[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 109
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑
๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมาสเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 109
๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมาสเถระ
[๑๔๗] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในโลกนี้หรือโลกอื่น ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้วไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของโลก ดังนี้.
จบวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 110
อรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
คาถาของท่านพระปุณณมาสเถระ เริ่มต้นว่า วิหริ อเปกฺขํ ดังนี้. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี พระเถระนั้น บังเกิดในกำเนิดแห่งนกจักรพรากเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงเอาจะงอยปากของตนคาบดอกสาหร่ายไป ทำการบูชาแล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัป ที่ ๑๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๘ ครั้ง. ส่วนในกัปนี้ เมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เสื่อมลง. บังเกิดในตระกูลกุฎุมพี บวชแล้วบำเพ็ญสมณธรรม. จุติจากนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ นามว่าสมิทธะ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ในวันที่เขาเกิด หม้อเปล่าทุกใบในเรือนนั้น ได้เต็มไปด้วยสุพรรณมาศ (ถั่วทอง). ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงขนานนามเขาว่า ปุณณมาส. เขาเจริญวัยแล้วประสบความสำเร็จ ในวิชชาของพราหมณ์ทั้งหลาย กระทำการวิวาห์ ได้บุตรคนหนึ่ง เกิดเบื่อหน่ายการอยู่ครองเรือน เพราะเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมได้เฉพาะแล้วซึ่งศรัทธา บรรพชาแล้ว ถึงพร้อมแล้วด้วยกิจทุกอย่าง หมั่นประกอบเนืองๆ ในกัมมัฏฐาน ๔ ขวนขวาย วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ นี้ไว้ ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราเป็นนกจักรพรากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ สินธุ เรามีสาหร่ายล้วนๆ เป็นภักษา และสำรวมดีแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 111
ในสัตว์ทั้งหลาย เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เสด็จไปในอากาศ จึงเอาจะงอยปากคาบดอกสาหร่าย บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสี. ผู้ใดตั้งศรัทธาอันไม่หวั่นไหวไว้ด้วยดีในพระตถาคตเจ้า ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ การที่เราได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นการมาดีหนอ เราเป็นนกจักรพรากได้ปลูกพืชไว้ดีแล้ว ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๑๗ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง มีพลานุภาพมาก ทรงพระนามเดียวกันว่า สุจารุทัสสนะ. คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ลำดับนั้น ภรรยาเก่าของท่านประสงค์จะเล้าโลมท่าน จึงประดับตกแต่งเข้าไปหาพร้อมด้วยบุตร ปรารภเพื่อจะกระทำการเปลือย โดยการกล่าวเล้าโลมทีท่าน่ารัก. พระเถระเห็นเหตุการณ์ของนาง เพื่อจะประกาศความที่ตนไม่เกี่ยวข้อง แม้ในอารมณ์ไหนๆ จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยาน ในโลกนี้ หรือโลกอื่น ผู้นั้นเป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สันโดษ สำรวมแล้ว ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของโลก ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 112
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหริ ความว่า นำไป คือ นำออกไป ได้แก่ขจัดเสีย (ซึ่งทุกข์) โดยพิเศษ. บทว่า อเปกฺขํ ได้แก่ ตัณหา. บทว่า อิธ ได้แก่ในโลก หรืออัตภาพนี้. บทว่า หุรํ ได้แก่ ในอนาคต หรือ อัตภาพอื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ อายตนะที่เป็นไปในภายใน. บทว่า หุรํ ได้แก่ อายตนะที่เป็นไปในภายนอก. วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ มีความหมายรวมกับ ดังในประโยคมีอาทิว่า อปทา วา ทฺวิปทา วา ไม่มีเท้าบ้าง มีสองเท้าบ้าง. ด้วยบทว่า โย ท่านแสดงถึงตนนั่นแหละ ทำเป็น เหมือนผู้อื่น. บทว่า เวทคู ความว่า ถึงแล้วโดยเวท คือ ถึง ได้แก่บรรลุ พระนิพพาน ด้วยมรรคญาณ หรือจบสัจจะทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจตั้งอยู่แล้ว. บทว่า ยตฺตโก ความว่า มีการสำรวมด้วยมรรคสังวรเป็นสภาพ หรือมีการสำรวมด้วยสัมมาวายามะเป็นสภาพ. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนุปลิตฺโต ความว่า ไม่ติดในธรรม คือในอารมณ์ทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งการติดด้วยตัณหาและทิฏฐิ. ท่านแสดง ถึงการก้าวล่วงโลกธรรมทั้งหลาย มีลาภเป็นต้นได้ด้วยบทนั้น. บทว่า โลกสฺส ได้แก่หมวด ๕ แห่งอุปาทานขันธ์. ก็หมวด ๕ แห่งอุปาทานขันธ์นั้น ชื่อว่า โลก ด้วยอรรถว่า ชำรุดแตกหักไป. บทว่า ชญฺา แปลว่า รู้แจ้ง. บทว่า อุทยพฺพยญฺจ ได้แก่ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ท่านแสดงถึงปฏิปทา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งคุณตามที่กล่าวแล้วด้วยบทนี้. ก็ในคาถานี้ มีอธิบาย ดังนี้ ผู้ใดรู้ความเกิดขึ้นและความสิ้นไปแห่งโลกมีขันธโลกเป็นต้นทั้งสิ้น ด้วยอาการครบทั้ง ๕๐ เป็นผู้จบไตรเพท เป็นผู้สำรวมแล้วไม่ติดอยู่ในธรรม ไหนๆ ผู้นั้นไม่ทะเยอทะยานในธรรมทั้งปวง คือ กำจัดเสียได้ สันโดษ บรรดาอาการที่ไม่เหมาะสมเช่นนั้น จะไม่สำคัญประการที่ไม่เหมาะสมไรๆ เลย ดูก่อนมารผู้อันธพาล เพราะฉะนั้น ท่านจงไปตามทางที่ท่านมาแล้วนั้นแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 113
ดังนี้. ครั้งนั้น หญิงนั้นรู้ว่า สมณะรูปนี้ หมดความต้องการในเราและบุตรเราไม่อาจจะประเล้าประโลมสมณะรูปนี้ได้ จึงหลีกไป.
จบอรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๑
แห่งอรรถกถาเถรคาถา นามว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระสุภูติเถระ
๒. พระมหาโกฏฐิตเถระ
๓. พระกังขาเรวตเถระ
๔. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
๕. พระทัพพมัลลบุตรเถระ
๖. พระสัมภูตเถระ
๗. พระภัลลิยเถระ
๘. พระวีรเถระ
๙. พระปีลินทวัจฉเถระ
๑๐. พระปุณณมาสเถระ และอรรถกถา.