ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
ตอนที่ ๔๑๓
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ฟัง ทำอย่างไรถึงจะทราบชัด ถึงความเห็นผิด ตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ คุณธีระพันธ์ อยากจะทราบ และอยากจะเข้าใจสภาพธรรม เดี๋ยวนี้ไหม
ผู้ฟัง อยาก
ท่านอาจารย์ คืออบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจสภาพธรรม เดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง การจะทราบสภาพธรรม ตามความเป็นจริง เราจะต้องละ ความเป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ มีตัวตนหรือเปล่า
ผู้ฟัง ความจริงไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องให้รู้ความจริงว่าไม่มีตัวตน
ผู้ฟัง ต้องผ่านความไม่มีตัวตนก่อน ถึงจะละ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ให้ค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรม ให้ถูกต้อง ถ้ารู้ว่านี่เป็นนามธรรม นั่นเป็นรูปธรรม ก็ค่อยๆ รู้ขึ้นว่า แท้ที่จริงไม่มีตัวตน มีแต่นามธรรม และรูปธรรมทั้งหมด ละเอียดขึ้น
ผู้ฟัง แต่ก็ยังยึดถือว่าเป็นตัวตนอยู่
ท่านอาจารย์ ตราบใดที่ปัญญาไม่ถึงระดับที่จะสละความเป็นตัวตน
วิทยากร. เรื่องวัฏฏะ นี้ยาก ต้องมีปัญญาอย่างอาจารย์ว่า มีปัญญาเห็นทุกข์ในวัฏฏะ ทุกวันนี้เรายังไม่เห็นทุกข์ เห็นว่าเป็นสุข ยังเพลิดเพลินสนุกสนาน เราพิจารณาดู ตามทีวี หรืออะไรก็ตาม มีแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เรายังไม่เห็นทุกข์ เมื่อใดเรามีปัญญาเห็นทุกข์ในวัฏฏะ เมื่อนั้นเราก็จะเกิดความเพียร เพราะว่าจิตของเราสลดว่าวัฏฏะ มีแต่ความทุกข์ ทุกข์นั้นพระองค์ตรัสไว้ว่า ทุกข์ในวัฏฏะ ๘ ประการ ชาติทุกข์ความเกิดเป็นทุกข์ ชราทุกข์ความแก่เป็นทุกข์ พยาธิทุกข์ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์ มรณะทุกข์ความตายเป็นทุกข์ แล้วทุกข์ในอบาย ทุกข์ที่มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ในอนาคต แล้วทุกข์เกี่ยวกับการแสวงหาอาหาร ถ้าเรามีปัญญา ที่อย่างอาจารย์ว่า แล้วก็จิตเรายังไม่แล่นไป แล้วก็พิจารณาจนกระทั่ง เห็นว่าวัฏฏะนั้นมีแต่ความทุกข์ ไม่มีความสุขเลย จิตก็จะแล่นไปเอง เกิดการพิจารณานามรูป ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะกำลังจิตที่แล่นไป ปกติจิตของเราไม่มีกำลังที่จะแล่นไป เพราะว่าเห็นวัฏฏะนั้นเป็นสุขอยู่ เมื่อไรเราเห็นว่าป็นทุกข์ เหมือนอย่างกับว่าไฟกำลังไหม้เรา เราจะทนอยู่ได้หรือ ไหม้อยู่ที่ศีรษะ เราก็ต้องรีบดับทันที ทันใดเลย นั่นคือความเร็วของสติปัญญา กำลังของสติปัญญาที่รีบดับทุกข์ เพื่อไม่ให้เรามีทุกข์ต่อไป แต่ทุกวันนี้ ถ้าเราเห็นทุกข์จริงๆ ก็มีอุตสาหะเกิดขึ้นเอง แต่ว่าเรายังไม่เห็นจริงๆ
ท่านอาจารย์ คงจะต้องสนทนากันพอสมควร แต่ว่าเรื่องของการสนทนาธรรม คือ การน้อมระลึก ถึงพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกประการ ๑ เพราะว่าเราได้บูชาพระองค์ เมื่อตอนบ่ายตอนเย็น ด้วยจิตใจที่ปิติอย่างมาก แต่ไม่ควรจะเป็นเพียงเท่านั้น ควรที่จะได้มีการสนทนาธรรม เพราะเหตุว่า เป็นพระประสงค์ของพระองค์ ที่เริ่มตั้งความเพียรที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งหลาย ให้มีความรู้ความเข้าใจถูกในสภาพธรรม
การศึกษาธรรม ถ้าขาดการสนทนาธรรม จะไม่แจ่มแจ้ง ต่างคนต่างอ่าน ต่างคนต่างคิด แต่ถ้าได้ช่วยกันพิจารณาข้อความบางตอน ซึ่งอาจจะยังไม่ชัดเจน ให้ชัดเจนขึ้น เพราะว่าธรรมเป็นเรื่องของความตรง เป็นเรื่องของความถูกต้อง เป็นเรื่องของความชัดเจน ถ้าเราศึกษาธรรม แล้วเรารู้สึกว่าเรายังไม่เข้าใจตรงนี้ หรือตรงนั้น ก็ควรที่จะได้พิจารณา จนกว่าจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามลำดับ เพราะว่าธรรม ถ้าข้ามลำดับแล้ว จะเข้าใจชัดเจนไม่ได้เลย
เรื่องศีลที่เราพูดกัน เราก็ยังไม่ได้พูดถึงในแง่ของพระอภิธรรม ซึ่งความจริงไม่ว่าเป็นเรื่องใดๆ ก็ตามก็จะต้องสอดคล้องกันทั้ง พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรมด้วย ถ้าเราเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมโดยศึกษา ตามลำดับ คือธรรมมี ๒ อย่าง นามธรรม กับรูปธรรม ถ้าพูดเรื่องศีล เราควรจะระลึกไหมว่า ศีล เป็นนาม หรือเป็นรูป หรือว่าข้ามไป แล้วก็มาพูดถึงเรื่องศีลต่างๆ แต่ถ้าตั้งต้นตรงปรมัตถ ศีลเป็น นามธรรม หรือ เป็นรูปธรรม เคยคิดไหม ตอบถูก เก่งมากเลย ทุกคนมีความเข้าใจเรื่อง นามธรรม และรูปธรรมจริงๆ เพราะเหตุว่ารูปไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น แต่ในโลกที่มีขันธ์ ๕ มีทั้ง นามธรรม และ รูปธรรม รูปเกิดจากจิตก็มี เราไม่พูดถึงรูปที่เกิดจากกรรม รูปที่เกิดจากอุตุ รูปที่เกิดจากอาหาร แต่รูปที่เกิดจากจิต มี เพราะฉะนั้น รูป เป็นทาง หรือทวารของจิต ถ้ามีแต่จิต ไม่มีรูปร่างเลย เหมือนอรูปพรหม ไม่สามารถที่จะเห็นกันได้เลย ไม่สามารถที่จะรัก จะชัง หรือจะโกรธ อะไรได้เลย เพราะว่าไม่มีรูป แต่เนื่องจากมีรูปซึ่งเป็นทางที่เราจะรู้ว่าจิตใจของคนนั้น ในขณะนั้นเป็นอย่างไร ก็โดยกาย และวาจาของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ศีลก็หมายความถึงปกติ ธรรมดา เวลาที่เราคิดถึงสภาพของจิตที่เกิดขึ้น ทีละหนึ่งขณะ ยังไม่พูดถึงรูปเลย ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เลย แม้ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องมีรูป แต่เวลาที่จิตเกิดขึ้นยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นไม่มีทางจะรู้ได้เลยว่าสภาพจิตของบุคคลนั้นดีหรือชั่วอย่างไร เพราะว่าไม่มีอาการที่จะปรากฏให้รู้ได้ แต่เวลาที่มีกายวาจาปรากฏ เราก็สามารถที่จะรู้ได้ แต่ไม่ละเอียด เพราะเหตุว่าถ้าเราคิดถึงสภาพจิตซึ่ง เกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ แล้วก็ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ จิตเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ได้ เป็นวิบากขณะใด ขณะนั้น ไม่ใช่กุศล อกุศล ไม่ใช่กิริยา เป็นกุศลขณะใด ขณะนั้นไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก กิริยา จิต ๑ ขณะต้องเป็นชาติ ๑ แล้วแต่ว่าจะเป็นชาติอะไร เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นกุศลก็มี จิตที่เป็นอกุศลก็มี แต่ยังไม่ได้มีการแสดงออกทางกายทางวาจาเลย แต่ว่าจิตเป็นกุศล และเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการพูด วันนี้เราพูดกันมาก ด้วยจิตอะไร สภาพธรรม ต้องเป็นไปตามจิต เพราะเหตุว่ากายวาจาเป็นทางออกของจิต ที่จะแสดงว่าขณะนั้นจิตเป็นอะไร ด้วยเหตุนี้ ถ้ารู้จักคำว่า ศีล ซึ่งหมายความว่าปกติ ก็จะมีทั้งกุศลศีล อกุศลศีล และอพยากตศีล เพราะเหตุว่าส่วนใหญ่พอพูดถึงเรื่องศีล เราคิดถึงความประพฤติที่เป็นไปในทางที่ดี แต่ว่าตามความเป็นจริง เมื่อศีลคือปกติ แล้วจิตก็เป็นปกติเกิดขึ้น เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เพราะฉะนั้น ศีลก็มีทั้งที่เป็นกุศลศีล อกุศลศีล และ อพยากตศีล ถ้าผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็จะมี กุศลศีล และอกุศลศีล แต่ไม่มีอพยากตศีล เพราะว่าที่จะเป็น อพยากตได้ ก็ต้องเป็น กิริยาจิตของพระอรหันต์ แต่ว่าพูดถึงผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เป็นการที่จะได้ฟังความละเอียดเพื่อที่จะได้พิจารณาตัวเอง เพราะวันนี้เราพูดมาก แต่ว่าด้วยจิตอะไร คำพูดนั้นเป็นศีลประเภทไหน เป็นศีลหรือเปล่า เพราะว่าเป็นปกติของการพูด เพราะฉะนั้น ปกติของแต่ละคนที่พูดก็ต้องเป็นปกติของจิต ที่เกิดในขณะนั้นว่าจิตขณะนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล อาจจะไม่เคยสังเกตุเลย ไม่เคยทราบเลย แต่ว่าถ้าพิจารณาจริงๆ แม้แต่การพูดเป็นกุศลศีล หรืออกุศลศีลในวันหนึ่ง เป็นอกุศลศีล เห็นไหม ว่าเราไม่เคยรู้ตัวเลย ไม่ว่าจะพูดอะไร ถ้าไม่เป็นไปในทางกุศล เป็นอกุศลศีลแล้ว วันนี้มากไหม กายวาจา
เราพูดถึงวาจา ถ้าพูดถึงกาย เราไม่ได้นั่งเฉยๆ ทั้งวัน เรามีการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นเดินไป หรือทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ ขณะนั้นจิตเป็นอะไร ถ้าจิตเป็นอกุศล กายเป็นอกุศลศีลหรือเปล่า ถ้าจิตเป็นอกุศล ทางออกของจิตที่เป็นอกุศลก็คือการเคลื่อนไหวของกาย เพราะฉะนั้น กายนั้นก็เป็นไปตามสภาพของจิตขณะนั้น เมื่อจิตขณะนั้นเป็นอกุศล กายทั้งหมดที่กระทำไปด้วยอกุศลจิต ก็เป็นอกุศลศีล ไม่อย่างนั้นเราจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า กุศลศีล อกุศลศีล และอพยากตศีล แต่ให้ทราบจริงๆ ว่า ชีวิตประจำวัน ที่เป็นปกติ เป็นการส่องสภาพของจิตโดยกาย และโดยวาจา ตอนนี้ก็อาจจะเห็นตัวเองชัดขึ้น ใช่ไหม มีศีลประเภทไหน เพราะว่าเคยคิดแต่ว่าศีลเป็นเรื่องของธรรมฝ่ายดี แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้วก็คือมีทั้งกุศลศีล อกุศลศีล และอพยากตศีล เวลาที่กุศลจิตเกิด ต้องเป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ อย่างหนึ่งอย่างใด ขณะใดที่ไม่ได้เป็นไปในเรื่องการให้ ซึ่งเป็นระดับ ๑ ของกุศลจิต ซึ่งอาศัยวัตถุ ขณะนั้นก็ต้องเป็นศีลหรือภาวนา แต่เวลาที่ภาวนาเกิด คนนั้นมีศีลไหม เพราะว่าปกติ ถ้าเป็นทางฝ่ายกุศลศีล คือว่าขณะนั้นไม่เบียดเบียนบุคคลอื่นด้วยกาย วาจา แต่ว่าระดับของจิตสูงขึ้น ไม่ใช่เพียงขั้นงดเว้นเฉยๆ แต่ว่ายังมีเมตตาประกอบด้วย ซึ่งเป็นฝ่ายภาวนา
ถ้าไม่ใช่เป็นกุศลระดับทาน ศีลสามารถที่จะถึงอรหัตเลย เพราะว่ามีศีลต่างๆ ซึ่งเราจะค่อยๆ พูดถึงไปเรื่อยๆ จากปกติที่เราเคยเข้าใจว่าศีลคือการวิรัติทุจริต แต่ศีลก็มี ๒ อย่าง เวลาที่กุศลจิตเกิด แม้ไม่วิรัติทุจริต แต่เป็นศีลอีกประเภท ๑ คือ จาริตศีลก็ได้ การที่แสดงความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ นอบน้อมในบุคคลที่ควรนอบน้อม ขณะนั้นไม่ใช่การให้ ไม่ใช่การวิรัติ แต่เป็นศีล เพราะว่าขณะนั้น เป็นการแสดงออกของจิตที่เป็นกุศลทางกาย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของสภาพของจิตที่เป็นไป ในกุศล ระดับศีล ปกติเป็นทางที่จะทำให้รู้ ว่าบุคคลนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล
ในเรื่องของกายวาจาเป็นเรื่องของศีล ถ้าเราเอากุศลจิตที่เกิดมาลำดับ ก็จะต้องมีระดับของกุศลด้วย ว่ากุศลขั้นทาน จิตใจของคนนั้นอาจจะไม่ได้ขัดเกลาเลย เพียงแต่ว่าสามารถที่จะสละวัตถุ ให้คนอื่น ซึ่งเป็นระดับของจิตใจที่ไม่เท่ากับคนที่ขัดเกลา หรือว่างดเว้นการที่จะเบียดเบียนบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น จึงมีทั้งคนที่ มีอุปนิสัยในการให้ทาน และมีศีลุปนิสัย อุปนิสัยที่จะมีกาย วาจาที่ดี ก็เป็นเรื่องของกุศจิต ถ้ากล่าวในเรื่องของกุศล แต่ถ้าปกติ ชีวิตประจำวัน ของเรา กายวาจาของเราซึ่งเรามีกาย และก็มีจิต กายคือรูปไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลย แต่จิต นี้เป็นสภาพรู้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น กายเป็นทางแสดงออกของจิต ในขณะนั้นว่าเป็นกุศล หรือ อกุศล ก็เตือนเราแล้ว ให้เห็นว่า จิตใจของเราเป็นกุศล หรืออกุศลมากในวันหนึ่ง แล้วก็นอกจากจะเป็นอกุศลมาก ยังไม่พอ ยังแสดงออกทางกายทางวาจาด้วย เพราะฉะนั้น ก็ทำให้เราระลึกได้ เป็นทางหนึ่งที่จะพิจารณาตัวเอง
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงเรื่องของศีล ฟังมี ๒ อย่าง ท่านอาจารย์กล่าว คือ จาริตศีล ๑ แล้วก็ วาริตศีล ๑ ซึ่งเป็นไปในทางของกุศล ถ้าเป็นฝ่ายของอกุศลศีล จะมีทางที่ ไปในทางของ เหมือนกับที่เป็น วาริตศีล แล้วก็จาริตศีล ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าวันนี้ คุณวิชัยพูดไม่ดี ทราบเลย หรือต้องให้คนอื่นบอกว่านี่ อกุศลศีลทางวาจา
ผู้ฟัง ขณะนั้นถ้าพูดจาไม่ดี ก็เป็นอกุศลแล้ว ไม่ต้องให้ผู้อื่นมาบอก
ท่านอาจารย์ แต่ทีนี้เราจะรู้ไหม ว่านี่เป็นอกุศลศีล
ผู้ฟัง ไม่ทราบ แต่เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ อกุศลเกิดขึ้น ยังไม่พอ ยังแสดงออกทางกายหรือทางวาจา เวลาที่พูดไม่ดี จะน้อยจะมากอย่างไรก็ตาม ในขณะด้วยอกุศลจิต ขณะนั้นเป็นอกุศลศีล ที่เราพอจะมองเห็นได้ว่าคนนี้เป็นอกุศลศีล หรือว่าจิตของเขาเป็นอกุศล เป็นปกติ แล้วอกุศลศีลวันนี้มากไหม
ผู้ฟัง มากมาย
ท่านอาจารย์ เมื่อไรที่เป็นกุศลศีล
ผู้ฟัง ขณะที่กุศลจิตเกิด
ท่านอาจารย์ เวลากุศลจิตเกิด กาย วาจาก็เป็นกุศล ที่เราสามารถที่จะเห็นได้ มีการช่วยเหลือ มีการที่จะพูดจาในสิ่ง ที่จะทำให้เป็นกำลังใจกับคนอื่นหรือว่า ให้เขาสบายใจขณะนั้นก็เป็นกุศลศีล
ผู้ฟัง แสดงว่าที่เป็นกุศลศีล หรือว่า เป็นอกุศลศีล คือเป็นการสั่งสมของเขาด้วย ที่กุศลจิตเกิด
ท่านอาจารย์ การสั่งสมเป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้ว ว่าจิตขณะหนึ่งที่ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดแล้วก็สั่งสมไปเรื่อยๆ แน่นอนอยู่แล้ว เรื่องการสั่งสม ไม่หายไปไหนเลย วันนี้ทำอะไรไว้ก็ยังอยู่ ในจิตสืบต่อไปทุกๆ ขณะ ถ้าเป็นอกุศลกรรม แม้อกุศลกรรมนั้นดับไปแล้ว แต่เจตนาที่ได้กระทำกรรมนั้นก็ยังเป็นปัจจัย ที่จะเป็นกัมมปัจจัยสืบต่อในจิตทุกๆ ขณะ จนกว่าถึงกาละที่จะทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น เห็นหรือได้ยินหรือได้กลิ่นหรือลิ้มรส ผู้นั้นก็รู้ได้ว่าสืบต่อมาจากกรรมในอดีต เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ คนจะสงสารคนที่ยากจนพิการ อย่างที่ประเทศนี้ หลายคนก็ถึงกับร้องไห้ สงสารมาก แต่ไม่คิดหรือว่านี่คือผลของอกุศลกรรม ไม่มีใครทำให้เลย นอกจากถึงกาละที่วิบากจิตจะเกิดขึ้นให้ผล ก็มีสภาพที่จะต้องเห็นสิ่งที่ไม่ดี ได้ยินเสียงไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี ลิ้มรสไม่ดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่ดีแล้วขณะที่เราเห็น เป็นผลของกรรมของใคร เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
ผู้ฟัง กรรมที่กระทำไว้แล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราลืม เราก็ไปสงสารคนอื่น แต่ขณะนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรทำให้จิตเห็นนี้เกิดขึ้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด และควรที่จะพิจารณาโดยตลอด จริงๆ แล้วก็จะรู้ได้ว่า ที่เราหลงยึดถือ่ว่าเป็นชาตินั้นชาตินี้ คนนั้น คนนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้ แท้ที่จริงเป็นเรื่องคิด เพราะว่าจิตเกิดทีละหนึ่ง ขณะแล้วดับ ถ้าไม่คิดก็ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งนั้น แต่มีปรมัตถธรรม ที่เห็นบ้างได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง แต่ห้ามคิดไม่ได้ เพราะเหตุว่าสัญญาความจำหลังจากที่เห็นแล้ว ก็สามารถที่จะจำรูปร่างสัญฐาน ถ้าเป็นเสียงก็จำเสียงต่างๆ แล้วก็ยังจำความหมายต่างๆ ทำให้มีการตรึกนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ก็เป็นธาตุนามธาตุที่วิจิตรมาก แล้วก็ไม่มีใครที่สามารถจะดับธาตุนี้ได้เลย นอกจากปัญญาที่สามารถจะรู้ความจริงของธาตุนี้ โดยถ่องแท้ จึงสามารถจะละการที่ติดข้อง ยึดถือ ธาตุที่เกิดว่าเป็นเรา เพราะความจริงก็คือธาตุเห็น ธาตุได้ยินเกิดแล้วก็ดับไป ทุกๆ ขณะ
แต่ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ ไม่ว่าจะพูดเรื่องศีล ก็อย่าลืมว่า ศีลเป็นนามธรรม หรือ เป็นรูปธรรม แล้วก็ต้องรู้ด้วยว่าเป็นจิต หรือเป็นเจตสิกก็ได้ ถ้าจะศึกษาให้ละเอียดขึ้นไป แล้วก็ทางของศีลก็คือกาย หรือวาจา เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาเรื่องของกุศลกรรมบท จะเห็นว่าเป็นการวิรัติทุจริตทั้งหมดเลย เว้นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทั้งหมดเป็นเรื่องเว้น เรื่องของศีล กุศลกรรมบท แต่พอเรื่องทาน เป็นเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นทางออกของจิตที่เป็นกุศล ว่าเป็นกุศลระดับไหน ระดับสละวัตถุ หรือระดับที่ระงับขัดเกลากายวาจาไม่ให้เป็นไปที่จะถึงกับ วีติกกัมมกิเลส ที่จะมีการประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา
เพราะฉะนั้น เราก็เข้าใจความหมาย ว่าทำไมจึงกล่าวเรื่องกุศลศีล แล้วเราต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วย ว่าถ้าพูดถึงกุศลศีล อกุศลศีล อพยากตศีล มุ่งหมายอย่างไร แล้วเวลาพูดถึงศีลระดับขั้นต่อๆ ไป ถ้าไม่มีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ว่าปกติของเราทุกวันเป็นศีลประเภทไหน เราคิดที่จะละ ไหม อกุศลศีล คิดที่จะอบรมเจริญไหม อย่างเวลาที่โกรธ แล้วเราใช้คำพูดที่ไม่น่าฟัง เป็นอกุศลศีล ใช่ไหม แล้วเมื่อเห็นว่าเราช่างเป็นอกุศลศีลได้อย่างนี้ทุกวันๆ ทางวาจาก็เป็นบ่อยๆ พูดอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา เมื่อวานนี้ก็พูดไม่ดี วันนี้ก็ยังพูดไม่ดีอีก หรือว่าคำพูดที่ไม่ดี ไม่ใช่แต่เฉพาะคำที่ไม่น่าฟัง คำไม่จริง หรือคำที่ไม่มีประโยชน์ เราก็จะเริ่มพิจารณาว่า คำพูดของเราในวันหนึ่ง เกิดจากอกุศลศีล เป็นปกติของเราที่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น กายวาจาของเราในวันหนึ่งๆ ก็ควรที่จะได้ทราบว่าเป็นตามอกุศลจิตเป็นปกติ จะได้มีการระวังหรือว่าเห็นโทษ แล้วก็พิจารณา เพราะว่าทำใหเราสามารถที่จะรู้จักตัวเองได้ว่า อกุศลศีลของเรามากมายเหลือเกินทั้งกาย ทั้งวาจา เพราะฉะนั้น ก็มีความละเอียดขึ้น ที่เราจะรู้สภาพธรรม แล้วกว่าเราจะยังมีความเข้าใจกว่านั้นอีก ว่ายังมีศีลระดับสูงกว่านี้ด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ระดับที่วิรัติทุจริตเท่านั้น ยังจะต้องมีอินทรียสังวร แล้วอย่างคำที่เราได้ยินบ่อยๆ
สำหรับพระภิกษุ ปาติโมกขสังวรศีล อาชีวะปาริสุทธิศีล แล้วก็ปัจจยสันนิสิตศีล แสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็นพระภิกษุ ความบริสุทธิ์ จะดูได้จากไหนบ้าง ไม่ใช่จากปาฏิโมกข์เท่านั้น ยังอาชีวะด้วย แล้วก็ยังอินทรียสังวรด้วย แล้วก็ยังปัจจัยสันนิสิตศีลด้วย นี้ก็แสดงให้เห็นความละเอียดขึ้นละเอียดขึ้นของการที่จะขัดเกลากิเลส แสดงว่าวันหนึ่งๆ บริสุทธิ์ขนาดไหน คิดดู ชีวิตของบรรพชิต เพราะว่าเป็นชีวิตที่สละหมด ลาภก็สละ ยศก็สละ ชื่อเสียง หรือว่าความสนุกสนานต่างๆ วงศาคณาญาติทรัพย์สมบัติสละหมด จึงต้องบริสุทธิ์ ถึงอย่างนี้ จึงสมควรแก่เพศของบรรพชิต ซึ่งจะเห็นได้จริงๆ ผู้ที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจ เรื่องของพระวินัย แล้วก็เป็นเรื่องจะต้องเข้าใจเรื่องของ พระธรรม พระสูตร และพระอภิธรรมด้วย สภาพของจิต เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เมื่อมีปัจจัยที่จะให้อกุศลจิตเกิดขึ้น แม้เป็นพระภิกษุ อกุศลจิตก็เกิด แล้วแต่ว่าจะเป็นไปใน ๔ อย่างนี้อย่างไร แต่ท่านก็สามารถที่จะกระทำคืนหรือว่าทำให้บริสุทธิ์ได้ เพราะว่า ขณะใดที่หลงลืมสติคือขณะที่ผ่านไปแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีการระลึกได้ อินทรียสังวรก็ได้ หรือว่าขณะใดที่หลงลืมสติ อาชีวะไม่บริสุทธิ์ พอระลึกได้ อาชีวะก็บริสุทธิ์ได้ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ศีลวิสุทธิ ยังมีอีกระดับหนึ่งสูงขึ้นไปกว่านั้นอีก เพราะเหตุว่าขณะนั้นก็ยังเป็นตัวตน ไม่ประกอบด้วยปัญญาที่มีความเห็นถูกต้อง ว่าแม้ขณะนั้นก็ไม่ใช่เราแต่ เป็นสภาพธรรม ซึ่งเป็นกุศล บ้าง อกุศลบ้าง หรือว่าเป็นนามบ้างเป็นรูปบ้าง เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีศีลอีกระดับ ๑ ซึ่งเกิดพร้อมกับสติปัฏฐาน จึงสามารถที่จะคลายการยึดถือสภาพนั้นว่าเป็นตัวตนได้
ด้วยเหตุนี้การศึกษาก็ต้อง กลับมาหาธรรมคือจิต เจตสิก รูป ถึงจะได้ความกระจ่างไม่อย่างนั้นเราก็อาจจะไม่เข้าใจ แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจในเรื่องปรมัตถธรรม เราก็จะรู้เหตุผลที่ทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ ปาฏิโมกข์แต่ละข้อ แล้วก็พระสูตรที่ทรงแสดง เรื่องของอินทรียสังวรศีลบ้าง อาชีวะปาริสุทธิศีลบ้าง เพราะเหตุว่าถ้าศึกษาพระอภิธรรมเข้าใจก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ศีลทั้งหมดคือสภาพของจิตที่เป็นกุศลระดับต่างๆ ซึ่งจะต้องอบรมให้เจริญขึ้น แล้วก็มีทั้งวาริตศีลที่ควรงดเว้น และจาริตศีลที่ควรประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่มีแต่งดเว้นทางฝ่ายอกุศล แล้วทางฝ่ายกุศลที่เป็นกายวาจาที่ดี ไม่ประพฤติเลย ก็เป็นเรื่องการขัดเกลา มากๆ เลย ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420