มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 10
[๑๒๑] พาหุสัจจะของพหุสุตบุคคล ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งอิฏฐผลมีสรรเสริญเป็นต้น, และชื่อว่าเป็นมงคล แม้เพราะเหตุแห่งการละอกุศล และการบรรลุกุศล ด้วยประการฉะนี้.สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในนคโรปมสูตร ๒ ทุติยวรรคทุติยปัณณาสก์ ในสัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ดังนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสาวกผู้สดับแล้วแล ย่อมละอกุศลเสียได้ ทำกุศล ให้เจริญ ย่อมละกรรมอันมีโทษเสีย ทำกรรมไม่มีโทษให้เจริญบริหารตนให้หมดจด"
[๑๒๓] อนึ่ง พาหุสัจจะ ชื่อว่าเป็นมงคล แม้เพราะเป็นเหตุแห่งการทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจโดยลำดับ. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ชื่อภารทวาชะ ตรัสไว้ว่า "กุลบุตรผู้เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา (บัณฑิต) , ครั้นเข้าไปหาแล้ว ย่อมนั่งใกล้, เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสต, เงี่ยโสตแล้ว ย่อมสดับธรรม,
ครั้งสดับแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้, ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว, เมื่อเขาพิจารณาเนื้อความอยู่, ธรรม ทั้งหลายย่อมทนซึ่งความเพ่งพินิจ, เมื่อความทนซึ่งความเพ่งพินิจ แห่งธรรม มีอยู่, ความพอใจย่อมเกิด, เขาเกิดความพอใจแล้วย่อมอุตสาหะ, ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง, ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร, เขาเป็นผู้มีตนตั้งความเพียรแล้ว ย่อมทำปรมัตถสัจให้แจ้งด้วยกาย และย่อมเห็น (แจ้ง) แทงตลอดปรมัตถสัจนั้นด้วยปัญญา."
สาธุ
* * --- * * อนุโมทนากุศลที่ท่านได้เจริญแล้วด้วยครับ
ขอบพระคุณมากครับ * * --- * *
ขออนุโมทนาครับ