ปกิณณกธรรม ตอนที่ 18
ตอนที่ ๑๘
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการ
พ.ศ. ๒๕๓๖
ผู้ฟัง เรียนถามว่า สภาพรู้ ที่รับฟัง ฟังแล้วเกิดความเข้าใจ หรือพยายามศึกษา อ่านอะไรพยายามจะเข้าใจ เดิมอาจจะคิดว่าเป็นความรู้ แต่เท่าที่อ่านทราบว่า ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงๆ สมมติว่า เกิดจากที่เราปฏิบัติธรรม หรือว่าเกิดจากการมีสมาธิ และเกิดรับรู้เอง เห็นเอง ตรงนี้ต่างกับสภาพความรู้จากที่ฟัง หรือจากที่อ่าน ที่ศึกษาอย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลานี้มีทางหลงทาง คือว่า ทางมี ไปสู่ความรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นของจริง เป็นอริยมรรค เป็นมรรคมีองค์ ๘ หรือจะใช้คำว่า ทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา นี้มีอีกหลายชื่อทีเดียว แต่ให้ทราบว่า ทางที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่เกิดดับมี อันนี้เป็นทางจริงๆ นอกจากนั้นยังมีทางสำหรับจะหลงด้วย คือ ไม่ใช่ทางนี้ ไปทางอื่น และหวังเพียงหวังว่า จะถึงทางนี้ แต่การที่จะรู้ว่า ทางนี้เป็นทางจริง หรือว่า เป็นทางที่จะหลงทาง คือว่า ปัญญามีหรือไม่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้วอย่างไรๆ ก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้แน่ หรือพระสาวก ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ก็ต้องมีปัญญา และถ้าปัญญาขั้นฟังไม่มี ปัญญาขั้นอื่นจะมีได้ไหม เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ที่กำลังมาฟัง ขณะนี้ ใครเข้าใจ เคยเป็นเรา แต่ให้ทราบความจริงว่า เป็นปัญญาซึ่งเริ่มเกิด เริ่มเจริญ เริ่มที่จะรู้ว่า สภาพธรรมที่มีจริงนั้นคืออะไรในขณะนี้ นี้เป็นปัญญาขั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นที่ใช้คำว่า ปฏิบัติ เข้าใจว่า คนที่ใช้คำนี้ ก่อนนั้นไม่ศึกษาเลย ไม่ได้ฟังพระธรรมเลยด้วยซ้ำไป แต่ได้ยินแต่คำว่า ปฏิบัติ และภาษาไทยใช้คำนี้มาก พอพูดถึงคำว่า ปฏิบัติ คนไทยทุกคนรู้เลยแปลว่า ทำ ไม่ว่าจะทำอะไรทั้งสิ้น ปฏิบัติ คือ ทำนั่นเอง เพราะฉะนั้น พอบอกว่า ต้องไปปฏิบัติธรรม เลยคิดว่า ต้องไปทำอะไรสักอย่าง แต่ว่า ไม่ใช่เขียนหนังสือ ไม่ใช่ว่ายน้ำ ไม่ใช่อะไรเหมือนทางโลกที่ทำกันอยู่ คงจะต้องไปนั่งขัดสมาธิ และหลับตา เพราะว่า มีหลานเล็กๆ คนหนึ่ง เขาบอกคุณยายของเขาให้นั่งขัดสมาธิ เอามือซ้อนกัน และหลับตา โรงเรียนอนุบาลเอง แต่เขาเข้าใจว่า นั่นคือ ปฏิบัติ นั่นคือทำ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย เวลานี้กำลังทำอะไรหรือเปล่า เวลานี้เดิมเข้าใจว่า เราไม่ได้ทำงานอื่นแต่กำลังทำเหมือนกัน คือ กำลังนั่งฟังธรรม นี้คือ กำลังทำเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทำอย่างอื่น จริงๆ แล้ว เห็นกำลังทำหน้าที่เห็น เป็นหน้าที่ของจิต เวลาพูดเรื่องจิต เหมือนกับว่า เข้าใจแล้ว แต่ว่าจริงๆ แล้วถามว่า จิตอยู่ที่ไหนขณะนี้ เดี๋ยวนี้จิตทำอะไร ถ้ามีจิตจริงๆ ต้องสามารถที่จะยกออกมาให้เห็นได้ว่า นี้คือจิต และจิตมีลักษณะอย่างนี้ และจิตกำลังทำหน้าที่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ขณะนี้บางคนอาจจะบอกว่า นั่งเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร แต่ความจริงสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมเกิดขึ้นต้องทำกิจการงานทุกขณะ ไม่มีจิตแม้ขณะเดียว หรือประเภทเดียวซึ่งเกิดขึ้นแล้วไม่ได้ทำอะไร เวลานี้จิตเกิดแล้วดับ จิตขณะหนึ่งสั้นมาก เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และดับ แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อจิตเกิดแล้ว เกิดเพื่อทำกิจการงานนั้น เฉพาะหน้าที่นั่นแล้วดับ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่เห็น เป็นจิตเกิดขึ้นทำหน้าที่เห็น ขณะที่ได้ยิน เป็นจิตเกิดขึ้นทำหน้าที่ของจิตได้ยิน เพราะฉะนั้น สภาพธรรมแต่ละอย่างมีกิจหน้าที่ ที่บอกว่า ปฏิบัติ เอาอะไรปฏิบัติ กำลังนี้เห็น ถ้าจะบอกว่า ปฏิบัติธรรม เอาอะไรปฏิบัติ จิตเห็นปฏิบัติอะไรไม่ได้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว จิตได้ยินทำอะไรไม่ได้ นอกจากได้ยินอย่างเดียว จิตได้กลิ่นทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากได้กลิ่น จิตที่รู้สิ่งที่กำลังอ่อนหรือแข็ง ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากรู้อ่อนหรือแข็ง จิตที่คิดนึกคิด เหมือนกัน หมายความว่า จะคิดอะไรก็ได้ แต่คิดเป็นจิตที่คิด ไม่ใช่จิตที่เห็น ไม่ใช่จิตที่ได้ยิน เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า จิตทุกประเภท ทุกขณะ เกิดขึ้นปฏิบัติกิจ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดว่า ขณะนี้ที่เราเห็น เราไม่ปฏิบัติธรรมหรืออะไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้น ขณะที่ปฏิบัติธรรม อะไรปฏิบัติ ต้องมีสภาพธรรมที่ปฏิบัติ เหมือนจิตกำลังปฏิบัติหน้าที่เห็น หน้าที่ได้ยิน เพราะฉะนั้น ถ้าจะมีการปฏิบัติธรรม ต้องรู้ว่า อะไรปฏิบัติ ถ้าตอบไม่ได้ ไม่ใช่ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งคิดว่า เขาปฏิบัติธรรมโดยที่เขาไม่รู้อะไรเลย แล้วอยู่ดีๆ นั่งไปนั่งมา สักครู่เกิดรู้ขึ้นมา เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เพราะว่า ถ้ารู้ ต้องรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ นี้คือปัญญา สิ่งเมื่อกี้นี้ดับหมดแล้ว สิ่งที่จะเกิดข้างหน้าก็ยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น ขณะนี้ของจริง คือ เดี๋ยวนี้เอง ทางตาที่กำลังเห็น จริง ทางหูที่กำลังได้ยิน จริง ทางกายที่กระทบสัมผัส จริง ทางใจที่กำลังคิดนึก จริง ปัญญารู้ความจริง คือ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้จึงเป็นปัญญา แต่ถ้าไม่รู้สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ใครจะบอกว่า เป็นปัญญาก็ไม่ใช่ปัญญา จะเป็นปัญญาได้อย่างไร ในเมื่อไม่รู้สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ปฏิบัติธรรม ถ้าตอบไม่ได้ว่า อะไรปฏิบัติ ไม่ใช่ปฏิบัติธรรม อย่าไปหลงทาง อย่าไปหลงเข้าใจผิดว่า เขาปฏิบัติธรรมกัน
ผู้ฟัง เปลี่ยนคำถามใหม่ คือ การที่ศึกษาธรรม หรือว่าปฏิบัติ สมมติว่า มีศีล คือ ปัจจุบันนี้เรียกว่า การรักษาศีล เพราะถือว่า เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ทราบว่าตรงหรือไม่ หรือว่าการให้ทาน เราทำทานถือว่าได้กุศล หรือเป็นการละกิเลส หรือว่า ทำให้เราพยายามที่จะละพวกความโลภ เราทำทานนี้ถือว่า ได้กุศลส่วนหนึ่ง หรือว่าการที่เราปฏิบัติตามศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีลของพระ ๒๒๗ แต่สิ่งหนึ่งที่สนใจกัน คือ การภาวนา เท่าที่อ่านตำรา การภาวนาจะได้กุศลแรง หรือจะทำให้เกิดสมาธิ หรือทำให้จิตสงบ แล้วจะเกิดความรู้ หรือปัญญาขึ้นมาในสมาธิ อยากทราบตรงนี้ว่า เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี้คือจุดที่ว่า เมื่อไม่ได้ศึกษาพระธรรมโดยตรง และเป็นหนังสือเขียนโดยคนโน้น คนนี้บ้าง แต่ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะให้ความจริงได้ แต่ถ้าเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นเรื่องของความจริงโดยตลอด และเป็นเหตุเป็นผลตั้งแต่ต้นทีเดียว แม้แต่จะใช้คำหนึ่งคำใด ต้องมีสภาพธรรมจริงๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ของธรรมนั้น เคยโกรธใช่ไหม ขณะนั้นเป็นธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นทำกิจของธรรมนั้น คือ สภาพของความเป็นโทสะ จะหยาบกระด้าง จิตใจไม่อ่อนโยนเลย ในขณะนั้นมีแต่ความร้อน หรือความหยาบ ความแข็ง ความกระด้าง เพราะเหตุว่า ลักษณะของสภาพธรรมชนิดนี้มีกิจการงานอย่างนี้ มีลักษณะอย่างนี้ ตรงข้ามกับอโทสะ ความไม่โกรธ หรือความเมตตา ถึงแม้ว่า ใครจะทำอะไรสักเท่าไหร่ เรายังมีเมตตา คือ มีความเข้าใจ มีความเห็นใจ และจิตใจของเราในขณะมีการให้อภัย สบายไม่เดือดร้อน นั้นเป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น สภาพธรรมแต่ละอย่างเกิดขึ้น ทำกิจการงานของสภาพธรรมนั้นๆ ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติกิจของตน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีสภาพธรรมที่กำลังปฏิบัติกิจนั้น จึงจะชื่อว่า ปฏิบัติธรรม ถ้าสภาพธรรมนั้นไม่เกิดปฏิบัติหน้าที่นั้น จะไปบอกว่า เขากำลังปฏิบัติหน้าที่นั้น ไม่ได้ ปัญญานี้ รู้อะไร ปัญญาในพุทธศาสนา ถ้าคนนั้นทำมาหากินเก่ง วาดรูปสวย เย็บปักถักร้อย ทำอาหารอร่อย มีปัญญาหรือเปล่า มีปัญญาไหม ไม่ได้เลย ไม่ได้เลย นี้ไม่ใช่ปัญญาในพระพุทธศาสนา
ผู้ฟัง ………
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ คนไหนเรียนจบปริญญาเอกมา ทำอะไรได้ ก่อสร้างตึกสูงกี่ชั้น สถาปนิกสวยงาม อะไรก็ตามแต่ ไม่ใช่ปัญญาในพระพุทธศาสนาเลย ถ้าปัญญาในพระพุทธศาสนาหมายความว่า รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น จึงจะชื่อว่า ปัญญา เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า อยู่ในโลกมืดเหมือนคนตาบอด ถ้าไม่ได้รับแสงสว่าง คือ พระธรรม ไม่มีทางที่จะรู้จักโลก รู้จักตัวเอง รู้จักทุกอย่างตามความเป็นจริง ต่อเมื่อไหร่ที่เริ่มฟังพระธรรม เมื่อนั้นถึงจะรู้ว่า ขณะนี้เป็นสภาพธรรมอะไร เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจ และสามารถที่จะส่องละเอียดไปจนกระทั่งถึงว่า แม้เพียงขณะจิตขณะเดียวที่เกิดขึ้น มีสภาพธรรมอะไรบ้างที่เกิดร่วมกับจิตนั้น เพราะเหตุว่า เวลาเห็น และคิดนึก คิดดีก็ได้ คิดไม่ดีก็ได้ เพราะฉะนั้น จะเป็นธรรมที่เป็นอกุศลก็ได้ ธรรมที่เป็นกุศลก็ได้ ขณะใดที่เราคิดแล้วเราโกรธ ขณะนั้นเป็นสภาพธรรมประเภทอกุศลธรรม คือ ธรรมที่ไม่ดีงาม ขณะใดที่เราคิดแล้วไม่โกรธ ขณะนั้นเป็นสภาพธรรมประเภทดี เพราะฉะนั้น ไม่มีเรา วันหนึ่งๆ ก็อ่านออกว่า มีสภาพธรรมที่ดีบ้าง มีสภาพธรรมที่ไม่ดีบ้าง และไม่ใช่เรา คนอื่นก็เหมือนกันใช่ไหม เขาอย่างไร เราก็อย่างนั้น โลภะความติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใดของเรา ก็เหมือนกับโลภะความติดข้องของคนอื่น เราชอบอาหารอร่อย คนอื่นก็ชอบอาหารอร่อย เราชอบเสียงเพราะ คนอื่นก็ชอบเสียงเพราะ เราชอบสิ่งที่สวยๆ งามๆ คนอื่นก็ชอบสิ่งที่สวยๆ งามๆ เพราะฉะนั้น เราก็อ่านใจคนอื่นทะลุปุโปร่งเหมือนกันว่า เขาชอบอะไร ทุกคนชอบความสุข ไม่ชอบความทุกข์ แต่ว่า การที่เรามีความสามารถที่จะทำอะไรต่างๆ ไม่ใช่ปัญญา ต้องทราบว่า ต้องแยกออกให้ละเอียดกว่านั้น ที่เคยคิดว่า คนนั้นฉลาด คนนั้นเก่ง ใช้คำนี้ได้ในภาษาไทย ฉลาดก็ได้ เก่งก็ได้ แต่ไม่ใช่ตัวปัญญาจริงๆ ไม่ใช่สภาพธรรมที่เป็นปัญญา ถ้าใครมาหลอกให้หลงปฏิบัติจะปฏิบัติไหม ในเมื่อไม่รู้เลย ไม่รู้อะไรเลย ไปถึงก็นั่งๆ เฉยๆ บอกให้นั่งก็นั่ง เป็นคนที่ไม่มีเหตุผล และถ้าถามคนนั้นว่า ปัญญารู้อะไร คนที่บอกให้นั่ง เขาจะตอบไม่ได้เลย ถ้าตอบได้ว่า ปัญญารู้อะไร เขาก็ไม่ให้เรานั่ง เพราะว่า เดี๋ยวนี้มีสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ กำลังปรากฏ จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน จะพูด จะคิด เป็นธรรมทั้งหมด เมื่อเป็นธรรมทั้งหมด ปัญญาจริงๆ ก็รู้ในลักษณะของธรรมนั้น ซึ่งธรรมเป็นเรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ว่า คนที่ได้สะสมบุญมาแล้ว เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าแล้ว มีความอดทนที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจสิ่งที่มีจริงซึ่งถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงตรัสรู้ เราไม่มีโอกาสที่จะมานั่งพูดเรื่องสภาพธรรม
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์พูด เป็นลักษณะที่ว่า จิตตามการกระทำหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ถ้าใครบอกให้เอาจิตตาม จิตเกิดแล้วดับจะเอาจิตที่ไหนตามอะไร
ผู้ฟัง เหมือนอย่างกับเรากำลังพูด จิตก็ตามทางกริยาที่เรากำลังพูดแล้วเรากำลังถาม เหมือนการกระทำทั้งหลาย คือ จิตต้องตามใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีจิตกับเรา มีแต่จิต
ผู้ฟัง คือ จิตรู้จิต ว่า เรากำลัง……จิตเรารู้ว่า เราเลี้ยว……
ท่านอาจารย์ มีใครบ้างที่ไม่รู้
ผู้ฟัง อย่างบางคน………
ท่านอาจารย์ รู้ทุกคน หยิบอย่างนี้ อย่างนี้ก็รู้ ถูก อย่างนั้นมี คือ การเผลอหรือการหลง แต่ปกติของทุกคน ถ้าถามว่า ทำอะไร เขาบอกได้ เพียงบอกได้ว่า กำลังยกถ้วยแก้ว กำลังหยิบ กำลังจับ
ผู้ฟัง ………
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เร็วไป ง่ายไป ไม่อย่างนั้นใครๆ ก็มีสติทั้งวัน ถามว่า กำลังทำอะไร ก็บอกได้ อย่างนั้นไม่ใช่
ผู้ฟัง แต่ลักษณะอย่างที่ท่านอาจารย์กำลังอธิบายเหมือนเกี่ยวกับว่า อย่างเราเห็น แต่เรายังบอก คือ จิต คือ จิตบอกว่า เห็นใช่ไหม ที่ว่า เห็น ตาเห็นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องบอกก็เห็นหรือเปล่า
ผู้ฟัง เห็น แต่การที่เราจะแยกว่า เป็นหน้า เป็นอะไร คือ จิตหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คิด จิตคิด
ถ. นี้คือความหมายว่า จิตตามหรือไม่ คือ จิตตามการเห็น
ท่านอาจารย์ ไม่ คือ จิตเกิดแล้วดับทันที เพราะฉะนั้น จิตขณะที่เห็นดับ จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นรู้ และจิตขณะต่อไปเกิดขึ้นนึก เพราะฉะนั้น เป็นจิตชั่วขณะเดียวๆ ซึ่งเกิด และทำหน้าที่แล้วดับ เกิดทำหน้าที่แล้วดับ เกิดทำหน้าที่แล้วดับ สืบต่อกันจนกระทั่งเหมือนโลกซึ่งไม่ดับเลย เพราะว่าเร็วมาก จากเห็นมาได้ยิน ใครแยกออก เหมือนพร้อมกัน ใช่ไหม แต่ว่า แสดงให้เห็นว่า จิตที่เห็นดับ แล้วจิตที่ได้ยินก็เกิด แต่ระหว่างจิตเห็น จิตได้ยิน และจิตอื่นเกิดดับอีกหลายขณะเหลือเกิน ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่า จิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไร ไม่มีจิตกับเรา มีแต่จิต และมีความคิด
ผู้ฟัง ขอถามท่านอาจารย์ว่า ธรรมมีสูตรหรือเปล่า เช่น ๑ บวก ๑ เป็น ๒
ท่านอาจารย์ ๑ บวก ๑ เป็น ๓ ไม่ได้ ใช่ไหม หมายความว่า เหตุผลต้องตรง เปลี่ยนไม่ได้ ธรรม คือ สภาพที่ทรงตรัสรู้ไม่ใช่นึกคิด อย่าง ๑ บวก ๑ ยังนึก ใช่ไหม แต่ว่า สภาพธรรมที่เป็นจริง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ลักษณะนั้นซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง เช่น เจตสิก สมมติว่า มีอะไรบวกกับอะไรก็เกิดเป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ วันนี้คงจะต้องพูดถึงคำนี้ คือ เจตสิก ให้ชัดๆ เรื่องจิตไม่ทราบว่าชัดหรือยัง
ผู้ฟัง ยังไม่รู้เรื่อง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่นั่งอยู่ที่นี่ เราไม่ได้มีแต่รูป เรามีใจด้วย เราถึงได้นั่งอยู่ที่นี่ ถ้าเป็นคนตายแล้ว มีแต่รูป ใจไม่มี จึงได้ว่าเป็นคนตาย เพราะว่าคนตายไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึก ใช่ไหม เพราะฉะนั้น อาการคิด อาการนึก อาการสุข อาการทุกข์ อาการเห็น อาการได้ยิน มีจริงๆ และไม่ใช่รูปด้วย ตาไม่เห็น ตาเป็นแต่เพียงทางที่จะทำให้จิตเห็นสิ่งที่ปรากฏเมื่อกระทบตา หรือหู ตัวหูเองไม่ได้ยิน แต่ว่าเป็นทางที่จะทำให้จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นต้องแยกจิตออกจากรูปว่า รูปไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ง่วง ไม่หิว รูปแข็ง รูปอ่อน รูปหวาน รูปเค็ม รูปร้อน พวกนี้เป็นรูป แต่ว่า นามธรรมเป็นสภาพรู้อ่อน รู้ร้อน รู้เย็น รู้หวาน รูปเปรี้ยว นามธรรมมองไม่เห็นเลย แต่หมายความถึงสิ่งที่มีจริง ที่มีรูปร่าง และเราใช้คำว่า จิต เพราะว่า เป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการเห็นบ้าง การได้ยินบ้าง เข้าใจเรื่องจิตแล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ดีมาก คือ ธรรมเป็นเรื่องช้าๆ และเป็นเรื่องละเอียด ควรไปพร้อมๆ กันว่า ให้เข้าใจกันจริงๆ ถ้าไม่เรียกจิต เรียกเห็น มีไหม เห็นมี ถ้าไม่เรียกจิต เรียกปวด เมื่อย มีไหม มี ปวดเมื่อยนี้ร่างกายปวดเมื่อยหรือว่า ร่างกายไม่รู้อะไร และปวดเมื่อยเป็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งอาศัยร่างกายจึงได้ปวดเมื่อย ถ้าไม่มีรูป จะไม่ปวดเมื่อยเลยใช่ไหม แต่รูปแค่อ่อน แค่แข็ง เพราะฉะนั้น ปวดเมื่อยไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่แข็ง ปวดเมื่อยมีจริงไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่แข็ง และปวดนี้เจ็บ เมื่อยก็ไม่สบาย คันก็ไม่สบาย พวกนี้เป็นลักษณะอาการของความไม่สบายกาย เพราะฉะนั้น ถ้ามีกาย จะมีการรู้สิ่งที่กระทบกาย เวลานี้เราไม่รู้ว่า ทั่วทั้งตัวของเรา มีกายปสาทซึมทราบอยู่ทั้งข้างในข้างนอก ถ้ากระทบกับส่วนที่ร้อนจะเกิดความรู้สึกไม่สบายขึ้น แล้วแต่ว่าจะเป็นอาการปวด หรืออาการอะไรก็ตาม เป็นธาตุต่างชนิด ขณะนั้น เป็นสิ่งที่มีจริง เราใช้คำว่า จิต ก็ได้ จิตรู้สิ่งที่กระทบกายแล้วเกิดความปวดขึ้น
ผู้ฟัง ก็เหมือนกับรับรู้
ท่านอาจารย์ จิตเป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ เวลาปวดอย่างนี้เห็นได้ชัดเลย ถ้ากระทบสัมผัสตรงที่ปวด จะอ่อนหรือจะแข็ง ตรงที่ปวดนี้จะมีอ่อนหรือแข็ง แต่ความปวดนั้นไม่ใช่อ่อนหรือไม่ใช่แข็ง แต่อยู่ตรงอ่อนตรงแข็งที่ปวด เพราะฉะนั้น ความปวดไม่ใช่ตรงอ่อนตรงแข็ง อ่อนก็อ่อน แข็งก็แข็ง ปวดก็ปวด ต้องแยกกัน
ผู้ฟัง เช่นเราเห็นเป็นแบบนี้ แต่ไม่รู้ว่า มีแข็งหรือเปล่า ต้องสัมผัส
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ต้องสัมผัส เพราะฉะนั้น ขณะที่รู้แข็ง ขณะนั้น สภาพรู้แข็ง มี ถึงบอกได้ว่า แข็ง อาการรู้นั่น คือ จิต ต้องแยกร่างกายออกจากจิตใจ เป็นจิตที่รู้ รู้สารพัด รู้ไปหมด จิตนี้รู้ทุกอย่าง
ผู้ฟัง แล้วเจตสิก
ท่านอาจารย์ เอาจิตก่อน มีใครบ้างที่ยังสงสัยเรื่องจิตอยู่ หรือยังไม่แน่ใจเรื่องจิต
ผู้ฟัง …… ตาม
ท่านอาจารย์ ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องใช้คำว่า ตาม ตามอะไร
ผู้ฟัง คือว่า ที่ว่า จิตตาม บางคนพูดกันหมายความว่า เรารู้ ตามจับนี้ จิตประมาณนี้ จับก็แข็ง หมายความว่า จิต จิตมัน
ท่านอาจารย์ จิตรู้
ผู้ฟัง จิตรู้ เหมือนกับว่า จิตต้องอยู่กับสิ่งเหล่านั้นตลอด นี้คือ ทำให้เกิดสติหรือไม่
ท่านอาจารย์ ยัง ยัง อย่าเพิ่งไปไกลถึงสติเลยเพราะว่า สติ จำไว้ได้อย่างหนึ่งว่า สติ จริงๆ แล้วเป็นสภาพธรรมที่ดีงามเป็นกุศล เพราะฉะนั้น เวลาสติเกิด จะเป็นไปในทาน มีการระลึกที่จะให้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น ไม่ใช่เห็นแก่ตัวหรืออยากจะได้ เพราะว่า วันหนึ่งๆ ทุกคนคิดแต่จะเอา วันนี้จะทำอะไรบ้าง จะซื้ออะไร จะรับประทานอะไร จะหาอะไรสำหรับตัวเอง นั้นคือ โลภะ ความติดข้อง ใช่ไหม แต่สติจะมีลักษณะที่ระลึก ที่จะเป็นไปในกุศลทุกประเภท เช่น ในทาน