ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
ตอนที่ ๔๑๒
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ ถ้าความจริงเป็นอย่างนั้นก็ คืออย่างนั้น เปลี่ยนความจริงนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น เป็นผู้ตรงต่อลักษณะของสภาพนั้น
ผู้ฟัง ก็ต่างกัน ใช่ไหม ระลึก กับ สัญญา
ท่านอาจารย์ สัญญาคือการจำ ไม่ใช่การระลึก
ผู้ฟัง ที่บอกว่า จิตเกิดดับเร็วมาก เราไม่มีปัญญา แต่ถ้าสมมติว่าสักวันหนึ่ง มีปัญญา เราจะเห็นความเกิดดับไหม
ท่านอาจารย์ คนที่เห็นการเกิดดับ ถ้าไม่มี ก็แสดง ธรรม อันนี้ไม่ได้ว่าเกิดดับ ถ้าไม่ประจักษ์แล้วจะมาบอกใครๆ เขาได้อย่างไร เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อย่างไร เป็นพระอริยสาวกได้อย่างไร
ผู้ฟัง เมื่อคืนนี้ไปพักที่โรงแรม ไฟดับบ่อย เดี๋ยวดับเดี๋ยวติด ผมตอนเช้าก็นั่งคุยกับพี่หมอ บอกว่า พี่หมอนอนโรงแรมนี้ดีนะ ผมเห็นการเกิดดับตั้งหลายครั้ง ไม่ใช่ว่าประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น ผมขอมีคำถามที่จะถามท่านอาจารย์ พูดถึงเรื่องศีล ที่พอจะเข้าใจศีล ถ้าหมายถึงความปกติ ศีลก็มีทั้งกุศลศีล อกุศลศีล อพยากตศีล หรือบางครั้ง บางคำก็อาจจะกล่าวว่า เจตนาเป็นศีล สังวรเป็นศีล หรือว่าสำรวมเป็นศีล หรือว่าวิรัตินี้ก็เป็นศีล ขณะใดก็ตาม ถ้าเรากำลังจะวิรัติวัตถุ ที่อยู่เฉพาะหน้าที่ก้าวล่วง สติเกิด ขณะนั้น เรารู้ถึง ลักษณะที่จะวิรัติ คนที่มีปกติระลึกรู้อย่างนี้ บ่อยๆ เนืองๆ เขามีการประพฤติอย่างนี้บ่อยๆ เรียกว่า ศีลบริสุทธิ์ หรือเปล่า ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ หมายความถึงศีลธรรมดา ต่างกับศีลบริสุทธิ์ หรือเปล่า หรืออย่างไร
ผู้ฟัง ใช่ๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจคำว่า ศีล หมายความถึง ความประพฤติทางกายทางวาจา โดยทั่วๆ ไป เพราะว่าคนเราถ้านั่งอยู่เฉยๆ จะรู้ได้ไหมว่าเขามีศีล หรือไม่มีศีล
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ถ้ามีกาย กับวาจาที่แสดงออก เราก็พอจะรู้ได้ว่าคนนี้มีศีลหรือไม่มีศีล ถ้าพูดคำไม่จริง เราก็รู้เลยว่า คนนี้ผิด ไม่มีศีล ผิด มุสา ผิดศีล ถ้าคนนั้นลักทรัพย์ หรืออะไรก็ตามแต่ ที่เป็นทุจริตกรรม มีความประพฤติทางกายทางวาจา ออกมาให้เราเห็น ว่าคนนั้นไม่มีศีล แต่ปกติจะไม่รู้ นี่ก็คือศีลระดับทั่วๆ ไปที่เข้าใจกันอยู่ว่าเป็น เรื่องของกายวาจา แล้วปัญหาของคุณทศพร หมายความว่าอย่างไร เจตนาอะไรอย่างไร
ผู้ฟัง หมายความว่าคนที่เขาทำ แล้วเขาคิดว่าเขาระลึก ขณะที่เขากำลังจะวิรัติวัตถุที่กำลังจะก้าวล่วง แล้วเขาก็คิดว่าเขาระลึกได้บ่อยๆ เนืองๆ แล้วก็ทำอยู่เป็นประจำ เขาก็คิดว่าทำวิรัติอย่างนี้เป็นศีลที่บริสุทธิ์
ท่านอาจารย์ ระลึกอะไร ทำอะไรบ่อยๆ
ผู้ฟัง เช่น ขณะที่กำลังมีวัตถุ ที่กำลังจะก้าวล่วง แล้วก็ระลึกได้
ท่านอาจารย์ ก็เป็นคนมีศีล
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วจะบริสุทธิ์ ไหม
ผู้ฟัง ความบริสุทธิ์ คิดว่ายังไม่บริสุทธิ์
ท่านอาจารย์ แต่หมายความว่าบ่อยๆ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เรื่องศีล จะมีคำที่ได้ยินหลายอย่าง คำว่า ศีล และ ปาริสุทธิศีล เราจะรู้ว่าศีลคนนั้น หรือคนนั้นมีศีลที่บริสุทธิ์ ได้อย่างไรบ้าง คือจากอันแรก คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล ถ้าสำหรับพระภิกษุ จะดูว่าศีลบริสุทธิ์ไหม ก็ดูจากปาฏิโมกข์ ข้อบัญญัติที่ทรงแสดงไว้ว่าเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ของพระภิกษุ ถ้าละเมิดก็หมายความว่าไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น การที่คนหนึ่งคนใดจะมีศีล เราจะรู้ได้ อย่างไรบ้าง คือ ๑. โดยปาฏิโมกข์ สำหรับพระภิกษุ แล้วก็โดยอาชีวะ อาชีพสุจริตหรือไม่ เราก็ดูได้ ถ้าอาชีพไม่สุจริตก็หมายความว่าไม่มีศีล ถ้าอาชีพสุจริตก็เป็น ปาริสุทธิศีลได้ เพราะว่าบริสุทธิ์โดยอาชีพ หรือว่า อินทริยสังวรศีล การที่จะสำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า เขาก็เป็นผู้ที่มีศีลตามควร เพราะว่าบางสิ่งบางอย่างเราอาจจะคิดว่าทำได้ แต่ถ้าทำแล้วดีหรือเปล่า ควรหรือเปล่า ผิดจากที่คนเขามีศีลเขาทำกันหรือเปล่า อันนี้ก็เป็นการที่เราดูได้เหมือนกันว่า จากทางตาทางหูของเขา เขามีความประพฤติอย่างไร
ปัจจยสันนิสิตศีล คือการที่พิจารณาในขณะที่บริโภคหรือ ใช้ นี่เป็นเรื่องของพระภิกษุทั้งหมดที่จะรู้ว่า บริสุทธิ์ไม่เฉพาะเพียง ปาฏิโมกข์อย่างเดียว ต้องดูไปถึงอินทริยสังวร อาชีวะด้วย แล้วก็ยัง ปัจจยสันนิสิตศีล คือขณะ ที่จะบริโภคใช้สอย ปัจจัยต่างๆ ด้วย นี่คือบริสุทธิ์มากทีเดียว สำหรับพระภิกษุต้องเป็นอย่างนี้
แต่สำหรับฆราวาส ไม่ถึงขั้นนั้นเลย เพราะฉะนั้น ก็ตามควร คือศีล ๕ แต่ทั้งหมด ทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ศีลนั้น แม้ว่าจะบริสุทธิ์ รักษาได้อย่างนั้นๆ ก็ไม่ใช่ ศีลวิสุทธิ ก็จะมีคำที่มีความหมายเพิ่มขึ้นมาอีก เพราะว่าถ้าเป็นศีลวิสุทธิ ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิสุทธิ ๗ ความบริสุทธิ์ ตามลำดับ ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่า จะเป็นผู้ที่มีศีล แต่ก็ยังเป็นเรา เป็นเขาอยู่ เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ใช่เป็นความบริสุทธิ์ จากความเยื่อใย ความเป็นตัวตน ก็จะต้องมีขั้นอื่นๆ ต่อไปอีก
ผู้ฟัง บางคนก็บอก ศีลที่บริสุทธิ์ จะต้องให้บริสุทธิ์เสียก่อน แล้วถึงค่อยเจริญสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ทำไมรอ เล่า การอบรมเจริญปัญญาเป็นเรื่องที่ยาก เป็นเรื่องที่ละเอียดเป็นเรื่องที่ควรจะต้องสะสม ความเห็นถูก ข้อสำคัญที่สุด เรายังไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะเจริญ หรือไม่เจริญ แต่ต้องคิดว่าความเห็นของเราถูกต้องหรือยัง ในเรื่องหนทางปฏิบัติ ถ้าเรายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของหนทางปฏิบัติ เช่นเราคิดว่าต้องรอไว้ก่อน แล้วก็จะทำ อย่างนั้นหมายความว่ามีความเป็นเรา ที่เลือกที่ตัดสิน แต่ถ้าเราเข้าใจหนทางจริงๆ ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วก็มีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรม แล้วขณะนี้ธรรมกำลังปรากฏ ความเข้าใจจริงๆ ในลักษณะของธรรมอย่างมั่นคง ซึ่งก็คงต้องอาศัยเหตุปัจจัยในอดีตด้วย คือได้มีการศึกษาได้มีการฟังธรรมมา แต่ว่าชีวิตในแต่ละภพ ในแต่ละชาติก็แล้วแต่ว่าจะมีปัจจัยเกิดขึ้น ให้เป็นในลักษณะใด แต่ขณะนั้น ที่สภาพธรรม กำลังปรากฏ หรือขณะนี้ก็ได้ ถ้าเราจะไม่ย้อนไปคิดถึงอดีต เอาขณะเดี๋ยวนี้ ปัญญาเราสามารถจะเข้าใจนามธรรม และรูปธรรมเดี๋ยวนี้ ขั้นไหน หรือยังไม่เข้าใจเลย ถ้ายังไม่เข้าใจเลย ก็ศึกษาหนทาง ที่จะทำให้ปัญญาระดับนี้เกิดขึ้นโดยไม่หวังว่าจะให้เกิด แต่หมายความว่าให้มีความเห็นถูก ว่าการที่จะอบรมปัญญาด้วยความเป็นอนัตตา ให้เห็นสภาพความเป็นอนัตตาจริงๆ ในสภาพธรรม ด้วยการเข้าใจถูกต้องในหนทาง ถ้าความเข้าใจถูกต้องในหนทาง ไม่มี มรรคมีองค์ ๘ ทุกคนก็รู้ว่าเริ่มด้วยสัมมาทิฏฐิ ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ ทำอย่างไรๆ จะไปรออย่างไรก็ไม่เกิด จะไปให้ศีลบริสุทธิ์ อย่างไรก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าคนที่ศีลบริสุทธิ์ แต่ไม่เข้าใจหนทาง ก็ไม่สามารถที่จะให้ปัญญาเกิดได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่เข้าใจหนทางแล้ว ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่า ขณะไหนสติปัฏฐานจะเกิด แต่ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิดคนนั้นรู้ เพราะว่าต่างกับขณะที่หลงลืมสติ เป็นปกติธรรมดามาก สติปัฏฐาน
ผู้ฟัง จากการศึกษาเมื่อเข้าใจธรรม ก็จะมีการประพฤติให้ละตัวตน ทั้งนี้ทั้งนั้น จุดมุ่งหมายคือ ออกจากสังสารวัฏฏ์ จากการศึกษา แต่มีผู้ศึกษามากเลย ไม่เข้าใจว่า สังสารวัฏฏ์ มีความทุกข์อย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะว่า เราไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจแต่ละคำ การศึกษาถ้าได้ยินคำไหน อย่าเพิ่งตาม แต่ต้องให้เข้าใจความหมายนั้นจริงๆ เราอาจจะไม่ใช่ผู้รู้ภาษาบาลี แปลออกมาไม่ได้ ท่านอาจารย์สมพรท่านอยู่ตรงนี้ ก็ขอความรู้จากท่านเลย เพราะท่านเป็นผู้รู้ภาษาบาลีว่า สังสาระ แปลว่าอะไร วัฏฏะ แปลว่าอะไร ก่อนที่เราจะพูดเรื่องทุกข์ ความหมายของสังสาระ
วิทยากร. สังสาระ คือการท่องเที่ยวไป
ท่านอาจารย์ การท่องเที่ยวไป วัฏฏะ
วิทยากร. วัฏฏะ ก็วนไป วน มา
ท่านอาจารย์ ถ้าเราได้ยินคำว่า สังสาระ ท่องเที่ยว วัฏฏะ ก็วนไป วนมา ก็คล้ายๆ กัน ใช่ไหม สังสารวัฏฏ์ แล้วอะไร ละ ถ้าเราไม่รู้ คำว่า ธรรม ไม่รู้คำว่านามธรรม ไม่รู้รูปธรรม ไม่รู้ปรมัตถธรรม เราตอบไม่ถูกเลย อะไรท่องเที่ยว อะไรวนเวียน ท่องเที่ยววนเวียนไปนี่อะไร แต่ถ้าเรารู้ จิตเกิดขึ้นทีละกี่ขณะ หนึ่งขณะ เห็น แล้วก็ได้ยิน แล้วก็ได้กลิ่น แล้วก็ลิ้มรส แล้วก็รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วก็คิดนึก ชาตินี้คืออย่างนี้ ชาติก่อนคืออย่างนี้ ชาติหน้าคืออย่างนี้ ทุกชาติเป็นอย่างนี้ คือวนเวียนอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น ทุกข์ของสังสารวัฏฏ์ ก็คือการเกิดแล้วดับ เร็วมาก ไม่มีใครยับยั้งได้ แล้วอย่างนี้ เกิดขึ้นแล้วก็เห็น แล้วก็ได้ยิน แล้วก็ได้กลิ่น แล้วก็ลิ้มรส แล้วก็รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วก็ไม่มีอะไรเหลือ เป็นทุกข์ไหม เห็นอีก ไม่มีอะไรเหลือเลย ได้ยินอีกก็ไม่มีอะไรเหลือ ได้กลิ่น ลิ้มรส
ผู้ฟัง ความเข้าใจแค่นี้ ไม่สามารถทำให้เรา รู้สึกทุกข์ได้ หรือว่ามีความเบื่อหน่ายได้
ท่านอาจารย์ พอศึกษาปุ๊บ รู้ทุกข์ปั๊บ เป็นพระอรหนัต์ปุ๊บ หรืออย่างไร
ผู้ฟัง มันไม่มีความแตกต่างกันเลย มีความรู้สึกว่า รู้ว่ามันเกิด แล้วมันดับ
ท่านอาจารย์ แสดงว่าเรารู้ไม่พอ แสดงให้เห็นว่าความรู้มีหลายระดับ รู้แค่นี้ทำอะไรกิเลสไม่ได้เลย กิเลสไม่กลัว ถ้ารู้แค่นี้ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่แค่นี้ แต่แค่นี้ไม่พอจึงต้องฟังอีก เข้าใจอีก เจริญอบรมอีก
ผู้ฟัง ผมก็รู้สึกว่า ตัวผมเองก็วนเวียน แต่ในขณะเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ก็คงเป็นอย่างนี้ตลอดไป
ผู้ฟัง พูดจริงๆ ทุกคนก็วนตรงนี้ รู้ รู้ว่าวนตรงนี้ อาจารย์ก็ฟังทุกวัน ว่ามีทางออก แต่ออกจริงๆ เราก็ออกไม่ได้ วนไปวนมามันก็หนาเข้า ไม่บางเลย หาทางออกยิ่งหนา ไม่ใช่บางออก คือว่าวนต่อไป
ผู้ฟัง ในความรู้สึกจริงๆ ผมยังไม่อยากออก อยากจะเป็นอย่างนี้ เพราะว่าเพื่อนฝูงมาก แล้วก็คุยกันสนุกสนาน
ท่านอาจารย์ ถึงได้เป็นอย่างนี้ ไง
ผู้ฟัง เวลาฟังพระธรรม ผมก็ตั้งใจ
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วเราไม่เห็นจำเป็น ต้องคิดว่าเราอยากหรือไม่อยาก เพียงแต่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยฟัง แล้วสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แสนประเสริฐ คือเป็นความจริงแน่นอน ไม่ผิดเลย แล้วก็สามารถที่จะให้ความเข้าใจของเรา เพิ่มขึ้น อีกมากมายมหาศาล ชัดเจนถูกต้องขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งซึ่งเราไม่ทอดทิ้ง จากการไม่รู้ มาค่อยๆ รู้ขึ้น แล้วยังสามารถรู้ต่อๆ ไปได้อีก แล้วเราจะทิ้งความรู้อย่างนี้หรือ แต่เราไม่ไปเปรียบเทียบกับใคร เพียงแต่เราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก คนอื่นไม่สามารถจะให้ความรู้ อย่างนี้ได้เลย นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเรานับถือพระองค์ เราก็ศึกษาพระธรรม โดยตรงจากพระองค์ แต่เนื่องจากธรรม เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เราจึงต้องศึกษาโดยการไม่ประมาท และก็รอบคอบ เพื่อจะได้ไม่ไปหนทางผิด ข้อสำคัญที่สุดอันดับแรก ไม่ต้องไปคิดเรื่องสติปัฏฐาน ไม่ต้องไปคิดเรื่องระลึกรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ข้อให้เข้าใจหนทางให้ถูกต้องว่า หนทางที่จะรู้ธรรม ที่กำลังปรากฏ ได้ถูกต้องนั้นคืออย่างไร เริ่มจากการฟัง สิ่งซึ่งเราไม่เคยรู้เลย มากี่ชาติมาแล้ว แล้วขณะนี้เพียงฟัง รู้ หรือว่า สามารถที่จะรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏจริงๆ เป็นความต่างขั้นของปัญญาที่จะต้องอบรม เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็สามารถที่จะตรงต่อตัวเอง ว่าเป็นผู้ที่ฟังเข้าใจ แล้วก็สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นธรรมทั้งหมด ทรงแสดงไว้ทั้งหมดแต่ปัญญาของเราระดับไหน เมื่อปัญญาของเรายังไม่ถึงขั้นที่จะรู้แจ้ง หน้าที่ก็คือว่าศึกษาต่อไป อบรมต่อไป เจริญต่อไป ก็ไม่เดือดร้อนอะไร ธรรมไม่ทำให้เราเดือดร้อน ทำให้เราเบาใจ สบายใจ แต่โลภะ ทำให้เดือดร้อน เพราะความอยากหรือความต้องการ เพราะฉะนั้น เราไม่เดือดร้อน แม้แต่ว่าจะถึง นิพพาน หรือไม่ถึงนิพพาน จะออกจากสังสารวัฏฏ์ หรือไม่ออกจากสังสารวัฏฏ์ แต่ความรู้เพิ่มขึ้น ก็เป็นเรื่องเบาใจแล้ว นี่ความรู้เพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง มีบางคนบอกว่าอย่าเพิ่งออก เพราะผมคุยสนุกอยู่
ท่านอาจารย์ เป็นเพื่อนกันก่อน
ผู้ฟัง เป็นความจริงอย่างมากเลย ที่ว่ามีหลายๆ คนที่ยังไม่คิดว่าจะเบื่อ สังสารวัฏฏ์ หรืออาจจะยังไม่เข้าใจอารมณ์ของนิพพาน หรือยังไม่เข้าใจสังสารวัฏฏ์ที่แท้จริง แต่ในการมาศึกษาธรรม ตัวผมเอง ศึกษาเพราะเห็นว่ามีเหตุผลแล้วเป็นความจริง ทุกๆ วันนี้ก็เห็นว่าเป็นความจริงซึ่งดีกว่าศึกษาสิ่งที่ไม่ตรง และไม่จริง จึงติดตามมา แต่ระดับขั้นที่สูงๆ ไป ยังไม่เข้าใจ ท่านอาจารย์คิดว่าคงยังไม่จำจะต้องเข้าใจ หรือว่าเมื่อ หมายถึงขั้นสังสารวัฏฏ์ หรือขั้นนิพพาน หรือเราศึกษาไปก่อน
ท่านอาจารย์ ปัญญา คือความเห็นถูกต้อง แล้วก็เมื่อเจริญขึ้นมีมากขึ้น จะพาไปไหน อวิชชาพาไปไหน ความไม่รู้พาไปไหน ปัญญาพาไปไหน
ผู้ฟัง ผมก็มีความคิดเดี๋ยวนี้เหมือนกับวีระยุทธ ผมขยัน เมื่อก่อนที่ศึกษาก็เพราะว่าชีวิตนี้ คิดว่าเป็นของน้อย โอกาสที่ศึกษาอีกคงจะไม่มี แต่ทุกวันนี้ เจริญสติไป ที่จะละกิเลสไปเลย เลิกคิดเลย ไม่อยากละกิเลส แล้วก็การศึกษาพระอภิธรรมอะไรก็ไม่ค่อยมีมากแล้ว พอฟังบ้าง เทปก็ฟังบ้าง แต่ก็ไม่ทอดทิ้ง เจริญสติไปเรื่อยๆ ก็คิดว่าจะถึงเมื่อไรตาม วันหนึ่งก็คงจะถึง อย่างนี้เป็นความเสียหายหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ มีศรัทธาน้อยลงหรือเปล่า มีความสนใจน้อยลงหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่น้อย แต่ว่ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุโลภะ หายหน้าไป ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เรื่องของการละคลาย ต้องทราบว่า ยากแสนยาก ยากมากเลย เราเป็นทาสของโลภะ หรือว่าถูกครอบงำ ใช้คำว่าหุ้มห่อมิดชิดสนิทเลย อวิชชา และโลภะ ฉาบทาเข้าไปอีก ทางที่จะออกไม่มีเลย มืดอยู่ในโลก ของความมืด ถ้าปัญญาไม่เกิด เราอาจจะคิดว่าเรามีปัญญามาก เราฉลาดมาก เราเรียนวิชานั้นก็ได้ เรื่องนี้ใครสอนเราก็เข้าใจหมด ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมด แต่มืดเท่าไร ขณะที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม โดยตัวเองก็ไม่รู้อยู่ในความมืด ต่อเมื่อไรได้ฟังธรรมจึงเริ่มเห็นแสงสว่าง เพราะฉะนั้น ตามระดับขั้นของปัญญาจริงๆ กับความมืดที่สะสมมามาก และความติดข้องในทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะในความเป็นตัวตน ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่ที่หนักแน่นมากมายมหาศาล ที่ดึงไว้ไม่ให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ คือความเห็นผิด
ถ้าเราสามารถที่จะดับความเห็นผิดในสภาพธรรม ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่ไม่เคยเห็นเลย ว่า ขณะนี้สภาพธรรม กำลังเกิดขึ้นดับไปไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ถ้าไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้อย่างนี้เลย แล้วเราก็จะไปอยาก ความหวังของเราเกินฐานะหรือเปล่า แต่ถ้าเราค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วแต่อะไรจะเกิด ปัญญาไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่ง เราจะไปสร้างขึ้นมา หรือว่าไปทำให้เกิดขึ้นตามใจชอบ แต่เป็นเรื่องของการอบรมด้วยกาลเวลาจริงๆ
เพราะฉะนั้น ลึกลงไปในใจของทุกคน สละความเป็นตัวตนได้ไหม ยังไม่ต้องไปละความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพียงแค่สละความเป็นเราจากนามธรรม และรูปธรรม ทั้งๆ ที่ปัญญาก็รู้ว่านี่เป็น นามธรรม นี่เป็นรูปธรรม แต่สามารถที่จะถึงกาล ที่จะสละ ความเป็นเราหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ปัญญาต้องตามลำดับขั้นจริงๆ แม้ว่าจะสละความเป็นเรา ละทิฏฐิทั้งหมด ไม่มีความเห็นว่าเที่ยง แต่ยังติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ซึ่งจะต้องรู้ตามความเป็นจริงๆ ว่า ความจริงเป็นอย่างนั้น ตามลำดับขั้น เวลาที่มีความเข้าใจถูกต้อง ในลักษณะของสภาพ นามธรรม และรูปธรรม ขณะนั้นมีแต่ความเห็นถูก ยังไม่สามารถที่จะสละหรือละได้ แม้กระนั้นเวลาที่กำลังรู้ ในลักษณะของ นามธรรม และรูปธรรม คือปัญญา ไม่ใช่ว่าไม่ใช่ปัญญา ถ้าไม่ใช่ปัญญาแล้วรู้ไม่ได้เลย แต่ปัญญาระดับนั้นรู้เพียงลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ยังไม่ได้มีความคิด หรือความที่ต้องการจะออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราะเหตุกำลังเป็นความรู้เฉพาะลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่าเรารู้เพียงแค่นี้ แล้วเราจะอยากออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็เป็นความคิด บางคนก็อาจจะคิดว่า เป็นความคิดที่ดี คือว่า ไม่ได้ไปคิดเกี่ยวข้องกับในการที่จะอยู่กับสังสารวัฏฏ์ แต่ความคิดที่ดี แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะว่าบางคนแม้ไม่เห็นโทษเลยของสังสารวัฏฏ์ แต่อยากเฉยๆ ก็มี
เพราะฉะนั้น คำพูดของคน เราสามารถที่จะรู้ซึ้งถึงจิตใจของเขาไหม ว่าระดับไหน ว่าระดับที่แม้ไม่รู้อะไรเลยก็อยากแล้ว พอเกิดมาเป็นทุกข์นิดก็ไม่เกิดดีกว่า ไม่อยู่ดีกว่า ออกจากสังสารวัฏฏ์ดีกว่า แล้วรู้อะไร ก็ไม่รู้อะไรเลยแต่อยาก เพราะฉะนั้น จะมีหลายระดับมาก ไม่ใช่ว่า เมื่อใครพูดอย่างนี้แล้วเราก็ชื่นชม เขามีปัญญา เขาอยากออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ก็ต้องตามลำดับขั้นของปัญญาจริงๆ ว่าเป็นปัญญาระดับไหน เพราะฉะนั้น ถ้าระดับแค่นี้ ทำอะไรกิเลสไม่ได้ ให้ทราบกำลังมหาศาลของกิเลส ความรู้อภิธรรม เรื่องราวของอภิธรรม ทั้งหมด ก็ทำอะไรกิเลสไม่ได้ วิปัสสนาญาณจึงมีหลายขั้น การรู้แจ้งอริยสัจธรรมจึงมีหลายขั้นด้วย อย่างพูดถึงการปรารถนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บางคนก็อาจจะคิดว่าเป็นโลภะ หรือเปล่า หรือว่าเป็นพระมหากรุณา เพราะฉะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของจิตใจ ว่าท่านต้องฟังธรรม เห็นคุณค่ามหาศาล จากการที่ได้ฟังพระธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ความปรารถนาของท่านที่จะช่วยเหลือคนอื่น ความกรุณาของท่านใหญ่มาก ทั้งๆ ที่รู้ว่าการรู้แจ้งอริยสัจธรรมไม่ง่ายเลย ยากมาก แล้วการรู้แจ้งอริยสัจธรรมระดับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยิ่งต้องประกอบด้วยพระญาณต่างๆ อีกมากมาย แต่ไม่ทรงท้อพระทัย เพราะฉะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเวลานี้ เรา รู้ละ ว่าธรรมยาก รู้ยาก เห็นยาก แม้ว่ากำลังปรากฏ ปัญญาก็ไม่ถึงระดับที่จะละได้ กว่าจะถึงแต่ละขั้น จะยากสักแค่ไหน เดี๋ยวนี้ ใครจะเป็นพระสาวก เพียงแค่สาวกก็เอาละ เพราะว่ายากเหลือเกิน หรือใครคิดว่า จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรืออย่างไรก็แล้วแต่ จริงๆ แล้วจะต้องเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยใหญ่ มีความกรุณามหาศาลกว่าจะถึงระดับนั้นได้ มีความอดทนมากมาย มีการบำเพ็ญบารมีมากมาย นั่นคือระดับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พอถึงระดับพระภิกษุที่ท่านเป็น เอตทัคคะ บางคนก็สงสัยอีก นี่โลภะหรือเปล่า อยากจะรู้ก่อนคนอื่น อย่างท่านพระอัญญาโกญฑัญญะ ขอรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก่อนคนอื่น แต่ก็ต้องคิด เอตทัคคะแต่ละด้านหรือแต่ละทาง เพื่อคนอื่นด้วย ไม่ใช่ว่าเพื่อตัวเอง เหมือนอย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่การตรัสรู้ เพื่อพระองค์เองผู้เดียว แต่ว่าเพื่อคนอื่นด้วย เพราะฉะนั้น อัธยาศัยของแต่ละคนก็ต่างกัน แต่การที่เราจะเพียงคิดนิดหนึ่งว่าเราอยากออกจากสังสารวัฏฏ์ ก็ดูเหมือนคิดในทางที่ดี แต่จริงๆ แล้วดีจริงๆ ต้องประกอบด้วยปัญญาจริงๆ แล้วต้องเป็นผู้ที่ตรงต่อตัวเองด้วยว่าปัญญา ระดับนี้ ถึงกาลที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ หรือว่าเพียงสละความเป็นเราได้ แค่สละความเป็นเรา ยากเย็นเหลือเกิน อย่างเรามาศึกษากันบ่อยๆ เป็นความมั่นคงไหม เราต้องพูดไหมว่าขออธิษฐานให้มาฟังธรรม หรืออะไรๆ อย่างนี้ในเมื่อเราก็ทำอยู่แล้ว ผู้ที่มีปัญญาก็เหมือนกัน เมื่อเห็นคุณค่า แล้วก็อบรมเจริญปัญญา เขาก็รู้ว่าปัญญาความเห็นถูก ต้องนำไปสู่ ความเห็นที่ถูกต้องยิ่งขึ้น แล้วความเห็นที่ถูกต้องยิ่งขึ้นก็ต้องเห็นโทษเห็นภัย ของนามรูปแต่จะ เมื่อไร วันไหน ก็คือความสมบูรณ์ ของปัญญา คนที่อบรมเจริญปัญญา รู้แล้วว่าไม่ใช่เรื่องคิด
ผู้ฟัง ทำอย่างไรถึงจะทราบชัด ถึงความเห็นผิด ตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ คุณธีระพันธ์ อยากจะทราบ และอยากจะเข้าใจสภาพธรรม เดี๋ยวนี้ไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420