ก็รูปารมณ์ อันจิตรู้ได้ทางจักขุทวารและทางมโนทวารนั้นมีทั้ง รูป สี แสง วรรณะ วัณโณด้วยเหตุใดฤา จึงเรียกว่า "สี" แต่เพียงอย่างเดียวรู้สึกว่าไม่ครอบคลุม ไม่ได้อารมณ์ทั้งหมด ฟังดูเหมือนเรียกสีที่ใช้ทาบ้าน
หรือว่าโดยปรมัตถ์ซึ่ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใครนั้น คือ "สี" ครับโปรดสนทนาธรรมขออนุโมทนา
คำว่า " รูปารมณ์ " เป็นชื่อของธรรมะอย่างหนึ่งที่ปรากฏทางตา โดยคำสมมติบัญญัติแล้ว ในธรรมสังคณี อธิบาย รูปายตนะ พระพุทธองค์ทรงใช้คำหลายคำเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจความจริงว่า เป็นเพียงรูปรูปหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจแล้วจะใช้คำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น รูป สี แสง วรรณะ วัณโณ หรือคำอื่นๆ ที่สื่อให้เข้าใจได้ก็ใช้ได้ เพราะหมายถึงรูปประเภทหนึ่ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใครทั้งนั้น ขอเชิญคลิกอ่านกระทู้ ... รูปารมณ์คืออะไร
อารมณ์ เป็นสิ่งที่จิตรู้ หรือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ (สิ่งที่เป็นที่มายินดีของจิต เรียกว่า อารมณ์) ที่ใช้คำว่า รูปารมณ์ หมายถึง สภาพธรรมอย่างหนึ่งคือ รูป หรือ สี ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ใช่อย่างอื่น มีชื่อที่ใช้เรียกมากมาย ก็เพื่อส่องถึงอรรถว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น ครับ
ในรูป ๒๘ มีเพียงรูปเดียวที่ปรากฏทางตา คือรูปารมณ์ ที่เรียกว่าสี หรือรูปารมณ์ เพราะไม่ปรากฏทางหู ไม่ปรากฏทางจมูก ไม่ปรากฏทางลิ้น ไม่ปรากฏทางกาย
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3 โดย wannee.s
ในรูป ๒๘ มีเพียงรูปเดียวที่ปรากฏทางตา คือรูปารมณ์ ที่เรียกว่าสี หรือรูปารมณ์ เพราะไม่ปรากฏทางหู ไม่ปรากฏทางจมูก ไม่ปรากฏทางลิ้น ไม่ปรากฏทางกาย
รูปปรากฏแต่ละทางอย่างนี้ก็ธัมมารมณ์มั๊ง! ที่ติดข้องกัน เพราะมีทั้ง ๒๘ รูปไปรวมกัน
รูปารมณ์ ไม่ใช่ธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์ได้แก่ จิตทั้งหมด เจตสิกทั้งหมด ปสาทรูป 5 สุขุมรูป 16 นิพพาน และบัญญัติค่ะ
การศึกษาธรรมะ ไม่ควรคิดเดาเอาเองครับ ควรศึกษาให้เข้าใจโดยละเอียดเพื่อที่จะทำให้การเจริญกุศลทุกประการไม่เนิ่นช้าอยู่ที่ความสงสัย
ขณะคิดนึก ขณะนั้นไม่รู้ลักษณะ การรู้ลักษณะ รู้ในขณะนั้น สภาพธรรมแสดงลักษณะให้รู้อยู่แล้ว ขาดแต่สติและปัญญาที่จะไปรู้ลักษณะนั้น ไม่ต้องมีชื่อก็มีลักษณะ แต่แสดงชื่อเพื่อค่อยๆ เข้าใจลักษณะ
ที่สำคัญนะคะ...รู้ชื่อ หรือ รู้ลักษณะ สาระที่แท้จริงอยู่ตรงไหนอยู่ตรงไหน