ขอความกรุณาท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายลักษณะของอัตตสัญญา ว่าเป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากสักกายทิฏฐิอย่างไร และขณะใดที่ไม่มีอัตตสัญญาครับ
มีคำอธิบายเรื่องนี้อยู่ในกระทู้นี้ครับ
อัตตสัญญาคืออะไร
อัตตสัญญา
อัตตสัญญา
หลงจำไว้มั่นคงว่ามีเราเพราะมีอัตตสัญญา
อัตตสัญญา
อตฺต (ตน ตัวตน) + สญฺญา (ความจำ) ความจำหมายว่าเป็นตัวตน
หมายถึง สัญญาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต ในขณะที่จำหมายว่าเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเกิดได้ทางทวารทั้ง ๖
ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น แม้สัญญาจำหมายในรูปร่างสัณฐาน หรือมี สัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์ ก็ไม่เป็นอัตตสัญญา ไม่เป็นสัญญาวิปลาส (ดูวิปลาส)
ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น แม้สัญญาจำหมายในรูปร่างสัณฐาน หรือมี สัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์ ก็ไม่เป็นอัตตสัญญา ไม่เป็นสัญญาวิปลาส (ดูวิปลาส)
๑. ขอเรียนถามว่า ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นในที่นี้ เป็นกุศลจิตขั้นไหน อย่างไร
๒. จะกล่าวได้หรือไม่ว่าขณะที่จิตเป็นภวังค์ ปฏิสนธิจิต จุติจิต หรือจิตที่พ้นวิถี ซึ่งแม้ประกอบด้วยสัญญาเจตสิกก็ไม่มีอัตตสัญญา เพราะขณะนั้นไม่รู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖
๓. ขณะอื่นๆ ที่ไม่มีอัตตสัญญามีอีกหรือไม่ กรุณายกตัวอย่าง
๔. พระโสดาบันละอัตตสัญญาได้แล้วเป็นสมุจเฉท หมายความว่า สัญญาเจตสิกที่เกิดกับทุกขณะจิต (ทั้งจิตที่เป็นวิถีและไม่ใช่วิถี) ของท่าน ประกอบด้วยปัญญาขั้นพระโสดาบัน ถูกต้องหรือไม่
ขอบพระคุณค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 2
๑. กุศลทุกระดับครับ
๒. แม้ขณะที่จิตเป็นวิบากก็ไม่วิปลาส ไม่มีอัตตสัญญา
๓. เว้นขณะที่เป็นอกุศล ขณะจิตที่เหลือไม่มีอัตตสัญญา
๔. เพราะท่านดับทิฏฐิเป็นสมุจเฉทแล้ว ทุกขณะจิตก็ไม่มีครับ
จากการศึกษา เข้าใจว่า สัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์ของกุศลจิตขั้นทาน ศีล และ สมถภาวนาได้ แต่ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ไม่มี สัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์ และรูปร่าง สัณฐาน ก็เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม
ดังนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า กุศลจิตขั้นวิปัสสนาภาวนา ไม่มีอัตตสัญญา เพราะเหตุใดท่านจึงกล่าวว่า กุศลทุกระดับคะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 5
จากคำถามที่ว่า ดังนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่า กุศลจิตขั้นวิปัสสนาภาวนา ไม่มีอัตตสัญญาเพราะเหตุใดท่านจึงกล่าวว่า กุศลทุกระดับคะ
- อัตตสัญญา คือ สัญญาที่เกิดกับอกุศลจิต ดังนั้น ขณะที่เป็นกุศลจิต ไม่ได้มีความจำ หมายด้วยจิตที่เป็นอกุศลด้วยสัญญา การเห็นเป็น สัตว์ บุคคล หรือมีอารมณ์เป็นบัญญํติ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นอัตตสัญญาเสมอไป เมื่อใดจิตเป็นอกุศล สัญญาที่เกิดร่วมด้วยจำรูปร่าง เป็น สัตว์ บุคคล ในขณะนั้น เป็นอัตตสัญญา ครับ
โดยทำนองเดียวกับเรื่องวิปลาส มักจะเข้าใจว่าถ้าเห็นเป็น สัตว์ บุคคล ก็ต้องวิปลาส คือคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ถามว่าพระอรหันต์เห็นเป็น สัตว์ บุคคล ไหม พระพุทธเจ้าเห็นเป็นพระสารีบุตรไหม แม้เห็นเป็น สัตว์ บุคคล ท่านเหล่านั้นมีความวิปลาส หรือเปล่า
ไม่มีแน่นอนครับ ดังนั้นขณะที่วิปลาสต้องเป็นขณะที่เป็นอกุศลเท่านั้น ขณะ ที่เป็นกุศลแม้จะมี สัตว์ บุคคล บัญญัติ เป็นอารมณ์ก็ไม่วิปลาสเลย ไม่เช่นนั้น กุศลที่มี สัตว์ บุคคล เป็นอารมณ์ ก็ต้องวิปลาสตลอดครับ ซึ่งอธิบายโดยทำนองเดียวกับในเรื่องของอัตตสัญญาครับ
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาท่านวิทยากรผู้ตอบ และ ท่านผู้ตั้งกระทู้ค่ะ เป็นความรู้ใหม่ ซึ่งจากการสนทนา ก็พอจะเข้าใจขึ้นบ้างแล้วค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นไม่มีอัตตสัญญาค่ะ
ขอเรียนถามเพิ่มครับ
ถ้ากล่าวถึงแตกต่างระหว่าง สักกายทิฏฐิ และ อัตตสัญญา แล้วอยากให้ท่านผู้รู้ ท่านอาจารย์ prachern.s หรืออาจารย์ khampan.a อธิบายคำว่า ฆนบัญญัติ และอธิบายความต่างของคำทั้งสามด้วยครับด้วย และไม่ทราบว่าพระอรหันต์ มีฆนบัญญัติ เป็นอารมณ์ ได้ไหมครับ
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านไม่มีความเห็นผิด พระอริยบุคคลท่านก็รู้ สมมติบัญญัติ แต่ท่านก็ไม่เข้าใจผิดว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน ค่ะ
เรียน ความเห็นที่ 12
รายละเอียดฆนบัญญญัติขอเชิญคลิกที่
ฆนบัญญัติ
พระอรหันต์ก็ยังมี ฆนบัญญัติ ท่านรู้ความหมายของชาวโลกตามปกติ ส่วน สักกายทิฏฐิ และ อัตตสัญญา เป็นอกุศลเพียงอย่างเดียวครับ
ขอบคุณครับ ผมได้อ่านคำอธิบาย ฆนบัญญัติ แล้วครับ
ช่วยกรุณาอธิบายคำว่า อัตถบัญญัติ เพิ่มด้วยครับ จะต่างจากคำทั้งสามข้างต้น (สักกายทิฏฐิ และ อัตตสัญญา และ ฆนบัญญัติ) หรือไม่ครับและพระอรหันต์ มี อัตถบัญญัติ เป็นอารมณ์ ได้ไหมครับ
คำอธิบายอรรถบัญญัติ เชิญคลิก
อัตถบัญญัติ
และพระอรหันต์ ก็มี อัตถบัญญัติ เป็นอารมณ์ ครับ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 14885 โดย Sam
ขอความกรุณาท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายลักษณะของอัตตสัญญา ว่าเป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากสักกายทิฏฐิอย่างไร และขณะใดที่ไม่มีอัตตสัญญาครับ
ขอเพิ่มเติมจากความเห็นของท่านอื่นๆ ดังนี้ค่ะ
อัตตสัญญา เป็นสัญญาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต (ทุกประเภท) เท่านั้น จิตประเภทอื่นที่เหลือทั้งหมดทั้งที่เป็นโสภณและอัพยากต สัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ไม่ใช่อัตตสัญญาค่ะ ส่วนสักกายทิฏฐิ เป็นทิฏฐิเจตสิกที่เกิดกับ โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตเท่านั้น อกุศลจิตประเภทอื่นๆ และจิตที่เหลือทั้งหมด ไม่มีสักกายทิฏฐิเกิดร่วมด้วยค่ะ
ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด สัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ทำกิจ "จำ" สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ คลาดเคลื่อนผิดไปจากความเป็นจริง ตามความวิปลาสของจิตในขณะนั้น ขณะใดที่มีความยึดมั่นในความเห็นผิดว่ามี ตัวตน คน สัตว์ วัตถุจริงๆ ขณะนั้นเป็นสักกายทิฏฐิค่ะ
ขออนุโมทนาครับ