ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
ตอนที่ ๓๙๓
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๗
วิทยากร ถ้าเราแยกแยะโดยแต่ละสภาพธรรม เราก็จะเห็นว่าที่จริงแล้ว ตัวเราไม่มี มีแต่จิต และเจตสิก และรูป ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เท่านั้นเอง จะค่อยๆ รู้ขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จะค่อยๆ ไถ่ถอนที่เคยทรงจำว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ต้องใช้เวลา ซึ่งปัญญาก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ ซึ่งทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้นก็จะมีชาติ คือชาติของจิตนั้น ก็จะมี ๔ ชาติ คือ กุศลชาติ อกุศลชาติ แล้วก็มีผลของกุศล อกุศลคือวิบาก บาลีใช้ วิบากชาติ และมีกิริยา กิริยานี้คือ ไม่ใช่ทั้งกุศล ไม่ใช่ทั้งอกุศล ไม่ใช่ทั้งวิบาก คือ ไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผล เป็นกิริยา กิริยาจิต โดยมากเป็น จิตของพระอรหันต์ ผู้ที่ดับกิเลสได้หมดแล้ว
ผู้ฟัง ผู้ที่อบรมในขั้นการฟัง จะต้องฟังให้ถูกต้องด้วยว่า จิตรู้อารมณ์ได้ทีละหนึ่งขณะ ความเข้าใจตรงนี้ต้องเป็นพื้นฐาน เพื่อที่เมื่อเวลาธรรมใดปรากฏ ก็จะเริ่มรู้ความจริงว่า ธรรมนั้นเกิดขึ้นรู้อารมณ์ได้เพียง ๑ ขณะจริงๆ ไม่สามารถรู้ได้เพียง ๒ ขณะในเวลาเดียวกัน ถ้าเข้าใจอย่างนี้ เมื่อธรรมใดปรากฏ ความเข้าใจก็จะเริ่มทำงาน เริ่มพิจารณาได้ ตามกำลังของการเข้าใจนั้น พิจารณาของสิ่งที่ธรรมกำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ เวลานี้คงไม่ต้องคิดถึงขณะๆ เลย แต่ให้ทราบว่าสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ มี แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นไม่ต้อง คิดถึงเรื่องหนึ่งขณะ หรือกี่ขณะผ่านไปแล้ว ขณะนี้กำลังรู้ ขณะนั้นหรืออะไรอย่างนี้ แต่ว่าเมื่อมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วไม่เคยสนใจ ไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งนี้ที่ปรากฏ เป็นคนเพราะคิด เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ เพราะคิด แต่ความจริง สิ่งที่เพียงปรากฏทางตา คือสีสันวัณณะต่างๆ สิ่งที่สามารถกระทบกับจักขุปสาท แล้วสิ่งนั้นก็คือสิ่งที่มีจริง แล้วก็ปรากฏความจริงของสิ่งนั้นให้รู้ว่า สิ่งนี้มีจริง แต่ความจริงของสิ่งนี้คือ เป็นสิ่งที่สามารถกระทบแล้วปรากฏเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น จะรู้ได้ว่า วันหนึ่งๆ เราคิดจากสิ่งที่เห็นมากมาย เป็นเรื่อง เป็นราว ยาวไปทั้งวัน กับสิ่งที่ปรากฏ แต่ว่าสิ่งแท้ๆ ที่ปรากฏไม่ใช่สิ่งที่จะคิดได้ หรือจิตที่เห็นก็คิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่คิด ต่อจากเห็น เราก็เข้าใจว่าเป็นขณะเดียวกัน แต่ความจริงแล้วเห็นขณะหนึ่ง แล้วก็คิดขณะหนึ่ง โดยชาติ เราก็จะทราบได้ว่า จิตที่เห็น เป็นชาติวิบาก เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ที่จะให้ต้องเห็น สิ่งซึ่งใครก็เลือกไม่ได้ จะไม่ให้เห็นก็ไม่ได้ อย่างเวลาที่นอนหลับสนิท ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่มีรสอะไรปรากฏ ไม่ได้คิดนึกด้วย นั่นคือหลับสนิท แต่มีกรรมที่จะทำให้ต้องรับ ผลของกรรม ทางตาคือเห็น เพราะฉะนั้น ตาหูจมูกลิ้นกาย มีไว้ทำไม ทำไมต้องมี ไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน อยากให้มีแต่ไม่มีเพราะกรรม ไม่ให้มีก็ไม่ได้ อย่างคนที่ตาบอด จักขุปสาทไม่เกิด เพราะว่ามีกรรมที่ไม่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด หรือว่าคนหูหนวกก็เหมือนกัน จะเห็นได้ว่า เมื่อมีกรรมก็จะต้องมีทาง ที่จะรับผลของกรรม หรือว่าเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า ทุกขณะที่มีการเห็น แค่เห็น เป็นผลของกรรม แค่ได้ยินเสียงใครก็บังคับไม่ได้ เวลาที่เสียงกระทบหู จิตได้ยินเกิดขึ้น ได้ยินเสียง อย่างขณะนี้ ก็มีเสียง ซึ่งใครก็บังคับไม่ได้ แต่ไม่เคยรู้ว่า นี่คือผลของกรรม ก็กลับติดในเสียงต่อไปอีก นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ชีวิตสลับซับซ้อน มีทั้งผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว แล้วเมื่อสิ่งนั้นปรากฏก็เกิดมีความติดข้อง พอใจหรือไม่พอใจ ในสิ่งนั้นซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำกรรมต่อไป เพราะฉะนั้น ในชีวิตหนึ่งๆ ก็มี ทั้งวิบาก คือ ผลของกรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็มีความติดข้องซึ่งเป็นกิเลส แล้วก็มีการกระทำกรรมต่างๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น ก็แค่นี้เอง
ผู้ฟัง สงสัยตรงนี้ ที่มีการกล่าวบอกว่าให้พิจารณาเหมือนกับว่า พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือว่าจะพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้หรือไม่ ขณะนี้ หรือว่าพิจารณาสภาพธรรมอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ รู้หรือยัง ว่าเป็น ธรรม ยัง แล้วจะไปพิจารณาอะไร มีความเข้าใจในลักษณะที่เป็นธรรม ก่อน
ผู้ฟัง มีการใช้คำว่า พิจารณากันมาก ในกลุ่มที่ศึกษาธรรม เดี๋ยวก็บอกว่าให้พิจารณา อนิจจัง ให้พิจารณาไตรลักษณ์ ท่านอาจารย์เองก็ใช้คำว่า พิจารณา เมื่อเช้า ก็มีคำนี้ด้วย ผมก็เลยมีคำสงสัยว่า ความหมายของคำว่า พิจารณาจริงๆ ควรจะหมายถึงอะไร
ท่านอาจารย์ คิดต้องเป็นจิตที่คิด ไม่ใช่เห็นไม่ใช่ได้ยิน
ผู้ฟัง แล้วความหมายที่ท่านอาจารย์ พูด ก็หมายถึงคิด
ท่านอาจารย์ และเป็นกุศล และอกุศลที่คิด
ผู้ฟัง พิจารณาคือคิด
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่เห็น คิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เห็นแล้วก็คิด
ท่านอาจารย์ ที่ได้ยินคิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง ได้ยินแล้วก็คิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น หลีกเลี่ยงคิดไม่ได้เลย นี่ต้องแสดงให้เห็นว่าเราต้องเข้าใจสภาพที่คิดด้วย ต้องแยกระหว่างเห็นกับคิด ได้ยินเสียงปรากฏกับคิด เพราะฉะนั้น คิดจะติดตามไปตลอด โดยที่ว่า เราไม่รู้สึกตัวเลย อย่างเวลาที่เห็นเป็นดอกไม้ คิด แล้วหรือยัง
ผู้ฟัง คิดแล้ว
ท่านอาจารย์ คิดแล้ว
ผู้ฟัง การศึกษาธรรมเราก็ต้องคิดด้วย พิจารณาจะต้องคิด คิดตาม เป็นการคิดตามไปหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คิดถูก
ผู้ฟัง คิดถูก
ท่านอาจารย์ เข้าใจถูก
ผู้ฟัง แต่ไม่ใช่คิดเห็น ความไม่เที่ยง คิดอย่างไร คิดถึงความไม่เที่ยง ที่พิจารณาความไม่เที่ยงนี้พิจารณาได้ไหม
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าไม่เที่ยงหรือเปล่า
ผู้ฟัง จะต้องเป็นความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าไม่เที่ยง แล้วยังเข้าใจว่า อะไรไม่เที่ยงด้วย ถ้ายังไม่เข้าใจว่าอะไรไม่เที่ยง จะไปพิจารณา ไม่เที่ยง พิจารณาไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ก็ยังเป็นความคิดถึงความไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ แค่คิด
ผู้ฟัง แค่คิด ถึงความไม่เที่ยง ต่างกับการประจักษ์ความไม่เที่ยง ซึ่งต่างกันมากเลย แล้วความคิด เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานเข้าใจทุกอย่างได้ รู้ทุกอย่างได้
ผู้ฟัง ถ้าคิดถึงบัญญัติ ก็เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ได้
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง จิตคิด
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง รู้ว่าขณะนั้น จิตคิด
ผู้ฟัง คิดถึงบัญญัติ
ท่านอาจารย์ ถ้าจิตไม่คิด มีบัญญัติไหม มีเรื่องราวต่างๆ ได้ไหม ก็ไม่ได้
ผู้ฟัง ตรงที่คิด การที่เรามาเรียนธรรม มันจะทำให้การคิดของเราถูกต้องเป็นกุศลมากขึ้น ถูกต้องไหม
ท่านอาจารย์ ก่อนฟังธรรมไม่เคยคิดคำว่า นามธรรมหรือธรรม แต่ว่าพอฟังแล้ว เนื่องจากการฟัง ก็มีการจำ เมื่อมีการจำ ก็สามารถจะมีการตรึก นึกถึงสิ่งที่ได้จำไว้ แล้วแต่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร
ผู้ฟัง คำว่า ตรึก นี้ก็แปลว่าคิด
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วลักษณะของสภาพธรรม จะไม่พ้นจากจิต และเจตสิก สำหรับจิต ลักษณะของจิต ๑ คือ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้ง ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ จิตไม่จำ จิตไม่โกรธ จิตไม่ติดข้อง แต่มีสภาพที่ ไม่ว่าอารมณ์อะไร ที่กำลังเป็นอารมณ์ ขณะนั้น จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เป็นสภาพที่รู้แจ้งลักษณะ ไม่ใช่เข้าใจถูกเห็นถูก ไม่ใช่ปัญญาแต่ว่าลักษณะของอารมณ์ เป็นอย่างไร จิตสามารถที่จะรู้แจ้ง ในลักษณะของอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้น เวลาที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ละเจตสิกก็มีลักษณะต่างกัน แล้วก็ทำกิจต่างกัน ตามระดับขั้น อย่างวิตกเจตสิกได้ยินชื่ออย่างนี้ วิ-ตัก-กะ คนไทยก็พูดว่า วิตก ก็จะตัดสระหลังออก ก็พูดว่าวิตก ได้ยินแล้วคิดว่าอย่างไร วิตก
ผู้ฟัง ความกังวลใจ
ท่านอาจารย์ มีความกังวลใจ แต่วิตกเจตสิก เป็นสภาพที่จรดในอารมณ์ เกิดกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต แต่ว่าลักษณะของวิตก วิจาร ก็ต่างกัน ลักษณะของผัสสะซึ่งเป็นเจตสิก แต่ละชนิดก็ต่างกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเข้าใจอย่างที่จะเข้าใจได้ก่อน คือขณะใดที่คิด วิตกเจตสิก ตรึก นึกถึง หรือว่าคิดถึงอารมณ์นั้น แต่ว่าจริงๆ สำหรับลักษณะจริงๆ ของวิตกเจตสิก ไม่ใช่คิดเป็นคำด้วยก็มี เช่น เวลาที่จิตเห็นดับไปแล้ว จิตที่เกิดต่อ รับรู้สิ่งที่จิตเห็น เห็น แล้วดับไป จิตที่เกิดต่อมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งจิตเห็น ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย ขณะนั้นไม่ได้มีการคิดเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ก็มีวิตกเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจของวิตกเจตสิก หรือแม้แต่สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นองค์ของมรรคมีองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะก็ต้องเป็นเจตสิก แล้วเจตสิกที่เป็นสัมมาสังกัปปะก็คือ วิตกเจตสิก ซึ่งขณะนั้นก็ไม่ได้คิดเป็นเรื่อง แต่กำลังจรด ในอารมณ์ ที่สติกำลังระลึก แล้วปัญญาก็เข้าใจ ความเป็นสภาพธรรม นั้นว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง จรดนี้หมายถึง อยู่ที่สิ่งนั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้น สภาพของเจตสิกแต่ละอย่าง จะมีความละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ฟัง จรด อยู่ที่สิ่งนั้น แต่ไม่ใช่คิด
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คิดเป็นคำ เพราะใช้คำว่า คิด เราคิดถึงคำเลย คิดอะไร แล้วก็เป็นเรื่องราวออกมา แต่ความจริงคิดที่ไม่ใช่คำก็มี
ผู้ฟัง คิดนี้เป็นจิต
ท่านอาจารย์ จิตรู้แจ้งอย่างเดียว ตลอดกาลเกิด เมื่อไรก็เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะลักษณะ ไม่ใช่รู้อย่างปัญญา รู้แจ้งลักษณะ อย่างขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็นอย่างนี้ เพราะจิตรู้แจ้งในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ หรือเสียงก็มีตั้งหลายเสียง ไม่ว่าเสียงใดปรากฏ ลักษณะของเสียงจะเป็นอย่างไร จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งในเสียง ในลักษณะของเสียงนั้นๆ จึงสามารถที่จะจำเสียงต่างๆ ได้
ผู้ฟัง วิตกเจตสิกนี้เกิดกับจิตทุกดวง
ท่านอาจารย์ เว้น ทวิปัญจวิญญาณ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ในภูมิที่เป็นกามวจร แต่ถ้าเป็นฌาณ ทุติยฌาณก็ไม่มี อันนี้ก็เป็นเรื่องที่สำหรับขั้นต้น เราก็รู้พอสมควร แต่ว่าศึกษาต่อไปเราก็จะรู้เหตุผลที่ว่า ทำไมวิตกเจตสิกไม่เกิด หรือเกิดในจิตประเภทนั้นๆ
ผู้ฟัง สติปัฏฐาน เรายังไม่เกิด พิจารณาสภาพธรรม ที่เกิดว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบ พิจารณาได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะที่จิตเป็นอกุศล จะสามารถเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏได้ ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ ถ้าสติปัฏฐาน เกิด เพราะฉะนั้น กุศลก็มีหลายขั้น กำลังให้ทานให้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น เป็นจิตที่เป็นกุศล เพราะมีสติขั้นให้ทานเกิดขึ้น แต่ว่าขณะนั้นไม่ได้รู้เลยว่าไม่ใช่เรา ไม่รู้ว่าสภาพธรรม แต่ละอย่าง คือเห็น ก็ไม่ใช่ขณะที่กำลังรู้แข็ง ไม่ใช่ขณะที่กำลังคิดนึกว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็น อะไร เพราะเหตุว่าแม้แต่การให้ทาน มีสติซึ่งไม่ใช่สติปัฏฐาน ขณะให้ทานก็ไม่รู้ เพราะไม่ใช่สติปัฏฐาน ขณะที่กำลังวิรัติทุจริตก็ไม่ใช่เราเลย แต่สติเกิดขึ้นยับยั้งทุจริตกรรมนั้น ก็ไม่รู้ เพราะไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่ว่าสติปัฏฐาน คือขณะที่สติสัมปชัญญะ ใช้คำว่า สัมปชัญญะ เพราะเหตุว่า กำลังรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้เป็นสภาพธรรม ทั้งหมดแต่ละอย่าง ทางตาที่กำลังเห็น เป็นธรรม แล้วก็มีสภาพที่ต่างกันคือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นสีสันวัณณะ แล้วจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน กำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็เป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตายก็เป็นสภาพธรรม แล้วจะปรากฏก็ทางตา ลักษณะหนึ่ง ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เป็นสภาพธรรมต่างๆ โลภะเกิดขึ้นก็เป็นสภาพธรรม โทสะเกิดขึ้นก็เป็นสภาพธรรม ทุกอย่างเลย เป็นธรรมทั้งหมด ที่จะต้องรู้ว่าเป็นธรรม จึงไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้น ทำไมเราถึงจะต้องพูดเรื่องจิตเป็นสภาพรู้เป็นใหญ่เป็นประธาน รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เพื่อให้ระลึกได้ว่าขณะที่กำลังเห็น เป็นจิตที่กำลังเห็นแจ้ง สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา ถ้าเป็นได้ยิน ขณะนั้นก็เป็นจิต เป็นสภาพที่สามารถรู้ แจ้งเสียง จึงไม่มีเรา ที่จะเข้าใจถูกจนกระทั่งหมดความเห็นผิดที่ยึดถือธรรมว่าเป็นเรา ก็ด้วยสติสัมปชัญญะ ที่ระลึก และเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้ ถูกต้องซึ่งไม่เข้าใจแน่ๆ ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิด ก็เพียงแต่นึกถึงเรื่องราว ของสิ่งที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้
ผู้ฟัง ก่อนที่จะมาศึกษาธรรมในลักษณะนี้ เราก็มักจะเข้าใจว่าตัวเองมีกุศลมากกว่าอกุศล เพราะว่าเราไม่เข้าใจความหมายจริงๆ ของคำว่า กุศล เราก็ไม่ได้ไปทำอะไรผิด ทำไมถึงบอกว่าเราเป็นอกุศล อยากจะให้ท่านอาจารย์ช่วย อธิบาย ความหมายของ ๒ คำนี้ ซึ่งผมคิดว่ามีความจำเป็นที่ จะต้องเข้าใจ
ท่านอาจารย์ พูดเรื่องอกุศล จะดีไหม หรือว่าพูดเรื่องกุศลดีกว่า อย่างไหนดีกว่ากัน ถามดูให้แน่ใจ ถ้าไม่พูดเรื่องอกุศล พูดเรื่องกุศล จะคิดว่ามีกุศลมาก แต่ถ้าพูดเรื่องอกุศล จะรู้ความจริง รู้ความจริงว่าอกุศลมีมากแค่ไหน เพราะว่าปกติคิดว่ามีกุศลมาก เพราะพูดเรื่องกุศล แต่เวลาที่พูดเรื่องอกุศลมากๆ ก็จะได้รู้ความจริง อกุศลก็มีหลายระดับ อย่างหยาบใครก็รู้ การฆ่า ประทุษร้าย เบียดเบียน วาจาหยาบ คำพูดไม่จริงก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าเป็น อกุศล แต่ขณะที่กำลังไม่ได้พูดอย่างนั้น แล้วก็ไม่ได้ทำอย่างนั้นด้วย ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้เบียดเบียน ใครเลย นั่งเฉยๆ เป็นอกุศลหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่ กุศล ก็เป็น อกุศล
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นก็เป็นอกุศลประเภท ๑ ประเภทใด คือเป็นโลภะติดข้อง หรือว่าเป็นโทสะขุ่นเคือง หรือว่าเป็นโมหะ คือไม่มี โลภะ ไม่มีโทสะ ก็จริง แต่ก็ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ อกุศลระดับนี้ คนอื่นรู้ไม่ได้เลย ยังไม่ได้แสดงออกไปทางกาย ทางวาจา แต่ใจเกิดแล้ว มีแล้ว
ผู้ที่มีปัญญาระดับหนึ่ง ที่ยังไม่ได้ฟังพระธรรม ในสมัยโน้นก็เห็นโทษจริงๆ ว่า เพียงแค่เห็นแล้ว อกุศลเกิดแล้ว เร็วขนาดไหน ติดข้องทันที แล้วก็ไม่ได้รู้ด้วยว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แล้วก็มีการยึดถือสิ่งที่มีที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรา เช่น เห็น คิดว่าเป็นเรา ไม่ได้เข้าใจความหมายของธรรม แล้วก็ไม่ได้เข้าใจความหมายว่าธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา ไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่ความไม่รู้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นทันที่เห็นเกิดแล้วดับไปก็มีอกุศลจิตเกิด ไม่โลภะก็โทสะ อย่างนี้ก็ยิ่งบางเบามาก อุปมาเหมือนกับมือของเรา ทุกคนเวลานี้มือสะอาด ไปล้างฟอกสบู่ สะอาดไหม
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ ไม่สะอาดเลย นี้ก็แสดงให้เห็นว่า เรามีอกุศลที่เราไม่รู้ตัวเลย ว่าพอลืมตา เป็นอกุศลแล้ว โลภะมีตั้งกี่ชื่อ อาสา คือความหวังก็เป็นลักษณะของโลภะชนิดหนึ่ง เพียงแค่คิดนิดเดียว หวัง ก็เป็นโลภะแล้ว เพราะฉะนั้น ก็มีหลายระดับมาก อยากรู้ชื่อต่างๆ ก็มีทั้งนั้นเลย แต่ว่าเราสามารถที่จะรู้หรือเปล่า
ข้อสำคัญที่สุด บางทีเราไปคิดถึง สัมมัปปธาน วิริยเจตสิก เกิดหรือเปล่า เพียงแต่รู้ชื่อเอาไว้ แต่สิ่งที่กำลังมีที่ไม่ใช่สัมมัปปธาน เดี๋ยวนี้เกิดแล้ว เราสามารถจะรู้ได้หรือยัง ถ้าเราสามารถจะรู้ได้ ก็คือ สัมมัปปธาน ก็ตัวจริงๆ แต่ว่าชื่อต่างหาก ที่ทำให้เราได้ยินแล้วก็สงสัยว่าเมื่อไร เดี๋ยวเป็นวิริยะ เดี๋ยวเป็นสัมมัปปธาน เดี๋ยวเป็น สัมมาวายามะ อะไรก็ตั้งมากมายไป
สภาพธรรมทั้งหมด จากการที่ทรงตรัสรู้โดยละเอียด โดยประการทั้งปวง ทรงแสดงทุกประการ แม้แต่ วิริยเจตสิกระดับไหนเกิดกับอะไร เราก็ใช้คำที่เราได้ยินได้ฟัง อิทธิบาท อธิบดี โดยที่เราเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าเราได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เข้าใจเลย แต่ใช้แล้ว คำนั้นน่าใช้ ปฏิบัติ หรืออะไรก็ใช้หมดเลย แล้วก็เข้าใจผิดหมดเลย แม้แต่อกุศล ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขณะแรก ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล เป็นวิบากจิต ก็มีกิเลส ระดับละเอียดที่สุด ซึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะทรงทราบว่ามี เพราะว่ากิเลส ระดับนี้ไม่ได้เกิดปรากฏเลย กำลังนอนหลับสนิท ต้องมีเชื้อของกิเลสเป็น อนุสัย เมื่อได้เหตุปัจัจยพร้อมเมื่อไรก็เกิดขึ้น เช่น กำลังหลับสนิท เป็นอกุศล ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ตื่นขึ้นลืมตา เป็นอกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ทันทีเลย นี้คือความละเอียดที่ว่า วันนี้ ตั้งแต่ตื่นมาอะไรมาก อกุศลมาก
ผู้ฟัง เมื่อเราตื่นขึ้นมา เป็นอกุศลทันที บางครั้งเหมือนกับว่า
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ เพราะว่าต้องแยกตามบุคคลอีก อย่างพระอรหันต์ไม่มีเลย ทั้งกุศล และอกุศล จะตื่นก็เป็นกิริยาจิต
ผู้ฟัง เมื่อเราไม่รู้ เราก็มีแต่อกุศลเรื่อยๆ มันก็น่ากลัวเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ก็เหมือนกับ พอสติเราไม่เกิด เราก็มีความกังวลว่า ทำนี่ก็เป็นอกุศล ทำนั่นก็เป็นอกุศล มันก็เลย กลายเป็นสะสม เพิ่มพูน อกุศลไปเรื่อย ไม่ทราบว่าเราจะมีแนวความคิดอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเราไม่ได้เข้าใจว่า ธรรม เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ฟัง ฟังแล้วหลายครั้งว่า ธรรม เป็นอนัตตา แต่พออกุศลเกิดก็เดือดร้อน เพราะยึดถืออกุศลนั้นว่าเป็นเรา
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นก็เหมือนกับ คือไม่ว่าอะไรจะเกิด เป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศล ก็คือเป็นเพียงสภาพธรรม เท่านั้น
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ต้องเข้าใจจนกระทั่งไม่มีเรา ไม่มีของเรา เป็นธรรมจริงๆ
ผู้ฟัง อะไรจะเกิดก็คือ ช่างมัน
ท่านอาจารย์ บังคับได้ไหม แล้วช่างมันเป็นปัญญาหรือเปล่า รู้หรือเปล่า หรือเรากำลังช่างมัน
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่แล้วเรา ช่างมัน
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ใช่ปัญญา ก็ไม่ใช่ความเห็นถูก
ผู้ฟัง ถ้าเราน้อมใจที่จะคิดไปว่าทุกอย่างเป็นธรรม พอเรามีอกุศลเกิดขึ้นบ่อยๆ เราก็รู้ว่า เป็นธรรม แค่นั้นหรือ เป็นสภาพธรรมอย่างเดียว ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เป็นขั้นสติปัฏฐาน หรืออะไร อย่างน้อยๆ คือให้เราเข้าใจว่า นี่ คือเป็นธรรมฝ่ายไม่ดี คิดอย่างนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ได้บอกให้คิด แต่ว่าระงับหรือยับยั้ง ความคิดไม่ได้ ถ้าจะคิด เกิดขึ้นก็เกิดแล้ว แต่ว่าต้องมีความเข้าใจลักษณะ ของสภาพธรรมถูกต้อง ไม่ใช่บอกว่าเป็นธรรม แต่ตัวจริงๆ ไม่รู้จักเลย ซึ่งขณะนี้ ถ้าไม่มีสภาพธรรม ไม่มีปรมัตถธรรม อะไรก็ไม่มี แต่สิ่งที่มีเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ต้องเข้าถึงลักษณะที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ด้วยปัญญาที่เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ด้วยขั้นคิดเอา ว่าเป็นธรรม ถ้าอย่างนั้นก็คิดเอาไปเรื่อยๆ แต่ตัวจริงของธรรมก็ไม่ได้ปรากฏให้เข้าใจ ยิ่งขึ้นว่าลักษณะของธรรมแต่ละอย่าง เพราะสติสัมปชัญญะ กำลังรู้ตรงลักษณะที่ต่างๆ กันในวันหนึ่งๆ
ผู้ฟัง พอเราสังเกตเห็น อย่างสมมติว่า เรากำลังคิดติเตียนผู้อื่น คนนี้ทำไม่ดี เราระลึกขึ้นได้ เรากำลังติเตียนผู้อื่น แล้วเราก็วิรัติ หยุดทันทีเลย ที่จะไม่ คิดต่อไป ว่าเราเป็นอกุศล มันไม่ใช่ขั้นสติปัฏฐาน ใช่ไหมท่านอาจารย์ เป็นเพียงแค่สติขั้นคิดเท่านั้นเอง มีเหตุปัจจัยพร้อมก็ทำให้สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เรา คิดแบบนั้น แต่ไม่ใช่ขั้นสติปัฏฐาน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420