ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
ตอนที่ ๓๖๓
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๙
ผู้ฟัง อยากจะถามว่า ถ้าเกิดว่า เอาตั้งคำว่าโกรธก่อน ถ้าเผื่อบางทีเรามีสติ ร้อยเปอร์เซนต์ เราเชื่อ ทุกคนก็รู้ แต่ว่าถ้าเผื่อเราขาดสติ เราโมโหปุ๊บเดียว เสี้ยววินาที เราโมโหปุ๊บ เราไม่อยากทำ แต่โมโหไปแล้ว ทุกอย่างมันเกิดขึ้นแล้ว เราขาดสติ มันก็สับสน
ท่านอาจารย์ ตอนไม่ขาด เป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ตอนไม่ขาด เราก็ว่า สติดี
ท่านอาจารย์ ตอนไหนที่เป็นสติดี
ผู้ฟัง ตอนที่เราไม่โกรธ เรามีใจกลางๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ถ้าไม่โกรธก็โลภได้ ถ้าไม่โลภก็โกรธได้ แล้วตอนไหนเป็นตอนที่สติดี
ผู้ฟัง ก็ตอบไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็ทิ้งไปเลย
ผู้ฟัง ทิ้งไปเลย ไม่ต้องสนใจ
ท่านอาจารย์ อย่าใช้ คำว่า สติดีอีก เวลานี้ไม่อยากจะให้ไปฟังคำ หรือไปคิดเรื่องอะไรให้วุ่นวาย แต่ให้เข้าใจตอนที่ฟังว่า สภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แค่นี้รับฟังไว้ก่อน จริงไหม สภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วสิ่งที่มีจริงมี ๒ อย่างที่ต่างกัน ค่อยๆ ไปตามลำดับ นามธรรมกับรูปธรรม ต้องแยกกันได้ โดยที่จะแยกกันก็คือว่า ต้องมีความมั่นใจว่า รูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้อะไรเลยทั้งสิ้น รู้อะไรไม่ได้เลย รูปตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ไม่ว่าจะมีลักษณะที่เรามองเห็นเป็นตา เป็นหู เป็นจมูก เป็นลิ้น เป็นตับ เป็นปอด อะไรก็ตาม แต่เราเรียกสิ่งที่ปรากฏ แต่สิ่งนั้นไม่รู้อะไร รูปธรรมทั้งหมดไม่ใช่สภาพรู้
ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เหมือนแข็ง หรืออ่อนข้างนอก คือธาตุดินเหมือนกัน เสมอกัน แต่ว่าเมื่อเกิดตรงนี้ เราก็ถือว่า ของเรา แต่ความจริงรูปไม่ใช่ของใครเลย รูปมีลักษณะเกิดขึ้นแข็งแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นเป็นกลิ่น แล้วก็ดับไป เกิดขึ้นเป็นรสแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ให้เห็นความไม่มีเจ้าของของรูปธรรม และนามธรรมว่า เป็นสภาพธรรมที่เพียงมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป แต่ว่าก่อนนั้น ที่เราจะไปพูดเรื่องสติ หรือเรื่องปัญญาขั้นใดก็ตาม ต้องมีความรู้ที่ชัดเจนในลักษณะของสภาพธรรมขั้นฟัง เพื่อที่จะได้เป็นสัญญา ความจำ ความเข้าใจที่มั่นคง ที่เป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งให้ มีการระลึกรู้ ที่เราใช้คำว่า สติ เป็นสภาพที่ระลึกได้ เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ให้ถูกต้องตามที่ได้เคยเข้าใจขั้นการฟัง
ขั้นต้น รูปกับนามต้องแยกจากกัน แล้วตอนนี้ก็กำลังถามซ้ำไปซ้ำมาเพื่อที่จะให้มั่นใจ จริงๆ ว่า มีรูปอะไรบ้าง ซึ่งเข้าใจแล้วว่า เป็นรูป เพราะรูปมีมาก เพราะกลิ่นเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
ผู้ฟัง เป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นมหาภูตรูป ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ มหาภูตรูปมี ๔ ตายตัว เปลี่ยนไม่ได้เลย นอกจากนั้นเป็นรูป แต่ไม่ใช่ มหาภูตรูป
ผู้ฟัง นอกจากนั้นเป็นรูปเฉยๆ แต่ไม่ใช่มหาภูตรูป
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะมหาภูตรูปมี ๔ รูปทั้งหมดมี ๒๘ มหาภูตรูปมี ๔ รูปที่ไม่ใช่มหาภูตรูป ๔ ก็มี ๒๔ อย่าไปคิดว่า ต้องไปโยงกับชื่อ แล้วถึงจะเข้าใจ อย่าให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นความเข้าใจจริงๆ ว่า มหาภูตรูปมี ๔ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องจดเลย
ผู้ฟัง คิดว่าตัวเองพอจะเข้าใจ แต่ต้องไปศึกษาอีกมากมาย เพื่อไม่ให้เสียเวลาคนอื่น โอกาสคนอื่น
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วอย่างที่พูดตอนต้นว่า ดูเหมือนเข้าใจ แต่ถ้าถูกถามจะทำให้เข้าใจขึ้น ขอถามต่อได้ไหม ดี เพราะว่าเป็นโอกาสดี ถ้าไม่อย่างนั้น จะไม่ทราบเลยว่า พอเข้าใจตอนนี้แล้ว ต่อไปจะเข้าใจอีกหรือเปล่า ที่ตัวคุณวิลาวรรณ มีมหาภูตรูปไหม
ผู้ฟัง ที่ตัว ในตัวนี้หรือ มีแน่นอน
ท่านอาจารย์ มีแน่นอน มีกลิ่นไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ กลิ่นเป็นมหาภูตรูป หรือเปล่า
ผู้ฟัง กลิ่นเป็นมหาภูตรูป มันมีอยู่ในตัวเรา
ท่านอาจารย์ นี่เราไม่ลืมความคิดเก่าๆ ที่เราคิดว่ามหาภูตรูปมันใหญ่อยู่ที่ตัว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เป็นลักษณะที่แข็ง จึงชื่อว่าปฐวี หรือธาตุดิน เป็นลักษณะที่เย็นหรือร้อน จึงชื่อว่าธาตุไฟ เป็นลักษณะที่ตึงหรือไหว จึงชื่อว่าธาตุลม เป็นลักษณะที่เกาะกุม หรือไหลเอิบอาบ นั่นเป็นลักษณะของธาตุน้ำ
เราจะไม่คิดถึงตัวเรา หรืออะไรอีก เวลานี้เรากำลังจะพูดถึงลักษณะของสภาพธรรม แต่ที่ใช้คำถาม เพื่อสอบทวนว่ามี ความเข้าใจธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นมหาภูตรูปแล้วแค่ไหน เพราะว่าเราจำกัดไปแล้วว่า นอกจากนี้แล้วไม่ใช่มหาภูตรูป รูปที่เหลือนอกจากนี้ทั้งหมดไม่ใช่มหาภูตรูป ถ้าไม่ใช่ภาษาบาลีจะเรียกว่า อุปาทายรูป เพราะว่าไม่ใช่มหาภูตรูป แต่อาศัยมหาภูตรูป
ผู้ฟัง จุดบอดคือว่ามันมาอาศัย แล้วเราทำให้สับสน
ท่านอาจารย์ ใช่ พออาศัยแล้วเลยรวมเป็นมหาภูตรูปเลยไม่ได้ ตกลงก็มหาภูตรูป ๔ เท่านั้น รูปอื่นนอกจากนี้ทั้งหมดมีไหม รูปอื่นๆ มีไหม นอกจากมหาภูตรูป ๔ รูปอื่นๆ นอกจากมหาภูตรูป ๔ มีไหม
ผู้ฟัง คิดว่ามีมากมาย ยังไม่อยากทราบ เดี๋ยวมันสับสน
ท่านอาจารย์ มี เพราะว่ารูปจะมีเพียงแค่ ๔ ไม่ได้ ผิดความจริง เพราะว่าความจริง เราพูดเรื่องจริงแท้ๆ เพราะฉะนั้น เราตอบเองเกือบจะได้เลย เพราะว่าผิดความจริง จะมีเพียงแค่ ๔ อย่างนี้ได้อย่างไร นี้เราก็จะรู้ว่ารูปอื่นมีอะไรบ้าง เช่น กลิ่น ยังจะอยู่ตรงกลิ่น นี้
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนี้ ขอเปรียบเทียบนิดหนึ่ง กลิ่นมันไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่มหาภูตรูป
ผู้ฟัง ไม่ใช่มหาภูตรูป
ท่านอาจารย์ เป็นรูป แต่ไม่ใช่มหาภูตรูป
ผู้ฟัง เป็นรูป แต่ไม่ใช่มหาภูตรูป เพราะเหตุว่ามันไม่ใช่อ่อนแข็ง
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง อ่อนไหว ไหลเอิบอาบ
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง จุดมันอยู่ตรงนี้
ท่านอาจารย์ จุดตรงนี้
ผู้ฟัง ขอบพระคุณอาจารย์มาก
สมพร. คำว่าแข็ง มันไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ลักษณะปรมัตถ์ ร้อน คือ เตโชธาตุ ลักษณะของความร้อน ก็ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ เรียกว่า ว่าง ขณะนั้นว่าง
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าแต่ก่อนพอแข็ง เราก็ว่าเป็นโต๊ะ พอเห็นสี เราก็ว่าดอกกุหลาบ พอเห็นอะไร เราก็มีชื่อติดเข้าไปด้วย แต่ทีนี้ว่าง หมายความว่า คนไม่มี ดอกกุหลาบไม่มี โต๊ะไม่มี มีแข็ง ว่างจากการที่เคยไปเข้าใจ หรือว่ายึดถือไว้ว่าเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด โดยรู้ความจริงว่าแท้ที่จริงแล้วไม่มี คำว่า แท้ที่จริงแล้วไม่มี คือ ว่างจากความเห็นที่เคยเห็นว่าเป็นสิ่งนั้น แล้วก็เริ่มเข้าใจถูกว่า แท้ที่จริงไม่มี สิ่งนั้นไม่มี แต่มีธาตุ หรือว่าสภาพธรรม
แต่ก่อนพอเห็น นี่โต๊ะ แต่ว่าว่างจากความเป็นโต๊ะ เพราะแข็ง แข็งเท่านั้น จริงๆ แล้วแข็งเท่านั้น หรือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ว่างจากการเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เพราะว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ เมื่อกระทบกับจักขุปสาท นี่คือว่างจากความที่เคยเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็รู้ในลักษณะที่เป็นปรมัตถ์ แต่ก่อนไม่ว่างเลย หรือว่าเวลานี้ก็อาจจะไม่ว่าง ใช่ไหม พอเห็นก็เป็นแล้วทันที แต่พอมีความรู้ความเข้าใจถูกเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ความว่างนี้ ต่างกับ ภวังคจิต อย่างไร
ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ทราบ จะหมายความถึงอีกนัยหนึ่งหรือเปล่า ที่ว่าว่างต่างจาก ภวังค์อย่างไร เพราะเหตุว่าเวลาที่เป็นภวังค์ หมายความว่าขณะนั้นอารมณ์ไม่ได้ปรากฏ เหมือนอย่างทางตาเห็น ทางหูกำลังได้ยิน ขณะนี้ไม่ใช่ภวังคจิต ขณะที่เห็นได้ยิน ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง
เพราะฉะนั้น เวลาที่เป็นภวังคจิต เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏ ดูเหมือนว่าง ใช่ไหม กับว่างจากการเห็นว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ว่างจากบัญญัติ เพราะว่ากำลังมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ อย่างเวลาที่กระทบแข็ง แข็งกำลังปรากฏ ขณะนั้นไม่มีบัญญัติ ไม่ได้คิดว่า นี่โต๊ะ ใช่ไหม หรือไม่ได้คิดด้วยว่า แข็ง แต่ทันทีที่กระทบ ทันทีนั้นแข็งปรากฏแน่นอน โดยยังไม่ได้คิด แล้วก็ไม่มีบัญญัติด้วย นี่คือขณะที่ไม่ว่าจะเห็น ก็มีสิ่งปรากฏ แม้ว่ายังไม่คิด กำลังได้ยินเสียงปรากฏ เฉพาะเสียงปรากฏ ยังไม่ได้คิดเรื่องราว กลิ่นปรากฏ ก็เฉพาะกลิ่นปรากฏ รสปรากฏ ก็เฉพาะรสปรากฏ หรือแข็งปรากฏ ก็เฉพาะแข็งปรากฏ ขณะนั้นว่างจากบัญญัติ เพราะเหตุว่าจิตยังไม่ได้รู้ความหมาย หรือว่าไม่ได้นึกถึงชื่อใดๆ ทั้งสิ้น แต่เวลาเป็นภวังคจิต อารมณ์ไม่ปรากฏ ทำให้ดูเหมือนกับว่า ขณะนั้นว่าง เพราะว่าไม่มีอะไร แต่ความจริงมีจิตซึ่งเกิดดับแล้วรู้อารมณ์ด้วย แต่ว่าไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้
เพราะฉะนั้น จึงไม่ปรากฏ ถ้าเป็นอารมณ์ของโลกนี้ ก็ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏก็เป็นอารมณ์ที่มีในโลกนี้ แม้แต่ความคิดนึก ก็คิดนึกในเรื่องของโลกนี้ หรือว่าจะคิดนึกถึงอะไรก็ตามแต่ แต่ว่าที่กำลังคิดก็ยังเป็นโลกปัจจุบันนี้ แต่ว่าเวลาเป็นภวังค์ เพราะอารมณ์ไม่ปรากฏ ก็ดูเหมือนว่างแท้ๆ แต่ความจริงขณะนั้นถ้ามีจิตเกิด ต้องทำงาน จิตจะเกิด แล้วไปขี้เกียจ หรือว่าไม่ทำอะไรเลยไม่ได้เลย จิตทุกชนิดเกิดขึ้นทำกิจของจิตชนิดนั้นๆ ว่า จิตชนิดนี้ทำกิจนี้ จิตอื่นจะมาทำกิจนี้ก็ไม่ได้ อย่างจิตได้ยินจะไปเห็นก็ไม่ได้ จะไปคิดก็ไม่ได้ เพราะจิตได้ยินกำลังรู้เฉพาะเสียง มีเสียงปรากฏให้ได้ยิน ก็จะต้องได้ยินเสียง นี่เป็นหน้าที่ของกิจได้ยิน เพราะฉะนั้น จิตทุกจิตที่เกิดต้องทำกิจ แม้แต่ภวังค์ซึ่งดูเหมือนว่าง หลับสนิทเลย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึก ไม่ฝัน แต่ขณะนั้นมีจิตที่กำลังเกิดดับสืบต่อ แล้วก็รู้อารมณ์ด้วย แต่ว่าไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ ก็ไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ภวังค์ ก็ไม่ว่าง
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าง แต่ดูเหมือนว่าง
ผู้ฟัง เข้าใจผิดว่า อยู่ในภวังค์ แปลว่าว่าง
ท่านอาจารย์ ความจริงจิตทำกิจภวังค์ ดำรงภพชาติ
ผู้ฟัง แต่ก็ไม่ได้คิดถึงสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้คิดถึงสัตว์บุคคล
ผู้ฟัง อยากถามว่า ตอนหลับเป็นภวังค์หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็น ต้องเข้าใจอย่างนี้ คือว่า จิต เราแบ่งประเภทได้ใหญ่ๆ เป็น ๒ ประเภท คือ จิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พูดอย่างนี้ก็คือว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบกาย ไม่คิดนึก ขณะนั้นทำภวังคกิจ หรือว่าใช้คำว่า ภวังคจิตก็ได้ เพราะว่าไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้น ถ้าจิตใดไม่ใช่ภวังคจิต จิตนั้นต้องรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๖ ทาง ก็แยกออกเป็น ๒ อย่างอีกเหมือนกัน
ผู้ฟัง ขณะที่ว่างจากสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
ท่านอาจารย์ เพราะมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะใดมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นไม่มีบัญญัติ
สมพร. จิตทุกดวงเป็นธาตุ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลเลย แต่เราก็ยังยึดจิตว่าเป็นเรา อันนี้มันเปลี่ยนไป เขาเรียกว่า มันวิปลาส จิตนั้นเป็นธาตุ ว่างจากสัตว์ ว่างจากบุคคล
ผู้ฟัง ทารกที่อยู่ในครรภ์ มีแต่ภวังคจิต ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ รู้สึกเจ็บบ้างไหม
ผู้ฟัง ไม่ทราบ จำไม่ได้
ท่านอาจารย์ ผ่านมาแล้วเนิ่นนาน เลยไม่ทราบ แต่ถ้ามีกายปสาท มีการกระทบเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว กายวิญญาณต้องเกิด
ผู้ฟัง แสดงว่า ไม่ใช่ภวังคจิตอย่างเดียว ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน ต้องมีวิถีจิต
ผู้ฟัง มีวิถีจิต แล้วก็อย่างที่สำนวนว่า จิตตกภวังค์ จะแปลเป็นปรมัตถ์ได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วจิตเกิดขึ้นทำกิจของตนแล้วดับรวดเร็วมากเลย เพียงเกิดแล้ว ทำหน้าที่ของจิตนั้นแล้วก็ดับ
ผู้ฟัง แสดงว่าเป็นสำนวนภาษาไทย
ท่านอาจารย์ เป็นสำนวนที่ใช้กัน จะใช้คำว่า ขึ้นวิถี กับตกภวังค์ ก็ดูเหมือนอาการของรูป แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่รูป จิตเป็นสภาพ หรือเป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้ แล้วดับทันที
สมพร. คำว่าจิตตกภวังค์ ศัพท์นี้ท่านอธิบาบไว้ตอนหลังบอกว่า จิตเป็นไปในภวังค์ คัมภีร์โยชยาท่านอธิบาย บอกว่าจิตตกภวังค์ ตกภวังค์ จิตเป็นไปในภวังค์ ท่านอธิบายอย่างนั้น เราก็ใช้คำว่า ตกภวังค์กันเรื่อยมาตามที่คนเขาแปล แปลมันแปลได้ แต่ความหมายไม่เข้าใจ ท่านก็เลยขยายความว่า คำว่า ตกภวังค์ คือจิตเป็นไปในภวังค์ ไม่ใช่ตกภวังค์
ท่านอาจารย์ ถ้าจะให้เข้าใจโดยที่ไม่สับสน เราบอกว่า เป็นภวังคจิตก็ได้ หรือว่าทำกิจภวังค์ก็ได้ จะได้ไม่มีคำที่ทำให้เราต้องงงว่า ตกหรืออะไรต่างๆ ห้วงอะไรๆ ก็ไม่ต้องไปคิดมาก เอาเพียงแค่เป็นภวังค์ แต่ทีนี้ที่อาจารย์บอกว่า ภวังค์มาก เราก็เลยใช้คำว่าห้วง เหมือนน้ำ ใหญ่ กว้าง ก็เลยใช้คำห้วง แต่จริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกับรูป
ผู้ฟัง ในขณะนั้นก็ดำรงภพชาติอยู่ตลอดเลย
ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ต้องเห็น หลับได้ไม่นานก็ต้องตื่น
ผู้ฟัง กี่นาที ระยะเท่าไร ที่ ๑๗ ขณะจิต มันเปลี่ยนไปทุกๆ ๑๗ ขณะจิต
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังเห็นกับได้ยิน กี่วินาที หรือกี่เสี้ยววินาที ที่ห่างกัน
ผู้ฟัง มันไวจนนับไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนกัน
ผู้ฟัง อันนี้ที่ ๑๗ ขณะจิต เอามาจากไหน
ท่านอาจารย์ ๑๗ ขณะจิต เป็นการแสดงอายุของรูปๆ หนึ่ง เพราะว่ารูปเกิดดับช้ากว่าจิต
ผู้ฟัง อ๋อ จิตมัน ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์ จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปๆ หนึ่งก็ดับ เป็นการที่จะอาศัยเครื่องวัด ว่ารูปรูปหนึ่ง นั้นมีอายุเท่าไร รูปเกิดแล้วดับ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดแล้วดับ
ท่านอาจารย์ รูปเกิดดับเร็วเท่าจิตหรือเปล่า
ผู้ฟัง จิตเร็ว
ท่านอาจารย์ ไม่เท่า ช้ากว่า ทั้งๆ ที่รูปเกิดดับเร็วมาก แต่ก็ยังช้ากว่าจิต โดยที่ว่ารูปๆ หนึ่งจะดับ ต่อเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง มันมาจากจิต ๑๗ ชนิด
ท่านอาจารย์ เป็นการแสดงอายุของรูปว่า รูปมีอายุเท่าไร โดยที่ไม้ว่าจะเอาอะไรมาวัด ที่ความรวดเร็วอย่างนั้น จะมาใช้วินาที หรือเสี้ยววินาที หรือกี่พันล้านเสี้ยววินาทีก็นับไม่ได้ ก็ต้องเอาอายุของจิต ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง หมายความว่ามันไว จิต ๑๗ ขณะไวอย่างนี้หรือ
ท่านอาจารย์ จิตเกิดดับตลอดเวลา แต่ว่ารูปเกิดทีจิตขณะไหนก็ต่อไป ๑๗ ขณะแล้วรูปนั้นก็ดับ เพื่อที่จะได้รู้ว่า รูปดับเมื่อไร ไม่อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่า รูปดับเมื่อไร มีอายุเท่าไร เราบอกว่ารูปเกิดดับช้ากว่าจิต ช้าเท่าไร ช้าเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปๆ หนึ่งถึงได้ดับ
ผู้ฟัง เป็นสูตรให้คิด
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เป็นสูตร การประจักษ์แจ้งความจริงโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น
ผู้ฟัง เรื่องภวังคจิต บอกว่า ไม่รู้อารมณ์ในโลกนี้ แล้วรู้อารมณ์ที่ไหน
ท่านอาจารย์ จากชาติก่อนสืบต่อจากชาติก่อน ตอนใกล้จะจุติของชาติก่อน มีอารมณ์อะไร ปฏิสนธิจิตของชาตินี้ก็มีอารมณ์อย่างนั้น
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ตายได้ไหม รู้ด้วยหรือว่าไม่ได้ ถ้าเกิดจะตายจริงๆ จะตอบว่าได้ไหม เพราะฉะนั้น ถามว่าหลังจากเห็น ตายได้ไหม หลังจากได้ยิน ตายได้ไหมหลังจากได้กลิ่น ตายได้ไหม หลังจากลิ้มรส ตายได้ไหม หลังจากรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสตายได้ไหม หลังจากคิดนึก ตายได้ไหม เพราะฉะนั้น อารมณ์ก่อนจะตายเป็นอย่างไร เวลาที่จุติจิตเกิดดับ ปฏิสนธิจิตสืบต่อรับอารมณ์ต่อจากจิตก่อนจุติ แล้วแต่ว่าจะเป็นเห็นสิ่งอะไร ได้ยินเสียงอะไรก็แล้วแต่ เหมือนอย่างนี้ ปกติ การเกิดดับสืบต่อของจิต ไม่ประหลาด เพียงแต่เราเห็นว่า ภพนี้ชาตินี้เป็นอย่างนี้ มาจากไหน สงสัยเหลือเกิน แต่ว่าอย่างไรก็ตามปฏิสนธิจิตของชาตินี้ต้องสืบเนื่องมาจากหลังจากจุติจิตของชาติก่อนดับไป แต่ธรรมดาอารมณ์ เวลาที่ทางตาเห็นอะไร วิถีจิตทางตาดับไปหมดเแล้ว ภวังคจิตคั่นแล้ว จิตจะรู้อารมณ์นั้นสืบต่อทันทีทางใจ แต่เวลาที่เป็นปฏิสนธิ หรือจุติ จะเห็นได้ว่า เพราะไม่มีมโนทวารวิถีที่จะรับต่อ เมื่อจุติจิตดับ ก็สืบทอดอารมณ์นั้นไปสู่ปฏิสนธิจิต หรือว่าปฏิสนธิจิตนั่นเองมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติจิตของชาติก่อน ซึ่งถ้าไม่ตายก็เป็นมโนทวารวิถี สืบต่อจากทางปัญจทวารวิถี
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงว่ากุศล อกุศล มันเป็นสภาพของจิตใจ ถ้าถึงขนาดนั้น สภาพของเราสามารถปรุงแต่งจิตในขณะที่เป็นอกุศล เป็นกุศลได้ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีเราเลย มีแต่จิต เจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแต่ละขณะ โกรธ ขึ้นมา ไม่ใช่เรา แต่เป็นจิตซึ่งมีเชื้อ มีเหตุที่จะต้องเกิดโกรธในขณะนั้น เมื่อประสบกับสิ่งนั้น จิตโกรธก็เกิดขึ้น
ผู้ฟัง แต่ขณะโกรธ ถ้าพูดถึงว่าผ่านไปแล้ว
ท่านอาจารย์ จิตคิดก็เกิด
ผู้ฟัง แล้วเราอาศัยที่เราเรียนธรรม
ท่านอาจารย์ นั่นคือจิตทั้งนั้น จิตทั้งหมด
ผู้ฟัง มันมาเป็นสภาพปรุงแต่ง
ท่านอาจารย์ จิต เจตสิก
ผู้ฟัง ขอบคุณ
ผู้ฟัง เวลาเราเกิดอกุศลจิตขึ้น จะเปลี่ยนเป็นกุศลได้ไหม
ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่เราเปลี่ยน
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อเวลาที่เกิดอกุศลจิตขึ้น เหมือนกับ คล้ายๆ กับว่ามีโยนิโสมนสิการ ว่าจะเปลี่ยนไม่ให้มันเป็นอกุศล คือถ้าเผื่อคิดว่าไปเจออะไรอย่างนี้ จะโกรธ ทีนี้จะไม่โกรธได้ไหม
ท่านอาจารย์ อย่างนี้ดีไหม จิตเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครบังคับบัญชาได้ จริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ จริง เพราะฉะนั้น บางครั้งจิตเกิดขึ้นเป็นกุศล จริงไหม
ผู้ฟัง จริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่มีเราที่จะไปทำ แล้วแต่เหตุปัจจัยว่า เวลาที่กุศลจิตเกิดก็เกิด อย่างเวลาที่โกรธ หลายคนก็มีโกรธ ยังไม่หายโกรธ แต่ว่าความโกรธหมดไหม
ผู้ฟัง หมด
ท่านอาจารย์ สักวันหนึ่งก็ต้องหมด แล้วกุศลจิตเกิดได้ไหม อกุศลจิตดับไปแล้ว กุศลจิตเกิดได้ไหม ไม่ใช่เราทำ มีเหตุปัจจัยที่ทำให้กุศลจิตเกิด ก็เป็นกุศล ถ้าไม่มีปัจจัยที่กุศลจิตเกิดก็โกรธต่อไป แต่ไม่ใช่เรา แล้วแต่ว่าขณะนั้นมีปัจจัยที่กุศลจิตจะเกิดหรือเปล่า ถ้าไม่มีปัจจัยที่กุศลจิตจะเกิด ก็เป็นโลภะ เป็นโทสะ ไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีปัจจัยของกุศลจิตเมื่อไร อกุศลจิตก็เกิดไม่ได้ แต่ไม่ใช่เราไปทำ
ผู้ฟัง ขณะที่อกุศลเกิดในจิตเรา
ท่านอาจารย์ คือขณะนั้นมีปัจจัยของอกุศลจิตที่จะเกิด
ผู้ฟัง เรา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา ต่อมาภายหลังมีปัจจัยที่กุศลจิตเกิด กุศลจิตก็เกิด
ผู้ฟัง ถ้าได้ศึกษาธรรม เขาก็บอกว่าเกี่ยวกับสภาพจิต ถ้าเกิดว่าเรารู้สึกโกรธ เรารีบเปลี่ยนอารมณ์ ไป
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรารีบเปลี่ยน กุศลจิตเกิดเมื่อไรเป็นกุศลเมื่อนั้น
ผู้ฟัง คือไม่มีตัวเรา ให้มีจิตรู้
ท่านอาจารย์ ไม่มีเลย ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็เก่ง พออกุศลจิตเกิดเมื่อไรก็ให้กุศลจิตเกิดเสีย ทำได้ไหม ไม่ได้ แล้วแต่ปัจจัยว่า ขณะนั้นกุศลจิตจะเกิดหรือเปล่า ถ้ากุศลจิตไม่เกิด โทสะก็เกิดต่อไป ถ้ากุศลจิตเกิด โทสะก็หมด แต่ไปเข้าใจเอาเองว่า เราคิด เราทำ
ผู้ฟัง เมื่อวานผมได้เรียนถามท่านอาจารย์ไปแล้วในเรื่องของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผมก็ไม่ได้อยู่จนจบ ไม่ทราบว่า ต่อไปในเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ที่เหลือ อยากจะให้ท่านอาจารย์ได้กรุณาอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
ท่านอาจารย์ สรุปย่อที่สุด สภาพธรรมขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม เราไม่เคยรู้เลย เพราะฉะนั้น ก็มีอวิชชา ความไม่รู้ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ว่าขณะใดที่ฟังเข้าใจแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้มีการระลึกได้ว่า ขณะนี้เป็นสภาพธรรม แต่ว่าเพียงแค่นี้อาจจะระลึกเป็นคำ หรือว่าระลึกเป็นเรื่อง ยังไม่ใช่ขณะที่ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์ หมายความว่า แม้ไม่เรียกชื่อ สภาพธรรมเหล่านั้นก็มี แล้วก็กำลังทำกิจการงานอยู่แล้ว เช่น ขณะนี้ทุกคนเห็น ไม่ใช่ไปนึกเรื่องเห็น หรือว่าไปจำว่า เห็นเป็นจิต หรือว่ามีเจตสิกประกอบเท่าไร แต่ที่ฟังมาแล้วทั้งหมดทำให้มีการระลึกรู้ว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ทางตา ไม่ใช่สภาพรู้ แต่มีสภาพรู้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420