๒. ทุติยรโหคตสูตร ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
โดย บ้านธัมมะ  12 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38018

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 191

๒. ทุติยรโหคตสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 191

๒. ทุติยรโหคตสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๑๒๖๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๑๒๖๔] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

[๑๒๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔.

[๑๒๖๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นกายในกายในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 192

ในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตในภายในอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตในภายนอกอยู่... พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายในอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายนอกอยู่... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔.

จบทุติยรโหคตสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยรโหคตสูตร

ในรโหคตสูตรที่ ๒ ทรงแสดงวิปัสสนาที่ให้ถึงพระอรหัต ใน ๑๒ ฐานะ.

จบอรรถกถาทุติยรโหคตสูตรที่ ๒