ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
ตอนที่ ๔๑๕
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ เพราะถ้าไม่ได้ยินได้ฟัง เลย ก็ไม่สามารถที่จะคิดได้ อย่างเรื่องของกรรมปัจจัย เราก็ทราบว่าผลของกรรมคือขณะนี้ ที่กำลังเห็น ไม่ใช่คนอื่นทำให้เลย มาจากกรรมที่ได้กระทำแล้ว ในอดีต เป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิด เพราะฉะนั้น วิบากจิตทั้งหมดเป็นผลของกรรม เป็นปัจจัย
ผู้ฟัง กรรมที่เกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนี่ ขอให้ช่วยอธิบาย
ท่านอาจารย์ ที่ประเทศเขมร ที่ประเทศไทย หรือที่ประเทศไหนๆ ก็ตามแต่ คนดีก็มี คนชั่วก็มี เขามีความรู้เรื่องสภาพธรรมหรือเปล่า การทำความดี ความชั่ว ของบุคคลต่างๆ เหล่านั้น เขามีความรู้เรื่องสภาพธรรม หรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้าไม่ได้ฟังธรรมให้เข้าใจ แล้วก็ไม่มีการเจริญสติปัฏฐาน นี่ก็
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้พูดถึงสติปัฏฐาน เราพูดถึงกรรมดี กรรมชั่ว กุศลกรรม อกุศลกรรม แม้ว่าไม่มีความเข้าใจสภาพธรรม ก็มี ใช่ไหม ไม่ว่าประเทศไหน
ผู้ฟัง นั่นเป็นอวิชชา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ความไม่รู้เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร คือกรรม ได้แก่เจตนาเจตสิก ในกุศลกรรม และอกุศลกรรม
ผู้ฟัง การที่เราจะระลึกถึงพระพุทธคุณ ผมมีความเขาใจว่า ตัวผู้นั้นจะต้องรู้จักตัวเอง ว่าดีพอสมควรว่า เราเข้าใจพระธรรมลึกแค่ไหน และการที่จะระลึกถึงพระพุทธคุณจริงๆ แล้ว ถ้าระลึกแต่ชื่อ มันเป็นเรื่องเป็นราว แต่ถ้าเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่พระองค์ทรงแสดง การที่จะระลึกถึงพระคุณ มันก็จะซาบซึ้งมากกว่าที่เราคิดว่า เราเคยคิดว่าเราเข้าใจธรรมแล้ว หรือจำชื่ออะไรต่างๆ ได้มากแล้ว พอมาคราวนี้ผมรู้สึกว่าพอเข้าใจได้บ้าง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องตรวจสอบปัญญาของผู้ที่กำลังระลึกถึงพระคุณ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ก่อนที่จะพูดถึงพระพุทธคุณ ที่มีกำลังมากๆ คงจะ เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ จุดนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เริ่มจากไม่รู้เลย
ผู้ฟัง เริ่มจากไม่รู้เลย
ท่านอาจารย์ เป็นมหากุศลญาณวิปปยุต
ผู้ฟัง อาจารย์กล่าวถึงบุคคลที่ทำกุศล หรืออกุศล โดยที่ไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง คืออวิชชา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทำให้เกิดสังขาร
ผู้ฟัง เกิดสังขาร แล้วถ้าพูดถึงบุคคลที่มีโอกาส ได้ยิน ได้ฟังธรรม
ท่านอาจารย์ ทั้งหมด
ผู้ฟัง บุคคลที่ มีโอกาสได้ยินธรรม หรือพระธรรมแต่ว่าสติไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่บุคคลนั้น มีความเข้าใจถูกต้อง ว่ามีทางที่จะให้ถึงความดับ คือการที่จะค่อยๆ รู้ธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้น ปัญญายังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นจะชื่อว่า มีอวิชชาเป็นปัจจัยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ยินแม้คำว่าอวิชชา ถูกไหม
ผู้ฟัง ถูก
ท่านอาจารย์ เมื่อฟังแล้วก็เริ่มที่จะเข้าใจบ้าง อวิชชา กับวิชชา ต่างกัน แล้วก็ยิ่งฟังบ่อยๆ มากขึ้น ก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น และอวิชชา ความไม่รู้ตั้งเดิมจะค่อยๆ ลดน้อยลงไป ไหม
ผู้ฟัง สภาพธรรม ๒ อย่างนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อความไม่รู้ แต่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง แล้วค่อยๆ รู้ขึ้น ก็เป็นค่อยๆ รู้ขึ้น
ท่านอาจารย์ ก็เป็นอย่างนี้ อวิชชาของคุณวิชัย น้อยลงบ้างไหม ถ้ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ก็จากที่ไม่รู้เลย ก็ค่อยๆ รู้ขึ้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลย การสั่งสม ละเอียดมากทั้งฝ่ายอกุศล และฝ่ายกุศล เราไม่รู้เลยว่ามี อวิชชา สั่งสมมามากแค่ไหน จนกระทั่งได้ฟังพระธรรม แล้วจึงเริ่มรู้ว่ามี อวิชชา คือ ความไม่รู้ ธรรมแค่ไหน ถ้าไม่ฟังเลย จะไม่รู้เลย แล้วยังรู้ด้วยว่า อวิชชาที่มีมากค่อยๆ หายไปทีละน้อย เมื่อเข้าใจ แต่ไม่ใช่ว่าหมด เมื่อฟังเรื่องนามธรรมรูปธรรมเข้าใจก็เริ่มรู้ว่าขณะนี้ เป็นนามธรรม และรูปธรรม อวิชชาที่ไม่เคยรู้อย่างนี้ จากการฟังก็จะน้อยลงไปแต่ยังไม่หมด เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงต้องเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น นี้เป็นหนทางที่จะละอวิชชา
ผู้ฟัง แม้ปัญญาในขั้นการฟังก็ยังไม่พอ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่พอ หมายความว่าละไม่ได้เด็ดขาด เป็นสมุจเฉท แต่ก็ลดลงน้อยลงเพราะเหตุว่าไม่ได้เพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ขอประทานโทษ ขออนุญาตในการสนทนาธรรมอยู่ที่นี่ ผมเคยฟังมาบ่อยๆ ในอาจารย์ มีการสนทนาธรรม ตามเทป มีการศึกษาตามพระไตรปิฎก ในอรรถกถา ผมมีการสังเกตว่า สติปัฏฐาน ถ้าจะเกิดได้ เวลาไม่มี สมาธิ สมาธินี้ไม่ใช่อัปนาสมาธิ ก็คือว่า สมาธินี้เป็นขณิกสมาธิ ผมเคยพิจารณาอย่างนี้ว่า เวลาในการปฎิสนธิกาลตลอดมา มารดา และในเวลานั้น มีการพิจารณาตลอดมา ใน กลละ อัมพุทะ บ่อยๆ เวลาใน กลละ หรือว่าอัมพุทะ ขณะนั้นไม่มีอะไรๆ สร้างเลย มีแต่เหตุปัจจัย เวลานี้มีการพิจารณา มีบัญญัติ เป็นอารมณ์ การพิจารณาบัญญัติ เป็นอารมณ์นี้ อารมณ์นี้เป็นสมาธิ คือว่า ขณิกสมาธิ ขณิกสมาธินี้เป็นให้เกิดสติปัฏฐาน เวลาพิจารณา ขณะๆ ในการเกิดดับของสภาวธรรม ขณะนี้อาจจะให้ผมเชื่อได้ ชื่อว่า ขณะนั้น เป็นแต่ธรรมชาติ ไม่ใช่เรา จะเป็นอย่างนี้ๆ ไม่ใช่มารดา จะแต่งอย่างนี้ๆ ไม่ใช่อะไรๆ มีแต่เหตุปัจจัย อย่างนั้น การพิจารณานี้ก็ต้องให้ผมเชื่อว่า และอาจจะมีการพิจารณาอย่างนี้ ก็คือมีบัญญัติเป็นอารมณ์ บัญญัติเป็นอารมณ์นี้ให้เกิดขึ้น ปรมัตถธรรม ในชีวิตประจำวัน เวลาไหนมีการพิจารณาอาจจะรู้ได้ เวลานั้นก็มีโยนิโสมนสิการ อาจจะทำได้อย่างนี้ว่า นี้เป็นปรมัตถธรรมจริงๆ เวลาไหนมีปรมัตถจริงๆ ให้ทำโยนิโสมนสิการ แต่ว่า โยนิโสมนสิการ ทำอย่างนี้ไม่ใช่เราทำโยนิโสมนสิการ ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ เกิดขึ้นในสมาธิเป็นมูล เวลานี้ อาจจะ ระลึกในชีวิตประจำวัน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาจจะเร่งสภาวธรรม เป็นรูปธรรมนามธรรมได้ แต่เวลาไหนไม่มีขณิกสมาธิ เวลานั้น ผมแยกไม่ได้ ผมระลึกถึงไม่ได้ การพิจารณาอย่างนี้ ถูกหรือผิด อย่างไหน เชิญอาจารย์ช่วย อธิบาย
ท่านอาจารย์ คุณสวน ในพระไตรปิฎก มีคำว่า สติปัฏฐาน ใช่ไหม มีคำว่า สมาธิปัฏฐานไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี มีคำว่าผัสสะปัฏฐานไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ สัญญาปัฏฐาน เจตนาปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ถ้าไม่แยกลักษณะของ สติกับสมาธิ คนปนกัน เขาจะไม่พูดถึงสติเลย แต่เขาจะรู้เพียงลักษณะของสมาธิ ด้วยเหตุใดจึงไม่ทรงแสดงว่าเป็นสมาธิปัฏฐาน แต่ทรงแสดงว่าเป็นสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนทางที่จะทำให้รู้แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้ เพราะเหตุว่าตามความเป็นจริง ขณะนี้คือเห็น แล้วแต่ว่าหลังจากเห็นแล้ว จะคิดอะไร จะเป็นกุศล หรืออกุศลนี่ตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริง เป็นอย่างนี้หรือเปล่า ในขณะนี้ การที่จะรู้สภาพธรรม ต้องรู้ตามความเป็นจริง ขณะนี้ๆ เป็นจริงอย่างนี้ ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่นที่มาแล้วเข้าใจ หลงไปว่ารู้
เพราะฉะนั้น โลภะ มีลักษณะซึ่ง ติดข้องแล้วก็เกิดมากที่สุดเลยทุกชาติ ตั้งแต่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ จิตขณะแรกเป็น โลภชวนะวาระ ถ้าทุกคนจะไปนอนวันนี้ก็ลองคิดดู ตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากห้อง จิตอะไร ไปถึงห้องแล้วจิตอะไร เวลาจะนอนคิดอะไร เป็นเรื่องของโลภะทั้งหมดก่อนนอน ตื่นขึ้นมาเริ่มแรก เป็นอย่างไร โลภะ เพราะฉะนั้น ชาตินี้กับชาติหน้าก็ต่อกันสนิทได้ หลังจากที่จิตขณะ ๑ ดับไปแล้วขณะต่อไปก็เกิดขึ้น แม้ว่าขณะนี้ จะเป็นจุติจิต คือ จิตขณะสุดท้าย ที่ทำให้พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้โดยสิ้นเชิง แต่ขณะจิตต่อไปเป็น ปฏิสนธิจิต แล้ววาระแรกที่ ชวนวิถีจิตจะเกิด ก็คือเป็นโลภะ ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องประหลาดธรรมดา เพราะว่าเป็นชีวิตประจำวัน
ถ้าปัญญาไม่สามารถที่จะรู้ความจริงในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้มีความต้องการ มีการติดข้อง แล้วก็คิดว่าเป็นสมาธิปัฏฐาน คือต้องมีสมาธิ แล้วสติปัฏฐานจึงจะเกิดได้ ซึ่งนั่นไม่มีในพระไตรปิฎก ไม่มีคำว่าสมาธิปัฏฐานเลย แล้วก็เป็นการติดข้องด้วย หาวิธีพยายามที่จะทำ โดยขณะนี้จริงๆ เป็นสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับ เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้น การที่สามารถที่จะละความติดข้อง การยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเราได้ ก็คือ ไม่ลืมว่า ต้องรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง
สติปัฏฐาน จะเกิดขณะไหน ก็ได้ทั้งสิ้น เมื่อได้ฟังพระธรรมเข้าใจ ในขณะที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระผู้มีพระภาค ขณะนั้นเป็นสมาธิอะไร ท่านสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมในขณะที่ ฟังได้ เพราะฉะนั้น ต้องทราบลักษณะของสติ เพราะว่าส่วนใหญ่จะพูดถึงสมาธิ แต่ไม่พูดถึงสติเลย ไม่พูดว่าสติปัฏฐาน มีลักษณะอย่างไร ตามความเป็นจริง ก็คือว่า สติปัฏฐาน เป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะมีคำว่า เป็นผู้มีปกติ ระลึกรู้ ทำไมจึงใช้คำว่า ระลึกรู้ เพราะเหตุว่าสภาพนั้นเกิดแล้วปรากฏแล้ว มีแล้ว แล้วสติจึงระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดแล้วมีแล้ว ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ ตัวอย่างก็คือว่า ตั้งแต่เช้ามา เรากระทบสัมผัส สิ่งที่แข็งมากมาย คือ ตื่นขึ้นมาก็มีแล้ว ที่จะกระทบสัมผัสที่นอน หมอน รองเท้า เสื้อผ้า แปรงสีฟัน ถ้วย จานชาม แต่ว่าสภาพธรรม เกิดดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น เวลาสติมีการระลึกลักษณะของปรมัตถธรรม จากการฟัง เป็นปัจจัยทำให้มีการระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม คือลักษณะที่มีจริงๆ ลักษณะที่แข็ง จะไม่ใช่คน จะไม่ใช่สัตว์ จะไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย แต่เป็นธาตุแข็ง เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีปัจจัยก็เกิดขึ้น ขณะนั้นกำลังปรากฏ แล้วสติระลึกลักษณะแข็ง เพราะฉะนั้น เวลาที่แข็งปรากฏกับสติ จะต่างกับเวลาที่แข็งไม่ได้เกิดปรากฏกับสติ เพราะเหตุว่าเรากระทบแข็งแล้วผ่านไปถึงบัญญัติเร็วมาก ไม่มีการระลึกลักษณะที่แข็งจริงๆ เลย แต่เวลาที่มีการระลึก ลักษณะที่แข็ง แม้สั้นแต่ขณะนั้นก็รู้ว่ามีการระลึก ตรงลักษณะที่แข็ง เพราะฉะนั้น ขณะนั้นจึงรู้ได้ว่าเป็นสติที่ระลึก ไม่ใช่สมาธิ แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะเหตุว่าสติก็เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ที่อาจารย์กล่าวถึงที่ว่า อวิชชา เป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร ขณะที่ความไม่รู้มีอยู่ ก็ทำให้ กระทำบุญบ้าง บาปบ้าง แต่เมื่อบุคคลได้รับฟังพระธรรม วิชชา หรือปัญญา ค่อยๆ เจริญขึ้น แต่ขณะนั้นกรรมก็มี นี่ทำไมถึงจะทำให้เป็นกรรมฝ่ายดับได้ เพราะเหตุว่ากุศลที่เกิดพร้อมกับปัญญาที่ เข้าใจสภาพธรรม ก็ยังเป็นกรรมที่จะให้ผลอยู่ แล้วจะเป็นปัจจัยให้เกิด ความดับได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อวิชชา ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยสหชาตปัจจัย เกิดพร้อมกุศลไม่ได้
ผู้ฟัง แล้วที่พระองค์ทรงแสดงว่า เมื่ออวิชชาดับ สังขาร จึงดับ อันนี้จะหมายความว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์มีอวิชชา ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ มีสังขารไหน
ผู้ฟัง ถ้าสังขารที่เป็นบุญญาภิสังขาร ที่เป็นอพยากต
ท่านอาจารย์ นั้นออกจากสังสารวัฏฏ์แล้ว ใช่ไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่มีกุศล และอกุศล
ท่านอาจารย์ แต่นี้ ปฏิจจสมุปบาท เป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นทางฝ่ายเกิด
ท่านอาจารย์ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นพุทธศาสนิกชนก็คือ การเข้าใจพระธรรมอย่างถูกต้อง เพราะเหตุว่าพระธรรมลึกซึ้งละเอียดมาก ถ้าไม่ศึกษาด้วยความเคารพด้วยความรอบคอบจริงๆ เราอาจจะเข้าใจผิดได้ แต่เมื่อเข้าใจผิดแล้ว มีการสนทนาธรรม มีการปรึกษาหารือ มีการไตร่ตรอง ก็จะทำให้เราทิ้ง ความเข้าใจผิด แล้วมีความเข้าใจถูกได้ ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า ถ้าใครก็ตามที่เข้าใจผิด ก็จะทำให้คำสอนของพระผู้มีพระภาค ลบเลือนไป นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดทุกยุคทุกสมัย แล้วสมัยนี้ก็เป็นสมัยที่การศึกษาเพิ่งจะเริ่มมีกันไม่มาก เพราะฉะนั้น ก็อาจจะมีผู้ที่ มีความเข้าใจผิด จากการไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดก่อนๆ เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้ให้มีความเข้าใจ ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังทุกครั้ง
วิทยากร.ข้อปฏิบัติถ้าเราไม่ฉลาดก็เป็น มิจฉาปฏิปทา เพราะฉะนั้น เราจะต้องฟังบ่อยๆ ฟังเทปที่อาจารย์บรรยาย ถ้าไม่ฟังบางทีก็อาจจะเป็นมิจฉาปฏิปทา แม้ทำฌานได้ พระองค์ก็ยังตรัสว่าเป็นมิจฉาปฏิปทา ยังไม่ใช่ทางมรรคผล การที่เราไม่ได้ทำฌาน แต่ว่าเราศึกษาเจริญสติปัฏฐานนี้ เพื่อให้ถึงพระนิพพานนั้นเป็น สัมมาปฏิปทา ดังนั้นการปฏิบัติจึงต้องศึกษา ต้องฟัง ศึกษาก็คือการฟังนั้นเอง
ผู้ฟัง ขออนุญาตกราบเรียนถามท่านอาจารย์เพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องศีลเพิ่มเติม ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านได้กล่าวเทียบไว้ว่า ศีลเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์เหมือนกับแผ่นดิน เป็นเบื้องต้นหรือเป็นสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของพืชพันธุ์ต่างๆ ผมอยากกราบเรียนถามในรายละเอียด ที่ว่าศีลเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ศีลเกื้อกูลการอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ อย่างไร
ท่านอาจารย์ เมื่อคืนนี้เราก็ได้พูดถึงว่าปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ว่าสภาพธรรมที่มีที่ปรากฏ ก็ไม่ใช่นิพพานแน่นอนเพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรม ที่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้นปรากฏ เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ได้ยินคำ ที่เราสนใจอยากจะเข้าใจ ต้องย้อนกลับมา ถึงว่าได้แก่ ปรมัตถธรรมอะไร จะทำให้เราเข้าใจแม้คำถามของคุณอรรณพ ที่บอกว่าศีลเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ๆ คือ การประพฤติของพรหม คือการประพฤติของผู้ประเสริฐ ประเสริฐที่นี่ไม่ใช่ประเสริฐเพียงแค่ กาย วาจา ต้องประเสริฐถึงที่สุดคือการดับกิเลสหมด เป็นสมุจเฉท จึงจะประเสริฐจริงๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจว่าศีลไม่ใช่รูปธรรม รูปร่างกายทั้งหมด รูปทุกรูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เพราะฉะนั้น รูปมีศีลไหม รูปเป็นกุศลไหม รูปเป็นอกุศลไหม เป็นไปไม่ได้เลย
นี่แสดงให้เห็นว่าเราต้องเข้าใจสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรมจริงๆ ว่าจิต และเจตสิกเป็นนามธรรม จะดีจะชั่วก็คือจิต เจตสิก แต่ว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เราเกิดมาพร้อมกับรูป เพราะฉะนั้น ก็มีทางออกทางแสดง ทางที่จะให้รู้ว่าจิตขณะนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล โดยกาย และวาจา เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็ไม่มีปัญหาเลย เพราะเหตุว่าจิต เกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เรายังไม่ต้องพูดถึงเรื่องรูป แม้ว่าขณะนั้นก็มีรูปเกิดพร้อมกับจิต ทุกๆ ขณะ แต่ว่าเวลาใดที่จิตเกิดขึ้นเป็นกุศล แล้วก็มีกิริยาอาการของกุศล ขณะนั้นก็เป็นกุศลศีล เพราะเหตุว่าเป็นความประพฤติทางกายทางวาจา และขณะใดที่มีการพูด ซึ่งเราก็พูดกันมาก พูดกันบ่อยๆ ถ้าขณะที่พูดนั้นเป็นอกุศล วาจานั้นก็เป็นอกุศลศีล เพราะฉะนั้น ทำให้เรารู้ได้ว่า กาย วาจา ส่องไปถึงสภาพของจิต ซึ่งทำให้เรามีความละเอียด และก็ระมัดระวังขึ้น ว่าแท้ที่จริงแล้ว เป็นอกุศลศีลในวันหนึ่งๆ มากแค่ไหน เมื่อรู้อย่างนี้ จิต ก็เป็นกุศลขึ้น แล้วก็เข้าใจด้วย
เวลาที่ใครมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีการช่วยเหลือ ขณะนั้นรู้ได้เลย จิตดี จึงเป็นเหตุให้กายดี วาจาดี เพราะฉะนั้น ก็เป็นกุศลศีล ถ้าใครก็ตามที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมก็ จะมีอกุศลศีล และกุศลศีล โดยไม่เข้าใจเลยว่า ขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นสภาพของจิต และเจตสิกซึ่งเกิดขึ้น ตามการสะสม เพราะฉะนั้น ถ้าได้ศึกษาแล้วก็จะเห็นว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ใครเป็นอย่างไรก็ดูได้จากกาย วาจาทุกวัน วันนี้ก็เห็น กุศลศีล อกุศลศีล แต่อาจจะลืม ว่าขณะนั้นเป็นอะไร แต่ถ้าเราไม่ลืม ฟังพระธรรมแล้วก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ ละเอียดขึ้น เราก็จะรู้ได้ว่า อกุศลศีลไม่เป็นทางที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แล้วถ้าเป็นกุศลศีลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา คนก็มีกุศลจิตได้ทำสิ่งที่ดีทางกาย ทางวาจาได้ แม้ว่าจะนับถือศาสนาอื่น คำสอนอื่น แต่จิตเป็นกุศลมี กายที่ดีมี วาจาที่ดีมี แต่ไม่มีปัญญา
เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเข้าใจถึงสภาพของจิต แล้วถึงจะรู้ว่า การที่มีศีลจะมีหลายอย่าง นอกจากทางกาย ทางวาจา เพราะว่าบางคนนั่งเฉยๆ แล้วจะเป็นศีลอะไร ถ้ากุศลจิตเกิด เป็นได้ทั้ง อินทรียสังวรศีล คือการสังวรทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่ถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษาแล้วก็ไม่ทราบว่าจะสังวรอย่างไร นั่งอยู่แล้ว กายก็ไม่ได้เคลื่อนไหว วาจาก็ไม่ได้พูด แล้วสังวรอะไร สังวร คือ สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นได้ นั่นคือการสังวร แม้แต่การที่คิดจะพูด สติก็สามารถจะระลึกได้ ปัญญาสามารถจะรู้ความจริง ตรงตามที่ได้ทรงแสดงไว้ทุกอย่าง แต่ส่วนใหญ่ คนจะเริ่มเรียนตามตัวหนังสือ แล้วก็ลืมว่าแท้ที่จริงตัวหนังสือนั้นก็ แสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเขาไม่เข้าใจจริงๆ การเรียนของเขาจะไม่สามารถเข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริง เช่น นามรูปเกิดดับ เข้าก็จะไม่คิดว่าขณะนี้ นามธรรมเป็นธาตุรู้หรือสภาพรู้ ก็ไม่รู้ว่าขณะเห็น ขณะนี้เป็นนามธรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาจึงมีหลายระดับ เมื่อศึกษาเรื่องราวเข้าใจแล้ว ก็เป็นปัจจัยที่จะให้ มีการศึกษาขั้น ต่อไป โดยเริ่มระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตรงตามที่ได้เข้าใจ นี่ก็เป็นศีล แต่ว่าเป็น อินทรียสังวรศีล แล้วไม่ว่าจะได้ยินศีลคำอื่นๆ ต่อไปอีกมากมายในพระไตรปิฎก คือสภาพของจิตนั่นเอง ซึ่งเราสามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลศีล หรืออกุศลศีล หรืออพยากตศีล
ผู้ฟัง ผมฟังดูแล้วก็เหมือนกับว่าศีลเป็นเหตุ เป็นกุศลเหตุ หรืออกุศลเหตุ ซึ่งเป็นกรรม แล้วก็เป็นกรรมปัจจัยด้วย ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ละเอียดไปอีก ก็จะต้องว่ากรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก เพราะว่าเราพูดถึงนามธรรมคือจิต เจตสิก มีเจตสิก ๕๒ ชนิด แล้วแต่ละชนิดก็มีลักษณะเฉพาะของเจตสิกนั้นๆ ถ้าพูดถึงกรรม พูดอย่างไม่เจาะจง เขาจะพูดรวมว่าเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้น ธรรมก็ ถ้าเข้าใจกันแล้ว ฟังกันรู้เรื่องแล้ว จะพูดว่า กุศลจิต อกุศลจิต หรือว่ากุศลเจตนา หรืออกุศลเจตนาก็ได้ ว่าขณะนั้นผู้พูดมุ่งหมายอย่างไร เพราะเหตุว่าจิต เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ทางตาขณะนี้ เห็นธรรมดาๆ อย่างนี้เพราะจิต เกิดขึ้นจึงเห็นอย่างนี้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420