ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๐๖

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ผู้ฟัง นี้จะเป็นเหตุผลที่ว่า เนื่องจากเวลาเราฝัน มโนทวารอย่างเดียว เป็นเรื่องอะไรมันถึงตื่นเต้น

    ท่านอาจารย์ คิดนึกเรื่องราว ด้วยความทรงจำ ทั้งๆ ที่ไม่มี ทางปัญจทวาร วาระหนึ่งวาระใดเลย แต่ขณะนี้ไม่ใช่ฝัน เพราะว่ามีปัญจทวาร สลับอยู่ตลอด

    ผู้ฟัง จึงทำให้เวลา ขณะที่เรานึกคิดถึงเรื่อง มันอาจจะตื่นเต้นขึ้นมาในขณะที่เราตื่น ก็ได้

    ท่านอาจารย์ เวลาฝันแล้ว ตื่นเต้น จำเรื่องราว แต่ตอนนี้เราจะเห็นอะไรเราก็นึก ถึงสิ่งที่เห็น ได้ยินอะไรก็นึกตาม เสียงที่ได้ยิน แต่มโนทวารก็ต้องเป็นมโนทวารวิถี จะต่อหรือไม่ต่อจากปัญจทวารวิถีก็ได้

    ผู้ฟัง บางครั้งมโนทวาร ก็ไม่ได้รับอารมณ์จากปัญจทวาร

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง ตอนเหม่อลอย พอเหม่อ มันมีแต่มโนทวาร หรือ

    ท่านอาจารย์ มโนทวารไม่จำเป็นต้องเกิดต่อจากปัญจทวาร เกิดก็ได้ เกิดต่อจากปัญจทวารก็ได้ ไม่เกิดต่อจากปัญจทวารก็ได้ แต่เวลาที่ปัญจทวาร ทวารหนึ่งทวารใด เกิดแล้วดับไป มโนทวารจะเกิดสืบต่อทันที มีอารมณ์เดียวกันด้วย

    ผู้ฟัง มโนทวารละเอียดแล้วก็รู้ได้ ยากมาก ถึงทำให้ทางปัญจทวาร เหมือนกับปิดบังทางมโนทวาร

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว จิต จะรู้ได้ทางมโนทวาร นามธรรมทั้งหมด รู้ได้ทางมโนทวาร แต่เวลานี้ รูปปรากฏ นามไม่ได้ปรากฏเหมือนอย่างจิตที่ปรากฏ ให้เห็นชัดๆ อย่างนี้ เพียงแต่รู้ว่ามีนามธรรมแน่นอน เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าสีปรากฏ โดยไม่มีจิตรู้ไม่ได้ นี่คือควารู้ขั้นปริยัติ แล้วจริงๆ จิตมี ไม่ใช่ไม่มี เป็นธาตุรู้ หรืออาการรู้ ใช้คำว่า ธรรม หรือ ธาตุ หรือ สภาวะ หรือ อาการรู้ แสดงว่าไม่มีรูปร่าง สัณฐาน สีสันวัณณะ เสียง กลิ่นอะไรเลย ถึงได้บอกว่า โลกนี้ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เอาสีออกไปให้หมด เอาเสียงออกไปให้หมด เอากลิ่น เอารส เอาโผฏฐัพพะ ออกไปให้หมด ที่เหลือนั้นคือจิต อย่างไรก็ต้องมีจิต ซึ่งเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งไม่ใช่รูปเลย ซึ่งจะรู้อย่างนี้ได้ ก็โดยมโนทวารวิถี ปัญจทวารวิถีจะรู้จิต อย่างนี้ไม่ได้ เลย เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นอารมณ์ของมโนทวาร ก็ได้แก่ จิต เจตสิก สุขุมรูป ปสาทรูป บัญญัติ นิพพาน แล้วก็ยังสามารถที่จะรู้ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วย มโนทวารรู้ได้ ทุกอย่าง

    ผู้ฟัง สรุปว่า เรามีปัญญาที่จะรู้รูป รู้นาม แต่ละอย่างซึ่งเกิดดับอย่างรวดเร็ว แล้วแยกขาดออกจากกันอย่างเด็ดขาดเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ถ้าไม่อย่างนั้น จะไม่มีการบรรลุคุณธรรม รู้แจ้งอริยสัจ เป็นพระอริยเจ้า ก็อยู่อย่างนี้แหละ ก็ไม่ได้รู้อะไรที่ ชัดขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้ง แต่การที่จะประจักษ์แจ้งได้ หมายความว่าต้องมีปัญญาถึงขั้น ที่จะถอนความเป็นตัวตนออกจากสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ว่าไม่ใช่ตัวตน

    ผู้ฟัง โดยค่อยระลึกไปทีละน้อย

    ท่านอาจารย์ แน่นอน มีหน้าที่อย่างเดียว คืออบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ไปหวังไปคอยไปรอ ไปอยากรู้ หรือไปคิด เพราะว่าถึงอย่างไรก็ไม่รู้ จนกว่าปัญญาจะสามารถประจักษ์แจ้งได้

    ผู้ฟัง ตอนนี้ผมมีโลภะนิดหน่อย ผมอยาก จะไปเรียนปริยัติ ให้มาก ซึ่งกว้างขวางออกไปอีก

    ท่านอาจารย์ จุดประสงค์ของการศึกษาปริยัติของหมอคืออะไร

    ผู้ฟัง เจริญสติ

    ท่านอาจารย์ จุดประสงค์ของการเจริญสติ คืออะไร

    ผู้ฟัง คือรู้รูปนามตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่ฟัง เพื่อให้เห็นความไม่ใช่ตัวตน ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ให้หมอไปนั่งจำ แต่ไม่ว่าหมอจะเรียนละเอียดสักเท่าไรก็ตาม จบอภิธัมมัตถสังคหะ อรรถกถา อะไรๆ ทั้งหมด แต่หมอไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ไม่เข้าใจว่า นี่เป็นเรื่องของสภาพธรรม ที่จะช่วยให้เราละการยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน เพราะว่าสติเกิดเป็นประจำกับกุศลจิต แล้วเราก็รู้ว่ามีปรมัตถธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นปรมัตถ เพราะฉะนั้น สติระลึกที่ ลักษณะของปรมัตถแต่ปัญญาไม่สามารถจะเจริญได้ ถ้าหมอไม่เข้าใจ ธรรมพอที่จะละการยึดถือว่าเป็นตัวตน

    ผู้ฟัง ก็มีความหวังว่า ถ้าเราศึกษาปรมัตถให้ละเอียด กว่านี้แล้วจะเกื้อกูลให้เกิด สติ

    ท่านอาจารย์ แต่หมอต้องรู้วัตถุประสงค์ ศึกษาปริยัติคือ พิจารณาสิ่งที่กำลังปรากฏ ประกอบด้วย ไม่ใช่ศึกษาจากตำราแล้ว นั่งบวกลบคูณหาร เหมือนเรียนภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ท่องได้ จำได้ แต่พอพูดถึงสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ไม่รู้เรื่อง อย่างนั้นตายแล้วก็ลืมหมด ตั้งต้นใหม่อีกก็ลืมอีก แต่ถ้าหมอพิจารณาสภาพธรรม ว่าเรียนเพื่อเข้าใจถูกต้องในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะอย่างเห็น ถ้าหมอไม่เข้าใจความจริงของเห็น หมอเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ แน่นอน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องข้ามไปที่ไหนเลย สิ่งที่กำลังมี เราศึกษาเพื่อให้รู้ความจริงว่า ถึงจะละเอียดมากเท่าไรก็เพียงเพื่อ เมื่อสติระลึก แล้วสามารถจะละความเป็นตัวตนได้ เพื่อจุดนี้ ที่เรียนปริยัติ เพื่อจุดนี้ ไม่จำเป็นเลย ทุกอย่างเป็นเหตุเป็นปัจจัยในตัวของเขาเอง ไม่ใช่หมอต้องไปทำ สังขารขันธ์เขาปรุงแต่ง ไม่มีใครสามารถจะทำอะไรได้ การศึกษาเมื่อเข้าใจแล้ว เป็นสังขารขันธ์ เป็นส่วนที่จะทำให้มีการระลึกรู้สภาพธรรม ไม่ใช่หมอไปกะเกณฑ์ว่าเท่านี้ ตรงนั้น แล้วให้สติ เกิด

    ผู้ฟัง ไม่ได้กะเกณฑ์ แต่หวังว่าจะได้เกิดประโยชน์

    ท่านอาจารย์ นี่ไงละ หวังไงๆ ใช่สิ หมายความว่าเป็นสภาพของเขาเอง

    ผู้ฟัง ผมขออนุญาตถามว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายความว่าอย่างไร เพราะว่าเราได้คุยกันในห้อง ผมเองก็ยังสงสัยอยู่ การปฏิบัติ อย่างไรถึงสมควรแก่ธรรม

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ได้แก่การปฏิบัติ เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง ของธรรม

    ผู้ฟัง อาจารย์ลองยกตัวอย่าง

    ท่านอาจารย์ สติปัฏฐาน แน่นอน เพราะว่าขณะนี้มีสภาพธรรม กำลังปรากฏ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่การรู้ ธรรม ก็ต้องมีหนทางเดียว คือระลึกลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏ จึงจะรู้จักธรรม ว่านี่เป็นธรรม แล้วก็มีลักษณะที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป

    ผู้ฟัง ผมนึกว่าเวลาเราเดินทาง เราก็มีการประพฤติปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่ง เวลาเราฟัง เราก็ประพฤติปฏิบัติอย่างหนึ่ง เวลาเราอยู่ที่บ้าน เราก็ประพฤติอีกอย่างหนึ่ง อย่างนั้นจะได้ไหม

    ท่านอาจารย์ อีกอย่างหนึ่ง คืออย่างไร เล่า

    ผู้ฟัง ก็สมควรกับสถานที่ หรือกับเวลา

    ท่านอาจารย์ อันนั้นไม่ใช่ อันนั้นเป็นเรื่อง สังคมศึกษา หรือจริยศึกษา หรืออะไร ความประพฤติทางกายทางวาจา แต่อันนี้ เกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สมควรคือเพื่อรู้ ธรรม ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ทางสายกลางมีความหมายแค่ไหน เพาะว่า ผมนึกว่า คำว่า สุดโต่ง ข้างใดข้าง ๑ ถ้ามันสุดโต่งจริงๆ เราก็ทราบว่า สุดโต่ง แต่ถ้ามันไม่สุดโต่ง การประพฤติการปฏิบัติ ของแต่ละบุคคล ก็ไม่เหมือนกัน เป็นต้นว่า ถ้าหากว่า เราจะวิรัติบางสิ่งบางอย่าง อาจจะมังสวิรัติ ก็เป็นตามอัทธยาศรัยของเรา แต่ก็ไม่เป็นการสุดโต่ง เพราะเราเห็นว่าอย่างนั้นดีสำหรับเรา เราประพฤติได้ เราทำได้ อย่างนั้นจะถูกต้องไหม

    ท่านอาจารย์ อย่างสมมติว่าจะทานข้าวสัก ๒ ชาม แล้วคนอื่นก็ชามเดียว อันไหนจะเป็นทางสายกลาง เพราะว่าสำหรับคนที่รับประทาน จานเดียว อาจจะคิดว่า ๒ จานนั้นมากไป ส่วนคนที่รับประทาน ๒ จานก็อาจจะคิดว่าคนทานจานเดียว น้อยไป จริงๆ แล้ว ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐาน แล้วไม่ใช่ทางสายกลาง เพราะเหตุว่าสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นละ อภิชฌา และโทมนัส ถ้าสุดโต่งก็คือว่าอภิชฌา หรือโทมนัส

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่า เราสังวรอินทรีย์ คนอื่นอาจจะเห็นว่า ที่เราสังวร มันไม่เป็นทางที่ เป็นทางที่คล้ายว่า ทรมานตัวเองก็ได้

    ท่านอาจารย์ สังวรอินทรีย์จริงๆ ต้องเป็นสติ ที่ระลึกลักษณะ ของสภาพธรรม ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ไม่ใช่ไปทำสังวร ส่วนใหญ่มักจะไปทำสำรวม หรือทำสังวร แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลจิตได้ แต่ว่าเวลาที่สติปัฏฐาน เกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นไม่มีทั้ง อภิชฌา และโทมนัส จึงเป็นทางสายกลาง เพราะเหตุว่าขณะนั้นโมหะก็ไม่มี เพราะสติระลึก

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ในทุกเวลาเรา ก็มีอภิชฌา และโทมนัส

    ท่านอาจารย์ ขณะที่สติไม่ระลึก ไม่ใช่ทางสายกลาง ทางสายกลางมีในพระพุทธศาสนา สติปัฏฐาน มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา

    ผู้ฟัง ขอถามถึงสถานที่นี้อีก ครั้งหนึ่ง ในตอนเช้าที่เรามาถึง มีการ สวดแล้วก็อาจารย์สมพร ก็กล่าวนำว่า ทรงจำแนกธรรมได้แจ่มแจ้ง การใช้คำว่า จำแนก จำแนกอย่างไร

    ท่านอาจารย์ แสดงโดยละเอียด ทุกอย่าง ทุกประเภท จิตมีเท่าไร เจตสิกมีเท่าไร ภูมิอะไร ชาติอะไร ทุกอย่าง ทั้งหมดในพระไตรปิฎก ทรงจำแนกธรรม ถ้ากล่าวว่ามีแต่นามธรรม และรูปธรรมจบ ใครก็ละกิเลสไม่ได้ แต่ก็จำแนกออกไปเป็นขันธ์ ๕ จำแนกออกไปเป็นอายตนะ ๑๒ จำแนกออกไป เป็น ธาตุ ๑๘ จำแนกจนกระทั่งเราค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง

    ผู้ฟัง ในกุศลเกิดขึ้น เช่นกุศลขั้นศีล นี้ ก็มี หิริ และโอตตัปปะ ผมถามในเรื่องหิริ ก็มีความปรากฏชัดกว่าผัสสะ แต่ก็ ผัสสะนี้ก็ เกิดดับพร้อมกับหิริ ทำไมจึงลักษณะของผัสสะนี่ ไม่ปรากฎชัด เสมือนหิริ หิริก็ชัด ละอายในบาปนี้ แต่ผัสสะนี่ก็ไม่มีลักษณะประกอบเหมือนหิริ

    ท่านอาจารย์ แล้วชีวิตินทริยเจตสิก ล่ะ

    . มากมายทั้งนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็ทั้งนั้น อะไรไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ นิสัยของเรา สามารถที่จะรู้อะไรได้ อะไรปรากฏก็รู้สิ่งนั้น ให้หมดความสงสัยในสิ่งที่ปรากฏก่อน จะได้ไม่เสียเวลา มิฉะนั้นแล้ว แทนที่เราจะหมดความสงสัยในสิ่งที่กำลังปรากฏ เราเพิ่มความสงสัย ในสิ่งที่ไม่ปรากฏ แล้วก็ไม่ได้ลดความสงสัยในสิ่งที่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้วคำถามของคุณบุตร สาวงษ์ ก็ต้องต่อไปถึงชีวิตินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก ใช่ไหม ไม่ใช่แต่เฉพาะผัสสเจตสิก มีลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก ทุกชนิด แต่แล้วแต่ว่าอะไรจะปรากฏ โดยเราไม่ต้องขวนขวาย เพราะว่าโดยทฤษฎี เราทราบว่า ถ้าไม่มีผัสสเจตสิก จิตเห็นเกิดไม่ได้แน่ สัญญาก็เกิดไม่ได้ เจตนาอะไรๆ ก็เกิดไม่ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น บางครั้งทรงยกผัสสเจตสิกเป็น ผัสสาหารเป็นอาหารซึ่งนำมาซึ่งธรรมอื่นๆ แต่เราก็ฟัง เพื่อที่จะ ให้เข้าใจ แต่ไม่ใช่เพื่อเจาะจง ที่จะรู้ลักษณะของผัสสะ ขอให้ไว้วางใจสติปัฏฐาน ถ้าเมื่อไรที่ไม่เป็นเรา เมื่อนั้นสติเขาจะระลึก แล้วเราก็จะไม่รู้เลยว่า สติจะระลึกอะไร ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย แต่สติสามารถจะระลึกสิ่งที่มี แล้วก็ไม่ต้องห่วงใยใดๆ ทั้งสิ้น สติจะระลึกอะไร ขอให้พร้อมที่จะรู้ และเข้าใจสภาพธรรม ที่สติระลึกให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ผมถามนี้ ก็ไม่ถึงขั้นเรื่องสติปัฏฐาน หรือสภาพธรรมที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่เรื่องสติปัฏฐาน เราเข้าใจว่ามีผัสสเจตสิก แต่ที่จะรู้ลักษณะของผัสสเจตสิกจะรู้ได้อย่างไร ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิด

    ผู้ฟัง ถ้าหิริก็อาจจะปรากฏให้เข้าใจได้ ถ้าไม่มีสติระลึก ทำสติปัฏฐาน ก็อาจเข้าใจว่า มีหิริ มีการละอายบาป

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าลักษณะของหิริ กับ อหิริกะ โอตตัปปะ กับ อโนตตัปปะ เป็นพละ เป็นสิ่งที่เป็นพละ เพราะฉะนั้น ก็ปรากฏได้

    ผู้ฟัง มีกำลังมากกว่าผัสสะ

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง ฟังเทปของอาจารย์บ่อยๆ ได้ยินเกี่ยวกับพระวิหารเชตวัน อยากขอถามว่าทำไมพระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่นี่นานกว่าอยู่ที่อื่น

    วิทยากร. ทำไมจึงประทับอยู่ที่นี่นาน ก็คงจะเป็นเพราะว่าที่นี่สร้างดี สร้างดีก็คือสัปปายะ แล้วก็โดยปกติแล้วพระพุทธองค์จะไม่ติดที่ แต่ว่าเป็นเพราะต้องการที่จะสนองศรัทธาของมหาอุบาสก มหาอุบาสิกกา พอหลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านก็เสด็จไป ที่พระองค์ประทับอยู่นาน เพราะท่านมหาอุบาสก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านมีศรัทธาแรงมาก บริจาคทรัพย์ ๕๔ โกฏิ เพื่อสร้าง พระเชตวันมหาวิหาร แล้วอีกประการหนึ่ง มหาอุบาสิกกาวิสาขา บริจาคทรัพย์ ๙ โกฏิ ในส่วนนี้แสดงถึงความศรัทธา พระพุทธองค์ ทรงยกย่องว่าเป็น มหาอุบากสก มหาอุบาสิกาในทางพระพุทธศาสนา

    สมพร. เรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ สาวัตถี มาก ก็มีหลายอย่าง ตามอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่าเพื่อจะอนุเคราห์ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้มีศรัทธามาก นี้กล่าวตาม นัยอรรถกถา เพราะอนาถบิณฑิกะ ไปเวลาเช้า เวลาเย็น ทุกๆ ขณะที่ไปไม่เคยมีมือเปล่าไปเลย ต้องมีของติดมือไปถวายสงฆ์ทุกครั้งเลย แต่เมื่อถวายมากเข้าๆ บางครั้ง พัสดุก็ร่อยหรอ หมดไป เมื่อไม่มีอะไรจะนำติดมือไป ก็ให้คนขนทรายไป ขนทรายไปที่วัด มีตอนหนึ่ง อนาถบิณฑิกะยากจนเหมือนกัน มีอยู่ ๒ ตอน แล้วตอนหลังกลับรวยขึ้นมาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เพื่อจะฉลองศรัทธาของอนาถบิณฑิกะผู้มีศรัทธามาก อีกนัยหนึ่ง ตามความคิดเห็นของผมว่า เพราะว่าสัตว์ ที่จะตรัสรู้ มีอยู่ที่นี้มาก และอีกนัยหนึ่ง ที่ท่านมหากล่าวแล้ว หมายความว่า เป็นที่สัปปายะ เหมาะสม ผมก็คงจะกล่าวแค่นี้

    ผู้ฟัง จากการฟังเทปในรถที่เราได้นั่งรถกันมา มีความอยู่ตอนหนึ่งว่า ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็จะสามารถมีสติระลึกรู้ได้ว่า ในขณะใดเป็นความเพียรทางใจ ในขณะใดเป็นความเพียรทางกาย ผมใคร่จะขอขยายความตรงนี้ว่า ความเพียรทางกายเป็นอย่างไร ความเพียรทางใจเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปเคยเพียรทำอะไรบ้างไหม

    ผู้ฟัง เคย

    ท่านอาจารย์ เคย ถ้าสติปัฏฐาน เกิดในขณะนั้นได้ไหม เพราะเหตุว่าสติปัฏฐาน คือการระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ขณะใดที่มีความเพียรทางกาย ลองบอกสิว่าเพียรทำอะไร

    ผู้ฟัง ก็อย่าง ตั้งใจฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ ทางกาย เพียรทางกาย ทำอะไร

    ผู้ฟัง ก็อาจจะทบทวนความจำหรือว่าไปเปิดวิทยุ ไปทำอะไร

    ท่านอาจารย์ นั่นๆ เพียรหรือ ทีนี้ถามถึงความเพียร เคยเพียรทางกาย ทำอะไรบ้างไหม

    ผู้ฟัง เพียรทางกายในชีวิตประจำวัน ใช่ไหม เช่น ตอนเย็น ก็อาจจะออกกำลังกาย เช้าก็อาจจะทำธุรกิจส่วนตัวอะไร ที่นึกได้

    ท่านอาจารย์ คนที่เคยขัดหม้อ อาจจะต้องเห็นว่า หม้อนี้ดำมาก ก็ต้องขัดนาน ต้องมีความเพียรที่จะให้ใสขึ้น สะอาดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นชีวิตประจำวัน ของคนที่กำลังขัดหม้อให้สะอาด มีความเพียรไหมทางกาย

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นความเพียรทางกาย แล้วก็มีสติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นเป็นความเพียรทางใจที่ จะรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมในขณะนั้น จริงๆ แล้วทุกคนลืมว่า ธรรมเป็นธรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว หรือ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว หรือจนถึงสมัยนี้ ทีนี้เมื่อเราไม่เข้าใจ เราก็ไปคิดว่า พระธรรมที่ทรงแสดง เป็นอะไร ความเพียรก็ไม่รู้ว่าอะไร ทางกายก็ไม่รู้ว่าอะไร แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ธรรมทั้งหมด ในชีวิตประจำวันจริงๆ เพียงแต่ว่าเมื่อพูดเป็นภาษาบาลี แล้ว แปลออกมาเป็นภาษาไทย ก็เกิดความงงว่านี่อะไร แต่ความจริงทรงแสดงธรรมในชีวิตประจำวัน ความเพียรก็คือความเพียร ความขยันหรือวิริยะ ความอดทนที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าทำด้วยกาย เราทุกคนก็เคยมีความเพียร บางคนอาจจะเพียรเด็ดหางถั่วงอกกองโตๆ นั่งก็เมื่อย แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรนอกจากเพียรอยู่นั่นแหละ นี่ก็คือความเพียร แต่ความเพียรทางใจก็คือว่าเพียรที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นสติปัฏฐานเป็น สัมมาวายามะ ก็ในขณะนั้นมีทั้งเพียรทางกายด้วย แล้วก็มีเพียรทางใจด้วย ข้อสำคัญให้ทราบว่าทั้งหมดที่ทรงแสดงคือชีวิตประจำวัน

    ผู้ฟัง สติ เกิด รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นสติสัมปชัญญะ หรือว่าสติปัฏฐาน ในขณะนั้นก็คือความเพียรได้เจริญขึ้น

    ท่านอาจารย์ ต้องมีสัมมาวายามะ ไม่มีสัมมาวายามะเกิดร่วมด้วยก็ไม่ใช่มรรคมีองค์ ๕ แต่สำหรับเพศบรรชิต ชีวิตประจำวัน ของท่าน ต่างจากคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น ความเพียรทางกายของท่าน ท่านก็ต้องต่างจากคฤหัสถ์ เพราะว่าท่านไม่ต้องมาเพียรขัดหม้อ หรือไม่ต้องมาทำอะไร อย่างชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า แต่ละชีวิตก็ต้องมี กาละ ที่มีความเพียรทางกายด้วย แล้วก็มีความเพียรทางใจ ซึ่งก็เป็นความเพียรทั้ง ๒ อย่าง แต่ถ้าเป็นสัมมาวายามะ คือ เมื่อสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็มีวิริยเจตสิกเกิดแล้วร่วมด้วยที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพนั้นทีละเล็กทีละน้อย เพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน สติสัมปชัญญะ หรือว่ารู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงไม่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องยากที่จะไปอบรมเจริญ

    ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจ แล้วก็มีปัจจัยที่จะให้สติเกิด คือขณะนั้นไม่หลงลืมสติ แต่ว่าปัจจัยที่จะให้สติเกิดก็ต้องน้อยกว่า เพราะเหตุว่า เคยหลงลืมมานาน แล้วก็มี อวิชชามาก เพราะฉะนั้น ก็มีปัจจัย ที่จะให้สติเกิดไม่นาน อาจจะไม่บ่อย แต่ก็อบรมไปได้

    ผู้ฟัง สรุปแล้วว่า ความเพียรทางกายกับทางใจนี้ อาจจะเกิดทางกาย แล้วทางใจไม่เกิด อย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นความเพียรทางกายธรรมดา ไม่ใช่การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม มีมากมายเลย ไปดูคนขยันซักผ้าเป็นจำนวนมากๆ เขาก็ต้องมีความเพียร แน่นอน ไม่ใช่คน เกียจคร้าน นั่นคือความเพียรทางกาย แต่ความเพียรทางใจที่กล่าวถึง หมายความถึง สัมมาวายามะ ที่เพียรระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ หรือแม้สติระลึกแล้ว ก็เพียรที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่าลักษณะนั้นเป็น นามธรรมหรือเป็นรูปธรรม เพราะเหตุว่าที่เราใช้คำว่า นามธรรม เป็นสภาพรู้ตามตำรา แต่เวลาที่สภาพรู้ กำลังรู้ เช่น กำลังเห็น ถ้าขาดวิริยะ ความเพียร เราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ที่กำลังเห็น ไม่ใช่รูปที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา เอาสิ่งที่ปรากฏทางตาออก ก็มีสภาพที่เป็นสภาพรู้ ซึ่งรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา แต่สภาพนั้นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น สัมมาวายามะ จึงเป็นมรรคองค์ ๑ ในมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติแล้วก็จะมีเพียง ๕ องค์ ไม่ขาดสัมมาวายามะเลย

    ผู้ฟัง สรุปว่าถ้ามีความเพียรทางกายแล้ว ถ้าเราจะรู้ว่ามี ความเพียรทางใจ หมายถึงว่าสติจะต้องระลึกรู้ แต่ถ้าหากว่าสติไม่ระลึกรู้ ผมเข้าใจว่าความเพียรนั้นยังมีอยู่ เพราะว่าถ้าหากว่าทางกาย กับทางใจ มันจะต้องไปควบคู่เดียวกัน ในเมื่อกายมีความเพียรแล้ว ใจจะต้องเป็นไปด้วย แต่ว่าสติไม่ระลึกรู้แล้ว เราก็ไม่ทราบว่ามีตัววิริยะอยู่ด้วย อย่างนี้จะถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ส่วนที่ใช้คำว่าความเพียรในพระไตรปิฎก ก็แสดงให้เห็นว่าวิริยเจตสิกนั้นเกิด ได้ทั้งกับกุศลจิต และอกุศลจิต ถ้าเรามีอกุศลจิต เราก็เพียรทำอกุศล อย่าง หนึ่งอย่างใด เพียรขยัน เพียรไปเที่ยว เพียรเลือกซื้อของ เพียรอะไรก็แล้วแต่ ขณะนั้นก็เป็นอกุศล ที่มีวิริยะเกิดร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็เพียรไปในทางกุศล ถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐาน ความเพียรนั้นก็เพียรที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าในขณะที่เรากำลังทำธุรกิจประจำวัน สมมติว่า อาจจะปลูกต้นไม้ หรือว่าจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง อย่างซักผ้าอย่างที่ท่านอาจารย์ ว่า อันนี้ก็เป็นชีวิตประจำวัน อย่างหนึ่งถือว่า เราไม่ใช่เจริญกุศล นั่นก็มีความเพียรทางกาย ในขณะที่เรากำลังกระทำการอยู่นั้น ถ้าหากเกิดมีสติระลึกรู้ว่า นี่เราก็เกิดมีความเพียรเกิดขึ้นมาด้วย อย่างนี้จะถือว่าเป็นกุศลหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม โดยเฉพาะพระอภิธรรม จะทำให้ทราบว่า วิริยเจตสิกไม่เกิดกับอเหตุกะจิต ๑๖ ดวงเท่านั้น นอกจากนั้นเกิดกับจิตอื่นทุกดวง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567