ปกิณณกธรรม ตอนที่ 216
ตอนที่ ๒๑๖
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ แต่ว่าเวลาที่สภาพธรรมปรากฏแล้วเยื่อใย อันนี้เยื่อใยในอะไรบ้าง ในรูป แม้ร้อนไม่มีอะไรปรากฏเลยทั้งสิ้น นอกจากร้อนปรากฏ มันก็ยังเป็นเรา นี่คือเยื่อใยของรูปเป็นตน
ผู้ฟัง ที่รู้อย่างนี้ใช่ไหม จึงต้องใช้คำว่าปริญญา ญาตปริญญา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ถ้าไม่ใช่นามรูปปริจเฉทญาณ จะเป็นญาตปริญญาไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่คิด เป็นวิปัสสนาญาณที่ประจักษ์ การประจักษ์นั้น คือญาตปริญญา ตัวนามรูปปริจเฉทญาณ ตัวปัญญาอันนั้น และที่ประจักษ์ เป็นญาตปริญญา เพราะเป็นการรู้ลักษณะแท้จริงของสภาพธรรมนั้น รอบรู้ในความเป็นธาตุนั้นๆ ในสภาพนั้นๆ
ผู้ฟัง พูดถึงคำว่า วิปัสสนาญาณ หมายความว่า เป็นการพูดถึงความสมบูรณ์ แต่ว่ายังไม่ใช่เป็นความรอบรู้
ท่านอาจารย์ คุณศุกลคิดถึงรอบรู้ในลักษณะไหน
ผู้ฟัง รอบรู้ในขณะที่ลักษณะเขา
ท่านอาจารย์ เวลาที่นามรูปปรากฏกับปัญญาที่ประจักษ์ นั่นคือรอบรู้ ไม่ใช่ไปนั่งรู้เรื่องราวว่า มันมาจากไหน เพราะฉะนั้น ขณะนั้นที่มีการประจักษ์ คือรอบรู้ลักษณะของธาตุนั้นเลย จึงเป็น ญาตปริญญา
ผู้ฟัง พ้นจากวิปัสสนาญาณ
ท่านอาจารย์ นามรูปปริจเฉทญาณเป็นญาตปริญญา แล้วเขาจะมีบอกเลยว่า ระหว่างไหนถึงไหนเป็นญาตปริญญา ไหนถึงไหนเป็นตีรณปริญญา ไหนถึงไหนเป็น เป็นปหานปริญญา ต้องเป็นวิปัสสนญาณทั้งหมด
ผู้ฟัง เพราะว่าเวลาที่ฟังคำอธิบาย บอกว่า สติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณ แล้วก็ปริญญา
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะว่าถ้าไม่ใช่นามรูปปริจเฉทญาณ จะเอาปริญญามาจากไหน
ผู้ฟัง นี้เราตัดเรื่องสติปัฏฐานออกไป หมายความว่าเป็นวิปัสสนาญาณ
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณนี้เป็นญาตปริญญา ไม่ใช่ตีรณปริญญา ไม่ใช่ปหานปริญญา แต่ถ้าไม่ถึงญาณนี้จะไม่มีญาตปริญญาเลย เพราะไม่ประจักษ์แล้วจะไปรอบรู้ในความเป็นธาตุได้อย่างไร รู้รอบ คือรู้จริงๆ ไม่ใช่ไปนั่งคิด
ผู้ฟัง หมายความว่าจากการศึกษาที่อธิบาย เขาพูดกันทั้งหมดที่พูดกัน ที่พูดเพราะการศึกษา ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่พูด แต่พอพูดไปถึงตรงนั้นแล้ว ตอนหลังมาเน้นในเรื่องปริญญา ๓ พอพูดถึงปริญญา ๓ มาแบ่งซอย ในเรื่องของวิปัสสนาญาณ ๑๖
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ ตั้งต้นที่ไหน จริงๆ นั่นก็คือสติปัฏฐาน แล้วก็นามรูปปริจเฉทญาณเป็นญาตปริญญา ขณะนั้นจะไม่มีความสงสัย เมื่อไม่มีความสงสัย เพราะประจักษ์ลักษณะของสภาพที่กำลังปรากฏเท่านั้นในขณะนั้น แล้วแต่ว่าอะไรจะปรากฏ จะเป็นเวทนาที่กาย ทุกขเวทนาก็ได้ จะเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้นหมดทุกอย่าง ลักษณะนั้นปรากฏ เมื่อปรากฏเป็นด้วยวิปัสสนาญาณ จึงเป็นญาตปริญญา ต้องฟังตรงนี้ก่อน แค่ตรงนี้ก่อน ว่าตรงนี้เป็นญาตปริญญา เพราะประจักษ์จึงใช้คำว่า รู้รอบทั้งหมดของสิ่งนั้น เพราะประจักษ์แล้ว เป็นญาตปริญญา วิปัสสนาญาณดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ ดับ สัญญาจำหรือเปล่า
ผู้ฟัง จำ
ท่านอาจารย์ สัญญาจำอะไร อนัตตสัญญาเริ่มเกิด ไม่ใช่จะไม่มีอนัตตสัญญา ก่อนนั้นอัตตสัญญาทั้งหมด แต่ว่าเมื่อประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมสัญญาที่จำ จำความเป็นอนัตตา อนัตตสัญญา แต่ว่าวิปัสสนาญาณนี้ เป็นวิปัสสนาญาณแรก ไม่เคยเกิดขึ้นที่จะประจักษ์ลักษณะของมโนทวาร ในลักษณะที่ไม่มีอะไรเลย แม้แต่ทางรูปที่ปรากฏก็สั้นแสนสั้น เพราะว่าจะเห็นความต่าง ทางมโนทวารปรากฏตลอด แล้วก็มีรูปปรากฏได้ ซึ่งต้องผ่านวาระของปัญจทวาร แต่ขณะนั้นจะมีแต่เพียงลักษณะของรูปกับนามที่ปรากฏ ที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ในขณะนั้น ปริญญา ไม่ใช่คำที่เรียนมาจากตัวหนังสือ วิปัสสนาญาณก็ไม่ใช่ชื่อที่อ่านมาหรือศึกษามาแล้วก็รู้ว่า เมื่อวิปัสสนาญาณดับ สัญญาของอนัตตสัญญา ของความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมเริ่มเกิด ต่างกับที่เราไปคิดว่า ขณะนี้เป็นอนัตตสัญญา มันเป็นอนัตตสัญญาได้อย่างไร ในเมื่อลักษณะของอนัตตา ของความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ปรากฏชั่วคราวที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ แต่เริ่ม เหมือนกับเริ่มของแสงไฟ ต่อไปที่จะสว่างขึ้น โชติช่วงขึ้น หรือว่ารู้ขึ้นว่า อนัตตสัญญาจะไม่มีวันลืมลักษณะของนามรูปปริจเฉทญาณ ลักษณะของอนัตตสัญญา หลังจากนั้นก็คือปกติธรรมดาเหมือนเดิม เหมือนเดิมซึ่งผู้นั้นรู้ว่า แค่นี้ดับสักกายทิฏฐิไม่ได้เลย เพียงแค่นี้ดับไม่ได้ แต่วิปัสสนาญาณเป็นวิปัสสนาญาณ จะไปบอกว่า นี่เรารู้เรื่องนามรูปแล้ว ท่านแสดงไว้ว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เป็นนามรูปปริจเฉทญาณไม่ได้ ปัญญาของใครที่ทรงแสดง แล้วปัญญาของคนนั้นประจักษ์หรือเปล่า ถ้าไม่ประจักษ์จะบอกว่ารู้แล้ว จะต้องมานั่งรู้นามรูปกันทำไม ต้องไปพิจารณาเกิดดับ เพราะว่านี่รู้แล้ว นั่นไม่ได้รู้แล้ว แม้แต่สติปัฏฐานก็ยังไม่ใช่รู้แล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อนามรูปปริจเฉทญาณดับ ความรู้ที่มีจากการได้ประจักษ์ เวลาที่สติปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรมต่อไปแล้ว ปัญญาจะต่างกับตอนที่นามรูปปริจเฉทญาณ เกิดไหม
ผู้ฟัง ปัญญาต้องต่าง
ท่านอาจารย์ ต้องต่าง นั่นคือญาตปริญญาไปถึงญาณขั้นต่อไป แต่ยังไม่ถึงตีรณปริญญา ตีรณปริญญาจะเริ่มสัมมสนญาณ แล้วจากนั้นไปก็ตีรณปริญญา จนกระทั่งถึงภังคญาณ ก็เริ่มปหานปริญญา เพราะฉะนั้น ทุกญาณก็จะมีบอกไว้ ระดับของความรู้ขั้นไหน ยังไม่ถึงขั้นไหน เป็นญาตปริญญาจริง เป็นปัจจยปริคคหญาณจริง แต่ยังไม่ถึงตีรณปริญญา ถ้าไม่ถึงสัมมสนญาณ
ผู้ฟัง ความเห็นผิดต่างๆ ที่มีมาแต่ต้น เริ่มคลายตั้งแต่ตอนที่เป็นญาตปริญญา แล้วใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ลองคิดดู สิ่งที่ไม่เคยรู้ไม่เคยประจักษ์กับเริ่มประจักษ์
ผู้ฟัง รู้ว่าทุกอย่าง มันเป็นการเริ่มต้นที่ถูกทาง
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ปัญญาระดับจินตมยญาณ สุตตมยญาณ หรือว่าระดับของสติปัฏฐานที่เพิ่งเริ่มที่จะเจริญ แต่ต้องถึงระดับซึ่งสามารถประจักษ์แจ้ง โดยความเป็นอนัตตา เลือกไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร เลือกไม่ได้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมอย่างนี้ แต่แทงตลอดคือปรากฏทางมโนทวาร แต่ต้องมีเหตุ อยู่ดีๆ ไม่รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความรู้ที่ค่อยๆ สะสม ผู้นั้นจะรู้ได้เลยว่าสามารถประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมได้ แต่เพียงขั้นของญาตปริญญา หรือว่านามรูปปริจเฉทญาณ เพราะว่าแม้สภาพธรรมเกิดดับก็จริง แต่การที่จะคลายความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่อบรมต่อไป ก็ไม่มีการที่จะประจักษ์การเกิดดับได้ เพราะว่าแม้สภาพธรรมที่ปรากฏกับนามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้วดับ แต่ปัญญาไม่ถึงการที่จะน้อมไปสู่การที่จะรู้ลักษณะที่เกิดแล้วดับ เพราะขณะนั้นรู้แต่เพียงว่าเป็นธาตุ เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมเท่านั้น ทั้งๆ ที่สภาพธรรมนั้นต่างกัน แล้วก็เกิดด้วยดับด้วย แต่ปัญญาไม่ถึงความสมบูรณ์ ผู้นั้นจะรู้เลย ถ้ายังไม่รู้ทั่วในชีวิตประจำวันจริงๆ จะไม่มีการคลาย อย่างทางตา จะไม่มีการคลายเลย แม้ขณะนี้ก็เริ่มที่จะรู้ว่า รูปารมณ์ก็คือรูปารมณ์จริงๆ และความคิดนึก ความทรงจำเรื่องสัตว์บุคคลในขณะที่เห็นก็เป็นการคิดนึกจากการที่มีรูปร่างสัณฐานเป็นปัจจัย แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รู้อย่างนี้ แต่ว่าเป็นปัญญาที่รู้ความต่างจริงๆ
เพราะฉะนั้น กว่าจะคลายว่า รูปารมณ์ก็คือสิ่งที่ปรากฏ จริงหรือเปล่าคำนี้ จริง แค่ไหน เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ คำพูดของคนที่รู้กับคำพูดของคนที่ไม่ประจักษ์ พูดอย่างเดียวกันหมดเลย แต่ว่าปัญญาต่างกัน และปัญญาที่จะรู้เป็นเพียงรู้สิ่งที่ปรากฏมาจากไหน ก็ต้องมาจากการประจักษ์ เพราะฉะนั้น ระหว่างที่เป็นวิปัสสนาญาณ ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมใด ไม่สงสัยในความเป็นนามธรรม และรูปธรรมของสภาพธรรมนั้น แต่ไม่พอ แค่นั้นไม่พอ เพราะมันน้อยไม่กี่อย่าง เท่าที่มี เพราะวิปัสสนาญาณ ประจักษ์ ขณะนั้นจะไม่มีการนับว่ากี่นาที มากหรือน้อยเลย แต่ลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างไรก็ปรากฏ เพราะฉะนั้น ไม่มีการสงสัยในเรื่องของมรรควิถี เมื่อไรก็ได้ ในครัวก็ได้ กลางถนนหนทางก็ได้ เพียงแค่กี่ขณะจิตที่เกิด เพราะปัญญาถึงความสมบูรณ์ จึงสามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของไตรลักษณ์แล้วก็ถึงมรรควิถีได้ เป็นเรื่องของอนัตตาทั้งหมด
เวลาที่พูดถึงญาตปริญญา คนนั้นก็รู้ว่าหมายความถึงอะไร ญาณไหน เพราะอะไร แต่จะไม่ใช่ตอนที่ไม่รู้อะไรเลย แล้วไปทำปริญญา มันทำไม่ได้
ผู้ฟัง ที่ได้ยินได้ฟัง แต่ว่าไม่ได้ติดใจอะไร ก็อยากจะให้เกิดความเข้าใจของตัวเอง เพราะว่าเคยฟังท่านอาจารย์มาตั้งแต่ต้น ให้ความสำคัญในเรื่องของความรู้ว่า มันต้องเป็นไปตามลำดับ บังเอิญมีคำว่า ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา เอามาเข้ามาแทรก เพื่อให้เกิดความชัดเจนอะไรหรือเปล่า มีจุดประสงค์อะไรหรือเปล่า อันนี้ตรงนี้เป็นความคิด
ท่านอาจารย์ มันคืออะไรกันแน่
ผู้ฟัง นี้แหละ ตรงนี้ที่ผมเรียนถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เพราะว่าต้องเป็นวิปัสสนาญาณ ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณจะเป็นปริญญา ไม่ได้
ผู้ฟัง แต่เรื่องวิปัสสนาญาณไม่สงสัย เพราะว่าต้องเป็นความรู้
ท่านอาจารย์ คุณศุกลจะสงสัย แล้วมันมาอย่างไรระหว่างญาตปริญญา กับนามรูปปริจเฉทญาณ เพราะว่าเวลาที่สติปัฏฐานเกิดหลังจากนั้น ญาตปริญญาจนกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณต่อไป ปัจจยปริคคหญาณ เพราะว่าเขาจะอยู่ตรงนี้ เหมือนคนที่รู้แล้วจะกลับไปไม่รู้ ไปตั้งต้นใหม่โดยสติปัฏฐานก็ค่อยๆ เกิดหรืออะไร ไม่ได้ คนที่สอบผ่านไปแล้ว เขาจะต้องไปนั่งเรียนอะไรกันอีก แล้วปริญญาเขาก็มีหลายขั้น เพราะฉะนั้น ถึงได้ถามว่า เวลาที่สติปัฏฐานเกิดหลังจากที่นามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้ว ความรู้เท่ากันหรือเปล่า ความรู้ที่ไม่เท่า นั้นคือญาตปริญญา ที่นามรูปปริจเฉทญาณประจักษ์ จึงเป็นญาตปริญญา และการที่ไม่ลืม ปัญญาที่ได้ประจักษ์แล้ว แต่จะต้องน้อมตามที่ได้ประจักษ์ต่อไปอีกที่จะต้องรู้ว่า เวลาแท้จริงๆ มันเป็นอย่างนั้น เหมือนอย่างที่ได้ประจักษ์ กว่าจะชินกับลักษณะของโลกปรมัตถ์ ซึ่งต่างกับโลกของบัญญัติ ปัญญาเขามีหน้าที่อย่างเดียว คือ รู้ตรงตามความเป็นจริง รู้ถูกต้องตามความเป็นจริง
พอพูดถึงญาตปริญญา เรารู้เลยว่า หมายความถึงตอนไหน อย่างปัจจัยอย่างนี้ เมื่อสภาพธรรมเกิด ขณะนั้นจะรู้เลยว่า ไม่มีใครสร้าง เมื่อประจักษ์การเกิดขึ้น แล้วสภาพธรรมก็เกิด อยู่ที่ว่าน้อมจิตไปที่ไหน สำหรับนามรูปปริจเฉทญาณ ก็น้อมไปเพียงแค่ความต่างของธาตุที่เป็นลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรมโดยสิ้นเชิง แต่พอถึงเมื่อน้อมไปถึงการเกิดขึ้นของสภาพธรรม ขณะนั้นก็ ปัจจยปริคคหญาณ ไม่ต้องมีชื่อเลย แล้วก็เวลาที่ทรงตรัสรู้สภาพธรรม ไม่มีคำในระหว่างที่ตรัสรู้ สภาพธรรมปรากฏกับบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ลองเทียบดูก็แล้วกัน ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวก แล้วก็มาถึงมหาสาวก แล้วมาถึงสาวกที่ไม่มีชื่อ แล้วมาถึงผู้ที่อยู่ในยุคนี้ ที่สามารถที่จะอย่างมากที่สุด คือว่าตามกำลังที่เขาสะสมมา ที่เขาจะสามารถจะรู้อะไรได้แค่ไหนอย่างไร แต่เทียบไม่เท่าท่านเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ก็สามารถจะเข้าใจได้ ปัญญาต้องมีหลายระดับ ต่างกัน การจะรู้เร็ว รู้ช้า รู้มาก รู้น้อย จะถึง ๓ ญาณ ต่อกันทันทีเลยก็ได้ เพราะว่าตามกำลังของปัญญา หรือจะทีละอย่างก็ได้ ก็แล้วแต่บุคคล แต่ว่าท่านแสดงความต่างของ ๓ ญาณนี้ว่า เมื่อประจักษ์การเกิด ขณะนั้นจะไม่รู้หรือว่า สิ่งนั้นเกิดโดยที่ว่าไม่มีใครสร้าง เมื่อไม่มีใครสร้างก็ตรงกับต้องมีปัจจัย อย่างขณะที่กำลังรู้รูปหนึ่งรูปใด จะไม่รู้หรือว่า จิตนั้นกำลังมีรูปนั้น ขาดรูปนั้นไม่ได้ แต่ไม่ต้องออกมาเป็นคำพูด ไม่ต้องออกมาเป็นอารัมณปัจจัย ไม่ต้องออกมาว่าเป็นมัคคปัจจัย ไม่ต้องออกมาเลย
เวลาที่ทรงแสดงธรรม ทั้งหมดออกมาหมด จากการที่ตรัสรู้ยิ่งกว่าบุคคลใดทั้งสิ้น ถ้าปัญญาที่สะสมมา ทุกคำที่ออกมา สามารถที่จะส่องไปถึงลักษณะของสภาพธรรมโดยละเอียด โดยประการทั้งปวงที่ไม่ให้คนเข้าใจผิด และถ้าไม่แสดงโดยละเอียด ก็ไม่มีปัจจัยเพียงพอที่บุคคลนั้นสามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะคลายความเป็นตัวตนได้ แต่เมื่อเขาอบรมความรู้มา อายตนะ ไม่ใช่คำ ก็จากไม่มีเลย ไม่มีเลย ใครจะรู้ว่าขณะนั้น ชื่อว่า ภวังค์ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านตรัสรู้จริงๆ ท่านเป็นพระพุทธ ที่ว่าไม่ได้ยินได้ฟังใครเลย แต่ท่านไม่มีคำ ท่านรู้ว่าเป็นลักษณะอย่างนั้นๆ แต่คำอะไรที่จะใช้สำหรับคำนั้นที่จะต่างกับคำอื่น อย่างภวังค์กับวิถีจิต แต่จากไม่มี แล้วมี วิถีจิตหรือเปล่า ที่สิ่งนั้นปรากฏได้จากไม่มี แล้วมีต้องเป็นอายตนะ จะไม่เป็นอายตนะได้อย่างไร มันต้องมีทางที่สิ่งนั้นจะปรากฏ จากไม่มีอะไรปรากฏเลย แล้วมี แล้วหามีไม่ การเกิดแล้วดับ แต่การที่จะมีแต่ละอย่าง จะเห็นความน่าอัศจรรย์จริงๆ ว่า ถ้าไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพียงรู้แต่ชื่อ มันไม่น่าอัศจรรย์เลย แต่ความเป็นนามธาตุ ธาตุอะไร ใครก็ดับไม่ได้ มันมี มันต้องรู้ มันต้องเกิดขึ้นมา แล้วมันก็สามารถที่จะรู้อะไรๆ ได้ ความต่างของทางปัญจทวารกับมโนทวาร มันก็ต่างกันอยู่แล้ว แล้วทางปัญจทวาร ปกติธรรมดาที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ทางปัญจทวารไม่ให้โอกาสมโนทวารปรากฏเลย สืบต่อกันหมดเลย กี่วิถีที่เห็นทางตา ยังเสียงอีกที่แทรกเข้ามา แต่ขณะนั้นจะมีมโนทวารแทรกคั่นอยู่ทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้น มโนทวารจึงสามารถรู้ทุกอย่างได้ แล้วทางปัญจทวาร มันจะเล็กน้อยมากจนมันไม่ปรากฏ ปรากฏแต่รูปที่มันปรากฏ แต่ตัวที่เป็นทวารอย่างที่ปรากฏอย่างนี้ มันจะไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น โลกต่างกันเลย โลกของปรมัตถ์กับโลกของบัญญัติ มันจะไม่มีลักษณะที่เหมือนกันเลย โลกของบัญญัติมันรวมกันหมดเลย ทั้งเรื่องราวทั้งเห็นทั้งได้ยิน แต่โลกมันมืดสนิท นอกจากสิ่งที่เป็นรูปที่เป็นรูปารมณ์เท่านั้น ที่จะปรากฏได้อย่างสั้น และน้อยมาก เพราะว่ารูปอื่นก็มีปรากฏ แข็งมันก็ปรากฏได้ แล้วก็ต้องมีทวาร ถ้าไม่มีทวารปรากฏได้อย่างไร ในเมื่อเมื่อกี้นี้ไม่มี แล้วมีขึ้น มันก็ต้องเข้าใจความหมายของอายตนะ เข้าใจความหมายของทวาร มันก็ตรงตามที่ทรงแสดงทุกอย่าง ลักษณะของธาตุ ลักษณะของขันธ์ ขันธ์คือเมื่อประจักษ์การเกิดดับ ถ้าไม่ประจักษ์การเกิดดับ มันมี แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่ว่า อดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่ลักษณะนั้นก็เป็นรูปอย่างหนึ่ง อย่างหนึ่งของเขาจะวิจิตรมากเลย เพราะว่าแต่ละรูปต่างกันหลากหลาย แม้แต่ในขณะนี้จะไม่ซ้ำกัน เพราะว่าปัจจัยที่จะให้เกิดของเขาแต่ละอย่างก็เฉพาะอย่าง เฉพาะอย่าง อย่างเสียง ถ้าเสียงนี้ดับ จะให้เสียง อันนี้มีปัจจัยที่ให้เกิดอีก ให้มันเหมือนเก่าเลย มันเป็นไปไม่ได้ อาจจะแห้งไป อาจจะอะไรไปก็ได้ มันก็เป็นเรื่องสภาพธรรมที่ใหม่ทุกขณะ เพราะว่าเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ
ผู้ฟัง แม้จะเป็นปรากฏทางทวารเดียวกันก็เหมือนกันก็ต้องเป็นรูปใหม่ อีกเหมือนกัน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เก่าแน่ เพราะอันเก่ามันดับหมดแล้ว จะกลับมาได้อย่างไร
ผู้ฟัง มีพยัญชนะที่บอกว่า คำว่า ปิดบังๆ คือมันใช่คำที่ไม่มีอะไรจะสะดวกในการที่จะเป็นสื่อ แต่ว่าความหมายที่มันลึกซึ้ง คำว่าปิดบัง แต่ดูเหมือนว่ามันไม่มีอะไรมากมาย กับเหมือนว่าเพิกถอน หรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เป็นความต่าง อย่างทางปัญจทวารกับมโนทวาร มันเป็นความต่างของ ๒ ทวาร ทั้งๆ ที่มันรู้อารมณ์เดียวกัน สืบต่อกัน
ผู้ฟัง บอกว่าปิดบัง ก็ดูเหมือนว่า
ท่านอาจารย์ ถ้ามโนทวารกำลังปรากฏ ตลอดที่เป็นวิปัสสนาญาณ และเพียงรูปปรากฏนิดเดียว อันนั้นปิดบังทางนี้ไหม ทางจักขุทวารที่มันสืบต่ออย่างรวดเร็ว ว่ามันยาว แต่มันสั้น มันเล็กน้อย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ บอกว่า โลกมืด มืดๆ ๆ
ท่านอาจารย์ มืดแค่ไหน ลองเปรียบเทียบ ถ้าหลับตายังเห็นแสงสว่างสลัวๆ ไม่เห็นน่ากลัวเลย
ผู้ฟัง ยังเห็นความมืดอยู่
ท่านอาจารย์ ไม่น่าตกใจ ก็มีความอย่างอื่นอยู่ทั้งตัว นี่คือเวลาที่เราหลับตา ทางมโนทวารก็ยังมีอะไรๆ ปรากฏกับความมืดอันนั้น เพราะว่าสิ่งเดียวที่จะปรากฏว่าไม่มืด คือ แสงสว่าง ทวารอื่นมืดสนิท มโนทวารจึงปรากฏ เมื่อสิ่งนั้นปรากฏอย่างนั้นก็คือว่า ลักษณะของมโนทวารเขาปรากฏตลอด แล้วทางปัญจทวารจะแทรกคั่นสั้น สั้น สั้น เท่านี้เอง ถ้าตราบใดที่มโนทวารยังไม่ปรากฏ คนก็คิดว่าเวลานี้มันชัดเจนมาก กำลังมีรูปเป็นอารมณ์ เสียงก็ชัด ดึกๆ ไม่มีอะไรรบกวน มีแต่เสียงอย่างเดียว แต่ตัวเขา ปัญญาของเขายังไม่ถึงระดับที่จะรู้ เพราะความจริง มันเป็นความจริงแน่นอน มันจะไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเลย อย่างสภาพธรรมปรากฏทีละอย่างก็จริง แล้วเดี๋ยวนี้มันทีละอย่างหรือเปล่า ต่อกันเร็ว แต่ความจริงคือทีละอย่าง ถ้าทีละอย่างมันจะปรากฏอย่างนี้ไม่ได้เลย แล้วทีละอย่างคือทีละอย่างจริงๆ ลองคิดดู แล้วทางมโนทวารด้วยที่รับได้หมดทุกอารมณ์
ผู้ฟัง คำว่า ปรากฏทีละอย่าง หมายความว่าปรากฏทีละทวาร
ท่านอาจารย์ มโนทวารรับต่อทุกทวาร ลักษณะของมโนทวารตลอดที่เป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่รูปที่ปรากฏทางปัญจทวาร มันปรากฏทางมโนทวารที่กำลังเป็นมโนทวารตลอดที่สั้นมาก เพราะฉะนั้น ลักษณะที่ปรากฏทางมโนทวารเหมือนไม่ปรากฏเลย มีแต่รูปปรากฏ เพราะว่านามรูปปริจเฉทญาณ ต้องรู้ทั้งนามธรรม และรูปธรรม มันก็เหมือนกับพลิกโลกออกมาอีกด้านหนึ่ง จากโลกที่มันมีเรามีอะไรๆ ไม่มีอะไรเลยนอกจากธาตุรู้ แล้วทางมโนทวารด้วย
ผู้ฟัง คงเป็นแบบที่ท่านมีคำพูดมาว่า อุปมาเหมือนเปิดของที่คว่ำ หงายของที่อะไร
ท่านอาจารย์ ในพระสูตร ใช้คำที่ไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณเลย ใช้คำเดียวว่ารู้ชัด ชัดของพระองค์ คือวิปัสสนาญาณทั้งหมด แต่ไม่ได้มาบอกว่า นี่ๆ ๆ ๆ นั่นๆ ๆ ๆ คือสามารถที่จะรู้นิพพานได้เลย ย่อสุด คนก็เลยคิดว่า มันง่ายอย่างนั้น มันเร็วอย่างนั้น แล้วมันก็จะต้องเป็นปัญญา ถ้าไม่ใช่ปัญญา ไม่มีทางเลย อย่าไปฝันว่า เราทั้งตัวกำลังเป็นเราที่กำลังอยากจะรู้ กำลังทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะรู้ได้ ไม่มีทาง โดยเฉพาะตรุณวิปัสสนา กับพลววิปัสสนา แค่ชื่อก็ห่างกันมาก แต่ไม่ใช่ว่า ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เป็นวิปัสสนาญาณจริง แต่ดูกำลังของเขา เมื่อยังไม่ทั่วในชีวิตประจำวันจะไม่มีทางเป็นพลววิปัสสนา ถ้าไม่ทั่วจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ถึงต้องเป็นปกติ ตรงตามที่ทรงแสดงไว้ ถ้าไม่เป็นปกติ หมายความว่าอะไรกั้น โลภะไม่ต้องการรู้สิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน ต้องการจะไปรู้อย่างอื่น เฉพาะอย่างอื่น แล้วจะมาละสิ่งที่เคยเป็นเราตลอดเวลาในชีวิตประจำวันได้อย่างไร แล้วเป็นหนทางที่จะรู้หรือเปล่า ถ้าเป็นหนทางที่จะรู้ ก็รู้ว่าสิ่งนี้เมื่อไรก็เมื่อนั้น ขณะไหนก็ขณะนั้น แล้วยังต้องไม่ติด หนทางนี้เป็นหนทางรู้แล้วละโดยตลอด ถ้าติดว่า ถ้าอย่างนี้จะเป็นวิปัสสนาญาณ เพราะว่าปัจจัยพร้อมที่จะให้เป็นอย่างนี้ สะสมมาที่จะเป็นอย่างนี้ อยากจะให้เกิดอีก ก็คือเป็นอย่างนี้ นั่นก็คือหลงอีกแล้ว ติดอีกแล้ว สมุทัยกั้นอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงต้องละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น คือต้องละ ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม ต้องมีศีล ต้องมีอะไรๆ มีโลภะหรือเปล่า ถ้ามี มันก็ยังมีสมุทัยอยู่ มันก็กั้นอยู่แล้ว แต่ว่าศีลที่ประสงค์ในที่นี้ พร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือ อินทรียสังวรศีล ยิ่งกว่าศีลใดๆ หมดทั้งสิ้น เพราะว่าศีลอื่นโลภะเกิด ยังไม่กระทำทุจริต วิรัติได้ แต่ไม่รู้ว่าโลภะขณะนั้นไม่ใช่เรา