๘. ปริยายสูตร ว่าด้วยเหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล
โดย บ้านธัมมะ  12 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37251

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 285

๘. ปริยายสูตร

ว่าด้วยเหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 285

๘. ปริยายสูตร

ว่าด้วยเหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุมีหรือ ที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากเชื่อผู้อื่น หรือเว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 286

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล เป็นผู้แนะนำ เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุมีอยู่ ที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล ฯลฯ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น พึงทราบด้วยความชอบใจ พึง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 287

ทราบด้วยการฟังต่อๆ กันมา พึงทราบด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือพึงทราบด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน บ้างหรือหนอ. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ.

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 288

ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นพึงทราบได้ด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น ทราบได้ด้วยความชอบใจ ทราบได้ด้วยการฟังต่อๆ กัน ทราบได้ด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือพึงทราบได้ด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน บ้างหรือหนอ.

ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปริยายสูตรที่ ๘

อรรถกถาปริยายสูตรที่ ๘

ในปริยายสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยํ ปริยายํ อาคมฺม ความว่า อาศัยเหตุใด. บทว่า อญฺเตฺรว สทฺธาย ความว่า เว้นศรัทธา คือปราศจากศรัทธา. ก็ในที่นี้ บทว่า สทฺธา ไม่ได้หมายเอาศรัทธาที่ประจักษ์ (เห็นด้วยตนเอง) แต่คำว่า ศรัทธานี้ ท่านกล่าวหมายถึงอาการเชื่อ ที่ฟังคนอื่นพูดว่าเขาว่าอย่างนั้นแล้ว


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 289

ก็มิได้เลื่อมใสอาการ คือการให้ชอบใจแม้ในสิ่งที่ชอบใจเป็นต้น เห็นด้วยแล้วยึดถือว่า นี่มีจริงเป็นจริง ชื่อว่า รุจิ ชอบใจ ฟังตามคำบอกเล่าว่า เรื่องนี้จักมีจักเป็นจริง ชื่อว่า ฟังตามกันมา. เมื่อนั่งคิดถึงเหตุ เหตุย่อมปรากฏ เมื่อเหตุปรากฏอย่างนี้ การเชื่อถือว่า เรื่องนี้มีจริง ชื่อว่า ตรึกตามอาการ. อธิบายว่า ตรึกตามเหตุ. เมื่อนั่งคิด ลัทธิอันลามก ย่อมเกิดขึ้น อาการ คือการถือเอาลัทธิลามกนั้นว่า สิ่งนี้ก็คือสิ่งนั้นมีอยู่ ชื่อว่า เชื่อด้วยชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน. บทว่า อญฺํ พฺยากเรยฺย ความว่า หลุดพ้นฐานะ ๕ เหล่านี้แล้ว พึงพยากรณ์พระอรหัต. ในสูตรนี้ตรัสถึง ปัจเจกขณญาณ สำหรับพระเสขะและอเสขะ.

จบ อรรถกถาปริยายสูตรที่ ๘