ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
ตอนที่ ๔๐๕
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๓๘
ผู้ฟัง ขอเล่าถึงเรื่อง คนตาบอด ผู้ที่เขาเสียตา ในขณะนั้น เขามีจักขุปสาทอยู่ แต่พอตาเขาบอด ขณะนั้นเขามีจักขุปสาท หรือไม่ ที่จริงก็บอกว่า จักขุปสาทไม่มีแล้ว ในขณะที่ไม่มีตา ดวงตาทั้งหมดออกไป ทั้งสสัมภาระออกไปหมด ไม่มีจักขุปสาทแล้ว ถ้าเขาได้ดวงตามาใหม่
ท่านอาจารย์ เขาตาบอด เขาเอาออกไปทั้งหมดเลย หรือ เหลือแต่เนื้อ หรือก็เห็นเขามีลูกตา สสัมภาระหมายความถึงส่วนประกอบ ขาดแต่จักขุปสาทรูปเท่านั้น
ผู้ฟัง อันนี้หมายความว่า สสัมภาระ ถูกนำ ออกไป
ท่านอาจารย์ ออกไปหมดเลย
ผู้ฟัง ออกไปหมดเลย ไม่มีส่วนหนึ่ง ส่วนใด
ท่านอาจารย์ จักขุปสาทมีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ผู้ฟัง มีกรรมเป็นสมุฏฐาน
ท่านอาจารย์ มีกรรมสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น ถึงไม่ถูกควัก แต่กรรมไม่เป็นปัจจัยให้ จักขุปสาทรูปเกิด ก็ตาบอด เพราะเหตุว่าที่ใช้คำว่า บอด คือมองไม่เห็น ถ้าใครไม่มีจักขุปสาทรูป คนนั้นไม่มีทางจะเห็นได้เลย ต้องเห็น ไม่ใช่ไปจำเรื่องราว ที่เคยเห็น ต้องเป็นการเห็นอย่างขณะนี้ที่สีกำลังปรากฏ ทางตา เพราะเหตุว่าสี กระทบหูไม่ได้ กระทบจมูกไม่ได้ สิ่งที่สามารถจะกระทบได้ คือจักขุปสาทเท่านั้น เราเห็นจนชินเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลืมตาก็เห็น แต่แท้ที่จริงไม่ได้รู้เลย ว่ากว่าการเห็นจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัย ตั้งแต่กรรมเป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด แล้วดับ เพราะเหตุว่า จักขุปสาทรูปก็มีอายุเพียง ๑๗ ขณะจิต ๑๗ ขณะจิตอย่าไปคิดเลย ว่าเร็วสักแค่ไหน เร็วแสนเร็วทีเดียว เพราะฉะนั้น กรรมก็ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด แล้วก็จักขุปสาทรูปนั้นก็ดับ แล้วกรรมก็ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด เมื่อเกิดแล้ว จักขุปสาทรูปนั้นก็ดับ ตราบใดที่กรรมเป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด ไม่มีใครไปทำให้ไม่เกิดได้ เพราะว่ารูป นี่เราจะเห็นความน่าอัศจรรย์ว่า รูปที่เกิดจากจิตก็มี รูปที่เกิดจากกรรมก็มี รูปที่เกิดจากอุตุก็มี รูปที่เกิดจากอาหารที่บริโภค รับประทานเข้าไปก็มี แล้วกรรมคือเจตนาซึ่งดับไปแสนโกฏิกัปป์ ก็ตาม ยังสามารถ จะเป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้ นี้คือกำลัง หรือพลังของกรรม คือเจตนา ที่เป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม เพราะฉะนั้น จักขุปสาทรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรม คนอื่นจะบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ ถ้ากรรมทำให้จักขุปสาทรูปเกิด แต่ถ้ากรรมไม่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด ใครก็จะไปทำให้จักขุปสาทรูปเกิด ก็ไม่ได้ เพราะว่ารูปนี้ ต้องเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
ผู้ฟัง มีตาบอดอีกชนิดหนึ่ง บอดไปแล้วกลับคืนดีได้
ท่านอาจารย์ เราพูดทางโลก เหตุการณ์ยาวเหลือเกิน แต่ว่าย่อยลงไปเป็นขณะจิต ให้ทราบว่า คนตาบอดเพราะว่ากรรม ไม่เป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด แต่ถ้ากรรมจะเป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิดอีกเมื่อไรก็ได้ คนนั้นก็เห็น เรื่องธรรมดา
ผู้ฟัง คนไข้เป็นต้อกระจก แล้วก็มองไม่เห็น ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็สามารถจะกลับเห็นได้
ท่านอาจารย์ คนนั้นมีกรรมทำให้จักขุปสาทรูปเกิด
ผู้ฟัง หมายความตอนที่ไม่เห็น จักขุปสาทยังอยู่ ตอนที่ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ใช้ยังอยู่ไม่ได้เลย เพราะว่าจักขุปสาทรูป มีอายุเพียง ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง แล้วตอนนั้นไม่ทำหน้าที่หรืออย่างไร แล้วตอนหลังหมอรักษาหายแล้ว
ท่านอาจารย์ ตอนหลับ จักขุปสาทรูปมี หมอเห็นไหม
ผู้ฟัง คำว่านามธรรม ที่กำลังรู้อารมณ์ กับนามธรรมกำลังปรากฏนี้ต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ นามธรรม ที่เกิดได้แก่ จิตกับเจตสิก ต้องรู้อารมณ์ เพราะเหตุว่า เป็นสภาพรู้ ที่จิต เจตสิก เกิดแล้วจะไม่รู้อารมณ์เป็นไปไม่ได้ แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจ ความหมายของคำว่า อารมณ์ เพราะว่าคงจะมีหลายคนซึ่งยังไม่ได้เคยฟังรายการนี้ อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เมื่อมีจิต และเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีอารมณ์ คือสิ่งที่จิตเจตสิกกำลังรู้ เพราะฉะนั้น จิตกับเจตสิกเกิดแล้ว ที่จะไม่รู้ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น นามธรรมรู้อารมณ์ แต่ไม่ใช่ว่า มโนทวารวิถีปรากฏ นามธรรมจะรู้อารมณ์ทางตาก็ได้ เช่น จิตกำลังเห็น อาศัยจักขุปสาท จิตกำลังได้ยิน อาศัยโสตปสาท จิตกำลังได้กลิ่น อาศัยฆานะปสาท จิตกำลังลิ้มรสอาศัยชิวหาปสาท ทั้งๆ ที่รสน่าอัศจรรย์ ที่กล้วยที่เรารับประทาน ถ้าไม่สัมผัสกระทบกับลิ้นไม่มีทางรู้เลย ว่ารสอะไร หรือส้มมีทั้งหวาน มีทั้งเปรี้ยว แต่เราจะรู้ลักษณะหวานเปรี้ยว ชัดเจน ต่อเมื่อ กระทบสัมผัสกับชิวหาปสาท รสนั้นจึงจะปรากฏได้ เอามือสัมผัสหรือจะทำอะไรก็ไม่สามารถจะรู้ได้เลย นี่แสดงให้เห็นว่าจิตแต่ละประเภท ก็ต้องรู้อารมณ์แต่ละอย่าง สลับกันก็ไม่ได้
เมื่อจิตรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้อารมณ์ คือ สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือแม้ไม่ใช่สีเสียงกลิ่นรสสัมผัส จิตเกิดขึ้นขณะใด ก็ต้องรู้อารมณ์ แม้ปฏิสนธิจิต ก็ต้องรู้อารมณ์ ภวังคจิตก็ต้องรู้อารมณ์ จุติจิตคือจิตขณะสุดท้าย ก็ต้องรู้อารมณ์ ขึ้นชื่อว่าจิตแล้ว จะไม่รู้อารมณ์ไม่ได้ และเมื่อจิตเกิดพร้อมกับเจตสิก ทั้งจิต และเจตสิก ก็ต้องรู้อารมณ์เดียวกัน แล้วแต่ว่าจะรู้อารมณ์ทางไหน ซึ่งทางที่จะรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่ภวังคจิต มี ๖ ทางคือ ตา ๑ หู ๑ จมูก ๑ ลิ้น ๑ กาย ๑ ใจ ๑ คุณบง ได้เคยมาหาวันหนึ่ง แล้วก็บอกว่ารู้สึกว่าซาบซึ้งในพระธรรมที่ทรงแสดง เพราะเหตุว่า แม้แต่คำว่าตา ๑ ก็แยกไปเลย ว่าหนึ่งจริงๆ ไม่เกี่ยวกับอย่างอื่นเลย หู ๑ ก็หนึ่งอีกเหมือนกัน อย่างละหนึ่งๆ ๆ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าไม่เกี่ยวข้องกันเลย สภาพธรรมที่ทรงแสดงไว้ เป็นแต่ละอย่าง จริงๆ เพราะฉะนั้น ทางที่จะรู้อารมณ์ ของโลกนี้ มี ๖ ทาง คือทางตากำลังเห็น เป็นโลกนี้หนึ่ง ทาง ทางหูได้ยินเสียงของโลกนี้อีกหนึ่งทาง ทางจมูกได้กลิ่นของโลกนี้ ทางลิ้นรับรสของโลกนี้ ทางกายก็กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง ตึงไหว ของโลกนี้ แต่เมื่อไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต เจตสิกเกิด รู้อารมณ์ ทางใจได้ คิดนึกได้ แล้วก็สามารถที่จะรู้อารมณ์ คือสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต่อจากทางปัญจทวารได้ นี่คือการรู้อารมณ์ ๖ ทาง แต่ มโนทวารขณะที่กำลังรู้ ไม่ได้ปรากฏ เพราะเหตุว่าขณะนี้เห็น แล้วก็มีภวังคจิตก็ไม่ได้ปรากฏ แล้วมโนทวารซึ่งเกิดต่อมีสีเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ปรากฏ นี้คือความต่างกันของรู้อารมณ์ ทางมโนทวาร โดยมโนทวารไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง มโนทวารวิถี ปรากฏ คือ ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ เช่น ขณะนี้ก็ไม่ใช่วิปัสสนา แต่ก็มโนทวารวิถีก็กำลังรู้ว่ามีการสนทนาธรรม แต่สติอาจจะระลึกได้
ท่านอาจารย์ ระลึกได้ แต่ไม่ปรากฏ กำลังเห็นอย่างนี้ สติก็ระลึกได้ จะระลึกที่ลักษณะของนามธรรมก็ได้ ลักษณะของรูปธรรมก็ได้ แต่ไม่ปรากฏ ปรากฏไหม คุณบุตร สาวงษ์
ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจคำว่ากำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ สีปรากฏ คุณบุตร สาวงษ์ สงสัยไหม
ผู้ฟัง ไม่สงสัย
ท่านอาจารย์ เพราะสีปรากฏ แต่มโนทวารมีลักษณะอย่างไร ที่เป็น มโนทวารไม่ใช่ปัญจทวาร
ผู้ฟัง มโนทวารนี่ก็อาจจะมีการ รู้เรื่อง
ท่านอาจารย์ ขอโทษ จิต ต้องรู้อารมณ์ เวลาคิดนึก เรื่องปรากฏ เพราะเป็นอารมณ์ ของจิตที่คิดนึก มโนทวารปรากฏหรือเปล่า
ผู้ฟัง สติอาจจะระลึกรู้ได้
ท่านอาจารย์ สติระลึกลักษณะของนามธรรม เริ่มเข้าใจว่า ลักษณะของนามธรรม คือสภาพรู้ แต่ไม่ปรากฏลักษณะของนามธรรม
ผู้ฟัง เมื่อใดจะเรียกว่า ปรากฏ
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณ ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ วิปัสสนาญาณทุกญาณ เป็นการประจักษ์แจ้งสภาพธรรม ทางมโนทวาร โดยมโนทวารปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้ามี วิปัสสนาอาจจะแยกกันได้
ท่านอาจารย์ ชัดเจน ชัดเจนทีเดียว ขาดตอนจริงๆ ลักษณะของนามไม่มีรูปใดๆ เกี่ยวข้องด้วยเลย อย่างที่เราพูด ถึง เอาสีออก เอาเสียงออก เอากลิ่นออก เอารสออก เอาเย็นร้อนอ่อนแข็งออกหมดไม่เหลืออะไรเลย แต่มีธาตุรู้หรือสภาพรู้ที่ปรากฏ ต้องปรากฏทางมโนทวาร เพราะว่า พวกนี้ไม่ปรากฏ และเวลาที่รูปปรากฏ ลักษณะของรูป ซึ่งต่างกับนามธรรม เพราะเหตุว่า นามธรรมปรากฏ โดยแยกขาดจากรูป ต้องปรากฏทางมโนทวาร
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น มโนทวาร ปรากฏก็ขณะนั้นวิปัสสนา เป็นมโนทวารวิถี คิด
ท่านอาจารย์ ตลอด
ผู้ฟัง แล้วก็นามธรรม ที่เป็นอารมณ์ก็กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ แน่นอน แยกขาดจากรูป ชัดเจน
ผู้ฟัง ตราบใดที่วิปัสสนา ไม่เกิด แต่ว่า พูดว่านามธรรมกำลังปรากฏ นี้ มีวิปัสสนาญาณ รู้ จึง อาจจะเรียกว่า กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ ก่อนที่จะปรากฏ ปัญญาจะต้อง ค่อยๆ อบรม จนกระทั่งรู้ลักษณะของนามธรรมขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย และเมื่อสมบูรณ์เมื่อไรก็ประจักษ์แจ้ง โดยที่หมดความสงสัย ในลักษณะของนามธรรม แต่ไม่ใช่หมายความว่าไม่มีการอบรมเจริญปัญญาเลย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น มโนทวารวิถี ทุกๆ วันเป็นปกตินี่ มีการระลึกได้โดยสติ แต่ก็ ยังไม่ทันเรียกว่า ธรรมปรากฏ แล้วสติอาจจะระลึกได้
ท่านอาจารย์ ระลึกได้ เพราะว่าจะต้องค่อยๆ รู้ขึ้น ถ้าไม่มีการอบรม การรู้ลักษณะของนามธรรม เลย นามธรรมจะปรากฏไม่ได้เลย เพราะนามธรรมจะต้องปรากฏกับปัญญาเท่านั้น ที่เป็นระดับขั้นที่ได้อบรม จนกระทั่งสามารถจะประจักษ์แจ้ง จริงๆ ในลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้ นั้น
ผู้ฟัง สมมติว่าผมสอนธรรมผู้อื่นแล้วก็สอนว่า ถ้ากำลังนึกถึงบ้าน หรือก็กำลังนึกถึงลูกหลานอะไรทั้งหมดนี่ กำลังนึกคิดนี่ ต้องมีสติระลึกรู้ นามธรรมที่กำลังคิดนี้
ท่านอาจารย์ เราจะใช้คำว่า สีปรากฏ เสียงปรากฏ กลิ่นปรากฏ รสปรากฏ ถ้าขณะนั้นไม่คิดนึก ก็ไม่มีอะไรปรากฏให้ระลึก เพราะฉะนั้น คำว่า ปรากฏระดับขั้นสติระลึก ไม่ใช่ ปรากฏระดับขั้นของวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง คำที่พูดสั่งสอนกันบ่อยๆ ว่า สติปัฏฐาน นี้คือ สติระลึก สิ่งที่กำลังปรากฏ อาจจะพูดได้
ท่านอาจารย์ พูดได้ เพราะเหตุกำลังคิด อะไรจะปรากฏให้ระลึก เพราะฉะนั้น ปรากฏที่นี่หมายความว่า ปรากฏสภาพที่เป็น สภาพรู้ ที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะถึงขั้นประจักษ์แจ้ง ที่จะหมดความสงสัย โดยสภาพธรรม ปรากฏโดยความเป็นอนัตตา ทางมโนทวารซึ่งต่างกับขณะที่กำลังค่อยๆ เข้าใจขึ้น ด้วยเหตุนี้ วิปัสสนาญาณ จึงไม่ใช่ว่าเป็น ชีวิตประจำวัน ขณะที่สติกำลัง เริ่มระลึก แล้ววิปัสสนาญาณ จะเกิดเมื่อไร เป็นอนัตตา จริงๆ ไม่ต้องคอยไม่ต้องรอ ไม่ต้องหวัง เมื่อพร้อมด้วยเหตุปัจจัยก็เกิด และเมื่อเกิดเมื่อไร เมื่อนั้นก็หมดความสงสัย ว่านี่คือวิปัสสนาญาณ ซึ่งต่างกับขณะที่เพิ่งเริ่มระลึก
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การพูด สั่งสอนกันบ่อยๆ นี่ อาจจะพูดว่าสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏได้ แต่ถึงปรากฏ ก็จนมี นามรูปปริจเฉทญาณ
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้ จนกว่า
ผู้ฟัง จนกว่ามีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นวิปัสสนาญาณ จนมโนทวารวิถีปรากฏ แต่เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ท่านอาจารย์ ปรากฏด้วย แต่เหมือนมโนทวารปิดบัง เพราะว่าเร็วมาก เวลานี้เวลาที่มโนทวารวิถีปรากฏ จะเหมือนว่ารูปก็ตาม ไม่ได้ดับเลย นานมาก ไม่ว่าจะเป็นเสียง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นรส ดูเหมือนว่านานมาก ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังว่า สั้นแสนสั้น แต่เวลาเรารับประทานอาหาร เผ็ดก็ยังเผ็ดอยู่ตั้งนาน กลิ่นก็ยังมีกลิ่น มาให้เราได้กลิ่นอยู่นาน ทั้งๆ ที่เรา รู้ว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เวลาที่มโนทวารวิถีปรากฏ ที่เป็นวิปัสสนาญาณ ที่ว่า เหมือนปิดบังปัญจทวาร เพราะเหตุว่าลักษณะของปัญจทวาร ไม่ได้ปรากฏนาน อย่างนี้ อย่างเดิม เป็นมโนทวารวิถีที่รับต่อ ถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษาก็จะรู้แต่ลักษณะของรูป ซึ่งต่างกับนามธรรม แต่คนที่ศึกษา ก็จะรู้ว่า ขณะที่รูปปรากฏ ต้องมีปัญจทวารวิถีด้วย แต่ขณะนั้นปัญจทวารวิถีไม่ได้ปรากฏ นานอย่างที่ปรากฏ เวลาที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ตามลำดับในการเจริญสติปัฏฐานนี้ ก็ปัญจทวารที่รูป เสียง กลิ่น รส นี้ อาจจะปรากฏ
ท่านอาจารย์ สืบต่อ เพราะเหตุว่า แม้ว่าจะปรากฏทางตา ทางใจก็ยังมีสีนั้นต่อ เพราะฉะนั้น สืบต่อแล้ว
ผู้ฟัง แต่มโนทวารไม่ทันปรากฏ
ท่านอาจารย์ มิได้ หมายความว่า เวลาสีปรากฏกับจักขุทวารวิถีแล้ว ที่เราเห็นว่าไม่ดับเพราะมโนทวารวิถีก็รับต่อทันที แล้วเราจะไปเห็นอาการรับของมโนทวารได้อย่างไร เมื่อมโนทวารนั้น มีสีนั้นเองเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น สีเท่านั้นที่ปรากฏอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะมีจักขุทวารวิถีแล้วก็ภวังค์ แล้วก็มโนทวารวิถี แต่สีก็ปรากฏอยู่เรื่อยๆ
ผู้ฟัง อาจารย์หมายความว่า เพราะว่าต้องแยกขาดจากกัน
ท่านอาจารย์ เวลาที่มโนทวารวิถีปรากฏ สภาพธรรม แยกขาดอยู่แล้ว เพราะว่ามโนทวารปรากฏ จึงแยกขาดได้ ถ้ามโนทวารไม่ปรากฏ จะแยกขาดไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ถ้าสีกำลังปรากฏ ต่อจักขุวิญญาณ
ท่านอาจารย์ จักขุทวารวิถี
ผู้ฟัง จักขุทวารวิถี นี้อาจจะเรียกว่าสีกำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ แล้วแม้แต่ขณะนี้ มโนทวารวิถีก็รู้สีนี้แหละต่อทันทีเลย หลังจากที่ภวังค์คั่นแล้ว
ผู้ฟัง มโนทวารวิถีไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ไม่ปรากฏ เพราะว่าสีเหมือนกับมีสีตลอด เหมือนกับจักขุทวารวิถีตลอด
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปัญจทวารปิดบัง มโนทวาร
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะว่าแม้แต่การดับไป ก็ไม่ปรากฏ แม้แต่การแยกขาดระหว่าง นามธรรม มโนทวารวิถีกับ ปัญจทวารวิถีก็ไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง แล้วก็สติอาจจะระลึกมโนทวารวิถีได้ แต่ก็ไม่ชัดตลอด
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ระลึก มโนทวารวิถี ระลึกรู้สภาพที่ปรากฏ ทางใจ
ผู้ฟัง สภาพที่ปรากฏทางใจ เป็นการนึกคิด
ท่านอาจารย์ เป็นการระลึก อย่างจิตที่คิดนึกมี ถ้าจิตไม่คิดนึก ขณะนั้นจะไปรู้จิตที่คิดนึก ก็ไม่ได้ แต่ถึงจะระลึกก็คือ ค่อยๆ เข้าใจลักษณะที่คิด ว่าเป็นสภาพรู้ แต่ไม่ใช่ว่าปรากฏ โดยแจ่มแจ้งอย่าง วิปัสสนาญาณ แต่จะต้องใช้คำว่า ปรากฏ เพราะเหตุว่าถ้าไม่เกิด ก็ไปรู้สภาพที่กำลังคิดไม่ได้ ปรากฏในขั้นของการะลึกรู้ หมายความถึง ขั้นนั้น เวลาที่สี ปรากฏกับจักขุทวารวิถีแล้ว ปรากฏต่อทางมโนทวารวิถีด้วย แต่เราเห็นสีตลอดเพราะเหตุว่า มโนทวารวิถีก็มีสีเป็นอารมณ์ นี่จึงทำให้เรา ไม่สามารถจะแยก จักขุทวารวิถี กับ มโนทวารวิถีได้ เพราะแม้มโนทวารวิถีที่เกิดต่อ ก็มีสี นี่แหละเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง ตรงนี้จึงจะเรียกว่า จักขุทวารวิถี ปิดบังมโนทวารวิถี เพราะมโนทวารที่รู้สีต่อ ไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ตลอดถึงวิปัสสนาญาณ รู้ มโนทวารวิถี รู้สีนี้ จึงจะปิดบังปัญจทวาร เข้าใจอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณ ทุกวิปัสสนาญาณ ต้องเป็นทางมโนทวารวิถี จึงจะเป็นความแจ่มแจ้ง เพราะสามารถที่จะแยกขาด เพราะเหตุว่ามโนทวารวิถีคั่นทุกวาระ ของปัญจทวารวิถี
ผู้ฟัง มีคำถามเรื่องสี ที่ปรากฏ เวลาเป็นรูปธรรม เล็กที่สุดเหมือนกับ รูปธรรม ๗ อัน ดิฉันสงสัยว่า อาจจะเล็กไป เห็นไม่ได้ จะมีสีอันเดียวที่ปรากฏในเวลาเดียวกัน เป็นไปได้
ท่านอาจารย์ เวลานี้ใครจะนับจิตที่เกิดดับ ที่กำลังมีสีเป็นอารมณ์ นับไม่ได้เลย ใครจะไปนับจิตที่รู้กำลังรู้อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด เป็นไปไม่ได้ แต่ว่ารูปใดกำลังปรากฏ เริ่มรู้เริ่มเข้าใจลักษณะ ของรูปเท่านั้น แล้วต่อไปก็จะรู้ความจริงเพิ่มขึ้น นี่คือคิด แต่รูปกำลังปรากฏ ต้องรู้ว่า ลักษณะของรูป ต่างกับลักษณะของนามธรรม
ผู้ฟัง แต่การเกิดดับของจิต เรารู้ ยังไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ แต่เข้าใจด้วยสติได้ เพราะว่ามีเห็น และมีได้ยิน และในเวลาเดียวกันไม่ได้ เข้าใจ แต่รูปธรรมที่เกิดดับ เข้าใจยากกว่า
ท่านอาจารย์ ที่จริง ดิฉันก็ไม่ทราบ คุณนีน่าพูดถึงรูป สีเล็ก เพราะว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เราจะวัดขนาดอย่างไร แล้วคำถามอีกคำถามเมื่อกี้นี้
ผู้ฟัง รูปที่เกิดดับ เป็น วิปัสสนาญาณ เราจะรู้ชัด แต่เดี๋ยวนี้ คิดเรื่องทฤษฎีเท่านั้น แต่เข้าใจยากกว่าจิตที่เกิดดับ
ท่านอาจารย์ ตั้งต้น ไม่ใช่รู้อย่างนี้ แต่ตั้งต้นด้วย ขณะใดสติเกิด รู้ว่าสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ รู้ว่าหลงลืมสติ นี้คือขั้นต้น แสดงให้รู้ว่าเราจะต้องรู้จักจิตของเรา แต่ส่วนใหญ่ คนมีอกุศลมาก เพราะฉะนั้น เวลาไปเห็นอกุศลของคนอื่น ลืมคิดถึงอกุศลของตัวเอง ที่กำลังเห็นอกุศลของคนอื่น เท่านั้น
ผู้ฟัง เมื่อตอนแรกเราสนทนาค้างไว้ถึง เรื่องมโนทวาร พอดีผมก็สงสัยขึ้นมาว่า ในขณะที่เราฝัน ขณะที่หลับก็มีแต่วิถีทางมโนทวาร และในขณะที่ฝันก็เป็นคิดนึก ก็คือ เป็นมโนทวารวิถี ในขณะที่ฝัน ฝันโดยที่ไม่รู้อารมณ์ทางปัญจทวาร ทีนี้สงสัยว่า ขณะที่เราฝัน อารมณ์ทางมโนทวาร กับมโนทวารในขณะนี้ ที่เราคิดนึก ขณะนี้ มันเหมือนกันเลย หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่า ทางรู้อารมณ์ มี ๖ ทาง แยกกัน อย่างที่ว่าหนึ่งๆ ๆ ๆ คือแยกให้เห็นชัดๆ ว่าปนกันไม่ได้ ทางตาถ้าเป็นวิถีจิตที่อาศัยจักขุปสาท รูปเกิด เขาจะมีแต่สีอย่างเดียวเป็นอารมณ์ จะมีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ไม่ได้ ฉันใด ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ฉันนั้น แต่ทางใจ เพราะเหตุว่า เรารับสืบต่อจากทางตา สีที่กำลังปรากฏเวลานี้ ทั้งทางปัญจทวาร และมโนทวาร แยกไม่ได้เลย เร็วมาก ทางหูก็เหมือนกัน เสียงที่กำลังได้ยิน ทั้งปัญจทวาร และมโนทวาร
ถ้าเราคิดถึงทางมโนทวาร ขณะที่เรานึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือว่าเรื่องราวต่างๆ ทางใจ ขณะนั้นเป็นคิดนึก ต้องเป็นมโนทวาร จะเป็นจักขุทวาร โสตทวาร พวกนี้ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า มโนทวารคืออย่างไร คือ ขณะที่นึกคิด เรื่องราวต่างๆ เห็นได้ชัด ทีนี้ ทำไมเวลานี้ เราไม่เรียกว่าฝัน แต่เวลาเรานอนหลับสนิท เราฝัน เพราะเหตุว่า ขณะนี้ แม้ว่ามี มโนทวารวิถีจิต แต่มโนทวารวิถีจิต ตอนนี้รู้อารมณ์เดียวกับทางปัญจทวาร แต่ว่า เวลาฝันไม่ได้มีปัญจทวารปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็เป็นแต่เพียงการคิดนึกอย่งเดียว แต่ขณะนี้ที่ไม่เรียกว่าฝัน เพราะมีปัญจทวาร และมโนทวาร มีอารมณ์เดียวกับปัญจทวาร ทางตา เห็นขณะนี้ มโนทวารวิถี ก็มีสี ปรากฏ เป็นอารมณ์ ทางหูก็เหมือนกัน จึงไม่ชื่อว่า ฝัน แต่ความจริงแล้ว มโนทวารต้องเป็น มโนทวาร แล้วก็วาระแรกของมโนทวารที่สืบต่อจากปัญจทวาร ยังไม่ได้นึกคิดเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งกำลังฝันไม่มี
ผู้ฟัง ผมจำกัด คำถาม ให้แคบลงไปหน่อย ถ้าเป็นมโนทวารวิถี วิถีหลังๆ ในขณะที่เราตื่น ไม่เอามโนทวารวิถีแรกๆ ซึ่งสันตติ มาจากปัญจทวาร กับที่เราฝัน
ท่านอาจารย์ ก็ยังต่างกันอยู่ดี เพราะว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วาระแรก มโนทวาร มโนทวาร วาระต่อไปก็ ยังมีเห็นสลับอยู่ ก็ยังมีได้ยินสลับอยู่
ผู้ฟัง นี้จะเป็นเหตุผลที่ว่า เนื่องจากเวลาเราฝัน มโนทวารอย่างเดียว เป็นเรื่องอะไรมันถึงตื่นเต้น
ท่านอาจารย์ คิดนึกเรื่องราว ด้วยความทรงจำ ทั้งๆ ที่ไม่มี ปัญจทวาร วาระหนึ่งวาระใดเลย แต่ขณะนี้ไม่ใช่ฝัน เพราะว่ามีปัญจทวาร สลับอยู่ตลอด
ผู้ฟัง จึงทำให้เวลา ขณะที่เรานึกคิดถึงเรื่อง มันอาจจะตื่นเต้นขึ้นมาในขณะที่เราตื่น ก็ได้
ท่านอาจารย์ เวลาฝันแล้ว ตื่นเต้น จำเรื่องราว
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420