ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
ตอนที่ ๓๙๙
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ ถึงไม่มีตัวคุณหมอ แต่ก็มีโลภะได้ เพราะว่าโลภะก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งยังไม่ได้ดับ ไม่ใช่ว่าคุณหมอมีตัว ตัวไม่มี มีสภาพธรรม ไม่ใช่มีตัวคุณหมอ แต่มีความเห็นผิด ที่ไปยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา หรือเป็นตัวเรา แต่สภาพธรรม ที่มีเพราะเหตุปัจจัย มี ก็ต้องเกิด อย่างโลภะ ถ้ายังไม่เป็นพระอนาคามี ถึงแม้ไม่มีความเห็นผิดว่าเป็นตัวหมอ แต่โลภะ ความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ก็ยังมีเพราะเหตุว่า ยังไม่ใช่พระอนาคามี เพียงแต่ว่าไม่มีความเห็นผิดที่เข้าใจผิด ไปยึดถือธรรมว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นตัวตน แต่ธรรมต้องเป็นธรรม มีเหตุปัจจัยก็ต้องเกิด โลภะ ยังเป็นโลภะ ที่มีเหตุปัจจัยต้องเกิดก็ต้องเกิด จนกว่าจะเป็นพระอนาคามีบุคคล
เพราะฉะนั้น ทุกคนก็เป็นผู้ที่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง อย่าไปคิดว่า เราไม่มี โลภะในรูปสวยๆ ในเสียงเพราะๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มีน้อยหรือมาก ตามการสะสมตามเหตุตามปัจจัย แต่ว่ายังไม่ได้ดับ เมื่อเกิดขึ้นแม้แต่จะเล็กจะน้อย จะมากก็รู้ตามความเป็นความจริงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา สภาพธรรมแต่ละชนิด เกิดแล้วหมดเร็วมาก เพราะว่าขณะนี้เห็น แล้วถ้าเกิดนึกอยากจะรับประทานน้ำ สลับเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น แม้ความอยาก รับประทานน้ำนี้ก็เล็กน้อยมาก คือว่า เกิดอยากแล้วก็หมด แล้วก็มีเห็น แล้วก็เกิดอยากแล้วก็หมด เพราะว่าสภาพธรรม ทุกอย่างเป็น ปริตธรรม หมายความถึงเป็นสภาพธรรม ที่เล็กน้อย คือ สั้นแสนสั้น โลภะก็ไม่ได้ยาวนานอย่างที่เราคิด จริงๆ แล้วก็เกิดดับสลับกับทางตาที่เห็น เวลาที่เราเห็นอะไรที่เราจะไปซื้อของ คุณหมอกำลังจะไปอาเขต แล้วก็จะไปซื้อของ นี้เป็นเรื่องจริง ชีวิต ริงเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น กำลังเห็นเป็นวิบากจิต ที่ทำให้จักขุวิญญาณเกิดกระทบกับสิ่งที่ปรากฏ แล้วจิตเห็นก็เกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วความพอใจก็เกิดสลับกับการเห็นอยู่ตลอดเวลา นี้โดยย่อๆ นี้โดยนัยะของพระสูตร แต่โดยนัยของพระอภิธรรม จะออกมาโดยละเอียดว่าผ่านทางปัญจทวาร หรือจักขุทวารวิถี มีภวังค์คั่น มีมโนทวารวิถี แล้วก็มีทางจักขุทวารวิถีอีก มากมายหลายขณะ แต่ว่าผ่านไปโดยความไม่รู้เลย เพราะว่าขณะนั้นโลภะ ไม่สามารถที่จะรู้ว่า เป็นธรรม เพราะอกุศล ไม่สามารถจะมีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกได้ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นโลภะก็แสนจะสั้น เพราะว่าสลับกับทางตาที่เห็นตลอด เป็น ปริตธรรม ทุกอย่างเกิด แล้วก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรม แต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าไม่มีหมอ แต่โลภะก็ยังมีจนกว่าจะเป็น พระอนาคามีบุคคล
ผู้ฟัง อันนี้มีจริง แบบที่อาจารย์ว่าเกิดเร็วมาก ถ้าเผื่อสติระลึก แล้วสามารถจะเป็นกุศลได้
ท่านอาจารย์ ได้ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าหมอกำลังจะเพลิดเพลินกับการซื้อของขณะนั้นเป็นความจริง สติสามารถจะเกิด ระลึกตามความเป็นจริง ไม่เปลี่ยน อย่าไปพยายามบิดเบือน ขณะที่กำลังเกิดพอใจ เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่ให้หมอไปพยายาม ข่มไปพยายาม บังคับ สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เกินกว่าที่ใครจะไปทำอะไรได้ ให้ทราบว่าความรวดเร็วของปรมัตถธรรม เกินกว่าที่ใคร คิดจะไปบิดเบือน หรือจะไปทำอะไร ที่เป็นไปได้อย่างเดียวคือ ปัญญา เห็นตามความเป็นจริง สภาพธรรม เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง ขณะที่ไม่สบายก็มีแต่เวทนาอย่างเดียว เราพยายามที่จะละ ก็ลำบากเหลือเกิน
ท่านอาจารย์ ขณะที่ไม่สบายเป็นทุกข์กาย เพราะว่าขณะนั้น แม้แต่ทุกข์นั่น ก็เป็น อินทรีย์ ทุกขินทรีย์เป็นใหญ่ ขณะนั้นเราจะลืม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เงินทองมหาศาลทุกอย่างหมด เพราะเหตุว่า กายกำลังเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น ความรู้สึกในขณะนั้น ใครใหญ่มากซึ่งทำให้เราลำบาก จะเห็นความเป็นอินทรีย์ของ เวทนาเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นอุเบกขา ไม่ว่าจะเป็นโสมนัส ไม่ว่าจะโทมนัส หรือไม่ว่าจะเป็น สุขเวทนา หรือทุกขเวทนา ก็ตาม
แต่ว่าให้ทราบว่า สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ที่ปรากฏคือ เวทนา แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นไม่ได้มีเจตสิกอื่น ขณะนั้นอย่างน้อยที่สุดที่จิตขณะหนึ่งเกิดขึ้น ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภท หรือ ๗ ขณะ แล้วเวทนา เป็น ๑ ใน ๗ แต่ว่าจะเห็นได้ อะไรปรากฏ ก็ปรากฏทีละอย่าง เพราะเหตุว่า จิต จะรู้อารมณ์ได้ เพียงทีละอย่าง เพราะฉะนั้น ถ้าผัสสะไม่ปรากฏไม่ต้องไปนั่งนึกถึงว่ามีผัสสะ ชีวิตอินทริยะไม่ปรากฏก็ไม่ต้องไปนั่งนึกถึง ชีวิตอินทริยะ เพราะเหตุว่า จิตเกิด สั้นมาก เพียงเกิดแล้วก็รู้อารมณ์ทันที ไม่ ต้องไปนั่งห่วงนั่งคิด สภาพธรรมใดเกิด ปรากฏ สิ่งนั้นก็ปรากฏเ พราะฉะนั้น เมื่อทุกขเวทนาปรากฏ ให้ทราบว่ามีเจตสิกอื่น เกิดร่วมด้วยแต่ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเห็นความเป็นอินทรีย์ ของทุกขเวทนาว่าเป็นจริงตามที่ทรงแสดงไว้ ว่า สภาพของเวทนานั้นเป็นอินทรีย์ แล้วก็ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ก็จะรู้ได้ว่า รู้ได้หลายอย่าง รู้ได้แม้แต่ว่า ไม่มีใครทำให้ นอกจากกรรม ที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น จะไม่มีความเศร้าหมองเลย ไม่มีใครสักคน ซึ่งบันดาล หรือทำให้เกิดขึ้นนอกจากกรรมที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่ไม่หวั่นไหว เพราะเหตุว่ารู้ สภาพนี้ต้องเกิด เพราะว่ากรรมทำแล้ว นี้เป็นผลของกรรม แต่ว่าขณะนั้นถ้าจะมีการรู้เรื่องกรรม ก็เป็นประโยชน์ คือเราก็ไม่เดือดร้อน แล้วก็ถ้าจะมีปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ว่าเป็นแต่เพียงธรรมชนิดหนึ่ง เพราะว่าไม่ใช่เพียงแต่ทุกข์กาย เห็นก็มี คิดนึกก็มี ได้ยินก็มี เป็นสภาพธรรม แต่ละขณะ ที่เกิดสั้นๆ แล้วก็ต้องหมดไป แล้วทุกขเวทนาจริงๆ สั้น เพราะว่าต้องสลับกับทางตาทางหู เพราะฉะนั้น เกิดติดต่อกันจนเหมือนกับว่าไม่หมดเลย แต่ความจริงต้องดับ
เราก็มีโอกาส ได้มาสู่สถานที่ที่พระผู้มีพระภาค ประทับมากที่สุดบนยอดเขา เวลาที่ประทับที่เขาจะมาประทับที่เขาคิชกูฏนานกว่าที่อื่น ขณะนี้เราก็คงจะได้บูชาพระผู้มีพระภาค ด้วยการระลึกถึงพระธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ ตลอด ๔๕ พรรษา ตามที่เราได้ฟัง แล้วก็ได้พิจารณา แล้วพร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม เท่าที่สามารถจะกระทำได้ เพราะเหตุว่าวันก่อนนี้ เราก็ได้พูดกันถึงเรื่อง วันที่เรารอคอย วันแรก คือจากรอคอยการมาสู่ดินแดนที่พระผู้มีพระภาค ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม ทรงปรินิพพาน และเมื่อเราได้กล่าวถึงว่า นอกจากนั้นแล้ว ยังจะมีอะไรอีกที่เรารอคอย ก็มีหลายท่านที่กล่าวว่ารอคอย การที่จะประพฤติปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง แต่รอคอยที่สุดก็คือว่า ในฐานะที่เราได้มีโอกาสเกิดมาแล้วเป็นผู้ที่มีกุศลในปางก่อน ทำให้มีโอกาสได้ฟังพระธรรม วันที่รอคอยวันหนึ่ง ก็คือ คงจะเป็นวันที่เราจะมีโอกาสที่จะประจักษ์แจ้งสภาพธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง แต่วันที่รอคอย จะไม่มาถึงโดย เราอยู่เปล่าๆ เฉยๆ อย่างคนที่ประมาท เพราะเหตุว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้วการที่รอคอยก็จะแสดงให้เห็นว่า กว่าจะถึงวันนั้น แต่ละขณะก็ผ่านไป อย่างไม่รู้สึกตัวเลย อย่างในขณะนี้เอง ที่กำลังนั่งอยู่ที่นี่ ทุกขณะก็ผ่านไปๆ แต่ว่าผ่านไปด้วยความประมาท หรือด้วยความไม่ประมาท ถ้าเป็นผู้ที่จะถึงวันหนึ่งที่รอคอย คือการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็จะต้องแต่ละขณะผ่านไป โดยความไม่ประมาท แต่ถ้าผ่านไปอีกทางหนึ่ง เหมือนทางซ้ายกับทางขวา แทนที่เราจะมาทางขวา แล้วเราไปทางซ้าย เราก็จะเป็นผู้ที่ประมาท แต่ว่าไม่มีใครที่จะฝืนอัธยาศัยของแต่ละบุคคลได้ ทุกคนที่มาที่นี่ก็ได้สะสมบุญ กรรมต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น สติปัญญา หรือว่ากำลังของศรัทธาก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ทราบว่าผลที่จะบรรลุได้ ต้องทีละขณะ ทีละขณะจริงๆ เพราะฉะนั้น ในขณะใดที่สติปัฏฐาน ไม่เกิด แต่ว่า วันก่อนเราพูดกันถึงว่ามีเหตุใกล้อะไร ที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิด เหตุใกล้มีอย่างเดียว คือสัญญาความจำที่มั่นคง ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรม ทุกอย่าง ไม่มีอะไรเลยซึ่งไม่ใช่นามธรรม และรูปธรรม นี้เป็นสิ่งที่เรากล่าวถึง คือเหตุใกล้ แต่นอกจากนั้น ยังมีเหตุไกลด้วย แสดงให้เห็นว่าเหตุใกล้ ต้องเป็นสัญญา ความจำว่า ขณะนี้เป็นธรรม ทุกคนระลึกตามได้ขณะนี้เป็นธรรม ที่เห็นเป็นธรรม เสียงที่ปรากฏ เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ว่าขณะนี้สติยังไม่ระลึกที่สภาพธรรม ก็ยังต้องอาศัยเหตุอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุไกล เริ่มด้วยการเป็นผู้ที่ กระทำกุศลทุกประการ เท่าที่จะกระทำได้ มิฉะนั้นแล้ว บางท่านก็คิดว่า ต้องการแต่สติปัฏฐานอย่างเดียว ที่เคยมีผู้ถามว่า ทำอย่างไรสติถึงจะเกิดมากๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เมินกุศลอื่น แล้วก็มุ่งแต่เฉพาะสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย วันที่รอคอยที่จะถึงได้ ก็หมายความว่า นอกจากจะมีเหตุใกล้แล้ว ยังต้องมีเหตุอื่นซึ่งเป็นบารมีด้วย เพราะฉะนั้น กุศลมีถึง ๑๐ ประการ ทาน ทา-นะ การสละสิ่งที่เป็นประโยชน์ กับบุคคลอื่น ก็เป็นกุศลประการ ๑. ศีล แล้วก็ ขณะที่จิตของเราเศร้าหมองด้วยอกุศล เพราะฉะนั้น ก็คือ ว่าเราเป็นผู้ที่ไม่ประมาท โดยการที่ว่า แม้กุศลเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเราคิดว่า รอไว้ก่อน แต่รอไว้ก่อน ขณะหนึ่งก็ผ่านไป ขณะหนึ่งก็ผ่านไป แล้วแต่ละขณะจะต้องไปสู่วันที่รอคอย เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะว่า ขอให้เราซึ่งเคยเป็นผู้ที่อาจจะว่ายาก แม้ว่าจะได้ฟังพระธรรมแต่ว่าใจ ยังไม่น้อมไปที่จะประพฤติปฏิบัติตามในเรื่องของความผูกโกรธก็ดี หรือว่าในเรื่องของอกุศลอื่นๆ ก็ดี แต่ทีนี้เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว แล้วก็รู้ว่าหนทางอีกไกล แล้วการที่จะให้สติปัฏฐานเกิด ก็ไม่ใช่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เพราะฉะนั้น ก็ขอให้เจริญกุศล ทุกประการซึ่งเป็นเหตุไกล สำหรับที่จะให้เป็นเหตุใกล้ คือ เป็นสัญญา ความจำที่มั่นคง ในเรื่องของสภาพธรรม จนสติ สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามปกติได้ ก็เป็นเรื่องที่เราได้มีโอกาสมา กราบนมัสการระลึกถึง พระมหากรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ของพระองค์ เพราะว่าเราทุกคนมีโอกาสได้ฟังพระไตรปิฎก แล้วก็ได้เจริญกุศลตามที่เราสามารถจะกระทำได้ แล้วต่อจากนี้ไป ทุกคนก็คงจะระลึกได้ว่า เมื่อเราได้มีโอกาสเดินตามรอยพระบาท ที่เสด็จบิณฑบาต เสด็จมาประทับ บรรทมที่นี่ ก็ไม่ใช่เพียงแต่เดินตามรอยพระบาทเปล่าๆ แต่เดินตามรอยพระบาทด้วยการประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยการระลึกได้ว่า เมื่อเราได้มาถึงแล้ว เราเป็นผู้ที่มีศรัทธา เป็นผู้ที่มีบุญในอดีต เพราะฉะนั้น ก็ขอให้สะสมบุญต่อไป จนกว่าจะถึงแต่ละขณะ ที่เราจะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ในวันหนึ่ง
ผู้ฟัง ก่อนที่ผมจะมา ได้พบกับคุณพิพัฒน์ ถามผมว่าผมจะได้ไปอินเดีย หรือเปล่า ผมบอกผมได้ไป เสร็จแล้วคุณพิพัฒน์ บอกว่าดี ไปอินเดียได้ไปถึงสวรรค์แน่ๆ ผมก็ถามบอก ไม่แน่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดมาที่นี่แล้ว คนที่อยู่ที่นี่ก็มีจำนวนมาก ที่อยู่ข้างล่างก็มี ที่ไหนก็มี เพราะฉะนั้น ทุกคนจะได้ไปสวรรค์หมดหรือเปล่า หรือว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ เราต้องทราบ ว่า กุศลจิต และกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด กุศลวิบาก การเกิดบนสวรรค์เป็นผลของกุศลกรรม เพราะฉะนั้น ถ้ากุศลจิตให้ผล ต้องเกิดบนสวรรค์ หรือว่าในภูมิที่เป็นสุคติ เช่น มนุษย์ ถึงพระผู้มีพระภาค จะตรัสอย่างไร จะทรงแสดงอย่างไรก็ไม่พ้นจากเหตุ และผล คือทรงแสดงว่า การมา มาด้วยศรัทธา มาด้วยกุศลจิต เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่กุศลจิตนี้ให้ผล ก็ต้องให้ผลดี จะเกิดบนสวรรค์ หรือจะเกิดในมนุษย์ สุคติภูมิก็ได้ ผลของกุศลจะไม่ทำให้ไปสู่อบายภูมิ
ผู้ฟัง ผลของความตั้งใจด้วยศรัทธาที่เดินทางมาที่นี่
ท่านอาจารย์ กุศลจิต เราอย่าคิดถึงเหตุการณ์ทั้งหมด คิดเฉพาะชั่วขณะหนึ่งๆ โดยมากคนจะถามเป็นเรื่องเป็นราว เป็นเหตุการณ์ แต่เราต้องย่อยเหตุการณ์ลงเหลือ เพียงขณะจิต ขณะใดเป็นกุศล คือกุศล ขณะใดเป็นอกุศล คืออกุศล เพื่อเราจะได้เป็นผู้ที่ไม่ประมาท และเป็นผู้ที่รู้ความจริง ตรงตามความจริงด้วย ต้องมั่นคงว่า กุศลกรรมให้ผล คือ ทำให้กุศลวิบากจิตเกิด อกุศลกรรมให้ผล คือ ทำให้อกุศลวิบากเกิด นี้คือพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้
ผู้ฟัง ขออนุญาตกราบเรียนถามท่านอาจารย์ ว่า จากพระธรรมคำสั่งสอน แล้วก็ฟังจากที่ท่านอาจารย์ สภาพธรรมต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าจะเป็น เย็นร้อนอ่อนแข็ง ตึงไหว หรือว่า สิ่งที่ปรากฏ ทางตา เสียงที่ปรากฏทางหู ลิ้น จมูก กาย แม้กระทั่งความนึกคิด แม้กระทั่งคำพูดต่างๆ อย่างนี้ ไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่ว่าผมก็พยายาม เหมือนกับท่อง เหมือนกับพยายาม ระลึกถึง คำสั่งสอนที่ท่านอาจารย์ ได้พร่ำสอนพวกเรา ว่าควรที่จะใส่ใจ หรือศึกษาสภาพธรรมต่างๆ ที่ปรากฏในขณะนั้น แล้วเราขณะนี้ เราก็อยู่เบื้องพระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมพยายามเตือนตัวเองให้ระลึกรู้ ให้ทั่วทุกทาง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ที่เป็นปรมัตถธรรมจริงๆ มีอะไรบ้าง การที่ผมใส่ใจ หรือว่าระลึกรู้ หรือว่าเตือนตัวเองในลักษณะอย่างนี้ เป็นการท่องหรือว่าจงใจ อะไรไหม
ท่านอาจารย์ เวลาที่เริ่มเข้าใจพระธรรม ไม่ใช่หมายความว่าความเป็นตัวเราจะหมดสิ้นไป การที่จะรู้ว่าเป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่เราจริงๆ ต้องอาศัยกาลเวลา เพราะฉะนั้น แม้ว่าเราจะได้ฟังธรรมแล้ว เช่น ได้ฟังว่า กำลังเห็นขณะนี้ เป็นสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา หรือว่าเสียงที่ปรากฏขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งนี้เราก็ได้ฟัง แต่ว่ากว่าที่จะรู้ความจริง ที่จะรู้ความต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ก็ต้องอาศัยการที่ขณะใดที่สติเกิด รู้ขณะนั้นว่า ไม่หลงลืมสติ ขณะใดที่สติไม่เกิด หลงลืมสติ ก็รู้ว่าต่างกัน เพราะฉะนั้น เมื่อใดที่สติเกิด หมายความว่าขณะนั้นมีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ คำว่า ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรม แม้ในขณะนี้เป็น สิ่งที่มีจริง ไม่มีใครที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนี้ได้ แต่ไม่ใช่รู้จริงอย่างนี้ ต้องอาศัยการที่สติเกิดแล้วระลึกลักษณะของปรมัตถ แล้วก็เข้าใจในสภาพที่เป็นปรมัตถ เพราะว่าปรมัตถธรรม เป็น ปรมัตถธรรม ใครจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ ใครจะรู้หรือไม่รู้ปรมัตถธรรม ก็ยังคงเป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อสติระลึก ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม หมายความว่า เราไม่ได้รู้ในสภาพที่เป็นเสื่อ เราไม่ได้รู้ในสภาพที่เป็นไมโครโฟน แต่เรารู้ในลักษณะที่แข็ง ที่สติกำลังระลึก ตรงนั้น แล้วก็ไม่ใช่มีแต่เฉพาะสติ ที่ระลึกที่แข็ง เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นผู้ที่เจริญสติ สมควรที่สติจะระลึกลักษณะของ นามธรรมอื่น และรูปธรรมอื่น ก็จะมีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ตามปกติ แต่ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะเร่งรัด แต่เป็นเรื่องที่รู้จริงๆ ว่า ขณะใดสติเกิด ที่เป็นสัมมาสติ ขณะที่กำลังคิดนึกเรื่องแข็ง สมมติว่ามีแข็ง แล้วก็กำลังรู้แข็ง แล้วก็สติอาจจะระลึกลักษณะที่แข็ง แต่กำลังระลึกว่า ขณะนี้ เป็น รูปธรรมชนิดหนึ่งขณะนั้นแข็ง ดับไป ไม่รู้ว่าเท่าไร แสดงให้เห็นว่าเราจะนึกเรื่องสภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม อย่างไร ก็ไม่ได้เป็นขณะที่สติกำลังประจักษ์ลักษณะที่เกิดแล้วดับอย่างรวดเร็วของสภาพธรรมนั้น ว่าไม่หวัง ว่าจะให้สติหรือสภาพธรรม ปรากฏกับตน เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะปรากฏ เพราะฉะนั้น ทุกคนก็เพียงแต่ฟังพระธรรม แล้วก็อบรมเจริญปัญญา ไปเรื่อยๆ แล้วผู้นั้นเอง ก็จะรู้ด้วยตัวเองว่า มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็มีสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมมากน้อยอย่างไร ก็เป็นเรื่องธรรมดาปกติ
ผู้ฟัง ดิฉันข้องใจเรื่องนี้มานานแล้ว ก็อยากจะให้มันจบ สดใสในวันนี้เลย จะได้เป็นฤกษ์ ดีในการประพฤติปฏิบัติธรรม คือเรื่องเป็นอย่างนี้ สติ เป็นโสภณเจตสิก แต่ว่าถ้าเป็นอารมณ์ของสติแล้ว สติรู้ได้ทุกอย่าง กุศลก็ได้ อกุศลก็ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าเรารู้ว่าสภาพธรรม ที่มีจริงๆ เป็นของจริง ที่สติระลึกรู้ได้ทุกอย่าง อย่างนี้ก็คลุมไปหมดเลย
ผู้ฟัง ทั้งกุศล และอกุศล
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ทุกอย่างที่เป็นของจริง
ผู้ฟัง แต่ว่าเขาจะเกิด ในเมื่อเป็นโสภณเท่านั้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ตัวสติเอง เป็นโสภณ เป็นธรรมฝ่ายดี เพราะเหตุว่าอกุศลจิตประกอบด้วยอวิชชา ความไม่รู้ จะมาระลึกรู้อะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่าที่ เป็นสติ เพราะเหตุว่าเป็นธรรม ที่ระลึกรู้ด้วย ถ้าเราระลึกในการให้ทาน เราไม่ได้รู้ว่าไม่ใช่ตัวเรา ขณะที่รักษาศีล วิรัติทุจริต เราก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ หรือเป็นสภาพธรรม แต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น เวลาใช้คำว่า สติปัฏฐาน สติสัมปชัญญะ หมายความถึงสติที่ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม รู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ถ้าเราไม่ได้เคยฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเลย ไม่มีใครเลย ที่สติปัฏฐาน จะเกิดระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง ปรมัตถธรรม นั้นจะเป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้
ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรม หมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของจริง
ผู้ฟัง รวมไปหมด
ท่านอาจารย์ ตามควมเป็นจริง ถ้าเราไม่รู้สภาพธรรม หลังจากที่เห็น ถ้าขณะนั้นไม่ใช่โทสมูลจิต แล้วก็ต้องเป็น โลภมูลจิต หรือโมหมูลจิต ถ้าไม่ใช่กุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ โลภะเป็นสภาพธรรม ที่ติดข้อง พอเห็น บุ๊ป ที่จะบอกว่าไม่ติดข้องในการเห็น เป็นไปไม่ได้เลย เวลานี้ติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่กุศล แล้วก็ทางหูก็เช่นเดียวกัน ถ้ากุศลจิตไม่เกิดก็ต้องเป็นอกุศล แต่ว่าให้เห็นตัวโลภะ คือความติดข้อง ว่าวันหนึ่งต้องมากกว่าโทสะ เมื่อมีการกระทบสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม เช่นเดียวกับการเห็น สิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ตาม หรือได้ยินสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม เพราะฉะนั้น กระทบแข็งเมื่อไรก็ตาม ถ้ากุศลจิตไม่เกิดก็เป็นความติดข้อง ถ้าขณะนั้นไม่เป็นโทสมูลจิต โมหมูลจิต หรือกุศลจิต หนีไม่พ้นเลย เรื่องความติดข้อง รวดเร็วแล้วก็เป็นประจำ เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่เห็นสมุทัย ไม่มีทางที่จะละทุกข์ เพราะเหตุว่าในอริยสัจจะ ทุกคนก็พอที่จะทราบว่า อริยสัจจะที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจจะ ทุกขอริยสัจจะ ที่นี่หมายความถึงสภาพธรรมที่กิดแล้วต้องดับ เราจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกข์ที่นี่ ไม่ได้หมายความถึงเรามีความรู้สึกโศรกเศร้า เสียใจ นั่นชั่วขณะ แต่ ทุกขลักษณะนี้ตลอดเวลา คือสภาพธรรม ที่อาศัยเหตุปัจจัย เกิดแล้วดับทันที ถ้าไม่ประจักษ์ทุกขลักษณะ ก็ไม่สามารถที่จะถึง อริยสัจทั้ง ๔ ได้ แม้อริยสัจที่ ๓ ซึ่งจะทำให้เป็นพระอริยเจ้า
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420