[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๕๔
[พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]
ถามว่า ในคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต มีอะไรเป็นอนุสนธิ
ตอบว่า คือท่านพระสารีบุตร
ครั้นได้ฟังเหตุการณ์ดำรงอยู่นานแห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้แล้ว ถึงความตกลงใจว่า การบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น เห็นเหตุแห่งความดำรงอยู่ได้นาน เมื่อปรารถนาความดำรงอยู่นาน แห่งพรหมจรรย์ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลวิงวอนขอการบัญญัติสิกขาบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระอุบาลีเถระ กล่าวคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺายาสนา ฯเปฯ จิรฏฺิติก นี้ เพื่อแสดงวิธีทูลวิงวอนของการบัญญัติสิกขาบทนั้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺธนิย คือควรแก่กาลนาน มีคำอธิบายว่า มีกาลยาวนาน คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตรนั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิตฺว สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺว ความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัยของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ เพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตรนั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิตฺว สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺวความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ เป็นต้นนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัยของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติเพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า
ตถาคโตว นั้น มีโยชนาดังต่อไปนี้ :- ในคำที่เธอกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่กาลก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว สารีปุตฺต ดังนี้. ในคำว่า น ตาว สารีปุตฺต เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยว่า อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่งธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อธิบายว่า อาสวะคือทุกข์ และอาสวะ คือกิเลส อันเป็นไปในทิฏฐธรรม และในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอดของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็นทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะวีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรมเป็นต้นเหล่านั้น.
* วาจาสำหรับประกอบในคำว่า น ตาว เป็นต้นนี้ ดังนี้ว่า วีตกกมธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่มีปรากฏในสงฆ์ เสียงใดพระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. ก็ถ้าพึงบัญญัติไซร้ ไม่พึงพ้นจากความค่อนขอดของผู้อื่น จากความคัดค้านของผู้อื่น จากโทษคือความติเตียน,
[ข้อที่จะถูกตำหนิในการบัญญัติสิกขาบท]
ถามว่า ไม่พึงพ้นอย่างไร? ตอบว่า จริงอยู่ สิขาบททั้งปวงมีอาทิว่า โย ปน ภิกฺขุ เมถุน ธมม ปฏิสเวยฺย ดังนี้ พึงเป็นสิกขาบทอันพระศาสดาผู้จะบัญญัติ ควรบัญญัติ. ฝ่ายชนเหล่าอื่นไม่เห็นวีติกกมโทษ แต่รู้พระบัญญัตินี้ จะพึงยังความค่อนขอด ความคัดค้านและความติเตียนให้เป็นไปอย่างนี้ว่า นี่อย่างไรกัน พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วยสิกขาบททั้งหลายจักบัญญัติปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำของเรา กุลบุตรเหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ และละแม้ซึ่งราชสมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพจัดในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตอยู่มิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนซึ่งเป็นโลกามิสหรือจักลักของๆ ผู้อื่น หรือจักเข้าไปตัดชีวิตของผู้อื่น ซึ่งเป็นของปรารถนารักใคร่ หวานยิ่งนัก หรือจักสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอวดคุณที่ไม่มี, เมื่อปาราชิกแม้ไม่ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั่นเป็นอันพระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้วโดยสังเขปในบรรพชานั่นเอง มิใช่หรือ? ชนทั้งหลายไม่ทราบเรี่ยวแรง และกำลังแม้แห่งพระตถาคต, สิขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้ จะพึงกำเริบ คือไม่คงอยู่ในสถานเดิม.
[เปรียบด้วยแพทย์ผู้ไม่ฉลาดทำการผ่าตัด]
แพทย์ผู้ไม่ฉลาด เรียกบุรุษบางคน ซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้วบอกว่า มานี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ! หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระประเทศตรงนี้ของท่าน, จักยังความเสื่อมฉิบหายให้มาถึงท่าน, ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามันเสียเถิด ดังนี้ ผู้อันบุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ ท่านอาจารย์! ท่านนั่นแหละจงเยียวยามันเถิด จึงผ่าสรีรประเทศซึ่งหาโรคมิได้ของบุรุษนั้น คัดเลือดออกแล้วทำสรีรประเทศตรงนั้นให้กลับมีผิวดีด้วยยาทาและพอก และการชะล้างเป็นต้นแล้ว จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจงให้บำเหน็จแก่เรา. บุรุษนั้น พึงค่อนขอด พึงคัดค้าน และพึงติเตียนนายแพทย์อย่างนี้ว่า หมอโง่นี้พูดอะไร ได้ยินว่าโรคชนิดไหนของเรา ซึ่งหมอโง่นี้ได้เยียวยาแล้ว, หมอโง่นี้ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา และทำให้เราต้องเสียเลือดไปมิใช่หรือ ดังนี้ และไม่พึงรู้คุณของหมอนั้น ข้อนี้ ชื่อแม้ฉันใด, ถ้าเมื่อวีติกกมโทษยังไม่เกิดขึ้น พระศาสดา พึงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกไซร้ พระองค์ไม่พึงพ้นจากอนิฏฐผล มีความค่อนขอดของผู้อื่นเป็นต้น และชนทั้งหลายจะไม่พึงรู้กำลังพระปรีชาสามารถของพระองค์ ฉันนั้นนั่นแล และสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว จะพึงกำเริบ คือไม่ตั้งอยู่ในสถานเดิม. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตาว สารีปุตฺต สตฺถา สาวภานฯ เป ฯ ปาตุภวนฺติ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลอันไม่ควรอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำว่า ยโต จ โข สารีปุตฺต เป็นอาทิ เพื่อแสดงกาลอีก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต คือเมื่อใด มีคำอธิบายว่า ในกาลใด. คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล. *
อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ยโต เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-
วีติกกมโทษอันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ ย่อมมีปรากฏในสงฆ์ในกาลชื่อใด, ในกาลนั้น พระศาสนา ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวก ย่อมทรงแสดงปาฏิโมกข์, เพราะเหตุไร? เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษเหล่านั้นนั่นแล อันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ควรค่อนขอด เป็นต้น และเป็นผู้มีอานุภาพปรากฏ ในสัพพัญญูวิสัยของพระองค์ ย่อมถึงสักการะ และสิกขาบทของพระองค์นั้นย่อมไม่กำเริบ คือตั้งอยู่ในสถานเดิม, เปรียบเหมือนนายแพทย์ผู้ฉลาดเยียวยาหัวฝีที่เกิดขึ้นแล้วด้วยการผ่าตัดพอกยาพันแผลและชะล้างเป็นต้น ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอด เป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่งธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาล และกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแลจึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ยินดีในกุศลจิตค่ะ