๑. อปัณณกชาดก ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
โดย บ้านธัมมะ  4 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35200

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 1

เอกนิบาตชาดก

๑. อปัณณกวรรค

๑. อปัณณกชาดก

ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ

อปัณณกชาดก ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ 1/1

ทูเรนิทาน ประณามคาถา 2

อวิทูเรนิทาน 80

สันติเภนิทาน 124

อรรถกถาอปัณณกวรรค อปัณณกชาดก 154


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เอกนิบาตชาดก

๑. อปัณณกวรรค

๑. อปัณณกชาดก

ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ

[๑] คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะอันหนึ่งว่า ไม่ผิด นักเดาทั้งหลายกล่าวฐานะอันนั้นว่า เป็นที่สอง คนมีปัญญารู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้ว ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

จบอปัณณกชาดกที่ ๑


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 2

ชาตกัฏฐกถา

อรรถกถาชาดก เอกนิบาต

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทูเรนิทาน

ประณามคาถา

ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ สุดหาบุคคลผู้เปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นจากสาครแห่งไญยธรรม ผู้ทรงข้ามสงสารสาครเสียได้ด้วยเศียรเกล้า พร้อมทั้งพระธรรมอันลึกซึ้ง สงบยิ่ง ละเอียดยากที่คนจะมองเห็นได้ ที่ทำลายเสียได้ซึ่งภพน้อยและภพใหญ่ สะอาดอันเขาบูชาแล้ว เพราะพระสัทธรรม อีกทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องข้อง ผู้สูงสุดแห่งหมู่ ผู้สูงสุดแห่งทักขิไณยบุคคล ผู้มีอินทรีย์ อันสงบแล้ว หาอาสวะมิได้.

ด้วยการประณามที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วต่อพระรัตนตรัยด้วยความนับถือเป็นพิเศษนี้นั้น ข้าพเจ้า อันผู้ที่เป็นนักปราชญ์ยิ่งกว่านักปราชญ์ ผู้รู้อาคม [ปริยัติ] เป็นวิญญูชน มียศใหญ่ได้ขอร้องด้วยการเอาใจแล้วๆ เล่าๆ เป็นพิเศษว่า ท่านขอรับ ท่าน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 3

ควรจะแต่งอรรถกถาอปทาน [ชีวประวัติ] เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแสดงการพรรณนาเนื้อความอันงามแห่งพระบาลีในพระไตรปิฎกทีเดียว พร้อมทั้งชีวประวัติที่ยังเหลืออยู่ เรื่องราวอันดีเยี่ยมนี้ใครกล่าวไว้ กล่าวไว้ที่ไหน กล่าวไว้เมื่อไร และกล่าวไว้เพื่ออะไร ข้าพเจ้าจักกล่าวเรื่องนั้นๆ แล้วก็มาถึงวิธีเพื่อที่จะให้ ฉลาดในเรื่องนิทาน เพราะจะทำให้เล่าเรียนและทรงจำได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เรื่องราวที่ท่านจัดให้แปลกออกไปตามที่เกิดก่อน และหลังรจนาไว้ในภาษาสิงหลของเก่าก็ดี ในอรรถกถาของเก่าก็ดี เมื่อมาถึงวิธีนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่ให้สำเร็จประโยชน์ตามที่สาธุชนต้องการ เหตุนั้นข้าพเจ้าก็จักอาศัยนัยตามอรรถกถาของเก่านั้น เว้นไม่เอาเนื้อความที่ผิดเสีย แสดงแต่เนื้อความที่แปลกออกไป กระทำการพรรณนาเฉพาะแต่ที่แปลก ซึ่งดีที่สุดเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้•

เพราะเหตุที่ได้ปฏิญาณไว้แล้วว่า เรื่องราวอันดีเยี่ยมใครกล่าวไว้ กล่าวไว้ในที่ไหนและกล่าวไว้เมื่อไร และว่าข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาเนื้อความดังนี้ ก็การพรรณนาเนื้อความแห่งชีวประวัตินั้น เมื่อข้าพเจ้าแสดงนิทานสามอย่างเหล่านี้ คือ ทูเรนิทาน [นิทานในที่ไกล] อวิทูเรนิทาน [นิทานในที่ไม่ไกลนัก] สันติเกนิทาน [นิทานในที่ใกล้] พรรณนาอยู่ก็จักเป็นที่เข้าใจได้แจ่มแจ้ง เพราะคนที่ได้ฟัง ได้เข้าใจมาตั้งแต่ได้อ่านแล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงจักแสดงนิทานเหล่านั้น พรรณนาชีวประวัตินั้น บรรดานิทานเหล่านั้น ก่อน-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 4

อื่นควรทราบปริเฉท [ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ] เสียก่อน กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระะมหาสัตว์ได้ตั้งปรารถนาอย่างจริงจัง ณ เบื้องบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงจุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดร แล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน.

กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่จุติจากภพสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่ควงไม้โพธิ์ จัดเป็นอวิทูเรนิทาน.

ส่วนสันติเกนิทาน มีปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ ของพระองค์ที่เสด็จประทับอยู่ในที่นั้นๆ ด้วยประการฉะนี้.

ทูเรนิทาน

ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้ เล่ากันมาว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี. ในนครนั้นมีพราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี ถือกำเนิดอันบริสุทธิ์ทั้งทางฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา นับได้เจ็ดชั่วตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขาไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์ บิดาและมารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขายังรุ่นหนุ่ม. ต่อมาอำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น บอกให้ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวดแล้วเรียนว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะถือเอาทรัพย์แม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วยหามีไม่ แต่เราควรกระทำเหตุที่จะให้ถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้แล้ว ได้


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 5

กราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนครให้ทานแก่มหาชนแล้วออกบวชเป็นดาบส ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้งควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้ในที่นี้ด้วย. แต่สุเมธกถานี้มีมาแล้วในพุทธวงศ์ติดต่อกัน แต่เพราะเล่าเรื่องประพันธ์เป็นคาถาจึงไม่ใคร่จะแจ่มชัดดีนัก เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวพร้อมกับแสดงคำที่ประพันธ์เป็นคาถาแทรกไว้ในระหว่างๆ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ได้มีพระนครมีนามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ เสียง ที่ท่านหมายถึงเสียงที่กล่าวไว้ในพุทธวงศ์ ว่า

ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ เสียง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า อึกทึกไปด้วยเสียงเหล่านี้ คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังสดาล เสียงที่ ๑๐ ว่า เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม ซึ่งท่านถือเอาเพียงเอกเทศหนึ่งแห่งเสียงเหล่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า

กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ และเสียงรถ เสียงป่าวร้องด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม.

แล้วกล่าวว่า

พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ เข้าถึงความเป็นพระนครที่มีสิ่งต้องการทุกชนิด สมบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชน


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 6

ต่างๆ มั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าผู้มีบุญ พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และในสัทธรรม

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้น ไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบนนั่งขัดสมาธิคิดว่า นี่แน่ะบัณฑิตการเกิดอีก ชื่อว่าการถือปฏิสนธิเป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้วก็เป็นทุกข์เช่นกัน และเราก็มีการเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา ควรที่เราผู้เป็นเช่นนี้ จะแสวงหาพระมหานิพพานที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข เยือกเย็น ไม่รู้จักตาย ทางสายเดียวที่พ้นจากภพมีปรกตินำไปสู่พระนิพพานจะพึงมีแน่นอน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเข้าไปสู่ที่เร้น นั่งแล้วในตอนนั้นได้คิดว่า ขึ้นชื่อว่า การเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระก็เป็นทุกข์ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาเช่นกัน เราจัก แสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม ไฉนหนอเราไม่พึงมีเยื่อใย ไร้ความต้องการ ทิ้งร่างกายเน่าซึ่งเต็มไปด้ายทรากศพนานาชนิดนี้เสียได้แล้วไปทางนั้นมีอยู่ จักมีแน่ ทางนั้นอันใครๆ ไม่อาจที่จะไม่ให้มีได้ เราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อพ้นจากภพให้ได้ ดังนี้.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 7

ต่อจากนั้นก็คิดยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุขที่เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์มีอยู่ในโลก ฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สิ่งที่ปราศจากภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเหมือนเมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นที่จะระงับความร้อนนั้นก็ต้องมีฉันใด แม้พระนิพพานที่ระงับไฟมีราคะเป็นต้น ก็พึงมีฉันนั้น ธรรมที่ไม่มีโทษอันงามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปอันลามก ย่อมมีอยู่ ฉันใด เมื่อชาติอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือความไม่เกิด เพราะให้ความเกิดทุกอย่างสิ้นไป ก็พึงมีฉันนั้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสุขก็ต้องมี ฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนา ฉันนั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมี ฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่พระนิพพานก็ควรปรารถนา ฉันนั้น เมื่อสิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมีฉันใด ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็ควรปรารถนา ฉันนั้น ดังนี้.

ท่านยังคิดข้ออื่นๆ อีกว่า บุรุษผู้จมอยู่ในกองคูถเห็นสระใหญ่ดาดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีแต่ไกล ควรที่จะแสวงหาสระนั้นด้วยคิดว่า เราควรจะไปที่สระนั้นโดยทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็นความผิดของสระนั้นไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระใหญ่คืออมตนิพพานเป็นทีชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาสระนั้นไม่เป็นความผิดของสระใหญ่คืออมตนิพพาน แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่งบุรุษผู้ถูกพวกโจรห้อมล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้าเขาไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด บุรุษผู้ถูก


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 8

กิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่ไปสู่พระนิพพานมีอยู่แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษาความเจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รักษาความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้น ฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็นความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระไม่ฉันใด เมื่อสระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระคืออมตะไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุม เมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ ฉันใด คนที่ถูกกิเลสกลุ่มรุม เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของหมอนั้นไม่ ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วยคือกิเลสเบียดเบียนแล้ว ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 9

ท่านยังนึกถึงแม้ข้ออื่นๆ อีกว่า คนผู้ขอบแต่งตัวพึงทิ้งซากศพที่คล้องไว้ที่คอไปได้อย่างมีความสุข ฉันใด แม้เราก็ควรทิ้งกายอันเน่านี้ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานนคร ฉันนั้น ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรดบนพื้นที่อันสกปรกแล้ว ย่อมไม่เก็บใส่พกหรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจไม่มีอาลัยเลย กลับทิ้งไปเสีย ฉันใด แม้เราก็ควรจะไม่มีอาลัยทิ้งกายเน่านี้เสีย เข้าไปสู่นิพพานนครอันเป็นอมตะ ฉันนั้น และนายเรือไม่มีอาลัยทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไป ฉันใด แม้เราก็จะละกายอันเป็นที่หลั่งไหลออกจากปากแผลทั้งเก้านี้ ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานบุรี ฉันนั้น อนึ่ง บุรุษพาเอาแก้วนานาชนิดเดินทางไปพร้อมกับโจร จึงละทิ้งพวกโจรเหล่านั้นเสีย เพราะกลัวจะเสียแก้วของตนถือเอาทางที่ปลอดภัย ฉันใด กรชกาย (กายที่เกิดจากธุลี) แม้นี้ ก็ฉันนั้น เป็นเช่นกับโจรปล้นแก้ว ถ้าเราจักก่อตัณหาขึ้นในกายนี้ แก้วคือพระธรรมอันเป็นกุศล คืออริยมรรคจะสูญเสียไป เพราะฉะนั้น ควรที่เราจะละทิ้งกายอันเช่นกับโจรนี้เสีย แล้วเข้าไปสู่นิพพานนคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอแล้วไป อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำพังตนได้ ฉันใด คนก็ควรละทิ้งร่างกายเน่า ที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันนั้น.

ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระทิ้งไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจะละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดนี้ไป เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 10

เจ้าของละทิ้งเรือที่เก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด เราจักละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็นนิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป ฉันนั้น.

บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะเกิดจากการตัดห่อของจึงทิ้งแล้วไปเสีย ฉันใด กายนี้เปรียบเหมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเพราะกลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน.

สุเมธบัณฑิตคิดเนื้อความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่างๆ อย่างแล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วนในเรือนของตน แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเดินทางไกลเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวายมหาทานละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่จงกรม เนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้งห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ประกอบด้วยเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่างตาม ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัย เป็นต้นว่า เมื่อจิตมั่นคงแล้วอย่างนี้ ดังนี้ แล้วละทิ้งผ้าสาฎกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการบวชเป็นฤษี. ท่านเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ ก็ละบรรณศาลานั้น ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปหาโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เลิกละข้าวต่างๆ อย่างทั้งปวง หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นจากต้นเอง เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่งการยืนและการจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเองก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ท่านได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 11

เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อยโกฏิแก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ในที่ไม่ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ในอาศรมนั้น เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปดประการ เราเลิกใช่ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หันมานุ่งผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเองที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความเพียร ในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรมในอาศรมบทนั้น ภายในเจ็ดวันก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา ดังนี้.

ในคาถานั้นด้วยบาลีนี้ว่า อสฺสโม สุกโต มยฺหํ ปณฺณสาลํ สุมาปิตํ ท่านกล่าวถึงบรรณศาลา และที่จงกรมไว้ราวกะว่าสุเมธบัณฑิตสร้างขึ้นด้วยมือของตนเอง แต่ในคาถานี้ มีใจความดังต่อไปนี้ ท้าวสักกะทรงเห็นว่า พระมหาสัตว์จักเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ววันนี้จักถึงภูเขาชื่อธรรมิกะ จึงรับสั่งเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรว่า นี่พ่อสุเมธบัณฑิตออกมาด้วยคิดว่า เราจักบวช ท่านจงเนรมิตที่อยู่ให้แก่พระมหาสัตว์นั้น วิสสุกรรมเทพบุตรนั้นรับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงเนรมิตอาศรมน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาสร้างอย่างดี


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 12

ที่จงกรมน่าเบิกบานใจ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอาศรมบทนั้น ที่สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งบุญของพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรที่ธรรมิกบรรพตนั้น อาศรมเราได้สร้างขึ้นอย่างดีแล้ว เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ใกล้อาศรมนั้นด้วย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกโต มยฺหํ แปลว่า เราสร้างอาศรม ไว้อย่างดีแล้ว. บทว่า ปณฺณสาลํ สมมาปิตํ ความว่า แม้บรรณศาลาที่มุงด้วยใบไม้เราก็สร้างไว้ดีแล้ว. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ความว่า ชื่อว่าโทษของที่จงกรมมี ๕ อย่างเหล่านี้คือ แข็งกระด้างและขรุขระ มีต้นไม้ภายในมุงไว้รกรุงรัง คับแคบมากนัก กว้างขวางเกินไป จริงอยู่ เมื่อบุคคลเดินจงกรมบนที่จงกรมมีพื้นดินแข็งกระด้างและขรุขระ เท้าทั้งสองจะเจ็บปวดเกิดการพองขึ้น จิตจึงไม่ได้ความแน่วแน่ และกรรมฐานก็จะวิบัติ แต่กรรม ฐานจะถึงพร้อมเพราะอาศัยการอยู่สบาย ในพื้นที่อ่อนนุ่มและราบเรียบ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าพื้นที่แข็งกระด้างและขรุขระเป็นโทษอันหนึ่ง. เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในหรือท่ามกลางหรือที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่ออาศัยความประมาทเดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะก็จะกระทบ เพราะฉะนั้น มีต้นไม้ภายในจึงเป็นโทษข้อที่ ๒. เมื่อเดินจงกรมบนที่จงกรมมุงไว้รกรุงรังด้วยหญ้าและเถาวัลย์ เป็นต้น ในเวลากลางคืนก็จะเหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ทำให้มันตาย หรือจะถูกพวกมันกัดได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้น การที่มุงบังรกรุงรังจึงจัดเป็นโทษข้อที่ ๓. เมื่อเดินจงกรมบนที่จงกรมแคบเกินไป จึงมีกำหนดโดยกว้างเพียงศอกเดียวหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ้วมือบ้าง จะไปสะดุดเข้าแล้วแตก เพราะฉะนั้น ความคับแคบเกินไปจึงเป็นโทษข้อที่ ๔. เมื่อเดินจงกรมบนที่ จงกรมกว้างขวางเกินไป จิตย่อมวิ่งพล่าน จะไม่ได้ความมีอารมณ์แน่วแน่ เพราะฉะนั้น การที่ที่กว้างขวางเกินไปจึงเป็นโทษข้อที่ ๕. ที่เดินจงกรมโดย


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 13

ส่วนกว้างได้ศอกครึ่ง ในสองข้างมีประมาณศอกหนึ่ง ที่เดินจงกรมโดยส่วนยาวมีประมาณ ๖๐ ศอก มีพื้นอ่อนนุ่ม มีทรายโรยไว้เรียบเสมอ ก็ใช้ได้ เหมือนที่เดินจงกรมของพระมหินทเถระ ผู้ปลูกฝังความเลื่อมใสให้ชาวเกาะที่เจติยคิรีวิหารก็ได้เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่เดินจงกรมไว้ในอาศรมนั้น อันเว้นจากโทษ ๕ ประการ.

บทว่า อฏฺคุณสมุเปตํ คือประกอบด้วยสุขของสมณะ ๘ ประการ ชื่อว่าสุขของสมณะ ๘ ประการนั้นมีดังนี้คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์สินและข้าว แสวงหาแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่บิณฑบาตที่เย็น ไม่มีการบีบบังคับราษฎร ในเมื่อพวกลูกหลวงทั้งหลาย เที่ยวบีบบังคับราษฎรถือเอาทรัพย์มีค่าและเหรียญกษาปณ์ตะกั่วเป็นต้น ปราศจากความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีความกลัวภัยในเรื่องถูกโจรปล้น ไม่ต้องไปคลุกคลีกับพระราชาและราชอำมาตย์ ไม่ถูกกระทบกระทั่งในทิศทั้ง ๔. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถที่จะประสบสุขของสมณะ ๘ อย่างเหล่านี้ได้ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ ๘ อย่าง ฉันนั้น. บทว่า อภิญฺาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรมนั้น กระทำบริกรรมในกสิณแล้ว เริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยงและโดยความเป็นทุกข์ เพื่อต้องการความเกิดขึ้นแห่งอภิญญาและสมาบัติ แล้วก็ได้กำลังแห่งวิปัสสนาอันทรงเรี่ยวแรง. อธิบายว่า เมื่อเราอยู่ในอาศรมนั้นสามารถนำกำลังนั้นมาได้ ฉันใด เราได้สร้างอาศรมนั้น กระทำให้เหมาะสมแก่กำลังแห่งวิปัสสนานั้น เพื่อประโยชน์แก่อภิญญา.

ในคาถานี้ว่า สาฏกํ ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคตํ มีคำที่จะกล่าวไปตามลำดับดังต่อไปนี้ ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตอาศรม ที่ประกอบด้วยกระท่อม ที่เร้น และที่เดินจงกรมโดยทางโค้ง


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 14

ดาดาษไปด้วยต้นไม้ผลิดอกออกผล มีน้ำมีรสอร่อยน่ารื่นรมย์ ปราศจากสัตว์ร้ายและนกมีเสียงร้องน่าสะพรึงกลัวต่างๆ ควรแก่การสงบสงัด จัดหาพนักสำหรับพิงไว้ที่ที่สุดสองข้างแห่งที่เดินจงกรมอันตกแต่งแล้ว ตั้งแผ่นหินมีสีดังถั่วเขียวมีหน้าเสมอไว้ที่ตรงท่ามกลางที่เดินจงกรม ในภายในบรรณศาลา เนรมิตสิ่งของทุกอย่างที่จะเป็นไปเพื่ออุปการะแก่บรรพชิตอย่างนี้คือ ชฎามณฑล (ชฎาทรงกลม) ผ้าเปลือกไม้ บริขารของดาบสมีไม้สามง่าม เป็นต้น ที่ซุ้มน้ำมีหม้อน้ำดื่ม สังข์ตักน้ำดื่ม ขันตักน้ำดื่ม ที่โรงไฟมีกะทะรองถ่านและไม้ฟืนเป็นต้น ที่ฝาผนังแห่งบรรณาศาลาเขียนอักษรไว้ว่า ใครๆ มีประสงค์จะบวชจงถือเอาบริขารเหล่านี้บวชเถิด แล้วไปสู่เทวโลก สุเมธบัณฑิตไปสู่ป่าหิมพานต์ตามทางแห่งซอกเขา มองหาที่ผาสุกควรจะอาศัยอยู่ได้ของตน มองเห็น อาศรมน่ารื่นรมย์ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ อันท้าวสักกะประทานให้ที่ทางไหลกลับแห่งแม่น้ำ จึงไปที่ท้ายที่เดินจงกรม มิได้เห็นรอยเท้าจึงคิดว่า บรรพชิตแสวงหาภิกขาในบ้านใกล้ แล้วเหน็ดเหนื่อย จักมา เข้าไปสู่บรรณศาลา แล้วนั่งแน่แท้ จึงรออยู่หน่อยหนึ่งคิดว่า บรรพชิตชักช้าเหลือเกิน เราอยากจะรู้นัก จึงเปิดประตูกุฏิในบรรณศาลาเข้าไปข้างใน ตรวจดูข้างโนน้และข้าง นี้ อ่านอักษรที่ฝาผนังแผ่นใหญ่แล้วคิดว่า กัปปิยะบริขารเหล่านั้นเป็นของเรา เราจักถือเอาบริขารเหล่านี้อบวช จึงเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกทั้งคู่ที่ตนนุ่งและห่มแล้วไว้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เราเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปอย่างนี้แล้ว เปลื้องทิ้งผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ ไว้ในบรรณศาลานั้น เพราะฉะนั้น เราเมื่อจะเปลื้องทิ้งผ้าสาฎก จึงเปลื้องทิ้งไปเพราะเห็นโทษ ๙ ประการ. จริงอยู่สำหรับผู้ที่บวชเป็นดาบส โทษ ๙ ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือ มีค่ามากเป็นโทษอันหนึ่ง. เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่นหนึ่ง. เศร้าหมองเร็ว


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 15

เพราะการใช้สอยหนึ่ง เศร้าหมองแล้วจะต้องซักและต้องย้อม การที่เก่าไป เพราะการใช้สอยเป็นโทษอันหนึ่ง. ก็สำหรับผ้าที่เก่าแล้วจะต้องทำการชุนหรือใช้ผ้าดาม การที่จะได้รับด้วยการแสวงหาอีกก็ยาก เป็นโทษอันหนึ่ง, ไม่เหมาะสมกับการบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง, เป็นของทั่วไปแก่ศัตรูเป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะจะต้องคุ้มครองไว้โดยอาการที่ศัตรูจะถือเอาไม่ได้เป็น เครื่องประดับประดาของผู้ใช้สอยเป็นโทษอันหนึ่ง, สำหรับผู้ถือเที่ยวไปเป็นคนมักมากในสิ่งที่เป็นของใช้ประจำตัว เป็นโทษอันหนึ่ง. บทว่า วากจีรํ นิวาเสสึ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ครั้งนั้นเราเห็นโทษ ๙ ประการเหล่านี้จึงเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกนุ่งผ้าเปลือกไม้ คือใช้ผ้าเปลือกไม้ที่ฉีกหญ้ามุงกระต่ายให้เป็นชิ้นน้อยใหญ่ถักเข้ากันกระทำขึ้น เพื่อประโยชน์จะใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.

บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ คือประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ ก็ในผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการ คือราคาถูกดีสมควร นี้เป็นอานิสงส์อันหนึ่งก่อน สามารถทำด้วยมือตนเอง นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๒ จะเศร้าหมองช้าๆ ด้วยการใช้สอย แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๓ แม้จะเก่าไปเพราะการใช้สอยก็ไม่ต้องเย็บ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๔ เมื่อแสวงหาใหม่ก็ทำได้ง่าย นี้เป็น อานิสงส์ที่ ๕ เหมาะกับการบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ที่ ๖ ผู้เป็นศัตรูไม่ใช้สอย เป็นอานิสงส์ที่ ๗ เมื่อใช้สอยอยู่ก็ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการประดับประดา เป็นอานิสงส์ที่ ๘ จะนุ่งห่มก็เบา นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๙ แสดงว่ามักน้อยในปัจจัยคือจีวร นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๑๐ การเกิดขึ้นแห่งเปลือกไม้ เป็นของชอบธรรมและไม่มีโทษ เป็นอานิสงส์ที่ ๑๑ เมื่อผ้าเปลือกไม้แม้จะสูญหายไปก็ไม่ มีอาลัย นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๑๒.

บทว่า อฏฺโทสสมากิณฺณํ ปชหึ ปณฺณสาลกํ ความว่า เราละอย่างไร ได้ยินว่าสุเมธบัณฑิตนั้นเปลื้องผ้าสาฎกเนื้อดีทั้งคู่ออกแล้ว ถือเอาผ้า


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 16

เปลือกไม้สีแดงเช่นกับพวงแห่งดอกอังกาบ ซึ่งคล้องอยู่ที่ราวจีวร แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้สีดังทองอีกผืนหนึ่งบนผ้าเปลือกไม้นั้น กระทำหนังเสือพร้อมทั้งเล็บเช่นกับสัณฐานของดอกบุนนาคพาดเฉวียงบ่า รวบชฎามณฑลแล้วสอดปิ่นปักผมทำด้วยไม้แข็งเข้าไปตรึงไว้กับมวย เพื่อทำให้ไม่ไหวติง ได้วางคนโทน้ำมีสีดังแก้วประพาฬในสาแหรกเช่นกับพวงแก้วมุกดา ถือเอาหาบโค้งในที่สามแห่ง คล้องคนโทน้ำไว้ที่ปลายหาบ ขอและตะกร้า ไม้สามง่าม เป็นต้น ไว้ที่ปลายข้างหนึ่ง เอาหาบดาบสบริขารวางบนบ่า เอามือขวาถือไม้เท้าออกไป จากบรรณศาลาเดินจงกรมอยู่ไปมาบนที่เดินจงกรม มีประมาณ ๖๐ ศอก มองดูเพศของตนแล้วคิดว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว การบรรพชาของเรางามจริงหนอ ขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้อันท่านผู้เป็นธีรบุรุษทั้งปวง มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นต้น สรรเสริญชมเชยแล้ว เครื่องผูกมัดของคฤหัสถ์เราละแล้ว เรากำลังออกบวช เราออกบวชแล้วได้บรรพชาอันสูงสุด เราจักกระทำสมณธรรม เราจักได้สุขอันเกิดแต่มรรคผล ดังนี้แล้ว จึงเกิดความอุตสาหะวางหาบดาบสบริขารลง นั่งลงบนแผ่นหินมีสีดังถั่วเขียวเหมือนดังรูปปั้นทองฉะนั้น ให้เวลากลางวันสิ้นไป เข้าไปสู่บรรณศาลาในเวลาเย็น นอนบนเสื่อ ที่ถักด้วยแขนงไม้ข้างเตียงหวาย ให้ตัวได้รับอากาศพอสบาย แล้วตื่นขึ้นตอนใกล้รุ่ง คำนึงถึงการมาของตนว่า เราเห็นโทษในฆราวาสแล้วสละโภคสมบัตินับไม่ถ้วน ยศอันหาที่สุดมิได้ เข้าไปสู่ป่าแสวงหาเนกขัมมะบวช จำเดิมแต่นี้ไปเราจะประพฤติตัวด้วยความประมาทหาควรไม่ เพราะแมลงวัน คือมิจฉาวิตกย่อมจะกัดกินผู้ที่ละความสงบสงัดเที่ยวไป บัดนี้ ควรที่เราจะพอกพูนความสงบสงัด ด้วยว่าเรามองเห็นการอยู่ครองเรือนโดยความเป็นของมีแต่กังวลจึงออกมาบรรณศาลาน่าพอใจนี้ พื้นที่ซึ่งล้อมรั้วไว้ราบเรียบแล้วมีสีดังมะตูมสุก ฝาผนังสีขาวมีสีราวกะเงิน หลังคาใบไม้มีสีดังเท้านกพิราบ เตียงหวายมีสีแห่ง


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุต°ตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 17

เครื่องปูลาดอันงดงาม ที่อยู่พออยู่อาศัยได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่ง เรือนของเรา ปรากฏเหมือนจะมียิ่งกว่านี้ ดังนี้เลือกเฟ้นโทษของบรรณศาลาอยู่ ก็ได้เห็นโทษ ๘ ประการ. จริงอยู่ในการใช้สอยบรรณศาลามีโทษ ๘ ประการ คือ จะต้องแสวงหาด้วยการรวบรวมขึ้นด้วยทัพสัมภาระที่มีน้ำหนักมากมากระทำ เป็นโทษข้อหนึ่ง จะต้องช่อมแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้าใบไม้และดินเหนียวร่วงหล่นลงมา จะต้องเอาของเหล่านั้นวางไว้ที่เดิมแล้วๆ เล่าๆ เป็นโทษข้อที่ ๒ ธรรมดาเสนาสนะจะต้องตกแก่คนแก่ก่อน เมื่อเขาเข้ามาให้เราลุกขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะ ความแน่วแน่แห่งจิตก็จะมีไม่ได้ เพราะฉะนั้น การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ ๓ เพราะกำจัดเสียได้ซึ่งหนาวและร้อน ก็จะทำให้ร่างกาย


บอบบาง (ไม่แข็งแรง) เป็นโทษข้อที่ ๔ คนเข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น การที่ปกปิดสิ่งน่าติเตียน เป็นโทษข้อที่ ๕ การหวงแหนด้วยคิดว่าเป็นของเรา เป็นโทษข้อที่ ๖ ธรรมดาการมีเรือนแสดงว่าต้องมีภรรยา เป็นโทษข้อที่ ๗ เป็นของทั่วไปแก่ตนหมู่มาก เพราะเป็นสาธารณะแก่สัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแก เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๘. บทว่า อิเม ความว่า พระมหาสัตว์เห็นโทษ ๘ ประการเหล่านี้ แล้วจึงเลิกละบรรณศาลา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๘ ประการ.

บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณ ทสหุปาคตํ ความว่า พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนต้นไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ในข้อนั้นคุณ ๑๐ ประการมีดังต่อไปนี้ มีความยุ่งยากน้อยเป็นคุณข้อที่ ๑ เพราะเพียงแต่เข้าไปเท่านั้นก็อยู่ที่นั่นได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องดูแลรักษา เป็นคุณ ข้อที่ ๒ ก็ที่นั้นจะปัดกวาดก็ตาม ไม่ปัดกวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้อย่างสบายเหมือนกัน การที่ไม่ต้องบากบั่นนัก เป็นคุณข้อที่ ๓ ที่นั้นปกปิดความนินทา


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 18

ไม่ได้ เพราะเมื่อคนทำความชั่วในที่นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น การปกปิด ความนินทาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ ๔ โคนไม้เหมือนกับอยู่ในที่กลางแจ้ง ย่อมไม่ยังร่างกายให้อึดอัด เพราะฉะนั้น การที่ร่างกายไม่อึดอัดจึงเป็นคุณข้อ ๕ ไม่มีการต้องทำการหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ ๖ ห้ามเสียได้ซึ่งความอาลัยในบ้านเรือน เป็นคุณข้อที่ ๗ ไม่มีการที่จะต้องพูดว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถู พวกท่านจงออกไป แล้วก็ไล่ไปเหมือนในเรือนที่ทั่วไปแก่คนหมู่มาก เป็นคุณข้อที่ ๘ ผู้อยู่ก็ได้รับความเอิบอิ่มใจ เป็นคุณข้อที่ ๙ ไม่ต้องอาลัยอาวรณ์ เพราะเสนาสนะคือโคนต้นไม้หาได้ง่ายไม่ว่าจะไปที่ไหน เป็นคุณข้อที่ ๑๐. พระมหาสัตว์เห็นคุณ ๑๐ อย่างเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เราเข้าอาศัยโคนต้นไม้ ดังนี้. พระมหาสัตว์กำหนดเหตุมีประมาณเท่านี้เหล่านั้นแล้ว วันรุ่งขึ้นก็เข้าไปเพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่ท่านไปถึงได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. ท่านทำภัตกิจเสร็จแล้วมายังอาศรม นั่งลงแล้วคิดว่า เราบวชด้วยคิดว่าเราจะไม่ได้อาหารก็หาไม่ ธรรมดาว่าอาหารที่อร่อยนี้ย่อมยังความเมาด้วยอำนาจมานะและความเมาในความเป็นบุรุษให้เจริญ และที่สุดแห่งทุกข์อันมีอาหารเป็นมูลไม่มี ถ้ากระไร เราพึงเลิกละอาหารที่เกิดจากข้าวที่เขาหว่านและปลูก บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ดังนี้. จำเดิมแต่นั้นท่านกระทำอย่างนั้น พากเพียรพยายามอยู่ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ทำให้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ เกิดขึ้นได้แล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มาบริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก เราเริ่มตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน และการเดิน จงกรมที่โคนต้นไม้นั้น ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 19

เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาทรงพระนามว่าที่ปังกรเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรมจักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ทั้งสิ้นหวั่นไหวสั่นสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไปด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเราบรรลุความสำเร็จในศาสนาเป็นผู้มีความชำนิชำนาญอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายกทรงพระนามว่าที่ปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์ทรงถือกำเนิด เสด็จอุบัติขึ้น ตรัสรู้ แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบอิ่มอยู่ด้วยความยินดีในณาน มิได้เห็นนิมิตทั้ง ๔ เลย.

ในกาลนั้นพระทศพลทรงพระนามว่า ทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ เสด็จถึงนครชื่อรัมมกะ (๑) เสด็จประทับ ณ สุทัสนมหาวิหาร. พวกชาวรัมมกนครได้กล่าวว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงรัมมกนครแล้ว เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหาวิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้นๆ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น


(๑) บางแห่งเป็นรัมมนคร


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 20

พากันลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป. ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทานประดับประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล ในที่มีน้ำเซาะก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรยปรายข้าวตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้าพร้อมด้วยผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้เรียงรายเป็นแถว. ในกาลนั้นสุเมธดาบสเหาะจากอาศรมบทของตนมาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริงยินดีกันคิดว่า มีเหตุอะไรกันหนอ จึงลงจากอากาศยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาทางนี้เพื่อใคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์มีใจยินดีนิมนต์พระตถาคตในเขตแดนแห่งปัจจันตประเทศแล้ว พากันชำระสะสางทางเสด็จดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้นเราออกไปจากอาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ไปมาแล้ว ที่นั้นก็เหาะไปทางอากาศ.

เราเห็นชนต่างเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริง ต่างปราโมทย์ จึงลงจากท่องฟ้าไต่ถามพวกมนุษย์ทันที่ว่า มหาชนยินดีร่าเริงปราโมทย์ เกิดความดีใจ พวกเขาชำระสะสางถนนหนทางเพื่อใคร.

พวกมนุษย์จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระทศพลทีปังกรทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ ที่จะเป็นที่เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. สุเมธดาบสคิดว่าแม้เพียงคำประกาศ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 21

ว่า พระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์เหล่านี้ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย. ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน พวกเขาก็รับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้วมอบให้ไป สุเมธดาบสยึดเอาปีติซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์คิดว่า เราสามารถจะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็จะไม่ยินดีนัก วันนี้เราควรจะกระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น. เมื่อที่ว่างแห่งนั้นยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพลทีปังกรมีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม เมื่อเหล่าเทวดาบูชาอยู่ด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์ เมื่อสังคีตบรรเลงอยู่ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาอยู่ด้วยของหอมและดอกไม้ เสด็จเยื้องกรายบนพื้นมโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินมาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้วนั้น. สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วยพระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ (ลักษณะส่วนประกอบ) ๘๐ ประการ แวดวงด้วยแสงสว่างมีประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบมีสี ๖ ประการออกมาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้นท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบอยู่ไปมาและเป็นคู่ๆ กัน จึงคิดว่า วันนี้เราควรกระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล เพราะฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนเหมือนทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 22

ความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎาและผ้าเปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำนอนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์เหล่านั้น ถูกเราถามแล้วยืนยันว่า พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะเป็นพระโลกนายก ทรงพระนานว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พวกเขาแผัวถางถนนหนทางเพื่อพระองค์ ปีติเกิดขึ้นแล้วแก่เราทันใดเพราะได้ฟังคำว่า พทโธ เราเมื่อกล่าวอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ก็ได้เสวยโสมนัสแล้ว เรายืนอยู่ในที่นั้นยินดี มีใจเกิดความสังเวชจึงคิดว่า เราจัก ปลูกพืชไว้ในที่นั้น ขณะอย่าได้ล่วงเลยเราไปเสียเปล่า ถ้าพวกท่านจะแผ้วถางหนทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้ที่ว่างแห่งหนึ่งแก่เรา แม้เราก็จักแผ้วถางถนนหนทางที่นั้น พวกเขาได้ให้ที่ว่างแก่เราเพื่อจะแผ้วถางทาง.

เวลานั้นเรากําลังคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ แผ้วถางทาง เมื่อที่ว่างของเราทําไม่เสร็จ พระมหามุนีทีปังกรผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินเสด็จดําเนินมาทางนั้น การต้อนรับต่างๆ ก็มีขึ้น กลองมากมาย บรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทําเสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์และแม้เหล่ามนุษย์ก็เห็นเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้นต่าง


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 23

ประคองอัญชลีเดินตามพระตถาคตไป เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศก็โรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวง ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ เหล่าคนที่อยู่บนพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอกกระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่วทุกทิศ เราแก้ผมออก เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนังเสือ ในที่นั้นลาดลงบนเปือกตมนอนคว่ำหน้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าได้เหยียบบนเปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เรา ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลสด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้าม สงสารสาครได้แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ต่อจากนั้นประมวลธรรม ๘ ประการกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนอนลง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเรานอนบนแผ่นดินได้มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้เราเมื่อปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่นี้ด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุต-


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 24

ญาณจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชาย ผู้มีรูปร่างแข็งแรงนี้ข้ามฝั่งไปคนเดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่ของเรา ด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรงนี้ เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะให้เหล่าชนมากมายข้ามฝั่ง เราตัดกระแสน้ำคือสงสาร ทำลายภพทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ดังนี้.

ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จะสำเร็จได้เพราะประมวลมาซึ่งธรรม ๘ ประการ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ การสมบูรณ์ด้วยคุณ ๑ การกระทำยิ่งใหญ่ ๑ ความพอใจ ๑.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นั่นแหละปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของนาค ครุฑหรือเทวดาหาสำเร็จไม่ แม้ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์ เมื่อเขาดำรงอยู่ในเพศบุรุษเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิงหรือบัณเฑาะก์กระเทยและอุภโตพยัญชนก ก็หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับบุรุษ ความ ปรารถนาของผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุที่จะบรรลุอรหัต แม้ในอัตภาพนั้นเท่านั้นจึงจะสำเร็จได้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุ ถ้าเมื่อปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อปรารถนาในที่ใกล้เจดีย์หรือที่โคนต้นโพธิ์ ก็หาสำเร็จไม่ แม้เมื่อปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของผู้ที่


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 25

ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์หาสำเร็จไม่ แม้ผู้เป็นบรรพชิต ความปรารถนาของผู้ที่ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่เว้นจากคุณสมบัตินี้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยคุณแล้วก็ตาม ความปรารถนาของผู้ที่ได้กระทำการบริจาคชีวิตของตนแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้เท่านั้น จึงจะสำเร็จ ของคนนอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่แล้วยังจะต้องมีฉันทะอันใหญ่หลวง อุตสาหะ ความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่เพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ คนอื่นนอกจากนี้หาสำเร็จไม่.

ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้ออุปมาดังต่อไปนี้. ก็ถ้าจะพึงเป็นไปอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นที่เป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือว่าผู้ใดเดินด้วยเท้าสามารถที่จะเหยียบย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือว่าผู้ใดปักดาบทั้งหลายลงแล้วเอาเท้าเหยียบห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นซึ่งเต็มไปด้วยฝักดาบสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือว่าผู้ใดเอาเท้าย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเต็มไปด้วยถ่านมีเปลวเพลิงลุกโชติช่วงสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ผู้ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้เหตุหนึ่งว่าเป็นของที่คนทำได้ยาก คิดแต่ว่าเราจักข้ามหรือไปถือเอาซึ่งฝั่งข้างหนึ่งจนได้ ดังนี้ เขาผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ประกอบด้วยฉันทะอุตสาหะความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่ ความปรารถนาของเขา ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่. ก็สุเมธดาบสแม้จะประมวลธรรมทั้ง ๘ ประการเหล่านั้นได้แล้ว ยังการทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็น


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 26

พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ยังประทับยืนอยู่นั่นแหละ ทรงพยากรณ์แล้วด้วยตรัสว่า พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะสูงนี้ ซึ่ง นอนอยู่บนหลังเปือกตม. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้ว พระเจ้าข้า จึงตรัสว่าดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้านอนแล้ว ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ก็ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่ามายาเป็นพระมารดา พระราชาทรงพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระราชบิดา พระเถระชื่ออุปติสสะเป็นอัครสาวก พระเถระชื่อโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปัฏฐากชื่ออานนท์ พระเถรีนามว่าเขมาเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาเป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ประทับยืน ณ เบื้องศีรษะ ได้ตรัสคำนี้กะเราว่า พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฏิลผู้มีตบะสูงนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปที่นับ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 27

ไม่ถ้วนแต่กัปนี้ เขาเป็นตถาคตจะออกจากนครชื่อกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร กระทำทุกรกิริยา นั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธประคองข้าวปายาส ไปยังแม่น้ำเนรัญชราในที่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงถือข้าวปายาสไปที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จถึงโคนต้นโพธิ์ โดยทางที่เขาแต่งไว้ดีแล้ว ลำดับนั้นพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระยศใหญ่มิมีใครยิ่งกว่ากระทำประทักษิณโพธิมณฑลแล้ว จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ พระมารดาผู้เป็นชนนีของเขาจักมีนามว่ามายา พระบิดาจักมีนามว่าสุทโธทนะ เขาจักมีนามว่าโคดม พระโกลิตะและอุปติสสะจักเป็นอัครสาวก ผู้หาอาสวะมิได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตอันสงบตั้งมั่น. อุปฐากนามว่าอานนท์จักเป็นอุปฐากพระชินเจ้านั้น. นางเขมาและ นางอุบลวรรณาจักเป็นอัครสาวิกา ผู้หาอาสวะมิได้ ปราศราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น. ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักเรียกกันว่า อัสสัตถพฤกษ์ ดังนี้.

สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า นัยว่าความปรารถนาของเราจักสำเร็จ ดังนี้ มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้วต่างได้พากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า และพวกเขาเหล่านั้นก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ ฉันใด แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 28

ให้แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่านดังนี้ ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้. แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. แม้พระขีณาสพนับได้สี่แสนต่างก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้วคิดว่า เราจักตรวจตราดูบารมีทั้งหลาย ดังนี้ จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้ เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุกากล่าวว่า ข้าแด่พระผู้เป็นเจ้าสุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลายนั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราดูบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใดจะปรากฏ บุรพนิมิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่นดังนี้ กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยคำสรรเสริญนานาประการ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

คนและเทวาดาได้ฟังคำนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้หา ผู้เสมอมิได้ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ต่างยินดีว่า ดาบสนี้เป็นพืชและเป็นหน่อพระพุทธเจ้า เสียงโห่ร้องดังลั่นไป มนุษย์พร้อมเทวดาในหมื่นโลกธาตุต่างปรบมือหัวเราะร่า ต่างประคองอัญชลีนมัสการ ถ้าพวกเราจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถ ก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต มนุษย์เมื่อจะข้ามฝั่ง พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้าก็จะถือเอาท่าข้างใต้ข้ามแม่น้ำใหญ่ต่อไปได้ ฉันใด พวกเราแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 29

เหมือนกัน ถ้าพ้นพระชินเจ้านี้ไปก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ทรงกำหนดกรรมของเราไว้แล้ว จึงทรงยกพระบาทเบื้องขวาเสด็จไป พระสาวกผู้เป็นพระชินบุตรเหล่าใดได้มีอยู่ในที่นั้น เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำประทักษิณเรา. คน นาค คนธรรพ์ ต่างก็กราบไหว้แล้วหลีกไป เมื่อพระโลกนายกพร้อมด้วยพระสงฆ์ล่วงทัศนวิสัยของเราแล้ว มีจิตยินดีและร่าเริง เราจึงลุกขึ้นจากอาสนะในบัดนั้น ครั้งนั้น เราสบายใจด้วยความสุข บันเทิงใจด้วยความปราโมทย์ ท่วมท้นด้วยปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่ ที่นั้นเรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดได้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงความเต็มเปี่ยมในอภิญญาแล้วในโลกตั้งพันฤษีที่เสมอกับเราไม่มี เราไม่มีใครเสมอ ในฤทธิธรรม จึงได้ความสุขเช่นนี้ ในการนั่งขัดสมาธิของเรา. เทวดาและมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในหมื่นจักรวาลต่างเปล่งเสียงบรรลือลั่นว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน นิมิตใดจะปรากฏในการนั่งขัดสมาธิของพระโพธิสัตว์ในกาลก่อนนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้ว ในวันนี้ ความหนาวก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็ปราศจากเสียง ไม่มีความยุ่งเหยิง เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็น


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 30

พระพุทธเจ้าแน่นอน พายุใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำลำคลองก็ไม่ไหล เหล่านี้ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบกและเกิดในน้ำ ทั้งหมดต่างก็บานในทันใด ดอกไม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ผลิตผลในวันนี้ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในอากาศและตั้งอยู่บนพื้นดิน ต่างก็ส่องแสงในทันใด รัตนะแม้เหล่านั้นก็ส่องแสงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดนตรีทั้งของมนุษย์และเป็นทิพย์ต่างบรรเลงขึ้นในทันใด แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ขับขานขึ้นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท้องฟ้ามีดอกไม้สวยงาม ก็ตกลงเป็นฝนในทันใด แม้เหล่านั้น ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน มหาสมุทรก็ม้วนตัวลง โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็หวั่นไหว แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ดังลั่นไปในวันนี้ ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน พระอาทิตย์ก็ปราศจากเมฆหมอก ดาวทั้งปวงก็มองเห็นได้ แม้เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน น้ำพุ่งประทุขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตกเลย วันนี้น้ำก็พุ่งประทุขึ้นในทันใดนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน หมู่ดาวก็สว่างไสว ดาวฤกษ์ก็สว่างไสวในท้องฟ้า พระจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 31

อาศัยอยู่ในซอกเขา ต่างก็ออกมาจากที่อยู่ของตน วันนี้แม้สัตว์เหล่านี้ก็ทิ้งที่อยู่อาศัย ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย เขาต่างถือสันโดษ วันนี้สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ถือสันโดษ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้นโรคทั้งหลายก็สงบระงับและความหิวก็พินาศไป วันนี้ก็ปรากฏ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะโมหะก็พินาศ กิเลสเหล่านั้น ทั้งปวงก็ปราศจากไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น ภัยก็ไม่มี แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน กลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็ถอยห่างไป มีแต่กลิ่นทิพย์ฟุ้งไปทั่ว วันนี้แม้กลิ่นก็ฟุ้งอยู่ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เหล่าเทวดาทั้งสิ้นเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ วันนี้เทวดาแม้เหล่านั้นทั่งหมดก็มองเห็นได้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ขึ้นชื่อว่านรกมีเพียงใด ทั้งหมดนั้นก็เห็นได้ในทันใด แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น ฝาผนัง บานประตู แผ่นหิน ไม่เป็นเครื่องกีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นวันนี้ก็กลายเป็นที่ว่างหมด ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน การจุติ การอุบัติ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 32

ไม่มีในขณะนั้น วันนี้นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านจงประคองความเพียรให้มั่น อย่าได้ถอยกลับ จงก้าวหน้าไป แม้พวกเราก็รู้ข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ [คลอด] เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่า ฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของเทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริง ยินดีเกิดปราโมทย์ จึงคิดขึ้นอย่างนี้ในคราวนั้นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระชินเจ้าไม่มีพระดำรัสเป็นสอง มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ก่อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกบนพื้นดินแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรงแม้ฉันใด พระ


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 33

ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง เมื่อถึงเวลาราตรีสิ้น พระอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง ราชสีห์ที่ลุกขึ้นจากที่นอนจะต้องบันลือสีหนาทแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง สัตว์ผู้มีครรภ์จะต้องเปลื้องภาระ [หญิงมีครรภ์จะต้องคลอด] ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้น กระทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ดังนี้ ได้เห็นทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าว สอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้วย่อมคายน้ำออกไม่เหลือไม่นำกลับเข้าไปอีก ฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลืออยู่จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ท่านได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เอาเถอะเราจะเลือกเฟ้นธรรม ที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องสูงและเบื้อง


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

_ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 34

ต่ำ ตลอดสิบทิศ ตราบเท่าถึงธรรมธาตุนี้ ครั้งนั่นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่จึงได้เห็นทานบารมีที่เป็นทางใหญ่ เป็นข้อแรก ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ถือประพฤติสืบกันมาแล้ว ท่านจงยึดทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ หม้อที่เต็มน้ำใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำลง ก็จะคายน้ำออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษาไว้ แม้ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่งและปานกลาง จงให้ทานอย่าให้เหลือไว้ เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำลงฉันนั้นเถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาหางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาอย่างเดียว จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักหามีเพียงเท่านี้ไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อ ๒ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดถือศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาจะ


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 35

บรรลุโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ก็จะยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้หางหลุดลุ่ย ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ จงรักษาศีลในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาหาง ฉันนั้นเถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเนกขันมบารมีข้อที่ ๓ ได้ มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียว และไม่อยากจะอยู่เลย ฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่สามมั่นแล้ว. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำท่านจงยึดเนกขัมมบารมี ข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ บุรุษผู้ อยู่ในเรือนจำนาน ลำบากเพราะทุกข์ มิได้เถิดความยินดีในที่นั้น ย่อมแสวงหาทางที่จะพ้นไปฝ่ายเดียว


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 36

ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ จงตั้งหน้ามุ่งต่อการออกบวช เพื่อพ้นจากภพ ฉันนั้นเถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านั้นเลย เขาได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปานกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหา เหมือนอย่างว่าภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลไรๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วไต่ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ฉันนั้น ดังนี้ เขาได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่น. เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่บ่มโพธิญาณอีก ในกาลนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ครั้งเก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี หากท่านปรารถนาที่จะบรรลุโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขอเขาไม่ เว้นตระกูลสูงปานกลางและต่ำย่อมได้ภิกษาพอเลี้ยงชีพโดยอาการอย่างนี้ ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้ตลอด กาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นปัญญาบารมีจักบรรลุสัมโพธิ ญาณได้ ดังนี้.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 37

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕ ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญวิริยบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤคราชเป็นสัตว์มีความเพียรมั่นในทุกอิริยาบถ ฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรนั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ เขาได้อธิษฐานวิริยบารมี ุข้อที่ ๕ กระทำ ให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นวิริยบารมี หากท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ราชสีห์พระยามฤคราชมีความเพียรไม่ย่อหย่อน มีใจประคับประคอง ตลอดเวลาฉันใด ท่านประคองความเพียรให้มั่นในภพทั้งปวง ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุ โพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้ เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖ ได้ มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดิน


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 38

ย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้น ฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจไม่ลังเลในข้อนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนต่อสิ่งของที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่กระทำความแค้นใจมีแต่เอ็นดู ฉันใด แม้ท่านเป็นผู้อดทนต่อความนับถือและความดูหมิ่นของตนทั้งปวงได้ ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุโพธิญาณได้ ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็น สัจจบารมีข้อที่ ๗ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรดาดาวประกายพฤกษ์ในทุกฤดู หาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่นโคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำ


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 39

การพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานสัจจบารมี ข้อที่ ๗ การทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น สัจจบารมีข้อที่ ๗ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดสัจจบารมีข้อที่ ๗ นี้กระทำให้มั่นก่อน มีคำพูดไม่เป็นสอง ในข้อนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมดาว่าดาวประกายพฤกษ์นั้นเป็นคันชั่ง (เที่ยงตรง) ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก ย่อมไม่โคจรแวะเวียนไปนอกทาง ไม่ว่าในสมัยหรือในฤดูและปีใด ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าเดินเฉไปจากทางในสัจจะทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี ท่านอธิษฐานสิ่งใดไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้น เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ ย่อมไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตน ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขา ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 40

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียง เท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในข้อนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมกล้า ย่อมตั้งอยู่ในที่เดิมของตนเท่านั้น ฉันใด ท่านจงไม่หวั่นไหวในความตั้งใจจริงตลอดกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาได้ใคร่ครวญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙ ได้ มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล พึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่ ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจเป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ-


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 41

ญาณ คราวนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เมตตาบารมีข้อที่ ๙ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดเมตตา i บารมีข้อที่ ๙ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ ก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวเสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ฉันใด แม้ ท่านก็จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอ ไปในคนทั้งที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ฉันนั้นเถิด ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ต่อมาเมื่อเขาใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย จึงได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี พึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดี ในทุกข์ก็ดี เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน เมื่อคนทั้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. เขาได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมนี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณคราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกบารมี ข้อที่ ๑๐ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยืดอุเบกขาบารมี


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 42

ข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉยต่อของที่ไม่สะอาดและของที่สะอาด ซึ่งเขาทิ้งลงไป เว้นขาดจากความโกรธและความยินดีต่อสิ่งทั้งสองนั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น ควรเป็นประดุจตราชูในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ดังนี้.

ต่อนั้นเขาจึงคิดว่า พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสีย ธรรมเหล่าอื่นไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดี ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มี แต่มีตั้งอยู่ภายในหทัยของเรานี้เองดังนี้. เขาเมื่อเห็นว่า บารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้วๆ เล่าๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ในตอนปลาย และยึดเอาตรงกลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาให้จบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือ การบริจาคสิ่งของภายนอกเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิตเป็น ทานปรมัตบารมี ที่ตรงท่ามกลางแล้ว พิจารณาวกวนไปมาเหมือนคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไปมา และพิจารณาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เหมือนคนกวนระคนกระทำยอดภูเขาใหญ่สิเนรุให้เป็นมหาสมุทรในห้องจักรวาลฉะนั้น. เมื่อเขาพิจารณาบารมีทั้ง ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินใหญ่นี้ที่หนาได้สองแสนโยชน์ยิ่งด้วยสี่นหุต เป็นราวกะว่ามัดต้นอ้อที่ช้างเหยียบแล้วและเครื่องยนต์


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 43

หีบอ้อยที่กำลังหีบอยู่ ร้องดังลั่นหวั่นไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปหมด หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั่นหม้อและวงล้อของเครื่องยนต์บีบน้ำมัน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณในโลกมีเพียงนี้เท่านั้น ไม่นอกไปจากนี้ ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้น เมื่อเราไตร่ตรองธรรมเหล่านี้พร้อมทั้งสภาวะกิจและลักษณะอยู่ ด้วยเดชแห่งธรรมแผ่นดินพร้อมโลกธาตุหมื่นหนึ่งสั่นสะเทือนแล้ว ปฐพีก็ไหวร้องลั่น ดั่งเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดลก็เลื่อนลั่นประดุจดังวงล้อเครื่องยนต์บีบน้ำมัน ฉะนั้น ดังนี้.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครต่างมิสามารถทรงตัวยืนอยู่ได้ ประหนึ่งว่าศาลาหลังใหญ่ที่ถูกลมบ้าหมู โหมพัดอย่างหนักพากันเป็นลมล้มลง ภาชนะของช่างหม้อมีหม้อน้ำเป็นต้น ที่กำลังทำอยู่ต่างกระทบกันและกันแตกเป็นจุรณวิจุรณไป มหาชนสะดุ้งกลัวจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบข้อนั้นอย่างไรเลยว่า นี้นาคทำให้หมุนวน หรือว่าบรรดาภูตยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่งทำให้หมุนวน อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้น แก่พวกข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพวกเขาแล้วตรัสว่า พวกท่านอย่าได้กลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยจากเหตุนี้ไม่มีแก่พวกท่าน วันนี้สุเมธบัณฑิต เราพยากรณ์ให้แล้วว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดมในอนาคต บัดนี้เขาไตร่ตรองบารมีทั้งหลายอยู่ เมื่อเขาไตร่ตรองอยู่ตรวจตราอยู่ เพราะ


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 44

เดชแห่ง ธรรม โลกธาตุทั้งสิ้นหมื่นหนึ่งสะเทือนและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียวดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัทในที่นั้นมีประมาณเท่านั้น ต่างตัวสั่นอยู่ เป็นลมล้มลงบนแผ่นดิน หม้อน้ำหลายพันและหม้อข้าวหลายร้อยเป็นจำนวนมาก ในที่นั้นต่างกระทบกระแทกกันแตกละเอียดไปหมด มหาชนต่างหวาดเสียวสะดุ้งกลัวภัย หัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึงมาประชุมกัน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกร กราบทูลว่าอะไรจักมีแก่โลก ดี หรือชั่ว หรือโลกทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อน ขอพระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก จงทรงบรรเทาเหตุนั้น คราวนั้น พระมหามุนีทีปังกรให้พวกเขาเข้าใจได้แล้ว ด้วยตรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย ในการไหวของแผ่นดินนี้ วันนี้เราได้พยากรณ์แล้ว ถึงบุคคลใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคลนั้นไตร่ตรองถึงธรรมที่พระชินเจ้าถือปฏิบัติมาแล้ว แต่เก่าก่อน เมื่อเขาไตร่ตรองฟังธรรม อันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีนี้พร้อมหมื่นโลกธาตุในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว ดังนี้

มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตยินดีและร่าเริงแล้ว พากันถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ไหว้กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังรัมมนครตาม


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 45

เดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไตร่ตรองบารมีทั้งสิ้น กระทำความเพียรให้มั่นอธิษฐานแล้ว ลุกจากอาสนะที่นั่ง. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจเย็นแล้วในทันใดนั้น ทุกคนเข้าไปหาเรา กราบไหว้แล้วอีก เรายึดมั่นพระพุทธคุณกระทำใจไว้ให้มั่น นมัสการพระทีปังกร ลุกจากอาสนะในกาลนั้น ดังนี้.

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว บูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์แล้ว ป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคล เป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ ท่านตั้งปรารถนาอย่างใหญ่ที่บาทมูลของพระทศพลทีปังกร ขอความปรารถนาของท่านจงสำเร็จโดยไม่มีอันตราย ความกลัวหรือความหวาดเสียวอย่าได้มีแก่ท่าน โรคแม้แต่น้อยหนึ่ง อย่าได้เกิดในร่างกาย ขอท่านจงบำเพ็ญบารมีให้เต็มโดยพลันแล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่จะเผล็ดดอกออกผล ย่อมเผล็ดดอกและออกผลตามฤดูกาลฉันใด แม้ท่านก็จงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน อย่าได้ล่วงเลยสมัยนั้นเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เทวดาทั้งหลายครั้นป่าวประกาศอย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตนๆ ตามเดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้อันเทวดาสรรเสริญแล้วคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้ว ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อธิษฐานกระทำความเพียรให้มั่นแล้ว เหาะขึ้นไปยังท้องฟ้า ไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้อันเป็นทิพย์และอันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้กำลังลุกจากอาสนะ ทั้งเทวดาและมนุษย์สองฝ่ายนั้นต่างก็ได้รับความยินดีทั่วหน้า ความปรารถนา


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 46

ของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่งนั้นตามที่ท่านปรารถนาไว้ ขอสรรพเสนียดจัญไรจงแคล้วคลาดไป ขอโรคภัยจงพินาศไป ขออันตรายจงอย่ามีแก่ท่านเถิด ขอท่านจงได้รับสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลัน ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ เหมือนต้นไม้ที่มีดอกเมื่อถึงฤดูกาลก็เผล็ดดอกฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑล ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระชินเจ้า ฉันนั้น พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้น พระจันทร์ในวันเพ็ญผ่องแผ้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์ ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้นเถิด พระอาทิตย์ที่พื้นจากราหูแล้ว ย่อมแผดแสงด้วยความร้อนแรง ฉันใด ขอท่านจงปลดเปลื้องเรื่องโลกีย์ออกแล้วสว่างไสวอยู่ด้วยสิริ ฉันนั้นเถิด แม่น้ำใดๆ ก็ตามย่อมไหลไปลงทะเลใหญ่ ฉันใด ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาจงรวมลงที่สำนักของท่าน ฉันนั้นเถิด ในกาลนั้นเขาอันเทวดาและมนุษย์ชมเชยและสรรเสริญแล้วยึดมั่นบารมีธรรม ๑๐ เมื่อจะบำเพ็ญบารมีธรรมเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ว.

กถาว่าด้วยสุเมธดาบส จบ


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 47

ฝ่ายชาวเมืองรัมมนครเล่าได้เข้าไปสู่นครแล้ว ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พวกเขาให้มหาชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้นแล้ว เสด็จออกจากรัมมนครไป ต่อจากนั้น พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุขัย ทรงกระทำพุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดยลำดับ คำที่ควรจะ กล่าวในที่นั้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธวงศ์นั้นเถิด จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า

ในกาลนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาทีปังกรเป็นสรณะ พระตถาคตยังคนบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกก็ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ อีกพวกก็ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ทรงประทานสามัญผลสูงสุด ๔ แก่ บางคน บางคนก็ทรงประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิสัมภิทา บางคนพระนราสภก็ทรงประทานสมบัติอันประเสริฐ ๘ อย่าง บางคนก็ทรงมอบให้ซึ่งวิชชา ๓ อภิญญา ๖ พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชนด้วยความพยายามนั้น ศาสนาของพระโลกนาถได้แผ่ไพศาลแล้ว เพราะเหตุนั้น พระทีปังกรผู้เป็นผู้นำมีพระหนุใหญ่ [ผึ่งผาย] มีพระวรกายเหมือนของโคอุสภะ [สง่างาม] ทรงให้ชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง ทรงปลดเปลื้องทุคติให้ พระมหามุนีทอดพระเนตรเห็นชนที่พอจะตรัสรู้ธรรมได้แม้ในที่ไกลได้แสนโยชน์ ก็เสด็จไปถึงโดยขณะเดียว ให้เขาตรัสรู้ได้ ในการได้บรรลุมรรค-


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 48

ผล ครั้งแรก [ปฐมโพธิกาล] พระพุทธเจ้าให้สัตว์ตรัสรู้ได้หนึ่งร้อยโกฏิ ในการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สอง [มัชฌิมโพธิกาล] พระนาถะให้สัตว์ตรัสรู้ได้แสนโกฏิ และการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สาม [ปัจฉิมโพธิกาล] ได้มีแต่สัตว์เก้าสิบพันโกฏิ ในเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมในเทวพิภพ การประชุมของพระศาสดาทีปังกรได้มีสามครั้ง การประชุมครั้งแรกมีชน แสนโกฏิ อีกครั้งเมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่วิเวกที่ยอดเขานารทะ พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิประชุมกัน ในกาลใดพระมหาวีระประทับอยู่บนเขา ลในเมืองสุทัสนะ ในกาลนั้น พระมหามุนีทรงห้อมล้อมไปด้วยพระขีณาสพเก้าสิบพันโกฏิ เราในสมัยนั้น เป็นชฏิลผู้มีตบะกล้า เหาะไปในที่กลางหาวได้ ได้สำเร็จในอภิญญา ๕ การตรัสรู้ธรรมได้มีแต่ชนนับได้เป็นสิบพันยี่สิบพัน การตรัสรู้ของคนเพียงหนึ่งคน สองคน ไม่จำเป็นต้องนับ. ในกาลนั้น ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร แผ่ไปกว้างขวาง ชนรู้กันมากมาย มั่งคั่ง แพร่หลาย บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระผู้ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากนับได้สี่แสนรูป ห้อมล้อมพระทีปังกรผู้ทรงรู้โลกในกาลทุกเมื่อ ในสมัยนั้น ใครๆ ก็ตามจะละภพมนุษย์ไป [ตาย] เขาเหล่านั้น มิได้บรรลุอรหัต ยังเป็นเสขบุคคลจะต้องถูกเขาตำหนิติเตียน พระพุทธศาสนาก็บานเบิกด้วยพระอรหันต์ผู้


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 49

คงที่ งามสง่าอยู่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน นครชื่อรัมมวดี กษัตริย์ทรงพระนามสุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรงพระนามว่าสุเมธา ของพระศาสดาทีปังกร พระองค์ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุดอยู่สามหลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะและสุภะ มีเหล่านารีแต่งตัวสวยงามนับได้สามแสน มีพระจอมนารีพระนามว่า ยโสธรา มีพระโอรสพระนามว่า อสุภขันธะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ อย่าง เสด็จออกบวช ด้วยยานคือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งความเพียรอยู่ ไม่หย่อนกว่าหมื่นปี พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ ได้ตรัสรู้แล้ว พระมหาวีระทรงประกาศพระธรรมจักร ที่ป่านันทวัน อันหนาแน่นไปด้วยสิริ ได้ทรงกระทำการย่ำยีเดียรถีย์ที่โคนต้นซึกอันน่ารื่นรมย์ มีพระอัครสาวกคือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดาทีปังกรมีพระอุปฐากนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกาคือ พระนางนันทาและพระนางสุนันทา ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกันว่าต้นปิปผลิ พระมหามุนีที่ปังกรมีพระวรกายสูงได้ ๘๐ ศอก พญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง เป็นต้นไม้ประจำทวีป ก็ดูงาม พระผู้แสวงหาพระคุณใหญ่นั้นมีพระชนมายุได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้นทรงให้เหล่าชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง [นิพพาน] พระ-


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 50

องค์พร้อมทั้งพระสาวก ให้พระสัทธธรรมสว่างไสว แล้วให้มหาชนข้ามถึงฝั่ง รุ่งโรจน์อยู่ราวกะกองอัคคี ปรินิพพานแล้ว. พระฤทธิ์ พระยศและจักรรัตนะที่พระบาททั้งสอง ทุกอย่างก็อันตรธานไปหมด สังขารทั้งหลายเป็นของว่างเปล่า ดังนี้ และหลังจากพระทีปังกร ก็มีพระนายกทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศนับไม่ได้ มีพระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่ใครจะต่อกรได้.

ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปีงกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไขย พระศาสดาทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้การประชุมสาวกของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในการประชุมครั้งแรกมีสาวกแสนโกฏิ ในครั้งที่สองมีพันโกฏิ ในครั้งที่สามมีเก้าสิบโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าวิชิตาวี ได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุขนับได้แสนโกฏิ พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงธรรม เขาฟังธรรมกถาของพระศาสดา แล้วสละราชสมบัติออกบวช เขาเรียนพระไตรปิฎก ทำสมาบัติ ๘ และ อภิญญา ๕ ใ ห้เกิดขึ้นแล้ว มีฌานไม่เสื่อมไปเกิดในพรหมโลก.

ก็สำหรับพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระนครนามว่า รัมมวดี กษัตริย์พระนามว่า อานันทะ เป็นพระราชบิดา พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระราชมารดา พระภัททะและพระสุภัททะเป็นพระอัครสาวก พระพุทธอุปฐากนามว่า อนุรุทธะ พระติสสาเถรีและพระอุปติสสาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อ สาลกัลยาณี [ต้นขานาง] พระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก ประมาณพระชนมายุได้แสนปี.


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 51

ในกาลต่อจากพระองค์ล่วงได้หนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่นแหละมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ พระองค์คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า มังคละ ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง ในการประชุมครั้งแรกได้มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ แสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ เก้าสิบโกฏิ ได้ยินว่าพระภาดาต่างพระมารดาของพระองค์นามว่าอานันทกุมาร ได้เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา เพื่อต้องการฟังธรรมพร้อมกับบริษัทนับได้ ๙๐ โกฏิ พระศาสดาตรัสอนุบุพพิกถาแก่พระองค์ พระองค์พร้อมกับบริษัทได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระศาสดาทรงเล็งดูบุรพจริยาของกุลบุตรเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่ง บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง เขาทั้งหมดก็ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาประดุจพระเถระมีพรรษาได้ ๖๐ ถวายบังคมพระศาสดา ห้อมล้อมแล้ว นี้เป็นการประชุมของพระสาวกครั้งที่ ๓ ของพระองค์ พระรัศมีจากพระสรีระของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีประมาณ ๘๐ ศอกเท่านั้นโดยรอบ ฉันใด แต่ของพระมังคละหาเป็นฉันนั้นไม่ ส่วนพระรัศมีจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ ตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขาและทะเลเป็นต้น โดยที่สุดจนชั้นหม้อข้าวเป็นต้น ได้เป็นประหนึ่งว่าปกคลุมไว้ด้วยแผ่นทองคำ อนึ่ง ประมาณพระชนมายของพระองค์ได้เก้าหมื่นปี ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น ไม่สามารถที่จะส่องแสงด้วยรัศมีของตน การกำหนดเวลากลางคืนและกลางวันไม่ปรากฏมี ตอนกลางวัน เหล่าสัตว์ท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนกับด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ชาวโลกรู้กำหนดเวลากลางคืน


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 52

และกลางวันได้ด้วยอำนาจแห่งดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น และนกเป็นต้นในเวลาเช้า. ถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์อื่นไม่มีอานุภาพนี้หรือ? แก้ว่า ไม่มีหามิได้ จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงมุ่งหวังอยู่ พึงแผ่พระรัศมีไปได้ตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งหรือยิ่งกว่านั้น ก็พระรัศมีจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามังคละได้แผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหมือนพระรัศมีแค่วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยอำนาจความปรารถนาในกาลก่อน ได้ยินว่า ในกาลที่ท่องเที่ยวไปเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ดำรงอยู่ในอัตภาพเช่นกับพระเวสสันดร พร้อมด้วยบุตรและภริยา อยู่ที่ภูเขาเช่นกับเขาวงกต ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อขรทาฐิกะได้ยินว่าพระมหาบุรุษมีอัธยาศัยชอบให้ทาน จึงเข้าไปหาด้วยเพศแปลงเป็นพราหมณ์แล้ว ขอทารกสองคนกะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราให้ลูกน้อย ดังนี้แล้ว ยินดีร่าเริงทำให้แผ่นดินมีน้ำล้อมรอบไหวอยู่ ได้ให้ทารกแม้ทั้งสองแล้ว ยักษ์ยืนพิงพะนักพิงในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์เห็นอยู่นั่นเองเคี้ยวกินทารกเหมือนกำรากไม้ ความโทมนัสแม้เท่าปลายเส้นผมมิได้เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ เพราะมองดูยักษ์ แม้จะเห็นปากของมันกำลัง หลั่งสายเลือดออกมาอยู่ ดูราวกะว่าเปลวไฟในปากที่พออ้าขึ้น เมื่อเขาคิดอยู่ว่า ทานอันเราให้ดีแล้วหนอ ปีติและโสมนัสอย่างใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นทั่วตัว เขาได้กระทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ในอนาคต ขอรัศมีจงฉายออกโดยทำนองนี้นี่แหละ เพราะอาศัยความปรารถนานั้นของเขา รัศมีจึงฉายออกจากสรีระของเขาผู้เป็นพระพุทธเจ้าแผ่ซ่านไปตลอดที่เพียงนั้น บุรพจริยาแม้อื่นอีกของพระองค์ก็ยังมี ได้ยินว่า พระองค์ในกาลเป็นพระโพธิสัตว์ เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง คิดว่าเราควรบริจาคชีวิตแด่พระพุทธเจ้าองค์นี้ จึงพันสรีระทั้งหมดโดยทำนองที่พันประทีปด้าม เอาเนยใสใส่จนเต็ม


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 53,

ถาดทองคำนี้ค่าแสนหนึ่งสูงได้หนึ่งศอกกำ จุดไส้ตะเกียงพันหนึ่งในถาดนั้น เอาศีรษะเทินถาดนั้นไว้ แล้วให้จุดไฟทั่วตัว กระทำประทักษิณเจดีย์ให้ล่วงไปตลอดคืนหนึ่ง เมื่อเขาแม้พยายามอยู่อย่างนี้จนถึงเวลาอรุณขึ้น ความร้อนก็มิได้ระคายเคืองแม้เพียงขุมขน ได้เป็นประหนึ่งว่าเข้าไปในห้องแห่งดอกบัวหลวง จริงอยู่ ธรรมดาว่าธรรมนี้ย่อมรักษาคนผู้รักษาตนอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้ปกติประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้มีปรกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

เพราะผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงแผ่ซ่านไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเรา เป็นพราหมณ์ชื่อ สุรุจิ คิดว่าเราจักนิมนต์พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอพระองค์จงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์เถิด.

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุมีประมาณเท่าไร? พระศาสดาตรัส.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็นบริวารของพระองค์มีประมาณเท่า ไร? พราหมณ์ทูลถาม.

ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการประชุมเป็นครั้งแรกพอดี เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มีประมาณแสนโกฎิ. พราหมณ์จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมดจงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 54

เถิด. พระศาสดาทรงรับแล้ว. พราหมณ์ครั้นนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้วไปสู่เรือนคิดว่า เราสามารถถวายข้าวต้มภัตและผ้าเป็นต้น แต่ภิกษุสงฆ์มีประมาณเท่านี้ได้ แต่ที่นั่งจักเป็นอย่างไร ดังนี้. ความคิดนั้นของเขาทำให้เกิดความร้อนขึ้นแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวเทวราช ผู้ประทับยืนอยู่ในที่สุดแห่งแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรงดำริว่า ใครหนอแลต้องการจะให้เราเคลื่อนจากอาสนะนี้ ทรงตรวจตราอยู่ด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นพระมหาบุรุษ ทรงดำริว่า สุรุจิพราหมณ์นี้ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข คิดแล้วเพื่อต้องการที่นั่ง ควรที่เราจะไปในที่นั้น ถือเอาส่วนบุญบ้าง จึงทรง เนรมิตร่างเป็นเพศช่างไม้ มีมือถือมีดและขวาน ได้ปรากฏตัวข้างหน้าของพระมหาบุรุษกล่าวว่า ใครๆ มีงานที่จะต้องจ้างทำบ้าง. พระมหาบุรุษเห็นเขา แล้วจึงถามว่า ท่านจักทำงานอะไร? เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่มี ผู้ใดจะให้เราทำงานใด เป็นบ้านก็ตาม มณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะทำงานนั้น แก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้ากระนั้นงานของเรามีอยู่. เขากล่าวว่า งานอะไรนะท่าน.

ภิกษุแสนโกฏิข้าพเจ้านิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจักกระทำมณฑปที่นั่งของภิกษุเหล่านั้นได้ไหม.

ข้าพเจ้าทำได้ ถ้าท่านจักสามารถให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้าได้.

เราจักสามารถ พ่อ.

เขารับปากว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำ จึงไปตรวจดูที่ว่างแห่ง. ที่ว่างมีประมาณสิบสองโยชน์ ได้มีพื้นราบเรียบประหนึ่งมณฑลกสิณ. เขาคิดว่า ขอมณฑปสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงปรากฏขึ้นในที่มีประมาณเท่านี้. ในทันใดนั้น มณฑปก็แทรกแผ่นดินขึ้นมา. ที่เสาสำเร็จด้วยทองคำของปราสาทนั้น มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยเงินตั้งอยู่. ที่เสาสำเร็จด้วยเงิน มีหม้อน้ำสำเร็จด้วย


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 55

ทองคำ ที่เสาแก้วมณีมีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้วมณี. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการเหมือนกัน. ต่อจากนั้น เขาก็มองดูด้วยคิดว่า ขอตาข่ายกระดึง จงห้อยย้อยอยู่ตามระหว่างแห่งมณฑป พร้อมกับการมองดูนั่นเอง ตาข่ายกระดึงก็ห้อยย้อยลงแล้ว เสียงอันไพเราะของตาข่ายกระดึงที่ถูกลมอ่อนรำเพยพัด ก็เปล่งเสียงออกมาราวกะว่าเสียงอันไพเราะแห่งดนตรี ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ จึงดูไม่ต่างอะไรกับเวลาที่ทิพยสังคีตบรรเลงอยู่. เขาคิดว่า ในระหว่างๆ ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้จงห้อยย้อยลงมา พวงของหอมและพวงดอกไม้ก็ห้อยย้อยลงมาแล้ว. เขาคิดว่าขออาสนะและแท่นที่รองนั่งสำหรับภิกษุที่นับได้แสนโกฏิจงแทรกแผ่นดินขึ้นมา. ในทันใดนั้นเอง ต่างก็แทรกขึ้นมา เขาคิดว่าที่ทุกๆ มุมขอให้หม้อน้ำ แทรกขึ้นมามุมละใบ. หม้อน้ำก็แทรกขึ้นมา เขาเนรมิตสิ่งต่างๆ มีประมาณเท่านี้ เสร็จแล้วจึงไปยังสำนักของพราหมณ์แล้วกล่าวว่า มานี่แน่ะท่าน ท่านจงตรวจดูมณฑปแล้วให้ค่าจ้างแก่เรา. พระมหาบุรุษไปตรวจดูมณฑปแล้ว. เมื่อเขากำลังตรวจดูอยู่นั่นแหละ ทั่วตัวได้สัมผัสกับปีติ ๕ ชนิดตลอดเวลา. ทีนั้นเมื่อเขามองดูมณฑปอยู่ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า มณฑปนี้คนเป็นมนุษย์กระทำไม่ได้ แต่เพราะอาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา ภพของท้าวสักกะจะร้อนแน่นอน ต่อนั้น ท้าวสักกเทวราชจักสร้างมณฑปนี้ขึ้น ดังนี้. เขาคิดว่า การถวายทานเพียงวันเดียวเท่านั้น ในมณฑปเห็นปานนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายทานตลอด ๗ วัน. จริงอยู่ทานภายนอก แม้มีประมาณสักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่จะทำความยินดีให้แก่พระโพธิสัตว์ได้ แต่ในเวลาที่เขาตัดศีรษะที่ประดับประดาแล้ว ควักลูกตาทั้งสองข้างที่หยอดยาตาแล้ว ฉีกเนื้อหัวใจออกแล้วให้ไป พระโพธิสัตว์จะมีความยินดีนักเพราะอาศัยการบริจาคนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์แม้


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาจดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 56

ของพวกเราสละกหาปณะห้าแสนทุกวัน ให้ทานอยู่ที่ประตูทั้ง ๔ และที่ท่ามกลางพระนคร ในเรื่องสิวิราชชาดก ทานนั้นก็หาสามารถให้เกิดความยินดีในการบริจาคไม่. แต่ในกาลใดท้าวสักกเทวราชปลอมตัวมาในรูปของพราหมณ์ ขอลูกตาทั้งสองข้างของเขา ในกาลนั้น เมื่อเขาควักลูกตาเหล่านั้นให้อยู่นั่นแหละ ความร่าเริงได้เกิดขึ้นแล้ว จิตมิได้เป็นอย่างอื่นแม้เท่าปลายเส้นผม. ขึ้นชื่อว่าอิ่มใจเพราะอาศัยทานที่ให้แล้วโดยอาการอย่างนี้หามีแก่พระโพธิสัตว์ไม่. เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้นจึงคิดว่า เราควรจะถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลายนับได้แสนโกฏิตลอด ๗ วัน จึงให้พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ประทับนั่งในมณฑปนั้น ได้ถวายทานชื่อควปานะตลอด ๗ วัน ที่เรียกว่าควปานะนั้นได้แก่ โภชนะที่เขาใส่นมจนเต็มหม้อใหญ่แล้ว ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ ใส่ข้าวสารนิดหน่อยในน้ำนมที่ต้มสุกแล้วในหม้อต้ม แล้วปรุงรสด้วยน้ำผึ้ง ผงน้ำตาลกรวดและเนยใสที่ต้มแล้ว ก็มนุษย์นี้แหละไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูได้ แม้แต่เทวดาก็ต้องสลับกันจึงจะเลี้ยงดูได้. แม้ที่มีประมาณ ๑๒ และ ๑๓ โยชน์ ก็ไม่เพียงพอที่จะบรรจุภิกษุทั้งหลายได้เลย แก่ภิกษุเหล่านั้น นั่งได้ด้วยอานุภาพของตน.

ในวันสุดท้าย เขาให้ล้างบาตรของภิกษุทุกรูปแล้ว ใส่เนยใส เนยข้น น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นจนเต็มบาตร เพื่อต้องการให้เป็นเภสัช พร้อมด้วยไตรจีวร ผ้าสาฎกที่เป็นจีวร ซึ่งภิกษุนวกะในหมู่สงฆ์ได้รับไปได้มีราคาถึงหนึ่งแสน. พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนาทรงใคร่ครวญดูว่า บุรุษนี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ เขาจักได้เป็นอะไรหนอ ทอดพระเนตรเห็นว่า เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในที่สุดแห่งสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปในอนาคต ดังนี้ จึงตรัสเรียกพระมหาบุรุษมาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ท่านล่วงกาลมีประมาณเท่านี้แล้ว จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคดม.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 57

พระมหาบุรุษได้ฟังคำพยากรณ์แล้วคิดว่า นัยว่าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า จะประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช จึงทอดทิ้งสมบัติเห็นปานนั้น ประดุจก้อนเขฬะ แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วเล่าเรียนพระพุทธวจนะ ให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ในเวลาสิ้นอายุได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ามังคละ มีชื่อว่า อุตตระ แม้พระราชมารดาก็ทรงพระนามว่า อุตตรา แม้พระราชบิดาทรงเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า อุตตระ พระอัครสาวกสององค์นามว่า สุเทวะหนึ่ง ธรรมเสนะหนึ่ง พระอุปฐากนามว่า ปาลิตะ พระอัครสาวิกาสององค์ นามว่า สิมพลี ๑ นามว่า อโสกา ๑ ต้นไม้ตรัสรู้ ชื่อนาคพฤกษ์ (ต้นกากะทิง). พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก. พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ๙๐,๐๐๐ พรรษา ก็ปรินิพพาน. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นปรินิพพานแล้ว จักรวาลหมื่นหนึ่งได้มืดเป็นอันเดียว โดยพร้อมกันทีเดียว. พวกมนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้นต่างร้องไห้คร่ำครวญกันไปหมด.

กาลภายหลังของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ พระนายกทรงพระนามว่ามังคละ ทรงถือดวงประทีปธรรม กำจัดความมิดในโลกแล้วด้วย ประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ปรินิพพาน กระทำหมื่นโลกธาตุให้มืดอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพระนามว่า สุมนะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่กาญจนบรรพตมีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 58

ครั้งที่ ๓ แปดสิบแสนโกฏิ. ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ได้เป็นนาคราชนามว่า อตุละมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. พระยานาคนั้นได้ยินว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว มีหมู่ญาติห้อมล้อมแล้ว ออกจากนาคพิภพ ให้กระทำการบรรเลงถวายด้วยทิพยดนตรี แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวารแสนโกฎิ ถวายผ้าคู่เฉพาะองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ พระศาสดาแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อ เมขลา พระราชาทรงพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า สิริมา พระอัครสาวกสององค์ นามว่าสรณะหนึ่ง นามว่าภาวิตัตตะหนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อุเทนะ พระอัครสาวิกาสององค์นามว่า โสณาหนึ่ง นามว่าอุปโสณาหนึ่ง และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๙๐ ศอก ประมาณพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี ด้วย ประการฉะนี้.

กาลภายหลังของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า มังคละ พระนายกทรงพระนามว่าสุมนะ หาผู้เสมอมิได้โดยธรรมทั้งปวง สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง.

ในกาลภายหลังแห่งพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า เรวตะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก นับไม่ได้ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ ก็เช่นกัน. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อ อติเทพ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ ประคองอัญชลีเหนือศีรษะแล้ว ได้ฟังพระคุณในการละกิเลสของพระศาสดานั้น ได้กระทำการบูชาด้วยผ้าห่ม แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระนครของพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีชื่อว่า สุธัญญวดี แม้พระราชบิดาก็เป็นกษัตริย์


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 59

ทรงพระนามว่า วิปุละ พระราชมารดาทรงพระนามว่า วิมลา พระอัครสาวก ๒ องค์นามว่า วรุณะหนึ่ง นามว่า พรหมเทวะหนึ่ง พระอุปฐากนามว่า สัมภวะ พระอัครสาวิกา ๒ องค์นามว่า ภัททาหนึ่ง นามว่า สุภัททา หนึ่ง และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๐ ศอก ประมาณพระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี ด้วยประการนี้.

กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สุมนะ พระนายกทรงพระนานว่า เรวตะ เป็นพระชินเจ้า หาผู้เปรียบปานมิได้ หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้เทียมทัน เป็นผู้สูงสุด ด้วยประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โสภิตะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก ได้มีภิกษุร้อยโกฏิ ในครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ในครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า อชิตะ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ ได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นชื่อ สุธรรม พระราชาทรงพระนามว่า สุธรรม ได้เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า สุธรรมา พระอัครสาวกนามว่าอสมะองค์หนึ่ง นามว่า สุเนตตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อโนมะ พระอัครสาวิกานามว่านกุลา องค์หนึ่ง นามว่าสุชาดาองค์หนึ่ง ต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ สูงได้ ๕๘ ศอก ประมาณพระชามายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี ฉะนี้แล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าเรวตะ พระนายกทรงพระนามว่าโสภิตะ มีพระทัยตั้งมั่น มีพระ-


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 60

ทัยสงบ หาผู้เสนอมิได้ หาผู้เปรียบปานมิได้ ด้วยประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังของพระองค์ครั้นล่วงได้อสงไขยหนึ่ง ในกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้าสามพระองค์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว คือพระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสีมีสาวกสันนิบาตสามครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุแปดแสน ครั้งที่ ๒ เจ็ดสิบแสน ครั้งที่ ๓ แปดสิบหกพันโกฏิ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นเสนาบดีของยักษ์ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เป็นอธิบดีของยักษ์แสนโกฏิเป็นอันมาก. เขาได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วจึงมา แล้วได้ถวายมหาทานแต่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ชื่อว่า จันทวดี พระราชาทรงพระนามว่ายสวา เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่ายโสธรา พระอัครสาวกนามว่านิสภะองค์หนึ่ง นามว่าอโนมะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวรุณะ พระอัครสาวิกานามว่าสุนทรีองค์หนึ่ง นามว่าสุมนาองค์หนึ่ง อัชชุนพฤกษ์ (ต้นรกฟ้า) เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๕๘ ศอก พระชนมายุได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โสภิตะ พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้สูงสุดแห่งทวีป มีพระยศอันประมาณมิได้ มีพระเดชยากที่คนจะก้าวล่วงได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังของพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีสามแสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุผู้อยู่ในชัฎ


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 61

แห่งป่ามหาวันในป่าที่มิใช่บ้านสองแสน. ในคราวนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในชัฏแห่งป่านั้น พระโพธิสัตว์เป็นราชสีห์ เห็นพระศาสดาเข้านิโรธสมาบัติอยู่ มีจิตเลื่อมใสไหว้กระทำประทักษิณ เกิดปีติและโสมนัส บันลือสีหนาทสามครั้ง ตลอดเจ็ดวันมิได้ละปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะสุขอันเกิดจากปีตินั่นเองไม่ออกไปหากิน กระทำการบริจาคชีวิต ได้เข้าไปเฝ้ายืนอยู่. พระศาสดาเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติเมื่อล่วงได้เจ็ดวันแล้ว ทอดพระเนตรเห็นราชสีห์ ทรงดำริว่า เขาจักให้จิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์แล้วไหว้ ขอภิกษุสงฆ์จงมา ในทันใดนั่งเองภิกษุทั้งหลายก็มา ราชสีห์ทำจิตให้เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์. พระศาสดาทรงตรวจดูใจของเขาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมะ ชื่อ จัมปกะ พระราชาทรงพระนามว่าปทุมะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าอสมา พระอัครสาวกนามว่าสาละองค์หนึ่ง นามว่า อุปสาละองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวรุณะ พระอัครสาวิกานามว่ารามาองค์หนึ่ง นามว่าสุรามาองค์หนึ่ง โสณพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๕๘ ศอก พระชนมายุได้แสนปี ฉะนี้แล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมะ เป็นผู้สูงสุดแห่งทวีป หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน ฉะนี้ แล.

ในกาลภายหลังของพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า นารทะเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบแสนโกฏิ. ในกาลนั้นแม้พระโพธิสัตว์ก็ได้บวชเป็นฤๅษี เป็นผู้ปฏิบัติจนชำนาญใน


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 62

อภิญญา ๕ ในสมาบัติ ๘ ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้กระทำการบูชาด้วยจันทน์แดง. แม้พระองค์ก็ได้พยากรณ์ฤาษีนั้น ว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อธัญญวดี กษัตริย์ทรงพระนามว่าสุเมธะ เป็นราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า อโนมา พระอัครสาวกพระนามว่าภัททปาละองค์หนึ่ง นามว่าชิตมิตตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวาเสฏฐะ พระอัครสาวิกนามว่าอุตตราองค์หนึ่ง นามว่าผัคคุณีองค์หนึ่ง ต้นมหาโสณพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก พระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมะ พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ผู้สูงสุดแห่งทวีป หาผู้เสมอมิได้ หาผู้เปรียบปานมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งแสนกัปแต่นี้ ล่วงได้อสงไขยหนึ่ง พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่เวภารบรรพต มีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบพันโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นชฏิลนามว่า มหารัฏฐิยะ ได้ถวายจีวรทานแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แม้พระองค์ก็ได้พยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พวกเดียรถีย์ยังมิได้มี. พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นสรณะ พระนครของพระองค์นามว่าหงสวดี กษัตริย์ทรงพระนามว่าอานันทะ เป็นพระราชบิดา พระมารดาทรงพระนามว่าสุชาดา พระอัครสาวกนามว่าเทวละองค์หนึ่ง นามว่าสุชาตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าสุมนะ พระอัครสาวิกานามว่า อมิตตาองค์หนึ่ง นามว่าอสมา


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

รพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 63

องค์หนึ่ง ต้นสาลพฤกษ์เป็นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก รัศมีจากพระสรีระพุ่งไปจดที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบ พระชนมายุได้ แสนปี ฉะนี้แล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ พุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้สูงสุดแห่งนระเป็นพระชินะ อุปมาด้วยสาครที่ไม่กระเพื่อม ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ล่วงไปได้สามหมื่นกัป ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าสองพระองค์คือ พระสุเมธะและพระสุชาตะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระพุทธเจ้าทรงพระนามสุเมธะก็มี สามครั้ง ในสันนิบาตครั้งที่ ๑ ในสุทัสสนนคร ได้มีพระขีณาสพร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีแปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อ อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝั่งเก็บไว้ทั้งหมด ถวายมหาทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ในสรณะออกบวช แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ชื่อสุทัสสนะ พระราชา ทรงพระนามสุทัตตะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าสุทัตตา พระอัครสาวกสององค์นามว่าสุมนะองค์หนึ่ง นามว่าสัพพกามะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าสาคระ พระอัครสาวิกาสององค์ นามว่ารามาองค์หนึ่ง นามว่าสุรามาองค์หนึ่ง มหานิมพพฤกษ์ต้นสะเดาใหญ่ เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก พระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี ฉะนี้แล

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ พระนายกทรงพระนามว่า สุเมธะ หาผู้ที่จะต่อกรได้ยาก มีพระเดชาแก่กล้า เป็นพระมุนีผู้สูงสุดในโลกทั้งปวง ฉะนี้แล.


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุกตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 64

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า สุขาตะอุบัติขึ้น แล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งที่ ๑ มีภิกษุ หกหมื่น ครั้งที่ ๒ มีห้าหมื่น ครั้งที่ ๓ มีสี่หมื่น. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรม แล้วถวายราชสมบัติในสี่ทวีป พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการแต่สงฆ์ มีพระพุทธ. เจ้าเป็นประมุข แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นต่างถือเอาเงินที่เกิดขึ้นของรัฐรับหน้าที่เป็นคนทะนุบำรุงวัด. ได้ถวายมหาทานแต่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเป็นนิตย์. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์เขา ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น มีชื่อว่า สุมังคละ พระราชาทรงพระนามว่า อุคคตะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า ประภาวดี พระอัครสาวกมีนามว่า สุทัสสนะองค์ หนึ่ง มีนามว่าสุเทวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากมีนามว่านารทะ พระอัครสาวิกา มีนามว่านาคาองค์หนึ่ง มีนามว่า นาคสมาลาองค์หนึ่ง มหาเวฬุพฤกษ์ (ต้น ไผ่ใหญ่) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ ได้ยินว่าต้นไม้นั้นไม่ใคร่มีรูโปร่ง ลำต้นแข็งแรง มีกิ่งใหญ่พุ่งขึ้นเบื้องบน แลดูงดงาม ราวกะกำแววหางนกยูง. พระสรีระของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสูงได้ ๕๐ ศอก พระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี ฉะนี้แล

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ มีพระนายกทรงพระนามว่าสุชาตะ ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์ (ผึ่งผาย) มีพระวรกายดังโคอุสภะ (สง่างาม) หาผู้เปรียบนี้ได้ หาผู้ต่อกรได้ยาก ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งสิบแปดกัป แต่นี้ มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นสามองค์คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี. แม้สาวกสันนิบาตของพระปิยทัสสีก็มีสามครั้ง ครั้งแรกมี


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 65

ภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีแปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพนามว่า กัสสปะ. เรียนจบเวททั้งสาม ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้บริจาคทรัพย์แสนโกฏิสร้างสังฆาราม ตั้ง อยู่ในสรณะและศีลแล้ว ที่นั้นพระศาสดาทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อล่วงไปพันแปดร้อยกัป. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนาม อโนปมะ พระราชาทรงพระนามว่า สุทินนะ เป็นพระราชบิดา พระราช มารดาทรงพระนามว่า จันทา พระอัครสาวกนามว่าปาลิตะองค์หนึ่ง นามว่าสัพพทัสสีองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า โสภิตะ พระอัครสาวิกานามว่าสุชาตาองค์หนึ่ง นามว่า ธรรมทินนาองค์หนึ่ง กกุธพฤกษ์ (ต้นกุ่ม) เป็นไม้ที่ ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๐ ศอก พระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สุชาตะ พระปิยทัสสี ผู้เป็นพระโลกนาถ ผู้เป็นพระสยัมภู ยากที่ใครจะต่อกรได้ หาใครเสมอมิได้ ผู้มีพระยศใหญ่ ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต ครั้งแรก มีภิกษุเก้าล้านแปดแสน ครั้งที่ ๒ แสนแปด ครั้งที่ ๓ ก็เท่ากัน ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสผู้มีฤทธิ์มากชื่อว่า สุสิมะ นำฉัตรดอกมณฑารพมาจากเทวโลก บูชาพระศาสดา แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขา ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านามว่า โสภิตะ พระราชาทรงพระนามว่า สาคระ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า สุทัสสนา พระอัครสาวกนามว่าสันตะองค์หนึ่ง นามว่าอุปสันตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อภยา. พระอัครสาวิกานามว่าธรรมาองค์หนึ่ง นามว่าสุธรรมาองค์หนึ่ง จัมปกพฤกษ์ (ต้นจัมปา)


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 66

เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้. พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก รัศมีจากพระสรีระแผ่ไปโดย รวมประมาณโยชน์หนึ่ง ตั้งอยู่ตลอดเวลา พระชนมายุได้ แสนปี.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระนราสภ อัตถทัสสี ทรงกำจัดความมืดอย่างใหญ่แล้ว บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ธรรมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เจ็ดสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เป็นท้าวสักกเทวราช ได้กระทำการบูชาด้วยดอกไม้มีกลิ่นอันเป็นทิพย์ และด้วยเครื่องดนตรีทิพย์ แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่าสรณะ พระราชาทรงพระนามว่าสรณะ เป็นพระราชบิดา พระราชาทรงพระนามว่าสุนันทา พระอัครสาวกนามว่าปทุมะองค์หนึ่ง นามว่าปุสสเทวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าสุเนตตะ พระอัครสาวิกานามว่าเขมาองค์หนึ่ง นามว่าสัพพนามาองค์หนึ่ง ต้นรัตตกุรวกพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้. ต้นพิมพชาละ (๑) (ไม้มะกล่ำเครือ) ก็เรียก. พระสรีระของพระองค์สงได้ ๘๐ ศอก พระชนมายุได้ แสนปี.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ พระธรรมทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ทรงกำจัดความมืดมนอนธการแล้ว รุ่งโรจน์อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งเก้าสิบกัปแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวก


๑. บาลีพุทธวงศ์ เป็น ติมพชาละ (ไม้พลับ)


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 67

สันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นดาบสนามว่ามังคละ มีเดชกล้าสมบูรณ์ด้วยอภิญญาพละ ได้นำผลหว้าใหญ่มาถวายแด่พระตถาคต. แม้พระศาสดาเสวยผลไม้นั้นแล้ว ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในที่สุดแห่งกัปเก้าสิบสี่กัป ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่าเวภาระ พระราชาทรงพระนามว่าชยเสนะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าสุผัสสา พระอัครสาวกนามว่าสัมพละองค์หนึ่ง นามว่าสุมิตตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า เรวตะ พระอัครสาวิกานามว่า สิจลาองค์หนึ่ง นามว่า สุรามาองค์หนึ่ง กัณณิกพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๖๐ ศอก พระชนมายุได้ แสนปี.

หลังจากพระธรรมทัสสี พระโลกนายกทรงพระนามว่าสิทธัตถะ ทรงกำจัดความมืดเสียสิ้น เหมือนดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาแล้ว ฉะนั้น.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในที่สุดแห่งกัปที่เก้าสิบสอง มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นสององค์ในกัปหนึ่งคือ ทรงพระนามว่าติสสะ ทรงพระนามว่า ปุสสะ สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ มีสาวกสันนิบาตสามครั้ง ในครั้งแรกมีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มี แปดสิบโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์มีโภคสมบัติมาก มียศใหญ่นามว่าสุชาตะ ทรงผนวชเป็นฤาษี ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ได้สดับว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ถือเอาดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวงและ ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์มาบูชาพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ในท่ามกลางบริษัท


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุเ-ตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 68

สี่ ในอากาศได้กระทำเพดานดอกไม้ไว้. แม้พระศาสดาพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์เขาว่า ในกัปที่เก้าสิบแต่กัปนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นนามว่าเขมะ กษัตริย์ทรงพระนามว่าชนสันธะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าปทุมา พระอัครสาวกนามว่าพรหมเทวะองค์หนึ่ง นามว่าอุทยะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าสัมภวะ พระอัครสาวิกานามว่าปุสสาองค์หนึ่ง นามว่า สุทัตตาองค์หนึ่ง อสนพฤกษ์ (ต้นประดู่ลาย) เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๖๐ ศอก พระชนมายุได้ แสนปี.

กาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ก็มาถึงพระนายกผู้เลิศในโลก ทรงพระนามว่า ติสสะ หาผู้เสมอมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ทรงมีศีลหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศนับไม่ได้.

กาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ปุสสะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหกสิบแสน ครั้งที่ ๒ ห้าสิบแสน ครั้งที่ ๓ สามสิบสองแสน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า วิชิตาวี ทรงสละราชสมบัติอันใหญ่ แล้วผนวชในสำนักของพระศาสดา ทรงเล่าเรียนพระไตรปิฎก แล้วทรงแสดงธรรมกถาแก่มหาชน ทรงบำเพ็ญศีลบารมี. แม้พระปุสสะก็พยากรณ์เขาว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่ากาสี พระราชาทรงพระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าสิริมา พระอัครสาวกนามว่า สุรักขิตะองค์หนึ่ง นามว่าธรรมเสนะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าโสภิยะ พระอัครสาวิกานามว่าจาลาองค์หนึ่ง นามว่าอุปจาลาองค์หนึ่ง อามลกพฤกษ์ (ต้น


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 69

มะขามป้อม) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๕๘ ศอก พระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ ได้มีพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม หาผู้เทียมมิได้ ไม่เป็นเช่นกับใคร ผู้เป็นพระนายกผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงพระนามว่า ปุสสะ.

กาลต่อจากพระองค์ ในกัปที่เก้าสิบเจ็ดแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหกสิบแปดแสน ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบเจ็ดแสน ครั้งที่ ๓ มีแปดหมื่น. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระยานาคนาม ว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งใหญ่ทำด้วยทองคำขจิตด้วยแก้วเจ็ดประการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระองค์ท่านก็ได้ทรงพยากรณ์ เขาว่า ในกัปที่เก้าสิบเอ็ดแต่กัปนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นนามว่าพันธุมดี พระราชาทรงพระนามว่าพันธุมะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าพันธุมดี พระอัครสาวกนามว่าขันธะองค์หนึ่ง นามว่า ติสสะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าอโศกะ พระอัครสาวิกานามว่า จันทาองค์หนึ่ง นามว่าจันทมิตตาองค์หนึ่ง ปาตลิพฤกษ์ (ต้นแคฝอย) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๐ ศอก พระรัศมีจากพระสรีระแผ่ออกไปจด ๗ โยชน์ พระชนมายุ ๘๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ พระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในทวีป ทรงพระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ ได้มีพระพุทธเจ้าสองพระองค์คือ พระสิขีและพระเวสสภู. แม้สาวกสันนิบาตของพระสิขีก็มี


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 70

สามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนหนึ่ง ครั้งที่ ๒ มีแปดหมื่น ครั้งที่ ๓ มีเจ็ดหมื่น. ในกาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า อรินทมะ ได้ถวายมหาทานพร้อมด้วยจีวรแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายช้างแก้วซึ่งตกแต่งด้วยแก้วเจ็ดประการ ได้ถวายกัปปิยภัณฑ์ทำให้มีขนาดเท่าตัวช้าง. แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่าอรุณวดี กษัตริย์นามว่าอรุณะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าปภาวดี พระอัครสาวกนามว่าอภิภูองค์หนึ่ง นามว่าสัมภวะองกค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าเขมังกระ พระอัครสาวิกานามว่าเขมาองค์หนึ่ง นามว่าปทุมาองค์หนึ่ง ปุณฑรีกพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๓๗ ศอก พระรัศมีจากพระสรีระแผ่ซ่าน ไปจด ๓๐๐ โยชน์ พระชนมายุได้ ๓๗,๐๐๐ ปี

ในกาลต่อจากพระวิปัสสี พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดในทวีป เป็นพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสิขี หาเสมอมิได้หาบุคคลเปรียบปานมิได้.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า เวสสภู เสด็จอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกได้มี ภิกษุแปดล้าน ครั้งที่ ๒ มีเจ็ดล้าน ครั้งที่ ๓ มีหกล้าน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า สุทัสนะ ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวร แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงผนวชในสำนักของพระองค์ได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ มากไปด้วยความยำเกรงและปีติในพระพุทธรัตนะ แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์พระองค์ว่า ในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ จักได้เป็น


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 71

พระพุทธเจ้า ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่า อโนมะ พระราชาทรงพระนามว่าสุปปติตะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่ายสวดี พระอัครสาวกนามว่าโสณะองค์หนึ่ง นามว่าอุตตระองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อุปสันตะ พระอัครสาวิกานามว่ารามาองค์หนึ่ง นามว่า สมาลาองค์หนึ่ง สาลพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๖๐ ศอก พระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี

ในมัณกัปนั้นนั่นแล พระชินเจ้าผู้หาใครเสมอ มิได้ หาใครเปรียบปานมิได้ ทรงพระนามว่า เวสสภู เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นสี่พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ มี สาวกสันนิบาตครั้งเดียว ในสาวกสันนิบาตนั้นนั่นแหละ มีภิกษุสี่หมื่น ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า เขมะ ถวายมหาทานพร้อมด้วยจีวรและเภสัชมียาหยอดตาเป็นต้นแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วทรงผนวช แม้พระศาสดาพระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์เขาไว้แล้ว ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ นามว่าเขมะ พราหมณ์นามว่าอัคคิทัตตะ เป็นพระบิดา นางพราหมณีนามว่าวิสาขา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่าวิธุระองค์หนึ่ง นามว่าสัญชีวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าพุทธิชะ พระอัครสาวิกานามว่าสาขาองค์หนึ่ง นามว่าสารัมภาองค์หนึ่ง มหาสิริสพฤกษ์ [ต้นซึกใหญ่] เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๔๐ ศอก พระชนมายุได้ ๔๐,๐๐๐ ปี.


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 72

ต่อจากพระเวสสภูก็มาถึง พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในทวีป ทรงพระนามว่า กกุสันธะ หาคนเทียบเคียงมิได้ ยากที่ใครๆ จะต่อกรได้.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โกนาคมนะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียว ในสันนิบาตนั้น ได้มีภิกษุสามหมื่นรูป ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า ปัพพตะ มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานแล้ว ถวายผ้าปัตตุณณะ [ผ้าไหม] จีนปฏะ [ผ้าขาวในเมืองจีน] ผ้าไหมผ้ากัมพล และผ้าเปลือกไม้เนื้อดี รวมทั้งผ้าที่ทอด้วยทองคำ แล้วทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาไว้ พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่าโสภวดี พราหมณ์นามว่ายัญญทัตตะ เป็นพระบิดา นางพราหมณ์นามว่าอุตตรา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่า ภิยโยสะองค์หนึ่ง นามว่าอุตตระองค์หนึ่ง อุทุมพรพฤกษ์ [ต้นมะเดื่อ] เป็น ต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๒๐ ศอก พระชนมายุได้ ๓๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระกกุสันธะ พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านระทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้เป็นพระชินเจ้า ผู้เป็นพระโลกเชษฐ์พระนราสภ.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า กัสสปะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียวเท่านั้น ในสันนิบาตนั้นมีภิกษุสองหมื่น ในคราวนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรียนจบไตรเทพ เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งบนแผ่นดินและกลางหาว ได้เป็นมิตรของช่างหม้อ


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 73

ชื่อฆฏิการะ เขาพร้อมกับช่างหม้อนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมกถาแล้วบวช ลงมือทำความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎก ดูงดงามในพระพุทธศาสนาเพราะถึงพร้อมด้วยวัตรปฏิบัติ พระศาสดาก็ได้ทรงพยากรณ์เขาไว้แล้ว พระนครอันเป็นที่ประสูติของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนามว่าพาราณสี พราหมณ์ นามว่าพรหมทัต เป็นพระบิดา นางพราหมณีนามว่า ธนวดี เป็นพระมารดาพระอัครสาวกนามว่าติสสะองค์หนึ่ง นามว่าภารทวาชะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าสัพพมิตตะ พระอัครสาวิกานามว่าอนุลาองค์หนึ่ง นามว่าอุรุเวลาองค์หนึ่ง ต้นนิโครธพฤกษ์ [ต้นไทร] เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ สูงได้ ๒๐ ศอก พระชนมายุได้ ๒๐,๐๐๐ ปี

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ พระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่านระ ทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระชินเจ้า เป็นพระธรรมราชา ทรงทำโลกให้สว่าง.

ก็ในกัปที่พระทศพลทีปังกรเสด็จอุบัติขึ้น แม้พระพุทธเจ้าจะมีถึงสามองค์ พระโพธิสัตว์ไม่ได้รับการพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านจึงมิได้แสดงไว้ในที่นี้ แต่ในอรรถกถา เพื่อที่จะแสดงพระพุทธเจ้าทั้งหมดจำเดิมแต่กัปนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ ไว้ว่า

พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้คือ พระตัณหังกร พระเมธังกรและพระสรณังกร พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า พระโกณฑัญญะผู้สูงสุดกว่านระ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระมุนีโสภิตะ พระอโนมทัสสี


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 74

พระปทุมะ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสีผู้มีพระยศใหญ่ พระอัตถกทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะผู้เป็นโลกนายก พระติสสะ พระปุสสสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และ พระนายกกัสสปะ ล้วนทรงมีราคะกำจัดได้แล้ว มีพระหทัยตั้งมั่น ทรงกำจัดความมืดอย่างใหญ่หลวงได้ ประหนึ่งดวงอาทิตย์เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ลุกโพลงอยู่ ราวกะว่ากองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งสาวก ดังนี้.

_ในเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเราสร้างคุณงามความดีในสำนักของพระพุทธเจ้ายี่สิบสี่องค์ มีพระทีปังกรเป็นต้นมาถึงตลอดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ไม่มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์นี้ ก็พระโพธิสัตว์ได้รับคำพยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้ายี่สิบสี่องค์ มีพระทีปังกรเป็นต้นด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เพราะประมวลธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ความสมบูรณ์ด้วยเพศ ด้วยเหตุ การได้พบพระศาสดา การบรรพชา การถึงพร้อมด้วยคุณ การกระทำยิ่งใหญ่ ความพอใจ ความปรารถนาที่ตั้งใจจริง ย่อมสำเร็จได้.


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 75

พระมหาสัตว์ผู้ได้กระทำความปรารถนาที่ตั้งใจจริงไว้แทบบาทมูลของ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร ประมวลธรรม ๘ ประการเหล่านี้มาแล้ว กระทำอุตสาหะว่า เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จากที่โน้นบ้างที่นี้บ้าง ได้เห็นพุทธการกธรรมมีทานบารมี เป็นต้น ด้วยกล่าวว่า ในกาลเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อแรก เขาบำเพ็ญธรรมเหล่านั้นอยู่มาจนถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดร และเมื่อมาถึงก็ได้มาบรรลุอานิสงส์สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้ได้กระทำความปรารถนาที่ตั้งใจจริง ดังที่ท่านพรรณนาไว้มากมายว่า

นรชนผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทุกประการผู้เที่ยงต่อโพธิญาณ ตลอดสงสารอันมีระยะกาลยาวนาน แม้นับด้วยร้อยโกฎิกัป จะไม่เกิดในอเวจี แม้ในโลกันตรนรก ก็เช่นกัน แม้เมื่อเกิดในทุคติ จะไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสาเปรต กาลกัญชิกาสูร ไม่เป็นสัตว์ตัวเล็กๆ เมื่อจะเกิดในมนุษย์ ก็ไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เกิดเป็นสตรี ไม่เป็นอุภโตพยัญชนก (คนสองเพศ) และกะเทย นรชนผู้เที่ยงต่อโพธิญาณจะไม่ มีใจติดพันในสิ่งใด พ้นจากอนันตริยกรรม เป็นผู้มีโคจรสะอาดในที่ทั้งปวง ไม่ซ่องเสพมิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผลในการกระทำกรรม แม้จะอยู่ในพวกสัตว์ทั้งหลายก็ไม่เกิดเป็นอสัญญีสัตว์ ในพวกที่อยู่ในสุทธา-


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 76

วาส ก็ไม่มีเหตุไปเกิด เป็นสัตบุรุษ น้อมใจไปในเนกขัมมะ ปลดเปลื้องภพน้อยใหญ่ออก ประพฤติแต่ประโยชน์แก่โลก มุ่งบำเพ็ญบารมีทุกประการเที่ยวไป.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นั่นแหละ อัตภาพที่บำเพ็ญทานบารมีคือในกาลเป็นพราหมณ์ชื่ออกิตติ ในกาลเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ในกาลเป็นพระราชาทรงพระนามว่าธนัญชยะ ในกาลเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ในกาลเป็นมหาโควินทะ ในกาลเป็นนิมิมหาราช ในกาลเป็นจันทกุมาร ในกาลเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเป็นพระเจ้าสิวิราช ในกาลเป็นพระเวสสันดร ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคตน ในสสบัสณฑิตชาดก อย่างนี้ว่า

เราเห็นเขาเข้ามาเพื่อขอ จึงได้บริจาคตัวของตน สิ่งที่เสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญศีลบารมี คือ ในกาลเป็นสีลวนาคราช ในกาลที่เป็นจัมเปยยนาคราช ในกาลที่เป็นภูริทัตตนาคราช ในกาลที่เป็นฉัททันตนาคราช ในกาลเป็นชัยทิสราชบุตร ในกาลที่เป็นอลีนสัตตุกุมาร ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ทำการบริจาคตน ในสังขปาลชาดก อย่างนี้ว่า


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุาตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 77

เราเมื่อถูกทิ่มแทงอยู่ด้วยหลาว แม้จะถูกตีซ้ำด้วยหอกก็มิได้โกรธเคืองลูกผู้ใหญ่บ้านเลย นี้เป็นศีลบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่พระโพธิสัตว์สละราชสมบัติอย่างใหญ่ บำเพ็ญเนกขัมบารมีคือ ในกาลที่เป็นโสมนัสกุมาร ในกาลที่เป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาลที่เป็นอโยฆรบัณฑิต ก็เหลือที่จะนับได้. แต่เนกขัมมบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ทิ้งราชสมบัติออกบวช เพราะเป็นผู้ปราศจากเครื่องข้องในจูฬสุตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราละทิ้งราชสมบัติอย่างใหญ่หลวง ที่อยู่ในเงื้อมมือแล้วไปดุจก้อนเขฬะ เมื่อเราสละแล้ว ไม่มีความข้องอยู่เลย นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญปัญญาบารมีคือ ในกาลที่เป็นวิธูรบัณฑิต ในกาลที่เป็นมหาโควินทบัณฑิต ในกาลที่เป็นขุททาลบัณฑิต ในกาลที่เป็นอรกบัณฑิต ในกาลที่เป็นโพธิปริพพาชก ในกาลที่เป็นมโหสถบัณฑิต ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้แสดงงูที่อยู่ข้างในกระสอบ ในกาลที่เป็นเสนกบัณฑิต ใน สัตตุภัตตชาดก อย่างนี้ว่า

เราเมื่อใคร่ครวญอยู่ด้วยปัญญา ปลดเปลื้องพราหมณ์ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ที่เสมอด้วยปัญญาของเราไม่มี นี้เป็นปัญญาบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 78

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญแม้วิริยบารมีเป็นต้น ก็เหลือที่จะนับได้. แต่วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ข้ามมหาสมุทร ในมหาชนกชาดก อย่างนี้ว่า

ในท่ามกลางน้ำเราไม่เห็นฝั่งเลย พวกมนุษย์ถูกฆ่าตายหมด ความเป็นอย่างอื่นแห่งจิตไม่มีเลย นี้เป็นวิริยบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมี.

ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้อดกลั้นทุกข์หนัก เพราะทำเป็นเหมือนกับไม่มีจิตใจในขันติวาทีชาดก อย่างนี้ว่า

เราไม่โกรธในพระเจ้ากาสิกราช ผู้ทุบตีเราผู้เหมือนกับไม่มีจิตใจ ด้วยขวานอันคมกริบ นี้เป็นขันติบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

สัจจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้สละชีวิตตามรักษาอยู่ซึ่งสัจจะ ในมหาสุตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราเมื่อตามรักษาอยู่ซึ่งสัจวาจา สละชีวิตของเราปลดเปลื้องกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ได้แล้ว นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ถึงกับสละชีวิตอธิษฐานวัตร ในมูคปักขชาดก อย่างนี้ว่า


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

/พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 79

มารดาบิดามิได้เป็นที่เกลียดชังของเรา ทั้งยศใหญ่เราก็มิได้เกลียดชัง แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเราเพราะฉะนั้น เราจึงอธิษฐานวัตร ดังนี้

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ไม่เหลียวแลแม้แต่ชีวิต ยังคงมีเมตตาอยู่ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า

ใครๆ ก็ทำให้เราสะดุ้งไม่ได้ ทั้งเรามิได้หวาดต่อใครๆ เราไม่แข็งกระด้างเพราะกำลังเมตตา จึงยินดีอยู่ในป่าเขาทุกเมื่อ ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ไม่ประพฤติล่วงอุเบกขา เมื่อพวกเด็กชาวบ้าน แม้จะก่อให้เกิดทุกข์และสุขด้วยการถ่มน้ำลายใส่เป็นต้นบ้าง ด้วยการนำดอกไม้และของหอมมาให้บ้าง ในโลมหังสชาดกอย่างนี้ว่า

เราหนุนซากศพเหลือแต่กระดูก สำเร็จการนอนในป่าช้า พวกเด็กต่างพากันกระโดดจากสนามวัวแล้ว แสดงรูปต่างๆ เป็นอันมาก ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนโดยพิศดารพึงถือใจความนั้นจากจริยาปิฎก. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร กระทำบุญใหญ่ อันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่ไหวอย่างนี้ว่า


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 80

แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจ ไม่รับรู้สุขทุกข์ แม้แผ่นดินนั้นก็ได้ไหวแล้วถึง ๗ ครั้ง เพราะอำนาจแต่งทานของเรา ดังนี้

ในเวลาสิ้นสุดแห่งอายุ จุติจากนั้นได้ไปเกิดในดุสิตพิภพ. จำเดิมแต่บาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงพระโพธิสัตว์นี้เกิดในดุสิตบุรี ข้อนั้นพึงทราบว่า ชื่อทูเรนิทาน.

อวิทูเรนิทาน

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในดุสิตบุรีนั่นแล ความแตกตื่นเรื่องพระพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว. จริงอยู่ ในโลกย่อมมีโกลาหล ๓ อย่างเกิดขึ้นคือ โกลาหลเรื่องกัป ๑ เรื่องพระพุทธเจ้า ๑ โกลาหลเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ ๑

พวกเทวดาชั้นกามาวจรที่ชื่อว่าโลกพยุหะทราบว่า เหตุที่จะเกิดเมื่อสิ้นกัป จักมีโดยล่วงไปได้แสนปีนั้น ดังนี้ ต่างมีศีรษะเปียก สยายผม มีหน้าร้องไห้ เอามือทั้งสองเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง มีรูปร่างแปลก เที่ยวเดินบอกกล่าวไปในเมืองมนุษย์ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งแสนปีแต่นี้ เหตุที่จะเกิดเมื่อสิ้นกัปจักมีขึ้น แม้โลกนี้ก็จักพินาศไป แม้มหาสมุทรก็จักพินาศ แผ่นดินใหญ่นี้และพญาแห่งภูเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้ จักพินาศไป ความพินาศจักมีจนถึงพรหมโลก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอพวกท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาจงบำรุงมารดาบิดา จงเป็นผู้นอบน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลดังนี้ นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องกัป.


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 81

พวกเทวดาชื่อว่าโลกบาลทราบว่า ก็โดยล่วงไปแห่งพันปี พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดังนี้ แล้วพากันเที่ยวป่าวร้อง นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้า.

เทวดาพวกนั้นแหละทราบว่า โดยล่วงไปแห่งร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักเสด็จอุบัติขึ้นพากันเที่ยวป่าวประกาศว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดยล่วงไปแห่งร้อยปีแต่นี้ พระเจ้าจักรพรรดิจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดังนี้. นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ.

โกลาหลทั้งสามประการนี้นับว่าเป็นของใหญ่. บรรดาโกลาหลทั้งสามนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ฟังเสียงโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้าแล้ว จึง ร่วมประชุมพร้อมกันทราบว่า สัตว์ชื่อโน้นจักเป็นพระพุทธเจ้า เข้าไปหาเขาแล้วต่างจะอ้อนวอน และเมื่ออ้อนวอนอยู่ ก็จะอ้อนวอนในเมื่อบุรพนิมิตเกิดขึ้นแล้ว. ก็ในกาลนั้น เทวดาแม้ทั้งปวงพร้อมกับท้าวจาตุมมหาราช ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดี และท้าวมหาพรหม ในแต่ละจักรวาลมาประชุมพร้อมกันในจักรวาลหนึ่ง แล้วพากันไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ ในภพดุสิตต่างอ้อนวอนว่า "ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเมื่อบำเพ็ญบารมีสิบ ก็มิได้ปรารถนาสมบัติของท้าวสักกะ สมบัติของมาร สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ สมบัติของพรหม บำเพ็ญแล้ว แต่ท่านปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ บำเพ็ญแล้ว เพื่อต้องการจะขนสัตว์ออกจากโลก ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บัดนี้ ถึงเวลาที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถึงสมัยที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว".

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ยังไม่ให้ปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย จะตรวจดูมหาวิโลกนะ คือที่จะต้องเลือกใหญ่ ๕ ประการคือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และการกำหนดอายุของมารดา. ใน ๕ ประการนั้น พระโพธิสัตว์จะตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควรหรือไม่สมควร. ในข้อนั้นกาลแห่งอายุที่เจริญขึ้นถึง


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 82

แสนปี จัดว่าเป็นกาลไม่สมควร. เพราะเหตุไร. เพราะในกาลนั้น ชาติชราและมรณะไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะพ้นจากไตรลักษณ์ไม่มี เมื่อพระองค์ตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวก เขาก็จะคิดว่า พระองค์ตรัสข้อนั้นทำไม แล้วจะไม่เห็นเป็นสำคัญว่า ควรจะฟัง ควรจะเชื่อ ต่อนั้นก็จะไม่มีการตรัสรู้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้ ศาสนาก็จะไม่เป็นสิ่งนำออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงเป็นกาลที่ยังไม่ควร. แม้กาลแห่งอายุหย่อนกว่าร้อยปี ก็จัดเป็นกาลที่ยังไม่ควร. เพราะเหตุไร. เพราะในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา และโอวาทที่ให้แก่ผู้มีกิเลสหนาจะไม่ตั้งอยู่ในที่เป็นโอวาท โอวาทนั้นก็จะพลันปราศไปเร็วพลันเหมือนรอยไม้เท้าในน้ำฉะนั้น เพราะฉะนั้น แม้กาลนั้น ก็จัดได้ว่าเป็นกาลไม่ควร. กาลแห่งอายุต่ำลงมาตั้งแต่แสนปี สูงขึ้นไปตั้งแต่ร้อยปี จัดเป็นกาลอันควร. และในกาลนั้น ก็เป็นกาลแห่งอายุร้อยปี. ทีนั้น พระมหาสัตว์ก็มองเห็นว่าเป็นกาลที่ควรจะเกิดได้แล้ว. ต่อจากนั้น เมื่อจะตรวจดูทวีปก็ตรวจดูทวีปใหญ่ ๔ ทวีป เห็นทวีปหนึ่งว่า ในทวีปทั้งสาม พระพุทธ เจ้าทั้งหลายย่อมไม่เสด็จอุบัติขึ้น เสด็จอุบัติขึ้นในชมพูทวีปเท่านั้น. ต่อจากนั้น ก็ตรวจดูประเทศว่า ธรรมดาชมพูทวีปกว้างใหญ่มาก มีปริมาณถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นในประเทศไหนหนอ. จึงมองเห็นมัชฌิมประเทศ. ชื่อว่ามัชฌิมประเทศ คือประเทศที่ท่านกล่าวไว้ในวินัยอย่างนี้ว่า ในทิศตะวันออก มีนิคมชื่อกชังคละ ที่อื่นจากนิคมนั้นเป็นที่กว้างขวาง ที่อื่นไปจากที่นั้นเป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมิชฌิมประเทศ ในทิศใต้ มีแม่น้ำ ชื่อสัลลวดี ต่อจากนั้น เป็นชนบทตั้งอยู่ชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ในทิศทักษิณมีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ ต่อจากนั้น เป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ในทิศตะวันตก มีพราหมณคามชื่อถูนะ ต่อจากนั้นเป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ในทิศเหนือ มีภูเขาชื่อ 'อุสีรธชะ ต่อจากนั้นเป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 83

มัชฌิมประเทศนั้นโดยยาววัดได้สามร้อยโยชน์ โดยกว้างได้สองร้อยห้าสิบโยชน์ โดยวงรอบได้เก้าร้อยโยชน์. ในประเทศนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ และกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีมหาศาล ผู้มีศักดาใหญ่เหล่าอื่นย่อมเกิดขึ้น และนครชื่อว่ากบิลพัสดุ์นี้ก็ตั้งอยู่ในมัชฌิมประเทศนี้ พระโพธิสัตว์จึงได้ถึงความตกลงใจว่า เราควรจะไปเกิดในนครนั้น. ต่อจากนั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะเลือกตระกูล จึงเห็นตระกูลว่า มารดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เสด็จอุบัติในตระกูลแพศย์ หรือในตระกูลศูทร แต่จะเสด็จอุบัติในตระกูลกษัตริย์หรือในตระกูลพราหมณ์ที่โลกยกย่องสองตระกูลนี้เท่านั้น ก็บัดนี้มีตระกูลกษัตริย์ที่โลกยกย่องแล้ว เราจักเกิดในตระกูลนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช จักเป็นพระราชบิดาของเราดังนี้. ต่อจากนั้นเมื่อจะเลือกมารดาก็เห็นว่า ธรรมดาพระพุทธมารดาย่อมไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักเลงสุรา แต่จะเป็นผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป จำเดิมแต่เกิดจะมีศีล ๕ ไม่ขาดเลย และพระเทวีทรงพระนามว่ามหามายานี้ทรงเป็นเช่นนี้ พระนางจะทรงเป็นพระราชมารดาของเรา ดังนี้ เมื่อตรวจดูว่า ก็พระนางจะทรงมีพระชนมายุเท่าไร ก็เห็นว่ามีอายุเกินกว่า ๑๐ เดือนไป ๗ วัน.

พระโพธิสัตว์ตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว คิดว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถึงกาลอันควรของเราแล้วที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อจะกระทำการสงเคราะห์เทวดาทั้งหลายจึงให้ปฏิญญาแล้วกล่าวว่า ขอพวกท่านไปได้ ส่งเทวดาเหล่านั้นกลับไป มีเทวดาชั้นดุสิตห้อมล้อมแล้ว ไปสู่นันทวันในดุสิตบุรี. จริงอยู่ นันทวันมีอยู่ในทุกเทวโลกทีเดียว. เทวดาในนันทวันในเทวโลกนั้น กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงจุติจากนันทวันนี้ไปสู่สุคติเถิด เที่ยวคอยเตือนให้พระมหาสัตว์รำลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่เคยกระทำไว้ครั้งก่อน. พระโพธิสัตว์อันพวกเทวดาผู้คอยเตือนให้รำลึกถึงกุศลกรรมห้อมล้อมแล้วอย่างนี้ เที่ยวไปอยู่ในเทวโลกนั้น จุติแล้วถือเอาปฏิสนธิ


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 84

ในพระครรภ์ของพระมหามายาเทวี ก็เพื่อที่จะให้ชัดแจ้งถึงวิธีที่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ มีถ้อยคำที่จะบรรยายตามลำดับ ดังนี้

ได้ยินว่า ในกาลนั้น ในนครกบิลพัสดุ์ได้มีงานนักขัตฤกษ์ เดือน ๘ กันอย่างเอิกเกริก มหาชนเล่นงานนักขัตฤกษ์กัน ฝ่ายพระนางมหามายาเทวี อีก ๗ วันจะถึงวันบุรณมี ทรงร่วมเล่นงานนักขัตฤกษ์แต่ไม่มีการดื่มสุรากัน มีแต่จัดดอกไม้ของหอมและเครื่องประดับ ในวันที่ ๗ ทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงสนานด้วยน้ำหอม ทรงสละพระราชทรัพย์สี่แสนถวายมหาทานแล้วทรงแต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับครบทุกอย่าง เสวยพระกระยาหารอย่างดี ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถ เสด็จเข้าห้องอันมีสิริ บรรทมบนพระสิริไสยาสน์ ก้าวลงสู่นิทรารมณ์ ได้ทรงพระสุบินนี้ว่า นัยว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยกพระนางขึ้นพร้อมกับพระแท่นที่บรรทมทีเดียว ไปยังป่าหิมพานต์ แล้ววางบนพื้นแผ่นศิลามีประมาณ ๖๐ โยชน์ ภายใต้ต้นสาละใหญ่มีประมาณ ๗ โยชน์ ได้ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ที่นั้น เหล่านางเทวีของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ต่างพากันมานำพระเทวีไปยังสระอโนดาต ให้สรงสนานเพื่อที่จะชำระล้างมลทินของมนุษย์ออก ให้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ ลูบไล้ด้วยของหอมทิพย์ ประดับประดาด้วยดอกไม้ทิพย์ ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น มีภูเขาเงินอยู่ลูกหนึ่ง ภายในภูเขานั้นมีวิมานทอง พวกเขาก็ตั้งพระแท่นที่บรรทมอันเป็นทิพย์ บ่ายพระเศียรสูงขึ้นทางปราจีนทิศ (ตะวันออก) ทูลให้บรรทมในวิมานทองนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระยาช้างตัวประเสริฐสีขาวผ่อง เดินเที่ยวไปที่ภูเขาทองลูกหนึ่ง ใน ที่ไม่ไกลแต่ที่นั้น เดินลงจากภูเขาทองนั้น ขึ้นไปยังภูเขาเงิน มาทางด้านอุตตรทิศ (ทิศเหนือ) เอางวงอันมีสีราวกะว่าพวงเงินจับดอกปทุมชาติสีขาว เปล่งโกญจนาท เข้าไปยังวิมานทอง กระทำประทักษิณแท่นบรรทมของพระราชมารดา ๓ รอบแล้ว ปรากฏเหมือนกับว่าทะลุทางด้านเบื้องขวาเข้าไปในพระ


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 85

อุทรของพระนาง. พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ ในวันนักขัตฤกษ์เดือน ๘ หลัง ด้วยประการฉะนี้.

ในวันรุ่งขึ้นพระเทวีทรงตื่นบรรทมแล้ว กราบทูลถึงพระสุบินนั้นแด่พระราชา พระราชารับสั่งให้เชิญพราหมณ์ชั้นหัวหน้า ๖๔ คนเข้าเฝ้า ให้จัดปูลาดอาสนะมีค่ามากบนพื้นที่ฉาบด้วยโคมัยสด มีเครื่องสักการะอันเป็นมงคลกระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น ให้ใส่ข้าวปายาสอย่างเลิศ ซึ่งปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดลงจนเต็มถาดทองและเงิน เอาถาดทองและเงินครอบแล้ว ถวายให้พวกเขาอิ่มหนำ พร้อมกับถวายผ้าห่มและแม่โคแดงเป็นต้น ที่นั้น เมื่อพวกพราหมณ์เหล่านั้น อิ่มหนำด้วยของที่ต้องการทุกอย่างแล้ว จึงตรัสบอกพระสุบิน แล้วตรัสถามว่าจักมีอะไรเกิด. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงวิตกอะไรเลย พระเทวีทรงตั้งพระครรภ์แล้ว และพระครรภ์ที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นครรภ์บุรุษ มิใช่ครรภ์ของสตรี พระองค์จักมีพระราชบุตร ถ้าพระราชบุตรนั้นทรงอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกจากเรือนบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีกิเลส ประดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก.

ก็ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระคัพโภทรของพระมารดานั่นแหละ ตลอดหมื่นโลกธาตุก็ไหวหวั่นสะเทือนเลื่อนลั่นขึ้นพร้อมกันทันที. บุรพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. ในหมื่นจักรวาล ได้มีแสงสว่างสุดจะประมาณแผ่ซ่านไป. พวกคนตาบอดต่างก็ได้ตาดีขึ้น ดูประหนึ่งว่ามีประสงค์จะดูพระสิรินั้นของพระโพธิสัตว์นั้น. พวกคนหูหนวกก็ฟังเสียงได้ พวกคนใบ้ก็พูดจาได้ พวกคนค่อมก็มีตัวตรงขึ้น คนง่อยเปลี้ยเสียขาก็เดินด้วยเท้าได้. สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำก็พ้นจากเครื่องจองจำมีขื่อคาเป็นต้น. ในนรกทุกแห่งไฟก็ดับ. ในเปรตวิสัยความหิวกระหายก็สงบระงับ. เหล่าสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่มีความกลัวภัย. โรคและไฟกิเลสมีราคะเป็นต้นของสัตว์ทั้งปวงก็สงบระงับ.


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุะตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 86

สัตว์ทั้งปวงต่างมีวาจาน่ารัก ม้าทั้งหลายต่างก็ร้อง ช้างทั้งหลายต่างก็ร้องด้วยอาการอันอ่อนหวาน. บรรดาดนตรีทุกชนิดต่างก็เปล่งเสียงกึกก้องของตนได้เอง ไม่ต้องมีใครตีเลย เครื่องอาภรณ์ที่สวมอยู่ที่มือของมนุษย์ทั้งหลายร้องขึ้นได้ ทิศทุกทิศต่างก็แจ่มใสไปทั่ว สายลมอ่อนเย็นที่จะให้เกิดสุขแก่สัตว์ทั้งหลายก็พัดโชยมา. เมฆที่มิใช่กาลก็ให้ฝนตก. แม้จากแผ่นดิน น้ำก็ชำแรกไหลออกมา เหล่านกก็ไม่บินไปในอากาศ แม่น้ำก็นิ่งไม่ไหล น้ำในมหาสมุทรก็มีรสอร่อย พื้นทั่วไปทุกแห่งก็ดาดาษด้วยดอกบัวหลวงมี ๕ สี. ดอกไม้ทุกชนิดที่เกิดบนพื้นดินและเกิดในน้ำต่างก็บานไปทั่ว. ที่ลำต้นต้นไม้ก็มีดอกปทุมลำต้นบาน ที่กิ่งก็มีดอกปทุมกิ่งบาน ที่เถาวัลย์ก็มีดอกปทุมเถาวัลย์บาน. ที่พื้นดินก็มีดอกปทุมมีก้านชำแรกพื้นหินโผล่ขึ้นเบื้องบนๆ แห่งละ ๗ ดอก ในอากาศก็มีดอกปทุมห้อยย้อยเกิดขึ้น ฝนดอกไม้โปรยปรายไปโดยรอบๆ ทิพยดนตรีต่างก็บรรเลงขึ้นในอากาศ. ทั้งหมื่นโลกธาตุเป็นประดุจพวงมาลัยที่เขาจับเหวี่ยงให้หมุนแล้วปล่อยไป ดูราวกะว่ากำดอกไม้ที่เขาจับบีบเข้าแล้วมัดให้รวมกัน และเป็นเสมือนที่นอนดอกไม้ที่ประดับประดาและตกแต่งแล้ว มีดอกไม้เป็นพวงเดียวกัน เหมือนพัดวาลวีชนีที่กำลังโบกสะบัดอยู่ อบอวลไปด้วยกลิ่นของดอกไม้และธูป ได้เป็นโลกธาตุที่ถึงความงามสุดยอด แล้ว.

จำเดิมแต่ปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ผู้ถือปฏิสนธิแล้วอย่างนี้ เพื่อที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่พระโพธิสัตว์ และพระราชมารดาของพระโพธิสัตว์ เทวบุตร ๔ องค์ มีมือถือพระขรรค์คอยให้การอารักขา ความคิดเกี่ยวกับราคะในบุรุษทั้งหลาย มิได้เกิดแต่พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์. พระนางมีแต่ถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ มีความสุข มีพระวรกายไม่ลำบาก และทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งอยู่ในพระคัพโภทรประดุจด้ายสีขาวที่ร้อยไว้ในแก้วมณีที่ใสแจ๋ว ธรรมดาคัพโภทรที่พระโพธิสัตว์


ความคิดเห็น 87    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 87

อาศัยอยู่เป็นเช่นกับห้องของเจดีย์ สัตว์อื่นไม่สามารถจะอาศัยอยู่หรือบริโภคได้ เพราะฉะนั้น พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์จึงสวรรคต แล้วไปอุบัติในดุสิตบุรี ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน หญิงอื่นไม่ถึง ๑๐ เดือนบ้าง เลยไปบ้าง นั่งคลอดบ้าง นอนตลอดบ้าง ฉันใด พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่. แต่พระนางจะบริบาลพระโพธิสัตว์ไว้ในพระคัพโภทรสิ้น ๑๐ เดือน แล้วประทับยืนคลอด และก็ข้อนี้เองเป็นธรรมดาของพระราชมารดาของพระโพธิสัตว์. แม้พระนางมหามายาเทวีทรงบริบาลพระโพธิสัตว์ในพระคัพโภทรสิ้น ๑๐ เดือน ประดุจบริบาลน้ำมันไว้ด้วยบาตรฉะนั้น มีพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปยังเรือนพระญาติ จึงกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันปรารถนาจะไปยังนครเทวหะที่เป็นของตระกูล. พระเจ้าสุทโธทนะทรงรับว่าได้ แล้วรับสั่งให้ปราบทางจากพระนครกบิลพัสดุ์จนถึงเทวทหนคร ให้ราบเรียบดีแล้ว ประดับประดาด้วยต้นกล้วย หม้อเต็มด้วยน้ำ ธงชายและ ธงแผ่นผ้า ให้พระเทวีประทับนั่งในพระวอทอง ให้อำมาตย์พันคนหามไป ทรงส่งไปพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก. ก็ในระหว่างพระนครทั้งสอง แม้ชาวพระนครทั้งสอง ก็มีสาลวันอันเป็นมงคล ชื่อว่าลุมพินีวัน. ในสมัยนั้น สาลวันทั้งปวงได้มีดอกไม้บานเป็นอย่างเดียวกัน ตั้งแต่โคนต้นจนถึงปลายกิ่ง. จาก ระหว่างกิ่งและระหว่างดอก มีฝูงนกห้าสี มีสีดั่งแมลงภูจำนวนมากมาย เที่ยวบินร้องประสานเสียง ลุมพินีวันทั้งสิ้นจึงเป็นเช่นกับจิตรลดาวัน ดูประหนึ่งเป็นมณฑลของพื้นที่มาร่วมดื่มกัน. พระเทวีได้เกิดมีพระประสงค์จะทรงเล่นกีฬาในสาลวัน เพราะทอดพระเนตรเห็นลุมพินีวันนั้น. พวกอำมาตย์พาพระเทวีเข้าไปยังสาลวัน พระนางได้ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังโคนต้นสาละ อันเป็นมงคลแล้ว ทรงจับที่กิ่งต้นสาละ กิ่งต้นสาละก็น้อมลง ประดุจยอด


ความคิดเห็น 88    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุ ร' ตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 88

หวายที่ถูกรมให้ร้อนแล้ว พระหัตถ์พระเทวีพอจะเอื้อมถึงได้. พระนางทรงเหยียดพระหัตถ์ออกจับกิ่ง.

ก็ในขณะนั้นนั่นเอง ลมกันมัชวาตของพระนางเกิดปั่นป่วน ทีนั้น มหาชนแวดวงพระวิสูตรแก่พระนางแล้วก็หลีกไป. เมื่อพระนางทรงจับกิ่งต้นสาละประทับยืนอยู่นั่นแหละ ได้ทรงประสูติแล้ว. ในขณะนั้นนั่นเอง ท้าวมหาพรหมผู้มีจิตบริสุทธิ์ ๔ องค์ ก็มาถึงพร้อมกับถือข่ายทองมาด้วย เอาข่ายทองนั้นรับพระโพธิสัตว์ วางไว้ตรงพระพักตร์ของพระราชมารดา พลางทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชบุตรของพระองค์ มีศักดาใหญ่อุบัติขึ้นแล้ว เหมือนอย่างว่า สัตว์เหล่าอื่นเมื่อคลอดออกจากท้องมารดาย่อมแปดเปื้อนด้วยสิงปฏิกูลอันไม่สะอาดคลอดออกมา ฉันใด พระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่ ก็พระโพธิสัตว์นั้นเหยียดมือและเท้าสองข้างออกยืนตรง ดุจพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และดุจบุรุษลงจากบันได มิได้แปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดใดๆ ที่มีอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์รุ่งโรจน์อยู่ประดุจแก้วมณีที่เขาวางไว้บนผ้ากาสิกพัสตร์ คลอดออกมาจากครรภ์มารดา แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ตาม สายธารแห่งน้ำสองสายก็พลุ่งออกมาจากอากาศโสรจสรงพระสรีระของพระโพธิสัตว์และพระมารดาทำให้อบอุ่นสบาย เพื่อเป็นเครื่องสักการะแก่พระโพธิสัตว์และพระมารดา ต่อนั้นท้าวมหาราช ๔ องค์ได้ รับพระโพธิสัตว์นั้น จากมือของพรหมผู้ยืนเอาข่ายทองรับอยู่ ด้วยเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหนังเสือดาวที่มีสัมผัสอ่อนนุ่ม ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคล พวกมนุษย์จึงเอาพระยี่ภู่ผ้าทุกูลพัสตร์รับจากมือของท้าวมหาราชเหล่านั้น พอพ้นจากมือของพวกมนุษย์ พระโพธิสัตว์ก็ประทับยืนบนแผ่นดินทอดพระเนตรดูทิศตะวันออก จักรวาลนับได้หลายพันได้เป็นที่โล่งเป็นอันเดียวกัน พวกเทวดา และมนุษย์ในที่นั้นต่างพากันบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ คนอื่นในที่นี้เช่นกับท่านไม่มี คนที่ยิ่งกว่าท่านจักมีแต่ที่ไหน


ความคิดเห็น 89    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 89

พระโพธิสัตว์มองตรวจดูตลอดทิศให้ทิศเล็กแม้ทั้ง ๑๐ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศเล็ก ๔ เบื้องล่าง เบื้องบน ก็มิได้ทรงมองเห็นใครที่เช่นกับตนทรงดำริว่า นี้เป็น ทิศเหนือ แล้วได้เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว มีท้าวมหาพรหมกั้นเศวตฉัตร ท้าวสุยามเทวบุตรถือพัดวาลวีชนี และเทวดาเหล่าอื่นมีมือถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่เหลือเดินตามเสด็จ ต่อจากนั้นประทับยืนที่พระบาทที่ ๗ ทรง เปล่งอาสภิวาจา [วาจาแสดงความยิ่งใหญ่] เป็นต้นว่า เราเป็นผู้เลิศของโลก ทรงบรรลือสีหนาทแล้ว.

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ เพียงตลอดออกมาจากครรภ์มารดาเท่านั้น ก็เปล่งวาจาได้ในสามอัตภาพเท่านั้นคือ ในอัตภาพเป็นมโหสถ ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ในอัตภาพนี้. นัยว่าในอัตภาพเป็นมโหสถเมื่อพระโพธิสัตว์คลอดออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราชเสด็จมา ทรงวางแก่นจันทน์ที่มือแล้วเสด็จไป พระโพธิสัตว์กำแก่นจันทร์นั้นไว้ในกำมือตลอดออกมา. ทีนั้น มารดาจึงถามเขาว่า แน่ะพ่อ ลูกถืออะไรมา. ข้าแต่แม่ ยาครับ พระโพธิสัตว์ตอบ. เพราะเหตุที่ถือเอายามา คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อให้แก่เขาว่า โอสถทารก [เด็กถือยา] ชนทั้งหลายจึงถือเอายานั้นใส่ไว้ในตุ่ม โอสถนั้นนั่นแหละได้เป็นยารักษาโรคสารพัดให้หายได้แก่คนตาบอดและหูหนวกเป็นต้น ที่พากันมาๆ ต่อมา เพราะถือเอาคำที่พูดกันว่า โอสถนี้มีคุณมาก โอสถนี้มีคุณมาก เขาจึงได้เกิดมีชื่อ ขึ้นอีกว่า มโหสถ. ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์เพียงคลอดออกจากครรภ์ของมารดา ก็เหยียดแขนออก พลางกล่าวว่า ข้าแต่แม่ ในเรือนมีทรัพย์บ้างไหม ลูกจะให้ทาน แล้วตลอดออกมา ทีนั้นพระมารดาของพระโพธิสัตว์นั้นกล่าวว่า แน่ะพ่อ ลูกเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์ ว่าแล้วให้วางถุงเงินพันหนึ่งไว้แล้ว จึงวางมือของลูกไว้บนฝ่ามือของพระองค์ ในอัตภาพเป็นพระโพธิสัตว์บรรลือสีหนาทแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 90    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 90

พระโพธิสัตว์เพียงแต่ว่าคลอดออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ก็เปล่งวาจาได้ในสามอัตภาพโดยอาการอย่างนี้. เหมือนอย่างว่าในขณะถือปฏิสนธิฉันใด แม้ในขณะอุบัติขึ้นก็ฉันนั้น. บุรพนิมิต ๓๒ ประการก็ได้ปรากฏขึ้น ก็ในสมัยที่พระโพธิสัตว์ของพวกเราอุบัติแล้วในลุมพินีวัน ในสมัยนั้นนั่นแล พระเทวีผู้เป็นพระราชมารดาของพระราหุล ฉะนั้นอำมาตย์กาฬุทายีอำมาตย์ ราชกุมารอานนท์ พระยาม้ากัณฐกะ มหาโพธิพฤกษ์ ชุมทรัพย์ ๔ ขุมก็เกิดขึ้นพร้อมกัน บรรดาชุมทรัพย์เหล่านั้น ขุมทรัพย์หนึ่งมีประมาณคาวุตหนึ่ง ขุมหนึ่งประมาณกึ่งโยชน์ ขุมหนึ่งมีประมาณ ๓ คาวุต ขุมหนึ่งมีประมาณโยชน์หนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็นสหชาต ๗ อย่างเหล่านี้. พวกชาวเมืองสองนครต่างได้พาพระโพธิสัตว์กลับไปยังนครกบิลพัสดุ์เลยทีเดียว ในวันนั้นนั่นเอง ชุมนุมเทวดาในดาวดึงส์พิภพต่างร่าเริงยินดีว่า พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชอุบัติแล้วในนครกบิลพัสดุ์ พระราชกุมารนี้จักประทับนั่งที่ลานต้นโพธิแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ แล้วพากันโบกสะบัดผ้า [แสดงความยินดี] เล่นสนุกกัน.

ในสมัยนั้นมีดาบสผู้คุ้นเคยกับตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้สำเร็จสมาบัติ ๘ ชื่อกาลเทวละ เขาฉันเสร็จสรรพแล้วจึงเหาะไปยังดาวดึงส์พิภพ เพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน นั่งพักผ่อนกลางวันในที่นั้น เห็นเทวดาเหล่านั้น จึงถามว่า เพราะเหตุไรพวกท่านจึงมีใจยินดีเล่นสนุกกันอย่างนี้ ขอได้โปรดบอกเหตุนั้นแก่อาตมภาพด้วย พวกเทวดาได้บอกเหตุนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะอุบัติขึ้นแล้ว ในกาลนั้น พระองค์จักประทับนั่งที่ลานแห่งต้นโพธิแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมจักร พวกข้าพเจ้าต่างยินดีเพราะเหตุนี้ว่า พวกเราจักได้เห็นพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ และจักได้ฟังพระธรรมของพระองค์ ดาบสนั้นฟังคำของเหล่าเทวดาแล้ว ลงจากเทวโลกทันทีเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปู


ความคิดเห็น 91    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 91

ไว้แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ได้ยินว่าพระราชโอรสของพระองค์อุบัติแล้ว อาตมภาพอยากเห็นพระองค์ พระราชามีรับสั่งให้พาพระราชกุมารผู้ประดับประดาตกแต่งแล้วมา ทรงอุ้มไปเพื่อให้นมัสการดาบส พระบาททั้งสองของพระโพธิสัตว์กลับไปประดิษฐานอยู่บนชฎาของดาบส จริงอยู่บุคคลอื่นที่ชื่อว่าพระมหาสัตว์จะพึงไหว้โดยอัตภาพนั้นไม่มี ถ้าคนผู้ไม่รู้พึงวางศีรษะ ของพระโพธิสัตว์ที่บาทมูลของดาบส ศีรษะของดาบสนั้นพึงแตกออก ๗ เสี่ยง ดาบสคิดว่า การทำตนของเราให้พินาศไม่สมควร จึงลุกจากอาสนะแล้วประคองอัญชลีแก่พระโพธิสัตว์ พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์นั้นจึงทรงไหว้บุตรของตน. ดาบสระลึกได้ชาติ ๘๐ กัป คือ ในอดีต ๔๐ กัป ใน อนาคต ๔๐ กัป เห็นลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์จึงใคร่ครวญดูว่า เธอจักได้ เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ทราบว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยมิต้องสงสัย คิดว่า พระราชบุตรนี้เป็นอัจฉริยบุรุษจึงได้กระทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ ต่อนั้นจึงใคร่ครวญดูว่า เราจักได้ทันเห็นความเป็นพระพุทธเจ้านี้หรือไม่หนอ ก็เห็นว่า เราจักไม่ได้ทันเห็น จักตายเสียก่อนในระหว่างนั้นแหละ แล้วจักไปบังเกิดในอรูปภพที่พระพุทธเจ้าตั้งร้อยพระองค์ก็ดี ตั้งพันพระองค์ก็ดี ไม่สามารถที่จะเสด็จไปเพื่อให้ตรัสรู้ได้ แล้วคิดว่า เราจักไม่เห็นอัจฉริยบุรุษผู้เป็นพระพุทธเจ้าเห็นปานนี้ และเราจักมีความเสื่อมใหญ่ ดังนี้แล้วร้องไห้ลั่นไป. พวกมนุษย์เห็นแล้วจึงเรียนถามว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา เมื่อตะกี้นี้เองหัวเราะแล้วกลับปรากฏร้องไห้อีกเล่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันตรายอะไรจักเกิด แก่พระลูกเจ้าของพวกเราหรือหนอ. ดาบสตอบว่า พระองค์ไม่มีอันตรายจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย.

พวกมนุษย์ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ลั่นไป. ดาบสตอบว่า เราเศร้าโศกถึงตนว่า จักไม่ได้ทันเห็นพระมหาบุรุษผู้เป็นพระพุทธเจ้าเห็นปานนี้ ความเสื่อมใหญ่จักมีแก่เราดังนี้ จึงได้ร้องไห้.


ความคิดเห็น 92    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 92

ต่อจากนั้น ดาบสใคร่ครวญอยู่ว่า ในวงญาติของเรามีใครบ้างจักได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้มองเห็นนาลกทารกผู้เป็นหลาน เขาจึงไปยังเรือนของน้องสาว ถามว่า นาลกะ บุตรของเจ้าอยู่ไหน. ข้าแต่พระคุณเจ้า เขา อยู่ในเรือน น้องสาวตอบ. จงเรียกเขามาที ให้เรียกมาแล้ว. ดาบสพูดกะเขาผู้มายังสำนักของตนว่า นี่แน่ะพ่อ พระราชโอรสอุบัติแล้วในตระกูลของพระเจ้า สุทโธทนมหาราช เป็นหน่อพุทธางกูร พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อล่วงได้ ๓๕ ปี เจ้าจักได้เห็นพระองค์ เจ้าจงบวชในวันนี้ทีเดียว. เด็กเกิดในตระกูลมีทรัพย์ได้ ๘๗ โกฏิ คิดว่า ลุงคงจักไม่ชักชวนเราในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทันใดนั้นนั่นเอง ให้คนซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ให้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ประคองอัญชลีบ่ายหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ ด้วยกล่าวว่า บุคคลผู้สูงสุดในโลกพระองค์ใด ข้าพเจ้าขอบวชอุทิศบุคคลนั้น แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอาบาตรใส่ถุง คล้องที่จะงอยบ่าแล้วไปยังหิมวันตประเทศบำเพ็ญสมณธรรม ท่านเข้าไปเฝ้าพระตถาคตผู้ได้บรรลุพระอภิสัมโพธิครั้งแรก ทูลขอให้พระองค์ทรงแสดงนาลกปฏิปทา แล้วเข้าไปยังป่าหิมพานต์อีก บรรลุพระอรหัตปฏิบัติข้อปฏิปทาอย่างเคร่งครัด รักษาอายุมาได้ตลอด ๗ เดือน ยืนพิงภูเขาทองอยู่นั่นแหละ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ในวันที่ ๕ พระประยูรญาติทั้งหลายคิดว่าในวันที่ ๕ พวกเราจักโสรจสรงเศียรเกล้าพระโพธิสัตว์ แล้วเฉลิมพระนามแด่พระองค์ ดังนี้ แล้วฉาบทาพระราชมณเฑียรด้วยคันธชาติ ๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ให้ หุงข้าวปายาสล้วนๆ แล้วนิมนต์พรหมณ์ผู้เรียนจบไตรเพทจำนวน ๑๐๘ คน ให้นั่งในพระราชมณเฑียร ให้ฉันโภชนะอย่างดี ถวายสักการะมากมายแล้ว ถามว่า อะไรหนอจักมี แล้วให้ตรวจดูพระลักษณะ บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น.


ความคิดเห็น 93    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 93

พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อสุยานะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ในครั้งนั้นพวกเขาได้เป็นพราหมณ์ ๘ คน ผู้เรียนจบเวทางคศาสตร์ ทั้ง ๖ พยากรณ์มนต์แล้ว.

ได้เป็นผู้ตรวจดูพระลักษณะ แม้พระสุบินในวันที่ถือปฏิสนธิ พราหมณ์เหล่านี้แหละก็ได้ตรวจดูแล้ว บรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ นั้น ๗ คนยกสองนิ้ว พยากรณ์เป็นสองทางว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครองเรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ต่างพากันบอกถึงสมบัติอันมีสิริของพระเจ้าจักรพรรดิ. แต่มาณพชื่อโกณฑัญญะโดยโคตร เด็กกว่าพราหมณ์เหล่านั้นทุกคน พิจารณาดูความสมบูรณ์แห่งพระลักษณะของพระโพธิสัตว์ ชูนิ้วมือนิ้วเดียวเท่านั้นแล้วพยากรณ์อย่างเดียวว่า พระโพธิสัตว์นี้ไม่มีเหตุที่จะดำรงอยู่ในท่ามกลางเรือน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงปราศจากกิเลสประดุจหลังคาโดยส่วนเดียวเท่านั้น. จริงอยู่ โกณฑัญญพราหมณ์นี้เป็นผู้สร้างความดียิ่งมาแล้ว เป็นสัตว์ที่จะเกิดเป็นภพสุดท้าย มีปัญญาเหนือกว่าคนทั้ง ๗ ได้เห็นคติเดียวเท่านั้นว่า สำหรับผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะเหล่านั้น ไม่มีฐานะที่จะดำรงอยู่ในท่ามกลางเรือน จักต้องเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น เขาจึงชูนิ้วขึ้นนิ้วเดียว แล้วพยากรณ์อย่างเดียว. ต่อมา พวกพราหมณ์เหล่านั้น กลับไปยังเรือนของตน แล้วต่างพากันเรียกบุตรมาบอกว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกเราแก่แล้วจะทันได้เห็นพระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณหรือไม่ก็ไม่รู้ พวกเจ้าเมื่อพระราชกุมารนี้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พึงบวชในศาสนาของพระองค์เถิด ชนแม้ทั้ง ๗ คนเหล่านั้น ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุขัย ก็ตายไปตามยถากรรม โกณฑัญญมาณพเท่านั้น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ (ยังมี


ความคิดเห็น 94    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 94

ชีวิตอยู่). เมื่อพระมหาสัตว์เติบโตเจริญวัยขึ้นแล้ว เสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์ เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศตามลำดับ ทรงเกิดพระดำริว่า ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ สถานที่นี้เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้มีความต้องการความเพียร ดังนี้แล้วเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ที่นั้น เขาได้ฟังข่าวว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาบุตรของพราหมณ์เหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า ได้ทราบข่าวว่า พระสิทธีตถกุมารทรงผนวชแล้ว พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ พวกเขาพึงออกบวชในวันนี้แน่ หากพวกท่านพึงต้องการเช่นนั้นบ้าง มาซิ เราจักบวชตามพระมหาบุรุษนั้น พวกเขาทุกคนไม่สามารถที่จะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์กันได้. สามคนไม่บวช. สี่คนนอกนี้บวช ตั้งให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า ชนทั้ง ๕ คนเหล่านั้น จึงได้มีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ.

ก็ในกาลนั้น พระราชาตรัสถามว่า บุตรของเราเห็นอะไรจึงจักบวช พวกอำมาตย์กราบทูลว่า บุพนิมิต ๔ (ลางบอกเหตุล่วงหน้า). ตรัสถามว่าอะไรบ้างๆ กราบทูลว่า คนแก่เพราะชรา คนเจ็บป่วย คนตาย บรรพชิต พระราชาตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกท่านอย่าได้ให้นิมิตเห็นปานนี้ เข้าไปสำนักแห่งบุตรของเรา เราไม่ต้องการให้บุตรเราเป็นพระพุทธเจ้า เราต้องการอยากจะเห็นบุตรของเรา ครอบครองราชสมบัติที่เป็นใหญ่และปกครองทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปเล็กสองหมื่นเป็นบริวาร ห้อมล้อมไปด้วยบริษัทมีปริมณฑลได้สามสิบหกโยชน์ ท่องเที่ยวไปในพื้นนภากาศ. ก็แล เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงมีรับสั่งให้วางอารักขาไว้ในที่ทุกๆ คาวุต ในทิศทั้งสี่ เพื่อจะห้ามมิให้บริษัท ๔ ประการเหล่านั้น เข้ามายังคลองจักษุของพระกุมาร ก็ในวันนั้น เมื่อตระกูลพระญาติแปดหมื่นประชุมกันในที่มงคลสถาน พระญาติแต่ละพระองค์ต่างยินยอมยกบุตรให้ แต่ละคนว่า พระราชกุมาร


ความคิดเห็น 95    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 95

สิทธัตถะนี้จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระราชาก็ตาม พวกเราจักให้บุตรคนละคน แม้ถ้าจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็จักมีสมณกษัตริย์ไห้เกียรติและห้อมล้อม แม้ถ้าจักเป็นพระราชา ก็จักมีขัตติยกุมารให้เกียรติและห้อมล้อมเที่ยวไป. ฝ่ายพระราชาก็ทรงตั้งนางนม ล้วนมีรูปทรงชั้นเยี่ยม ปราศจากสรรพโทษทุกประการแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยด้วยบริวารอเนกอนันต์ ด้วยส่วนแห่งความงามอันยิ่งใหญ่.

ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาได้มีพระราชพิธีวัปปมงคล (แรกนาขวัญ) วันนั้นพวกชาวนครต่างประดับประดา พระนครทุกหนทุกแห่งดุจดังเทพวิมาน เหล่าพวกทาสและกรรมกรทั้งหมด ต่างนุ่งห่มผ้าใหม่ ประดับประดาด้วยของหอมและดอกไม้ ประชุมกันในราชตระกูล. ในพระราชพิธีมีการเทียมไถถึงพันคัน ก็ในวันนั้น ไถ ๑๐๘ อันหย่อนหนึ่งคัน (๑๐๗ คัน) หุ้มด้วยเงิน พร้อมด้วยโคผู้ ตะพาย และเชือก. ส่วนที่งอนพระนังคัลของพระราชา หุ้มด้วยทองคำสุกปลั่ง. เขาของโคผู้ ตะพาย เชือก และปฏัก ก็หุ้มด้วย ทองคำทั้งนั้น. ทรงพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เสด็จออกจากพระนครทรงพาพระราชโอรสไปด้วย. ในที่ประกอบพระราชพิธี มีต้นหว้าอยู่ต้นหนึ่ง มีใบหนาแน่น มีเงาทึบ. ภายใต้ต้นหว้านั้นนั่นแหละ พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดพระแท่นบรรทมของพระราชโอรส เบื้องบนให้ผูกเพดานปักด้วยดาวทองคำ ให้แวดวงด้วยปราการพระวิสูตร วางอารักขา ส่วนพระองค์ ก็ทรงประดับประดาด้วยเครื่องสรรพอลงกรณ์ มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม ได้เสด็จไปยังที่จรดพระนังคัล ในที่นั้น พระราชาทรงถือพระนังคัลทองคำ พวกอำมาตย์ถือคันไถเงิน ๑๐๗ คัน พวกชาวนาต่างพากันถือคันไถที่เหลือ. เขาเหล่านั้นต่างถือคันไถ ไถไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. แต่พระราชาทรงไถไปจากด้านในสู่ด้านนอก จากด้านนอกสู่ด้านใน. ในที่นั้นมีมหาสมบัติ. นางนมที่


ความคิดเห็น 96    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 96

นั่งห้อมล้อมพระโพธิสัตว์อยู่ ต่างพากันออกมาข้างนอก จากภายในพระวิสูตรด้วยคิดว่า พวกเราจะดูสมบัติของพระราชา. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรดูข้างโน้นและข้างนี้ ไม่ทรงเห็นใครจึงเสด็จลุกขึ้นโดยเร็ว ทรงนั่งขัดสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออก ทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นแล้ว. พวกนางนมพากันเที่ยวไปในระหว่างเวลากินอาหารชักช้าไปหน่อยหนึ่ง. เงาของต้นไม้ที่เหลือชายไป ส่วนเงาของต้นไม้นั้นตั้งเป็นปริมณฑลตรงอยู่. นางนมคิดได้ว่าพระลูกเจ้าประทับอยู่พระองค์เดียว จึงรีบเปิดพระวิสูตรขึ้น เข้าไปข้างใน เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิบนแท่นบรรทม และปาฏิหาริย์นั้นจึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชกุมารประทับนั่งอย่างนี้ เงาของต้นไม้เหล่าอื่นชายไป ของต้นหว้าตั้งเป็นปริมณฑลตรงอยู่อย่างนี้. พระราชารีบเสด็จมา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์จึงตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ นี้เป็นการไหว้เจ้าครั้งที่สอง แล้วทรงไหว้ลูก.

ต่อมา พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษาโดยลำดับ พระราชาทรงมีรับสั่งให้สร้างปราสาทสามหลังเหมาะสมกับสามฤดู คือ หลังหนึ่งมี ๙ ชั้น หลังหนึ่งมี ๗ ชั้น หลังหนึ่งมี ๕ ชั้น และให้จัดหาหญิงฟ้อนรำไว้สี่หมื่นคน พระโพธิสัตว์มีหญิงฟ้อนรำแต่งตัวสวยห้อมล้อมอยู่ เป็นประหนึ่งเทพเจ้าผู้ห้อมล้อมอยู่ด้วยหมู่นางอัปสร ฉะนั้น ถูกบำเรออยู่ด้วยดนตรี ไม่มีบุรุษเลย ทรงเสวยสมบัติใหญ่ ประทับอยู่ในปราสาทเหล่านั้นตามคราวแห่งฤดู. ส่วนพระราหุลมารดาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์. เมื่อพระองค์ เสวยมหาสมบัติอยู่ วันหนึ่งได้มีพูดกันขึ้นในระหว่างหมู่พระญาติอย่างนี้ว่า พระสิทธัตถะทรงขวนขวายอยู่แต่การเล่นเท่านั้น มิได้ทรงศึกษาศิลปะใดๆ เลย เมื่อเกิดสงความขึ้นจักทำอย่างไรกัน. พระราชาทรงมีรับสั่งให้เรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ พวกญาติๆ ของลูกพูดกันว่า พระ


ความคิดเห็น 97    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

/พรเะสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 97

สิทธัตถะมิได้ศึกษาศิลปะใดๆ เลย เที่ยวขวนขวายแต่การเล่น ดังนี้ ลูกจะเห็นว่าถึงกาลอันควรหรือยัง พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่มีกิจที่จะต้องศึกษาศิลปะ ขอพระองค์ได้โปรดให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร เพื่อให้มาดูการแสดงศิลปะของข้าพระองค์ แต่นี้อีก ๗ วัน ข้าพระองค์ก็จักแสดงศิลปะแก่พระญาติทั้งหลาย. พระราชาได้ทรงกระทำตามเช่นนั้น. พระโพธิสัตว์รับสั่งให้ประชุมเหล่านายขมังธนูที่สามารถยิงได้ดังสายฟ้าแลบ ยิงขนหางสัตว์ได้ ยิงต้านลูกศรได้ ยิงตามเสียงได้ และยิงลูกศรตามลูกศรได้ แล้วได้ทรงแสดงศิลปะ ๑๒ อย่าง ที่พวกนายขมังธนูเหล่าอื่นไม่มีแก่พระญาติทั้งหลาย ในท่ามกลางมหาชน ข้อนั้นพึงทราบตามนัยที่มีมาในสรภังคชาดกนั้นเถิด ในคราวนั้น หมู่พระญาติของพระองค์ได้หมดพระทัยสงสัยแล้ว.

ต่อมาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จยังภูมิภาคในพระอุทยานจึงตรัสเรียกสารถีมาตรัสว่า จงเทียมรถ เขารับพระดำรัสว่าดีแล้ว จึงประดับประดารถชั้นดีที่สุด มีค่ามากด้วยเครื่องอลังการทุกชนิด เทียมม้าสินธพอันเป็นมงคล ซึ่งมีสีดุจกลีบดอกบัวขาว ๔ ตัวเสร็จแล้วไปทูลบอกแด่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันเป็นเช่นกับเทววิมานทรงบ่ายพระพักตร์ สู่พระอุทยาน เทวดาทั้งหลายคิดว่า กาลที่จะตรัสรู้ของพระสิทธัตถราชกุมาร ใกล้เข้ามาแล้ว พวกเราจักแสดงบุพนิมิต แล้วแสดงเทวบุตรคนหนึ่งทำให้ เป็นคนแก่หง่อม มีฟันหัก มีผมหงอก มีหลังโกงดุจกลอนเรือน มีตัวโค้งลง มีมือถือไม้เท้า เดินงกๆ เงินๆ อยู่ พระโพธิสัตว์และสารถีก็ได้ทอดพระเนตรเห็นและแลเห็นภาพนั้น. ทีนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสถามตามนัยที่มีมาในอุปทาน นั่นแหละว่า นี่แน่ะสหายผู้เจริญ ชายคนนี้ชื่ออะไรกันนะ แม้แต่ผมของเขาก็ไม่เหมือนของผู้อื่นดังนี้ ทรงสดับคำของสารถีแล้ว ทรงมีพระทัยสังเวชว่า นี่แน่ะผู้เจริญ น่าติเตียนจริงหนอ ความเกิดนี้ ความแก่จักต้องปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิด


ความคิดเห็น 98    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 98

แล้วอย่างแน่นอน ดังนี้แล้ว เสด็จกลับจากพระอุทยานเสด็จขึ้นสู่ปราสาททีเดียว พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไรบุตรของเราจึงกลับเร็วนัก พวกอำมาตย์ทูลว่า เพราะทอดพระเนตรเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าพูดว่า ลูกของเราเห็นคนแก่แล้วจักบวช เพราะเหตุไร จึงมาทำลายเราเสียเล่า จงรีบจัดหาละครมาแสดงแก่บุตรของเรา เธอเสวยสมบัติอยู่จักไม่ระลึกถึงการบรรพชา แล้วให้เพิ่มอารักขามากขึ้น วางไว้ทุกๆ ครึ่งงโยชน์ในทุกทิศ. ในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปยังพระอุทยานเหมือนเดิม ทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บที่เทวดาเนรมิตขึ้น จึงตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ ทรงมี พระหฤทัยสังเวชแล้วกลับในรูปสู่ปราสาท. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรงจัดแจงตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ทรงวางอารักขาเพิ่มขึ้นอีก ในที่มี ประมาณ ๓ คาพยุตโดยรอบ. ต่อมาอีกวันหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังพระอุทยานเหมือนเดิม ทอดพระเนตรเห็นคนตายที่เทวดาเนรมิตขึ้น ตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ มีพระหฤหัยสังเวชแล้ว เสด็จกลับในรูปสู่ปราสาทอีก. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรงจัดแจงตามนัยทีกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ทรงวางอารักขาเพิ่มขึ้นอีกในที่ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ. ก็ในวันหนึ่งต่อมาอีก พระโพธิสัตว์เสด็จไปสู่พระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตนุ่งห่มเรียบร้อย มีเทวดาเนรมิตขึ้นเช่นเดิมนั่นแหละ จึงตรัสถามสารถีว่า นี่แน่ะเพื่อน คนนั้นเขาเรียกชื่ออะไรนะ สารถีไม่ทราบถึงบรรพชิตหรือคนที่ทำให้เป็นบรรพชิตเลย เพราะไม่มีการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็จริง แต่ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาจึงกราบทูลว่า คนนั้นเขาเรียกชื่อว่าบรรพชิต พระเจ้าข้า แล้ว พรรณนาคุณแห่งการบวช พระโพธิสัตว์ให้รู้สึกเกิดความพอพระทัยในบรรพชิต ได้เสด็จไปยังพระอุทยานในวันนั้น. แต่ท่านผู้กล่าวทีฆนิกายกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นนิมิตทั้ง ๔ ในวันเดียวเท่านั้น พระโพธิ-


ความคิดเห็น 99    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 99

สัตว์เสด็จเทียวเตร่ตลอดวัน ทรงสรงสนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ประทับนั่งบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล มีพระประสงค์จะประดับประดาพระองค์ ทีนั้นพวกบริจาริกาของพระองค์พากันถือผ้ามีสีต่างๆ เครื่องอาภรณ์ต่างชนิดมากมาย และดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ มายืนห้อมล้อมอยู่โดยรอบ ในขณะนั้น อาสนะที่ประทับนั่งของท้าวสักกะได้เกิดร้อนขึ้นแล้ว ท้าวเธอทรงใคร่ครวญดูว่า ใครหนอมีประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่นี้ ทอดพระเนตรเห็นกาลที่จะต้องประดับประดาพระโพธิสัตว์ จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า ดูก่อนวิสสุกรรมผู้สหาย วันนี้ สิทธัตถราชกุมาร จักเสด็จออกมหาภิเนษกรมน์ในเวลาเที่ยงคืน นี้เป็นเครื่องประดับอันสุดท้ายของพระองค์ ท่านจงไปยังพระอุทยานพบพระมหาบุรุษแล้ว จงประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด วิสสุกรรมเทพบุตรทูลรับพระดำรัสว่าดีแล้ว เข้าไปหาในขณะนั้นนั่นเองด้วยเทวานุภาพ แปลงเป็นช่างกัลบกของพระองค์ทีเดียว แล้วรับเอาผ้าโพกจากมือของช่างกัลบก มาพันพระเศียรของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงทราบด้วยสัมผัสแห่งมือเท่านั้นว่า ผู้นี้มิใช่มนุษย์ เขาเป็นเทวบุตร พอพันผ้าโพกเข้า ผ้าพันผืนก็ปลิวสูงขึ้นโดยอาการเหมือนแก้วมณี ที่พระเมาลีบนพระเศียร เมื่อพันอีกก็เป็นผ้าพันผืน เพราะฉะนั้น เมื่อพันสิบครั้ง ผ้าหมื่นผืนก็ปลิวสูงขึ้น. ไม่ควรคิดว่า พระเศียรเล็ก ผ้ามีมาก ปลิวสูงขึ้นได้อย่างไร ก็บรรดาผ้าเหล่านั้น ผืนที่ใหญ่ที่สุด มีประมาณเท่าดอกสามลดา (เถาจิงจ้อ) ที่เหลือนอกนี้มีประมาณเท่าดอกกุตุมพกะ พระเศียรของพระโพธิสัตว์หนาแน่นด้วยศก เป็นเหมือนดอกสารภีที่แน่นทึบด้วยเกสร ต่อมาเมื่อพวกนักดนตรีแสดงปฏิภาณของตนๆ อยู่ เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวยกย่องด้วยคำเป็นต้นว่า ข้าแต่พระจอมนรินทร์ ขอพระองค์จงทรงชำนะเถิด และเมื่อพวกสารถีและมาฆตันธกะเป็นต้น กล่าวยกย่องอยู่ด้วยถ้อยคำอันเป็นมงคล คำชมเชย และ


ความคิดเห็น 100    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 100

คำป่าวประกาศนานัปการแก่พระโพธิสัตว์ผู้ประดับประดาแล้วด้วยเครื่องประดับสารพัด พระองค์ก็เสด็จขึ้นยังพระราชรถอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง.

ในสมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงสดับข่าวว่า พระราชมารดาของพระราหุล ทรงประสูติพระราชโอรสแล้ว จึงทรงส่งข่าวสารไปด้วยตรัสว่า พวกเธอจงบอกความดีใจของเราแก่ลูกด้วย พระโพธิสัตว์ทรงสดับข่าวนั้นแล้วตรัสว่า ราหุลเกิดแล้ว เครื่องจองจำเกิดแล้ว พระราชาตรัสถามว่า ลูกของเราพูดอะไรบ้าง ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า จำเดิมแต่นี้หลานของเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมาร เถิด ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นยังพระราชรถอันประเสริฐ เสด็จเข้าพระนครด้วยพระยศอันยิ่งใหญ่ ด้วยพระสิริโสภาคย์อันน่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก ในสมัยนั้นพระนางกิสาโคตมีขัตติยกัญญา เสด็จอยู่ ณ พื้นปราสาทชั้นบน ทอดพระเนตรเห็นพระรูปสิริของพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงกระทำประทักษิณพระนครอยู่ ทรงเกิดพระปีติและโสมนัส จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

หญิงใดเป็นมารดาของพระกุมารนี้ หญิงนั้นดับทุกข์ได้ ชายใดเป็นบิดาของพระกุมารนี้ ชายนั้นดับทุกข์ได้ พระกุมารนี้เป็นพระสวามีของหญิงใด หญิงนั้นดับทุกข์ได้

พระโพธิสัตว์สดับคำเป็นคาถานั้นแล้ว ทรงดำริว่า พระนางกิสาโคตมีนี้ตรัสอย่างนี้ว่า หทัยของมารดา หทัยของบิดา หทัยของภริยา ผู้เห็นอัตภาพเห็นปานนี้อยู่ ย่อมดับทุกข์ได้ เมื่ออะไรหนอดับ หทัยจึงชื่อว่าดับทุกข์ได้ ทีนั้น พระโพธิสัตว์ผู้มีน้ำพระทัยคลายกำหนัดแล้วในกิเลสทั้งหลาย ได้ทรงมีพระดำริว่า เมื่อไฟคือราคะดับ ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ เมื่อไฟคือโทสะดับ ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ เมื่อไฟคือโมหะดับ ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์


ความคิดเห็น 101    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 101

ก็มีได้ เมื่อความเร่าร้อนทั้งหลายในกิเลสทั้งปวงมีมานะและทิฏฐิเป็นต้นดับแล้ว ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ พระนางให้เราได้ฟังคำที่ดี ความจริงเราก็กำลังเที่ยวแสวงหานิพพานอยู่ เราควรจะทิ้งฆราวาสออกไปบวชและแสวงหานิพพานเสียวันนี้ทีเดียว แล้วทรงปลดสร้อยไข่มุกมีค่าพันหนึ่งจากพระศอก ส่งไปมอบให้แก่พระนางกิสาโคตมี ด้วยทรงดำริว่า นี้จงเป็นอาจริยภาค [ค่าเล่าเรียนของครู] สำหรับพระนางเถิด. พระนางเกิดปีติและโสมนัสว่า สิทธัตถราชกุมารมีจิตรักใคร่ในเรา จึงส่งบรรณาการมาให้.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของพระองค์ ด้วยพระสิริโสภาคย์อันใหญ่หลวง เสด็จบรรทมบนพระสิริไสยาสน์ ในทันใดนั้นเอง เหล่าสตรีผู้ประดับประดาด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ได้ศึกษามาดีแล้วในเรื่องการฟ้อนและการขับเป็นต้น ทั้งมีรูปโฉมเลอเลิศ ประดุจดังนางเทพกัญญา ถือเอาดนตรีนานาชนิดมาล้อมวงเข้าแล้วบำเรอพระโพธิสัตว์ให้รื่นรมย์ ต่างพากันแสดงการ ฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง พระโพธิสัตว์ เพราะเหตุที่พระองค์ทรงมีพระทัยคลายกำหนัดแล้วในกิเลสทั้งหลาย จึงมิทรงอภิรมย์ในการฟ้อนรำเป็นต้น ครู่เดียวก็ทรงเข้าสู่นิทรา พวกสตรีเหล่านั้นคิดว่า พวกเราแสดงการฟ้อนรำเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชกุมารใด พระราชกุมารนั้นทรงเข้าสู่นิทราแล้ว บัดนี้ จะลำบากไปเพื่ออะไร ต่างพากันวางเครื่องดนตรีที่ถือไว้ๆ ลง แล้วก็นอนหลับไป ควงประทีปน้ำมันหอมยังคงลุกไหม้อยู่ พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทม ประทับนั่งขัดสมาธิบนพระแท่นบรรทม ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรีเหล่านั้นนอนหลับทับเครื่องดนตรีอยู่ บางพวกมีน้ำลายไหล มีตัวเปรอะเปื้อนด้วยน้ำลาย บางพวกกัดฟัน บางพวกกรน บางพวกละเมื่อ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้านุ่งหลุดลุ่ย ปรากฏให้เห็นอวัยวะสตรีเพศที่น่าเกลียด พระโพธิสัตว์ทอด


ความคิดเห็น 102    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 102

พระเนตรเห็นอาการผิดปรกติของสตรีเหล่านั้น ได้ทรงมีพระทัยคลายกำหนัด ในกามทั้งหลายเป็นอย่างมาก พื้น [ปราสาท] ใหญ่นั้นประดับประดาตกแต่งแล้ว แม้จะเป็นเช่นกับพิภพของท้าวสักกะ ได้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์นั้น ประหนึ่งว่าป่าช้าผีดิบ ที่กองเต็มไปด้วยซากศพต่างๆ ที่เขาทิ้งไว้ ภพสามปรากฏประหนึ่งว่าเรือนที่ไฟลุกไหม้ พระอุทานจึงมีขึ้นว่า วุ่นวายจริงหนอ ขัดข้อง จริงหนอ พระทัยทรงน้อมไปในการบรรพชาเหลือเกิน.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ควรเราจะออกมหาภิเนษกรมน์เสียวันนี้ทีเดียว จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทม ไปยังที่ใกล้ประตูตรัสว่า ใครอยู่ในที่นี้ นายฉันนะนอนเอาศีรษะหนุนธรณีประตูอยู่ทูลตอบว่า ข้าแต่พระลุกเจ้า ข้าพระองค์ฉันนะ. นี่แน่ะฉันนะ วันนี้เรามีประสงค์จะออกมหาภิเนษกรมน์ จงจัดหาม้าให้เราตัวหนึ่ง เขาทูลรับว่าได้พระเจ้าข้า แล้วเอาเครื่องแต่งม้าไปยังโรงพักม้า เมื่อดวงประทีปน้ำมันหอมลุกโพลงอยู่ เห็นพระยาม้ากัณฐกะยืนอยู่บนภูมิภาคน่ารื่นรมย์ ภายใต้เพดานที่ขึงไว้โดยรอบ คิดว่า วันนี้เราควรจัดม้ากัณฐกะตัวนี้แหละถวาย จึงจัดม้ากัณฐกะถวาย ม้ากัณฐกะนั้นเมื่อเขาจัดเตรียมอยู่ได้รู้ว่า การจัดเตรียม เราคราวนี้กระชับแน่นจริง ไม่เหมือนกับการจัดเตรียมในเวลาเสด็จไปทรงเล่นในพระราชอุทยานในวันอื่นเป็นต้น วันนี้ พระลูกเจ้าของเราคงจักทรงมีพระประสงค์ จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมน์ ทีนั้น มีใจยินดีจึงร้องเสียงดังลั่นไปหมด เสียงนั้นพึงดังลั่นกลบทั่วพระนครทั้งสิ้น แต่เทวดาคอยปิดกั้นไว้มิให้ใครๆ ได้ยิน ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงใช้นายฉันนะไปแล้วทรงดำริว่า เราจักดูลูกเสียก่อน จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับนั่งขัดสมาธิ ไปยังที่บรรทมของพระมารดาของพระราหุล เปิดพระทวารห้องแล้ว ในขณะนั้น ประทีปที่เต็มด้วยน้ำมันหอมยังคงลุกไหม้อยู่ แม้พระราหุลมารดาก็บรรทมวาง


ความคิดเห็น 103    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 103

พระหัตถ์บนพระเศียรของพระโอรสบนที่บรรทมอันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกมะลิซ้อนและดอกมะลิลาเป็นต้น ประมาณ ๑ อัมมณะ [มาตราตวงข้าวสารมีน้าหนัก ๑๑ โทณะ (ทะนาน)] พระโพธิสัตว์ประทับยืนวางพระบาทบนธรณี ประตูนั่นแหละ ทอดพระเนตรดูแล้วทรงดำริว่า ถ้าเราจักจับมือพระเทวีออก แล้วจับลูกของเรา พระเทวีจักตื่น เมื่อเป็นเช่นนี้อันตรายแห่งการไปจักมีแก่เรา แม้เราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จักมาเยี่ยมลูกได้ ดังนี้จึงเสด็จลงจากพื้นปราสาทไป ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรกถาชาดกว่า ตอนนั้นพระราหุลกุมาร ประสูติได้ ๗ วัน ไม่มีในอรรกถาที่เหลือ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาคำนี้นี่แหละ.

พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากพื้นปราสาทโดยประการนี้แล้ว ไปใกล้ม้าแล้ว ตรัสว่า นี่แน่ะพ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าจงให้เราข้ามฝั่งสักคืนหนึ่งเถิด เราอาศัยเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จักให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกข้ามฝั่งด้วย. ทีนั้น พระโพธิสัตว์ก็ทรงกระโดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ. ม้ากัณฐกะโดยยาววัดได้ ๑๘ ศอก เริ่มแต่คอประกอบด้วยส่วนสูงก็เท่ากัน สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเร็ว ขาวล้วน ประดุจสังข์ที่ขัดสะอาดแล้ว. ถ้าม้ากัณฐกะนั้นพึงร้องหรือย่ำเท้า เสียงก็จะดังกลบทั่วพระนครหมด เพราะเหตุนั้นเทวดาจึงกั้นเสียงร้องของม้านั้น โดยอาการที่ ใครๆ จะไม่ได้ยิน ด้วยอานุภาพของตน. พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นสู่หลังม้าตัวประเสริฐ ทรงให้นายฉันนะจับทางของม้าไว้ เสด็จถึงที่ใกล้ประตูใหญ่ตอนเที่ยงคืน ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงดำริว่า พระโพธิสัตว์จักไม่สามารถเปิดประตูพระนครออกไปได้ ไม่ว่าในเวลาใดๆ จึงรับสั่งให้กระทำบานประตูสองบาน แต่ละบาน บุรุษพันคนจึงจะเปิดได้ ด้วยประการฉะนี้. พระโพธิสัตว์ทรงสมบูรณ์พระกำลังยิ่ง ทรงมีพระกำลัง เมื่อเทียบกับช้างก็นับได้พันโกฏิ เมื่อเทียบกับบุรุษ ก็ทรงมีพระกำลังนับได้สิบแสนโกฏิ. พระองค์จึง


ความคิดเห็น 104    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 104

ทรงดำริว่า ถ้าประตูไม่เปิด วันนี้ เรานั่งอยู่บนหลังม้ากัณฐกะนี่แหละ จักเอาขาอ่อนหนีบม้ากัณฐกะแล้ว กระโดดข้ามกำแพงซึ่งสูงได้ ๑๘ ศอกไป. นายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราจักให้พระลูกเจ้าประทับนั่งที่คอของเรา แล้วเอาแขนขวาโอบรอบม้ากัณฐกะที่ท้อง กระทำให้อยู่ในระหว่างรักแร้ จักกระโดดข้ามกำแพงไป แม้ม้ากัณฐกะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราจักยกนายของเราทั้งๆ ที่นั่งอยู่บนหลังนี่แหละ พร้อมกันทีเดียวกับนายฉันนะผู้จับหางยืนอยู่ กระโดดข้ามกำแพงไป ถ้าประตูจะไม่มีใครเปิดให้ บรรดาคนทั้งสามคนใดคนหนึ่งคงจะทำสมกับที่คิดไว้แน่ แต่เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูเปิดประตูให้.

ในขณะนั้นนั่นเอง มารผู้มีบาปมาด้วยคิดว่า เราจักให้พระโพธิสัตว์กลับ แล้วยืนอยู่ในอากาศทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ผู้เจริญ ท่านอย่าออกไป ในวันที่ ๗ นับแต่วันนี้ไป จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน ท่านจักครอบครองราชสมบัติแห่งทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงกลับเสียเถิด. จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร. มารตอบว่า เราเป็น วสวัตดีมาร. ตรัสว่า ดูก่อนมาร เราทราบว่าจักรรัตนะจะปรากฏแก่เรา เราไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัตินั้น เราจักให้หมื่นโลกธาตุบรรลือลั่นแล้วเป็นพระพุทธเจ้า. มารกล่าวว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในเวลาที่ท่านทรงดำริถึงกามวิตกก็ดี พยาบาทวิตกก็ดี วิหิงสาวิตกก็ดี เราจักรู้ดังนี้ คอยแสวงหาช่องอยู่ ติดตามพระองค์ไปประดุจเงา.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์มิได้มีความอาลัยละทิ้งจักรพรรดิราชสมบัติอันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ ประหนึ่งทิ้งก้อนเขฬะ เสด็จออกจากพระนครด้วยสักการะอันใหญ่. ก็แหละในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ เดือน ๘ เมื่อนักขัตฤกษ์ในเดือนอุตตราสาฬหะ เดือน ๘ หลัง กำลังดำเนินไปอยู่ ครั้นเสด็จออกจากพระนครแล้ว มีพระประสงค์จะแลดูพระนคร. ก็แหละเมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมีความคิดพอเกิด


ความคิดเห็น 105    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 105

ขึ้นเท่านั้น ปฐพีประหนึ่งจะทูลว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ พระองค์ไม่ต้องหันกลับมากระทำการทอดพระเนตรดอก จึงแยกหมุนกลับ ประดุจจักรของนายช่างหม้อ. พระโพธิสัตว์ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทางพระนคร ทอดพระเนตรดูพระนครแล้วทรงแสดงเจดีย์สถานเป็นที่กลับของม้ากัณฐกะ ณ ที่นั้น ทรงกระทำม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าต่อหนทางที่จะเสด็จ ได้เสด็จไปแล้วด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่ด้วยความงามสง่าอันโอฬาร. ได้ยินว่า ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายชูคบเพลิง ๖๐,๐๐๐ อันข้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น ข้างหลัง ๖๐,๐๐๐ อัน ข้างขวา ๖๐,๐๐๐ อัน ข้างซ้าย ๖๐,๐๐๐ อัน. เทวดาอีกพวกหนึ่ง ชูคบเพลิงหาประมาณมิได้ ณ ที่ขอบปากจักรวาล. เทวดากับนาคและครุฑเป็นต้นอีกพวกหนึ่ง เดินบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ จุรณและธูปอันเป็นทิพย์. พื้นท้องฟ้านภาดลได้ต่อเนื่องกันไปไม่ว่างเว้นด้วยดอกปาริชาตและดอกมณฑารพ เหมือนเวลามีเมฆฝนอันหนาทึบ ทิพยสังคีตทั้งหลายได้เป็นไปแล้ว. ดนตรีหกหมื่นแปดพันชนิดบรรเลงขึ้นแล้วโดยทั่วๆ ไป. กาลย่อมเป็นไป เหมือนเวลาที่เมฆคำรามในท้องมหาสมุทร และเหมือนเวลาที่สาครมีเสียงกึกก้องในต้องภูเขายุคนธร.

พระโพธิสัตว์ เมื่อเสด็จไปอยู่ด้วยสิริโสภาคย์นี้ ล่วงเลยราชอาณาจักรทั้ง ๓ โดยราตรีเดียวเท่านั้น เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ในที่สุดหนทาง ๓๐ โยชน์. ถามว่า ก็ม้าสามารถจะไปให้ยิ่งกว่านั้นได้หรือไม่? ตอบว่า สามารถไปได้ เพราะม้านั้นสามารถเที่ยวไปตลอดห้วงจักวาลโดยไม่มีขอบเขตอย่างนี้ เหมือนเหยียบวงแห่งกงล้อที่สอดอยู่ในดุมแล้ว กลับมาก่อนอาหารเช้า บริโภค อาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน. ก็ในกาลนั้น ม้าดึงร่างอันทับถมด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ซึ่งเทวดา นาค และครุฑเป็นต้น ยืนอยู่ในอากาศแล้วโปรยลงมาท่วมจนกระทั่งอุรุประเทศขาอ่อนแล้ว ตลุยชัฏแห่งของหอมและดอกไม้ไป จึง


ความคิดเห็น 106    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 106

ได้มีความล่าช้ามาก เพราะฉะนั้น ม้าจึงได้ไปเพียง ๓๐ โยชน์เท่านั้น พระโพธิสัตว์ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้วตรัสถามนายฉันนะว่า แม่น้ำนี้ชื่ออะไร? นายฉันนะกราบทูลว่า ชื่ออโนมานทีพะยะค่ะ. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า บรรพชาแม้ของเราก็จักไม่ทราม จึงเอาส้นพระบาทกระตุ้นให้สัญญาณม้า. ม้าได้โดดข้ามแม่น้ำอันกว้างประมาณ ๘ อุสภะไปยืนที่ฝั่งโน้น พระโพธิสัตว์เสด็จลง จากหลังม้าประทับยืนที่เนินทรายอันเหมือนแผ่นเงิน ตรัสเรียกนายฉันนะมาว่า ฉันนะผู้สหาย เธอจงพาเอาอาภรณ์และม้าของเราไป เราจักบวช ณ ที่นี้ แหละ. นายฉันนะกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักบวชกับพระองค์ พระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้งว่า เธอยังบวชไม่ ได้ เธอจะต้องไป แล้วทรงมอบเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะให้นายฉันทะรับไปแล้ว ทรงดำริว่า ผมทั้งหลายของเรานี้ ไม่สมควรแก่สมณะ ทรงดำริต่อไปว่า ผู้อื่นที่สมควรจะตัดผมของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น เราจักตัดด้วยพระขรรค์นั้นด้วยตนเอง จึงเอาพระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์ เอาพระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา (จุก) พร้อมกับพระโมลี (มวยผม) แล้วจึงตัดออก. เส้นพระเกศาเหลือประมาณ ๒ องคุลีเวียนขวาแนมติดพระเศียร. พระเกศาได้มีประมาณเท่านั้น จนตลอดพระขนมชีพ. และพระมัสสุ (หนวด) ก็ได้มีพอเหมาะพอควรกับพระเกศานั้น ชื่อว่ากิจด้วยการปลงผมและหนวดมิได้มีอีกต่อไป. พระโพธิสัตว์จับพระจุฬาพร้อมด้วยพระโมลีทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าไซร้ พระโมลีจงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าจักไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าจงตกลงบนภาคพื้น แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ ม้วนพระจุฬามณีนั้นไปถึงที่ประมาณโยชน์หนึ่งแล้วได้คงอยู่ในอากาศ. ท้าวสักกเทวราชตรวจดูด้วยทิพยจักษุ จึงเอาผอบแก้วประมาณโยชน์หนึ่งรับไว้ นำไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ ชื่อว่าจุฬามณีในภพชั้นดาวดึงส์. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า


ความคิดเห็น 107    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุ 4ตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 107

อัครบุคคลผู้เลิศได้ตัดพระโมลีอันอบด้วยกลิ่นหอมอันประเสริฐแล้ว โยนขึ้นไปยังเวหา ท้าววาสวะผู้มีพระเนตรตั้งพันเอาผอบทองอันประเสริฐทูนพระเศียรรับไว้แล้ว.

พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอีกว่า ผ้ากาสิกพัสตร์เหล่านั้นไม่สมควรแก่สมณะสำหรับเรา. ลำดับนั้น ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นสหายเก่าในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า มีความเป็นมิตรยังไม่ถึงพุทธันดรคิดว่า วันนี้สหายของเราออกมหาภิเนษกรมณ์ เราจักถือเอาสมณบริขารของสหายเรานั้นไป จึงได้นำเอาบริขาร ๘ เหล่านั้นคือ

บริขารเหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคด เป็น ๘ กับผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุ ประกอบความเพียร.

ไปให้ พระโพธิสัตว์ทรงนุ่งห่มธงชัยแห่งพระอรหัตแล้ว ถือเพศบรรพชาอันสูงสุด จึงทรงส่งนายฉันนะไปด้วยพระดำรัสว่า ฉันนะ เธอจงทูลถึง ความไม่มีโรคป่วยไข้แก่พระชนกและชนนี ตามคำของเราด้วยเถิด. นายฉันนะ ถวายบังคมพระโพธิสัตว์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนม้ากัณฐกะยืนฟัง คำของพระโพธิสัตว์ซึ่งตรัสกับนายฉันนะ คิดว่า บัดนี้ เราจะไม่มีการได้เห็นนายอีกต่อไป เมื่อละคลองจักษุไป ไม่อาจอดกลั้นความโศกไว้ได้ เมื่อหทัยแตกตายไปบังเกิดเป็นกัณฐกเทวบุตรในภพดาวดึงส์. ครั้งแรก นายฉันนะได้มีความโศกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อม้ากัณฐกะตายไป นายฉันนะถูกความโศกครั้งที่สองบีบคั้น ได้ร้องไห้คร่ำครวญเดินไป.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นบรรพชาแล้ว ได้ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดจากการบรรพชาตลอดสัปดาห์ ในอนุปิยอัมพวันซึ่งมีอยู่ในประเทศนั้นนั่น


ความคิดเห็น 108    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 108

แล แล้วเสด็จดำเนินด้วยพระบาทสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ โดยวันเดียวเท่านั้น แล้วเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ก็แหละครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว เสด็จเที่ยวบิณฑบาตรไปตามลำดับตรอก. พระนครทั้งสิ้นได้ถึงความตื่นเต้น เพราะได้เห็นพระรูปโฉมของพระโพธิสัตว์ เหมือนตอนช้างธนบาลเข้าไปกรุงราชคฤห์ และเหมือนเทพนครตอนจอมอสูรเข้าไปฉะนั้น. ลำดับนั้น ราชบุตรทั้งหลายมากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลชื่อเห็นปานนี้เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระนคร ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทราบเกล้าว่า ผู้นี้ชื่อไร จะเป็นเทพ มนุษย์ นาค หรือครุฑ พระราชาประทับยืนที่พื้นปราสาททอดพระเนตรเห็นพระมหาบุรุษ เกิดอัศจรรย์ไม่เคยเป็น ทรงสั่งพวกราชบุรุษว่า แน่ะพนาย ท่านทั้งหลายจงไปพิจารณาดู ถ้าจักเป็นอมนุษย์ เขาออกจากพระนครแล้วจักหายไป ถ้าเป็นเทวดาจักเหาะไป ก็ถ้าเป็นนาคจักดำดินไป ถ้าเป็นมนุษย์จักบริโภคภิกษาหารตามที่ได้. ฝ่ายพระมหาบุรุษแล รวบรวมภัตอันสำรวมกันแล้ว รู้ว่าภัตมีประมาณเท่านี้พอสำหรับเรา เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เสด็จออกจากพระนครทางประตูที่เสด็จเข้ามานั่นแล บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ประทับนั่งที่ร่มเงาของปัณฑวบรรพต เริ่มเพื่อเสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น พระอันตะไส้ใหญ่ของพระมหาบุรุษได้ถึงอาการจะออกมาทางพระโอษฐ์. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงอึดอัดกังวลพระทัยด้วยอาหารอันปฏิกูล เพราะด้วยทั้งอัตภาพนั้น พระองค์ไม่เคยเห็นอาหารเห็นปานนั้นแม้ด้วยพระเนตร จึงทรงโอวาทตนด้วยพระองค์เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสิทธัตถะ เธอเกิดในสถานที่มีโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ด้วยโภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอม ซึ่งเก็บไว้ ๓ ปี ในตระกูลอันมีข้าวและน้ำหาได้ง่ายมาก ได้เห็นบรรพชิตผู้ทรงผ้าบังสุกุลรูปหนึ่งแล้วคิดว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็จักเป็นผู้เห็นปานนั้นเที่ยวบิณฑบาตบริโภค กาลนั้นจักมีไหมหนอสำหรับเรา จึงออกบวช บัดนี้ เธอจะทำข้อ


ความคิดเห็น 109    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 109

นั้นอย่างไร ครั้นทรงโอวาทพระองค์อย่างนี้แล้ว ไม่ทรงมีอาการอันผิดแผก ทรงเสวยพระกระยาหาร ราชบุรุษทั้งหลายเห็นความเป็นไปนั้นแล้ว จึงไป กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาได้สดับคำของทูตเท่านั้น รีบเสด็จออกจากพระนคร เสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใสเฉพาะในพระอิริยาบถเท่านั้น จึงทรงมอบความเป็นใหญ่ให้แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพไม่มีความต้องการวัตถุกามหรือกิเลสกามทั้งหลาย อาตมภาพปรารถนาปรมาภิสัมโพธิญาณ จึงออกบวช. พระราชาแม้จะทรงอ้อนวอนเป็นอเนกประการ ก็ไม่ได้น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์นั้น จึงตรัสว่า พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็พระองค์ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พึงเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อน นี้เป็นความย่อในที่นี้ ส่วนความพิศดาร พึงตรวจดูศัพท์ในบรรพชาสูตรนี้ว่า เราจักสรรเสริญการบวชเหมือนผู้มีจักษุบวชแล้ว ดังนี้ ในอรรถกถา แล้วพึงทราบเถิด.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงให้ปฏิญญาแก่พระราชาแล้ว เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ทำสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ทรงดำริว่า นี้มิใช่ทางเพื่อจะตรัสรู้ จึงยังไม่ทรงพอพระทัยสมาบัติภาวนาแม้นั้น มีพระประสงค์จะเริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ เพื่อจะทรงแสดงเรี่ยวแรงและความเพียรของพระองค์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ทรงพระดำรัสว่า ภูมิภาคนิน่ารื่นรมย์หนอ จึงเสด็จเข้าอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลานั้น ทรงเริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่. บรรพชิต ๕ รูป มีโกณฑัญญะเป็นประธานแม้เหล่านั้นแล พากันเที่ยวภิกขาจารไปในคาน นิคม และราชธานีได้ถึงทันพระโพธิสัตว์ ณ ตำบลอุรุเวลานั้น. ลำดับนั้น บรรพชิตทั้ง ๕ รูปนั้น อุปัฏฐากพระโพธิสัตว์นั้นผู้เริ่มตั้งมหาปธานความ เพียรตลอด ๖ พรรษา ด้วยวัตรปฏิบัติมีการกวาดบริเวณเป็นต้น ด้วยหวังใจ


ความคิดเห็น 110    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 110

ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในบัดนี้ และได้เป็นผู้อยู่ในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า จักกระทำทุกรกิริยาให้ถึงที่สุด จึงทรงยับยั้งอยู่ด้วยข้าวสารเพียงเมล็ดงาหนึ่งเป็นต้น ได้ทรงกระทำการตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง. ฝ่ายเทวดาก็นำเอาโอชะใส่เข้าไปทางขุมพระโลมาทั้งหลาย ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์นั้น มีพระวรกายอันถึงความอ่อนเปลี้ยอย่างยิ่ง เพราะความเป็นผู้ที่ไม่มีพระกระยาหารนั้น พระวรกายอันมีฉวีวรรณดุจทอง ได้มีพระฉวีวรรณคำไป พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ก็ได้ถูกปกปิดไม่ปรากฏ. ในกาลบางคราว เมื่อทรงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณ ถูกเวทนาใหญ่หลวงครอบงำ ทรงวิสัญญีสลบล้มลงในที่สุดที่จงกรม. ลำดับนั้น เทวดา บางพวกกล่าวถึงพระโพธิสัตว์นั้นว่า พระสมณโคดมกระทำกาลกิริยาแล้ว เทวดาบางพวกกล่าวว่า นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอรหันต์ทีเดียว. บรรดาเทวดา เหล่านั้น เหล่าเทวดาผู้พูดว่า พระสมณโคดมได้กระทำกาลกิริยาแล้วนั้น พากันไปกราบทูลแก่พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชว่า พระราชโอรสของพระองค์สวรรคตแล้ว. พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชตรัสว่า บุตรของเรายังไม่เป็นพระพุทธเจ้าจะ ยังไม่ตาย. เทวดาเหล่านั้นกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์ไม่อาจเป็นพระพุทธเจ้า ทรงล้มลงที่พื้นสำหรับบำเพ็ญเพียรสวรรคตแล้ว. พระราชาทรงสดับคำนี้จึงตรัสห้ามว่า เราไม่เชื่อ ชื่อว่าบุตรของเรายังไม่บรรลุโพธิญาณแล้ว กระทำกาลกิริยา ย่อมไม่มี. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระราชาจึงไม่ทรงเชื่อ? ตอบว่า เพราะพระองค์ได้ทรงเห็นปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ในวันที่ให้ไหว้พระกาลเทวลดาบส และที่ควงไม้หว้า. พระโพธิสัตว์ทรงกลับได้สัญญาลุกขึ้นได้อีก. เมื่อพระมหาสัตว์ลุกขึ้นแล้ว เทวดาเหล่านั้นมากราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่


ความคิดเห็น 111    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 111

มหาราช พระราชโอรสของพระองค์ไม่มีพระโรคแล้ว. พระราชาตรัสว่า เราย่อมรู้ว่าบุตรของเราไม่ตาย.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา กาลเวลา ได้เป็นเหมือนขอดปมในอากาศ. พระมหาสัตว์นั้นทรงพระดำริว่า ชื่อว่าการทำทุกรกิริยานี้ ไม่ใช่ทาง (บรรลุ) จึงเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในคามและนิคมทั้งหลาย เพื่อต้องการอาหารหยาบ แล้วนำอาหารมา ครั้งนั้นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของพระโพธิสัตว์นั้นได้กลับเป็นปกติ พระกายได้มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ พระภิกษุปัญจวัคคีย์พากันคิดว่า พระมหาบุรุษนี้แม้กระทำทุกรกิริยาถึง ๖ ปี ก็ไม่สามารถแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณได้ บัดนี้ เที่ยวบิณฑบาตไปในบ้านเป็นต้น นำอาหารหยาบมา จักสามารถได้อย่างไร พระมหาบุรุษนี้กลายเป็นผู้มักมากคลายความเพียร ชื่อการคาดคะเนถึงคุณวิเศษจากสำนักของพระมหาบุรุษนี้แห่งพวกเรา ก็เหมือนคนผู้จะสรงสนานศีรษะคิดคาดคะเนเอาหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะประโยชน์อะไรด้วยพระมหาบุรุษนี้ จึงพากันละพระมหาบุรุษ ถือเอาบาตรและจีวรของตนๆ เดินทางไปประมาณ ๑๘ โยชน์ เข้าไปยังป่าอิสิปตนะ.

ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา บังเกิดในเรือนของเสนากุฎุมพี ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พอเจริญแล้ว ได้กระทำความปรารถนาที่ต้นไทรแห่งหนึ่งว่า ถ้าเราไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน จักได้บุตรชายในครรภ์แรก เราจักทำพลีกรรม โดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปีๆ ความปรารถนาอันนั้นของนางก็สำเร็จแล้ว.เมื่อพระมหาสัตว์นั้นกระทำทุกรกิริยา. เมื่อครบ ปีที่ ๖ บริบูรณ์ นางสุชาดานั้นประสงค์จะพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖. และก่อนหน้านั้นแหละ ได้ปล่อยโคนม ๑,๐๐๐ ตัว ให้ท่องเที่ยวอยู่ในป่าชะเอม ให้โคนม ๕๐๐ ตัว ดื่มน้ำนมองโคนม ๑,๐๐๐ ตัวนั้น แล้วให้โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มน้ำ


ความคิดเห็น 112    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 112

นมของโคนม ๕๐๐ ตัวนั้น นางปรารถนาน้ำนมข้นและมีโอชะ จึงได้กระทำการหมุนเวียนให้โคดื่มน้ำนมตราบเท่า ๘ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑๖ ตัวนั้น อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. เช้าตรู่วันวิสาขบูรณมี นางสุชาดานั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ให้รีดนมโคนม ๘ ตัวนั้น. ลูกโคทั้งหลายยังไม่ได้ไปถึงเต้านมเหล่านั้น แต่พอนำภาชนะใหม่เข้าไปใกล้เต้านมเท่านั้น ธารน้ำนมก็ ไหลออกตามธรรมดาของตน นางสุชาดาได้เห็นความอัศจรรย์นั้น จึงตักน้ำนมด้วยมือของตนเองใส่ลงในภาชนะใหม่แล้วก่อไฟด้วยมือของตนเอง เริ่มจะหุง เมื่อกำลังหุงข้าวปายาสนั้นนั่นแหละ ฟองใหญ่ๆ ตั้งขึ้นไหลวนเป็นทักษิณาวัฏ. แม้หยาดสักหยดหนึ่งก็ไม่หกออกภายนอก ควันไฟแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ตั้งขึ้นจากเตา สมัยนั้น ท้าวจตุโลกบาลมาถือการอารักขาที่เตา. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกะนำดุ้นฟืนมาใส่ไฟให้ลุกโพลงอยู่. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายรวบรวมโอชะอันเข้าไปสำเร็จแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายใน ทวีปทั้ง ๔ อันมีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ใส่เข้าไปในข้าวปายาสนั้นด้วยเทวานุภาพของตนๆ เหมือนบุคคลคั้นรวงผึ้งอันติดอยู่ที่ท่อนไม้ แล้วถือเอาแต่น้ำหวานฉะนั้น.

จริงอยู่ในเวลาอื่นๆ เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในคำข้าว ก็แต่ว่าในวันตรัสรู้และวันปรินิพพาน ใส่โอชะในหม้อเลยทีเดียว.

นางสุชาดาได้เห็นความอัศจรรย์มิใช่น้อย ซึ่งปรากฏแก่ตนในที่นั้นโดยวันเดียวเท่านั้น จึงเรียกนางปุณณาทาสีมาพูดว่า แน่ะแม่ปุณณา วันนี้เทวดาของเราทั้งหลายน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ในกาลมีประมาณเท่านี้ เราไม่เคยเห็นความอัศจรรย์เห็นปานนี้ เธอจงรีบไปดูแลเทวสถานโดยเร็ว. นางปุณณาทาสีนั้นรับคำของนางสุชาดานั้นแล้ว ได้รีบด่วนไปยังโคนต้นไม้. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้


ความคิดเห็น 113    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 113

ทรงเห็นมหาสุบิน ๕ ประการ ในตอนกลางคืนนั้น ทรงใคร่ครวญอยู่ จึงทร งกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พอราตรีนั้นล่วงไป ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ คอยเวลาภิกขาจารอยู่ พอเช้าตรู่ จึงเสด็จมาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ทรงกระทำโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสว ด้วยรัศมีของพระองค์.

ลำดับนั้น นางปุณณาทาสีนั้นมา ได้เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่ง ที่โคนไม้ทอดพระเนตรดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก. และเพราะได้เห็นต้นไม้ทั้งสิ้นมีสีดังสีทอง ด้วยพระรัศมีอันซ่านออกจากพระสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น นางจึงได้คิดดังนี้ว่า วันนี้ เทวดาของเราทั้งหลาย เห็นจะลงจากต้นไม้มานั่งเพื่อจะรับพลีกรรมด้วยมือของตนเองทีเดียว จึงเป็นผู้ถึงความสลดใจ รีบไปบอกเนื้อความนั้น แก่นางสุชาดา. นางสุชาดาได้ฟังคำของนางปุณณาทาสีนั้น แล้วก็ดีใจจึงกล่าวว่า วันนี้ ตั้งแต่บัดนี้ไปเจ้าจงดำรงอยู่ในฐานะธิดาคนใหญ่ของเรา แล้วได้ให้เครื่องประดับทั้งปวงอันสมควรแก่ธิดา. ก็เพราะเหตุที่ในวันจะบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า การได้ถาดทองมีค่าแสนหนึ่งจึงจะควร เพราะฉะนั้น นางสุชาดานั้นจึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า จักใส่ข้าวปายาส ในถาดทอง จึงให้คนใช้นำถาดทองมีค่าแสนหนึ่งออกมา ประสงค์จะใส่ข้าวปายาสในถาดทองนั้น จึงรำพึงถึงโภชนะที่สุกแล้ว. ข้าวปายาสทั้งหมดก็กลิ้งไปประดิษฐานอยู่ในถาด เหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัวฉะนั้น ข้าวปายาสนั้นได้มีปริมาณเต็มถาดหนึ่งพอดี. นางจึงเอาถาดทองใบอื่นครอบถาดใบนั้น แล้วเอาผ้าขาวห่อ ประดับร่างกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เอาถาดนั้นทูนบนศีรษะของตน เดินไปยังโคนต้นไทรนั้นด้วยอานุภาพใหญ่ แลดูพระโพธิสัตว์ เกิดความโสมนัสเป็นกำลัง สำคัญว่าเป็นเทวดา จึงค้อมกายลงเดินไปจำเดิมแต่ที่ได้เห็น ปลงถาดลงจากศีรษะแล้ว เปิดฝาเอาสุวรรณภิงคารใส่น้ำอันอบ


ความคิดเห็น 114    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 114

ด้วยดอกไม้หอมแล้วได้เข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ พระโพธิสัตว์. บาตรดินที่ท้าวฆฏิการมหาพรหมถวาย ไม่ห่างพระโพธิสัตว์มาตลอดกาลนานมีประมาณเท่านี้ ได้หายไปในขณะนั้น. พระโพธิสัตว์เมื่อแลไม่เห็นบาตร จึงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกรับ. นางสุชาดาจึงวางถาดทองข้าวปายาสในพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ. พระมหาบุรุษทอดพระเนตรดูนางสุชาดา. นางสุชาดากำหนดอาการแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่เจ้า ขอท่านจงถือเอาสิ่งที่ข้าพเจ้าบริจาคแก่ท่านไปเถิด ไหว้แล้วทูลว่ามโนรถความปรารถนาจงสำเร็จแก่ท่านเหมือนดังสำเร็จแก่ข้าพเจ้าเถิด นางไม่ห่วงอาลัยถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่ง เป็นเหมือนภาชนะดินเก่า หลีกไปแล้ว.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับทรงทำประทักษิณต้นไม้ ถือถาดเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในวันที่พระโพธิสัตว์หลายแสนจะตรัสรู้ มีท่าชื่อว่าสุปติฏฐิตะ (สุประดิษฐ์) เป็นสถานที่เสด็จลงสรงสนาน จึงทรงวางถาดที่ฝั่งแห่งท่าชื่อว่าสุปติฏฐิตะนั้น เสด็จลงสรงสนานเสร็จแล้วทรงนุ่งธงชัยแห่งพระอรหัตอันเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ทรงนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงกระทำปั้นข้าว ๔๙ ปั้นประมาณเท่าจาวตาลสุกจาวหนึ่งๆ แล้วเสวยมธุปายาสมีน้ำน้อยทั้งหมด. ก็เป็นอย่างนั้น ข้าวมธุปายาสนั้นได้เป็นอาหารอยู่ได้ตลอด ๗ สัปดาห์ สำหรับพระโพธิสัตว์นั้นผู้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่โพธิมัณฑ์ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้. ในกาลมีประมาณเท่านั้น ไม่มีอาหารอย่างอื่น ไม่มีการสรงสนาน ไม่มีการชำระพระโอษฐ์ ไม่มีการถ่ายพระบังคนหนัก ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุข มรรคสุขและผลสุขเท่านั้น. ก็พระโพธิสัตว์ครั้นเสวยข้าว ข้าวปายาสนั้นแล้ว จับถาดทองทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ไซร้ ถาดของเราใบนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำไป ถ้าจักไม่ได้เป็น จงลอยไปตามกระแสน้ำ ครั้นทรงอธิษฐานแล้วได้ลอยถาดไป. ถาดนั้นลอยตัด


ความคิดเห็น 115    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 115

กระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ ณ ที่ตรงกลางแม่น้ำนั่นแลได้ลอยทวนกระแสน้ำไป สิ้นสถานที่ประมาณ ๘๐ ศอก เปรียบเหมือนม้าซึ่งเพียบพร้อมด้วยฝีเท้าอันเร็วไวฉะนั้น แล้วจมลงที่น้ำวนแห่งหนึ่ง จมลงไปถึงภพของกาลนาคราช กระทบถาดเครื่องบริโภคของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ มีเสียงดังกริ๊กๆ แล้วได้วางรองอยู่ใต้ถาดเหล่านั้น. กาลนาคราชครั้นได้สดับเสียงนั้นแล้ว กล่าวว่า เมื่อวานนี้ พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดแล้วองค์หนึ่ง วันนี้บังเกิดอีกองค์หนึ่ง จึงได้ยืนกล่าวสดุดีด้วยบทหลายร้อยบท. ได้ยินว่า เวลาที่มหาปฐพีงอกขึ้นเต็มท้องฟ้าประมาณหนึ่งโยชน์สามคาวุต ได้เป็นเสมือนวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ แก่กาลนาคราชนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพักผ่อนกลางวันอยู่ในสาลวันอันมีดอกบานสะพรั่ง ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เวลาเย็น ในเวลาดอกไม้ทั้งหลายหลุดจากขั้ว ได้เสด็จบ่ายหน้าไปยังโพธิพฤกษ์ ตามหนทางกว้างประมาณ ๘ อุสภะ ซึ่งเทวดาทั้งหลายตกแต่งไว้ ดุจราชสีห์เยื้องกรายฉะนั้น นาค ยักษ์และสุบรรณเป็นต้น ได้บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นอันเป็นทิพย์ หมื่นโลกธาตุได้มีกลิ่นหอมเป็นอัน เดียวกัน มีระเบียบดอกไม้เป็นอันเดียวกัน และมีเสียงสาธุการเป็นอันเดียวกัน สมัยนั้นพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ เป็นคนหาบหญ้า ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของมหาบุรุษจึงได้ถวายหญ้า ๘ กำ พระโพธิสัตว์รับหญ้าแล้วเสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ ได้ประทับยืนในด้านทิศใต้ ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ขณะนั้นจักรวาลด้านทิศใต้ทรุดลง ได้เป็นประหนึ่งว่าจรดถึงอเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้านทิศเหนือลอยขึ้น ได้เป็นประหนึ่งจรดถึงภวัคคพรหมในเบื้องบน พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ที่ตรงนี้เห็นจะไม่เป็นสถานที่ที่จะให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงการทำประทักษิณ เสด็จไปยังด้านทิศตะวันตกได้ประทับยืนผินพระพักตร์ ไปทางทิศตะวันออก. ลำดับนั้น จักรวาลด้านทิศตะวันตกได้ทรุดลง ได้เป็น


ความคิดเห็น 116    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 116

ประหนึ่งว่าจรดถึงอเวจีในเบื้องล่าง จักรวาลด้านตะวันออกลอยขึ้น ได้เป็นประหนึ่งว่าจรดถึงภวัคคพรหมในเบื้องบน นัยว่า ในที่ที่พระมหาบุรุษนั้นประทับยืนแล้วๆ มหาปฐพีได้ยุบลงและฟูขึ้น เหมือนล้อเกวียนใหญ่ซึ่งตั้งติดอยู่ในดุมถูกคนเหยียบริมขอบวงของกงล้อฉะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า สถานที่นี้เห็นจะไม่เป็นสถานที่ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงกระทำประทักษิณ เสด็จไปทางด้านทิศเหนือประทับยืนผินพระพักตร์ใปทางด้านทิศใต้. ลำดับนั้น จักรวาลด้านทิศเหนือได้ทรุดลง ได้เป็นประหนึ่งจรดถึงอเวจีในเบื้องล่าง จักรวาลด้านทิศใต้ลอยขึ้น ได้เป็นประหนึ่งจรดถึงภวัคคพรหมในเบื้องบน พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า แม้สถานที่นี้ก็เห็นจะไม่ใช่สถานที่เป็นที่ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ จึงทรงกระทำประทักษิณ เสด็จไปยังด้านทิศตะวันออก ได้ประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางด้านทิศตะวันตก. ก็สถานที่ตั้งบัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง มีอยู่ในด้านทิศตะวันออก สถานที่นั้นจึงไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า สถานที่นี้เป็นที่อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละ เป็นสถานที่ไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่กำจัดกรงคือกิเลสจึงทรงจับปลายหญ้าแล้วเขย่าให้สั่น. ทันใดนั้นเอง ได้มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก หญ้าแม้เหล่านั้นก็คงตั้งอยู่ โดยการลาดเห็นปานนั้นซึ่งช่างเขียนหรือช่างฉาบแม้ผู้ฉลาดยิ่งก็ไม่สามารถจะเขียนหรือฉาบทาได้.

พระโพธิสัตว์ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก โดยให้ลำต้นโพธิ์อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ เป็นผู้มีพระมนัสมั่นคง ทรงนั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ซึ่งแม้สายฟ้าจะผ่าลงตั้ง ๑๐๐ ครั้งก็ไม่แตกทำลาย โดยทรงอธิษฐานว่า

เนื้อ และเลือดในสรีระนี้แม้ทั้งสิ้นจงเหือดแห่งไป จะเหลือแต่หนังเอ็น และกระดูก ก็ตามที่.

เราไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณบนบัลลังก์นี้แหละ จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้.


ความคิดเห็น 117    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 117

สมัยนั้น เทวปุตตมารคิดว่า สิทธัตถกุมารประสงค์จะก้าวล่วงอำนาจของเรา บัดนี้ เราจักไม่ให้สิทธัตถกุมารนั้นล่วงพ้นไปได้ จึงไปยังสำนักของพลมารบอกความนั้น ให้โห่ร้องอย่างมารแล้วพาพลมารออกไป ก็เสนามารนั้นมีข้างหน้ามาร ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและข้างซ้ายข้างละ ๑๒ โยชน์ ส่วนข้างหลังเสนามารตั้งจรดขอบจักรวาลสูงขึ้นด้านบน ๙ โยชน์ ซึ่งเมื่อบันลือขึ้น เสียง บันลือจะได้ยินเหมือนเสียงแผ่นดินทรุดตั้งแต่ที่ประมาณพันโยชน์ ลำดับนั้น เทวปุตตมารขึ้นขี่ข้างชื่อคีรีเมขสูง ๑๕๐ โยชน์ นิรมิตแขนพันแขน ถืออาวุธนานาชนิด แม้ในบริษัทมารนอกนี้ มาร ๒ คนจะไม่ถืออาวุธเหมือนกัน เป็นผู้มีหน้าต่างๆ คนละอย่างกัน พากันมา เหมือนดังจะท่วมทับพระมหาสัตว์ ก็เทวดาในหมื่นจักรวาลได้ยืนกล่าวชมเชยพระมหาสัตว์ ส่วนท้าวสักกเทวราชได้ยืนเป่าสังข์วิชัยยุตร ได้ยินว่า สังข์นั้นมีขนาด ๑๒๐ ศอก เพื่อให้เก็บลมไว้คราวเดียวแล้วเป่า จะมีเสียงอยู่ถึง ๔ เดือนจึงจะหมดเสียง มหากาลนาคราช ได้ยืนกล่าวสรรเสริญคุณเกินกว่าร้อยบท ท้าวมหาพรหมได้ยืนกั้นเศวตฉัตร แต่เมื่อพลมารเข้าไปใกล้โพธิมัณฑ์ บรรดาเทวดาเป็นต้นเหล่านั้น แม้ตนหนึ่งก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ต่างพากันหนีไปเฉพาะในที่ที่ตรงหน้าๆ กาลนาคราชดำดินลงไปยังนาคภพอันมีมณเฑียรประมาณ ๕๐๐ โยชน์ นอนเอามือทั้งสองปิดหน้า ท้าวสักกะเอาสังข์วิชัยยุตรไว้ข้างหลัง ได้ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหมจับปลายเศวตฉัตรไปยังพรหมโลกทันที แม้เทวดาตนหนึ่งชื่อว่าผู้สามารถดำรงอยู่มิได้มี พระมหาบุรุษพระองค์เดียวเท่านั้น ประทับนั่งอยู่.

ฝ่ายมารก็กล่าวกะบริษัทของคนว่า พ่อทั้งหลาย ชื่อว่าบุรุษอื่นเช่นกับสิทธัตถะโอรสของพระเจัาสุทโธทนะ ย่อมไม่มี พวกเราจักไม่อาจทำการสู้รบซึ่งหน้า พวกเราจักสู้รบทางด้านหลัง. ฝ่ายพระมหาบุรุษก็เหลียวดูแม้ทั้ง ๓ ด้าน


ความคิดเห็น 118    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 118

ได้ทรงเห็นแต่ความว่างเปล่า เพราะเทวดาทั้งปวงพากันหนีไปหมด ได้ทรงเห็นพลมารหนุนเนื่องเข้ามาทางด้านเหนืออีก ทรงพระดำริว่า ชนนี้มีประมาณเท่านี้ มุ่งหมายเราผู้เดียวกระทำความพากเพียรพยายามอย่างใหญ่หลวง. ในที่นี้ไม่มีบิดามารดา บุตร ธิดา พี่น้องชาย หรือญาติไรๆ อื่น มีแต่บารมี ๑๐ นี้เท่านั้นจะเป็นเช่นกับบุตรแลบริวารชนของเราไปตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น เราจะกระทำบารมีให้เป็นโล่ แล้วประหารด้วยศัสตราคือบารมีนั่นแหละ กำจัดหมู่พลนี้เสีย จึงจะควร จึงทรงนั่งระลึกถึงบารมีทั้ง ๑๐ อยู่ ลำดับนั้นเทวปุตตมารได้บันดาลมณฑลประเทศแห่งลมให้ตั้งขึ้น ด้วยคิดว่า เราจักให้สิทธัตถะหนีไปด้วยลมนี้ทีเดียว ขณะนั้นเองลมอันต่างด้วยลมทิศตะวันออกเป็นต้นได้ตั้งขึ้น แม้สามารถทำลายยอดเขาขนาดกึ่งโยชน์ ๑ โยชน์ ๒ โยชน์ และ ๓ โยชน์ ถอนรากไม้ กอไม้ และต้นไม้เป็นต้น กระทำคามและนิคมรอบด้านให้เป็นจุรณวิจุรณไปได้ ก็มีอานุภาพอันเดชแห่งบุญของมหาบุรุษจัดเสียแล้ว พอมาถึงพระโพธิสัตว์ก็ไม่อาจทำแม้สักว่าชายจีวรให้ไหว ลำดับนั้น เทวปุตตมารได้บันดาลให้ห่าฝนใหญ่ตั้งขึ้นด้วยหวังว่า จักให้น้ำท่วมตาย ด้วยอานุภาพของเทวปุตตมารนั้น เมฆฝนอันมีหลืบได้ร้อยหลืบพันหลืบเป็นต้นเป็นประเภท ตั้งขึ้นในเบื้องบนแล้วตกลงมา แผ่นดินได้เป็นช่องๆ ไปด้วยกำลังแห่งสายธารน้ำฝน มหาเมฆลอยมาทางด้านบนป่าไม้ และต้นไม้เป็นต้น ก็ไม่อาจให้น้ำสักเท่าหยาดน้ำค้างหยดให้เปียกที่จีวรของพระมหาสัตว์ แต่นั้น ได้บันดาลให้ห่าฝนหินตั้งขึ้น ยอดภูเขาใหญ่ๆ คุกรุ่นเป็นควันลุกเป็นเปลวไฟ ลอยมาทางอากาศพอถึงพระโพธิสัตว์ ก็กลับกลายเป็นกลุ่มดอกไม้ทิพย์ แต่นั้นได้บันดาลให้ห่าฝนเครื่องประหารตั้งขึ้น ศัสตราวุธมีดาบ หอก และลูกศรเป็นต้น มีคมข้างเดียวบ้าง มีคมสองข้างบ้าง คุกรุ่นเป็นควัน ลุกเป็นเปลวไฟ ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ แต่นั้น ได้บันดาลให้ห่าฝน


ความคิดเห็น 119    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 119

ถ่านเพลิงตั้งขึ้น ถ่านเพลิงทั้งหลายมีสีดังดอกทองกวาว ลอยมาทางอากาศกลายเป็นดอกไม้ทิพย์โปรยปราย ลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น ได้บันดาลให้ห่าฝนเถ้ารึงตั้งขึ้น เถ้ารึงร้อนจัดมีสีดังไฟ ลอยมาทางอากาศ กลายเป็นฝุ่นไม้จันทน์ตกลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น ได้บันดาลให้ห่าฝนทรายตั้งขึ้น ทรายทั้งหลายละเอียดยิบ คุเป็นควันลุกเป็นไฟ ลอยมาทาง อากาศ กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ตกลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น จึงบันดาลห่าฝนเปือกตมให้ตั้งขึ้น เปือกตมคุเป็นควันลุกเป็นไฟ ลอยมาทางอากาศ กลายเป็นเครื่องลูบไล้ทิพย์ตกลงที่บาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น ได้บันดาลความมืดให้ตั้งขึ้นด้วยคิดว่า เราจักทำให้ตกใจกลัวด้วยความมืดนี้แล้วให้สิทธัตถะหนีไป ความมืดนั้นเป็นความมืดตื้อประดุจประกอบด้วยองค์ ๔ [คือแรม ๑๔ ค่ำ ป่าชัฏ เมฆทึบ และเที่ยงคืน] พอถึงพระโพธิสัตว์ก็อันตรธานไป เหมือนความมืดที่ถูกขจัดด้วยแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ มารไม่อาจทำ ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยลมฝน ห่าฝนหิน ห่าฝนเครื่องประหาร ห่าฝนถ่านเพลิง ห่าฝนเถ้ารึง ห่าฝนทราย ห่าฝนเปือกตม และห่าฝนคือความมืด รวม ๙ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงสั่งบริษัทนั้นว่า แน่ะพนาย พวกท่านจะหยุดอยู่ทำไม จงจับสิทธัตถกุมารนี้ จงฆ่า จงทำให้หนีไป ส่วนตนเองนั่งบนคอช้างคีรีเมข ถือจักราวุธเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า สิทธัตถะ ท่านจงลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ บัลลังก์นี้ไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ถึงแก่เรา พระมหาสัตว์ได้ฟังคำของมารนั้น จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนมาร ท่านไม่ได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ทั้งไม่ได้บริจาคมหาบริจาค ๕ ไม่ได้บำเพ็ญญาตัตถจริยา โลกัตถจริยาและพุทธัตถจริยา บัลลังก์นี้จึงไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ได้ถึงแก่เรา. มารโกรธอดกลั้นกำลังความโกรธไว้ไม่ได้จึง ขว้างจักราวุธใส่พระมหาสัตว์ เมื่อพระมหาสัตว์นั้นทรงรำพึงถึงบารมี ๑๐ ทัศ


ความคิดเห็น 120    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 120

อยู่ จักราวุธนั้นได้ตั้งเป็นเพดานดอกไม้อยู่ในส่วนเบื้องบน ได้ยินว่าจักราวุธนั้นคมกล้านัก มารนั้นโกรธแล้วขว้างไปในที่อื่นๆ จะตัดเสาหินแท่งทึบเป็นอันเดียวไป เหมือนตัดหน่อไม้ไผ่ แต่บัดนี้ เมือจักราวุธนั้นกลายเป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ บริษัทมารนอกนี้คิดว่า สิทธัตถกุมารจักลุกจากบัลลังก์หนีไปในบัดนี้ จึงพากันปล่อยยอดเขาหินใหญ่ๆ ลงมา เมื่อพระมหาบุรุษทรงรำพึงถึง บารมี ๑๐ ทัศ แม้ยอดเขาหินเหล่านั้นก็ถึงภาวะเป็นกลุ่มดอกไม้ตกลงยังภาคพื้น เทวดาทั้งหลายผู้ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาล ยืดคอชะเง้อศีรษะออกดูด้วยคิดกันว่า ท่านผู้เจริญ อัตภาพอันถึงความงามแห่งพระรูปโฉมของสิทธัตถกุมารฉิบหายเสียแล้วหนอ สิทธัตถกุมารจักทรงกระทำอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า บัลลังก์ได้ถึงแก่เราในวันที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีแล้วตรัสรู้ยิ่ง ดังนี้ แล้วตรัสกะมารผู้ยืนอยู่สืบไปว่าดูก่อนมาร ใครเป็นสักขีพยานในความที่ท่านให้ทานแล้ว. มารเหยียดมือไปตรงหน้าหมู่มาร โดยพูดว่า มารเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้เป็นพยาน. ขณะนั้น เสียงของบริษัทมารซึ่งเป็นไปว่า เราเป็นพยาน เราเป็นพยาน ดังนี้ ได้เป็นเช่นกับเสียงแผ่นดินทรุด. ลำดับนั้น มารจึงกล่าวกะพระมหาบุรุษว่า ดูก่อน สิทธัตถะ ในภาวะที่ท่านให้ทาน ใครเป็นสักขีพยาน พระมหาบุรุษตรัสว่า ก่อนอื่น ในภาวะที่ท่านให้ทาน พลมารทั้งหลายผู้มีจิตใจเป็นพยาน แต่สำหรับเรา ใครๆ ผู้มีจิตใจชื่อว่าจะเป็นพยานให้ ย่อมไม่มีในที่นี้ ทานที่ เราให้แล้วในอัตภาพอื่นๆ จงยกไว้ ก็ในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้ว ได้ให้สัตตสตกมหาทาน ให้สิ่งของอย่างละ ๗๐๐ มหาปฐพีอันหนาทึบนี้ แม้จะไม่มีจิตใจก็เป็นสักขีพยานให้ก่อน จึงทรงนำออก เฉพาะพระหัตถ์ขวา จากภายในกลีบจีวร แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ชี้ลงตรง


ความคิดเห็น 121    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 121

หน้ามหาปฐพี พร้อมกับตรัสว่า ในคราวที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วให้สัตตสตกมหาทาน ท่านได้เป็นพยานหรือไม่ได้เป็น. มหาปฐพีได้ดั่งสนั่นหวั่นไหวประหนึ่งท่วมทับพลมาร ด้วยร้อยเสียงพันเสียงว่า ในกาลนั้น เราเป็นพยานท่าน แต่นั้น มหาปฐพีได้กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ ทานที่ท่านให้แล้ว เป็นมหาทาน เป็นอุดมทาน เมื่อพระมหาบุรุษพิจารณาไปๆ ถึงทานที่ได้ให้โดยอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ช้างคีรีเมขสูง ๑๕๐ โยชน์ ก็คุกเข่าลง. บริษัทของมารต่างพากันหนีไปยังทิศานุทิศ. ชื่อว่ามารสองตนจะไปทางเดียวกัน ย่อมไม่มี ต่างละทิ้งเครื่องประดับศีรษะ และผ้าที่นุ่งห่ม หนีไปเฉพาะทิศทั้งหลายตรงๆ หน้า. ลำดับนั้น หมู่เทพทั้งหลายเห็นมารและพลมารหนีไปแล้ว กล่าวกันว่า มารปราชัยพ่ายแพ้แล้ว สิทธัตถกุมารมีชัยชนะแล้ว พวกเรามากระทำการบูชาความมีชัยกันเถิด ดังนี้ พวกนาคก็ประกาศแก่พวกนาค พวกครุฑก็ประกาศแก่พวกครุฑ พวกเทวดาก็ประกาศแก่พวกเทวดา พวกพรหมก็ประกาศแก่พวกพรหม พวกวิชชาธร (ก็ประกาศ แก่พวกวิชชาธร) ต่างมีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมายังโพธิบัลลังก์สำนักของพระมหาบุรุษ. ก็เมื่อมารและพลมารเหล่านั้น หนีไปอย่างนี้แล้ว

ในกาลนั้น หมู่นาคมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยพ่ายแพ้ แล้ว.

แม้หมู่ครุฑก็มีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้าผู้มีพระสิรินี้ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยพ่ายแพ้ แล้ว.


ความคิดเห็น 122    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 122

ในกาลนั้น หมู่เทพมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้า ผู้มีสิรินี้ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยพ่ายแพ้ แล้ว.

ในกาลนั้น แม้หมู่พรหมก็มีใจเบิกบาน. ประกาศความชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้าผู้มีพระสิรินี้ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามก ปราชัยพ่ายแพ้แล้ว แล.

เทวดาในหมื่นจักรวาลที่เหลือ บูชาด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้น ได้ยืนกล่าวสดุดีมีประการต่างๆ เมื่อพระอาทิตย์ยังทอแสงอยู่อย่างนี้นั่นแล พระมหาบุรุษทรงขจัดมารและพลมารได้แล้ว อันหน่อโพธิพฤกษ์ซึ่งตกลงเหนือจีวร ประหนึ่งกลีบแก้วประพาฬแดง บูชาอยู่ ทรงระลึกได้บุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฉิมยาม ทรงยังญาณให้หยั่งลงในปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม ครั้งเมื่อพระมหาบุรุษนั้นทรงพิจารณาปัจจยาการอันประกอบด้วยองค์ ๑๒ โดยอนุโลมและปฏิโลมด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว ๑๒ ครั้ง จนจรดน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด ก็พระมหา ' บุรุษทรงยังหมื่นโลกที่ให้บันลือลั่นหวั่นไหวแล้ว ได้ทรงรู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ในเวลาอรุณขึ้น เมื่อพระมหาบุรุษนั้นทรง บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นได้มีการประดับตกแต่งแล้ว รัศมีของธงชัยและธงปฏากที่ยกขึ้น ณ ปากขอบจักรวาลทิศตะวันออก กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศตะวันตกที่ยกขึ้น ณ ชอบปากจักรวาลทิศตะวันตกก็เหมือนกัน กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก ที่ยกขึ้น ณ ขอบปากจักรวาลทิศเหนือ กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศใต้ ที่ยกขึ้น ณ ขอบปากจักรวาลทิศใต้ กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศเหนือ ส่วนรัศมีของธงชัยและ


ความคิดเห็น 123    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 123

ธงปฏากที่ยกขึ้น ณ พื้นปฐพี ได้ตั้งอยู่จรดพรหมโลก. รัศมีที่ตั้งอยู่ในพรหมโลก ก็ตั้งถึงพื้นปฐพี. ต้นไม้ดอกในหมื่นจักรวาลก็ ผลิดอก ต้นไม้ผลก็ได้เต็มไปด้วยพวงผล ปทุมชนิดลำต้นก็ออกดอกที่ลำต้น ปทุมชนิดกิ่งก้านก็ออกดอกที่กิ่งก้าน ปทุมชนิดเครือเถาก็ออกดอกที่เครือเถา ปทุมชนิดห้อยก็ออกดอกในอากาศ ปทุมชนิดเป็นช่อได้เจาะทำลายช่อหินตั้งขึ้นซ้อนๆ กันช่อละ ๗ ชั้น หมื่นโลกธาตุได้หนุนไป เหมือนกลุ่มด้ายที่คลายออกและเหมือนเครื่องปูลาดที่จัดวางไว้ดีแล้วฉะนั้น. โลกันตนรกกว้าง ๕๐๐ โยชน์ใน ระหว่างจักรวาลทั้งหลาย ไม่เคยสว่างด้วยแสงพระอาทิตย์ ๗ ดวง ก็ได้มีแสงสว่างไสวเป็นอันเดียวกัน. มหาสมุทรลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ได้กลายเป็นน้ำหวาน แม่น้ำทั้งหลายไม่ไหล คนบอดแต่กำเนิดแลเห็นรูป คนหนวกแต่กำเนิดได้ยิน เสียง คนง่อยเปลี้ยแต่กำเนิดเดินได้ กรรมกรณ์ทั้งหลายมีเครื่องจองจำเป็นต้นแห่งบรรดาเครื่องจองจำคือขื่อเป็นต้น ได้ขาดหลุดไป. พระมหาบุรุษอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาด้วยสมบัติอันประกอบด้วยสิริหาปริมาณมิได้ ด้วยประการอย่างนี้ เมื่ออัจฉริยธรรมอันน่าอัศจรรย์ทั้งหลายมีประการต่างๆ ปรากฏแล้ว ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ จึงทรงเปล่งอุทานที่พระพุทธเจ้าทั้ง ปวงมิได้ทรงละว่า

เราเมื่อแสวงหานายช่าง (คือตัณหา) ผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ ได้ท่องเที่ยวไปยังสงสารมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนไม่ได้อีกต่อไป ซี่โครงทั้งปวงของท่าน เราหักแล้ว ยอด เรือนเรากำจัดแล้ว จิต (ของเรา) ถึงวิสังขาร (นิพพาน) แล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว.


ความคิดเห็น 124    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 124

ฐานะมีประมาณท่าน เริ่มแต่ดุสิตบุรีจนกระทั่งบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่โพธิมัณฑ์นี้ พึงทราบว่า ชื่ออวิทูเรนิทาน ด้วยประการฉะนี้.

สันติเกนิทาน.

ก็สันติเกนิทาน ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในที่นั้นๆ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระ วิหารเชตวันอันเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี (และว่า) ประทับอยู่ในกูฏาคารศาลาป่ามหาวันใกล้กรุงเวสาลี ดังนี้ สันติเกนิทานย่อมมีได้ในที่นั้นๆ นั่นเอง. ท่านกล่าวไว้อย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น สันติเกนิทาน นั้นพึงทราบอย่างนั้น จำเดิมแต่ต้นไป.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ชัย เปล่งอุทานนี้แล้ว ได้มีพระดำริดังนี้ว่า เราแล่นไปถึงสี่อสังไขยกับแสนกัป ก็เพราะเหตุบัลลังก์นี้ เราตัดศีรษะอันประดับแล้วที่ลำคอ แล้วให้ทานไปตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ก็เพราะเหตุบัลลังก์นี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว (และ) ควักเนื้อหัวใจให้ไป ให้บุตรเช่นชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินากุมารี และให้ภรรยาเช่นพระมัทรีเทวี เพื่อเป็นทาสของตนอื่นๆ เพราะเหตุบัลลังก์นี้. บัลลังก์นี้เป็นบัลลังก์ชัย เป็นบัลลังก์ประเสริฐของเรา ความดำริของเราผู้นั่งบนบัลลังก์นี้ ยังไม่บริบูรณ์เพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ จึงทรงนั่งเข้าสมาบัติหลายแสนโกฏิอยู่ ณ บัลลังก์นั้นนั่นแหละตลอดสัปดาห์ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุขโดยบัลลังก์เดียว ตลอดสัปดาห์ (๑) ครั้งนั้น เทวดาบางเหล่าเกิดความปริวิตกขึ้นว่า แม้


(๑) สัปดาห์ที่ ๑ หลังจากตรัสรู้


ความคิดเห็น 125    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 125

วันนี้ พระสิทธัตถะก็ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่หรือหนอ เพราะยังไม่ละความอาลัยในบัลลังก์. พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะทรงระงับความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงเหาะขึ้นยังเวหาส ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์. จริงอยู่ ยมกปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำ ณ มหาโพธิมัณฑ์ก็ดี ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคมพระญาติก็ดี ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคมชาวปาตลีบุตรก็ดี ทั้งหมด ได้เป็นเหมือนยมกปาฏิหาริย์ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์.

พระศาสดาครั้นทรงระงับความปริวิตกของเทวดาทั้งหลายด้วยปาฏิหาริย์นี้แล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศเหนือเยื้องไปทางทิศทะวันออกนิดหน่อย ทรงพระดำริว่า เราได้รู้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณบนบัลลังก์นี้หนอ จึงทอดพระเนตรทั้งสองโดยไม่กระพริบ มองดูบัลลังก์อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่งบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่อสงไขยแสนกัป ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์. สถานที่นั้น จึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์ (๑)

ลำดับนั้น ทรงนิรมิตที่จงกรมในระหว่างบัลลังก์ และที่ที่ประทับยืน แล้วทรงจงกรมในรัตนจงกรมอันยาวจากตะวันออกไปตะวันตก ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์. สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์. (๒)

แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วในด้านทิศพายัพจากต้นโพธิประทับนั่งบนบัลลังก์ในเรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระอภิธรรม ปิฎกและสมันตปัฏฐานอนันตนัยในเรือนแก้วนี้ โดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์. ส่วนนักอภิธรรมกล่าวว่า เรือนอันล้วนแล้วด้วยแก้ว ชื่อว่ารัตนฆระเรือนแก้ว สถานที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ พระคัมภีร์ ก็ชื่อว่า รัตนฆรเรือนแก้ว. ก็เพราะเหตุที่ปริยายแม้ทั้งสองนี้ ย่อมใช้ได้ในที่นี้ ฉะนั้น


(๑) สัปดาห์ที่ ๒ นับแต่ตรัสรู้

(๒) สัปดาห์ที่ ๓ นับแต่ตรัสรู้


ความคิดเห็น 126    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุ.ตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 126

คำทั้งสองนี้ควรเชื่อถือทีเดียว. ก็จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์. (๑)

พระศาสดาทรงยับยั้งอยู่ ณ ที่ใกล้ต้นโพธิ์นั่นเอง ตลอด ๔ สัปดาห์ ด้วยอาการอย่างนี้ ในสัปดาห์ที่ ๕ จึงเสด็จจากควงโพธิพฤกษ์เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ ทรงนั่งพิจารณาพระธรรมและเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ต้นอชปาลนิโครธ (๒) แม้นั้น.

สมัยนั้น เทวปุตตมารติดตามอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แม้จะเพ่งมองหาช่องทางอยู่ ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไรๆ ของพระสิทธัตถะนี้ จึงถึงความโทมนัสว่า บัดนี้ สิทธัตถะนี้ล่วงพ้นวิสัยของเราแล้ว จึงนั่งที่หนทางใหญ่ คิดถึงเหตุ ๑๖ ประการ จึงขีดเส้น ๑๖ เส้นลงบนแผ่นดิน คือคิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญทานบารมี เหมือนสิทธัตถะนี้ แล้วขีดลงไปเส้นหนึ่ง. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เหมือนสิทธัตถะนี้ ด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือนสิทธัตถะนี้ แล้วขีดเส้น (ที่ ๒ ถึง) ที่ ๑๐. อนึ่ง คิดว่าเราไม่ได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอาสยานุสยญาณ อินทริยปโรปริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ อนาวรณญาณ และสัพพัญญุญาณ อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เหมือนดังสิทธัตถะนี้ ด้วยเหตุนั้นเราจึงไม่เป็นเหมือนดังสิทธัตถะนี้ แล้วขีดเส้น (ที่ ๑๑ ถึง) ที่ ๑๖ เมื่อเทวปุตตมารนั้นนั่งขีดเส้น ๑๖ เส้นอยู่บนทางใหญ่ เพราะเหตุเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว สมัยนั้น ธิดามารทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา กล่าวกันว่า บิดาของพวกเราไม่ปรากฏ บัดนี้ อยู่ที่


(๑) สัปดาห์ที่ ๔ นับแต่ตรัสรู้ื "

(๒) สัปดาห์ที่ ๕ นับแต่ตรัสรู้


ความคิดเห็น 127    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุรตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 127

ไหนหนอ จึงมองหาอยู่ ได้เห็นเทวปุตตมารนั้น ได้รับความโทมนัสขีดแผ่นดินอยู่ จึงพากันไปยังสำนักของบิดาถามว่า ท่านพ่อ เพราะเหตุไร ท่านพ่อจึงเป็นทุกข์หม่นหมองใจ. เทวปุตรมารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย มหาสมณะนี้ล่วงพ้นอำนาจของเราเสียแล้ว พ่อคอยดูอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ยังไม่อาจเห็นช่องโอกาสของมหาสมณะนี้ ด้วยเหตุนั้น พ่อจึงเป็นทุกข์หม่นหมองใจ. ธิดามารกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น คุณพ่ออย่าได้เสียใจ พวกข้าพเจ้าจักกระทำมหาสมณะนั้นให้อยู่ในอำนาจของตน แล้วจักพามา. เทวปุตตมารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ใครๆ ไม่อาจทำมหาสมณะนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุรุษผู้นี้ตั้งอยู่ในศรัทธาอันไม่หวั่นไหว. ธิดามารกล่าวว่า ท่านพ่อ พวกข้าพเจ้าเป็นลูกผู้หญิงนะ พวกข้าพเจ้าจักเอาบ่วงคือราคะเป็นต้นผูกมหาสมณะให้มั่นแล้วนำมาให้ เดี๋ยวนี้ ท่านพ่ออย่าคิดไปเลย. กล่าวแล้วธิดามารทั้ง ๓ นั้น จึงจากที่นี้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกข้าพระบาทจักบำเรอบาทของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ลืมพระเนตรแลดู มีพระมนัสน้อมไปในธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม และประทับนั่งเสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกเท่านั้น. ธิดามารคิดกันอีกว่า ความประสงค์ของพวกผู้ชายไม่เหมือนกัน ผู้ชายบางคนรักหญิงกุมารีรุ่นสาว บางคนรักหญิงผู้อยู่ในปฐมวัย บางคนรักหญิงผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย บางคนรักหญิงผู้ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย ถ้ากระไร พวกเราควรประเล้าประโลมด้วยรูปนานาประการ จึงนางหนึ่งๆ นิรมิตอัตภาพเป็น ร้อยๆ อัตภาพ โดยเป็นรูปหญิงรุ่นเป็นต้น เป็นหญิงยังไม่คลอด เป็นหญิงคลอดคราวเดียว เป็นหญิงคลอด ๒ คราว เป็นหญิงกลางคนและเป็น หญิงรุ่นใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ๖ ครั้ง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกข้าพระบาทจักบำเรอบาทของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 128    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 128

ไม่ทรงใส่พระทัยถึงข้อแม้นั้น โดยประการที่ทรงน้อมไปในธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงเห็นธิดามารเหล่านั้นเข้ามาหาโดยภาวะเป็นหญิงผู้ใหญ่ จึงทรงอธิษฐานว่า หญิงเหล่านี้จงเป็นผู้มีฟันหัก ผมหงอกอย่างนี้ๆ. คำของเกจิอาจารย์นั้น ไม่ควรเชื่อถือ. เพราะพระศาสดาจะไม่ทรงกระทำการอธิษฐานเห็นปาน นั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกท่านจงหลีกไป พวกท่านผู้เช่นไร จึงพากันพยายามอย่างนี้ ชื่อว่ากรรมเห็นปานนี้ควรกระทำเบื้องหน้าของตนผู้ยังไม่ปราศจากราคะเป็นต้น แต่ตถาคตละราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว จึง ทรงพระปรารภถึงการละกิเลสของพระองค์. ทรงแสดงธรรมตรัสพระคาถา ๒ คาถาในพระธรรมบท พุทธวรรค (๑) ดังนี้ว่า

ความชนะอันผู้ใดชนะแล้วไม่กลับแพ้ อันใครๆ จะนำความชนะของผู้นั้นไปในโลกได้ ท่านทั้งหลายจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร. พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่มีตัณหาอันเป็นดุจข่ายส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ เพื่อจะนำไปในที่ไหนๆ ท่านทั้งหลายจักนำพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไร.

ธิดามารเหล่านั้นกล่าวคำเป็นต้นว่า นัยว่า บิดาของพวกเราพูดจริง พระอรหันต์สุคตเจ้าเป็นผู้ที่จะนำไปไม่ได้ง่ายๆ ในโลกด้วยราคะ แล้วได้พากันไปยังสำนักของบิดา.


(๑) ขุ. ๒๕/ข้อ ๒๔


ความคิดเห็น 129    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 129

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่อชปาลนิโครธนั้นหนึ่งสัปดาห์ แล้วได้เสด็จไปที่ โคนไม้มุจลินท์ (๑) ณ ที่นั้นฝนพรำเกิดขึ้น ๗ วัน พระองค์อันพระยามุจลินทนาคราชวงด้วยขนด ๗ รอบ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น เสวยวิมุตติสุขประหนึ่งประทับอยู่ในพระคันธกุฏีอันไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์แล้วเสด็จไปยัง ต้นราชายตนะ (๒) ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ที่ต้นราชายตนะแม้นั้นหนึ่งสัปดาห์ โดยลำดับกาลเพียงเท่านี้ สัปดาห์ทั้งหลายก็ครบบริบูรณ์. '

ในระหว่างนี้ไม่มีการชำระล้างพระพักตร์ ไม่มีการปฏิบัติพระสรีระ ไม่มีกิจด้วยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุข มรรคสุข และผลสุข.ครั้นในวันที่ ๔๙ อันเป็นวันสุดท้ายแห่งสัปดาห์ที่ ๗ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประทับนั่งที่ต้นราชายตนะนั้น เกิดพระดำริขึ้นว่า จักสรงพระพักตร์. ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงนำผลสมอมาถวายด้วยพระองค์เอง. พระศาสดาเสวยผลสมอนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้มีการถ่ายพระบังคนหนัก. ลำดับนั้น ท้าวสักกะนั่นแหละได้ถวายไม้ชำระพระทนต์ชื่อนาคลดา และน้ำล้างพระพักตร์แด่พระศาสดานั้น. พระศาสดาทรงเคี้ยวไม้ชำระพระทนต์ ล้างพระพักตร์ด้วยน้ำในสระอโนดาต แล้วคงประทับนั่งที่โคนไม้ราชายตนะนั่นเอง.

สมัยนั้น พาณิช ๒ คน ชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ จากอุกกุลาชนบทจะไปยังมัชฌิมประเทศด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถูกเทวดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตนปิดทางเกวียนไว้ ทำให้อุตสาหะในการมอบถวายอาหารแด่พระศาสดา จึงถือเอาข้าวสตูก้อนและขนมน้ำผึ้งแล้วได้เข้าไปใกล้พระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอจงอนุเคราะห์รับอาหารนี้เถิด แล้วยืนอยู่. ก็เพราะบาตรได้หายไปในวันรับข้าวมธุปายาสนั่นเอง พระผู้มีพระ-


(๑) สัปดาห์ที่ ๖ นับแต่ตรัสรู้

(๒) สัปดาห์ที่ ๗ นับแต่ตรัสรู้


ความคิดเห็น 130    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 130

ภาคเจ้าจึงทรงพระดำริว่า พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่รับที่มือ เราจะรับอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้งสี่ จากทิศทั้งสี่ รู้พระดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงน้อมบาตรอันสำเร็จด้วยแก้วอินทนิลเข้าไปถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธบาตรเหล่านั้น. ท้าวมหาราชจึงน้อมนำบาตร ๔ ใบ อันสำเร็จด้วยหินมีสีดังถั่วเขียวเข้าไปถวาย. เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เทวบุตรแม้ ๔ องค์ จึงทรงรับบาตรทั้ง ๔ ไปแล้ววางซ้อนๆ กัน ทรงอธิษฐานว่า จงเป็นบาตรใบเดียว. บาตรแม้ทั้ง ๔ จึงไม่มีรอยปรากฏอยู่ที่ขอบปากบาตร รวมเป็นบาตรใบเดียวกัน โดยประมาณบาตรขนาดกลาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาหารที่บาตรอันล้วนด้วยศิลาที่เห็นประจักษ์นั้น เสวยแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา. พาณิช ๒ คนพี่น้อง ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ ได้เป็นทเววาจิกอุบาสกผู้เปล่งวาจาถึงสรณะทั้งสอง. ลำดับนั้น เมื่อพาณิชทั้งสองนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงโปรดประทานฐานะที่จะพึงปรนนิบัติอย่างหนึ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเอา พระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรของพระองค์แล้วประทานพระเกศธาตุทั้งหลายให้ไป พาณิชทั้งสองนั้นจึงให้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุไว้ภายใน ณ เมืองของตน.

จำเดิมแต่นั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงประทับนั่งที่โคนต้นนิโครธ. ลำดับนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พอประทับที่โคนต้นนิโครธนั้นเท่านั้น ก็ทรงพิจารณาความที่ธรรมซึ่งพระองค์ทรงบรรลุแล้วเป็นธรรมลึกซึ้ง ทรงพระดำริว่า ธรรมนี้พระพุทธเจ้าทั้งปวงประพฤติสั่งสมไว้แล้ว เราได้บรรลุแล้วแล จึงเกิดความตรึกอันถึงอาการคือความไม่ประสงค์ที่จะแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น. ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม


ความคิดเห็น 131    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุต.ตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 131

ตรัสว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักฉิบหายละหนอ ท่านผู้เจริญ โลกจัก ฉิบหายละหนอ แล้วทรงพาท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวสวัตดี และท้าวมหาพรหมจากหมื่นจักรวาล ไปเฝ้าพระศาสดาทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม พระศาสดาทรงให้ปฏิญญาแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรกแก่ใครหนอ ทรงยังพระดำริให้เกิดขึ้น ว่า อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต อาฬารดาบสนั้นจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยเร็วพลัน แล้วทรงตรวจดูอีก ได้ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้นกระทำกาละได้ ๗ วันแล้ว จึงทรงรำพึงถึงอุทกดาบส ได้ทรงทราบว่า แม้อุทกดาบสนั้นก็ได้ทำกาละไปแล้วเมื่อพลบค่ำเย็นวานนี้ จึงทรงมนสิการปรารภถึงพระปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะมากแก่เรา จึงทรงพระรำพึงว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้นอยู่ที่ไหนหนอ ได้ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี จึงทรงพระดำริว่า เราจักไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นั้นแล้วแสดงพระธรรมจักร จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปรอบๆ โพธิมัณฑ์ เท่านั้น ๒ - ๓ วัน ทรงพระดำริว่า เราจักไปเมืองพาราณสีในวันอาสาฬหบูรณมี กลางเดือน ๘ พอในวันจาตุททสีขึ้น ๑๔ ค่ำ ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง เมื่อราตรีสว่างแล้ว พอเช้าตรู่ก็ทรงถือบาตรจีวร เสด็จดำเนินไปสิ้นหนทาง ๑๘ โยชน์ ทรงพบ อุปกาชีวก ในระหว่างทาง จึงตรัสบอกถึงความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า แก่อุปกาชีวกนั้น แล้วได้เสด็จไปถึงป่าอิสิปคนมฤคทายวัน ในเย็นวันนั้นเอง.

พระเถระปัญจวัคคีย์ เห็นพระตถาคตเจ้าเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว จึงได้ทำกติกากันไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส พระสมณโคดมนี้ เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากในปัจจัย มีกายสมบูรณ์ มีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณดุจทองคำ กำลังมาอยู่ เราจักไม่กระทำสามีจิกรรมมีอภิวาทเป็นต้น แก่พระสมณโคดมนี้


ความคิดเห็น 132    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุ°ตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 132

แต่เธอประสูติในตระกูลใหญ่โต ย่อมควรจัดอาสนะไว้ ด้วยเหตุนั้น พวกเราจักปูลาดเพียงอาสนะไว้เพื่อเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์นี้ คิดอย่างไรหนอ ก็ได้ทรงทราบความคิดด้วยพระญาณอันสามารถรู้วาระจิตของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ลำดับนั้น จึงทรงย่นย่อเอาเมตตาจิตอันสามารถแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง แล้วทรงแผ่เมตตาจิตไป. พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น โดยเฉพาะพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถูกต้องด้วยเมตตาจิตแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จเข้าไปใกล้ ไม่อาจดำรงอยู่ในกติกาของตน ได้พากันทำกิจทั้งมวลมีการอภิวาทและการลุกรับเป็นต้น แต่ยังไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงใช้วาจาเรียกโดยชื่อ และโดยคำว่า อาวุโส อย่างเดียว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคต โดยชื่อ และโดยวาทะว่าอาวุโส เลย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ แล้วประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ตกแต่งไว้ เมื่อกลุ่มดาวนักษัตรแห่งเดือนอุตตราสาฬหะ เดือน ๘ หลัง กำลังดำเนินไปอยู่ ทรงห้อมล้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ ได้ตรัสเรียกพระเถระปัญจวัคคีย์มา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. บรรดาพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พระอัญญาโกณฑัญญเถระส่งญาณไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ในเวลาจบพระสูตร ได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลพร้อมกับพรหม ๑๘ โกฏิ. พระศาสดาทรงเข้าจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นนั่นเอง วันรุ่งขึ้น ประทับนั่งสั่ง สอนพระวัปปเถระอยู่ในที่อยู่นั่นเอง พระเถระที่เหลือ ๔ รูปเที่ยวไปบิณฑบาต. พระวัปปเถระได้บรรลุโสดาปัตติผลในเวลาเช้านั่นแล. ก็โดย


ความคิดเห็น 133    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ' ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 133

อุบายนี้แหละ ทรงยังพระภัททิยเถระให้ดำรงอยู่โสดาปัตติผลในวันรุ่งขึ้น พระมหานามเถระในวันรุ่งขึ้น และพระอัสสชิในวันรุ่งขึ้น รวมความว่า ทรงยังพระเถระทั้งปวงให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ได้เห็นพระเถระแม้ทั้ง ๕ ประชุมกันแล้วทรงแสดงอันตตลักขณสูตร ในเวลาจบเทศนา พระเถระแม้ทั้ง ๕ ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของยสกุลบุตร เขาเบื่อหน่ายละเรือนออกไปในตอนกลางคืน จึงตรัสเรียกว่า มานี่เถิด ยสะ แล้วให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล ในตอนกลางคืนนั้นนั่นเอง. วันรุ่งขึ้นได้ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต ทรงยังคนอื่นอีก ๕๔ คนผู้สหายของพระยสะนั้น ให้บรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วให้บรรลุพระอรหัต. ก็เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์เกิดขึ้นในโลกด้วยประการอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ทรงส่งภิกษุ ๖๐ องค์ไปในทิศทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป ส่วนพระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ในระหว่างทางได้ทรงแนะนำภัตทวัคคีย์กุมาร ๓๐ คน ในชัฏป่าฝ้าย. บรรดาภัตทวัคคีย์กุมารเหล่านั้น คนท้ายสุดได้เป็นพระโสดาบัน คนเหนือสุดได้เป็นพระอนาคามี พระองค์ทรงให้ภัตทวัคคีย์กุมารทั้งหมดแม้เหล่านั้นบรรพชา ด้วยความเป็นเอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย แล้วพระองค์ได้เสด็จไปยัง. ตำบลอุรุเวลา ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๓๕๐๐ ปาฏิหาริย์ ทรงแนะนำชฎิล ๓ พี่ น้อง มีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น มีบริวารหนึ่งพัน ให้บรรพชาด้วยความเป็นเอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วให้นั่งที่คยาสีสประเทศ ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วย อาทิตตปริยายเทศนา อันพระอรหันต์หนึ่งพันนั้นแวดล้อม ทรงพระดำริว่า จักเปลื้องปฏิญญาที่ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้เสด็จไปยังลัฏฐิวัน


ความคิดเห็น 134    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 134

อุทยานสวนตาลหนุ่ม ณ ชานพระนครราชคฤห์. พระราชาได้ทรงสดับจากสำนักของนายอุทยานบาลว่า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว จึงทรงห้อมล้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุต (คือ ๑๒ หมื่น) เข้าได้เฝ้าพระศาสดา เมื่อพื้นพระบาทอันวิจิตรด้วยจักรกำลังเปล่งแสงสุกสกาวขึ้น ประหนึ่งเพดานแผ่นทองคำ จึงทรงหมอบพระเศียรลงแทบพระบาทของพระตถาคตเจ้า แล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งพร้อมกับบริษัท. ลำดับนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสปะ หรือว่าท่านอุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น จึงได้ตรัสกะพระเถระด้วยพระคาถาว่า

ท่านอยู่ในอุรุเวลา (มานาน) ซูบผอม (เพราะกำลังพรต) เป็นผู้กล่าวสอน (ประชาชน) เห็นโทษอะไรหรือ จึงละไฟ (ที่บูชา) เสีย ดูก่อนกัสสป เราถามเนื้อความนี้กะท่าน อย่างไรท่านจึงละการบูชาไฟ เสียเล่า.

ฝ่ายพระเถระรู้พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถานี้ว่า

ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส และหญิงที่น่าใคร่ ข้าพระองค์รู้ว่า นี่เป็นมลทินในอุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวง และการบูชา ดังนี้.

เพื่อที่จะประกาศความที่ตนเป็นสาวก จึงซบศีรษะที่หลังพระบาทของพระคถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดา


ความคิดเห็น 135    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 135

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้แล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ๗ ครั้ง คือ ๑ ชั่วลำตาล ๒ ชั่วลำตาล จนประมาณ ๗ ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวาย บังคมพระตถาคตแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. มหาชนได้เห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้วพากันกล่าวพรรณนาพระคุณของพระศาสดาว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทรงมีอานุภาพมาก แม้พระอุรุเวลกัสสป ชื่อว่ามีทิฏฐิเข็มแข็งอย่างนี้ สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทำลายข่ายคือทิฏฐิทรมานแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราทรมานพระอุรุเวลกัสสป แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในอดีต พระอุรุเวลกัสสปนี้ก็ถูกเราตถาคตทรมานมาแล้วเหมือนกัน แล้วตรัสมหานารทกัสสปชาดก ในเพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔. พระเจ้ามคธราช ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับบริวาร ๑๑ นหุต ส่วนอีกหนึ่งนหุตประกาศความเป็นอุบาสก. พระราชาทรงประทับอยู่ในสำนักของพระศาสดานั้นแล ทรงประกาศเหตุอันมาซึ่งความสบายพระทัย ๕ ประการ แล้วทรงถึงสรณะ ทรงนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แล้วเสด็จลุกจากพระอาสน์ ทรงกระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเสด็จหลีกไป.

วันรุ่งขึ้น พวกมนุษย์ชาวเมืองราชคฤห์แม้ทั้งสิ้นนับได้ ๑๘โกฏิ ทั้งที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและทั้งที่ไม่ได้เห็น มีความประสงค์จะเห็นพระตถาคต จึงได้จากกรุงราชคฤห์ไปยังลัฏฐิวันแต่เช้าตรู่. หนทาง ๓ คาวุตไม่เพียงพอ. ลัฏฐิวันอุทยานทั้งสิ้นได้แน่นขนัดไปหมด. มหาชนแลดูอัตภาพอันถึงความงามด้วยพระรูปโฉมของพระทศพล ไม่อาจกระทำให้อิ่มได้. ในฐานะทั้งหลาย แม้เห็นปานนี้ พึงพรรณนาความสง่างามแห่งพระรูปกายแม้ทั้งสิ้นนี้อันมีประเภทเป็นพระลักษณะ และพระอนุพยัญชนะของพระตถาคต ชื่อว่าวรรณรูป (การพรรณนารูป). มหาชนผู้แลดูพระสรีระของพระทศพล อันถึงความงามด้วย


ความคิดเห็น 136    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 136

พระรูปโฉมแน่นขนัดไปหมดด้วยอาการอย่างนี้ จึงไม่มีโอกาสที่แม้ภิกษุรูปหนึ่ง จะออกไปที่อุทยานและที่หนทาง. ได้ยินว่าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงขาดพระกระยาหาร การขาดพระกระยาหารนั้น อย่าได้มีเลย เพราะเหตุนั้น อาสน์ที่ท้าวสักกะประทับนั่ง จึงแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะนั้นทรงพระรำพึงอยู่ ได้ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงทรงนิรมิตเพศเป็นมาณพน้อย กล่าวคำ สดุดีอันปฏิสังยุตด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เสด็จลงตรง เบื้องพระพักตร์ของพระทศพล ได้โอกาสด้วยเทวานุภาพ เสด็จนำไปข้างหน้า กล่าวคุณของพระศาสดา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงาม ดุจลิ่มทองสิงคี ผู้ทรงฝึกแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อมด้วยพระปุราณชฏิล ผู้ฝึกตนได้แล้ว ผู้หลุดพ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวรรณะงาม ดุจลิ่มทองสิงคี ผู้หลุดพ้นแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อมกับพระปุราณชฏิล ผู้หลุดพ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้ทรงข้ามแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อม กับพระปุราณชฏิล ผู้ข้ามพ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีธรรมเป็นเครื่องกยู่ ๑๐ มีพระกำลัง ๑๐ ทรงรู้แจ้งธรรม ๑๐ และประกอบด้วยพระคุณ ๑๐ มี บริวารพันหนึ่ง เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์แล้ว.

มหาชนได้เห็นความสง่าแห่งรูปของมาณพน้อยแล้วคิดว่า มาณพน้อยนี้มีรูปงามยิ่งนัก ก็มาณพน้อยนี้ เราไม่เคยเห็นเลย จึงกล่าวว่า มาณพน้อยนี้มาจากไหน หรือมาณพน้อยของใคร. มาณพน้อยได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า


ความคิดเห็น 137    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 137

พระสุคตเจ้าพระองค์ใด ทรงฝึกพระองค์ได้ในที่ทั้งปวง ทรงประเสริฐที่สุด ไม่มีบุคคลเปรียบ เป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นคนรับใช้ของพระสุคตเจ้า พระองค์นั้น.

พระศาสดาทรงดำเนินทางซึ่งมีโอกาสอันท้าวสักกะทรงกระทำแล้ว ทรงห้อมล้อมด้วยภิกษุพันหนึ่ง เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์. พระราชาทรงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจักไม่อาจเป็นไปอยู่โดยเว้นรัตนะทั้งสาม หม่อมฉันจักมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาบ้าง ไม่ใช่เวลาบ้าง ก็ชื่อว่า ลัฏฐิวันอุทยานไกลเกินไป แต่อุทยานชื่อว่าเวฬุวันของหม่อมฉันนี้ ไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไป เป็นเสนาสนะสมบูรณ์ด้วยการคมนาคม สมควรแก่พระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับเวฬุวันนี้เถิด แล้วทรงเอาพระสุวรรณภิงคารตักน้ำอันมีสีดังแก้วมณีอบด้วยดอกไม้และของหอม เมื่อจะทรงบริจาคพระเวฬุวันอุทยาน จึงทรงหลั่งน้ำให้ตกลงบนพระหัตถ์ของพระทศพล ในขณะทรงรับพระอาราม มหาปฐพีได้หวั่นไหวอันเป็นเหตุให้รู้ว่า รากแก้วของพระพุทธศาสนาได้หยั่งลงแล้ว. จริงอยู่ ในชมพูทวีปยกเว้นพระเวฬุวันเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่ทรงรับแล้วแผ่นดินไหว ย่อมไม่มี. ฝ่ายในตามพปัณณิทวีป (คือเกาะลังกา) ไม่มีเสนาสนะอื่นที่รับแล้วแผ่นดินไหว ยกเว้นมหาวิหาร. พระศาสดาครั้น ทรงรับพระเวฬุวนารามแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแก่พระราชา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะ ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้เสด็จไปยังพระเวฬุวัน.

ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกทั้งสอง คือสารีบุตรและโมคคัลลานะ อาศัยกรุงราชคฤห์แสวงหาอมตธรรมอยู่. บรรดาปริพาชกทั้งสองนั้น สารีบุตร


ความคิดเห็น 138    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 138

เห็นพระอัสสชิเถระเข้าไปบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปนั่งใกล้ ได้ฟังคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้เป็นต้น ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละแม้แก่โมคคัลลานะปริพาชกผู้สหายของตน. ฝ่ายโมคคัลลานะปริพาชกก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. สหายแม้ทั้งสองนั้นลาสัญชัยปริพาชกแล้ว บวชในสำนักของพระศาสดาพร้อมด้วยบริวารของตน บรรดาสหายทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานเถระบรรลุพระอรหัตโดย ๗ วัน พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัต โดยล่วงไปกึ่งเดือน พระศาสดาทรงตั้งพระเถระแม้ทั้งสองไว้ในตำแหน่งอัครสาวก และ ในวันที่พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัตนั่นแล ได้ทรงกระทำสาวกสันนิบาตประชุมพระสาวก.

ก็เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล พระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้ทรงสดับว่า ข่าวว่า บุตรของเราประพฤติทุกรกิริยา ๖ ปี บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศธรรมจักรอันบวร อาศัยเมืองราชคฤห์อยู่ในเวฬุวัน จึงตรัสเรียกอำมาตย์ผู้หนึ่งมาตรัสว่า มาเถิดพนาย ท่านจงมีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร เดินทางไปกรุงราชคฤห์ กล่าวตามคำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระบิดาของพระองค์มีพระประสงค์จะพบ แล้วจงพาบุตรของเรามา อำมาตย์ผู้นั้นรับพระดำรัสของพระราชาด้วยเศียรเกล้าว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วมีบุรุษหนึ่งพันเป็นบริวาร รีบเดินทางไปประมาณ ๖๐ โยชน์ นั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ ของพระทศพล แล้วเข้าไปยังวิหารในเวลาแสดงธรรม อำมาตย์นั้นคิดว่า พระราชสาสน์ของพระราชาที่ส่งมาจงงดไว้ก่อน แล้วยืนอยู่ท้ายสุดบริษัท ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ตามที่ยืนอยู่นั่นแล ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษบริวารหนึ่งพัน จึงทูลขอบรรพชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า ท่าน


ความคิดเห็น 139    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 139

ทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นเอง คนทั้งหมดทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นประหนึ่งพระเถระมีพรรษา ๖๐ ฉะนั้น. ก็ธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมมีตนเป็นกลาง จำเดิมแต่เวลาที่ได้บรรลุพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กราบทูลสาสน์ที่พระราชาทรงส่งมา พระราชาตรัสว่า อำมาตย์ผู้ไปแล้วก็ยังไม่มา ข่าวสาสน์ ก็ไม่ได้ฟัง มาเถอะพนาย ท่านจงไป แล้วทรงส่งอำมาตย์อื่นไปตามทำนองนั้นนั่นแล แม้อำมาตย์นั้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งบริษัท โดยนัยก่อนนั่นแหละ ก็ได้นิ่งเสีย พระราชาทรงส่งอำมาตย์ ๙ คน ซึ่งมีบริวารคนละหนึ่งพันไป โดยทำนองนี้นั่นแล. อำมาตย์ทุกคนยังกิจของตนให้สำเร็จแล้ว ก็เป็นผู้นิ่งอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั้นนั่นเอง. พระราชาไม่ได้อำมาตย์ผู้นำแม้มาตรว่า ข่าวสาสน์มาบอก จึงทรงพระดำริว่า ก็ชนมีประมาณเท่านี้ ไม่นำกลับมาแม้มาตรว่าข่าวสาสน์ เพราะไม่มีความรักในเรา ใครหนอ จักกระทำตามคำของเรา เมื่อทรงตรวจพลของหลวงทั้งหมด ก็ได้เห็นกาฬุทายีอำมาตย์. ได้ยินว่า กาฬุทายีนั้นเป็นอำมาตย์ผู้จัดราชกิจทั้งปวงให้สำเร็จ เป็นคนวงใน มีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เกิดวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ เป็นสหายเล่นฝุ่นมาด้วยกัน. ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกกาฬุทายีอำมาตย์นั้นมาว่า พ่ออุทายี เราปรารถนาจะเห็นบุตรของเรา จึงส่งบุรุษไป ๙ พัน แม้บุรุษสักคนหนึ่ง จะมาบอกมาตรว่าข่าวสาสน์ก็ไม่มี ก็อันตรายแห่งชีวิตของเรารู้ได้ยากนัก เรามีชีวิตอยู่ปรารถนาจะเห็นบุตร ท่านจักอาจหรือหนอที่จะแสดงบุตรแก่เรา. กาฬุทายีอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าจักอาจ ถ้าจักได้บรรพชา. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ท่านจะได้บวชหรือไม่ได้บวชก็ตาม จงแสดงบุตรแก่เรา กาฬุทายีอำมาตย์นั้นรับพระดำรัสแล้วถือพระราชสาสน์ไปยังกรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ท้ายบริษัทในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา


ความคิดเห็น 140    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 140

ได้สดับธรรมแล้ว พร้อมทั้งบริวารก็บรรลุพระอรหัตตผล ดำรงอยู่ในความเป็นเอหิภิกขุ.

ฝ่ายพระศาสดาได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ประทับอยู่ ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตลอดภายในพรรษาแรก ออกพรรษาปวารณาแล้วเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลานั้นตลอด ๓ เดือน ทรงแนะนำชฏิล ๓ พี่น้อง มีภิกษุพันหนึ่งเป็นบริวาร ในวันเพ็ญเดือนยี่ เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ๒ เดือน. โดยลำดับกาลมีประมาณเท่านี้เป็นเวลา ๕ เดือน สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จออกจากกรุงพาราณสี ฤดูเหมันต์ทั้งสิ้นล่วงไปแล้ว จำเดิมแต่วันที่พระอุทายีเถระมาแล้ว เวลาได้ล่วงไป ๗-๘วัน ในวันเพ็ญเดือน ๔ พระอุทายีเถระนั้นคิดว่า ฤดูเหมันต์ก็ล่วงไปแล้ว ฤดูวสันต์กำลัง ย่างเข้ามา พวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าไปแล้ว ทำให้หนทางในที่ที่ตรงหน้าๆ ชุ่ม แผ่นดินดาดาษไปด้วยหญ้าเขียวสด ราวป่ามีดอกไม้บานสะพรั่ง หนทางเหมาะแก่ การที่จะเดิน กาลนี้เป็นกาลที่พระทศพลจะทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติ ลำดับนั้น พระอุทายีเถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนาหนทางเสด็จเพื่อต้องการให้พระทศพลเสด็จไปยังพระนครของราชสกุล ด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ต้นไม้ทั้งหลายมี ดอกแดงสะพรั่ง มีผลเต็มต้นสลัดใบแล้ว ต้นไม้เหล่านั้นสว่างไสวดุจมีเปลวไฟโชติช่วงอยู่ ข้าแต่พระมหาวีระ ถึงสมัยที่เหมาะสมแก่การที่พระองค์จะรื่นรมย์ สถานที่ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ไม่อัตคัดและอดอยากนัก พื้นภูมิภาคก็มีห้าแพรกอันเขียวสด ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้เป็นกาลสมควรแล้วที่จะเสด็จไป.


ความคิดเห็น 141    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 141

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะอุทายีเถระว่า อุทายีเพราะเหตุไรหนอเธอจึงพรรณนาการไปด้วยเสียงอันไพเราะ พระอุทายีเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระชนกของพระองค์ มีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์จงกระทำการสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายเถิด พระศาสดาตรัสว่าดีละอุทายี เราจักกระทำการสงเคราะห์พระญาติ เธอจงบอกแก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้บำเพ็ญคมิกวัตรสำหรับผู้จะไป พระเถระรับพระพุทธดำรัสแล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยภิกษุขีณาสพทั้งสิ้นสองหมื่นองค์คือ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรชาวอังคะและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรชาวเมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จเดินทางวันละหนึ่งโยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จักเสด็จจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ทาง ๖๐ โยชน์ โดยเวลา ๒ เดือน จึงเสด็จหลีกจาริกไปโดยไม่รีบด่วน ฝ่ายพระเถระคิดว่า จักกราบทูลความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมาแล้ว จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสไปปรากฏในพระราชนิเวศน์ของพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระเถระแล้วทรงดีพระทัย นิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามาก ได้ทรงนำบาตรให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ที่เขาจัดเตรียมไว้เพื่อพระองค์แล้วถวายไป พระเถระลุกขึ้นแสดงอาการจะไป พระราชาตรัสว่าจงนั่งฉันเถิดพ่อ พระเถระทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักไปยังสำนักของพระศาสดาแล้วจักฉัน. พระราชาตรัสว่า พระศาสดาอยู่ที่ไหนละพ่อ พระอุทายีเถระทูลว่า มหาบพิตร พระศาสดามีภิกษุ ๒ หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกเพื่อจะเห็นพระองค์ พระราชาทรงดีพระทัยตรัสว่า ท่านฉันภัตตาหารนี้แล้วจงนำบิณฑบาตจากพระราชนิเวศน์นั้นไปถวายพระโอรสนั้น จนกว่าพระโอรสของเราจะถึงพระนครนี้. พระเถระรับแล้ว พระราชาอังคาสพระเถระแล้วอบบาตรด้วย


ความคิดเห็น 142    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 142

จุรณหอม บรรจุเต็มด้วยโภชนะอันอุดม แล้ววางไว้ที่มือของพระเถระ โดยตรัสว่า ท่านจงถวายพระตถาคต. พระเถระเมื่อชนชาววังทั้งปวงเห็นอยู่นั่นแลได้โยนบาตรขึ้นไปบนอากาศ ส่วนตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาสนำบิณฑบาตไปวาง เฉพาะที่พระหัตถ์ของพระศาสดาโดยตรง พระศาสดาเสวยบิณฑบาตนั้น พระเถระได้นำบิณฑบาตมาทุกวันๆ โดยอุบายนี้. แม้พระศาสดาก็เสวย บิณฑบาตเฉพาะของพระราชาเท่านั้น ในระหว่างเดินทาง ในเวลาเสด็จภัตกิจทุกๆ วัน แม้พระเถระก็กล่าวว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสิ้นระยะทางมีประมาณเท่านี้ วันนี้ เสด็จมาสิ้นระยะทางมีประมาณเท่านี้ ได้กระทำราชสกุลทั้งสิ้นให้มีความเลื่อมใสเกิดขึ้นในพระศาสดา โดยเว้นการได้เห็นพระศาสดาด้วยธรรมีกถาอันสัมปยุตด้วยพุทธคุณ. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระศาสดาจึงสถาปนาพระอุทายีเถระนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกาฬุทายีนั้นเป็นเลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายของเราผู้ยังตระกูลไห้เลื่อมใส.

ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงโดยลำดับแล้ว ได้ปรึกษากันว่า พวกเราจักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา จึงประชุมกันพิจารณาสถานที่เป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า กำหนดกันว่าอารามของเจ้านิโครธศากยะน่ารื่นรมย์ จึงให้กระทำวิธีการซ่อมแซมทุกอย่างในอารามนั้น ถือของหอมและดอกไม้ เมื่อจะกระทำการต้อนรับ จึงส่งเด็กชายและเด็กหญิงชาวบ้านหนุ่มสาว ซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่างไปก่อน จากนั้นจึงส่งราชกุมารและราชกุมารีไป ตนเองบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และจุรณเป็นต้นอยู่ในระหว่างราชกุมารและราชกุมารีเหล่านั้น ได้พาพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังนิโครธารามนั้นเอง ในนิโครธารามนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ๒ หมื่น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาด ไว้แล้ว. ธรรมดาเจ้าศากยะทั้งหลายผู้มีพระชาติมานะถือตัวจัด เจ้าศากยะ


ความคิดเห็น 143    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 143

เหล่านั้นทรงพระดำริว่า สิทธัตถกุมารเป็นเด็กกว่าเราทั้งหลาย เป็นพระกนิษฐา เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระนัดดา ของเราทั้งหลาย จึงตรัสกะราชะกุมารทั้งหลายที่หนุ่มๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกเราจักนั่งข้างหลังท่านทั้งหลาย.

เมื่อศากยะเหล่านั้นไม่ถวายบังคมประทับนั่งแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วทรงพระดำริว่า พระญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอาเถอะ เราจักให้พระญาติเหล่านั้นไหว้ จึงทรงเข้าจตุตถฌานมีอภิญญาเป็นบาท ออกจากฌานแล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ปานประหนึ่งโปรยธุลีพระบาทลงบนพระเศียรของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำ ปาฏิหาริย์เช่นเดียวกับยมกปาฏิหาริย์ที่ควงต้นฑามพพฤกษ์ พระราชาทรงเห็น ความอัศจรรย์นั้นจึงตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันที่พระองค์ประสูติ หม่อมฉันแม้ได้เห็นพระบาทของพระองค์ ซึ่งหม่อมฉันนำเข้าไปให้ไหว้กาลเทวลดาบส กลับไปประดิษฐานบนกระหม่อมของพราหมณ์ ก็ได้ไหว้พระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งแรกของหม่อมฉัน ในวันวัปปมงคลแรกนาขวัญ. ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของร่มเงาไม้หว้าของพระองค์ ผู้บรรทมอยู่บนที่บรรทมอันประกอบด้วยสิริใต้ร่มเงาไม้หว้า ก็ได้ไหว้พระบาท นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สอง บัดนี้ แม้ได้เห็นปาฏิหาริย์นี้ซึ่งไม่เคยเห็น จึงไหว้พระบาทของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สามของหม่อมฉัน. ก็เมื่อพระราชาถวายบังคมแล้ว แม้เจ้าศากยะพระองค์หนึ่งชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วดำรงอยู่ ไม่ได้มี เจ้าศากยะทั้งปวงพากันถวายบังคมทั้งหมด

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคมด้วยประการดังนี้แล้ว จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่งบนพระอาสน์ที่ลาดไว้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ


ความคิดเห็น 144    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 144

นั่งแล้ว สมาคมพระญาติอันถึงสุดยอดจึงได้มีขึ้น. เจ้าศากยะทั้งปวงเป็นผู้มีพระทัยแน่วแน่ประทับนั่งแล้ว. ลำดับนั้น มหาเมฆได้ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมา น้ำสีแดงมีเสียงไหลไปข้างล่าง และผู้ประสงค์จะให้เปียกจึงจะเปียก ฝนโบกขรพรรษ แม้มาตรว่าหยาดเดียวก็ไม่ตกลงบนร่างกายของผู้ที่ไม่ประสงค์จะให้เบียก. เจ้าศากยะทั้งปวงเห็นดังนั้นเกิดอัศจรรย์ไม่เคยเป็น จึงสั่งสนทนากันว่า โอ! น่าอัศจรรย์ โอ! ไม่เคยมี พระศาสดาตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมแห่งพระญาติของเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในอดีตก็ได้ตกแล้ว จึงตรัสเวสสันดรชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้. เจ้าศากยะทั้งปวงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคมแล้วหลีกไป. พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาแม้พระองค์เดียว ชื่อว่ากราบทูลว่า ขอพระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ทั้งหลายในวันพรุ่งนี้ ดังนี้แล้วจึงเสด็จไป มิได้มีเลย.

วันรุ่งขึ้นพระศาสดาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสองหมื่นองค์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสด์. ไม่มีใครๆ จะไปนิมนต์หรือรับบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่เสาเขื่อน ทรงพระรำพึงว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลายเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครของตระกูลอย่างไรหนอ ได้เสด็จไปยังเรือนของอิสรชนโดยข้ามลำดับ หรือเสด็จเที่ยวจาริกไปตามลำดับตรอก. แต่นั้นไม่ได้ทรงเห็นแม้พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเสด็จไปโดยข้ามลำดับ แล้วทรงพระดำริว่า นี้เท่านั้นเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น นี้เป็นประเพณีของเรา แม้เราก็ควรจะยกไว้ในบัดนี้ และสาวกทั้งหลายของเราสำเหนียกตามเราอยู่นั่นแล จักบำเพ็ญบิณฑบาตจาริกวัตรต่อไป จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไป ตามลำดับตรอก ตั้งแต่เรือนที่ตั้งอยู่ในที่สุดไป มหาชนเล่าลือกันว่า ได้ยินว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้าเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จึงเปิดหน้าต่างบนปราสาทชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ เป็นต้น ได้เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดู.


ความคิดเห็น 145    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 145

ฝ่ายพระเทวีมารดาพระราหุล ทรงพระดำริว่า นัยว่าพระลูกเจ้าเสด็จ เที่ยวไปด้วยวอทองเป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่งใหญ่ในพระนครนี้แหละ บัดนี้ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ถือกระเบื้องเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดสีหบัญชรทอดพระเนตรตรวจดูอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังถนนในพระนครให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระอันรุ่งเรืองด้วยความรุ่งเรืองต่างๆ ไพโรจน์ด้วยพุทธสิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สว่างด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ซึ่งตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้านละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิสจนถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหะ ๘ ประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้นรสีหะมีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้นพระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้งอ่อนยาวพอเหมาะ ซ่านไปด้วยพระข่ายแห่งพระรัศมี ดังนี้.

แล้วจึงกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว. พระราชาทรงสลดพระทัย ทรงจัดผ้าสาฎกให้เข้าที่ด้วยพระหัตถ์ รีบด่วนเสด็จออกไปโดยเร็ว ประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วตรัสว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงกระทำหม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไร จึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึงกระทำความสำคัญว่า ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร อันนี้เป็นวงศ์ เป็นจารีตของอาตมภาพ.

พระราชาตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทั้งหลายมีวงศ์เป็นกษัตริย์มหาสมมติราชมิใช่หรือ ก็ในวงศ์กษัตริย์มหาสมมติราชนั้น แม้กษัตริย์พระองค์หนึ่งชื่อว่า


ความคิดเห็น 146    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 146

เที่ยวไปเพื่อภิกขาจาร ย่อมไม่มี. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์นี้ เป็นวงศ์ของพระองค์. แต่ชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือ พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระกัสสปะ เป็นวงศ์ของอาตมภาพ และพระพุทธเจ้าอื่นๆ นับได้หลายพัน ได้สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการภิกขาจารเท่านั้น ประทับยืนในระหว่างถนนนั้นแล ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าว อันบุคคลพึงลุกขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า.

ในเวลาจบคาถา พระราชาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, และได้สดับคาถานี้ว่า

บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรมเป็นปรกติย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ดังนี้.

ได้ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล, ได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล, ในสมัยใกล้จะสวรรคต ทรงบรรทมบนพระที่บรรทมอันประกอบด้วย สิริภายใต้เศวตฉัตร ได้บรรลุพระอรหัต. กิจในการตามประกอบความเพียรโดยการอยู่ป่า ไม่ได้มีแก่พระราชา. ก็ครั้นทรงกระทำให้แจ้งเฉพาะโสดาปัตติผลเท่านั้น ทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริษัทให้เสด็จขึ้นสู่มหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต. ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมทั้งปวงยกเว้นพระมารดาพระราหุล พากันมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็พระมารดาของพระราหุลนั้น แม้ชนผู้เป็นบริวารจะกล่าวว่า พระองค์จงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า


ความคิดเห็น 147    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 147

เถิด ก็ตรัสว่า ถ้าคุณของเรามีอยู่ไซร้ พระลูกเจ้าจักเสด็จมายังสำนักของเรา ด้วยพระองค์เองที่เดียว เราจักถวายบังคมพระลูกเจ้านั้นผู้เสด็จมาเท่านั้น ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็มิได้เสด็จไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระราชาถือบาตรแล้วเสด็จไปยังห้องอันมีสิริของพระราชธิดา พร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสอง แล้วตรัสว่า พระราชธิดาเมื่อถวายบังคมตามชอบใจ ไม่พึงกล่าวคำอะไรๆ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. พระราชธิดาเสด็จมาโดยเร็วจับข้อพระบาททั้งสอง เกลือกพระเศียรบนหลังพระบาท ถวายบังคมตามพระอัธยาศัย พระราชาตรัสคุณสมบัติมีความรักและความนับถือมากในพระผู้มีพระภาคเจ้าของพระราชธิดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธิดาของหม่อมฉันได้ฟังข่าวว่า พระองค์ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ตั้งแต่นั้นก็ทรงผ้ากาสาวะบ้าง ได้สดับว่า พระองค์มีภัตหนเดียว ก็มีภัตหนเดียวบ้าง ทรงสดับว่าพระองค์ทรงละที่นั่งที่นอนใหญ่ ก็ทรงบรรทมเฉพาะบนเตียงน้อยอันขึงด้วยแผ่นผ้า ทรงทราบว่า พระองค์ทรงละเว้นจากของหอมมีดอกไม้เป็นต้น ก็ทรงงดเว้นดอกไม้และของหอมบ้าง เมื่อพระญาติทรงส่งข่าวมาว่า เราทั้งหลายจักปฏิบัติในญาติทั้งหลายของตน ก็ไม่ทรงเหลียวแลแม้พระญาติสักองค์เดียว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระธิดาของหม่อมฉันเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ข้อที่พระราชธิดาอันพระองค์รักษาคุ้มครองอยู่ในบัดนี้ พึงรักษาคุ้มครองตนในเมื่อญาณแก่กล้าแล้วนั้น ไม่น่าอัศจรรย์ เมื่อก่อนราชธิดานี้ ไม่มีการอารักขา ท่องเที่ยวอยู่ที่เชิงเขา ก็รักษาตนอยู่ได้ในเมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ดังนี้ แล้วทรงบรรเทาความเศร้าโศกของพระราชธิดานั้น ตรัสจันทกินรีชาดก ทรงให้โสดาปัตติผล แล้วลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป.

ในวันที่สอง เมื่อวิวาหมงคลเนื่องในการเสด็จเข้าพระตำหนักอภิเษกของนันทราชกุมาร ดำเนินไปอยู่


ความคิดเห็น 148    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 148

พระศาสดาเสด็จไปยังตำหนักของนันทราชกุมารนั้น ทรงให้พระกุมารถือบาตร มีพระประสงค์จะให้บวช จึงตรัสมงคลกถาแล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป นางชนบทกัลยาณี เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์ควรเสด็จกลับมาโดยด่วน แล้วทรงชะเง้อพระศอแลดู ฝ่ายพระกุมารนั้น ไม่อาจทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับเอาบาตรไป ได้เสด็จไปยังวิหารนั่นแล. นันทกุมารนั้นไม่ปรารถนาเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้บรรพชาแล้ว. ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปกบิลพัสดุ์บุรีทรงให้นันทกุมารบวช ด้วยประการฉะนี้.

ในวันที่ ๗ พระมารดาพระราหุลประดับพระกุมารแล้วส่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระดำรัสว่า ลูกเอย เจ้าจงดูพระสมณะซึ่งมีรูปดังพรหม มีวรรณะดังทองคำ แวดล้อมด้วยสมณะ ๒ หมื่นองค์อย่างนั้น พระสมณะนี้เป็นพระบิดาของเจ้า พระสมณะนั้นได้มีขุมทรัพย์ใหญ่ จำเดิมแต่พระสมณะนั้นออกบวชแล้ว แม่ไม่เห็นขุมทรัพย์เหล่านั้น เจ้าจงไปขอมรดกกะพระสมณะนั้นว่า ข้าแต่พระบิดา ข้าพระองค์เป็นกุมาร ได้รับอภิเษกแล้วจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์แก่ข้าพระองค์ เพราะบุตรย่อมเป็นเจ้าของสิ่งของอันเป็นของบิดา. พระกุมารเสด็จไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว กลับได้ความรักต่อพระบิดามีจิตใจร่าเริงนักกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ร่มเงาของพระองค์เป็นสุข แล้วได้ยืนตรัสถ้อยคำอย่างอื่นอันสมควรแก่พระองค์เป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภัตกิจแล้วทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ฝ่ายพระกุมารเสด็จติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปโดยตรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานมรดกแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานมรดกแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไม่ให้พระกุมารกลับ. บริวารชนไม่ได้อาจเพื่อ


ความคิดเห็น 149    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 149

จะยังพระกุมารผู้เสด็จไปพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้กลับ. พระกุมารนั้นได้เสด็จไปยังพระอารามพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไป ทรงพระดำริว่า กุมารนี้ปรารถนาทรัพย์อันเป็นของบิดา ซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะ มีความคับแค้น เอาเถอะเราจะให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ ซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมัณฑ์แก่กุมารนี้ เราจะกระทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์มรดกอันเป็นโลกุตระ แล้วตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ราหุลกุมารบวช. ก็เมื่อพระกุมารบวชแล้ว ทุกข์มีประมาณยิ่งเกิดขึ้นแก่พระราชา. เมื่อไม่ทรงสามารถจะอดกลั้นความทุกข์นั้น จึงทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ. แล้วทรงขอพรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังหม่อมฉันจะขอโอกาส พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่พึงบวชบุตรที่ บิดามารดายังไม่อนุญาต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระดำรัสนั้นของพระราชานั้น ในวันรุ่งขึ้น เสวยพระกระยาหารเข้าในพระราชนิเวศน์ เมื่อพระราชาผู้ประทับนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เทวดาองค์หนึ่งเข้าไปหาหม่อมฉันกล่าวว่า พระโอรสของพระองค์ทรงทำกาละแล้ว หม่อมฉันไม่เชื่อคำของเทวดานั้น ห้ามเทวดานั้นว่า บุตรของเรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณจะยังไม่ทำกาละ จึงตรัสว่าบัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในกาลก่อน เมื่อคนเอากระดูกแสดง แล้วกล่าวว่า บุตรของท่านตายแล้ว พระองค์ก็ยังไม่เชื่อ แล้วตรัสมหาธรรมปาลชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น. ในเวลาจบพระคาถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระอนาคามิผล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในผลทั้ง ๓ ด้วยประการดังนี้แล้ว อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปกรุงราชคฤห์อีก ทรงประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน.

สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุก สินค้าไปยังเรือนของเศรษฐีผู้เป็นสหายที่รักของตนในกรุงราชคฤห์ ได้สดับว่า


ความคิดเห็น 150    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 150

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในกรุงราชคฤห์นั้น ในเวลาใกล้รุ่งได้ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทางประตูที่เปิดด้วยอานุภาพของเทวดา ฟังธรรมแล้วได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตตผล ในวันที่สอง ได้ถวายมหาทานแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้ขอให้พระศาสดาทรงรับปฏิญญาที่จะเสด็จมาเมืองสาวัตถี ในระหว่างทางได้ให้ทรัพย์แสนหนึ่งสร้างวิหาร (ระยะทางห่างกัน) โยชน์หนึ่ง แล้วซื้อสวนของเจ้าเชตด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ โดยการปูลาดกหาปณะจำนวน โกฏิ (เต็มเนื้อที่) แล้วทำการก่อสร้างเสร็จ (คือ) ให้สร้างพระคันธกุฏีเพื่อพระทศพลตรงกลาง แล้วให้สร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจรายล้อมพระคันธกุฏีนั้น ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ด้วยการบริจาคเงิน ๑๘ โกฏิ คือ ให้สร้างเสนาสนะเช่นกุฏิหลังเดียว กุฏิสองหลัง กุฏิทรงหงส์เวียน ศาลาราย และปะรำเป็นต้นและสระโบกขรณี ที่จงกรม ที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน โดยเป็นอาวาสสำหรับอยู่อาศัยเฉพาะผู้เดียว ตามลำดับๆ เพื่อพระเถระผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ แล้วส่งทูตไปเพื่อต้องการให้พระทศพลเสด็จมา.พระศาสดาได้ทรงสดับคำของทูตแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร. เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ.

ฝ่ายมหาเศรษฐีแลเตรียมการฉลองพระวิหารในวันที่พระตถาคตเสด็จเข้าพระเชตวันวิหาร ได้ตกแต่งประดับประดาบุตรด้วยอลังการเครื่องประดับทั้งปวง แล้วส่งไปพร้อมกับกุมาร ๕๐๐ คน ผู้ตกแต่งประดับประดาแล้ว. บุตรเศรษฐีนั้นพร้อมทั้งบริวาร ถือธง ๕๐๐ คันอันเรื่องรองด้วยผ้าห้าสี ได้อยู่ข้างเบื้องพระพักตร์ของพระทศพล. ข้างหลังของกุมารเหล่านั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ นาง คือ สุภัททา และจุลลสุภัททา พร้อมกับกุมารี ๕๐๐ นาง ถือหม้อเต็มด้วยน้ำเดินออกไป. ข้างหลังของกุมารีเหล่านั้น ภรรยาของท่านเศรษฐีประดับด้วยอลังการทั้งปวง พร้อมกับมาตุคาม ๕๐๐ นาง ถือถาดเต็ม (ด้วยอาหาร) ออกไปเบื้องหลังของคนทั้งหมด ท่านมหาเศรษฐี


ความคิดเห็น 151    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 151

เองนุ่งผ้าใหม่ พร้อมกับเศรษฐี ๕๐๐ คนผู้นุ่งผ้าใหม่ มุ่งไปเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอุบาสกบริษัทนี้ไว้ข้างหน้า แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงกระทำระหว่างป่าให้เป็นดุจสีแดงเรื่อๆ อันราดรดด้วยรสน้ำทอง ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ เสด็จเข้าสู่พระเชตวันวิหารด้วยพุทธลีลาอันต่อเนื่องกัน และด้วยพุทธสิริอันหาที่เปรียบมิได้. ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะปฏิบัติในพระวิหารนี้อย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงถวายแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ที่มาแล้วๆ ยังวิหารนี้เถิด ท่านมหาเศรษฐีรับพระพุทธฎีกาแล้ว ถือน้ำเต้าทอง หลั่งน้ำลงบนพระหัตถ์ของพระทศพล แล้วกล่าวถวายด้วยคำว่า ข้าพระองค์ขอถวายพระเชตวันวิหารนี้แก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานซึ่งมาแล้วทั้ง ๕ ทิศ. พระศาสดาทรงรับวิหารแล้ว เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนาได้ตรัสอานิสงส์ของการถวายวิหารว่า

เสนาสนะย่อมป้องกันเย็นและร้อน และแต่นั้นย่อมป้องกันเนื้อร้าย งู ยุง น้ำค้างและฝน แต่นั้น ลมและแดดอันกล้าเกิดขึ้นแล้ว ย่อมบรรเทาไป การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทั้ง หลายสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ. เพราะเหตุนั้นแล บุรุษบัณฑิตเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพหูสูตอยู่เถิด. อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะ แก่ท่านเหล่านั้น ด้วยน้ำใจอันเลื่อมใส ในท่านผู้ซื่อตรง เขารู้ธรรมอัน


ความคิดเห็น 152    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 152

ใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ท่านย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา.

จำเดิมแต่วันที่สองไป ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเริ่มการฉลองวิหาร. การฉลองวิหารของนางวิสาขา ๔ เดือนเสร็จ แต่การฉลองวิหารของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๙ เดือนจึงเสร็จ. หมดทรัพย์ไป ๑๘ โกฏิทีเดียว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีบริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิ เฉพาะวิหารหลังเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในอดีตกาล ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี เศรษฐีนามว่า ปุนัพพสุมิตต์ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณหนึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี เศรษฐีนามว่า สิริวัฑฒะ ซื้อที่โดยการปูลาดข่ายทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณ ๓ คาวุตลงในที่นั้นนั่นแหละ. ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู เศรษฐีนามว่า โสตถิยะซื้อที่โดยการปูลาดรอยเท้าช้างทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณกึ่งโยชน์ลงในที่นั้นนั่นแหละ ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ เศรษฐีนามว่า อัจจุตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำเหมือนกันแล้วให้สร้างสังฆารามประมาณหนึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ. ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ เศรษฐีนามว่า อุคคะ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทอง, คำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณกึ่งคาวุตลงในที่นั้นนั่นแหละ ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ เศรษฐีนามว่า สุมังคละ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณ ๑๖ กรีสลงในทีนั้นนั่นแหละ แต่ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เศรษฐีนามว่า อนาถบิณฑิกะ ซื้อที่


ความคิดเห็น 153    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 153

โดยการปูลาดกหาปณะจำนวนโกฏิ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณ ๘ กรีส ลงในพื้นที่นั้นนั่นแหละ. ได้ยินว่า ที่นั้นเป็นสถานที่อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงมิได้ทรงละเลยแล้ว.

ตั้งแต่ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่มหาโพธิมัณฑ์ จนกระทั่งถึงเตียงเป็นที่เสด็จมหาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสถานที่ใด สถานที่นี้ ชื่อว่า สันติเกนิทาน ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาชาดกทั้งปวง ด้วยอำนาจสันติเกนิทานนั้นแล.

จบนิทานกถาด้วยประการฉะนี้


ความคิดเห็น 154    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

รพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 154

อรรถกถาชาดก

เอกนิบาต

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อรรถกถาอปัณณวรรค

๑. อปัณณกชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ตรัสอปัณณธรรมเทศนานี้ก่อน. ถามว่า ก็เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะปรารภใคร? ตอบว่า เพราะปรารภสาวกของเดียรถีย์สหาย ของท่านเศรษฐี.

ความพิศดารมีว่า วันหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชักพาพวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของตน ให้ถือระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้เป็นอันมาก และน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเครื่องปกปิด ไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น สละเภสัชและผ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง โดยเว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการ สาวกของอัญญเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ถวายบังคมพระตถาคตแล้ว แลดูพระพักตร์ของพระศาสดา อันงามสง่าดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ แลดูพระวรกายดุจกายพรหมอันประดับด้วยพระลักษณะและพระอรถพยัญชนะ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา แลดูพระพุทธรังสีอันหนาแน่นซึ่งเปล่งออกเป็นวงๆ (ดุจพวงอุบะ) เป็นคู่ๆ จึงนั่งใกล้ๆ


ความคิดเห็น 155    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุ.ตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 155

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาอันไพเราะวิจิตรด้วยนัยต่างๆ ด้วยพระสุรเสียงประดุจเสียงพรหม น่าสดับฟัง ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ แก่สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ปานประหนึ่งราชสีห์หนุ่มบันลือสีหนาทบนพื้นมโนศิลา เหมือนเมฆฤดูฝนเลื่อนลั่นอยู่ เหมือนทำคงคาในอากาศให้หลั่งลงมา และเหมือนร้อยพวงแก้วฉะนั้น. สาวก ของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใสลุกขึ้นถวายบังคมพระทศพล ทำลายสรณะของ อัญญเดียรถีย์แล้ว ได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ. จำเดิมแต่นั้น พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปพระวิหาร ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นนิตยกาล. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจากกรุงสาวัตถีกลับไปกรุงราชคฤห์อีกแล. ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปแล้ว สาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้ทำลายสรณะนั้นเสีย กลับไปถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะอีก ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นเค้ามูลเดิมของตนนั่นเอง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ๗ - ๘ เดือน ได้เสด็จกลับไปยังพระเชตวันเหมือนเดิมอีก. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็พาสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นไปเฝ้าพระศาสดาแม้อีก บูชาพระศาสดาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พวกสาวกอัญญเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความที่พวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปแล้ว ได้ทำลายสรณะที่รับไว้ กลับไปถืออัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ ดำรงอยู่ในฐานะเดิมอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเผยมณฑลพระโอษฐ์ ประดุจเปิดผอบแก้วอันเต็มด้วยของหอมต่างๆ


ความคิดเห็น 156    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุต-ตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 156

อันมีกลิ่นหอมด้วยของหอมอันเป็นทิพย์ เพราะอานุภาพของวจีสุจริตที่ทรงบำเพ็ญให้เป็นไปไม่ขาดสาย สิ้นโกฏิกัปป์นับไม่ถ้วน เมื่อจะทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า ได้ยินว่า พวกท่านผู้เป็นอุบาสก ทำลายสรณะ ๓ เสียแล้วถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ จริงหรือ? ลำดับนั้น เมื่อพวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นไม่อาจปกปิดไว้ได้ พากันกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในโลกธาตุ เบื้องล่างจดอเวจีมหานรก เบื้องบนจดภวัคคพรหม และตามขวางหาประมาณมิได้ ชื่อว่าบุคคลเช่นกับพระพุทธเจ้าโดยพระคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ย่อมไม่มี บุคคลที่ยิ่งกว่าจักมีมาแต่ไหน แล้วทรงประกาศคุณของพระรัตนตรัยที่ทรงประกาศไว้ด้วยพระสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเพียงใด ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้าก็ตาม มี ๔ เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม ฯลฯ พระตถาคต เรากล่าวว่าเป็นเลิศของสัตว์ทั้งหลาย มีประมาณเพียงนั้น. (และพระสูตรว่า) ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น ฯลฯ รัตนะอันนั้น เสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย. (และพระสูตรว่า) เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯลฯ แล้วจึงตรัสว่า บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยอุดมคุณอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดนั้นเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติเพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันทำลายสรณะเห็นปานนี้ แล้วถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ กระทำกรรมอันไม่สมควรเลย.

ก็ในที่นี้ เพื่อจะแสดงถึงความที่บุคคลผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยอำนาจความหลุดพ้น และด้วยอำนาจเป็นรัตนะอันสูงสุด จะไม่มีการบังเกิดในอบายทั้งหลาย บัณฑิตพึงแสดงพระสูตรเหล่านี้ว่า


ความคิดเห็น 157    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 157

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้น จักไม่เข้าถึงอบายภูมิ ละร่างกายของมนุษย์นี้ไปแล้ว จักยัง กายเทพให้บริบูรณ์.

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ชนเหล่านั้น จักไม่เข้าถึงอบายภูมิ ละร่างกายของมนุษย์นี้ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ชนเหล่านั้น จักไม่เข้าถึงอบายภูมิ ละร่างกายของมนุษย์นี้ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขาบ้าง ป่าบ้าง อารามและต้นไม้ที่เป็นเจดีย์บ้าง ว่าเป็นสรณะ นั่นแลมิใช่สรณะอันเกษม นั่นมิใช่สรณะอันอุดม เขาอาศัยสิ่งนั้นเป็นสรณะแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา อันชอบ คือทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ (คือสมุทัย) และความก้าวล่วงทุกข์ (คือนิโรธ) และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ไห้ถึงพระนิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอันเกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม เขาอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้แล. - -


ความคิดเห็น 158    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 158

ก็พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีประมาณเท่านี้เท่านั้น แก่พวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ยังไม่สิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่งแล ได้ทรงแสดงธรรมโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน ธัมมานุสสติกัมมัฏฐาน สังฆานุสสิตกัมมัฏฐาน ย่อมให้โสดาปัตติมรรค ย่อมให้โสดาปัตติผล ย่อมให้สกทาคามิมรรค ย่อมให้สกทาคามิผล ย่อมให้อนาคามิมรรค ย่อมให้อนาคามิผล ย่อมให้อรหัตตมรรค ย่อมให้อรหัตตผล ครั้นทรงแสดงธรรม แล้วจึงตรัสว่า พวกท่านทำลายสรณะชื่อเห็นปานนี้ การทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว อนึ่ง พุทธานุสสติกัมมัฏฐานเป็นต้น อันเป็นทางให้ถึงโสดาปัตติมรรคเป็นต้น นี้พึงแสดงโดยพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเอกอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรมเอกเป็นไฉน? คือพุทธานุสสติ ดังนี้.

ก็แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงโอวาทอุบาสกทั้งหลาย โดยประการต่างๆ อย่างนี้แล้ว ได้ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่สรณะ ว่าเป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือเอาผิด ได้ตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ซึ่งอมนุษย์หวงแหนแล้ว ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม ยึดถือความแน่นอน ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดารนั้นนั่นเอง ครั้นตรัสแล้วได้ทรงนิ่งเสีย. ลำดับนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวชมเชยแล้ว ประคองอัญชลีเหนือเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า บัดนี้ การที่พวกอุบาสกเหล่านี้ ทำลายสรณะอันอุดมแล้ว ถือสรณะยึดถือเอาด้วยการคาดคะเน ยึดถือเอาอย่างผิดๆ


ความคิดเห็น 159    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ ' - หน้า 159

ปรากฏแก่ข้าพระองค์ก่อน ส่วนในปางก่อน พวกมนุษย์ผู้ยึดถือด้วยการคาดคะเน มีความพินาศ และพวกมนุษย์ผู้ยึดถือโดยชอบธรรม มีความสวัสดีในทางกันดารที่อมนุษย์หวงแหน ยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เลย ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงกระทำเหตุนี้ให้ปรากฏ เหมือนยังพระจันทร์เต็มดวงให้เด่นขึ้นในอากาศฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เราแลบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศในกาลหาปริมาณมิได้ ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ก็เพื่อจะคัดความสงสัยของชาวโลกนั่นแล ท่านจงเงี่ยโสตฟังโดยเคารพ เหมือนบุคคลเอาถาดทองคำบรรจุเต็มด้วยน้ำมันเหลวแห่งราชสีห์ฉะนั้น แล้วทรงยังสติให้เกิดแก่เศรษฐี แล้วได้ทรงกระทำเหตุการณ์ แม้อันระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ ดุจทำลายกลุ่มหมอกนำพระจันทร์เพ็ญออกมาฉะนั้น.

ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัตอยู่ในพระนครพาราณสีแคว้นกาสิกรัฐ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน ถึงความเจริญวัยโดยลำดับ ได้เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. พระโพธิสัตว์นั้น บางครั้งเดินทางจากต้นแดนไปยังปลายแดน บางครั้งจากปลายแดนไปยังต้นแดน. ก็ในเมืองพาราณสีนั่นแหละ มีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง. บุตร พ่อค้าเกวียนคนนั้น เป็นคนเขลา ไม่เป็นคนมีปัญญา ไม่ฉลาด ในอุบาย. ในกาลนั้น พระโพธิสัตวมาเอาสินค้ามีค่ามากจากเมืองพาราณสีบันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม ทำการเตรียมจะเดินทางแล้วพักอยู่. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้นก็บันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วทำการเตรียมเดินทางพักอยู่. พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้จักไปพร้อม


ความคิดเห็น 160    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 160

กับเราทีเดียวไซร้ เมื่อเกวียนพันเล่มไปพร้อมกัน แม้ที่ก็จักไม่พอเดิน ฟืนและน้ำเป็นต้น ของพวกมนุษย์ก็ดี หญ้าของพวกโคก็ดี จักหาได้ยาก บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้หรือเรา ควรจะไปข้างหน้า. พระโพธิสัตว์นั้นจึงเรียกบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นมาบอกเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งสองไม่อาจไปรวมกัน ท่านจักไปข้างหน้าหรือข้างหลัง. บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นคิดว่า เมื่อเราไปข้างหน้าจะมีอานิสงส์มาก เราจักไปโดยหนทางยังไม่แตกเลย. พวกโคจักได้เคี้ยวกินหญ้าที่ยังไม่มีใครถูกต้อง พวกผู้คนจักมีผักอันเกื้อกูลแก่แกงซึ่งยังไม่ได้จับต้อง น้ำจักใส เราเมื่อไปตามชอบใจ จักตั้งราคาขายสินค้าได้. บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงกล่าว ว่า สหายเราจักไปข้างหน้า. พระโพธิสัตว์ได้เห็นการไปข้างหลังว่ามีอานิสงส์มาก. พระโพธิสัตว์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านั้นเมื่อไปข้างหน้า จักกระทำที่อันขรุขระในหนทางให้สม่ำเสมอ เราจักเดินทางไปตามทางที่คนเหล่านั้นไปแล้ว เมื่อโคพลิพัทธ์ (คือโคใช้งาน) ซึ่งไปข้างหน้ากินหญ้าแก่และแข็ง โคทั้งหลายของเราจักเคี้ยวกินหญ้าอร่อยซึ่งงอกขึ้นใหม่ ผักซึ่งใช้ทำแกงของพวกมนุษย์ ซึ่งงอกขึ้นจากที่ที่ถูกเด็ดเอาไป จักเป็นของอร่อย ในที่ที่ไม่มีน้ำ คนเหล่านั้นจักขุดบ่อทำให้น้ำเกิดขึ้น เราจักดื่มน้ำในบ่อที่คนเหล่านั้นขุดไว้ ชื่อว่าการตั้งราคาสินค้า เป็นเช่นกับการปลงชีวิตมนุษย์ เราไปข้างหลังจักขายสินค้า ตามราคาที่คนเหล่านี้ตั้งไว้. พระโพธิสัตว์นั้นเห็นอานิสงส์มีประมาณเท่านี้จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงไปข้างหน้าเถิด. บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลารับคำแล้ว จึงเทียมเกวียนทั้งหลายเป็นการใหญ่ ออกไปล่วงพ้นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ถึงปากทางกันดาร โดยลำดับ.

ชื่อว่ากันดารมี ๕ อย่าง คือ กันดารเพราะโจร ๑ กันดารเพราะสัตว์ร้าย ๑ กันดารเพราะขาดน้ำ ๑ กันดารเพราะอมนุษย์ ๑ กันดารเพราะอาหารน้อย ๑. ในกันดาร ๕ อย่างนั้นทางที่พวกโจรซุ่มอยู่ชื่อว่ากันดารเพราะโจร ทางที่สีหะ


ความคิดเห็น 161    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 161

เป็นต้นชุกชุม ชื่อว่ากันดารเพราะสัตว์ร้ายอาศัยอยู่. สถานที่ที่ไม่มีน้ำอาบหรือน้ำกิน ชื่อว่ากันดารเพราะขาดน้ำ. ทางที่อมนุษย์สิงอยู่ ชื่อว่ากันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่. สถานที่ซึ่งเว้นจากของควรเคี้ยวอันเกิดแต่หัวเป็นต้น ชื่อว่ากันดารเพราะอาหารน้อย ในกันดาร ๕ อย่างนี้ กันดารนั้นหมายเอากันดารเพราะการขาดน้ำและกันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่. เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้า เกวียนผู้เขลานั้นจึงตั้งตุ่มใหญ่ๆ ไว้บนเกวียนทั้งหลาย บรรจุเติมด้วยน้ำเดินทางกันดาร ๖๐ โยชน์.

ครั้นในเวลาที่บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้นถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์ผู้สิงอยู่ในทางกันดารคิดว่า เราจักให้พวกมนุษย์เหล่านี้ ทิ้งน้ำที่บันทุกมาเสีย ทำให้กะปลกกะเปลี้ยแล้วกินมันทั้งหมด จึงนิรมิตยานน้อย น่ารื่นรมย์ เทียมด้วยโคพลิพัทหนุ่มขาวปลอด ห้อมล้อมด้วยอมนุษย์ ๑๒ คน ชุ่มด้วยน้ำและโคลนถืออาวุธพร้อมทั้งโล่เป็นต้น ประดับดอกอุบลและโกมุท มีผมเปียกและผ้า เปียกนั่งมาบนยานน้อยนั้น ประหนึ่งคนเป็นใหญ่มีล้อยานเปื้อนเปือกตมเดินสวนทางมา.

ฝ่ายพวกอมนุษย์ผู้เป็นบริวารของยักษ์นั้นเดินไปมาข้างหน้าและข้างหลัง มีผมเปียกและผ้าเปียก ประดับดอกอุบลและดอกโกมุท ถือกำดอกปทุมและดอกบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีหยาดน้ำและโคลนหยด ได้พากันเดินไป. ก็ธรรมดาว่าพ่อค้าเกวียนทั้งหลาย ในกาลใด ลมพัดมาข้างหน้า ในกาลนั้น จะนั่งบนยานน้อยห้อมล้อมด้วยคนอุปัฏฐาก หลีกเลี่ยงฝุ่นในหนทางไปข้างหน้า ในกาลใด ลมพัดมาข้างหลัง ในกาลนั้น ก็หลีกไปทางข้างหลังโดยนัยนั้นนั่นแล. ก็ในกาลนั้น ได้มีลมพัดมาข้างหน้า เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น จึงได้ไปข้างหน้า.

ยักษ์นั้นเห็นบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นกำลังมาอยู่ จึงให้ยานน้อยของตนหลีกลงจากทางได้ทำการปฏิสันถารกับบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นว่า ท่านทั้งหลายจะไปไหน. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนก็ยังยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง


ความคิดเห็น 162    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 162

ให้โอกาสเกวียนทั้งหลายไป แล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่งกล่าวกะยักษ์ว่า ท่านผู้เจริญ ฝ่ายพวกเรามาจากเมืองพาราณสี ส่วนท่านทั้งหลายประดับดอกอุบลและโกมุท ถือดอกประทุมและบุณฑริกเป็นต้น เคี้ยวกินเหง้าบัว เปื้อนด้วยเปือกตม มีหยดน้ำไหล พากันมาในหนทางที่ท่านทั้งหลายมา ฝนตกหรือหนอ มีสระน้ำดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นต้นหรือ. ยักษ์ได้ฟังถ้อยคำของบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นแล้วจึงกล่าวว่า สหายท่านพูดอะไร ที่นั้น ราวป่าเขียวปรากฏอยู่ ตั้งแต่ที่นั้นไป ป่าทั้งสิ้นมีน้ำอยู่ทั่วไป ฝนตกเป็นประจำ แม้แต่ซอกเขาก็เต็ม (ด้วยน้ำ) ในที่นั้นๆ มีสระน้ำดารดาษด้วยดอกปทุม. เมื่อเกวียนทั้งหลายผ่านไปโดยลำดับ จึงถามว่า ท่านพาเกวียนเหล่านี้มา จะไปไหนกัน? บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า จะ ไปยังชนบทชื่อโน้น. ยักษ์กล่าวว่า ในเกวียนเล่มนี้และเล่มนี้ มีสินค้าชื่ออะไร. บุตรพ่อค้าเกวียนตอบว่า มีสินค้าชื่อโน้นและชื่อโน้น. ยักษ์กล่าวว่า เกวียนที่มาข้างหลังเป็นเกวียนหนักมาก กำลังมาอยู่ ในเกวียนนั้น มีสินค้าอะไร. บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ในเกวียนเล่มนี้มีน้ำ. ยักษ์กล่าวว่า ก่อนอื่นท่านทั้งหลายนำน้ำมาข้างหลังด้วย ได้การทำความเนิ่นช้าแล้ว ก็ตั้งแต่นี้ไป กิจด้วยน้ำย่อมไม่มี ข้างหน้ามีน้ำมาก ท่านทั้งหลายจงทุบตุ่ม เทน้ำทิ้งเสีย จงไปด้วยเกวียนเบาเถิด. ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงพูดว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถอะ ความชักช้าจะมีแก่พวกเรา แล้วเดินไปหน่อยหนึ่ง ถึงที่ที่คนเหล่านั้นมองไม่เห็นก็ได้ไปยังนครยักษ์ของตนนั้นแล.

ฝ่ายพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น เพราะความที่คนเป็นคนเขลาจึงเชื่อคำของยักษ์นั้น จึงให้ทุบตุ่มทั้งหลายทิ้งทั้งหมดไม่เหลือน้ำแม้สักฟายมือเดียว แล้วขับเกวียนไป ข้างหน้าชื่อว่าน้ำแม้มีประมาณน้อยมิได้มี. มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้น้ำดื่มพากันลำบากแล้ว คนเหล่านั้นพากันไปจนพระอาทิตย์อัสดงจึงปลดเกวียน พักเกวียนให้เป็นวงแล้วผูกโคที่ล้อเกวียน. น้ำไม่มีแก่พวกโคหรือข้าวยาคูและภัตก็ไม่มีแก่พวกมนุษย์. ฝ่ายพวกมนุษย์มีกำลังเปลี้ยลง ไม่


ความคิดเห็น 163    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 163

ใส่ใจพากันนอนหลับไปในที่นั้นๆ. ในลำดับอันเป็นส่วนราตรี ยักษ์ทั้งหลายมาจากนครยักษ์ ยังโคและมนุษย์ทั้งหมดนั้นแลให้ถึงแก่ความตาย แล้วกินเนื้อของโคและมนุษย์เหล่านั้น ไม่ไห้เหลือแม้แต่กระดูก แล้วจึงพากันไป. ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดถึงความพินาศ เพราะอาศัยบุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาคนเดียว ด้วยประการอย่างนี้ กระดูกมือเป็นต้นได้กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ เกวียน ๕๐๐ เล่มได้ตั้งอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มอย่างเดิมแล.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล จำเดิมแต่วันที่บุตรพ่อค้าเกวียนโง่ออกไปแล้ว ก็ยับยั้งอยู่ประมาณกึงเดือน จึงพากันออกจากพระนครพร้อมกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงปากทางกันดารโดยลำดับ. พระโพธิสัตว์นั้นจึงยังตุ่มน้ำให้เต็ม ณ ปากทางกันดารนั้น พาเอาน้ำเป็นอันมากไป ให้เทียวตีกลองป่าวร้องภายในกองค่ายให้พวกชนประชุมกันแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านยังไม่ขออนุญาตข้าพเจ้า อย่าได้เทน้ำแม้สักเท่าซองมือหนึ่ง ชื่อว่าต้นไม้มีพิษย่อมมีในทางกันดาร ใบไม้ดอกไม้หรือผลไม้ ท่านทั้งหลายไม่เคยกินในกาลก่อนมีอยู่ พวกท่านยังไม่ได้ไต่ถามแม้ข้าพเจ้าก็อย่าได้เคี้ยวกิน ครั้นให้โอวาทแม้แก่คนทั้งหลายอย่างนี้แล้วจึงเดินทางกันดารด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม.

เมื่อพระโพธิสัตว์ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์นั้นได้แสดงตนในหนทางสวนกันแก่พระโพธิสัตว์ โดยนัยก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์พอเห็นยักษ์นั้นเท่านั้น ได้รู้ว่า ในทางกันดารนี้แหละ ไม่มีน้ำ นี้ชื่อว่ากันดารเพราะ ไม่มีน้ำ อนึ่ง ผู้นี้ไม่มีท่าทีเกรงกลัว มีนัยน์ตาแดง แม้เงาของเขาก็ไม่ปรากฏ. บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาให้ทิ้งน้ำหมดพากันลำบาก พร้อมทั้งบริษัทจักถูกยักษ์นี้กินเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย แต่ยักษ์นี้ เห็นจะไม่รู้ความที่เราเป็นบัณฑิต และความที่เราเป็นผู้ฉลาดในอุบาย.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะยักษ์นั้นว่า พวกท่านจงไปเถิด พวกเราชื่อว่าเป็นพ่อค้า ยังไม่เห็นน้ำอื่นจะไม่ทิ้งน้ำที่บรรทุกเอามา แต่เรา


ความคิดเห็น 164    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 164

ทั้งหลายจะทิ้งในที่ที่ได้เห็นแล้ว ทำเกวียนทั้งหลายให้เบาแล้วจักไป. ฝ่ายยักษ์ไปได้หน่อยหนึ่ง เข้าถึงที่ที่มองไม่เห็น แล้วไปนครยักษ์ของตนทีเดียว. เมื่อยักษ์ไปแล้ว คนทั้งปวงจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย คนเหล่านั้นกล่าวว่า นั่นแนวป่าเขียวปรากฏอยู่ จำเดิมแต่ที่นั้นไป ฝนจักตกเป็นนิตย์ เป็นผู้สวมมาลัยดอกอุบลและโกมุท ถือกำดอกปทุมและบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีผ้าเปียก และมีผมเปียก มีหยาดน้ำและโคลนไหลหยดมา พวกเราจักทิ้งน้ำ มีเกวียนเบาจะไปได้เร็ว. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของคนเหล่านั้นแล้วจึงให้พักเกวียน ให้คนทั้งหมดประชุมกันแล้วถามว่า พวกท่านเคยได้ฟังมาจากใครๆ หรือว่า ในที่กันดารนี้ มีสระน้ำหรือสระโบกขรณี. คนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย ไม่เคยได้ยิน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นี้ชื่อว่ากันดารเพราะน้ำไม่มี. บัดนี้ คนพวกหนึ่งพูดว่า เบื้องหน้าแต่แนวป่าเขียวนั้น ฝนตก ธรรมดาว่าลมฝนจะพัดไปถึงที่มีประมาณเท่าไร? คนทั้งหลายกล่าวว่า พัดไปได้ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ เจ้านาย. พระโพธิสัตว์ ถามว่า ลมกับฝนกระทบร่างกายของบุคคลแม้คนหนึ่ง บรรดาพวกท่าน มีอยู่หรือ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่า ธรรมดาก้อนเมฆย่อมปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร? คนทั้งหลายกล่าวว่า ในที่ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่า ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใครๆ เห็น ก้อนเมฆก้อนหนึ่ง มีอยู่หรือ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ธรรมดาสายฟ้าปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร?

คนทั้งหลาย. ในที่ประมาณ ๔ - ๕ โยชน์ ขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใครๆ ที่เห็นแสงสว่างของ สายฟ้า มีอยู่หรือ?

คนทั้งหลาย. ไม่มีขอรับ.


ความคิดเห็น 165    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ภาค ๑ - หน้า 165

พระโพธิสัตว์. ธรรมดาเสียงเมฆจะได้ยินในที่มีประมาณเท่าไร?

คนทั้งหลาย. ในที่ ๑ - ๒ โยชน์ ขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใครๆ ที่ได้ยินเสียงเมฆ มีอยู่ หรือ?

คนทั้งหลาย. ไม่มีขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ท่านทั้งหลายรู้จักคนเหล่านั้นหรือ?

คนทั้งหลาย. ไม่รู้จักขอรับ.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า คนเหล่านั้นไม่ใช่มนุษย์ คนเหล่านั้นเป็นยักษ์ พวกมันจักมาเพื่อยุให้พวกเราทิ้งน้ำ กระทำให้อ่อนกำลังแล้วจะเคี้ยวกิน บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาซึ่งไปข้างหน้า ไม่ฉลาดในอุบายเขาคงจักถูกยักษ์เหล่านี้ ให้ทิ้งน้ำ ลำบากแล้วเคี้ยวกินเสียเป็นแน่ เกวียน ๕๐๐ เล่ม จักจอดอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่นแหละ วันนี้ พวกเราจักเห็นเกวียนเหล่านั้น ท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งน้ำแม้มาตรว่าฟายมือหนึ่ง จงรีบขับเกวียนไปเร็วๆ

พระโพธิสัตว์นั้นมาอยู่ เห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่นแหละ และกระดูกคางเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายและของเหล่าโค กระจัดกระจายอยู่ในทิศน้อยทิศใหญ่ จึงให้ปลดเกวียน ให้ตั้งกองค่ายโดยเอาเกวียนวงรอบ ให้คนและโคกินอาหารเย็น ต่อเวลายังวันให้โคทั้งหลายนอนตรงกลางคนทั้งหลาย ตนเองพาเอาคนผู้มีกำลังแข็งแรง มือถือดาบ ตั้งการอารักขาตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ยืนเท่านั้น (ไม่นอน) จนอรุณขึ้น. วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ทำกิจทั้งปวงให้เสร็จแต่เช้าตรู่ ให้โคทั้งหลายกินแล้วให้ทิ้งเกวียนที่ไม่แข็งแรงเสีย ให้ถือเอาเกวียนที่แน่นหนา ให้ทิ้งสิ่งของที่มีราคาน้อยเสีย ให้ขนสิ่งของที่มีค่ามากขึ้นไปยังที่ที่ตน ปรารถนาๆ ขายสิ่งของด้วยมูลค่า ๒ เท่า ๓ เท่า ได้พาบริษัท ทั้งหมดไปยังนครของตนๆ นั่นแลอีก.


ความคิดเห็น 166    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 166

พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาลก่อน คนผู้มีปกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วยประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือคามความจริง พ้นจากเงื้อมมือของพวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนาๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของตนแม้อีก เมื่อจะทรงสืบต่อเรื่องแม้ทั้งสองเรื่อง ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเองในอปัณณกธรรมเทศนานี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะไม่ผิด นักเดาทั้งหลาย กล่าวฐานะนั้นว่าเป็นที่สอง คนมีปัญญารู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้วควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปณฺณกํ ได้แก่ เป็นไปอย่างแน่นอน คือ ไม่ผิด เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. บทว่า านํ ได้แก่ เหตุ. จริงอยู่ ในเหตุ เพราะเหตุที่ผลชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ เพราะมีความเป็นไปต่อเนื่องกับเหตุนั้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกเหตุนั้นว่าฐานะ และพึงทราบประโยคของบทว่า านํ นั้นในประโยคมีอาทิว่า านญฺจ านโต อานญฺจ อานโต ฐานะโดย ฐานะ และมิใช่ฐานะ โดยมิใช่ฐานะ. แม้ด้วยบททั้งสองว่า อปณฺณ- กฏฺานํ ท่านแสดงว่า เหตุใดนำมาซึ่งความสุขโดยส่วนเดียว เหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติแล้ว เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นอน เหตุอันงาม ชื่อว่า อปัณณกะไม่ผิด นี้เป็นเหตุอันไม่ผิด เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์. ความย่อในที่นี้ เพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยประเภท สรณคมน์ ๓ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ปาฏิโมกขสังวร อินทรีย์สังวร อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยปฏิเสวนะ การเสพปัจจัย จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความรู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค ฌาน วิปัสสนา อภิญญา สมาบัติ อริยมรรค อริยผล แม้ทั้งหมดนี้ เป็นฐานะอันไม่ผิด อธิบายว่าข้อปฏิบัติไม่ผิด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.


ความคิดเห็น 167    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 167

ก็แหละ เพราะเหตุที่ฐานะอันไม่ผิดนี้ เป็นชื่อของข้อปฏิบัติเครื่องนำออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติอันไม่ผิดนั้น จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันไม่ผิด เป็นผู้มีความเพียร และเป็นผู้ปรารภความเพียรนั้น เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ประกอบตามความเพียรเครื่องตื่นอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างไรเล่า ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต ฯลฯ ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ดำเนินไป เพื่องดเว้นการเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ดังนั้น เราจะบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีวิตให้ดำเนินไป ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ชำระจิตจากธรรมเครื่องกางกั้น ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตจากธรรมเครื่องกางกั้น ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยา


ความคิดเห็น 168    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 168

โดยข้างเบื้องขวา เอาเท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความสำคัญในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตจากธรรม เครื่องกางกั้น ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่" ดังนี้.

ก็ในพระสูตรนี้ตรัสธรรม ๓ ประการ อปัณณกปฏิปทา คือข้อปฏิบัติไม่ผิดนี้ ย่อมใช้ได้จนกระทั่งอรหัตตผลทีเดียว. ในอปัณณกปฏิปทานนั้น แม้อรหัตตผล ก็ย่อมชื่อว่าเป็นปฏิปทาแก่การอยู่ด้วยผลสมาบัติ และแก่ปรินิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ เหลือ. บทว่า เอเก ได้แก่ คนผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่ง. แม้ในบทว่า เอเก นั้น ไม่มีการกำหนดลงไปอย่างแน่นอนว่า คนชื่อโน้น ก็จริง แต่ถึงกระนั้น คำว่า เอเก ที่แปลว่า พวกหนึ่งนี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะพระโพธิสัตว์พร้อมทั้งบริษัท. บทว่า ทุติยํ ที่สอง ในบทว่า ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา นักเดากล่าวว่าเป็นฐานะ ที่สอง นี้ ได้แก่ เหตุแห่งการยึดถือเอาโดยการเดา คือเหตุอันไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ว่าเป็นที่สอง จากฐานะอันไม่ผิดที่หนึ่ง คือ จากเหตุอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.

ก็ในบทว่า อาหุ ตกฺกิกา นี้ มีการประกอบความกับบทแรก ดัง ต่อไปนี้ :- คนที่เป็นบัณฑิตพวกหนึ่ง มีพระโพธิสัตว์เป็นประธาน ถือเอาฐานะที่ไม่ผิด คือ เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นนอน ได้แก่เหตุอันไม่ผิด เหตุอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ส่วนนักคาดคะเน มีบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาเป็นประธานนั้น กล่าวคือ ได้ถือเอาฐานะที่เป็นไปโดยไม่แน่นอน คือ เหตุที่ผิด ได้แก่ เหตุอันไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ซึ่งมีโทษ ว่าเป็นที่สอง


ความคิดเห็น 169    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 169

บรรดาชนทั้งสองพวกนั้น ชนที่ถือฐานะอันไม่ผิดนั้น เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาขาว ส่วนชนที่ถือเหตุอันไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ กล่าวคือการยึดถือโดยคาดคะเนเอาว่า ข้างหน้ามีน้ำ ว่าเป็นที่สองนั้น เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาดำ. ในปฏิปทาสองอย่างนั้น ปฏิปทาขาว เป็นปฏิปทาไม่เสื่อม ส่วนปฏิปทาดำ เป็นปฏิปทาเสื่อม เพราะฉะนั้น ชนผู้ปฏิบัติปฏิปทาขาว เป็นผู้ไม่เสื่อม ถึงแก่ความ สวัสดี ส่วนชนผู้ปฏิบัติปฏิปทาดำ เป็นผู้เสื่อม ถึงแก่ความพินาศฉิบหาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ถึงเนื้อความดังพรรณนามานี้แล้ว ตรัสพระดำรัสนี้ให้ยิ่งขึ้นว่า คนมีปัญญา รู้ฐานะ และมิใช่ฐานะนี้แล้ว ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เมธาวี ความว่า กุลบุตร ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันหมดจด สูงสุด ซึ่งได้นามว่า เมธา รู้คุณและโทษ ความเจริญและความเสื่อม ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ฐานะและมิใช่ฐานะ ในฐานะทั้งหลายกล่าวคือการยึดถือฐานะไม่ผิด และการยึดถือโดยการคาดคะเนทั้งสอง คือ ในฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิด นี้.

บทว่า ตํ คณฺเห ยทปณฺณกํ ความว่า ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิด คือที่เป็นไปโดยแน่นอน เป็นปฏิปทาขาว เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์ กล่าวคือปฏิปทาอื่นไม่เสื่อมนั้นนั่นแหละไว้. เพราะเหตุไร? เพราะภาวะมี ความเป็นไปแน่นอนเป็นต้น. ส่วนนอกนี้ไม่ควรถือเอา. เพราะเหตุไร? เพราะภาวะมีความเป็นไปไม่แน่นอน. จริงอยู่ ชื่อว่าอปัณณกปฏิปทาน เป็นปฏิปทา ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธบุตรทั้งปวงแล. ก็พระพุทธเจ้าทั้งปวง ตั้งอยู่เฉพาะในอปัณณกปฏิปทาบำเพ็ญบารมีทั้งหลายด้วยความเพียรมั่น ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ลานต้นโพธิ. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น แม้พุทธบุตรทั้งหลายก็ตรัสรู้เฉพาะสาวกบารมีญาณ.


ความคิดเห็น 170    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 170

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงประทานกุศลสมบัติทั้ง ๓ กามาวจรสวรรค์ ๖ และสมบัติในพรหมโลก แก่อุบาสกเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้ ในที่สุดทรง แสดงอปัณณกปฏิปทานี้ว่า ชื่อว่าปฏิปทาที่ไม่ผิด ให้อรหัตตผล. ชื่อว่าปฏิปทาที่ผิด ให้การบังเกิดในอบาย ๔ และในตระกูลต่ำ ๕ แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔ โดยอาการ ๑๖ ให้ยิ่งขึ้นไป. ในเวลาจบอริยสัจ ๔ อุบาสก ๕๐๐ คนแม้ทั้งหมดนั้น ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงแสดงเรื่อง ๒ เรื่องสืบอนุสนธิกัน แล้วทรงประมวลชาดกมาแสดงทรงทำพระเทศนาให้จบลงว่า บุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาในสมัยนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้ แม้บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนโง่นั้นก็ได้เป็นบริษัทของเทวทัต ในบัดนี้ บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนบุตรของพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต.

จบอปัณณกชาดกที่ ๑