ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๐๘

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ผู้ฟัง เพราะว่าในการสนทนาธรรมที่ผ่านมาแล้ว ใกล้จะจบรายการ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า ให้คำแนะนำสำหรับในการเริ่มต้น ถ้าหากใครสนใจเรื่องข้อปฏิบัติที่เป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐาน สิ่งแรก ให้รู้ถึงความต่างกันระหว่าง มีสติกับหลงลืมสติ เมื่อพูดถึงจุดนี้ผมก็เข้าใจว่า ถ้าเป็นการให้ทาน รักษาศีล ก็คงจะไม่ค่อยสำคัญเท่าไร แต่พอมาพูดถึงเรื่องว่าให้มีการรู้ว่าขณะใดมีสติ ขณะใดหลงลืมสติ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ให้มีการรู้ ขณะใดที่สติเกิด จะรู้ไหมว่าสติเกิด

    ผู้ฟัง ตรงนี้แหละ

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่สติเกิด จะรู้ไหมว่าสติเกิด ขณะใดที่สติไม่เกิด รู้ไหมว่าสติไม่เกิด

    ผู้ฟัง รู้ว่าสติไม่เกิด รู้แน่

    ท่านอาจารย์ แล้ว เวลาที่สติเกิดรู้ไหมว่าสติเกิด

    ผู้ฟัง สำหรับคนอื่นไม่ทราบ สำหรับตัวผมเอง รู้ว่าไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เมื่อสติเกิด เท่านั้นจึงจะรู้ว่าสติเกิด ขณะใดที่สติไม่เกิด จะพยายามไปรู้ ลักษณะของสติไม่ได้เลย จะรู้ลักษณะของสติ เมื่อสติเกิดจึงรู้ ว่าสติเกิด

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นไปในขณะที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน พอจะมีอะไรเป็นข้อสังเกตุด้ไหมว่าขณะ นั้นสติเกิด

    ท่านอาจารย์ อย่างที่ว่า คือไม่ทิ้งอารมณ์ ระลึกที่อารมณ์ที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง อารมณ์เป็นเรื่องเป็นราว

    ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรม ต้องเป็นปรมัตถอารมณ์

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นปรมัตถอารมณ์โดยการศึกษา ก็เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ แข็งเป็นปรมัตถหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นปรมัตถ

    ท่านอาจารย์ โดยการศึกษา หรือว่าโดยความที่ขณะนี้แข็งกำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ถึงแม้เดี๋ยวนี้แข็งกำลังปรากฏ ก็อาจจะรู้ แต่ว่ารู้โดยความเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ รู้โดยการจำ เพราะว่าสติไม่เกิด แต่ว่าสติเกิด รู้ว่าขณะนั้นไม่หลงลืมสติ

    ผู้ฟัง สติเกิด รู้ว่าขณะนั้นหลงลืมสติ

    ท่านอาจารย์ ไม่หลงลืม ถ้าขณะนั้นมีสติเกิด ก็รู้ว่า ไม่หลงลืมสติ เพราะระลึกที่แข็ง ถึงได้บอกไงว่าแข็งปรากฏ กับกายวิญญาณ กายปสาทมี เมื่อกระทบกับสิ่งที่แข็ง ขณะนั้นมีจิตที่รู้แข็ง ชื่อว่ากายวิญญาณจิต เป็นของธรรมดา ถามใครๆ ก็รู้ว่าแข็ง เด็กก็รู้ว่าแข็ง คนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมเลย ก็รู้ว่าแข็ง แต่การตอบว่าแข็ง ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิด แข็งปรากฏกับกายวิญญาณด้วย ปรากฏกับสติปัฏฐาน ที่กำลังระลึกตรงแข็งด้วย

    ผู้ฟัง สำรวม กับ หิริ โอตตัปปะ เป็นอันเดียวกันหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เวลาที่กุศลจิตเกิด จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ ดวงอย่างน้อย คือโสภณสาธารณะเจตสิก อย่างขณะที่กำลังฟัง ใครรู้ลักษณะของหิริ โอตตัปปะบ้าง แต่มี ขณะที่กุศลจิตเกิดกำลังฟัง มีหิริ โอตตัปปะเจตสิกเพราะว่าเป็น ๑ ใน ๑๙ เจตสิก ถ้าไม่มีหิริ จะไม่ฟังเลย ไม่ฟังเลย แต่เพราะไม่ใช่ว่าหิริ ต้องเป็นเราละอาย แต่สภาพที่จะละอายต่อการที่จะไม่รู้ ไม่เข้าใจธรรมมี จึงทำให้เรามาฟัง แล้วก็กำลังฟัง นี้คือสภาพของเจตสิกซึ่งละอายต่อการที่จะไม่รู้ จึง ฟัง ไม่ใช่ว่า ตัวเราละอาย ส่วนใหญ่เราคิดว่าเราละอาย หรือว่าเกิดความละอายขึ้นเป็นเรา แต่จริงๆ ไม่ใช่ หิริเจตสิกทำหน้าที่ของหิริเจตสิกแล้ว ในขณะที่กำลังฟังพระธรรม เพราะเหตุว่าละอายต่อการที่จะไม่รู้

    ผู้ฟัง เวลานี้ ฟังๆ กันแล้ว ก็รู้สึกว่าพอจะคิดได้ แต่พอมาพิจารณาเข้าจริงๆ ถ้ามีคนถามก็เกิดจะตอบไม่ได้

    ท่านอาจารย์ อย่าไปเอาคนถามแล้วตอบไม่ได้ เอาความเข้าใจดีกว่า เพระว่าทั้งหมด จะตอบได้หรือตอบไม่ได้ อยู่ที่ความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ตอบอย่างไร ก็ตอบไม่ได้ แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ตอบอย่างไรก็ตอบได้

    ผู้ฟัง อย่างเดี๋ยวนี้ ขณะเดี๋ยวนี้ ผมได้ยิน เสียงท่านอาจารย์ กำลังให้คำอธิบายเรื่องธรรม ขณะนี้ก็ฟังเรื่องราวเข้าใจ แต่ไม่ทราบว่าขณะนี้เป็นสติที่ระลึกหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะไม่ทราบ

    ผู้ฟัง เพราะไม่ทราบ แต่ถ้าสติระลึก

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้แน่ เพราะว่าสติมีอาการของสติ

    ผู้ฟัง รู้เสียง นั่นเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ระลึกที่เสียง หรือระลึกที่ สภาพที่ได้ยินเสียง

    ผู้ฟัง แต่ถ้าระลึกที่เสียง

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าเป็น สภาพธรรมที่มีจริง ชั่วขณะหนึ่ง

    ผู้ฟัง เพราะว่าเวลาที่ท่านอาจารย์ พูดๆ ยาว พูดเพื่อให้เช้าใจ แต่เวลาสติระลึกจริงๆ ก็ต้องมีเพียงชั่วขณะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าสติระลึกจริงๆ เสียงก็ปรากฏ สีก็ปรากฏ แข็งก็ปรากฏ แล้วแต่สติจะระลึกที่ไหนเป็นปกติธรรมดา

    ผู้ฟัง ปกตินี้ต้องระวัง ถ้าปกติ สติผมระลึกที่เสียง

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เสียงอย่างเดียว แข็งก็มี สีก็มี

    ผู้ฟัง แต่สติไม่ได้ระลึกที่แข็ง

    ท่านอาจารย์ ระลึกที่เสียง ก็รู้ว่าขณะนั้น ระลึกที่เสียง นี้แสดงว่า คุณศุกล ตอบว่า ถ้าสติขณะนั้น ผมระลึกที่เสียง ก็แสดงว่าต้องระลึกเฉพาะเสียง

    ผู้ฟัง เฉพาะเสียง อย่างอื่นไม่

    ท่านอาจารย์ นี่ระลึกแล้ว โดยคำตอบ ถ้า ถ้าระลึกก็ต้องระลึกอย่างนั้น

    ผู้ฟัง มันก็เป็น คล้ายๆ ท่านอาจารย์บอก ไม่เป็นเรื่องเป็นราว แล้วก็ไม่ยาวอย่างที่เรากำลังพูดอยู่ เป็นเพียงลักษณะที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ ความจริงเป็นอย่างนั้น แต่ปัญญาจะรู้อย่างนั้นหรือยัง คนละขั้น คนละตอน ไม่ใช่พอความจริง เป็นอย่างนี้ พอระลึก ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ก็พอดี รู้แจ้งอริยสัจธรรม

    . ก็ผิดปกติอีก

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง ผมมีปัญหา ในการ เป็นอุทาหรณ์ว่า มีการตัดมือของเราไป แล้วก็มีความรู้ว่า เราไม่มีมือ สะดวก ในการรู้อย่างนั้นเพราะ ตัดมือไปแล้ว แต่ในสภาพธรรมที่รวมไปแล้ว ทุกๆ ขณะทุกๆ วัน ตั้งแต่เกิดมาจนเดี๋ยวนี้ ทำไมจึง สัญญานี้ก็จำว่า สภาพธรรม นั้นยังอยู่มาจนถึงเดี๋ยวนี้ ทำไมไม่สะดวกเหมือนมือไม่มี ทำไมไม่สะดวกในการรู้ เช่น การไม่มีมือ ทำไมจึงอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ เคยถามคนที่เขาเพิ่งถูกตัดขาไปไหม เขาคิดว่าขาเขายังอยู่ มีคนที่ป่วยเป็นมะเร็ง แล้วก็ต้องตัดขา แต่เขาบอก เขายังคิดว่าขาเขายังอยู่ เขาไม่ได้รู้สึกว่าขาเขาหายไป ในความจำของเขา เหมือนว่า ขาของเขายังอยู่ เขาเผลอไป คิดว่าขา เขายังอยู่

    ผู้ฟัง เขาไม่มีขา

    ท่านอาจารย์ ไม่มี แต่ความทรงจำของเขา เขายังมีขาอยู่ บางทีเขาก็ยังคิดว่า ขาเขายังอยู่ เขาเผลอไป ว่าขาเขาไม่มีแล้ว ทั้งหมดนี้คืออัตตสัญญา ความทรงจำว่ามีตัวตน เพราะเหตุว่าสภาพธรรม เวลาที่เกิดแล้วดับไป เร็วจนกระทั่ง ถ้าปัญญาไม่ประจักษ์ความจริง ก็จะเห็นว่าสภาพธรรมนั้น เหมือนยังอยู่ อย่างคุณบุตร สาวงษ์ ทุกคนเห็นเหมือนนั่งอยู่อย่างนี้ หรือใครๆ ก็ตามที่นั่งอยู่ที่นี่ ก็เหมือนเดิม เหมือนอย่างเก่า ไม่มีการรู้เลยว่ารูป เกิดแล้วดับแล้วอย่างรวดเร็ว ทีเดียวทุกขณะ เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ ก็ยังมีความทรงจำว่า มีคนที่นั่งอยู่ที่นี่ มีกระเป๋ามีทุกอย่างที่อยู่ที่นี่ เพราะเหตุว่าไม่ประจักษ์ ลักษณะที่ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดแล้วดับไปทันที เพราะฉะนั้น ถึงจะตัดแขนตัดมือ คนนั้นก็ยังอดเผลอ คิดว่า ยังมีมือ มีแขน มีขาอยู่

    ผู้ฟัง เวลาฝันก็คงจะฝันว่าเดินได้

    ท่านอาจารย์ เพราะว่ายังมี อัตตสัญญา แต่ว่าอัตตสัญญา จริงๆ ให้ทราบว่า เหนียวแน่น แค่ไหน เพราะจริงๆ แล้วเวลานี้ถ้าแข็งปรากฏ ตรงที่กระทบพื้น แข็งอื่นจะไม่มีเลย เกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด จริงๆ จิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ แล้วก็รู้อารมณ์ทีละอย่าง ทีละอย่างเดียว ขณะที่เสียงปรากฏ ทั้งตัวคุณบุตร สาวงษ์ ไม่มีเลย มีโสตปสาทรูปที่ยังไม่ดับ กับเสียงที่ยังไม่ดับเท่านั้น แล้วก็มีจิตที่ได้ยินเสียง เท่านั้นจริงๆ ไม่มีรูปอื่นใดทั้งสิ้น

    การที่เราจะประจักษ์สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ประจักษ์ว่ายังมีตัว ยังมีท่า มีทาง ยังมีรูป มีร่างทั้งหมด แต่ว่าสภาพธรรม ใดที่กำลังปรากฏในขณะนั้น เท่านั้นที่ปรากฏ จึงรู้ว่า ไม่มีอะไรเลยในโลกนี้ โลกนี้ไม่มี ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตนที่เคยทรงจำไว้ว่าเป็นร่างกายของเรา นี่จะค่อยๆ ทำลาย การที่เราถือว่ายัง มีเราอยู่ ขณะที่กำลังแข็ง แข็งเท่านั้นปรากฏ อย่างอื่นไม่มีเลย โลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรเลย นอกจากสิ่งนั้นสิ่งเดียว แล้วถ้าปัญญาสมบูรณ์ขึ้น อบรมเจริญขึ้นจนถึงการประจักษ์แจ้ง ขั้นต่อไปคือ แม้แข็งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ก็เกิดดับ ด้วย จึงจะไถ่ถอนความเป็นอัตตา หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัวตนได้ ถ้าไม่เหลือคุณบุตร สาวงษ์เลย มีแต่สภาพที่ได้ยิน กับเสียง เท่านั้น จริงๆ นั่นคือวิปัสสนาญาณ ตัวไม่มี นั่นคือจุดเริ่มต้นของอนัตตสัญญา ที่จะรู้ความจริงว่าไม่มีจริงๆ ไม่มีแน่นอน ทีละอย่างเดียวเท่านั้นที่ปรากฏ แต่เพราะเหตุว่าสืบต่อกันเร็วมาก อัตตสัญญาก็ยังทรงจำอยู่ จนกว่าจะประจักษ์ความจริงว่าไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่ไม่มีแต่เฉพาะตัวคุณบุตร สาวงษ์ โลกทั้งโลกก็ไม่มีเลย มีแต่สภาพที่กำลังได้ยินกับเสียง เท่านั้น จะเหลืออะไร ไม่มีอะไรเหลือเลย ที่จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ มีแต่ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมเท่านั้นจริงๆ แท้ที่จริงแล้ว แทรกคั่นอย่างละเอียดกลาป เล็กแค่ไหน แล้วกลาปนั้นเกิดตามสมุฏฐานด้วย เกิดแล้วดับด้วย มีอายุเพียงแค่ ๑๗ ขณะจิตเท่านั้น จะเหลืออะไร

    ผู้ฟัง ถ้าทุกท่านฟังแล้ว พิจารณาตาม แล้วก็เชื่อตาม เป็นผู้ว่าง่าย อย่างที่ท่านอาจารย์สอนเดี๋ยวนี้ ผมคิดว่าความรักความชังที่มีอยู่ทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน มันไม่เห็นมีประโยชน์ อะไรเลย

    ท่านอาจารย์ เพียงแค่คิด แต่พระโสดาบันท่านยังมี คิดดูก็แล้วกัน

    ผู้ฟัง แต่ว่าความเป็นตัวเป็นตนต้องยอมรับว่ามันเป็นสิ่ง

    ท่านอาจารย์ พระโสดาบันเมื่อประจักษ์ ความจริงของสภาพธรรมแล้ว ทุกอย่างเป็นธาตุหมด เป็นสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ ทั้งนั้น บังคับโลภะไม่ได้ บังคับโทสะไม่ได้ บังคับสภาพธรรมใดๆ ก็ไม่ได้ทั้งนั้น เป็นแต่เพียงธาตุแต่ละชนิด ซึ่งเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้น ท่านไม่มีความสงสัย ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณไม่มีความสงสัยเลย ดับการที่เคยยึดถือตัวตน อัตตสัญญา สักกายทิฏฐิ และความสงสัยในลักษณะของธรรมเท่านั้น แต่ท่านรู้ตามความเป็นจริงว่า เมื่อมีปัจัจยของสภาพธรรมใด สภาพธรรม นั้นก็เกิด ท่านจึงอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรมขั้นต่อไป ที่จะเป็นอริยบุคคลขั้นสูงขึ้น

    ผู้ฟัง ขณะนี้ ถ้ายังไม่ถึงระดับคุณธรรมของพระโสดาบัน ความเป็นธาตุทั้งหลาย ก็ยังไม่เพียงพอต่อการพิจารณา

    ท่านอาจารย์ มีปัจจัยก็เกิด แน่นอน

    ผู้ฟัง จะเกิดเป็นตัวตนเป็นคำพูด เสียมากกว่า ที่จะเป็นลักษณะของธาตุ ทั้งหลาย เช่น รูปธาตุ นามธาตุ อะไรอย่างนี้ จากการศึกษาก็พอเข้าใจ ทีนี้ ผมมาพิจารณาอย่างนี้ว่า ที่เราต้องศึกษาต้องฟังทุกวันนี้ เพื่อจะได้ไปถึงจุดที่เราเคย อ่านเคยฟังมา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาจริงๆ ทุกคนจะเข้าใจ ว่าไม่ใช่ระดับขั้นการฟัง ระดับขั้นการฟัง เป็นปัญญาขั้น ๑ ขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งจะต้องอบรมเจริญ จนกว่าจะถึงขั้นประจักษ์แจ้ง แล้วก็อย่างที่เราเคยพูดง่ายๆ อย่างอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร รู้สึกว่าก็ถูก อวิชชา ความไม่รู้ ก็เป็นปัจจัยให้เกิด กุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง กุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง แต่ถ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนที่จะตรัสรู้ แล้วการพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทของ พระองค์จะต่างกับเราไหม เพราะเหตุว่าขณะนั้นใกล้ต่อการที่จะตรัสรู้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรม เป็นปรมัตถธรรม แต่ว่าเราต้องอาศัยพระปัญญา จึงสามารถจะรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถธรรม แต่สำหรับผู้ที่อบรมปัญญามาพร้อมที่จะ ตรัสรู้ลักษณะของปรมัตถธรรม ก็ต้องปรากฏเป็นปรมัตถธรรม แม้แต่อวิชชา ความไม่รู้ อย่างเรา เราพูดตามว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แต่พระองค์ ก็จะต้อง ทรงสามารถที่จะรู้ได้ว่า ในขณะนั้นอวิชชา คือสภาพธรรมที่ไม่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม อย่างไร จนกว่าอวิชชานั้นจะหมดไปได้ จึง สามารถที่จะรู้แจ้งได้ เพราะฉะนั้น การพูดเรื่องราว กับการพูดด้วยการรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็ไกลกัน พูดเรื่องราวก็เป็นตัวหนังสือ ความจำ แต่พูดตามสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ แล้วปัญญามที่สามารถที่จะเห็น อวิชชา ที่ปิดบังในขณะนั้นตามความเป็นจริง ก็ต้องเป็นปัญญาคนละขั้น

    ผู้ฟัง ทีนี้การศึกษาก็อาจจะมีผู้สงสัยว่า บางทีการศึกษาของเราอาจจะน้อยไปไหม หรือว่าควรจะได้มีการศึกษาให้มาก เพิ่มขึ้น บางท่านก็อาจจะมีความเห็นว่า ท่านอาจารย์ เคยพูดว่า แนวทางเจริญสติปัฏฐาน หรือหนังสือปรมัตถธรรม สังเขปที่ได้ให้ ไปแล้วก็เพียงพอสมหรับในการที่จะทำให้เกิดการพิจารณา หรือว่าสติปัญญาเกิดได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ คือว่าพระไตรปิฎก ใครก็อ่านไม่เข้าใจ ถ้าไม่ได้มีพื้นความเข้าใจในเรื่องของปรมัตถธรรมก่อน บางท่านก็คิดว่าจะอ่านพระวินัยปิฎก หรือพระสุตตันตปิฎก หรือบางท่านก็ จะตั้งต้นอ่านพระอภิธรรมปิฎกเลย ทันที แต่ไม่ว่าจะโดยประการใดก็ตาม จะอ่านพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก หรือพระอภิธรรมปิฎกก็ตาม ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐาน คือความรู้ปรมัตถธรรม เสียก่อนแล้ว อ่านไม่เข้าใจ บางคนเขาบอกว่าชอบพระสูตร คือรู้สึกว่าตรงกับใจ กับชีวิตประจำวัน เรื่องโลภะ เรื่องโทสะ คำเทศนาที่ไพเราะมาก เขาคิดว่าเขาเข้าใจ ความจริงเขาก็เข้าใจ แต่เข้าใจ ระดับไหน เข้าใจระดับที่ไม่ใช่รู้ปรมัตถธรรม

    สำหรับหนังสือปรมัตถธรรม สังเขป เป็นเพียงพื้นฐาน ที่จะทำให้ นำไปสู่ความเข้าใจในพระไตรปิฎก ซึ่งถ้าใครคิดว่าเขาสามารถที่จะอ่านพระไตรปิฎกได้ เข้าใจด้วยตัวเอง โดยไม่มีความรู้ขั้นพื้นฐานเลย เขาจะเข้าใจผิดทั้งนั้นเลย อย่างคนที่เขียนเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็ตาม หรืออะไรก็ตาม ถ้าไม่ พูดถึงเรื่องของการเป็นปัจจัยโดยปัจจัยต่างๆ เขาก็จะเกิดความสงสัย ว่าอันนี้จะเป็นปัจจัยแก่อันนั้นได้อย่างไร เขาก็คิดเดาเอาเอง คิดเอาเอง แต่ถ้าศึกษาเบื้องต้น การศึกษาทั้งหมด ต้องเป็นไปตามลำดับ ใครที่จะไปคิดว่า ขอให้พูดเรื่อง อริยสัจ ๔ แต่ไม่รู้เรื่องปรมัตถธรรมเลย เขาาจะเข้าใจได้ไหม ขอให้พูดเรื่อง อายตนะ ๑๒ แต่ไม่รู้เรื่อง จิต เจตสิก รูปเลย เขาจะเข้าใจได้ไหม ขอให้พูดเรื่องธาตุ ไม่มีทางเลย

    การศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับ เหมือนมหาสมุทรที่ท่านกล่าวว่า จะต้องลุ่มลึกลงไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม สังเขป เพียง ช่วยให้คนสามารถที่จะเข้าใจว่า ปรมัตถธรรม คืออะไร ทั้งจิต ทั้งเจตสิก ทั้งรูป เมื่อเข้าใจแล้ว เขาก็อ่านพระไตรปิฎก ส่วนไหนก็ร้เรื่อง เพราะอย่างพูดถึงรื่อง โลภะ ก็รู้ว่าเป็น เจตสิก พูดถึงรื่อง โทสะก็รู้ว่าเป็น เจตสิก แล้วเขาก็สามารถที่จะเข้าใจแม้แต่ใน ทีฆนิกาย สติปัฏฐานสูตร เรื่องจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตที่เกิด เป็น สราคะจิต เข้าก็รู้ว่า หมายความถึงจิตประเภทไหน

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เคยบอกว่า ถ้ามีการพูดกันในที่ประชุมก็ตาม เกี่ยวกับบอกว่า ปัจจุบันควรจะได้มีการศึกษา ท่านอาจารย์บอก รู้สึกว่าได้ยินคำนี้ ดีใจด้วย แต่ว่ามีคำถามๆ ว่าจะศึกษาที่ไหน ศึกษาอะไร ศึกษาเมื่อไร ๓ คำนี้ เพราะคิด เอง รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้ความกระจ่างเท่าไร

    ท่านอาจารย์ เราก็ต้องยอมรับว่า เราอยู่ในยุคที่พระศาสนากำลังเสื่อม แต่ยังไม่หมด เสื่อมนะเสื่อมแน่ๆ แต่ว่ายังไม่ถึงกับสิ้นสูญไปเลย ที่เสื่อมพระเหตุว่าขาดผู้ที่ศึกษา พระธรรมวินัยจริงๆ จะมีก็เป็นส่วนที่น้อยมาก เพราะฉะนั้น ที่ยังไม่สูญ เพราะเหตุว่ายังมีการศึกษาอยู่ ถ้าเมื่อไรที่ไม่มีการศึกษาเลย เมื่อนั้นก็เป็นการที่พูดธรรมเอง ตามความคิดความเข้าใจของแต่ละคน เพราะฉะนั้น ถ้าเรายอมรับว่า เราอยู่ในยุคนี้ แล้วก็มีการเผยแพร่พระศาสนา ส่วนใหญ่มากทั่วโลก โดยผู้ ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม แล้วโดยมากก็จะบอกว่าพระพุทธศาสนา แก้ปัญหาได้ทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสภาพจิต ใจ ปัญหาการเมืองหรือปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ขอให้ใช้พระพุทธศาสนาเถอะ จะแก้ได้ทุกอย่าง แต่คนนั้นก็ไม่ได้ศึกษา แล้วพูดได้อย่างไร นี่ก็เป็นเหตุหนึ่ง นี่ก็แสดงให้เห็นว่า พุทธบริษัทประมาทพระปัญญาคุณ ของพระผู้มีพระภาคอย่างมาก โดยคิดว่า เขาไม่ต้องศึกษาก็สามารถที่จะเข้าใจพระธรรมได้ นี่เป็นสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ใครบ้างที่สอน พระพุทธศาสนา โดยที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม มากไหม มากทีเดียว นี่ก็ส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นก็ยังมีผู้ที่มีความสนใจศึกษาบ้าง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง จนกระทั่งมาถึงการศึกษาพระอภิธรรม ก็มีผู้ที่ศึกษาอย่างนาน หลายปี แล้วก็มีตำหรับตำรากว้างขวาง ไปจนถึงปัฏฐาน ไปจนถึงอะไรซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้าย แต่ไม่สอดคล้องกับการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นสติปัฏฐาน

    เพราะฉะนั้น เราก็ต้องกรอง ที่ว่าพระศาสนา อยู่ในยุคนี้ เราต้องยอมรับความเป็นจริง แต่เมื่อเราเกิดมาแล้ว เราได้มีโอกาสฟังพระธรรม มีการสะสมที่จะพิจารณาว่าธรรมใด เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ เราก็พยายามที่จะช่วย คนอื่น รุ่นหลัง ให้เขาได้มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาต่อๆ ไป นี่ก็เป็นทางที่จะรักษาพระศาสนาทางเดียวซึ่งจะทำได้ แต่ก็น้อยลงๆ ที่ว่าเราจะไปสนับสนุนให้มีการศึกษา ต้องคิดถึงวิทยากร เพราะว่าดิฉันเองก็เคยได้รับคำถามจาก ทางมหาวิทยาลัย หลายๆ มหาวิทยาลัย อยากจะให้เป็นหลักสูตรของปริญญาโทบ้าง ปริญญาเอกบ้าง ปริญญาตรีบ้าง แต่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ใครที่จะศึกษาพระธรรมเพื่อปริญญา ไม่ตรงจุดประสงค์ของการศึกษาพระศาสนา

    เพราะเหตุว่าการศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง แล้วละ พระพุทธศาสนา คู่กัน คือรู้แล้ว ละ ไม่ใช้รู้แล้วติด หรือว่ารู้แล้วต้องการ ถ้ามีการรู้แล้วติดหรือมีการรู้แล้วต้องการนั้นผิด ไม่ใช่ความรู้จริงๆ การศึกษาพระพุทธศาสนา ก็ต้องเข้าใจว่าเพื่ออย่างเดียวเท่านั้น คือ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่ที่ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ หรือที่ต่างๆ ซึ่งมีการสอนพระอภิธรรม แล้วก็มีการสอบ เขาก็อาจจะอ้างว่า เขากลัวว่า เขาจะไม่ขยัน ไม่สนใจ ถ้ามีการสอบก็ดี แสดงให้เห็นว่า เริ่มแล้ว ที่จะค่อยๆ เสื่อมลงไปอีก แม้แต่พระอภิธรรมก็ศึกษาเพื่อสอบ หรือว่าเพื่อคิดว่าตัวเองต้องขยัน หรืออะไรๆ อย่างนั้น แต่นี้เราก็ไม่ว่ากันเพราะเหตุว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นอย่างนี้ ใครจะไปช่วยอะไรได้แต่ว่าต้องทราบตามความเป็นจริงว่า พระพุทธศาสนาจริงๆ รู้เพื่อละ เท่านั้น

    ถ้าจะส่งเสริมให้มีการศึกษา มีวิทยากรพอไหม ประการที่ ๑ ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาเพื่อสอบ มีมาก เวลานี้ก็มีครูบาอาจารย์มากมาย ที่สอนให้สอบ มีมาก แล้วเราต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า นั่นตรงจุดประสงค์ หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ก็อยู่ที่ตัวเรา ที่จะเป็นผู้ที่รู้ว่าศึกษาเพื่ออะไร ที่คุณสุกนต์ ถามว่าใครๆ ก็ชักชวนให้ศึกษา อย่างไปสนทนาธรรมที่จังหวัดแพร่ ทางพุทธสมาคมก็ตื่นเต้น ชักชวนกันใหญ่เลย ต่อไปนี้เราควรฟัง เราควรศึกษา

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567