ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๒๐

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ผู้ฟัง อกุศลจิต เป็นอารัมมาณะก็ได้

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างๆ ๆ ๆ ปัญญาต้องรู้ทั่ว ถ้าไม่รู้ทั่วก็ละไม่ได้ ป็นความสมบูรณ์ของปัญญา

    ผู้ฟัง ยากมาก

    ท่านอาจารย์ ถ้าง่าย เป็นพระโสดาบันกันทั้งหมด เหมือนในครั้งนั้น กรุงสาวัตถี มีพระโสดาบันเท่าไร

    ผู้ฟัง ถ้ารู้วิบาก ถ้ามีอกุศลจิต เป็นอารัมมาณะ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังรู้วิบาก ไม่มีชื่อวิบาก

    ผู้ฟัง ไม่มีชื่อ

    ท่านอาจารย์ มีชื่อไม่ได้เลย เป็นลักษณะของสภาพปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง อยากเข้าใจ เหมือนที่คุณนีน่าเข้าใจ คุณนีน่ามีอะไรให้ผมเข้าใจใหม่ๆ เพราะผมมาทีหลังคุณนีน่า เข้าใจน้อย เพราะฟังคุณนีน่าแล้ว ทำให้ผมรู้สึกตัวขึ้นมากว่า ขณะนี้กำลังเป็นอะไร ขณะนี้เป็นอะไร คุณนีน่าจะชี้ปัจจุบันเสมอเลยว่า ธรรมคือเดี๋ยวนี้ คุณนีน่าจะช่วยกรุณาผมอีก สักทีให้ผมจำได้แม่นยำมากขึ้น

    ผู้ฟัง ดิฉัน อนุโมทนา อาจารย์สุจินต์มาก ที่บอกเสมอเป็นธรรมเดี๋ยวนี้ เพราะว่า เราพูดเรื่องทฤษฎีมากๆ เป็น ฟาวเดชั่นตรงข้ามด้วย แต่อาจจะบางทีลืม อาจารย์สุจินต์ อธิบายเสมอเป็นเดี๋ยวนี้ๆ เอง แล้วก็ลืม เพราะว่า ไม่รู้ว่าเป็นเดี๋ยวนี้ อาจจะลืม ไม่ใช่ในหนังสือ แต่นี้เป็นสำคัญที่สุด ต้องอย่างนั้น ดิฉันอยากจะมาที่นี้ แล้วฟัง มากๆ เพราะว่ายังไม่พอ ถ้าอยู่ที่บ้านอยู่คนเดียว เขียน และอ่านด้วย แล้วฟังเทปด้วย แต่อยากจะรู้ ได้ยินว่าเดี๋ยวนี้เองสำคัญที่สุด

    ผู้ฟัง ถ้าเดี๋ยวนี้เอง เดี๋ยวนี้เอง เป็นเดี๋ยวนี้อย่างไร เดี๋ยวนี้อย่างไร คุณนีน่า

    ผู้ฟัง ยังไม่ชัด ยังไม่ได้เพราะว่าเป็นบัญญัติ ที่รู้ตรงกับลักษณะ แต่พิจารณาได้ เดี๋ยวนี้มีเสียง ใช่ไหม

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้มีเสียง มี

    ผู้ฟัง ได้ยินด้วย

    ผู้ฟัง ได้ยินด้วย

    ผู้ฟัง แต่จะไม่ใช่วิปัสสนาญาณ รู้ชัด ไม่ได้ ไม่ต้องหวังอะไร

    ผู้ฟัง ไม่ต้องหวังอะไร

    ผู้ฟัง หวังอะไรไม่ได้ แล้วก็คิดเรื่องบัญญัติด้วย ไม่เป็นไร คิดเรื่องบัญญัติด้วย

    ผู้ฟัง คิดเรื่องบัญญัติด้วย

    ผู้ฟัง อย่างเราคิดว่าเราเห็นความจริง คือเรื่อง เป็นบัญญัติ แต่มีเหตุปัจจัยที่เราคิด เรื่องบัญญัติ แม้แต่ถามอะไร คิดจะถาม คิดเรื่องธรรม เราสงสัยอะไร ความสงสัยเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง

    ผู้ฟัง แม้แต่คิดเรื่องที่จะถาม คุณนีน่า ก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง

    ผู้ฟัง แต่เราลืม

    ผู้ฟัง เราก็ลืม

    ผู้ฟัง ฉันด้วย ลืม

    ท่านอาจารย์ ก็จะขอนมัสการบูชาด้วยการสนทนาธรรม เพื่อเป็นการสืบต่อ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เท่าที่เราสามารถจะกระทำได้ เชิญ

    ผู้ฟัง ทราบแล้วว่า กัมมัสสกตาญาณ นี้กว้างว่า วิปัสสนาญาณ แต่ว่าจะถามเหตุผลว่า เพราะเหตุใด วิปัสสนาญาณ หรือว่าสติปัฏฐาน จึงเป็นกัมมัสสกตาญาณ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่กว้างกว่าวิปัสสนาญาณ หมายความว่า กัมมัสสกตาญาณ เท่าที่เราทราบก็คือปัญญา ที่รู้เรื่องกรรม และผลของกรรม ซึ่งกรรม และผลของกรรม คือสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่ศึกษาพระธรรม ก็ต้องย้อนกลับมาหาจิต เจตสิก รูป จึงจะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น เรื่องของกรรมก็สภาพของจิต ที่ประกอบด้วยเจตนา ความตั้งใจ ที่เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล

    สำหรับวิบาก ผลของกรรมก็คือ ในขณะนี้ที่กำลังเห็นกำลังได้ยินก็ได้แก่จิต เจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรมในอดีตเป็นปัจจัย ในอดีตถ้าเราไม่เคยทำกุศลกรรม ที่จะได้มาที่นี้ ได้มาเฝ้านมัสการ ระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ไม่มีโอกาสนี้เลย แต่เพราะเหตุว่ากรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีต เป็นปัจจัย จึงทำให้จักขุวิญญาณ ขณะนี้สามารถที่จะได้เห็น ได้นมัสการที่ประทับของพระองค์ ที่เมืองสาวัตถี ที่พระวิหารเชตวัน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราจะระลึกได้ ถ้าขณะนี้สามารถที่จะทราบว่า ขณะที่เห็น เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นอนัตตา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แล้วก็กำลังเห็นในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น การเข้าใจพระธรรม ไม่ใช่เข้าใจเรื่องราวที่ห่างไกล แต่ว่าเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมีจริง แล้วก็กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อขณะนี้มีเห็น ขณะใดที่สติระลึก ก็คือสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจว่าธาตุรู้ หรือสภาพรู้ เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยที่จะทำให้เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา ซึ่งสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาก็มีจริง แล้วก็เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เราก็พูดอย่างนี้ พูดมาบ่อยๆ จนกว่าปัญญาของใครเกิดพร้อมกับสติ ค่อยๆ เข้าใจตามนี้จริงๆ ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นของจริงชนิดหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็เป็นความคิดนึก เรื่องสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แต่ว่ามีสภาพธรรม ซึ่งเป็นธาตุแต่ละอย่าง ซึ่งเกิด แม้ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็ไม่ต่างกับขณะธรรมดาปกติอย่างนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในครัว อยู่ในบ้าน อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อยู่ที่เมืองสาวัตถี หรือต่อไปจะอยู่ที่ลุมพินี ก็คือสภาพธรรมทั้งหมด ไม่มีเรา การเห็นก็คือสภาพที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คือต้องมีจักขุปสาท มีสิ่งที่กำลังปรากฏ

    เวลาที่สติระลึก ก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนี้ ซึ่งเป็นธาตุรู้ ตามปกติในขณะนี้ ไม่ผิดปกติเลย เพราะฉะนั้น จึงเข้าใจความหมายของคำว่า ขณะที่มีสติ ต่างกับขณะที่หลงลืมสติ นี้เป็นเรื่องที่ต้องฟังแล้วฟังอีก เราอาจจะเคยฟังมาแล้ว ๒,๕๐๐ กว่าปี บัดนี้ก็ต้องฟังอีกจนกว่า สติจะระลึกได้ที่ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเป็นธาตุรู้ หรือสภาพรู้ จนกระทั่ง ลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้ปรากฏ ตามความเป็นจริงว่าไม่เจือปนกับรูปใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นมนินทรีย์ ในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้

    สิ่งนี้ปรากฏอย่างนี้เพราะจิตเกิดขึ้นรู้ คือเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา ถ้าสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ เพิ่มขึ้นก็จะเห็นความต่างกัน ว่าขณะใดเป็นวิบากซึ่งเป็นผลของกรรมจริงๆ ถ้าเข้าใจลึกลงไปอีก แม้ปสาทรูปก็เกิดขึ้นเพราะกรรม ถ้าไม่มีปสาทรูปที่จะกระทบกับ สิ่งที่ปรากฏาทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในขณะเพียงชั่วเห็น ไม่มีใครไปยับยั้ง ไม่มีใครไปสร้างหรือไปทำให้เกิดขึ้นได้ นี่คือความหมายของสภาพธรรม อย่างหนึ่งซึ่งเป็นวิบากจิต ที่เราศึกษาว่ามีจิตซึ่งเป็นกุศล อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดจิตที่เป็นวิบาก จิตที่เป็นวิบาก ก็ขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ กำลังได้ยินเสียงนี้ ถ้ามีกลิ่นของธูปปรากฏก็เป็นขณะซึ่งมีปัจจัยที่จะให้วิบากจิต เกิดขึ้นได้กลิ่นนั้นทางจมูก สำหรับทางลิ้นก็เช่นเดียวกัน คือมีรสปรากฏ ทางกายขณะนี้ก็มีเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวกำลังปรากฏ สภาพธรรมมีจริงๆ เกิดขึ้นปรากฏแล้วแต่ว่าสติจะระลึกหรือไม่ระลึก แต่ถ้าระลึก ก็คือระลึกสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ตามปกติ ตามธรรมดา แล้วก็เพิ่มความรู้ขึ้น ว่าขณะใดเป็นวิบากจิต ขณะใดไม่ใช่วิบาก

    เวลาที่สติเกิด ระลึกลักษณะของจิต ก็ระลึก ความต่างของจิตที่ต่างกัน จิตเห็นไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต เพียงเห็น ถ้าสติระลึกจนทั่ว จะสามารถเห็นความต่างกันของจิต ไม่ต้องใส่ชื่อ โดยมากทุกคนจะงงเรื่องชื่อ ว่านี่ชื่อวิบาก แต่ขณะนั้นปัญญากำลังรู้ในธาตุ ซึ่งกำลังเห็น ในธาตุซึ่งกำลังได้ยิน เพราะฉะนั้น ก็รู้ในความเป็นธาตุที่ต่างกัน ของสภาพที่เป็นเพียงวิบาก แล้วก็หลังจากนั้นก็มีการคิด แล้วมีกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เกิดต่อ เมื่อสภาพธรรม ต่างกันอย่างนี้ ก็รู้ในความต่าง เมื่อความต่างเป็นอย่างนี้ ก็ทรงบัญญัติ สภาพที่ปรากฏ เพราะเกิดขึ้นจากกรรมเป็นปัจจัย ว่านี่เป็นวิบากทางตา เป็นวิบากทางหู นี่เป็นชื่อที่บัญญัติ สภาพธรรมที่มีจริงๆ ชาวบ้านมากมายเลย ไม่ได้ฟังพระธรรมเรื่องสภาพธรรมเลย แต่เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม แล้วก็สอนลูกหลาน อย่าทำชั่ว จะได้สิ่งที่ไม่ดี เขามีความเข้าใจในเรื่องกรรม และผลของกรรมเพียงเล็กน้อย เพราะว่าไม่เข้าใจสภาพธรรมว่า กรรมได้แก่นามธรรมหรือรูปธรรม ผลของกรรมเกิดขึ้นเมื่อไร ทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เขาไม่ได้เข้าใจอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า ต้องไปตั้งต้นที่นั่น แล้วเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่แสดงว่ามีปัญญาต่างขั้น ปัญญา คืออะไร ปัญญาคือความเห็นถูกต้อง ในลักษณะของสภาพธรรม แต่ว่าความเห็นถูกต้องในเรื่องลักษณะของสภาพธรรม เป็นขั้นเรื่องราวมีไหม ก็ต้องมี แล้วเรื่องราวอะไร ที่เรียกว่าเป็นความถูกต้อง ความถูกต้อง ของเรื่องราวก็คือเรื่องของกรรม และผลของกรรม เฉพาะแค่นั้น แต่สำหรับผู้ที่จะมีฌาน ก็ต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง และผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็อีกระดับหนึ่ง

    ผู้ฟัง ผมขอกลับไปเริ่มต้น สำหรับประโยชน์ ในการที่จะฟังพระธรรมซึ่งจะต้องฟังต่อไปตลอด ชีวิตนี้ ไม่จบ แต่เรื่องต่างๆ มันก็มีให้พิจารณา ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องวิปัสสนาญาณก็ดี เรื่องสติปัฏฐานก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็น หนทาง หรือว่าจะเป็นข้อปฏิบัติที่จะนำให้ผู้ฟัง ไปสู่สภาพที่เป็นความจริง ในการศึกษา แต่ทีนี้ การฟังพระธรรมก็ดี การศึกษาพระธรรม ศึกษาอย่างไร ฟังอย่างไร จึงกล่าวว่าเป็นการฟังด้วยความเคารพ

    ท่านอาจารย์ เริ่มตั้งแต่ขณะที่ฟัง เหมือนเฝ้า พระผู้มีพระภาค หรือประทับอยู่ต่อหน้า เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหมด มาจากพระองค์ ซึ่งใช้คำว่า ธรรมกาย เป็นที่รวมของธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟัง ฟังด้วยความเคารพ คือตั้งใจฟัง ขณะใดที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง สนใจเรื่องอื่น ผู้นั้นอาจจะไม่ทราบว่าไม่ได้เคารพในธรรม แต่ผู้ที่เคารพในธรรม ทราบทันทีว่าใครไม่เคารพในธรรม คือผู้ที่ไม่ได้ ตั้งใจฟัง เพราะเหตุว่า พระธรรมยากแสนยาก ที่จะมีโอกาสได้ฟัง ต้องพิจารณาจริงๆ จนกว่าจะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น การที่จะได้มีโอกาสฟังก็ต้องฟังด้วยความเคารพในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ในพระมหากรุณาคุณ เมื่อฟังด้วยความเคารพแล้ว ก็ไตร่ตรองพิจารณา ในเหตุผลว่าตรงกับสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ไหม

    ถ้าพูดเรื่องปรมัตถธรรม ก็หมายความถึงธรรมที่มีจริง แม้ไม่เรียกชื่อ อย่างกำลังเห็น มีมาตั้งแต่เกิด ก็มีการเห็นมาเรื่อยๆ จนถึงขณะนี้ แล้วมีความเข้าใจเรื่องเห็นแค่ไหน รู้สภาพที่เป็นนามธรรมแค่ไหน ถ้าพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงตรัสรู้ ไม่ทรงแสดงธรรม ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ความจริง ของสภาพเห็นในขณะนี้ได้ แม้ว่าจะได้ยินได้ฟังว่าเห็น มี ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างกับธาตุที่ได้ยินเสียง ต่างกับธาตุอื่นๆ ซึ่งเป็นนามธาตุด้วยกัน ใช้คำว่า นามธาตุทั้งหมดทุกชนิด เพราะเหตุว่าทุกอย่างเป็นธาตุ เมื่อทุกอย่างเป็นธาตุ จะใช้คำว่าจักขุธาตุก็ได้ รูปธาตุก็ได้ จักขุวิญญาณธาตุก็ได้ ธรรมทั้งหมดเป็นธาตุ โลภะธาตุ โทสะธาตุ โมหะธาตุ เคยเข้าใจถูกต้อง หรือเปล่า

    ปัญญาเริ่ม เมื่อได้ฟังพระธรรม ด้วยความเคารพ คือด้วยการไตร่ตรองพิจารณาว่า ขณะนี้เป็นธรรม จนกว่าจะถึง ความเป็น อนัตตา คือไม่ใช่เราซึ่งยากมาก กว่าจะสละความเป็นเราจาก เห็น จากได้ยิน จากทุกๆ ขณะจิต ซึ่งต้องเป็นผู้ที่อดทน มีวิริยะ ไม่ละเลยต่อการที่จะรู้ว่าตัวเอง รู้ธรรมแค่ไหน ตรงแค่ไหน เพราะว่าการที่จะเข้าใจธรรม หรือใช้คำว่า รู้ธรรมได้ ก็คือเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งเราเรียนมาแล้วทั้งนั้น แต่ถ้าขณะใดที่สติไม่เกิดไม่ระลึกขณะนั้นก็ไม่ใช่ศึกษา ลักษณะของสภาพธรรม เป็นการเพียงศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้น จนกว่าขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด

    ที่ใช้คำว่า สติปัฏฐาน ก็คือขณะที่ระลึก ระลึกได้ เพราะวันหนึ่งๆ ก็หลงลืม ระลึกได้คืออย่างไร ขณะที่เห็นกำลังมี ไม่ต้องไปคำนึงถึงว่าดับไปแล้วอย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นเลย ในเมื่อไม่ประจักษ์ จะไปพูดอย่างนั้น เข้าใจอย่างนั้น ก็เพียงแค่คิด แต่ขณะใดที่มีเห็น ก็ค่อยๆ ระลึกได้ ว่าขณะนี้ เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งสภาพธรรม ที่เห็น เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง นี่คือเห็นว่าทั้งหมดเป็นสภาพธรรม โดยสติเกิดในขณะที่สภาพนั้นๆ กำลังปรากฏ ตามปกติจริงๆ มิฉะนั้น จะไม่เข้าใจเลยว่าทำไม ผู้ที่ปรุงอาหารอยู่ในครัว จึงสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคลได้ ในครัวก็มีทุกอย่าง ซึ่งในครัวของเราทุกคนก็มี เห็น เหมือนกัน ไม่ว่าหม้อ กะทะ เตาไฟ อะไรๆ แต่ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา สามารถที่จะเป็น พระอนาคามีบุคคลได้ ที่ไหนก็ได้ เป็นพระโสดาบันที่ไหนก็ได้ เพราะอะไร เพราะสภาพธรรมมี ไม่เคยขาดเลย เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ต้องเข้าใจว่า ขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ

    ผู้ฟัง การศึกษามีการพูดกันว่า ต้องมี สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา หรืออะไรทำนองนี้ ความจริงอาจจะไม่ต้องไปคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่ว่าทำความเข้าใจในพื้นฐานของการฟังพระธรรม ให้มีความสังเกต มีการระลึกได้บ้าง แม้สติจะเกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง ก็เป็นผู้ที่รู้ด้วยความจริงว่า ขณะเห็นไม่มีการพิจารณา หลงลืมสติ แล้วก็จะให้เกิดเป็นสติปัฏฐาน ก็เป็นสิ่งที่ยากมาก

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ เป็นสุตมยปัญญา หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าคิดว่าเข้าใจ มันก็คงมีระดับของความเข้าใจ ยังไม่ ถึงขั้นที่จะเป็นปัจจัย ให้มีการระลึกได้ในขณะเดี๋ยวนั้น ที่บอกว่าทุกขณะ เป็นธรรม ธรรมกำลังปรากฏ ถ้าระลึกได้เดี๋ยวนั้น แล้วเกิดปัญญาขึ้น ความเห็นถูกก็เกิดขึ้น แล้วจะไปยับยั้ง ปัญญาที่จะไม่ให้รู้ต่อไปก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การบรรลุของบุคคลในครั้ง พุทธกาล ผมเข้าใจว่าทุกท่านที่มีโอกาสมาในที่นี้ ผมก็ระลึกอยู่เสมอว่า ถ้าไม่เคยมาก็คงไม่คิดอยากจะมา แต่เมื่อมาแล้ว ทำไม ไม่ให้เหมือนคนในสมัยนั้น ว่าเมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ปรากฏว่า บางท่านมีพระรัตนไตร เป็นสรณะ บางท่านก็เป็นพระอริยเจ้าได้เลย เพราะฉะนั้น ต้องมีเหตุ คือฟังพระธรรมอย่างไร จึงกล่าวว่าเป็นการฟังพระธรรมด้วยความเคารพ อันนี้ที่ท่านอาจารย์กล่าวมาทั้งหมด คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ กับผู้ที่ร่วมได้ยินได้ฟัง

    ท่านอาจารย์ ก่อนที่ท่านพระสารีบุตร หรือท่านพระสาวกทั้งหลาย จะรู้แจ้ง พระอริยสัจธรรม ถอยไปถึงสมัยพระทีปังกร ท่านเหล่านั้นจะคิดไหมว่า เมื่อไรเราจะบรรลุ นานแสนนาน แต่ก็ค่อยๆ ผ่านไปทีละหนึ่งขณะ ทีละหนึ่งขณะ ในชาติหนึ่ง ในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะคิดว่าเมื่อไร แต่เป็นเรื่องที่ขณะนี้สภาพธรรม กำลังปรากฏ ฟังให้เข้าใจ เพราะว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจก่อน สติจะระลึก แล้วก็เข้าใจลักษณะนั้นได้อย่างไร ในเมื่อไม่เคยฟังเลย ไม่เคยเข้าใจเลย

    เพราะฉะนั้น แต่ละคน เป็นผู้ตรงจริงๆ ไม่รู้ คือไม่รู้ ไม่รู้อะไร แม้แต่ไม่รู้ ไม่รู้อะไรก็ไม่รู้ แต่ว่าคนที่เข้าใจแล้ว เพิ่งเริ่มฟัง จะรู้ว่า ไม่รู้ความจริงในขณะที่เห็น ว่าไม่ใช่เรา ถ้ารู้ความจริงก็คือ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ทั้งสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คือเพียงปรากฏ เมื่อกระทบกับจักขุปสาท ถ้าคนตาบอดสิ่งนี้ไม่ปรากฏเลย ไม่สามารถที่จะรู้ ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้เป็นอย่างนี้ แต่คนที่มีจักขุปสาท มีปัจจัยที่จะให้เห็น แต่ไม่เคยรู้ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วดับ ก็ไม่ต้องไปกังวล ถึงเรื่องดับ เมื่อยังไม่ประจักษ์ ก็อบรมไปที่จะรู้ ความจริงว่า ความหมายของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้หมายความว่าเกิดแล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย แต่สังขารทั้งหลาย คือสิ่งใดก็ตามที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิด คือขณะนี้เห็น เกิดเห็น ขณะได้ยินก็เกิดจิตได้ยิน

    สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดต้องดับทันที นี้เป็นสามัญลักษณะ หมายความถึง ลักษณะทั่วไปของสภาพธรรม ทั้งหลายซึ่งเกิดคือ ต้องดับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ค่อยๆ ฟังไปด้วยการพิจารณา ด้วยความค่อยๆ เข้าใจขึ้น ยังไม่ต้องไปคิดว่าเมื่อไรจะประจักษ์การเกิดดับ เมื่อไรวิปัสสนาญาณจะเกิด เมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นเรื่องของการอบรมความรู้ความเข้าใจจริงๆ

    ถ้าฟังสิ่งที่เราไม่เคยได้ฟัง เราจะเกิดปิติไหม ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เลย ธรรมอย่างนี้ ใครแสดง ใครจะสามารถรู้ความจริงของสภาพธรรม ขณะนี้ว่าเกิดแล้วดับ แล้วเป็นธาตุต่างๆ แต่ละชนิด ถ้าเรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เราก็เกิด ปิติ ที่เราสามารถ เข้าใจแม้เพียงนิดหนึ่ง ฟังอีกก็เข้าใจอีก ฟังอีกก็เข้าใจอีก แล้วจะเบื่อไหม เพราะว่าไม่ได้หวังอะไร เพียงฟังแล้วก็เข้าใจ ฟังแล้วก็เข้าใจ ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้เบื่อ เพราะแต่ละคนมีอัธยาศัยต่างกัน วันก่อนคงจะได้ฟังเรื่องของ อตุลอุบาสก ก็เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่พูดเลย กับพูดมากๆ กับพูดน้อย ท่านก็ไม่พอใจสักอย่างเดียว ทั้งๆ ที่เป็นธรรม ให้เห็นอัธยาศัยว่าหลากหลายจริงๆ แต่ละคนก็แต่ละหนึ่ง จะซ้ำกันไม่ได้เลย เกิดมาก็แล้วแต่จิตนั้นมีประสบการณ์อะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เคยสะสม ปัญญา หรือโลภะ โทสะ โมหะ เหตุผลไว้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่อง ซึ่งถ้าผู้ใดเห็นประโยชน์ ของการฟังพระธรรม ผู้นั้นจะไม่เบื่อ แล้วก็จะไม่ละเลย แต่ว่าตามโอกาส เพราะว่าบางคนฟังมาก บางคนฟังน้อย แต่ว่าคนฟังมากแต่รู้น้อยมี และคนฟังน้อยแต่รู้มากมี เพราะฉะนั้น แล้วแต่การสะสมจริงๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องตรง เรื่องจริง ว่าฟังเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ปัญญาทางโลกไม่ใช่ปัญญาเจตสิก เป็นแต่เพียงมนสิการ การพิจารณา สัญญา ความจำเรื่องราว ต่างๆ ของสภาพธรรม พร้อมทั้งประมวล สิ่งต่างๆ มาเป็นวิชาการ เป็นศาสตร์ต่างๆ แต่ปัญญาเจตสิกต้องหมายความถึง การเข้าใจสภาพธรรม ไม่ว่าจะโดยระดับขั้น ฟังหรือขั้นพิจารณา หรือขั้นประจักษ์แจ้ง เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีสภาพธรรมเกิด วิชาการใดๆ ไม่มี ในโลกนี้ แต่เพราะเหตุว่ามีสภาพธรรมเกิด ตัวจริงคือสภาพธรรม ต้นต่อคือสภาพธรรม เมื่อไม่เข้าใจสภาพธรรม จะชื่อว่าปัญญาไม่ได้ ก็เป็นแต่เพียงว่าความสามารถในการพิจารณาเรื่องราว ทรงจำของลักษณะของสภาพธรรมเท่านั้น แต่ปัญญาจริงๆ ต้องเข้าใจสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ในการฟังธรรมด้วยความเคารพ นี้ ก็ถ้ามีการแสดงในการพยายามจะฟังเพื่อการเข้าใจสภาพธรรม การพยายามนี้ก็เป็น วิริยเจตสิก ผมก็ได้ฟังมาจากท่าน อาจารย์สมพร ก็แปลจากศัพท์ การพยายามนี้ ไพเราะมาก ก็เราให้ทุกท่านได้ฟังด้วย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ