โทสะ เป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง ดุร้าย โทสะมีหลายระดับ โทสะอ่อนๆ ได้แก่
ความรู้สึกหงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ รำคาญ หมั่นไส้ โทสะมากก็จะร้องไห้ แสดงอาการจะ
ประทุษร้าย โทสะรุนแรงก็จะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้ ขณะที่เกิดโทสะ กาย วาจา จะ
หยาบกระด้าง จะแสดงกิริยาที่ไม่น่าดู เช่น กระแทกกระทั้น มีสีหน้าบึ้งตึง ถ้ามีโทสะ
ที่รุนแรงมาก ก็อาจจะประทุษร้าย (ทุบตี) ผู้อื่น หรือฆ่าได้
โลภะ เป็นเหตุให้เกิดโทสะ กล่าวคือ เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการจึงเกิดโทสะ
หลายคนเห็นโทษของโทสะ รู้ว่าโทสะไม่ดี ไม่อยากให้ตนเองมีโทสะ ซึ่งเป็นสิ่งที่
เป็นไปไม่ได้เลยเพราะการจะละโทสะได้ ก็ต่อเมื่อละโลภะในสิ่งต่างๆ ได้แล้วเท่า
นั้น เพราะโลภะเป็นแดนเกิดของโทสะ ละโลภะได้เมื่อใด ก็ละโทสะได้เมื่อนั้น มีใคร
คิดจะละโลภะบ้าง มีใครไม่อยากได้เงินบ้าง มีใครไม่อยากได้ตำแหน่งบ้าง มีใครไม่
อยากได้รถยนต์ดีๆ บ้านสวยๆ บ้าง จะเห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลธรรมดาเช่น
พวกเราจะละโลภะได้ เมื่อละโลภะไม่ได้ ก็ย่อมละโทสะไม่ได้
ผู้ที่สามารถละโทสะได้ ต้องบรรลุคุณธรรมขั้นพระอนาคามีแล้วเท่านั้น ปัจจัยอีก
ประการหนึ่งที่ทำให้เกิดโทสะ คือ โมหะ ความไม่รู้ความไม่เข้าใจในธรรม ถ้าไม่มี
ความรู้เรื่องของกรรม วิบาก เหตุและผล โทสะอาจเกิดได้ง่ายๆ เมื่อกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดี ไม่น่าพอใจ เช่น เห็นคนที่เราไม่ชอบการกระทำบางอย่างของเขา หรือได้ยิน
เสียงแตรที่รถคันอื่นบีบไล่หลังหรือรับประทานอาหารที่รสชาดไม่อร่อย เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเสมอในชีวิตประจำวัน ทำให้เราเกิดความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ บางคนก็อาจระงับโทสะไว้ไม่ได้ อาจจะแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายหรือวาจา อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวที่ใหญ่โตตามมาในภายหลังได้
จากหนังสือ ..กรรมคำตอบของชีวิต โดย อัญญมณี มัลลิกะมาส
คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก
ครับ เป็นคนมักโกรธ พูดมากครับ แต่พูดอธิบายให้ฟังว่าที่โมโหเพราะเหตุใด ไม่ชอบ
ใจเพราะเหตุใด ทำ... (เขาทำ) อย่างนั้นไม่ถูกเพราะเหตุใด ไม่ควรกระทำเพราะเหตุใด?
แต่ที่แน่ๆ เรากำลังมีโทสะ (โมโห) เลย,,,ไปเรียบร้อยแล้วครับ โทสะแรงและเร็ว
ขนาดนั้น เบรคไม่มีเลยจริงๆ ปัจจุบันนี้ลดน้อยลงมากแล้วครับ แต่ก่อนคุณภรรยา
บอก (ขอร้องให้ลดลงบ้าง) แต่เดี๋ยวนี้เรื่องกลับกลายเป็นว่า ทำไมคุณพี่ไม่โกรธ
(เหมือนเคย...) โธ่...คุณน้องขา...แต่ก่อนกับเดี๋ยวนี้...มันคนละขณะกันนะจ๊ะ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ..