จิตตสังเขปบทที่ ๑๐
จิตต่างกันโดยสัมปยุตตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จึงจำแนกจิตโดยนัยของเวทนาเภท คือ โดยประเภทของเวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างกัน คือ ...
โสมนสฺสสหคตํ จิตเกิดร่วมกับโสมนัสสเวทนาเจตสิก (ความรู้สึกดีใจ)
โทมนสฺสสหคตํ จิตเกิดร่วมกับโทมนัสสเวทนาเจตสิก (ความรู้สึกเสียใจ)
อุเปกฺขาสหคตํ จิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา (ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์)
สุขสหคตํ จิตเกิดร่วมกับสุขเวทนา (ความรู้สึกเป็นสุขทางกาย)
ทุกฺขสหคตํ จิตเกิดร่วมกับทุกขเวทนา (ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางกาย)
ขณะใดที่จิตเกิดขึ้น ขณะนั้นต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ฉะนั้น เวทนาเจตสิกดวงหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นเวทนาเจตสิกประเภทใด จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะต่างๆ ของอารมณ์ แต่เวทนาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่รู้สึกดีใจหรือเสียใจ สุขหรือทุกข์ หรือเฉยๆ ในขณะที่รู้อารมณ์
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ