ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๐๙

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ คุณศุกล ถามว่าใครๆ ก็ชักชวนให้ศึกษา อย่างไปสนทนาธรรมที่จังหวัดแพร่ ทางพุทธสมาคมก็ตื่นเต้น ชักชวนกันใหญ่เลย ต่อไปนี้เราควรฟัง เราควรศึกษา ก็ชักชวนกันอย่างนี้มา เพราะว่าโดยเฉพาะพุทธสมาคมทุกแห่ง เขาจะต้องสนับสนุนให้มีการศึกษา แต่เขาจะไม่ตอบคำถาม ๓ คำถามนี้ ว่าศึกษาอะไร ศึกษาที่ไหน และคำถามสุดท้ายคือ ศึกษาเมื่อไร เพราะกี่ปีกี่ปีก็ชวนกันศึกษา แต่ยังไม่มีการตั้งต้นว่าศึกษาเมื่อไร ซึ่งก็เป็นการยาก เป็นปัญหาจริงๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้วก็มีโอกาสเข้าใจพระธรรม ก็พ้นปัญหานั้นมา เราก็ไม่ต้องไปคิดให้เสียเวลา เพราะว่าเราก็ได้ศึกษาแล้ว

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามว่า พอดีเปิดอ่านหนังสือระหว่างที่เดินทางมา เห็นว่าพระพุทธองค์ ท่านทรงตรัสไว้ว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็นกรรมหนัก ทำนองเดียวกับ อนันตริยกรรม ก็เลยไม่เข้าใจว่า เพียงแค่มี มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง เมื่อเปรียบเทียบกันอนันตริยกรรม แล้ว ทำไหมถึงเป็นกรรมหนักเท่าๆ กันคือเป็นผลให้เกิดในนรกได้ทันที ทีนี้ก็เลยสงสัยว่า ถ้าสมมติว่าคนเรามีมิจฉาทิฏฐิ แบบนี้ แต่ว่า ก็ยังเป็นคนซึ่งประพฤติตน ดีมีกุศล เพียงแต่ว่าเป็นคนคิดที่เขาไม่เชื่อในกรรม และผลของกรรม ไม่เชื่อในบุญ และบาป ทำให้เขาไปตกนรก ไหม

    ท่านอาจารย์ อันนี้คงต้องขอให้อาจารย์สมพรช่วย ทบทวนภาษาบาลี เพราะว่าเท่าที่ทราบ นิยตมิจฉาทิฏฐิ มีโทษมาก ไม่ได้บอกว่าเป็นกรรมหนัก

    วิทยากร. นิยตมิจฉาทิฏฐิ ที่ท่านกล่าวไว้ เพราะเห็นว่าทำบุญไม่ได้บุญ ทำบาปไม่ได้บาป ขอนี้ก็ลองพิจารณาดู คนที่มีความหนักแน่น เชื่อยึดถือจริงๆ ว่าทำบุญไม่ได้บุป ทำบาปไม่ได้บาป จิตของผู้นั้น จะเป็นเช่นไร ก็ทำอกุศลตลอดเวลา เมื่อกระทำอกุศลตลอดเวลาแล้ว ก็จะต้องไปอบายภูมิที่หนักกว่าอเวจี เพราะว่าไม่ได้กระทำกุศลเลย เพราะว่า อกริยทิฏฐิ มีทั้งหมด ๓ อย่าง นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าบุญที่กระทำแล้วก็ไม่มีผล บาปที่กระทำแล้วก็ไม่มีผล ในข้อนี้เป็นเหตุ และเป็นปัจจัยซึ่งกัน และกัน เท่านั้นเอง แล้วต่อไปก็เป็น อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ประกอบด้วยเหตุ อันนี้เป็นการขัดแย้งต่อพระศาสนา พระพุทธศาสนา ของเราว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัยก็ไม่เกิดขึ้น นี่ว่าด้วยความเห็นผิดที่ร้ายแรง เรียกว่า นิยตะ

    ผู้ฟัง ปกติเราก็อยู่ อย่างผม ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ เชื่อบาปบุญคุณโทษ นี่ก็เป็นกรรม อันหนักหรือเปล่า

    วิทยากร. เชื่อพระพุทธองค์แล้วก็ไม่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ เพียงแต่ว่าเรา ทิฏฐิสามัญอาจจะเป็นได้ เพราะว่าเรายังละ ยังยึดว่าขันธ์ ๕ เป็นเราเป็นตัวเป็นตน เป็นคน เป็นสัตว์ ยังละไม่ได้ อันนี้ เป็นทิฏฐิสามัญ ไม่ใช่นิยตมิจฉาทิฏฐิ

    ผู้ฟัง ขอบคุณมาก

    วิทยากร. นิยตมิจฉาทิฏฐิ เราต้องแยกออกเป็น ๒ อย่าง นิยตมิจฉาทิฏฐิ ที่ยังไม่มั่นคง นิยตมิจฉาทิฏฐิที่มั่นคง โทษก็ต่างกัน นิยตมิจฉาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าบุญไม่มีบาปไม่มี แต่ว่ายังไม่มั่นคง เป็นแต่เพียงความเห็น เห็นเท่านั้น แต่ว่าก็ยังไม่ยึดเหนียวแน่น แต่บางคนยึดเหนียวแน่นว่า บุญไม่มีบาปไม่มี จริงๆ แล้วการกระทำต่างๆ ก็ กระทำไปตามความเห็นของตน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความต่างกัน ความหนัก และความเบาก็ต่างกัน ถึงอย่างนั้น อย่างเบาที่สุด ก็ต้องไปนรก นิยตมิจฉาทิฏฐิ แต่ว่านิยตมิจฉาทิฏฐิที่หนักที่สุด ต้องไปเกิดใน โลกันตนิกนรก ซึ่งหนักที่สุด นิยตมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งอย่างเบา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ กลายเป็น สัมมาทิฏฐิได้ ในเมื่อได้ปัจจัยพอสมควร

    ผู้ฟัง ในอภิธรรม แสดงเรื่อง นิชาตะนิยตาธรรมา นี้ก็ นิยตมิจฉาทิฏฐิด้วย อรรถกถาบอกว่า เที่ยงแต่ตกไปในนรก ต่อจากตายแล้วก็ตกไปในนรก นี้ก็หมายความว่า นิยตะ คงมีความหมายว่า ถ้ามีนิยตมิจฉาทิฏฐิ นี้ก็แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้า ก็แก้ไขไม่ได้ ผมจะถามว่า เมื่อต่อมาก็กลับมีสัมมาทิฏฐิ ในการมีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ครั้งก่อนนั้นก็อาจจะแก้ไขได้ มาเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น นิยตมิจฉาทิฏฐิ ครั้งก่อนนี้อาจจะให้ผลไปตกนรกเหมือน อนันตริยกรรม เพราะอนันตริยกรรมนี้ ทำแล้วเมื่อภายหลัง ทำกุศลอย่างไร ก็ตกนรก เหมือนกันหรือไม่เหมือน

    วิทยากร. นรกให้โทษ หนักเบากว่ากัน นิยตมิจฉาทิฏฐิ ที่แก้ไขได้ หมายความว่ายังไม่มั่นคง ก็ต้องพิจารณาดูคนทั่วไปบางคน ถามว่า เธอเห็นว่าทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป หรือเปล่า เขาบอกว่าเปล่า ไม่เห็น ไม่มีความเห็นอย่างนั้นเลย แต่ว่าต่อมาภายหลังเขาสามารถ เปลี่ยนความเห็นผิดได้ โดยอาศัยคนอื่นแนะนำ เขาก็มีความเห็นถูกได้ แต่ขณะที่มีความเห็นว่าบุญไม่มี บาปไม่มี แล้วก็ทำตามนั้น ขณะนั้นก็เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ แต่ว่าเป็นอย่างเบา สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นิยตมิจฉาทิฏฐิ อย่างหนักแล้ว แก้ไขไม่ได้ ต้องไปลง โลกันตนิก นรกอย่างเดียว ถึงอย่างเบาที่ยังไม่มั่นคง ยังไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็ไปตกนรกเหมือนกัน แต่นรกนั้นเบากว่า

    ผู้ฟัง ถ้าอาจจะเป็นแก้ไขได้แล้ว ทำกุศลต่อมาแล้วก็ยังตกนรก เป็น นิยตะไหม อาจจะไม่ตกนรกได้

    วิทยากร. เมื่อมีความเห็นถูกต้องแล้ว ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ แล้ว

    ผู้ฟัง อาจะตายแล้วก็ไม่ไปตกนรก

    วิทยากร. กุศล อกุศลไม่ปะปนกันๆ

    ผู้ฟัง ถ้าอนันตริยกรรมไม่ใช่อย่างนั้น ทำบุญมากแล้วก็ตกนรก

    วิทยากร. อนันตริยกรรมนั้น ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่นิยตมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐิ อย่างหนึ่ง อนันตริยกรรมอย่างหนึ่ง คนละอย่าง

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ เคย พระสูตรที่ว่าคนที่มีความเห็น ผิด แล้วขึ้นสวรรค์ ไหม

    ผู้ฟัง ผมเคยมี ลูกศิษย์ของปู่มิจฉาทิฏฐิเกิดในเทวดา แต่ก็นี้ ก็ไม่ใช่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ ถามเป็นข้อๆ ก่อน ว่าเคย ผ่าน เพราะฉะนั้น อันนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เรื่องของการที่จะเกิดที่ไหน เป็นเรื่องผลของกรรม ที่เป็นกุศลกรรมหรือ อกุศลกรรมแน่นอน แยกเรื่องทิฏฐิ ออกไปก่อน ถูกไหม เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจะมีความเห็น ผิด แต่ทำกุศลกรรม ก็ขึ้นสวรรค์ได้ เพราะกุศลกรรม แม้ว่าจะเป็นผู้ที่มีความเห็นผิด นี่ก็ต้องแยกกันส่วนหนึ่ง ทีนี้เวลาพูดถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ หมายความถึง ความเห็นผิด ๓ อย่างนี้ก่อน แต่ควรจะพิจารณา รูปศัพท์ ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น นิยตะ แปลว่า มั่นคง หรือเที่ยง อาจารย์ให้ความหมายนี้

    วิทยการ. นิยตะ จริงๆ แปลว่า แน่นอน หมายความว่า ความแน่นอน หมายความว่ามั่นคง นั่นเอง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อย่างที่บ้านเราหรือที่ไหนก็ตาม ไม่ใช่ว่ามีคนเชื่อเรื่องบาปบุญเลย เพราะเขาพูดว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน แล้วต่อไปว่าอย่างไร นะ ทำบาปได้ดีมีถมไป อะไรพวกนี้

    ผู้ฟัง ทำชั่วได้ดีมีถมไป

    ท่านอาจารย์ นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะมีความเห็นถูกต้อง เพราะฉะนั้น คนที่ยังไม่ได้ฟังพระธรรมในเรื่องเหตุผลก็ต่างคนต่างคิด แต่ที่นี้ที่ใช้คำว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ คือ ไม่ใช่สักกายทิฏฐิ แล้วก็ไม่ใช่ทิฏฐิอื่น เพราะฉะนั้น ก็เป็นทิฏฐิ ๓ อย่าง ซึ่ง มีโทษมากคือ เห็นว่าการกระทำไม่มีผล ทำดีไปแล้วก็ไม่มีผลอะไร หรือว่าตายแล้วก็สูญไปเพราะว่าบุญ ที่ทำหรือความดีที่ทำ ไม่ให้ผล อย่างหนึ่ง หรืออาจจะเห็นว่าที่แต่ละคนได้ดีมีสุข ทุกวันนี้ ก็เป็นไปเอง เกิดขึ้นมาเอง เกิดในตระกูลที่ดีเอง อะไรเองทุกอย่างไม่ใช่เป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้ว อันนี้ก็แสดงว่า เขาไม่เข้าใจในเหตุในผลนั้น นั่นเอง เพราะฉะนั้น นิยตมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิที่แน่นอน ก็จะต้องเกี่ยวกับการไม่เชื่อในเรื่องเหตุ และผล ในเรื่องกรรม และผลของกรรม ไม่เชื่อว่าการกระทำ เป็นเหตุที่จะให้เกิดผล

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า เราต้องแยกเรื่องความเห็นผิดกับ กุศลกรรม และอกุศลกรรมออก อย่างที่คุณบุตร สาวงษ์ บอกว่า ถ้าเคยมีความเห็นผิด ที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐิ คืออันนี้ เห็นผิดแน่ๆ ที่ว่ากรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี หรือว่าการกระทำ ไม่ใช่การกระทำที่จะให้เกิดผล ถ้าเข้าใจอย่างนั้น แล้วก็คนนั้นกระทำอกุศลกรรม ต้องมีกรรม ต้องมีเหตุ คือกรรมนั้นด้วย กรรมนั้นแหละ จะทำให้ไปสู่ อบายภูมิ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม หรือถ้าคนนั้นทำกุศลกรรม มีความเห็นผิดจริง แต่เขาทำกุศลกรรม กุศลกรรมนั้น ก็ทำให้ไปสู่สุคติ ภูมิได้ เพราะฉะนั้น ในสวรรค์ไม่ใช่มีแต่คนที่มีแต่ความเห็นถูก ในสวรรค์ก็มี บุคคลที่มีความเห็นผิดด้วย แต่ว่าถ้าเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นอย่างนี้แล้ว บาปไม่มี บุญไม่มี พ่อแม่ไม่มีคุณต่างๆ เหล่านี้ คนนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ตราบใดที่เขายังไม่มีความเห็นถูกเกิดขึ้น ตราบนั้นการกระทำของเขาทางกายทางวาจาก็ต้องเป็นไปในทางฝ่ายที่ ไม่เชื่อ ในเรื่องกรรม และผลของกรรม เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเป็น ตอ ในสังสารวัฏฏ์ คือตราบใดที่ยังไม่มีความเห็นถูก ก็ยังไม่สามารถที่จะออกไปจากสังสารวัฏฏ์นั้นได้ เพราะฉะนั้น สำหรับนิยตมิจฉาทิฏฐิ ก็คือผู้ที่มีความเห็นอย่างนั้น แล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลง แน่นอน มั่นคงแล้วก็ทำอกุศลกรรมด้วย

    ผู้ฟัง คำว่า นิยตะ แปลว่าเที่ยง แล้วก็ เที่ยงทางใด

    ท่านอาจารย์ มีความเห็นแน่นอนว่า บาป บุญ ไม่มีผล การกระทำดีชั่ว ไม่ใช่การกระทำที่จะทำให้เกิดผล ไม่เชื่อในเรื่องกรรม และผลของกรรม

    ผู้ฟัง เที่ยงนี้ หมายความว่า แก้ไขไม่ได้อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ ก็ถ้าเขามีความเห็นผิดอย่างนั้น ถ้าคนที่มีความเห็นผิดว่าบาปไม่มี บุญไม่มี กรรมไม่มี การให้ผลของกรรมไม่มี แล้วใครจะไปเปลี่ยนความคิดของเขา ถ้าเขายังมีความเชื่อที่มั่นคงอย่างนั้น แต่ถ้าเขามีความเห็นถูก เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่นิยตมิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุว่า มิจฉาทิฏฐิ มีมากมายหลายอย่าง ใน พรหมชาลสูตร ก็แสดงไว้ มาก แล้วก็ไม่ใช่แต่เฉพาะใน พรหมชาลสูตร ทุกวันนี้มีคนที่มีความเห็นผิด แต่ในบรรดาความเห็นผิด บางคนก็ไม่เชื่อว่า ตายแล้วต้องเกิดอีก ก็เหมือนกับไม่เชื่อว่า กรรมมี ที่จะต้องให้เกิดผลของกรรม ถ้าคนที่ไม่เชื่อว่า ตายแล้วต้องเกิดอีก ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ หมายความว่า เขาไม่เชื่อว่า กรรมที่ได้กระทำ ในชาตินี้ เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบากหรือว่า ปฏิสนธิจิตในชาติต่อไป ก็รวมๆ อยู่ในความเห็นผิดนานาประการ แต่หลักใหญ่ที่เป็นความเห็นผิด คือ ไม่เชื่อในเรื่องของกรรม และผลของกรรม ซึ่งถ้าบุคคลใดไม่เชื่ออย่างนี้ แน่นอน เป็น นิยตะจริงๆ เพราะว่า ต้องไม่เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญมีผล นี่คือมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง แล้วถ้าใครไม่เชื่ออย่างนี้แน่นอน ก็ให้โทษ คือตราบใดที่เขายังไม่มีความเห็นถูก เขาก็ออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความเห็น ๓ อย่างนี้ มีโทษมาก แต่ไม่ได้ หมายความว่า ใครที่มีความเห็นอย่างนี้ ตายแล้วตกนรกหมด ต้องแล้วแต่กรรม โดยเฉพาะอนันตริยกรรมถ้าใครทำแล้ว คนนั้นก็ต้อง ไม่มีทางที่จะ หลังจากที่จุติแล้ว จะไปสู่สุคติภูมิได้ ถ้าเป็น อนัตริยกรรม แต่สำหรับนิยตมิจฉาทิฏฐิ หมายความว่า ให้โทษมากกว่านั้น เพราะเหตุว่า อนันตริยกรรมก็ยังมีกำหนดกาลเวลา แต่ว่าถ้ามีความเห็นผิดอย่างนี้ตลอดไป แน่นอนมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง ก็ออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ได้ มีอะไรยังเหลือไหมในเรื่องนี้

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อว่า ผู้ที่มีนิยตมิจฉาทิฏฐิแล้ว แต่ว่าเขาก็ทำความดี แต่เขาก็ยังมีความเห็นผิดอยู่ แต่เขาก็ยังทำอย่างนี้ เขาช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก เพราะเขาสงสาร

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเห็นผิดอย่างนี้แน่นอน ในเรื่องกรรม ไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อผลของกรรม นิยตะ คือ แน่นอน

    ผู้ฟัง อย่างคนที่ทำความดี เขาก็ไม่ได้หวังผล เขาหวังว่าเขาจะช่วยเหลือคนอื่น

    ท่านอาจารย์ เขาไม่ได้หวังผล แต่ไม่ได้หมายความว่า เขามีความเห็นผิดก็ได้

    ผู้ฟัง เขาไม่ได้มีความเห็นก็ได้

    ท่านอาจารย์ เขาไม่ได้มีความเห็นผิดก็ได้ เขาไม่มีความเห็นก็ได้ เมื่อไม่มีความเห็น จะชื่อว่าผิดก็ไม่ได้ เพราะไม่มีความเห็น ไม่มีความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น เขาทำไป

    ผู้ฟัง แล้วอย่างนี้จะตกนรกไหม

    ท่านอาจารย์ จะตกได้อย่างไร ในเมื่อเป็นผลของกุศลกรรม เราก็บอกแล้ว ขึ้นอยู่กับกรรม

    ผู้ฟัง ขึ้นอยู่กับกรรม

    ผู้ฟัง เหมือนอย่างเวลานี้ ที่ทำบุญทำทานกันนี้ บางทียังไม่เข้าใจในเรื่องของสัมมาทิฏฐิ เราก็ยังทำบุญทำกุศลกันอยู่ เพราะฉะนั้น ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่ามีความเห็นว่าเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ แต่ถ้าหากว่ายังไม่ทำ อกุศลกรรม ผลก็ไม่มี ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แยก ๒ ศัพท์ ทิฏฐิ ความเห็น นิยตะ คือแน่นอนมั่นคง ใครมีอย่างนั้น ทิฏฐิ ๓ อย่างเมื่อประมวล ลงแล้ว คือไม่เชื่อ เรื่องเหตุ และผล ไม่เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม ไม่เชื่อว่า การกระทำนี้จะมีผล เป็นการกระทำ เชื่อว่าทำแล้วก็แล้วไปลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดผล ถ้าเชื่อย่างนี้มั่นคงแน่นอน ชีวิตของคนนั้นจะเป็นอย่างไร ไม่มีทางที่จะอบรมเจริญในทางฝ่ายกุศลขึ้น เพราะไม่เชื่อเรื่องเหตุกับผล เพราะฉะนั้น มีโทษมาก เพราะเหตุว่า แม้อนันตริยกรรมก็ยังมีกำหนดกาลเวลา แต่ว่านิยตมิจฉาทิฏฐิ ถ้ามีความเห็นอย่างนี้ แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง ก็ออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ได้

    ผู้ฟัง อีกข้อหนึ่งที่ เจอคำถามบ่อยๆ คือคนที่เขาไม่เชื่อว่า นรกกับสวรรค์มีจริง จะถือว่าเป็น มิจฉาทิฏฐิ แบบไหน

    ท่านอาจารย์ เขาไม่เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม เพราะเหตุว่า นรก เป็นผลของอกุศลกรรม สวรรค์ เป็นผลของกุศลกรรม

    ผู้ฟัง ผมเคยเชิญฝรั่งไปพูด ฝรั่งไม่เชื่อเรื่องนี้เลย เพราะฉะนั้น เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ เป็นมิจฉาทิฏฐิแต่จะนิยตะ หรือไม่ นิยตะ ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ นอกจากเขาเอง ว่าเขาแน่นอนมั่นคง ปักใจแค่ไหน

    ผู้ฟัง เท่าที่ฟังเขา นี่ไม่ใช่เป็นเงื่อนไข ที่เขา

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นคนที่ให้เหตุผลเขาดีๆ อธิบายให้เขาเข้าใจ เขาก็เปลี่ยนได้

    ผู้ฟัง กลับมาเรื่อง มิจฉาทิฏฐิ ใหม่ ผมขอย้อนไปนิดหนึ่ง คือใน อุปาลีวาทสูตร นั้นได้กล่าวถึงว่า บรรดา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมนั้น มโนกรรมมีโทษมาก แล้วก็ยกตัวอย่างว่า ที่มีโทษมากได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ ตลอดไปจนกระทั่งนิยตมิจฉาทิฏฐิ คำว่า มีโทษมาก หมายความว่า ตัวกิเลสตัวนี้ จะเป็นปัจจัยให้เราได้ทำ ความผิดได้ต่างๆ นานา มากมาย อย่างนั้นใช่ไหม มิใช่ว่าเพียงแต่มีมิจฉาทิฏฐิแล้ว จะต้องไปตกนรก

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่าคุณธงชัย อ่านในตัวอย่างใน อรรถกถาต่อไปหรือเปล่า ที่ยกตัวอย่างเรื่องของมโนกรรม

    ผู้ฟัง ยังไม่ได้อ่าน

    ท่านอาจารย์ มีใครอ่านบ้างไหม ที่แสดงว่า มโนกรรมมีโทษมากกว่า กายกรรม และวจีกรรม ซึ่งก็ต้องเข้าใจความละเอียดมาก คิดว่าในเทปก็คงมี ให้ทราบความละเอียดว่า ใน อรรถสารินี แม้ แต่ทางปัญจทวารวิถี เจตนาที่เกิดกับ ชวนจิต ก็ชื่อว่า มโนกรรม ยังไม่ทันรู้เรื่อง หรือยังถึงมโนทวารวิถีจิตเลย เพราะฉะนั้น ความละเอียดก็ให้ทราบว่า สำหรับเรื่องของมโนกรรมนั้น คือ ขณะใดที่ไม่เป็นไป ทางกาย ทางวาจา ยังไม่ได้มีการกระทำกายทุจริต หรือวจีทุจริต นั่นเป็นมโนกรรม นั่นส่วนหนึ่ง

    ถ้าพูดถึงกายกรรมกับมโนกรรม วจีกรรมกับมโนกรรม ที่กล่าวว่า มโนกรรมมีโทษมาก ก็เป็นเพราะเหตุว่า เราจะต้องทราบว่า สำหรับองค์ของมโนกรรม ได้แก่ อภิชชา คือ โลภะ พยาปาทะ คือโทสะ แล้วก็ ความเห็นผิดคือ มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง ทีนี้สำหรับทางกาย เราอาจจะมีการกระทำทางกาย โดยที่ไม่มีเจตนาที่เป็นทุจริต เช่นอาจจะผ่านสวนดอกไม้ แล้วเราก็เด็ดดอกไม้มา นี่ไม่มีเจตนา ไม่เหมือนการลักทรัพย์ หรือการคิดปล้น หรือการเตรียมแผนการฆ่า หรืออะไร อย่างนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตาม ซึ่งไม่ใช่เป็นด้วยกำลังของอภิชชา ความเพ่งเล็งของคนอื่นซึ่งเป็นทุจริตกรรม หรือพยาปาทะซึ่งคิดจะเบียดเบียน ทำร้ายบุคคลอื่น หรือความเห็นผิด ขณะนั้นก็เป็นเพียงกายกรรม หรือวาจาซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจเลย ที่จะให้เขาเสียใจหรือน้อยใจ แต่ว่าหลุดปากออกไป แม้ว่าจะเป็นคำเบาๆ ซึ่งไม่ใช่ คำแรงแต่ถ้าสติเกิดก็จะรู้ได้ ว่า คำนั้น เป็นคำที่ไม่สมควรเลย แม้เพียงนิดเดียว ขณะนั้นก็เป็นวจีกรรม เพราะเหตุว่าไม่ได้มี พยาปาทะ ความจงใจที่คิดว่าจะว่าให้ เจ็บๆ ให้น้ำตาไหล ให้โกรธกัน หรืออะไร อย่างนี้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็น มโนกรรม ต้องมีกำลังมากกว่า เพียงกายทุจริต หรือ วจีทุจริต นี้คือความหมายของที่ว่า มโนกรรม มีโทษมากหรือว่าหนักกว่า ทางฝ่ายกายกรรม และวจีกรรม และสำหรับตัวอย่าง มโนกรรมทีโทษมากกว่า กายกรรม และวจีกรรม ในอรรถกถาจะยก พวกที่สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ได้ คือว่าสามารถที่จะใช้เวทมนต์ หรือ กำลังของฤทธิ์ฆ่าคนทั้งเมืองได้ นี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เพียงแต่มิจฉาทิฏฐิ หรือว่าไม่ใช่เพียงแต่กายกรรม วจีกรรม เท่านั้น แต่มีเจตนาที่แรง ที่เป็นมโนกรรม

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อมีมโนกรรมที่ไม่ดี อย่างเช่น มีอภิชชา แล้วก็มีโลภะ อะไร หรือว่ามีมิจฉาทิฏฐิ แต่ว่าไม่สำเร็จทางกาย ทางวาจา ก็จะไม่เป็นผลนำเกิด

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องนำ เป็นปัจจัยให้เกิด ถ้าดิฉันเห็นเสื้อคุณมธุรสสวย อยากได้ นี่จะเป็นมโนกรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นได้อย่างไร แค่อยากได้เป็นมโนกรรม ก็เห็นเสื้อคุณมธุรสสวย เสื้อตัวนี้สวยอยากได้ แค่นี้ จะเป็นมโนกรรมไหม

    ผู้ฟัง ยังไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อย่าไปถือคำที่กล่าวว่า โอหนอ ขอสิ่งนี้ จงเป็นของเรา คือเอาภาษาไทยที่แปลมา เปี๊ยบ แล้วก็คิดว่านี่เป็น มโนกรรมแล้ว ไม่ใช่ อภิชชาการเพ่งเล็งอยากได้ของๆ คนอื่น ต้องเป็นทุจริต ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ของเขาสวย เออ สวยดีอยากได้ แค่นี้จะเป็น มโนกรรมก็ ไม่ถูกต้อง

    ผู้ฟัง อยากได้หมายความว่า อยากได้โดยสุจริต ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ ก็ไม่ได้อยากได้ แต่ว่า เกิดขึ้นชั่วคราว สวยดี อยากได้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง อย่างนี้ เคลีย เลย คือเราอยากได้ แต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่ากได้โดยทุจริตก็มี อยากได้โดยสุจริตก็มี

    ท่านอาจารย์ นี้ชั่วนิดเดียวเอง ไม่ได้อยากได้จริงจังอะไรก็ได้ แต่จิดขณะนั้นเกิดแล้ว อย่างนี้ไม่ใช่มโนกรรมแน่นอน แต่ถ้าอยากได้ มี ๒ วิธี จะซื้อ หรือจะขอ หรือจะขโมย แต่นี้ก็ลืมคิดไปว่า เอะ นี่ถ้าเราชอบ เจ้าของเขาก็ชอบเหมือนกันสิ นี้ก็แสดงให้เห็นว่ากำลังของกิเลสจะมี เพิ่มขึ้น ถ้าคนนั้น เป็นผู้ที่รู้จักตัวเอง แล้วมีสติระลึกได้ก็จะรู้ได้ว่า ทำสิ่งที่สมควรหรือไม่สมควร แล้วไม่สมควรยิ่งกว่านั้น คือขโมยเลย อย่างนั้นเป็นมโนกรรมแน่นอน ไม่ใช่เพียงแต่ไปหยิบฉวยมาเฉยๆ แต่ว่าเป็นมโนกรรมเพราะว่ามีความต้องการเพ่งเล็ง อยากจะได้ของคนอื่น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567