๕๔. อุณหวลาหกสูตร
โดย บ้านธัมมะ  9 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37081

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 585

๕๔. อุณหวลาหกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 585

๕๔. อุณหวลาหกสูตร

[๕๕๑] กรุงสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความร้อนมีในบางคราว พระเจ้าข้า?


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 586

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ พวกเทวดาชื่ออุณหวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน เมื่อนั้น ความร้อนย่อมมีเพราะอาศัยความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น ดูก่อนภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความร้อนมีในบางคราว.

จบ อุณหวลาหกสูตรที่ ๕๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕๔

บทว่า อพฺภํ โหติ ความว่า มีมณฑปเมฆ (กลุ่มเมฆ). แม้ในสูตรนี้ เมฆที่ก่อตัวขึ้น ในวัสสานฤดู (ฤดูฝน) และในสิสิรฤดู (ฤดูหนาว) เป็นเมฆตามปกติ (ธรรมดา) นั่นเอง มีฤดูเป็นสมุฏฐาน.

ส่วนเมฆหนา (๑) ในฤดูมีเมฆนั่นแหละ ที่บดบังพระจันทร์และพระอาทิตย์ ทำให้มืดมิดหมดเป็นเวลาถึง ๗ สัปดาห์ และเมฆในเดือน ๕ เดือน ๖ ชื่อว่าเมฆที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของเทวดา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕๔


(๑) ปาฐะว่า อพฺภํ ฉบับพม่าเป็น อภิอพฺภํ แปลตามฉบับพม่า.