ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
ตอนที่ ๔๐๗
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๓๘
ผู้ฟัง เรากำลังกระทำการอยู่นั้น ถ้าหากเกิดมีสติระลึกรู้ว่า นี่เราก็เกิดมีความเพียรเกิดขึ้นมาด้วย อย่างนี้จะถือว่าเป็นกุศลหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม โดยเฉพาะพระอภิธรรม จะทำให้ทราบว่า วิริยเจตสิกไม่เกิดกับอเหตุกจิต ๑๖ ดวงเท่านั้น นอกจากนั้นเกิดกับจิตอื่นทุกดวง เวลาเกิดความยินดีต้องการ ติดข้องแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ต้องขยับเขยื้อนอะไรทั้งสิ้น ขณะนั้นก็ มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่าวิริยเจตสิก เกิดกับจิตส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน แม้ว่าเราจะไม่รู้โลภะเกิดขณะหนึ่ง โทสะเกิดขณะหนึ่งก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว ทีนี้ปัญหาอยู่ที่เพียรทางกาย กับเพียรทางใจ ซึ่งก็คิดว่าคงจะไม่มีปัญหาแล้ว
ผู้ฟัง หมายความถึงว่า มีสติ ระลึกรู้ตรงลักษณะที่อาการปรากฏ อย่างนั้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพื่อรู้ความจริง ในพระพุทธศาสนา ปัญญาสำคัญสุด เพราะเหตุว่าถ้ามี อวิชชาอยู่ ไม่มีทางเลย ที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ พูดถึงการออกจากสังสารวัฏฏ์ ดูไกลแสนไกล แต่ออกได้ทีละนิด เราต้องคิดถึงเรื่องทีละนิด เพราะว่าถ้าเราจะฮวบฮาบออกไปทันที ไม่มีใครทำได้เลย แม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ยิ่งด้วยพระปัญญายังถึง สี่อสงไขยแสนกัป แล้วถ้าไม่ถึงคุณธรรมสูงสุดอย่างนั้น พระอรหันต์รูปอื่นที่เป็นมหาสาวกก็แสนกัป
แสดงให้เห็นว่าการจะออกจากสังสารวัฏฏ์จริงๆ ไม่ใช่ใครรีบร้อนที่จะทำได้ ยิ่งมีปัญญายิ่งเห็นว่าอวิชชามีมาก เพราะเหตุว่าผู้ที่มีปัญญา ไม่ใช่ รู้อื่น รู้ความจริงของเห็น ขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ รู้ความจริงของได้ยิน ขณะที่ได้ยินเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมให้ปัญญาเกิดขึ้น เจริญขึ้นจริงๆ ที่เป็นการปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม คือ เพื่อรู้ความจริงของธรรมซึ่งกำลังเกิดดับ อย่างสูงสุด แต่ที่ใช้กันโดยมากก็ปฏิบัติธรรม ที่สมควรตามเหตุที่ ควรกตัญญูอะไรอย่างนั้น แต่ว่าโดยสูงสุดแล้วต้องหมายความถึง เพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรม
ดิฉันจะทวนคำถามของ คุณบุตร สาวงษ์ พูดถึงเรื่องการรู้อารมณ์ทุกครั้ง ทางปัญจทวาร จะต้องมีมโนทวารวิถีเกิดต่อ อย่างทางตาขณะนี้ที่เห็น จักขุทวารวิถีจิต คือจิตที่มีสีเป็นอารมณ์ ดับไปหมดแล้ว เพราะว่า รูปดับ มีภวังคจิตคั่น มโนทวารวิถีที่เกิดต่อจะต้องรู้รูปเดียวกับทางจักขุทวารวิถีที่ดับไป ถ้าเป็นทางหู เสียงที่กำลังปรากฏขณะนี้ ต้องกระทบกับโสตปสาท จิตที่มีเสียงที่ยังไม่ดับเป็นอารมรณ์ทั้งหมด เป็นโสตทวารวิถีจิต เมื่อเสียงดับ โสตทวารวิถีจิตดับหมดทุกวิถีจิตแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่น มโนทวารวาระแรก ที่เกิดสืบต่อ ก็ต้องมีเสียง ที่โสตทวารวิถีรู้เป็นอารมณ์ นี้คือสิ่งที่ คุณบุตร สาวงษ์ พูดถึง อันนี้ต้องเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะเหตุว่าเวลาที่โลภมูลจิตทางปัญจทวารวิถีเกิดแล้วอย่างไร มโนทวารวิถีก็มีโลภมูลจิตประเภทนั้นเกิดซ้ำเหมือนกันสำหรับวาระแรก เพราะฉะนั้น ชวนะวาระซ้ำกัน ๒ ทวารคือทั้งทางปัญจทวารวิถี และทางมโนทวารวิถี อันนี้ก็เป็นส่วนที่ทุกคนเข้าใจว่าต้องเป็นอย่างนี้ ทีนี้คำถามของคุณบุตร สาวงษ์ ว่าเวลาสติจะระลึก จะไม่ระลึกลักษณะของ มโนทวารที่มีรูปเป็นอารมณ์ ต่อจากทางปัญจทวาร จะระลึกอย่างอื่นได้หรือเปล่า นี่เป็นคำถาม ถามอย่างนี้ แล้วต่อจากนั้นถามว่าอย่างไร ถึงแม้ว่า จะไม่ระลึกรู้ลักษณะของรูปทางมโนทวาร ที่รับต่อจากปัญจทวาร ก็สามารถที่จะบรรลุวิปัสสนาญาณต่อๆ ไป ได้ไหม นี่คือคำถามของคุณบุตร สาวงษ์ เวลานี้ ไม่มีใครสามารถที่จะแยก การเห็นในขณะนี้ว่าที่ สีกำลังปรากฏ ปรากฏทางจักขุทวารวิถี หรือมโนทวารวิถี นี้แน่นอน ใช่ไหม ทางกายแข็งที่กำลังปรากฏ ไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ ว่าแข็งปรากฏขณะนี้ที่สติระลึก เป็นทางมโนทวารวิถี หรือเป็นทางกายทวารวิถี ถูกต้องไหม
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วงใยกังวล เรื่องของจักขุทวารวิถี และมโนทวารวิถี ซึ่งเกิดต่อ ถ้าเป็นสิ่งสุดวิสัยจริงๆ ที่จะรู้ ถ้าพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงแสดง ใครรู้ว่ามีมโนทวารวิถีต่อจากจักขุทวารวิถี ถ้าพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงแสดง ใครรู้ว่า เสียงที่กำลังปรากฏทางหู มีมโนทวารวิถีที่รู้เสียงนั้นต่อ จากทางโสตทวารวิถี เพราะว่าจิตเกิดดับเร็วมาก เร็วจนเกินกว่าที่เราจะนับ เพราะฉะนั้น ถ้าสติจะระลึกลักษณะของรูป เพียงแค่นี้ เพียงแค่ระลึกลักษณะของรูป พอไหม ไม่ต้องไปนึกถึงว่า ขณะที่ระลึก เป็นรูปที่ปรากฏ ทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถี พอไหม พอนะ ถ้าพอแล้วปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น ที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของรูปกับนาม
เพราะเหตุว่าเวลานี้ สีปรากฏกับจิตที่มีสีเป็นอารมณ์ แต่เราไม่เคยระลึกถึง ธาตุที่รู้ สภาพรู้ หรือลักษณะของจิต และเจตสิกซึ่ง กำลังเห็น เพราะว่า สีกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น การที่เราพูดถึงเรื่องนามธรรม พูดถึงเรื่อง จิต พูดถึงเรื่องเจตสิก เหมือนกับว่าเรารู้แล้วว่าจิตมีลักษณะอย่างไร เจตสิกมีลักษณะอย่างไร นี่เป็นเงาๆ ที่ทำให้เรารู้ว่า มี สภาพที่รู้ มีธาตุที่กำลังรู้ ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็ธาตุที่เป็นนามธรรม ที่เป็นธาตุรู้นั้นมี ๒ อย่าง คือจิต กับเจตสิก นี้เป็นชื่อ เป็นความเข้าใจ เป็นเพียงเงาๆ เท่านั้นเอง แล้วก็เป็นแต่เพียงความจำด้วย ถ้าจะเป็นเงาขึ้นมาอีกสักนิดก็ตอนที่สติระลึก แต่แม้กระนั้น การที่จะระลึกว่า มีสภาพรู้ในขณะนี้ ที่กำลังรู้ ก็เป็นแต่เพียงการที่กำลัง มีสัมมาวายามะ ที่กำลังฟังแล้วก็เพียรที่จะเข้าใจ แล้วแต่ว่าสติจะเคยระลึกมาก่อน จนกระทั่งกำลังฟังเดี๋ยวนี้ สามารถที่จะรู้ในลักษณะของสภาพรู้ได้ แต่ถ้าสติไม่เคยระลึกมาก่อน มาก่อนในที่นี้ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ มาก่อนในกี่ชาติก็ตาม อาจจะเป็นแสนชาติก็ได้ ถ้าเคยระลึกอย่างนั้นมาก่อน การที่จะฟังแล้วสติสามารถจะเกิด แล้วระลึกลักษณะของสภาพรู้ได้ ก็สามารถที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าคนที่ยังไม่เคยสติระลึกมาก่อนเลย ลองถามดูว่า สติระลึกลักษณะของนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ ได้ไหม หรือเพียงแต่ฟังเข้าใจ แต่สติยังไม่ระลึกลักษณะของนามธรรม
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นการที่ ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคล สามารถที่จะหมดความสงสัย ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ทั้งปวงในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ก็เพียงแต่ว่าเวลาที่สติระลึกลักษณะของรูปธรรม รู้ในอาการที่เป็นเพียงรูปธรรม แล้วเวลาที่สติระลึกลักษณะของนามธรรม จะค่อยๆ มีความเข้าใจในสภาพซึ่งเป็นลักษณะรู้ เพิ่มขึ้น จนกว่าจะเป็นวิปัสสนาญาณเมื่อไร ธาตุรู้ซึ่งเป็นนามธรรม จึงปรากฏทางมโนทวารกับปัญญาซึ่งได้อบรมโดยอาศัย การค่อยๆ ระลึกลักษณะที่เป็นนามธรรม ทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งเมื่อเป็นวิปัสสนาญาณเมื่อไร ลักษณะของธาตุรู้จึงปรากฏทางมโนทวาร เพราะเหตุว่า สภาพของธาตุรู้ซึ่งเป็นนามธรรม คือจิตเจตสิกจะไม่ปรากฏทางปัญจทวารเลย และวิปัสสนาญาณทั้งหมด จึงเป็นมโนทวาร เพราะเหตุว่า มโนทวารสามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง อย่างรวดเร็ว แล้วก็สืบต่อจากปัญจทวาร แต่ละทางด้วย
ผู้ฟัง นอกจากนั้นวิปัสสนาจะ ย้ายปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถีได้ วิปัสสนา
ท่านอาจารย์ สภาพของมโนทวารปรากฏ ทำให้หมดความสงสัย ว่าก่อนที่จะเป็นวิปัสสนาญาณ ปัญจทวารปรากฏ แต่มโนทวารไม่เคยปรากฏเลย เพราะฉะนั้น ลักษณะของมโนทวารที่ปรากฏ จึงต่างกับโลกซึ่งเคยต่อกัน ทางตากับทางหูขณะนี้ต่อกันสนิท เหมือนกับไม่มี มโนทวารคั่นเลย นี่คือโลกที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณแล้วจะกลับกันหมด โลกหมด ทั้งหมดที่เราเคยเห็น เป็นสีสันวัณณะต่างๆ ที่เกิดสืบต่อกันอย่างนี้ จะไม่มีเลย แต่จะเป็นโลกซึ่ง เป็นมโนทวารวิถี ถ้าใช้คำว่า มโนทวารวิถี ก็ขอให้คิดว่าต้องไม่ใช่จักขุทวารวิถี ไม่ใช่โสตทวารวิถี เพราะฉะนั้น จะไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เจือปนทางมโนทวารวิถี ที่นามธรรมกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ลักษณะของ ธาตุรู้อย่างเดียวปรากฏ โลกอื่นทั้งหมดไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ก็เป็นอีกโลกหนึ่ง ซึ่งจะประจักษ์ด้วยปัญญาเท่านั้น
ผู้ฟัง ไม่ใช่การแยกกันระหว่าง ปัญจทวารกับมโนทวาร แต่วิปัสสนาก็
ท่านอาจารย์ แทงตลอด
ผู้ฟัง แทงตลอด มโนทวารวิถี แล้วก็เสมือนปิดบังปัญจทวารวิถี
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าปัญจทวารวิถี เล็กน้อยจริงๆ สั้นมาก เพราะมโนทวารคั่นอยู่ได้ตลอด เพราะฉะนั้น จึงจะเห็นว่าทางปัญจทวารวิถี สั้นแค่ไหน เพราะว่าเป็นมโนทวารตลอด ซึ่งมีรูปที่เป็นทางปัญจทวารวิถี ปรากฏได้ แต่โดยรวดเร็ว แล้วก็สั้นมาก ผู้ที่ศึกษาจึงรู้ว่า ต้องมีปัญจทวารวิถี จึงมีมโนทวารวิถี แต่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดก็จะคิดว่ามโนทวารวิถีรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง แต่ว่าผู้ที่ศึกษา รู้ว่า ก็ต้องมีปัญจทวารวิถีก่อน แต่ว่าสั้น และอย่างรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้น การสืบต่อกันของปัญจทวารวิถี กับมโนทวารวิถี จึงรวดเร็วที่สุด เหมือนกับไม่มีปัญจทวารวิถีเลย จึงชื่อว่ามโนทวารวิถี ปิดบังปัญจทวารวิถี เมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง แล้วก็รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ก็ประกอบ
ท่านอาจารย์ ทางมโนทวารเลย
ผู้ฟัง กับทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง จักขุวิญญาณเป็นอารมณ์ของการเจริญสติปัฏฐาน ได้ไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง
ผู้ฟัง ถ้าได้ เกิดในช่วงไหนของวิถีจิต
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็น เลย ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ช่วงไหน เพราะเหตุว่า มหากุศลญาณสัมปยุต ถ้าพิจารณานาม จะพิจารณา ทางมโนทวาร ไม่ใช่ปัญจทวาร ถ้าพิจารณารูปก็แล้วแต่ รูปปรากฏ รูปใดปรากฏก็พิจารณารูปนั้น
ผู้ฟัง แสดงว่าจิตเห็น ดับไปแล้วก็เป็นอารมณ์ของมโนทวาร
ท่านอาจารย์ เวลานี้จิตเห็น ดับแล้วเกิดนับไม่ถ้วน ทำให้เราเหมือนกับว่า เห็นตลอด เพียงระลึกรู้ ไม่ต้องไปนั่งนับ ว่ามันเท่าไรแล้ว แล้วจะไปเอาตรงไหน วาระไหน ดับไปแล้วอย่างไร
ผู้ฟัง ผมอาศัย ความเข้าใจทางทฤษฏีก่อน
ท่านอาจารย์ ทางทฤษฏี คือ มีสภาพธรรมปรากฏ แล้วอวิชชาปิดบัง เพราะฉะนั้น ที่จะมีวิชชา ไม่ใช่ไป รู้ว่าวาระไหน แต่ที่จะมีวิชชา คือขณะนี้มีธาตุรู้ ที่กำลังเห็น แล้วมีสิ่งที่ปรากฏ ปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น โดยจะระลึกวาระไหน ไม่เกี่ยวไม่สำคัญเลย ไม่ต้องไปนั่งคิดด้วย
ผู้ฟัง ขณะที่สติเกิด คงไม่ได้คิดอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ถึงเดี๋ยวนี้ หรือเดี๋ยวไหนก็เหมือนกัน ไม่มีใครจะไปบอกว่าวาระไหน เพราะว่าสภาพธรรม มี กำลังปรากฏ เพียงแต่ว่าไม่ใช่ไปนึกเอา ก็แล้วกัน เพราะเหตุว่าขณะนี้ไม่ต้องนึก สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ปรากฏ ถ้าเป็นโดยลักษณะนั้น จะไม่มีการรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรมเลย
ผู้ฟัง สมมติว่าจิตที่เป็นโทสะก็ดี ที่เป็นโลภะก็ดี
ท่านอาจารย์ ก็ดับแล้ว ก็ดับแล้วหมือนกัน ก็เหมือนกับเห็นเดี๋ยวนี้ ที่ดับแล้ว
ผู้ฟัง ก็ตามพิจารณา
ท่านอาจารย์ ดับแล้วไม่ใช่ไม่เกิดอีก อะไรก็ตามที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้าเป็นวิบากจิต
ท่านอาจารย์ เหมือนกันทั้งนั้น เวลานี้ทางตาก็เป็นวิบากจิต แล้วใครจะไปรู้ว่ามีกุศล อกุศลจิตเกิดแล้ว
ผู้ฟัง สงสัยว่าวิบากจิต เป็นอารมณ์ของการเจริญสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ วิบากจิต หรือกุศลจิต และอกุศลจิต ก็เกิดแล้วดับไปมีอายุ เท่ากันหมด
ผู้ฟัง แต่มันก็ห่างกันในช่วงที่อยู่ในชวนะ
ท่านอาจารย์ จิตเห็น ห่างกันแค่ไหน เห็นตลอด สิ่งที่ปรากฏมี รู้ความจริงของสิ่งนั้นค่อยๆ รู้ขึ้น นั่นคือปัญญา
ผู้ฟัง ดูๆ แล้วทฤษฎีกับปฏิบัติ เหมือนกับที่เขาพูดกันว่า มันไม่เกี่ยวข้องกัน
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เลย ถ้าเขาบอกว่าไม่เกี่ยวข้องหมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง คนอื่นถ้าหากว่า ที่อื่น เขาคิดว่าไม่ต้องศึกษา สติเกิดจริงๆ แล้วก็ไม่ต้องไปนึกถึงสิ่งเหล่านั้น
ท่านอาจารย์ แต่ก่อนที่สติจะเกิด เราศึกษาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ศึกษา
ท่านอาจารย์ นี้คือ ความต่างกัน
ผู้ฟัง เรื่องอินทรียสังวรที่ไม่เจริญสติปัฏฐาน กับที่เจริญสติปัฏฐาน มีอินทรียสังวร เหมือนกันไหมหรือแตกต่างกันอย่างไร
วิทยากร. อินทรีย์สังวร ระวังทางอินทรีย์ ก็หมายความว่า ระวังที่สีมากระทบทางตา ระวังอันนี้ก็หมายถึงว่า ให้มี สติระลึกรู้ อารมณ์ที่มาปรากฏทางตา อันนี้ มีความหมายขยายแล้วกว้างขวาง หลายนัย แต่ถ้าเฉพาะภิกษุผู้มีศีล ให้ทอดตาลงต่ำชั่ว ๔ แอก เรียกว่า สำรวมอินทรีย์
ผู้ฟัง ถ้าไม่ระวังแล้วเป็นอะไร
วิทยากร. ถ้าไม่ระวัง กิเลสก็เกิด อาศัยทวารตา กิเลสเกิด มีโลภะเกิด โทสะเกิด โมหะเกิด แต่ถ้าระวังแล้ว ถึงโลภะจะเกิดก็เกิดไม่นานเพราะมีสติ
ผู้ฟัง ลักษณะเป็นพระภิกษุ แล้วฆราวาส
วิทยากร.ภิกษุมุ่งถึงพระองค์ เป็นศีลของภิกษุโดยตรง เพราะว่า ภิกษุ ต้องสำรวมอินทรีย์ จะเข้าบ้านก็ต้องระวัง สำรวมอินทรีย์ ทางตา
ผู้ฟัง เข้าใจ เป็นพระภิกษุ
วิทยากร.ทางศีลก็ได้อย่างไร เป็นอินทรีย์สังวร
ผู้ฟัง ถ้าไม่เป็นอินทรีสังสรแล้ว ต้องสึกไปเพราะว่าสีการมากมาย อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรา ฆราวาสมีอินทรีย์สังวรได้ไหม
ท่านอาจารย์ ประโยชน์ ของการสังวร คืออะไร เพราะเหตวุ่าถ้าเราพูดถึงเรื่องสังวร หรือสำรวม เราจะคิดถึงชีวิตของบรรพชิต ที่เป็นปาฏิโมกขสังวรศีล เพราะเหตุว่าชีวิตของบรรพชิต จะต้องสำรวมระวังมาก เพราะเหตุว่ามีศรัทธาที่จะอุปสมบท เข้าสู่เพศบรรพชิตเพื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีการที่จะต้องระมัดระวังสำรวมจิตให้เป็นกุศล มากกว่าผู้ที่ อมรมเจริญปัญญาในเพศของฆราวาส เพราะเหตุว่า คฤหัสถ์ไม่ดูบางขณะ แต่ไม่ใช่ตลอดไป เพราะฉะนั้น ก็จะมีการสำรวมเล็กๆ น้อยๆ ไม่สามารถ ที่จะเป็นกุศลส่วนเดียว ดุจสังข์ขัดได้ อย่างบรรพชิต เพราะฉะนั้น จึงมีปาฏิโมกขสังวรศีลซึ่งละเอียดกว่าเพียง สังวรเล็กๆ น้อยๆ ทางกายทางวาจาของคฤหัสถ์ เพราะว่าจะต้องละเอียดกว่า เช่น การเดินจะต้องดู แค่ไหน อย่างไร อะไรต่างๆ นี่ก็เป็นเรื่องที่ช่วยในการที่จะให้จิตไม่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น สำหรับคฤหัสถ์ เราอาจจะคิดว่า การสำรวมของเรา การสังวรของเรา จะอยู่ในระดับไหน คงจะไม่อยู่ในระดับปาฏิโมกขสังวรศีลแน่นอนเพราะเหตุว่าเพศต่างกัน เรายังรักสวยรักงาม รักสนุก รักเสียงเพราะ รักอาหารอร่อย ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น จะชื่อว่าสำรวม สังวรได้แค่ไหน ก็เพียงแค่ละเวรทุจริต เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า คนที่มีการสำรวม กาย วาจา ไม่กระทำทุจริต มีการสังวร มีสติเกิด ทำให้วิรัติทุจริตได้ หรือ ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่ปกติ ก็ไม่ได้กระทำ ผิดศีล ๕ เลย ปกติ แต่ก็ยังขาด การสำรวมระวัง ทางกาย ทางวาจาได้ พูดเล่นหัวเราะหรืออะไร อย่างนี้ล้อเลียน อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าไม่ผิดศีล ๕ แต่สำรวมระวัง ทางกาย ทางวาจาหรือเปล่า เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเรามีปัญญา ที่เห็นคุณประโยชน์ ของการสำรวมระวัง ทางกาย ทางวาจาไม่ให้เป็นอกุศล ทั้งๆ ที่สติปัฏฐานไม่เกิด แต่เราก็ยังเห็นโทษว่า เราไม่ควรที่จะล้อเลียน คนที่ให้เขาเกิดเสียใจ เช่น การกล่าวถึงรูปร่างลักษณะของเขาบ้าง หรืออะไรบ้าง ฐานะหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นเรื่องหลายเรื่องซึ่งบางคน อาจจะไม่ทันคิด หรือบางคนที่ไม่ทันคิดอาจจะเป็นอุปนิสัยเลย ถือว่าแสนจะธรรมดาไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย ไม่ได้ไปลักเขา ไม่ได้ไปขโมยเขา ไม่ได้ตีเขาหรืออะไรอย่างนั้นแต่ไม่รู้เลย ขณะนั้นจิตเป็นอกุศลแล้ว แล้วก็ไม่มีการสำรวมระวังแม้ว่าจะไม่ต้องถึงปาฏิโมกขสังวรศีลเลย เพราะฉะนั้น สำหรับคฤหัสถ์ นอกจากจะเป็นผู้ที่ไม่กระทำทุจริตกรรม ละเว้นศีล ๕ แล้ว ก็ยังสามารถที่จะมีสติที่สำรวมระวัง แม้ว่าสติปัฏฐาน ไม่เกิดก็ได้ ทางกายทางวาจา ทางใจก็ไม่คิดที่จะริษยาเบียดเบียนใคร เพราะว่ามีความละอายที่ เห็นว่า สิ่งนั้นเป็นอกุศล แม้ว่าทางกายทางวาจา ไม่กระทำ ทางใจก็ยังสังวรระวัง ละอายที่จะคิดอย่างนั้น
ผู้ฟัง ก่อนถึงสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ สำหรับสติปัฏฐาน นั้นแน่นอน ที่ใช้คำว่า อินทริยสังวร ก็คือสังวร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยสติระลึกขณะ ที่สภาพธรรม กำลังปรากฏ ก็สอดคล้องกับคำถามแรกของคุณบุตร สาวงษ์ คือไม่ทิ้งอารมณ์ที่ปรากฏไปเปล่าๆ โดยปัญญาไม่รู้ความจริง ของสภาพธรรม นั้น เพราะขณะใดที่สติไม่เกิด ขณะนั้นก็ทิ้งอารมณ์ไป โดยปัญญาไม่เกิดเลย
ผู้ฟัง แสดงว่าสังวรขั้นนี้ ลึกซึ้งกว่า และต้องมีปัญญา มีการศึกษามากกว่า
ท่านอาจารย์ ถ้าถึงระดับสติปัฏฐาน แล้วแน่นอน เพราะว่าเป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญา เพื่อดับกิเลส เป็นสมุจเฉท เพราะว่าถ้าปัญญาไม่เกิด ต่อให้เราจะสังวรระวังสักเท่าไร ก็จะต้องมีการล่วง สิ่งที่เราเพียรระวัง เพราะเหตุว่ายัง มีเชื้อของอกุศลที่จะเกิดอยู่ ต่อเมื่อใดที่สามารถที่จะดับกิ้ลสเป็นสมุจเฉทเป็นประเภทๆ กิเลสประเภทนั้นไม่เกิด ก็ทำให้กายวาจาที่จะทำทุจริตนั้นๆ มีไม่ได้
ผู้ฟัง การสังวร ผมมักจะคิดอย่างนี้ ถ้าหากว่าไม่เจริญสติ ในชีวิตประจำวัน อกุศลจิต เกิดมาก และเกิดบ่อยๆ แล้วพอเรารู้สึกตัว เราคิดว่าไม่มีอะไร ที่จะไปกั้นมันได้ นอกจากการเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็ระลึก
ท่านอาจารย์ แม้ขณะที่สติเกิดก็ไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าโดยมากมักจะคิดก่อน ว่าจะเจริญสติ หรือว่าเห็นประโยชน์ ก็จะเจริญสติ แต่ความจริงไม่ใช่จะเจริญสติ สติปัฏฐาน จะต้องไวกว่านั้น เพราะว่ามีปัจจัยที่จะเกิดเมื่อไรก็เกิด แล้วจะเห็นความเป็นอนัตตาว่า สติ ระลึก เพราะฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ขัดเกลา ไปเรื่อยๆ แล้วก็ละเอียดขึ้นๆ
ผู้ฟัง อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ ว่า เกี่ยวข้องกับ หิริ โอตตัปปะ อย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลาที่กุศลจิตเกิด จะมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย ๑๙ ดวง
ผู้ฟัง ประโยชน์ จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ผมคิดว่าถ้าหากเรามีการสังเกตว่า มีการทุจริต หรือว่าปล่อยให้ อกุศลเกิด แล้วก็มีการรู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้น เท่ากับเป็นการสำรวมสังวรหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ ว่า รู้เฉยๆ แล้ว จะ สำรวมหรือยัง
ผู้ฟัง คือปกติแล้วก็ไม่ค่อยรู้
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้แล้ว จะสำรวมหรือเปล่า รู้ก็รู้ แต่ว่าจะสำรวมหรือเปล่า พอถึงเวลาก็ไม่สำรวมอีกก็ได้
ผู้ฟัง ส่วนมากก็จะเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ต้องอบรม
ผู้ฟัง ทีนี้ ถ้าคิดว่าการที่เราจะละเว้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี หรือว่า จะเจริญอบรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี ต้องเห็นประโยชน์ แล้วก็เห็นโทษตามเป็นจริง ก่อนที่จะถึงขั้นนี้ บางทีวันๆ หนึ่งไม่ค่อยได้คิดถึงเรื่องโทษ
ท่านอาจารย์ ต้องฟังพระธรรม คิดเองก็คิดไม่ออก แล้วก็ไม่มีปัจจัยที่จะคิด นี่คือประโยชน์ ของการฟังพระธรรม คือ ฟัง พิจารณา แล้วก็เห็นประโยชน์ ถ้าเป็นสาวกต้องเป็นผู้ฟังแน่นอน
ผู้ฟัง เพราะว่าในการสนทนาธรรมที่ผ่านมาแล้ว ใกล้จะจบรายการท่านอาจารย์ก็บอกว่า ให้คำแนะนำสำหรับการเริ่มต้น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420