ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๑๗

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าผู้นั้น ศึกษาเพียงตัวหนังสือ ก็จะไม่มีทางเข้าใจเลย ก็คิดแต่ว่า กัมมัสสกตาญาณ ก็เพียงเท่านั้น คือรู้ว่าพ่อแม่มีคุณ หรือเรื่องราวต่างๆ แต่ความจริงสภาพธรรม คือ จิต หรือเจตสิก หรือรูป มิฉะนั้นไม่ทรงแสดงปรมัตถธรรม แต่ที่ทรงแสดงปรมัตถธรรม ก็เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา ซึ่งปัญญาจะต้องอบรม จากฟังเข้าใจแล้วก็สติปัฏฐานเกิด ด้วยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่ด้วยความต้องการ แล้วขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็จะศึกษาสภาพที่เป็นอนัตตาจริงๆ ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่ได้เลย เป็นอนัตตาแล้วที่เห็นขณะนี้ เป็นอนัตตาแล้วที่ได้ยิน เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง แล้วแต่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่ปัญญาเจริญขึ้น ก็จะเห็นได้ว่า จะมีความรู้เรื่อง กัมมัสสกตาญาณ มั่นคงเพราะเหตุว่า ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นนามธรรมประเภทต่างๆ ตามที่ทรงแสดงไว้ทุกอย่าง เวลาที่เกิดคิดไม่ดีขึ้นมา คนนั้นจะรู้เลย ถ้าก่อนที่เจริญสติปัฏฐาน จะเดือดร้อนมาก ทำไมคิดอย่างนี่ คิดอย่างนี้ได้อย่างไร เป็นเราทั้งหมดเลย แต่พอสติปัฏฐานเกิด ก็รู้ว่าคิดอย่างนั้นก็คือ ชั่วขณะจิตหนึ่ง ซึ่งเกิดเพราะปัจจัย ต่างกับขณะเห็น ต่างกับขณะได้ยิน ขณะนั้นเป็นจิต และเจตสิก เป็นนามธรรม และรูปธรรม เวลาที่ปัญญาเกิด ที่เราไม่เข้าใจเพราะเหตุว่า เราไม่ได้รู้ความเป็นนามธรรม และรูปธรรม เรารู้เรื่องราว เพราะฉะนั้น เวลาที่รู้เรื่องราว เราจะเกิดความสงสัยมาก กรรมคืออะไร วิบากคืออะไร เกิดขึ้นตอนไหน อย่างไร แต่ถ้าเวลาที่สามารถจะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จะหมดความสงสัยว่า ไม่มีชื่อ แต่สภาพนั้นเป็นอย่างนั้น จึงได้ทรงแสดงตาม ความเป็นจริงของสภาพนั้น อย่างนามธรรมก็มีหลากหลาย อย่างเห็นอย่างนี้ ได้ยินอย่างนี้ ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต ขณะนั้นไม่มีความคิดที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขณะนั้นก็ไม่ใช่กุศล ปัญญาต้องเกิด แล้วก็เจริญขึ้นตามลำดับขั้นกว่าจะสละความเป็นตัวตนได้

    ผู้ฟัง ตอนนี้ที่ผมพูดก็ไม่อยากจะพูดว่าต้องทำกุศล เป็นขั้นทาน ขั้นศีล ก่อนแล้วจะจึงเจริญปัญญา เพราะที่ผมเคยพูดมาก็ต้องเจริญอบรมสติปัฏฐานนี้ เคยพูดมาประมาณปลายปีนี้ก็ พูดอย่างนั้น คือกุศลอะไร การกระทำตามอัธยาศัย แต่ก็ต้องมีปัญญารู้สภาพธรรม แต่ก็เดี๋ยวนี้ผมอยากจะถามว่า นอกจากการฟังธรรม เพื่อเข้าใจสภาพธรรม ก็อาจจะมีกุศลอื่นๆ ที่เป็นอุปการะต่อปัญญา

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเห็นถูก ความเห็นถูกจะทำให้ วาจาถูก คิดถูก ไหม

    ผู้ฟัง ทางถูกแล้ว ทางกาย ทางวาจาก็ถูก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เห็นสภาพธรรม ตรงตามความเป็นจริงด้วย เพราะว่าแต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง เหมือนกันไม่ได้เลย ความคิดนึก การสะสม ไม่ว่าจะเป็นอะไรๆ ทั้งนั้น คิดทุกขณะที่เกิดขึ้น ปัญญาสามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่าไม่มีตัวตน ที่จะทำ ไม่มีเรา จนกว่าความเป็นเราจะหมดไป ด้วยปัญญาที่ค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ถ้าการเจริญปัญญานี้ การยึดถือว่าตัวตนยังไม่หมด ก็อาจจะทำกุศล อะไรทั้งหมด

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ ทำไมไปทำอะไรที่ผิดจากชีวิตประจำวัน

    ผู้ฟัง ผมพูดนี้ ไม่ทำอะไรนอกจากชีวิตประจำวัน ให้มีการระมัดระวังในกุศลในชีวิตประจำวัน นี้ อย่าประมาท ผมก็อยากจะพูดว่า ก็ต้องระมัดระวังกุศลในชีวิตประจำวัน การทำทานก็ รักษาศีล เป็นศีล ๕ นี้ เป็นต้นนี้ก็ต้องระมัดระวัง

    ท่านอาจารย์ พูดดี พูดถูก ทำได้หรือเปล่า ใช่ไหม นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ ทรงแสดงไว้หมด ละชั่ว กระทำความดี แล้วก็ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ทำได้หรือเปล่า ไม่ใช่เรื่องที่เราจะคิดว่าเราจะทำ ต่อไปนี้เราจะเป็นคนดี ถ้าทุกคนฟัง แล้วก็คิดว่าต่อไปนี้ จะเป็นคนดี จะละชั่ว จะทำดี ทำได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ทางที่ถูกต้องก็คือฟังธรรมให้เข้าใจ แล้วก็เมื่อปัญญาเกิดแล้วก็เป็นหน้าที่ของปัญญา แล้วเวลาที่ความไม่ดีต่างๆ เกิดขึ้น ก็เป็นหน้าที่ของความไม่ดีที่ะสะสมมา ที่มีปัจจัยจะเกิด ไม่ใช่เพียงฟังแค่นี้ มีความตั้งใจเท่านี้ แล้วเราจะเป็นอย่างที่เราหวังได้ แต่ว่า ตามความเป็น จริงก็คือ ความจริงต้องจริง เรียนให้เข้าใจถูกต้องว่า เราสะสม ความไม่ดี อวิชชา อกุศลทั้งหลาย มากมายสักแค่ไหน การฟังธรรมเพียงเท่านี้จะต่อต้าน อกุศลได้ไหม ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น จึงต้อง เป็นผู้ที่รู้จัก สภาพธรรม ตามความเป็นจริง แล้วก็ปัญญา เขาจะสามารถเข้าใจถูกต้องได้ เมื่อสติระลึก แต่ไม่ใช่ให้ไปทำอย่างอื่น เวลาที่ปัญญาเกิดแล้ว ก็เป็นหนทางของปัญญา ปัญญาก็จะทำให้เขาค่อยๆ คิดถูก ค่อยๆ คิดดี ค่อยทำดี ค่อยๆ พูดดี สะสมความดีไปจนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์

    ผู้ฟัง ในการเจริญปัญญานี้ ก็รักษาสภาพธรรม ที่มีในชีวิตประจำวัน แล้วก็การเจริญปัญญานี้ ก็ต้องอุปการะจากกุศล ก็เป็นกุศลในชีวิตประจำวัน ไม่คิดว่าทำกุศลก่อน แล้วก็ทำให้มีปัญญาทีหลังไม่ใช่อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดก็คือตัวตน ถ้าคิดว่าจะทำอะไร แต่พอสติเกิดก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง อันนี้ก็เป็นธรรมดา เพราะยังไม่เป็นพระโสดาบัน คงจะมีโอกาส จะสักกายทิฏฐิ เกิดขึ้น แล้วก็ละตัวตนไปทำกุศล

    ท่านอาจารย์ มีมาก โดยเฉพาะจะรู้จักสักกายทิฏฐิ เวลาที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จะเห็นความจริงว่าสักกายทิฏฐิ คืออย่างนี้ จะเป็น ๒๐ หรือจะเป็น ๕ ก็คืออย่างนี้

    ผู้ฟัง อาจจะมีโอกาส ระลึกว่า สักกายทิฏฐิ ก็เป็นนามธรรมชนิด ๑ ไม่ใช่ตัวตน อีก

    ท่านอาจารย์ ถ้าอบรมเจริญปัญญา จะค่อยๆ รู้ลักษณะที่ เป็นนามธรรม และรูปธรรม ตามคำพูดที่เราเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม คือพูดอย่างไร ปัญญาก็ต้องรู้ จริงๆ อย่างนั้น แล้วปัญญาสามารถที่จะรู้ อย่างนั้น จริงๆ ด้วย ไม่ผิดจากความจริง นั่นคือหน้าที่ของปัญญา

    ผู้ฟัง ในเรื่องที่ผมจะพูดนี้ เป็นเรื่องที่ผมคิด จะปลูกต้นไม้นี้ อยู่ในแผ่นดินนี้ ถ้าต้นไม้นี้ ยังไม่มีผลก็ต้องรดน้ำ แล้วก็มีปุ๋ยนี้ ผมคิดว่าก็ต้องระมัดระวัง กุศลในชีวิตประจำวัน นี้ให้ดีด้วย ก็เป็นผลให้มีปัญญา ปัญญาก็มีผลด้วย

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ ไม่ต้องเสียเวลา คิด เพราะว่าถ้าปัญญาเกิด แล้วแต่กำลังของปัญญามากน้อย แล้วแต่ปัญญาพอที่จะเกิดในชีวิตประจำวันแล้ว อกุศลจะลดลงไปหรือเปล่า เพราะเหตุว่า แม้แต่พระโสดาบัน ลองคิดถึงผู้ที่อบรมปัญญา จนถึงได้รู้แจ้งสภาพธรรม เป็นพระโสดาบัน ยังมีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ยังมีโลภะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ลองคิดดูว่าปัญญาระดับนั้น แล้วถ้าปัญญาระดับนั้น ก็มีความเป็นเรามาก ซึ่งจะต้องรู้โดยสติที่ระลึก แล้วก็จะไม่ไปคิดว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างนี้ วันนี้จะเป็นอย่างนี้ ต้องอาศัยทาน ต้องอบรมอะไรๆ นั่นคือเรื่องการเป็นเรา แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจถูกต้องจริงๆ เวลาอกุศลจิตเกิด สติระลึก ไม่ต้องไปนั่งคิดว่าจะทำอย่างโน้น จะทำอย่างนี้ เพราะว่าอกุศลต้องเกิดแน่นอน วันนี้ อกุศลศีลเท่าไร ทางกาย ทางวาจา ของเรา และของคนอื่น เราก็สามารถจะเห็นได้

    ผู้ฟัง คนที่บอก การเข้าใจผม ในการปฏิบัติธรรมนี้ ที่ไม่รอเวลาที่ จะให้ปัญญาเกิด เมื่อไร ก็ต้องฟังธรรมเข้าใจแล้ว ก็จะศึกษาสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ อันนี้สำคัญที่สุด คือฟังให้เข้าใจ ไม่ให้หลงทางด้วยโลภะ หรือว่าเอาอย่างอื่นขึ้นมา ที่จะคิดว่าด้วยเหตุอื่น จึงสามารถที่จะให้สติปัฏฐานเกิด แต่ด้วยเหตุ คือปัญญา จากการฟังเข้าใจจริงๆ นั่นเป็นเหตุโดยตรงที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิดได้

    ผู้ฟัง ปัญญา การจะเจริญขึ้นๆ อกุศลก็ลดลง แล้วก็ทำให้กุศลอื่นๆ เจริญขึ้น

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ ไม่ทราบว่า จะให้อกุศลลดลงเท่าไร เท่าพระโสดาบันไหม ยังมีโลภะ มีโทสะ มีโมหะ ยังมีรักมีชัง ยังมีโลภ มีโกรธ มีหลง แล้วคุณบุตร สาวงษ์ จะให้กุศลเจริญระดับไหน

    ผู้ฟัง ถ้าประสงค์ จะลดลง ดับหมดก็ต้อง ถึงอรหันตมรรค

    ท่านอาจารย์ ถูกแต่ว่าเวลา นี้ถ้าผู้ที่ไม่เป็นพระโสาดบัน แล้วก็หวังจะให้อกุศล ลดลงถึงระดับไหน เพราะเหตุว่าแม้พระโสดาบัน ก็ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ ยังมีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ยังมีโทสะด้วย แล้วคุณบุตร สาวงษ์ จะให้อกุศลของคุณบุตร สาวงษ์ลดลงระดับไหน

    ผู้ฟัง ที่ผมพูดนี้ ไม่ใช่การหวัง เป็นแต่เพียง บอกประโยชน์ของปัญญาว่า ถ้าปัญญาเจริญก็ละอกุศลจะลดลง

    ท่านอาจารย์ เห็นได้ไหมว่า อกุศลลดลง พระโสดาบัน มีใครรู้บ้างว่าท่านเป็นพระโสดาบัน อะไรที่ทำให้ลดลงที่เห็นได้ ท่านไม่มีความเห็นผิดในลักษณะของสภาพธรรม ท่านไม่มีความสงสัยในอริยสัจธรรม นี้แสดงถึงความลึก และความละเอียดของอกุศลว่ามากมายแค่ไหน เพราะฉะนั้น แทนที่จะไปคิด จะไปลดอกุศล ตัวตนลดอกุศลไม่ได้ โลภะลดอกุศลไม่ได้ ต้องเป็นปัญญา ทำไมไม่คิดถึงเรื่องที่จะเข้าใจสภาพธรรม ให้ถูกต้องฟังธรรมให้เข้าใจไม่คลาดเคลื่อน เพราะเหตุว่าการที่พระธรรมจะลบเลือนสูญไปก็เพราะความเข้าใจผิด หรือความเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามที่พระทรงแสดวไว้ นี่เป็นประโยชน์ ของการศึกษาพระอภิธรรม เพราะว่าไม่ว่าเรื่องของศีล ไม่ว่าเรื่องของสมาธิ ไม่ว่าเรื่องของปัญญา ก็จะต้องรู้ว่าได้แก่ปรมัตถธรรมอะไร แม้แต่มรรคมีองค์ ๘, ๘ องค์ สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ สงเคราะห์เป็นปัญญา สัมมาทิฏฐินั้น แน่นอน สงเคราะห์ในที่นี้หมายความเป็นฝ่ายของปัญญา เพราะเหตุ ว่า ถ้าไม่มีวิตกเจตสิก ซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ ที่จะตรึกหรือจรดในอารมณ์ที่ผัสสะ กระทบ ปัญญก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องในสภาพธรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้น ในมรรคมีองค์ ๘, ๒ องค์แรกเป็นฝ่ายของปัญญา ๓ องค์ต่อมาคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นศีล แล้วก็สำหรับวิริยะ สติ สมาธิ เป็นสมาธิ นี้ก็แสดงให้เห็นว่า เป็นส่วนหรือเป็นฝ่าย แต่ว่าสภาพธรรม ของเจตสิก ต้องตรง ถ้าเป็น อนภิชฌา เป็น อโลภเจตสิก แล้วแต่ว่าที่บางทีอาจจะมีการสับสน เช่น เวลาพูดถึง กุศลกรรมบท ตั้งแต่เว้น ปาณาติบาท อทินนาทานเป็นต้นไป ก็จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องของการไม่เบียดเบียน ละเว้นการเบียดเบียน เพราะเหตุว่า เวลาที่อกุศลกรรมบถ เกิด เป็นการเบียดเบียนทั้งหมด ไม่ว่าจะด้วยกาย ๓ วจี ๔ และทางใจ ๓ นั่นก็เป็นเรื่องของการเบียดเบียน แต่ว่าถ้าเป็นทางฝ่ายกุศลก็คือ ละเว้นการเบียดเบียน เพราะฉะนั้น ก็เป็นทางฝ่ายของกายที่ละเว้น วาจาที่ละเว้น แล้วก็ใจ ก็ไม่ได้เป็นการที่จะไปเพ่งเล็ง อยากได้ของคนอื่น หรือว่ามีพยาบาท ที่จะทำร้ายคนอื่น หรือว่ามีความเห็นผิด แต่ต้องมีการกระทำด้วย จะเห็นได้จริงๆ ว่าขณะใดที่บุคคลนั้นมี อนภิชฌา เราไม่เบียดเบียนใครแน่ หรือว่ามีอพยาบาท ก็ไม่เบียดเบียน เพราะฉะนั้น คนก็จะคิดว่า อกุศล คืออะไร แล้วกุศล คืออะไร ถ้าอกุศล คือการกระทำทุจริต กุศลคือละเว้นทุจริตทั้งหมด ทั้ง ๑๐ ประการ แล้วแต่ว่าจะเป็นไปในบุญกิริยาวัตถุข้อใด นั่นก็เป็นเรื่องขณะนั้น เวลาที่มีจิตไม่เบียดเบียน ก็ยังเป็นไปในเรื่องของทาน คือ การให้ หรือว่าเป็นไปในเรื่องของศีลที่เกี่ยวกับกายวาจา เป็นวาริตศีล เป็นจาริตศีล หรือเป็นอินทรียสังวรศีล เป็นปาฏิโมกขสังวรศีล อยู่ในกองของศีลทั้งหมด แล้วก็เป็นเรื่องของการที่จะอบรม เจริญปัญญา คือมีการฟังธรรมมีการสนทนาธรรม มีการอบรมเจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา นี่ก็ตรงอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นศีลโดยเป็นปรมัตถธรรม ถ้าเป็นปรมัตถธรรมแล้วละก็ อนภิชฌา ต้องเป็นอโลภะ อพยาปาท ก็ต้องเป็นอโทสเจตสิก สัมมทิฏฐิก็เป็น ปัญญาเจตสิก

    ผู้ฟัง ผมสงสัยว่า เรามีการอบรมศีล และก็ต้องมีหิริโอตตัปปะ ผมคิดว่าการพิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ ในการขาดศีล และการมีศีล อันนี้เป็นสมถะ เข้าขั้นนี้ได้หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ถ้าจิตเป็นกุศลในขณะที่พิจารณา ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็น สมถภาวนา เพราะเหตุว่าสมถภาวนา หมายความว่า เวลาที่จิตที่เป็นกุศลเกิดบ่อยๆ โดยการระลึกถึงอารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใดใน ๔๐ อารมณ์ ที่จะทำให้จิตสงบ แต่ขณะนั้นต้องประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าเราเพียงแต่นึกถึง วันนี้ศีลของเราขาดไหม ศีลของเราล่วงไปเท่าไร กี่ข้อ อย่างไรเป็นกุศลศีล หรือเป็นอกุศลศีล ขณะที่เป็นกุศลจิต ขณะนั้นก็เป็นการพิจารณา เรื่องศีล แต่ว่าถ้าจะเป็นสมถภาวนาแล้ว จิตจะต้องเป็นกุศลสงบ เพราะสมถะ หมายความว่า สงบระงับจากอกุศล เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่จิตระลึก ก็จะทำให้ มีจิตที่ผ่องแผ้วจากการระลึก สิ่งที่ทำให้กุศลจิตเกิดบ่อยๆ จนกระทั่งมีความสงบเพิ่มขึ้น เป็นระดับขั้นของสมาธิ ซึ่งจะสามารถจะถึงได้เพียงขั้น อุปปจารสมาธิ เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นการแสดงว่าขณะใดที่เราเกิดกุศลจิต คิดทบทวนถึงการกระทำของเราดีชั่ว ขณะนั้นยังไม่ใช่สมถภาวนา ถ้าเป็นสมถภาวนา หมายความว่า กุศลจิต ต้องเกิดบ่อย แล้วจิตสงบในขณะนั้น แล้วก็เพิ่มความสงบขึ้นด้วย ขณะที่คิดอย่างนั้น สงบบ้างไหม

    ผู้ฟัง ขณะนี้ก็ต้องมีกุศลจิตเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้น สงบไหม

    ผู้ฟัง ขณะนี้กุศลจิตเกิดขึ้น อาจจะมีการสงบ

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าผู้ที่จะมีการอบรมเจริญสมถภาวนา ทุกท่าน และผู้ที่จะอบรมเจริญวิปัสสนาทุกท่าน ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น จะต้องรู้ลักษณะของสติสัมปชัญญะด้วย ถึงจะรู้ว่าขณะนั้น เป็นสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนาหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแต่ไม่รู้ หรือว่าคิดว่าเป็นกุศลก็ไม่ได้ แต่ลักษณะสภาพของกุศลจิตที่ผ่องใสต้องมี ต้องปรากฏ ต้องรู้ว่าขณะนั้นสงบ เพราะว่าต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เพียงแต่ตรึก นึกถึง เรื่องราวด้วยความเป็นเรา ขณะนั้นลักษณะของกุศลก็เกิด สลับได้

    ผู้ฟัง ผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า การเห็นสภาวธรรม ตามความเป็นจริง นี้ไม่มีศีลเป็นอุปการะ ไม่มี สมาธิ และสมถเป็นอุปการะ เกิดไม่ได้ ไม่มีการสำรวมกาย และวาจา และใจนี้ เกิดไม่ได้ แต่ไม่มีศีล ไม่มีสมถะเป็นอุปการะนี้ ไม่มีกำลัง อาจจะรู้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ มรรคมีองค์ ๘ พร้อมทั้ง สมถะ และวิปัสสนา ไม่ต้องแยกกันเลย ไม่ต้องไปทำสมาธิต่างหาก ไม่ต้องไปทำศีลต่างหาก เพราะว่าทั้ง ๘ องค์ เมื่อกี้นี้ เราพูดถึงแล้ว แล้วก็ศีลมีทั้งอินทรียศีลสังวรศีลด้วย เพราะฉะนั้น การที่ใครก็ตาม จะมีศีลบริสุทธิ์ แต่ไม่มีปัญญา ไม่รู้หนทาง ไม่รู้สภาพธรรม สติไม่ระลึก ไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็ไม่สามารถที่จะมีปัญญาได้ แต่ว่ารักษาศีลได้ สำหรับผู้ที่ทำสมถภาวนา ก่อนการตรัสรู้ก็มี จนกระทั่งถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็น อรูปฌานขั้นสูงที่สุด แต่ก็ไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้ศึกษาพระธรรม มีความเข้าใจเรื่องสภาพธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม ในขณะนี้ มีการที่จะเข้าใจว่า หนทางที่จะรู้ความจริง ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แต่ว่าถ้าไม่มีการฟัง ก็ไม่มีปัจจัยที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิด เพราะฉะนั้น ต้องฟังธรรมด้วยความละเอียดจริงๆ แล้วก็จะรู้ว่า ขณะที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม เป็นการอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ แม้ว่าจะยังไม่พร้อม แต่ก็จะถึงความสมบูรณ์ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ก็พร้อมทั้งศีลสมาธิปัญญา ในขณะนั้น ไม่ใช่ว่าคนที่ไปรักษาศีล แต่ไม่เข้าใจเรื่องปัญญา แล้วก็ไม่ใช่คนที่ไปอบรมเจริญภาวนา ถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ สูงกว่านั้นไม่มีอีกแล้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ทรงแสดงหนทาง ไม่ได้ทรงแสดงหนทางให้แยกศีล สมาธิ แต่ทรงแสดงหนทางที่จะให้ ความเข้าใจ ในลักษณะของสภาพธรรม เป็นพื้นฐาน เป็นสัญญาความจำที่มั่นคง เพราะเหตุว่าเหตุใกล้ของสติปัฏฐาน ก็คือสัญญาความจำที่มั่นคง ซึ่งบางคนเพียงฟัง แล้วก็รู้ว่าสัญญา เป็นความจำ แล้วก็บอกว่า จำอะไร ถึงจะมั่นคง นี่ก็คือว่า ไม่ได้ศึกษาเลยว่าในระหว่างนั้น ที่ว่าสัญญาจำที่มั่นคง ไม่ใช่จำเรื่องอื่น แต่ขณะนี้ฟังว่า สภาพธรรมกำลังปรากฏ ทุกอย่างเป็นธรรม มั่นคงพอที่สติจะเกิดระลึกไหม มิฉะนั้นสติก็ไม่เกิด

    ผู้ฟัง การรู้ในวิปัสสนา ตามความเป็นจริงนี้ ไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ เป็นอุปการะเกิดขึ้นไม่ได้ ผมต้องรู้อย่างนี้ แต่ละในการปฏิบัตินี้ ก็ต้องถึงพระนิพพาน แต่ไม่ทันถึงพระนิพพานก็ต้องมีการช่วย ในอารมณ์ ๓ ประการอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทีละเล็กทีละน้อย ขณะนั้นมีศีลไหม มีสมาธิไหม มีปัญญาไหม ในขณะนั้น ขาดอะไรในขณะที่สติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ถ้าเป็นการเพียงพิจารณา ขณะนั้นสติไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ไม่สามารถจะรู้ว่า ธรรมเป็นธรรม นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม

    เวลาที่ศึกษาธรรมอย่า ติดที่คำ แต่ว่าต้องเข้าใจตัวสภาพธรรม ในเรื่องของจิต ในเรื่องของนามธรรม ถ้าเราคำนึงถึงว่าได้แก่ ปรมัตถธรรมอะไร จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น แล้วก็ไม่สับสน เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความเข้าใจเกิดขึ้นกับจิต เป็นความเห็นถูก ขณะนั้นก็เป็นปัญญาเล็กๆ ระดับ ๑ แต่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณแต่เวลาที่ปัญญาเจริญขึ้น เติบโตขึ้น การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ไม่ใช่ไปรู้อื่น ถ้าเป็นปัญญาแล้ว จะไปรู้อื่นทำไม ไม่ใช่เพียงรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ ทางประวัติศาสตร์ นั่นไม่ใช่ปัญญาเจตสิก แต่ปัญญาเจตสิก คือสภาพธรรม ที่สามารถเข้าใจสภาพที่มีจริงๆ โดยระดับขั้นต่างๆ ถ้าเป็นเรื่องราวของสภาพธรรม เช่น เรื่องกรรม เป็นเรื่องราว ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องปรมัตถ์อะไร ขณะนั้นก็เป็นการเข้าใจเรื่องกรรม ซึ่งเป็นเหตุ และก็ผลของกรรมซึ่งเป็นวิบาก แต่ถ้าเจาะลึกลงไป ก็จะไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูป

    การฟังธรรมขั้นต้นเป็นเรื่องราวของสภาพธรรม คือของจิต เจตสิก รูป ซึ่งภายหลัง เวลาที่ปัญญาเจริญขึ้น แล้วก็มีการรู้ชัด ก็จะรู้ชัดอื่นไม่ได้ นอกจากรู้ชัดลักษณะของนามธรรม รูปธรรม จิต เจตสิก รูป ตรงตามที่ได้ศึกษาไม่ผิดกันเลย ต้องตรง ด้วยเหตุนี้ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท จึงต้องสอดคล้องกัน เหมือนอย่าง กัมมัสสกตาปัญญา ถ้าเป็นเรื่องความเห็นถูกในเรื่องกรรม ซึ่งบางคนอาจจะไม่เชื่อเลย เพราะว่าเขาคิดว่า ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว นั่นเป็นความคิดของเขา แต่ว่าความจริงสภาพธรรม ใดเป็นเหตุก็เป็นเหตุที่จะให้เกิดผล ตรงตามเหตุนั้น

    การศึกษาธรรมก็ต้องเป็นไปตามลำดับด้วย แล้วการรู้แจ้งสภาพธรรมทุกอย่างก็ต้อง รู้แจ้งปรมัตถธรรม ขณะนั้นต้องเป็นการรู้ลักษณะของนาม และรูปซึ่งต่างกัน เวลาที่เราเรียน เรื่องจิตประเภทต่างๆ นี้ จิตมีตั้งหลายประเภท เวลานี้ ถ้าสติไม่เกิดก็ไม่รู้ว่าหลายประเภทนั้น ตรงไหน มีลักษณะอย่างไร แต่เวลาที่ปัญญาเจริญขึ้น หลายประเภทคือขณะนี้ เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็รู้ตามความเป็นจริงว่า นี่คือจิตนั้น นั่นคือจิตนี้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567