สมจิตตวรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ - ๓ อสัตบุรุษและสัตบุรุษ, การกระทำตอบแทน, ทุจริต ๓ สุจริต ๓
โดย pirmsombat  28 มี.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 22694

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

สมจิตตวรรคที่ ๔

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๗๗] ๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและ

สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ

ทั้งหลายนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็น

คนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลาย

สรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิ

อสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที

ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้. สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิสัตบุรุษ.

จบสูตรที่ ๑

สมจิตตวรรคที่ ๔

สูตรที่ ๒

บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย

[๒๗๘] ๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทน

ไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง ทั้งสองท่านคือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึ่ง

ประดับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิต อยู่ตลอด ๑๐๐ ปี

และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ

และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง

ของเขานั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า

อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์

ในแผ่นดินใหญ่อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น

ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้

แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน

ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-

สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า

อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.

จบสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

ว่าด้วยไม่ควรทำทุจริต ๓ ควรทำสุจริต ๓

[๒๗๙] ๓๓. ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมมีวาทะว่าอย่างไร กล่าวว่า

อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ

และมีวาทะว่าไม่ควรทำ.

พ. ท่านพระโคดม มีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำอย่างไร.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต เรากล่าวว่า ไม่ควรทำอกุศลธรรนอันลามกหลายอย่าง และ

เรากล่าวว่า ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวว่า ควรทำ

กุศลธรรมหลายอย่าง ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวว่าควรทำและกล่าวว่า

ไม่ควรทำอย่างนี้แล.

พ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก . . . ขอ

ท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบสูตรที่ ๓



ความคิดเห็น 1    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 28 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ


ความคิดเห็น 2    โดย nong  วันที่ 29 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย kinder  วันที่ 29 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย pirmsombat  วันที่ 29 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 5    โดย rrebs10576  วันที่ 29 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย orawan.c  วันที่ 26 มิ.ย. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ