ แต่ตรงนั้นมีกายปสาท และจิตก็เกิดตรงนั้นเป็นกายวัตถุ โดยความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า จิตที่ชอบไม่ชอบ ในสิ่งที่กระทบกาย ไม่ใช่สุขหรือทุกข์ แต่ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่กระทบกาย เกิดที่ไหน
ผู้ฟัง หทยวัตถุ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ก็แปลว่าเข้าใจแล้วถึงที่เกิดของจิตว่า แยกกันอย่างไร กำลังโกรธ จิตที่โกรธเกิดที่ไหน
ผู้ฟัง หทยวัตถุ
ท่านอาจารย์ ประจำไหม ทุกอย่างอยู่ที่ตัว แต่ไม่รู้เลยว่า ไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรม แต่ละอย่างๆ
ผู้ฟัง ที่อาจารย์ถามว่า เมื่อกายวิญญาณเกิด รู้กายปสาท ก็บอกไม่รู้ ก็หมายถึงว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมทั้งหมดก็อยู่ที่ปัญญาแต่ละบุคคล ที่จะรู้ รู้ได้แค่ไหน
ท่านอาจารย์ แน่นอน แสดงหมด ๔๕ พรรษา เป็นพระไตรปิฎก ใครรู้ทั่ว พระปัญญาที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา เพราะฉะนั้น จะมีใครที่รู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงอย่างนั้นไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ที่ปัญญาของแต่ละบุคคลจะรู้ได้
ผู้ฟัง ปัญญาของแต่ละคนจะต่างกันไหม อย่างพระโสดาบัน
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่อย่างนั้นพระโสดาบันก็เหมือนของท่านพระสารีบุตร
ผู้ฟัง หมายความถึงผู้ที่มีปัญญาถึงระดับ
ท่านอาจารย์ ปัญญาของพระอรหันต์ ต่างกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตามความเข้าใจในขณะนี้ ต่างกัน
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องพูดถึงพระโสดาบัน
ผู้ฟัง ต่างกันนี้หมายถึง ทำความเข้าใจใหม่ ต่างกันนี้หมายถึงว่า รู้ทั่ว ใช่ไหม รู้สภาพธรรม รู้ละเอียด
ท่านอาจารย์ พระอริยบุคคลทั้งหมดต้องรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่ปัญญาของใครจะรู้อะไรเท่าไร เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ต้องรู้แจ้งอริยสัจธรรม
ผู้ฟัง รู้แจ้งอริยสัจธรรมก็สิ้นสุดแค่นั้นเอง
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นอริยสัจธรรม
ผู้ฟัง ก็ปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ผู้ฟัง ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค แล้วที่ว่าต่างกัน ต่างกันอย่างไร ที่ว่าอย่างพระอรหนัต์
ท่านอาจารย์ พระโมคคัลลานะกับท่านพระสารีบุตร ปัญญาของท่านพระโมคคัลลานะเท่าของพระสารีบุตรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เท่า
ท่านอาจารย์ นี่คือต่าง
ผู้ฟัง ชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้ เราจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติหรือศึกษาไหม อย่างไร
ท่านอาจารย์ แล้วปฏิบัติกับศึกษา เหมือนกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ปฏิบัติกับศึกษาไม่เหมือนกัน ศึกษาคือการเรียนรู้
ท่านอาจารย์ แล้วปฏิบัติคืออะไร
ผู้ฟัง คือการที่นำสติออกมาพิจารณาหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ นำสติจากไหน
ผู้ฟัง นี่แหละ คือสิ่งที่ไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ตั้งต้นใหม่เลย ได้ยินได้ฟังอะไร พิจารณาจนเป็นความเข้าใจของเราเอง แล้วก็พิจารณาว่า ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือเปล่า อย่าใช้คำที่ ตามๆ กันมา แต่ว่าเรายังไม่ได้เข้าใจ ถ้าเรายังไม่เข้าใจตราบใดก็หมายความว่า เราอย่าไปใช้คำที่เราไม่เข้าใจ ถ้าใช้ไปโดยที่ไม่เข้าใจแล้วจะมีประโยชน์อะไร ทั้งเรา และเขา เราเองผู้พูดก็ไม่เข้าใจ คนฟังก็ไม่เข้าใจ แล้วประโยชน์อะไรที่จะพูดสิ่งที่ทั้ง ๒ คน ไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ขอรบกวนท่านอาจารย์ช่วยแนะนำว่า อย่างเราดำเนินอยู่ปกติ เราควรจะ
ท่านอาจารย์ เป็นปกติต่อไป แล้วก็ศึกษา
ผู้ฟัง เราต้องมานั่งแยกไหมว่า นี่คือจิต นี่คือเจตสิก นี่คือแต่ละดวง แต่ละดวงอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ทำอย่างไรนั่งแยก
ผู้ฟัง คิดนะ
ท่านอาจารย์ คิดแล้วเราจะเข้าใจไหม ถ้าเราจะไปนั่งแยก เราจะเข้าใจไหม
ผู้ฟัง ก็ต้องอาศัยการศึกษาไปด้วย
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจ ปัญญาคือเข้าใจ ถ้าไม่เริ่มจากความเข้าใจ ปัญญาก็เจริญไม่ได้ ความเข้าใจยิ่งขึ้นก็มีไม่ได้
ผู้ฟัง แล้วอีกอย่างหนึ่ง กรรมฐาน มีความจำเป็นควบคู่กับวิปัสสนากรรมฐาน คืออย่างนี้ คือ หมายความว่าเราจำเป็นที่จะต้องฝึกปฏิบัติสมาธิ ประกอบกับการศึกษาเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีด้วย
ท่านอาจารย์ มีคำหลายคำ ก็ขอถามว่า วิปัสสนาคืออะไร
ผู้ฟัง ตามความเข้าใจของผมก็คือ การรู้แจ้งถึงสภาวะตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ นี่มีภาวะตามความเป็นจริงไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้แจ้งสภาพที่เป็นจริงนี้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง ก็ต้องศึกษาก่อน
ท่านอาจารย์ จบที่ตรงนี้ ใช่ไหม คือต้องศึกษาให้เข้าใจ แล้วสมถะ คืออะไร
ผู้ฟัง คือการตั้งจิตไว้ในสมาธิ
ท่านอาจารย์ ใครตั้ง ตั้งกับเข้าใจ อะไรถูก
ผู้ฟัง น่าจะเป็นเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะตั้งไม่ได้ใช่ไหม เมื่อจิตมีปัจจัยก็เกิดแล้วก็ดับ
ผู้ฟัง แต่ก็ควรที่จะปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ ปฏิบัติอะไร
ผู้ฟัง สมาธิ
ส . สมาธิคืออะไรอีก ต้องเข้าใจทั้งหมด เราอย่าพูดอะไรที่เราไม่เข้าใจ มันไม่มีประโยชน์เลย พูดแล้วไม่เข้าใจ พูดไปก็ไม่เข้าใจ ปฏิบัติสมาธิก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เอาใหม่ สมาธิคืออะไร
ผู้ฟัง ถ้าตอบไปก็กลัวจะตอบผิด
ท่านอาจารย์ ไม่สำคัญเรื่องตอบผิดหรือถูก ตามสภาพนั้นจริงๆ ไม่ใช่ว่าใครเป็นคนถูก ใครเป็นคนผิด แต่เราต้องเข้าใจว่าเรากำลังพูดถึงสภาพธรรมนั้นถูกต้องหรือเปล่าในความคิดความเข้าใจของเรา เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการสนทนาธรรม เพื่อที่จะได้ฟังความคิดความเห็นว่า เข้าใจอย่างไรมาก่อน แล้วก็มีความรู้ความเข้าใจถูกผิดแค่ไหน ไม่อย่างนั้นเราก็สนทนากันคนละเรื่อง คนนี้พูดเรื่องสมาธิอย่างนี้ อีกคนก็ยังไม่รู้เรื่องสมาธิอะไรเลย ก็ต่างคนก็ต่างพูด เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นที่จะพูดเรื่องอะไรก็ตาม คืออะไร เพื่อความชัดเจนที่เราจะได้ยอมรับว่า ถูกต้องหรือเปล่า เมื่อเห็นด้วยถูกต้องก็เป็นเรื่องเดียวกันที่จะสนทนาต่อไป เพราะฉะนั้น สมาธิคืออะไร
ผู้ฟัง สมาธิ คือจิตเป็น ๑ เดียวไม่วอกแวกคิดไปเรื่องอื่นๆ
ท่านอาจารย์ เป็นกุศล หรืออกุศล
ผู้ฟัง อยู่ที่เรื่องที่เราคิด
ท่านอาจารย์ กำลังจะเดินข้ามสะพานไม้ไผ่เล็กๆ จิตแน่วแน่หรือเปล่า ไม่วอกแวก หรือเปล่า วอกแวกก็ตกน้ำแน่ ใช่ไหม ขณะนั้นเป็นสมาธิ ใช่ไหม เป็นกุศลหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่แน่ใจ
ท่านอาจารย์ สิ่งที่เราไม่แน่ใจ เราจะปฏิบัติไหม เพราะเราพูดถึงสมาธิว่าตั้งมั่นไม่วอกแวก เป็น ๑ เดียว ขณะนั้นก็เป็น ๑ เดียวไม่วอกแวก เพราะฉะนั้น เรายังไม่เข้าใจอะไรเลย แต่เราจะปฏิบัติ มันไม่ถูกต้อง ต้องมีความเข้าใจถูกต้องว่า มันคืออะไร อะไรคืออะไรก่อน สมาธิ เมื่อกี้เราพูดถึง สภาพธรรมที่มีจริงๆ สมาธิมีจริงๆ หรือเปล่า สภาพที่ตั้งมั่น ไม่วอกแวก สภาพนั้นมีจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ มี สภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นปรมัตถธรรม มีเท่าไร เมื่อกี้นี้ที่ฟังมา
ผู้ฟัง ๔ อย่าง
ท่านอาจารย์ ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ท่านอาจารย์ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เมื่อสมาธิมีจริง สมาธิเป็นอะไร เป็นปรมัตถธรรมอะไร มีแค่ ๔ สมาธิจะเป็นอะไร นี่คือปัญญาของเราเอง ไม่ใช่ปัญญาที่ฟังมารับมา เชื่อไป แต่ต้องเป็นปัญญาของเราเองจริงๆ ไตร่ตรอง เพราะฉะนั้น สมาธิจะเป็นปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง เป็นจิตหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ อย่างเสียง เสียงที่กำลังปรากฏ จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะของเสียง เพราะฉะนั้น สัญญาที่เกิดจากจิตก็จำเสียงที่จิตรู้แจ้ง พอจิตรู้แจ้งอีกเสียงหนึ่ง สัญญาก็จำเสียงที่จิตกำลังรู้แจ้งอีกเสียงหนึ่ง ด้วยการที่เป็นสภาพที่รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏต่างกัน สัญญาก็จำได้ว่าไม่ใช่เสียงเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตเมื่อไรก็คือเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ คือสิ่งที่จิตกำลังรู้ นั่นเป็นหน้าที่ของจิต บางครั้งจะใช้คำว่านามธรรม ๕๓ คือ เจตสิก ๕๒ จิต ๑ เพราะว่าลักษณะของเจตสิกแต่ละอย่างไม่ปะปนกัน ซึ่งลักษณะของจิตก็ไม่ได้ปะปนกับเจตสิกใดทั้งสิ้น เพราะเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่จิต สมาธิเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นรูปมัง
ท่านอาจารย์ รูปไม่รู้อะไรเลย กำลังแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดจะเป็นรูปได้ไหม
ผู้ฟัง คงเหลือเจตสิก
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่อันนี้เราคาดคะเนตามจำนวน เมื่อไม่ใช่อันนี้ ไม่ใช่อันนี้ ก็เป็นอันนี้ แต่จริงๆ แล้วไม่ควรเป็นอย่างนั้น ควรจะมีความมั่นคงว่า รูปคือสภาพธรรมที่มีจริง แม้มองไม่เห็น แต่เมื่อไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ สภาพนั้นเป็นรูป กลิ่นเป็นปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง เป็นรูป
ท่านอาจารย์ มองเห็นไหม
ผู้ฟัง มองด้วยตาไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ไม่เห็น ไม่เห็นกลิ่น แต่กลิ่นมี คำตอบเดียวไม่เปลี่ยนเลย เพราะกลิ่นไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ไม่ใช่สภาพรู้ กลิ่นหิวไหม กลิ่นเสียใจไหม กลิ่นจำอะไรได้หรือเปล่า ไม่มีเลย เกิดขึ้นเป็นกลิ่นปรากฏ ประกาศว่าอยู่ตรงไหน ที่ดอกไม้ หรือที่ดอกจำปี หรือว่าอยู่ในครัว หรืออะไร นั่นคือลักษณะของกลิ่น เป็นรูป เป็นสภาพที่ปรากฏเมื่อกระทบกับจมูก คือฆานปสาท
เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะเข้าใจ แม้แต่คำว่า นามธรรมกับรูปธรรม ต้องเป็นความเข้าใจของเราเอง ไม่ใช่พออ่านหนังสือ ตำราบอกก็เลยจำไว้ แต่ต้องมีเหตุผล เพราะฉะนั้น สมาธิไม่ใช่รูป เมื่อกี้นี้ ไม่ใช่โดยคาดคะเน แต่รูปไม่ใช่สภาพรู้ แต่ลักษณะที่กำลังจดจ้อง ตั้งมั่นที่อารมณ์หนึ่ง สิ่งที่ปรากฏขณะนั้นเป็นลักษณะของสมาธิ
เพราะฉะนั้น สมาธิเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้ เกิดกับวิบากจิตก็ยังได้ เกิดกับกิริยาจิตก็ได้ เพราะจริงๆ แล้วที่ราใช้คำว่าสมาธิ ได้แก่เจตสิกประเภทหนึ่งซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า เอกัคคตาเจตสิก เอ กะ หรือเอก คือ ๑ เป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง เกิดกับจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้น จิตแต่ละขณะจะรู้เพียงอารมณ์เดียว ที่สมาธิ คือสภาพของที่เจตสิกนั้นกำลังตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์นั้น ไม่ไปรู้อารมณ์อื่น
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ แล้วทำสมาธิได้ แต่เป็นอกุศล เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจอะไรเลย แต่ทำก็ต้องเป็นอกุศล เป็นกุศลไม่ได้ แล้วจะทำไหม นี่ก็เป็นเรื่องซึ่งเราจะรู้จักอัธยาศัยของเราเองว่า การฟังพระธรรมเพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจถูก เห็นถูก ถ้าเรายังไม่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะไหนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล ก็ไม่รู้ว่าที่เรากำลังทำเป็นกุศลหรืออกุศล เราก็หลงทำสิ่งที่เป็นอกุศล แล้วอกุศลมีประโยชน์อะไร
ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ต่อจากเมื่อกี้นี้ ถ้าเป็นลักษณะที่เขาพูดถึงว่าการปฏิบัติ หมายความว่าเราจะต้องเข้าใจในขั้นการฟัง คือฟังให้เข้าใจก่อน แล้วถึงจะเก็บมาพิจารณา เป็นการไตร่ตรอง ประมวลความคิด อย่างนี้จะถูกไหม
ท่านอาจารย์ ถูกระดับของภาษาที่ใช้ ตามความเข้าใจในขั้นนั้น แต่จริงๆ ถ้าเข้าใจว่าสภาพธรรมทั้งหมดเกิดเพราะเหตุปัจจัย เห็นนี้เกิดแล้วดับแล้ว แม้ความเข้าใจก็เกิดแล้วดับแล้ว แต่ว่าจิตขณะต่อไปสืบต่อ
ความเข้าใจจากครั้งแรกๆ ก็สืบต่อทำให้เมื่อเกิดอีก ก็เข้าใจอีก และก็เพิ่มอีกได้ แต่ไม่ได้ไปเก็บ เห็นไหม นี่แม้แต่ความเข้าใจเราจะต้องรู้ว่า ที่เราใช้คำแต่ละคำ ส่องไปถึงความเข้าใจของเราว่า ระดับไหน อะไรยังคั่งค้างหลงเหลืออยู่กับเรา ที่ยังเป็นตัวตนที่เก็บมา เอามา หรืออะไรอย่างนี้ ไม่มีใครเก็บอะไรมาได้ หรือเอาอะไรมาได้เลย แต่การสืบต่อของจิตจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง สิ่งทั้งหมดในชีวิตไม่ได้สูญหายไปไหนเลย เพราะว่าสืบต่อจากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง
ผู้ฟัง สืบเนื่องมากจากที่เมื่อกี้น้องได้สนทนากับท่านอาจารย์ถึงเรื่องการปฏิบัติ ซึ่งจริงๆ ก็จะให้กำลังใจว่า ถ้าหากเราได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะเป็นหนทางในการที่ให้เราปฏิบัติถูกต้อง เพราะว่าปัญญา ท่านอาจารย์ก็เน้นให้เราเข้าใจอยู่เสมอว่า ปัญญาเป็นความรู้ถูกในสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ ถ้าเราไม่ได้ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงโดยเฉพาะเรื่องของสภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ซึ่งเราก็พิจารณาได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อไถ่ถอนความเห็นผิดที่ยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเริ่มจากการฟังก่อน เพราะว่าอย่างคำพูดที่เราใช้ไม่ตรงกับสภาพธรรมที่เป็นจริงเลย อันนี้จะเห็นว่าเราไม่เคยได้ฟังพระธรรม ทำให้เรามีความเข้าใจคลาดเคลื่อน แม้แต่ภาษาที่เรานำมาใช้ อย่างเช่นเรื่องของสติก็ตาม หรือว่าที่เมื่อกี้นี้น้องพูดถึงตั้งมั่นอะไรก็ตาม ซึ่งถ้าโดยสภาพธรรมแล้ว ถ้าหมายถึงเจตสิกอะไรก็ต้องเกิดจากจิตว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัยปรุงแต่งด้วย เพราะฉะนั้น เราจะไม่สามารถทำได้เลย สำหรับสภาพธรรม ต่างๆ ที่ต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าเรามีความเข้าใจถูกในเรื่องหนทางปฏิบัติ นั่นก็คือต้องเริ่มจากการฟังพระธรรม ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงโดยเฉพาะสภาพธรรมที่มีกับเราในชีวิตประจำวัน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ซึ่งท่านก็แสดงไว้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจิต เจตสิก เรื่องของอารมณ์ ที่เราสนทนากัน วันนี้ เรื่องของวัตถุ ที่เกิดของจิต ซึ่งก็เป็นปัจจัยเกื้อกูลให้เรามีความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน แล้วก็เป็นหนทางในการอบรมปัญญา เพราะว่าปัญญาเป็นความเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งก็จะเห็นถึงความที่แตกต่างกันระหว่างสภาพธรรม แต่ละทาง เห็นความเป็นจิต และเจตสิก ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นเราที่เห็น หรือเราได้ยิน แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง ก็เลยจะให้กำลังใจว่า จริงๆ แล้วเราก็ควรจะต้องเริ่มจากการศึกษา ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมดก่อน ที่จะเกื้อกูลต่อการที่จะปฏิบัติถูก ถึงแม้แต่คำว่าปฏิบัติก็ตาม เราจะใช้ในภาษาไทยว่าทำ ซึ่งก็ไม่ตรงกับภาษาบาลีที่ท่านทรงแสดงไว้ เพราะว่าถ้าเป็นสภาพธรรม แล้วจะต้องเป็นเรื่องของการอบรมปัญญา ที่จะถึงเฉพาะลักษณะสภาพธรรมที่มีจริง คือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน นั่นเอง
ผู้ฟัง เมื่อตอนช่วงกลางที่เราสนทนากัน มันมีอยู่ประโยคหนึ่ง อาจารย์บอกว่า ควรจะศึกษาตามลำดับขั้น ทีนี้ผมก็กลัวว่า เอะ จะไปจับตรงจุดปลาย ตรงกลางชนกันไปหมด
ท่านอาจารย์ ถ้าได้ยินคำที่เราไม่รู้จัก หรือไม่เข้าใจ ปฏิจสมุปบาท อริยสัจ หรืออะไร อย่าเพิ่งคิดว่า เราเข้าใจแล้ว แต่เราเข้าใจไหม คำว่าธรรมหรือยัง นามธรรม รูปธรรมเข้าใจหรือยัง ต้องเป็นไปตามลำดับ ถ้ายังไม่เข้าใจพวกนี้เลย แล้วเราจะรู้ไหม อริยสัจธรรมคืออะไร อริยสัจที่ ๑ คืออะไร ตามโรงเรียน เข้าโรงเรียนก็บอกว่า ทุกข์ และอะไรล่ะเป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้มีหรือเปล่า ธรรมเป็นสิ่งซึ่งมีประจำ ไม่ว่าจะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไม่มี ถึงกาลที่ว่างพระศาสนา ธรรมก็ยังคงเป็นธรรม นามธรรมมีปัจจัยก็เกิดขึ้น รูปธรรมก็มีปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีใครไปทำอะไรได้เลยทั้งสิ้น แต่ว่าสามารถจะมีผู้ที่เข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้น จากการที่อบรมพระบารมีที่จะทรงตรัสรู้ ไม่ใช่เพียงเพื่อพระองค์ผู้เดียว แต่เพื่อที่จะทรงอนุเคราะห์บุคคลอื่นให้เข้าใจถูกด้วย ไม่อย่างนั้น ๒,๕๐๐ กว่าปี เราจะเอาอะไรมา ถ้าไม่มีคำสอนซึ่งพระอรหนัต์ทั้งหลายท่านก็ทรงจำสืบทอดกันมา แต่ว่าต้องเป็นผู้ที่ละเอียดรอบครอบ แล้วก็ต้องรู้ว่า ต้องเป็นความเข้าใจของเราที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเราจะเข้าโรงเรียน เราฟัง ถ้าเราไม่เข้าใจ สอบตกแน่เลย ไม่รู้อะไรเลย ใช่ไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420