ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
ตอนที่ ๓๙๗
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านอาจารย์ ตทาลัมพนจิตเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม แล้วกรรมมีมากมายหลายประเภท กรรมแรงมากทางฝ่ายกุศลก็มี กรรมหนักมากทางฝ่ายอกุศลก็มี เพราะฉะนั้น เรื่องของกรรมหนักก็ แสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็นทางฝ่ายอกุศลกรรม ก็ให้ผล คือ ทำให้เกิดในอบายภูมิ เป็นเปรต เป็นอสูรกาย หรือเกิดเป็นสัตว์ในนรก มีตทาลัมพนจิตไม่ใช่ไม่มี แต่ตทาลัมพนจิตของเขาเวลาที่อกุศลวิบากจิตเกิดเป็นสิ่งที่ไม่ดี ตทาลัมพนจิตก็เกิดเป็นวิบากรับอารมณ์นั้น แล้วจะเอาไหม เอาตทาลัมพนจิตไปรับมีความสนใจอยากให้ตทาลัมพนจิต เกิดอย่างนั้นไหม เพราะว่า ไปเห็นความสำตัญซึ่งไม่สำคัญเลย เพราะว่า ของตทาลัมพนจิต เพราะว่าแม้แต่อกุศลวิบากก็เป็น ตทาลัมพนะ ได้ คือเป็น สันตีรณะอกุศลวิบาก ทีนี้ถ้าเป็นทางฝ่ายกุศล ผลของกุศลที่มีกำลังมากก็ให้ ผล คือให้อารมณ์ที่ปรากฏ เป็นทั้งอารมณ์ ที่เป็นอิฏฐารมณ์ หรือ อติอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่ายินดีอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าอารมณ์นั้นมีอายุเท่าไร ถ้าเป็นอารมณ์ที่ยังไม่ดับ ตทาลัมพนะก็เกิดต่อ แต่ก็เป็นเพียงชาติวิบากเหมือนสัมปฏิจฉันนะ หรือสันตีรณะ เท่านั้น แล้วถ้าเป็นชาติวิบากทางฝ่ายกุศล เขามีวิบากมากกว่าเสมอ เพราะเหตุว่าอกุศลกรรมที่ทำไป เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบากจิตเพียง ๗ ดวง แต่กุศลกรรมที่ทำ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบาก ๑๖ ดวงได้ หรือว่าถ้าเป็นกุศลกรรมที่ไม่มีกำลังมาก กุศลวิบากนั้นก็ลดลงเพราะเหตุว่า สำหรับกุศลวิบาก ก็มีมหากุศลวิบากทั้ง ๘ ที่ประกอบด้วยปัญญาไม่ประกอบด้วยปัญญาที่เป็น ตทาลัมพนะได้ แล้วทั้งที่เป็นโสมนัส และที่เป็นอุเบกขา เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่กรรมที่จะให้ผล ก็แล้วแต่กรรมนั้นมี ตทาลัมพนจิตประเภทไหน เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ที่กระทำกุศลกรรมอย่างประณีต เพราะฉะนั้น เขาก็ได้รับวิบากอย่างประณีตมาก เช่น ผู้ที่เป็น พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินีอังกฤษ หรือประเทศต่างๆ เขาก็มีทรัพย์สินเงินทอง มีการเห็นการได้ยินสิ่งที่น่าพอใจทั้งนั้น แต่เขาไม่มีมหาวิบากตทาลัมพนะ ที่เป็นญาณสัมปยุตต เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิตไม่ประกอบด้วยปัญญาแต่ว่าเราก็ไม่สามารถไปบอกว่าใคร มีปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยปัญญาหรือ ใครไม่มีปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราจะรู้ความจริงในชีวิตของเราว่า เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมแล้ว เราเกิดมีความสนใจ และมีความเข้าใจมากน้อยขนาดใด ถ้าเรามีความสนใจ หรือมีความเข้าใจ แม้แต่เวลาที่รูปเสียงกลิ่นรสปรากฏก็จริง แต่ ว่าถ้าอารมณ์นั้นยังไม่ดับ ตทาลัมพนะก็เกิด และอาจจะเป็นญาณสัมปยุตก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด และไม่ควรจะสนใจ เพราะว่าสิ่งใดที่ไม่รู้ไปเดาทำไม ไปคิดทำไม แล้วไปสงสัยทำไมเพราะเหตุ ว่าจะคิดจะเดา จะสงสัยอย่างไร ก็ไม่สามารถจะรู้จริงๆ ได้
เราได้มาถึงสถานที่ที่เรารอคอยแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๒๙ แล้วเราก็ได้ ดำเนินตามรอยพระบาท ไปถึงเวสาลี แล้วก็ที่อโศการาม ซึ่งในครั้งนั้นก็เต็มไปด้วยพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย แต่ว่ามีวันอื่นไหมที่เรารอคอย วันอะไร
ผู้ฟัง มีวันที่ ๙ ของการเดินทาง วันที่จะไปกราบที่ตรงต้นมหาโพธิ วันจันทร์ที่ ๖
ท่านอาจารย์ พี่สงวนรอคอยที่จะปฏิบัติธรรมให้ถูกต้อง เป็นวันที่รอคอยของพี่สงวน
ผู้ฟัง ผมหวังสูงขึ้นไปอีกหน่อย วันที่รู้จักรูปนามตามความเป็นจริง ทั่วๆ ไป ด้วย
ผู้ฟัง ในการที่จะเดินทางแต่ละวัน อยากจะได้ข้อคิดจากท่านอาจารย์ที่สรุป แต่ละแห่ง เพื่อจะได้เพิ่มพูนความเข้าใจ แล้วก็สมกับความตั้งใจ ที่ล้มเลิกมา แล้วก็ได้มาในครั้งนี้
ท่านอาจารย์ หรืออาจจะยังไม่ถึงวันนั้นเลย ไม่มีใครทราบว่าเมื่อไร แต่ว่าจุดประสงค์ของพุทธบริษัท วันที่จะรอคอย คือวันที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ควรจะเป็นจุดมุ่ง ไม่ใช่ว่าเราฟังธรรมเผินๆ หรือว่าเราไม่มีจุดของการฟังธรรม การฟังธรรมเพื่อเข้าใจพระธรรมเป็นการถูกต้อง แต่ก็จะรู้ได้ว่า เข้าใจอะไร เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง จนสามารถที่จะประจักษ์ความจริง ตามที่เราศึกษา แม้แต่คำว่า ธรรม ไม่ใช่ตัวตน และสภาพธรรม ที่ขณะนี้กำลังปรากฏ เพราะเกิดขึ้นมีเหตุปัจจัย ทุกอย่างที่เราเรียน เราสามารถที่ประจักษ์แจ้งได้ แล้วก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น บางคนอาจจะเรียนแล้วก็ยังสนุกๆ ไม่เป็นไร ไม่ได้ว่า กัน เพราะว่าอุปนิสัยสะสมมาอย่างนั้น แต่ควรจะมีจุดมุ่งหมายด้วย แต่ว่าจะถึงวันนั้นเมื่อไร ไม่มีใครทราบ แต่ที่ดินแดนนี้ มีผู้ได้ถึงวันนั้นแล้ว เป็นจำนวนมากในอดีต เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีโอกาสได้ฟังพระธรรมแล้ว เราก็ได้ฟังพระธรรมส่วนที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น การเดินทางของเราก็ไม่ใช่ว่าจะไกลกว่าคนที่ไม่เคยฟังเลย แล้วก็ยังไม่เข้าใจเลย แต่เราก็เป็นผู้ที่ไม่ประมาท คืออย่างน้อยที่สุด ชีวิตของเราจะประสบกับ ลาภยศสรรเสริญ หรือชีวิตจะเปลี่ยนแปลง จากสุขเป็นทุกข์ หรือจากทุกข์เป็นสุข หรือจากลาภเป็นเสื่อมลาภ ยศเป็นเสื่อมยศ หรืออะไรก็ตามแต่ แต่นั่นไม่ใช่การรอคอยของเรา การรอคอยจริงๆ ของพุทธบริษัทคือการที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น ที่เรามาวันนี้ เพื่อที่ให้วันที่เรารอคอย วันหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า ได้บรรลุผลจากการฟังธรรม พิจารณาธรรม เข้าใจธรรม เพื่อที่จะให้สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็รู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น วันที่เรารอคอยไม่ใช่วันที่เรารอคอยเปล่าๆ โดยที่ไม่กระทำเหตุให้สมควรแก่ผล เพราะว่ารอเฉยๆ จะไม่มีผลเกิดขึ้น แต่รอเพราะรู้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีเหตุที่สมควร คือการเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของการฟังพระธรรมต้องไม่ลืมเลย ขณะนี้มีสภาพธรรม กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ทุกคนก็วัดตัวเองได้ ว่าอวิชชามากหรือน้อย ที่ไม่ระลึก ไม่รู้ลักษณะสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือว่าเริ่มฟัง เริ่มเข้าใจ แล้วก็ไม่ต้องกระวนกระวายว่าเมื่อไรสติจะเกิดมากๆ เพราะเหตุว่านั่นเป็นสิ่งที่จะต้องละ เพราะสติไม่ได้เกิดเพราะอยากจะให้สติเกิด แต่สติจะเกิดต่อเมื่อ มีเหตุปัจจัยพร้อมที่สติเกิด เป็นอนัตตาจริงๆ เพราะฉะนั้น ต้องเห็นตัวสมุทัย คือโลภะ เป็นสิ่งที่จะต้องละ ถ้าไม่เห็นตัวนี้ ถ้าใครถามว่า เมื่อไรจะมีสติมากๆ เราทราบใช่ไหม ว่าทำไมเข้าถึงพูดอย่างนี้ ทำไมไม่เข้าใจว่าเป็นเรื่องของความเข้าใจ ความรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏไม่ใช่ไปเมื่อไรจะมีสติมากๆ เมื่อไรปัญญาจะรู้ชัด สภาพธรรมกำลังปรากฏแล้ว เข้าใจเมื่อไร นั่นคือการเริ่มที่จะเข้าสู่การรู้ชัด หรือการประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องอื่นเลย นอกจากรู้จักธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นธรรมแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง เคยสอนว่า เป็นคำถามอาจารย์ ให้เราคิด มีสีอะไรบ้างที่ไม่ปรากฏกับจักขุวิญญาณ คือหมายความว่าทุกสีจะปรากฏกับจักขุวิญญาณได้
ท่านอาจารย์ คุณหมอก็กังวลอยู่กับเรื่องสี ทีนี้เรากำลังจะพูดถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้ คุณหมอไม่ต้องไปสนใจเรื่องสี สิ่งนี้กำลังปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรม แน่นอน เพราะเหตุว่ากำลังปรากฏ จะไม่ใช่ของจริงได้อย่างไร เดี๋ยวนี้กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ต้องไปสนใจว่าสีอะไรปรากฏ สีอะไรไม่ปรากฏ หรืออะไร ทั้งนั้น สิ่งที่ปรากฏขณะนี้ มีจริงๆ เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่ง ถูกรู้ คือ ถูกเห็น หมายความว่ามีสภาพรู้ที่ กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ฟังเท่าไรก็ได้ยินซ้ำไปซ้ำมาอย่างนี้ มีสภาพรู้กับสภาพซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ ถ้าสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เราเรียกว่ารูปธรรม แต่ถึงแม้ว่าไม่เรียก สภาพธรรมนั่นก็ไม่รู้อะไรอยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ต้องเรียก เพื่อที่จะให้เข้าใจได้ถูกต้องว่า ไม่ใช่สภาพรู้ เพราะเหตุว่าสภาพธรรม มี ๒ อย่างเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะกี่จักรวาลก็ตามแต่ เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบ ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง แต่สภาพเห็น ที่เห็นอย่างนี้ เป็นอาการรู้ หรือเป็นธาตุชนิดหนึ่ง
คำว่า นามธรรม ฟังแล้ว คล้ายๆ กับรู้ หรือว่าคล้ายๆ กับเข้าใจ ถ้าบอกว่าไม่ใช่รูปธรรม เพราะเหตุว่ารูปธรรม ไม่รู้อะไรเลย แต่นามธรรมเป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ เป็นลักษณะรู้ แต่ทีนี้ลองคิดถึง ทำอย่างไร เราถึงจะเข้าใจจริงๆ สามารถที่จะรู้ว่านี่เป็นลักษณะของธาตุชนิดหนึ่ง หรือสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งมีจริงๆ กำลังเห็น บอกชื่อเราจำได้ แต่ว่า ถ้าโดยลักษณะยากที่จะรู้ แต่ว่าถ้าเอารูปออกไปหมดเลย ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเอาออกไปหมด เสียงก็ไม่มี กลิ่นก็ไม่มี รสก็ไม่ปรากฏ เย็นร้อนอ่อนแข็งก็ไม่ปรากฏ สิ่งที่เหลือคือธาตุรู้ ซึ่งไม่ใช่รูปธรรม นี้แสดงให้เห็นว่า เราต้องแยก รูปธรรมปรากฏทางตา ขณะนี้ เป็นสภาพธรรม ที่เป็นรูปธรรมไม่ต้องไปกังวลเรื่องสีอีก แล้วก็เสียงก็เป็นรูปธรรม กลิ่นวันนี้หรือที่กัลกัตตาก็มีกลิ่นมาก ขณะนั้นกลิ่นที่ปรากฏไม่มีรูปร่างเลย แต่กลิ่นกระทบจมูก กลิ่นเป็นสภาพธรรมที่มีจริงชนิดหนึ่ง ขณะที่ปรากฏก็มีสภาพที่รู้ได้ว่าต้องมีสภาพที่รู้ กลิ่นเอารูป เอาเสียง เอากลิ่น เอารส เอาเย็นร้อยอ่อนแข็งออกจากโลกนี้ให้หมด จะเหลือสิ่งหนึ่ง คือ ธาตุรู้ ซึ่งเป็นนามธรรมล้วนๆ ไม่มีรูปธรรมใดๆ ปะปนเลยทั้งสิ้น นี้คือการที่จะประจักษ์ลักษณะของนามธรรม เพราะเหตุว่าเวลานี้เราจะพูดเรื่องนามธรรม แต่รูปธรรมก็บังอยู่ตลอดเวลา ก็รูปกำลังปรากฏทางตา แล้วเราก็พูดเรื่องนามธรรมคือสภาพรู้ เสียงก็ปรากฏทางหู แล้วเราก็พูดถึงเรื่องนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้เสียง เพราะฉะนั้น ก็ดูเหมือนว่าพูดเท่าไร แต่ว่าลักษณะของนามธรรมก็ยังไม่ได้ปรากฏจริงๆ เหมือนกับรูปธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะเหตุว่านามธรรมนั้นไม่มีรูปร่างลักษณะใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีรูปใดๆ เจือปนด้วยเลยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าสู่ความเข้าใจลักษณะของนามธรรม ก็โดยการฟัง แล้วก็ค่อยๆ น้อมคิดพิจารณาทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งที่ปรากฏทั้งหมดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นรูป ถ้าเอาออกจากโลกนี้ทั้งหมดลักษณะที่เหลือนั้นคือนามธรรม ซึ่งเป็นเพียงสภาพที่เป็น ธาตุรู้หรือสภาพรู้เท่านั้น นี่ก็เป็นสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เราเกิดการระลึกแล้วก็เข้าใจ สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ทีละเล็กทีละน้อย โดยความเป็นอนัตตา จะไม่มีคำว่า กำลังทำวิปัสสนา หรือกำลังเจริญสติปัฏฐาน หรือว่าเริ่มกำลังเจริญสติปัฏฐานใหม่ๆ ที่จริงคำเหล่านี้ พูดสำหรับคนที่ เข้าใจทางปริยัติ ใช้ได้ กำลังเจริญสติ ให้เป็นปกติจริงๆ คือให้รู้ว่าขณะใด สติ เป็นสภาพที่ระลึกที่ลักษณะที่กำลังปรากฏ โดยสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม ขณะนั้นสติระลึก แล้วก็ความรู้ความเข้าใจทั้งหมด จากที่เราฟังมาบางท่านก็ ๕ ปี บางท่านก็ ๑๐ ปี บางท่านก็ ๒๐ ปี ทำให้สามารถเริ่มที่จะเข้าใจลักษณะสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ โดยอาศัยการฟังแล้วเข้าใจ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการฟัง เข้าใจ อย่าได้ไปคิดเรื่องทำอย่างไรสติเกิดมากๆ ทำอย่างไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมหรืออะไร นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ความจริง เป็นสิ่งซึ่งถูกผลักไสไปด้วยโลภะ หรือความต้องการ โดยที่ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีใครทำอะไรได้เลยสักอย่างเดียว ขณะนี้ทุกอย่างเกิดแล้ว จึงได้ปรากฏ ไม่ทันที่ใครจะทำอะไร เพราะฉะนั้น ไม่ทันที่ใครจะไปตั้งสติ หรือไปทำสติปัฏฐาน สติเกิดก็ระลึก แล้วก็หมดก็หมด แล้วสติก็เกิดอีกระลึกอีก เพราะฉะนั้น ขั้นต้นที่สุด คือผู้นั้นรู้ว่า ขณะใดสติเกิด ขณะใด หลงลืมสติ ด้วยความเป็นปกติ แล้วก็จะเห็นได้จริงๆ ว่า หนทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่ใช่ผิวเผินเพราะเหตุว่าจะต้องเป็นการู้จริงๆ ว่า ทุกขณะเป็นนามธรรม และรูปธรรม เพราะฉะนั้น สติจะเกิดระลึกเมื่อไรได้ทั้งนั้น แล้วระลึก ตรงตามความเป็นจริงด้วย อย่างกำลังโกรธ สติ อาจจะกำลังระลึกก็ได้ กำลังเป็นโลภะมากๆ สติอาจจะกำลังระลึกก็ได้ กำลังเห็น สติจะระลึกก็ได้ ทิ้งให้เป็นหน้าที่ของสติที่ระลึก เป็นปกติ แล้วเมื่อเป็นปกติจะระลึกได้เลยว่า ไม่มีใครสามารถที่จะทำอะไรได้ ถ้าคิดว่าจะทำ ขณะนั้นสภาพธรรมเกิดแล้ว ดับแล้ว โดยไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้น ก็มีการพยายามด้วยความเป็นตัวตน ที่จะพยายามอย่างนั้น พยายามอย่างนี้ แต่สภาพธรรม ที่เป็นของจริง ก็เกิดแล้วดับแล้ว ไปเรื่อยๆ ขณะที่ตัวตนกำลังจะพยายามทำอย่างอื่น ที่ไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ
ผู้ฟัง ผมก็สงสัยเรื่องเสียง ว่าที่อาจารย์ใช้คำว่า มีสีอะไรบ้างที่ไม่ปรากฏกับจักขุวิญญาณ ทีนี้เราจะใช้คำว่า มีเสียงอะไรบ้างที่ไม่ปรากฏ กับโสตวิญญาณได้ไหม
ท่านอาจารย์ โดยมากคุณหมอจะถามให้อนุญาต ได้ไหมๆ ไม่ใช่เรื่องใครอนุญาต แต่เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ว่าเสียงมีหรือเปล่า ถ้าเสียงมี คุณหมอจะต้องมานั่งคิดไหม มีเสียงไหนปรากฏ เสียงไหนไม่ปรากฏ นี้เป็นเรื่องคิด ขณะใดที่เสียงปรากฏ ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง เพราะว่าเวลาที่ผมฟังดนตรี วงดนตรี ซิมโฟนี่ เพลงคลาสสิค อะไรนี้ เครื่องดนตรี ตั้งหลายสิบอัน เกือบจะร้อยอัน แต่ว่าในที่สุดเราก็ได้ยินเสียงอยู่ไม่กี่เสียง เพราะว่าทุกดนตรีก็รวมเป็นเสียงออกมา เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เหมือนกับว่า บางเสียงไม่ได้ยิน
ท่านอาจารย์ นี่เป็นเรื่องคิดทั้งนั้นเลย ไม่มีทางที่จะหมดความสงสัยได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นตัวคุณหมอเอง ที่กำลังนั่งคิดว่า มีเสียงอะไร อยู่ในที่นั้นได้ เพราะว่าเครื่องดนตรีมีตั้งหลายชนิด แล้วเขาก็เล่นพร้อมกัน เพราะฉะนั้น จะมีเสียงอะไรบางที่หมอไม่ได้ยิน ไม่ต้องห่วงไม่ต้องคิด ไม่ต้องกังวล เสียงปรากฏแล้วดับไป ไม่ต้องไปนั่งคิด นี่เสียงอะไร แต่ว่าขณะที่เสียงปรากฏ มีสภาพที่ไม่ใช่ตัวหมอเลยที่ได้ยินเสียง ชั่วขณะนั้นไม่มีโลกอื่นปรากฏ ที่เคยถามว่ามีตาไหม มีฟันไหม มีหัวใจไหม พวกนี้ แสดงให้เห็นว่า เราจำไว้ทั้งหมด เพราะว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่ปรากฏ ปรากฏทีละอย่าง ขณะนั้นเสียงปรากฏเสียงไม่รอให้คุณหมอไปนั่งคิดว่า อะไร ดับแล้ว แล้วสภาพธรรม ที่ได้ยินเสียงก็ไม่ใช่ตัวคุณหมอ เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า ตัวสติ คือ ปฏิบัติกิจของสติ ไม่ใช่เรานั่งคิด แต่สติระลึกสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนั้น ครั้งแรกๆ ไม่มีใครจะมีปัญญาไปรู้ชัด เพราะฉะนั้น ในพระไตรปิฎก ระลึกบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ได้บอกว่าต้องตั้งมั่นทั้งวันทั้งคืน ติดต่อกันไม่ขาดสาย อันนี้ จะไม่มีในพระไตรปิฎก แต่จะมีคำว่า ระลึกบ่อยๆ เนืองๆ ซึ่งตรงกับสภาพธรรม เพราะเหตุว่าสภาพธรรม เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้น สติระลึกแล้วก็ดับ แล้วก็เกิดอีกได้ ถ้าไม่เกิดก็อย่าไปทำ อย่าไปทำอะไรทั้งสิ้น อย่าไปหวังหรืออย่าไปตั้งใจ สติหลงลืมก็คือหลงลืม เครื่องพิสูจน์ ปัญญาก็คือว่า หวั่นไหวไหมที่สติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมตามธรรมดาอย่างนี้เอง โดยที่ว่าไม่มีใครไปทำ แล้วก็จะน้อยจะมากอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ข้อสำคัญก็คือว่าปัญญารู้ลักษณะของสิ่งที่สติระลึกหรือเปล่า ชัดเจนขึ้นไหม เข้าใจขึ้นไหม นี้คือการอบรมสติปัฏฐาน เพราะเหตุว่า ปัญญาจะต้องเกิดพร้อมสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่สติที่คิดเรื่องของเสียง ว่าเสียงอะไรปรากฏ เสียงอะไรไม่ปรากฏ ก็จะคล้ายๆ กับสี ถ้าเป็นในลักษณะนั้น แต่ว่าตัดไปได้เลย เหมือนกับที่ทางกายฟังวิทยุเร็วๆ นี้ ทางกรุงเทพก็คงจะรับฟังได้ ที่บอกว่า มีคนถามว่าแล้วลื่นๆ มันเป็นอะไร เพราะว่าทางกายมี ๓ ธาตุที่ปรากฏ คือเย็นหรือร้อน ซึ่งเป็นธาตุไฟ อันนี้ทุกคนก็ชัดเจน น้ำร้อนน้ำเย็น ธาตุดินอ่อนหรือแข็ง เก้าอี้นี้นุ่มหรือเก้าอี้นี้แข็ง ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ ตึงหรือไหว ก็เกิดมีคนสงสัยนักเลย แล้วหย่อนละ ที่อื่นเขาบอกว่ามีหย่อนด้วย คือไปติดคำ ทีนี้เราติดออกหมดได้ไหม ไม่ว่าจะตึงจะไหว จะหย่อน อะไรก็ตามแต่ จะลื่นจะเหนียว จะเหนอะ จะหนะ จะอะไรก็ตามแต่ ตัดออกหมด เพราะเหตุว่าสิ่งนั้นปรากฏ ทางกายเร็วเกินกว่าที่เราจะไปคิดว่า มันอะไร มันเหนียวมันลื่นหรือมันอะไรๆ อย่างนั้น สิ่งนั้นปรากฏแล้วก็ดับ ให้รู้ว่าขณะนั้นเป็นชั่วขณะจิต นี่ก็คือ การที่จะละความเป็นตัวตนที่ คิดเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ แทนที่จะเข้าใจลักษณะนั้นว่าเป็นเพียงสภาพธรรม ที่ปรากฏชั่วขณะเดียว ซึ่งต่างจากทางตาที่กำลังเห็น หรือว่าทางหูที่กำลังได้ยิน
ผู้ฟัง วิธีระลึกนามธรรม..แต่ดิฉันไม่เข้าใจ เพราะว่าเอารูป ออกไม่ได้เลย เพราะปรากฎตลอดเวลา ... ทำไมไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้คุณนีน่าเอาออก คือใครๆ ก็ทำอะไรไม่ได้ แต่การที่เราจะแยกลักษณะของนามธรรมออกจากรูปธรรม ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่านามธรรมไม่ใช่รูปธรรมโดยประการทั้งปวง แยกขาดจากกันจริงๆ เพราะเหตุว่าสภาพธรรม มี ๒ อย่าง นามธรรมเป็นสภาพรู้ รู้เท่านั้น ไม่มีรูปร่างสัณฐาน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น นั่นคือลักษณะที่เป็นนามธรรมล้วนๆ แต่เวลานี้สิ่งที่ปรากฏ อย่างทางตา เรารู้ว่าที่รูปปรากฏ เพราะมีสภาพที่กำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ รูปนี้จึงได้ปรากฏกับจิตที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่ารูปคือส่วนรูป ไม่เอามาปนกับนาม เหมือนกับว่า โลกนี้ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสิ่งที่กระทบสัมผัสทางกายเลย จะมีอะไร ลองคิดดู ลองคิดดู ถ้าไม่มีสีปรากฏทางตา ไม่มีเลย ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีเย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหว แต่ยังมีนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ ซึ่งไม่ใช่รูปธรม ถ้ารู้ลักษณะของนามธรรมชัดเจนประจักษ์แจ้ง หมดความสงสัยเรื่องอรูปพรหม เพราะเหตุว่าธาตุชนิดนี้เกิดได้โดยเหตุปัจจัย เป็นสภาพรู้โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับรูปเลยทั้งสิ้น รูปเป็นส่วนรูปจริงๆ นี่คือการที่จะแยกรูปออกจากนามโดยเด็ดขาด เพราะเหตุว่าถ้าไม่แยกออกโดยเด็ดขาดไม่มีทาง ที่ปัญญาจะรู้ความจริงของนามธรรมถูกต้องชัดเจนขึ้น หรือว่าจะรู้ความจริงของรูปธรรมถูกต้องชัดเจนขึ้น เพราะเหตุว่า แม้นามธรรมมี แต่รูปธรรมก็ปรากฏ โดยที่ไม่รู้ว่านามธรรมจริงๆ แล้วเพียงแต่เห็น เป็นสภาพที่เพียงได้ยิน เป็นธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งแม้ไม่มีรูปใดๆ เลย นามธรรมก็มี แล้วก็เป็นธาตุรู้ด้วย เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ลักษณะของนามธาตุ แล้วก็มีความถูกต้องจนกระทั่งรู้ว่า นามธาตุนั้น เป็นธาตุรู้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เราไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็จะทำให้ใกล้ชิดต่อการพิจารณานามธรรม โดยสภาพที่เป็นนามธรรมแต่ ละชนิดเพิ่มขึ้นอีก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420