ปกิณณกธรรม ตอนที่ 182
ตอนที่ ๑๘๒
สนทนาธรรม ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๙
ท่านอาจารย์ ถ้าชาตินี้ยังมีปัจจัยที่จะให้เกิดต่อไปในชาติหน้า หลังจากปฏิสนธิเกิดต่อจากจุติจิตของชาตินี้แล้ว ก็ไปถึงจุติจิตของชาติหน้าอีก ก็เป็นปฏิสนธิ จุติ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจิตขณะสุดท้ายคือจุติจิตของพระอรหันต์
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น จะไม่แย้งกับเรื่องของมรรคว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หมายความว่า เมื่อรู้แล้วจึงมีความเห็นชอบเกิดขึ้น หรือว่ารู้แล้วไม่เกิด หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลาที่เกิดความเห็นถูกขึ้นขณะหนึ่งๆ ให้ทราบว่าขณะนั้นละความผิดด้วย ไม่ใช่มีแต่ความเห็นถูกอย่างเดียว แต่หมายความว่าหน้าที่ของปัญญาคือความเห็นถูกนั้นละความเห็นผิด เพราะฉะนั้น เมื่ออบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งถึงความสมบูรณ์ที่จะเป็นพระอริยบุคคล โสดาปัตติมรรคจิตเกิดก็ดับความเป็นผิด ซึ่งเป็นทิฏฐิเจตสิก ความเห็นผิด ไม่เกิดอีกเลย เป็นสมุจเฉท เป็นพระอริยบุคคล แล้วเมื่ออบรมเจริญปัญญาต่อๆ ไปก็ดับกิเลสไปตามลำดับขั้นจนถึงอรหัตตมรรค ก็ดับกิเลสหมด
ผู้ฟัง เอาความจริง อย่างที่ปรากฏทางตา โมหะมันเกิดอย่างไร ที่ว่าเป็นสภาพรู้เป็นอย่างไร แล้วถ้าจะดับเหตุ พิจารณาอย่างไร อะไร อย่างนี้
ท่านอาจารย์ จะดับเหตุเดี๋ยวนี้ก็คงยาก แม้แต่การที่จะให้ปัญญาเกิดที่จะรู้สภาพธรรมในขณะนี้ก็ยาก แต่เราสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ก็ขออยากเชิญตัวแทน หรือใครที่อาสาที่จะทบทวนเรื่องนี้ เพราะเรื่องของเหตุ บางคนบอกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ว่าจริงๆ แล้วไม่ยาก ขอให้เราเพียงแต่แม่นยำ แล้วก็มั่นคง เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหมดจะไม่เปลี่ยน ธรรมสภาพหนึ่งเป็นอย่างไร ก็จะเป็นอย่างนั้น จะไม่เปลี่ยนแปลงเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ แล้วไม่ลืม ก็จะทำให้ศึกษาพระธรรมได้โดยไม่สับสน โดยตลอดด้วย ขอเชิญคุณวีระ เพราะว่าอยากจะทบทวน สำหรับผู้ฟังที่อาจจะมาใหม่ หรือมาได้ไม่กี่ครั้ง เรากำลังพูดถึงสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ๔ มีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ปรมัตถธรรม ๔ นี้ โดยหลักง่ายๆ คือ มีรูป คือ สิ่งที่ไม่รู้อะไร กับอีกส่วนก็คือมีนาม คือ สิ่งที่เป็นสภาพรู้ ได้แก่ จิตคือเป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เจตสิกก็เป็นสภาพรู้อีกเหมือนกัน เป็นส่วนที่เกิดร่วมกับจิต สภาพรู้อย่างที่เราทราบ เกิดที่เดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต ในเจตสิกนี้มีหลายเจตสิก เจตสิกแต่ละเจตสิกก็ทำหน้าที่ มีกิจเฉพาะของเขา ในจิต๑ ดวง ที่เรียกกัน ก็สามารถที่จะมีเจตสิกได้หลายๆ ดวง เจตสิกที่เกิดโดยทั่วไปกับจิต ๑ ดวง จะต้องมีเจตสิก ๗ ดวงเป็นสำคัญ อันนี้ก็เป็นหลักที่จะจำ ได้ ๓ อันแล้วที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราในประจำวัน ส่วนปรมัตถธรรมอีก ๑ คือนิพพาน ซึ่งเป็นสภาพนามธรรมที่มีความละเอียดมาก เพราะฉะนั้น เราควรจะศึกษาเรื่องจิต เจตสิก รูปนี้เสียก่อนที่จะไปรู้เรื่องนิพพาน
ท่านอาจารย์ คุณประภัสสรช่วยตอบด้วยได้ไหม ในปรมัตถธรรม ๔ ซึ่งได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถธรรมใดเป็นเหตุ หรือ เห-ตุ
ผู้ฟัง ปรมัตถธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นเหตุ
ท่านอาจารย์ เฉพาะเจตสิกเท่านั้นที่เป็นเหตุได้ มีกี่เหตุทั้งหมด
ผู้ฟัง ทั้งหมดมี ๖ เหตุด้วยกัน
ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิกทั้ง ๖ เหตุ หรือว่าเป็นจิตบ้าง เป็นรูปบ้าง เป็นนิพพานบ้าง
ผู้ฟัง เป็นจิตเจตสิกทั้ง ๖
ท่านอาจารย์ นี่คือต้องยืนยัน ไม่ว่าใครจะถามว่าอย่างไรก็ตาม ให้ทราบว่าปรมัตถธรรม ที่เป็นเหตุ ได้แก่เจตสิกเท่านั้น และเป็นเจตสิก ๖ ดวง เพราะฉะนั้น เจตสิกอื่นจะเป็นเหตุไม่ได้เลย
ผู้ฟัง เรียกว่า นเหตุ
ท่านอาจารย์ เรื่องว่า นเหตุ เพราะว่าปรมัตถธรรม เวลานี้เรากำลังพูดแยกโดยเหตุ ปรมัตถธรรมมี ๔ จริง เราจำแนกได้โดยหลายนัย แต่วันนี้จะแยกเฉพาะโดยเหตุอย่างเดียว ซึ่งต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง แล้วก็ไม่หลงด้วย คือ ปรมัตถธรรม มี ๔ จริง แต่ปรมัตถธรรม ที่เป็นเหตุได้แก่เจตสิก ๖ ดวงเท่านั้น เพราะฉะนั้น อะไรเป็นนเหตุบ้าง คุณวรรณี
ผู้ฟัง รูปเป็น นเหตุ
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง นิพพาน
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง เจตสิกที่เหลืออีก ๔๖
ท่านอาจารย์ เจตสิกที่เหลือ เอาออกเสีย ๖ เหลือ ๔๖ แล้วอะไรอีก
ถูกต้อง มีผู้ตอบจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ แสดงให้เห็นว่า เมื่อเจตสิก ๖ เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหมดที่เหลือที่เป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เหตุ จึงเป็น นเหตุ ก็ได้แก่จิตทุกดวง เจตสิก ๔๖ เว้น ๖ แล้วก็รูปทั้งหมด เป็นนเหตุ นิพพานเป็นเหตุ หรือ นเหตุ
ผู้ฟัง นิพพานเป็น นเหตุ
ท่านอาจารย์ สบายมากใช่ไหม ตั้งต้นให้แม่นยำ แล้วจะได้ไม่ลืม มาถึงคำว่า อเหตุกะ กับ สเหตุกะ สเหตุกะ หมายความถึง สภาพธรรมใดก็ตามที่มีเจตสิก ๖ ดวง ๑ ใน ๖ หรือ ๒ หรือ ๓ ก็ได้เกิดร่วมด้วย สภาพธรรมนั้นชื่อว่า สเหตุกะ สภาพธรรมใดก็ตามที่ไม่มีเจตสิก ๖ ดวงเกิดร่วมด้วยเลย สภาพธรรมนั้นเป็น อเหตุกะ เจตสิกที่เป็นอเหตุกะมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เจตสิกที่เป็น อเหตุกะ มี เจตสิกที่เป็น สเหตุกะ มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี เพราะเหตุว่าเจตสิกที่เกิดร่วมดับเหตุก็มี เจตสิกที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุก็มี แต่อันนี้เรายังไปไม่ถึงใช่ไหม
ผู้ฟัง รู้สึกอาจจะผ่านมาแล้วแต่ว่า ไม่ทราบว่ายังจำกันได้หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ฟังดูเหมือนไม่ค่อยสนุก แต่ว่าตามความเป็นจริงทำให้เราเข้าใจแล้วไม่ลืม จิตใดที่ไม่เกิดร่วมด้วยกับเหตุ จิตนั้นเป็นอเหตุกจิต เพราะฉะนั้น เจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมกับอเหตุกจิต ก็เป็นอเหตุกเจตสิกด้วย หมายความว่าทั้งจิต และเจตสิก สภาพธรรมใดไม่ได้บอกแต่เฉพาะจิตอย่างเดียว แต่ว่าขณะใดที่จิตเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทั้งนั้น ทุกขณะไป จะมีจิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดไม่มีเลย
ขณะใดที่จิต ไม่มีเจตสิก ๖ ดวงนี้เกิดร่วมด้วย เจตสิกอื่นๆ ที่เกิดกับจิตนั้น ก็ย่อมไม่มีแจตสิก ๖ ดวงนี้เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ทั้งจิต และเจตสิกไม่ใช่จิตอย่างเดียว จิต และเจตสิกเป็นอเหตุกะ จิตเห็น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ดวงเท่านั้น เพราะฉะนั้น จิตเห็นเป็น อเหตุกะ หรือ สเหตุกะ คุณทศพร
ผู้ฟัง เป็นอเหตุกจิต
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเป็นเจตสิกที่ไม่ใช่เหตุเกิดร่วมด้วย ถ้าจิตใดมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นบางทีเรียกชื่อได้ตามเหตุ เช่น จิตใดมีโลภเจตสิก เกิดร่วมด้วยชื่อว่า โลภมูลจิต จิตใดมีโทสเจตสิก เกิดร่วมด้วยชื่อว่า โทสมูลจิต จิตใดมีแต่โมหเจตสิกอย่างเดียว ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะเกิดร่วมด้วยจิตนั้นเป็นโมหมูลจิต นี่เป็นฝ่ายอกุศล อกุศลจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีไหม คุณวรรณี
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี ถ้าไม่มีอกุศลเหตุเกิดร่วมด้วย จิตนั้นจะเป็นอกุศลจิตไม่ได้ ต้องมีอกุศลเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเหตุมี ๖ เป็นอกุศลเหตุ ๓ เป็นโสภณเหตุ ๓
ผู้ฟัง จิต เจตสิกใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วก็ดับ
ผู้ฟัง เกิดแล้วก็ดับ ทีนี้เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต ๗ ดวงนั้น กับเจตสิกที่เกิดกับจิตมากกว่า ๗ ดวงนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะความต่างกันของสภาพธรรม หรือธาตุ ธาตุที่เป็นรูปไม่ใช่มีธาตุเดียว มีหลายธาตุ ใช่ไหม ฉันใด นามธาตุก็ไม่ได้มีชนิดเดียว หรือประเภทเดียว นามธาตุก็มีหลายธาตุฉันนั้น เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นแต่ละธาตุซึ่งเป็นจิต ก็จะต้องประกอบด้วยธาตุซึ่งประกอบด้วยเจตสิก ตามสมควรแก่ลักษณะของจิตประเภทนั้นๆ เพราะตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อสภาพธรรมไม่ใช่ตัวตน จะใช้คำว่า “ธรรม” หรือจะใช้คำว่า “ธาตุ” ก็ได้ เพราะฉะนั้น เจตสิกก็เป็นแต่ละธาตุด้วย
เมื่อนามธาตุชนิดนี้ ต่างกับนามธาตุชนิดอื่น เพราะเจตสิกซึ่งเป็นนามธาตุที่เกิดร่วมกันต่างกัน ตามประเภทของธาตุนั้นๆ ในทางธรรมไม่มีที่จะถามว่า ทำไม เพราะว่าไม่มีใครทำ ไม่มีใครทำจึงไม่มี “ทำไม” แต่ว่าสภาพธรรมเป็นอย่างไรก็รู้ตามเป็นจริงอย่างนั้น ซึ่งเป็นนามธาตุ ถ้าใช้คำว่า “นามธาตุ” ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครปรุงแต่ง เมื่อใช้คำว่า “รูปธาตุ” ก็ไม่มีใครทำไม่มีใครสร้าง แต่เมื่อธาตุนั้นๆ เป็นอย่างไร ก็ศึกษาเพื่อที่จะให้เข้าใจธาตุนั้นๆ ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ขอเรียนถามคุณกิมรส ว่า วิญญาณขันธ์ เป็นเหตุ หรือ นเหตุ
ตอบ วิญญาณขันธ์เป็น นเหตุ
ท่านอาจารย์ เป็น นเหตุ เหตุ ๖ เป็นขันธ์อะไร
ตอบ เป็นสังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ เหตุ ๖ เป็นสังขารขันธ์ ใช่ไหม
อ. สมพร เหตุ ๖ คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เมื่อจัดเป็นขันธ์ก็เรียกว่าสังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ เป็น อพยากตเหตุ หรือไม่
ตอบ ไม่ เป็นอกุศลเหตุ
กฤษณา เพราะอะไรถึงไม่เป็นอพยากตเหตุ
ตอบ เพราะไม่เกิดกับวิบากจิต และกิริยาจิต
กฤษณา ถูกใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นอกุศลเหตุ ถ้าเป็นอกุศลเหตุแล้วจะไม่เกิดกับจิตชาติอื่นเลย ต้องเกิดกับอกุศลจิตอย่างเดียว
กฤษณา อโมหเหตุเป็นชาติ อะไร
คุณวลัยพรบอกว่าเป็นกุศลชาติ แล้วคุณวรรณี คิดว่าถูกไหม
ผู้ฟัง เป็นปัญญาก็เป็นกุศล
กฤษณา นอกจากกุศลชาติแล้วเป็นชาติอื่นอีกไหม ขอเรียนเชิญอาจารย์เฉลยปัญหา
ท่านอาจารย์ มีท่านหนึ่งตอบแล้วว่าเป็นโสภณะ เพราะฉะนั้น เป็นวิบากก็ได้ กิริยาก็ได้ กุศลก็ได้ เพราะว่าเป็นโสภณะ
ผู้ฟัง ตกลงว่า ๓ ชาติ
ท่านอาจารย์ หลงไม่ได้ ลืมไม่ได้ ศึกษาธรรม ต้องจำ เข้าใจ แล้วละเอียด
ผู้ฟัง ธรรมชาติที่ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นเหตุ หรือเป็น นเหตุ
ตอบ นเหตุ เพราะว่าเป็นโมหะ หรือ ว่าเป็น อวิชชา
ผู้ฟัง เป็นโมหเหตุ โมหเหตุเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา ได้หรือไม่
ตอบ ได้
ผู้ฟัง ได้ แล้วโมหเหตุเกิดพร้อมกับทุกขเวทนา โดยนัยของ เวทนา ๕ ได้ไหม
ตอบ ไม่ได้
ผู้ฟัง ไม่ได้ ทำไมถึงได้ ทำไมถึงไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบมีใครจะตอบก่อนไหม คำตอบถูกแล้ว แต่ไม่ทราบมีใครจะอธิบายไหมว่าทำไมไม่ได้ โดยนัยของเวทนา ๕ แยกกายกับใจ พูดถึงทุกขเวทนาแล้ว หมายความถึงทุกขกายวิญญาณซึ่งเป็นวิบากจิต เพราะฉะนั้น จะเกิดร่วมด้วยไม่ได้
กฤษณา โสภณเหตุประกอบกับจิตในภูมิใดได้บ้าง
ผู้ฟัง กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ
กฤษณา โลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต เป็นจิตที่มีเหตุประกอบกี่เหตุ
ผู้ฟัง ๒ เหตุ ใช่ไหม คือ โมหะกับโลภะ
กฤษณา ข้อต่อไปถามว่า โมหเจตสิกที่ประกอบในโมหมูลจิต เป็นสเหตุกะ หรืออเหตุกะ
ผู้ฟัง เป็นอเหตุกะ เพราะว่าไม่นับตัวเอง ตัวเองเป็นเหตุอยู่แล้ว
กฤษณา อาจารย์กรุณาย้ำอีกทีได้ไหม อธิบาย
ท่านอาจารย์ เพราะว่าโมหมูลจิตมีเหตุ คือ โมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียงเหตุเดียว จึงไม่ใช่โลภมูลจิต ไม่ใช่ โทสมูลจิต เพราะฉะนั้น เมื่อโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับจิตนั้น ทำให้จิตนั้นเป็นโมหมูลจิต แต่ไม่มีเหตุอื่นเกิดร่วมด้วย คือ ไม่มีโลภเหตุ หรือโทสเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น เจตสิกอื่นๆ ที่เกิดกับโมหะ เจตสิกอื่นๆ และจิตเป็นเอกเหตุกะ หมายความว่า มีเหตุเกิดร่วมด้วย แต่อย่างไรๆ ก็ต้องเป็นสเหตุกะ
ผู้ฟัง โมหเจตสิกเองเป็นอเหตุกะ
ท่านอาจารย์ แต่เฉพาะโมหเจตสิกเท่านั้น ที่ไม่มีเหตุอื่นเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น เจตสิกอื่นเป็นสเหตุกะ แต่โมหเจตสิกในจิตนั้นเป็นอเหตุกะ
กฤษณา จิตอะไร คือหมายถึงจิตประเภทใด เป็นเอกเหตุกจิต คือหมายถึง จิตที่มีเหตุประกอบเหตุเดียว
ผู้ฟัง จิตใช่ไหม
กฤษณา จิต
ผู้ฟัง โมหมูลจิต
กฤษณา โมหมูลจิต เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่ามีโมหเจตสิกประกอบเพียงเหตุเดียว
กฤษณา อเหตุกจิต เป็นจิตภูมิใด
ผู้ฟัง กามาวจรภูมิ
กฤษณา กามาวจรภูมิ อ. สมพรกรุณาอธิบายเกี่ยวกับภูมิของ อเหตุกจิต
อ. สมพร อเหตุกจิต แปลว่า จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ กามาวจรภูมิก็มี เช่น จักขุวิญญาณ ในรูปาวจรภูมิ นอกจากว่าเป็นพรหม เช่นว่าเป็นพรหม มีจักขุวิญญาณ ซึ่งเป็นอเหตุกจิตด้วย
ภูมิ ถ้ากล่าวถึงภพ ที่เกิดของจิต ที่เกิดของสัตว์ในกามภูมิ ที่เกิดของสัตว์ในรูปภูมิ อรูปภูมิ ก็ต้องมีด้วย มี เว้นแต่อรูปาวจรภูมิบางอย่าง บางอย่างไม่มีจักขุวิญญาณ ไม่มีโสตวิญญาณ ไม่มีฆานวิญญาณ แต่มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นอเหตุกจิต ยังมีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้คงเว้นโลกุตตระ โลกุตตรภูมิไม่มี ในกามภูมิของเราเห็นง่าย เช่นในจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็น อเหตุกจิต
กฤษณา เพราะฉะนั้น อเหตุกจิตเป็นจิตในกามาวจรภูมิ
ข้อต่อไปมีคำถามเรียนถามว่า เหตุอะไรบ้างในเหตุ ๖ ที่ไม่ประกอบกับปฏิฆสัมปยุตตจิต ปฏิฆสัมปยุตจิตเคยสนทนาผ่านมาแล้ว
ตอบ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ แล้วก็ โลภะ
กฤษณา โลภเหตุ ขอท่านอาจารย์ช่วยเฉลย
ท่านอาจารย์ ก็ถูกต้อง เพราะเหตุว่าปฏิฆสัมปยุตตจิต ได้แก่ โทสมูลจิต ๒ ดวง ซึ่งจะต้องมีโมหเหตุกับโทสเหตุเท่านั้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องฝ่ายโสภณเหตุไม่เกิดร่วมด้วยกับอกุศลจิต อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหะ ได้แก่ปัญญาไม่เกิดร่วมด้วย พร้อมกันนั้นก็ไม่มีโลภเจตสิก ซึ่งเป็นโลภเหตุเกิดด้วย เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นโทสมูลจิต
ในอรูปพรหมภูมิ มีกามาวจรจิตไหม
อ. สมพร กามาวจรจิตต้องมีแน่ เพราะว่าพวกกิเลสที่ยังละไม่ได้ แต่ถ้ากามาวจรจิตยังประกอบด้วยเหตุอยู่ มีโลภเหตุ แต่เว้นโทสะ โลภะกับโมหะมีได้ โทสะไม่มีในอรูปาวจรภูมิ โทสะถูกระงับไว้ ไม่เกิดขึ้น แต่ว่ากามาวจรจิตอีกพวกหนึ่งซึ่งเป็น อเหตุกะ ก็เกิดได้ในอรูป ลองพิจาณาดูว่าอะไรในอเหตุกจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เป็นกามาวจรจิตเปรียบเหมือนช้างใหญ่ จิตดวงนี้ มหาคช ช้างใหญ่เป็นจิตดวงหนึ่งที่เกิดได้ทุกภพภูมิ ท่านว่าอย่างนั้น มโนทวาราวัชชนจิต จิตดวงนี้เปรียบอุปมาด้วยสัพพัญญุตญาณ เปรียบเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่สัพพัญญุตญาณเกิดได้
ผู้ฟัง อเหตุกจิต หมายถึง จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ นั่นเราเข้าใจกันแบบง่ายๆ ว่า ไม่มีทั้งกุศล และอกุศล
ท่านอาจารย์ ต้องพูดถึงเหตุ หมายความ่ว่าไม่มีเหตุ ๖ ให้ชัดลงไป
ผู้ฟัง เมื่อไม่มีเหตุ ๖ เข้าใจว่า เป็นกามาวจรจิตหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คือเอาประเด็นนี้ก่อนว่า อเหตุกจิตเป็นกามาวจรจิตหรือเปล่า เพราะอะไร คือทำไมจึงเป็นกามาวจรจิต
ผู้ฟัง ทำไมถึงเป็นกามาวจรจิต
ท่านอาจารย์ ต้องทราบก่อนว่า กามได้แก่อะไร กามที่เป็นอารมณ์ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อเหตุกจิต ๑๐ ดวงแล้ว ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
นอกจากนั้นจิตอื่นๆ ก็เนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นกามาวจรจิต
ผู้ฟัง เพราะว่าเกิดในกามภูมิ ถึงต้องเป็นกามาวจรจิต
ท่านอาจารย์ เพราะมีรูป เสียง กลิ่น รส ไม่ว่าจะไปเกิดบนรูปพรหมภูมิ จักขุวิญญาณของรูปพรหมบุคคล มี แต่จักขุวิญญาณเป็นกามาวจรจิต
จักขุวิญญาณของรูปพรหมไม่ใช่เป็นรูปาวจรจิต แต่ว่าโดยระดับภูมิของจิตแล้ว จิตเห็น ไม่ว่าจะเป็นจิตเห็นของมนุษย์ ของสัตว์ในอบายภูมิ สัตว์เดรัจฉาน นรก เปรต อสุรกาย หรือเป็นเทพ หรือเป็นพรหม จักขุวิญญาณต้องเป็นกามาวจรจิต เพราะเหตุว่ามีสีเป็นอารมณ์ โสตวิญญาณก็เป็นกามาวจรจิต เพราะว่ามีเสียงเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง คิดว่าคงเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วว่า ทำไมพรหมจึงเป็นกามาวจรจิต
ท่านอาจารย์ รูปพรหมภูมิยังมีการเห็น เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณของรูปพรหมบุคคล จักขุวิญญาณนั้นไม่เปลี่ยน เป็นกามาวจรจิต จิตเป็นภูมิใดก็เป็นภูมินั้น ใครจะไปเปลี่ยนภูมิหรือเปลี่ยนชาติของจิตไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ขอเรียนอ. สมพรได้กล่าวถึงจิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ
อ. สมพร จิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ เช่น โลภมูลจิต จิตมีเหตุคือเจตสิก ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ ๑ โมหเหตุ ๑ ประกอบกับจิต มี ๒ เหตุ แล้วก็โทสมูลจิต ๒ ดวง จิตมีเจตสิกซึ่งเป็นเหตุ ๒ เกิดร่วมกับจิต คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ มี ๒ ดวง เป็นอย่างนี้