ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง
[๖๙๘] ชื่อว่า ภาระ ในคำว่า
มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาด
ได้แก่ภาระ ๓ อย่าง คือ
ขันธภาระ ๑
กิเลสภาระ ๑
อภิสังขารภาระ ๑ .
ขันธภาระเป็นไฉน
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า ขันธภาระ .
กิเลสภาระเป็นไฉน
ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง นี้ชื่อว่า กิเลสภาระ .
อภิสังขารภาระเป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่า อภิสังขารภาระ .
ขันธภาระ กิเลสภาระ และ อภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้ มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระ ลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อยแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภ าระระงับแล้ว.
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนากุศลจิตทุกดวงครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระอรหันต์ ซึงเป็นผู้ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด เป็นผู้ปลงภาระ ทั้ง ๓ อย่างลงได้แล้ว หลังจาที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ชีวิตของท่านก็ต้องดำเนินต่อไป มีสภาพธรรม คือ จิต เจตสิก รูป (ขันธ์) เกิดขึ้นเป็นไป แต่ไม่เป็นไปกับด้วยกิเลส ไม่เป็นที่ตั้งให้กิเลสเกิดขึ้น เพราะดับกิเลสได้หมดสิ้นแล้วไม่เกิดอีกเลย จนกว่าจะปรินิพพาน เมื่อท่านปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดขึ้นอีกในสังสารวัฏฏ์ เป็นผู้สิ้นกรรมและผลของกรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่มีขันธ์ใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ครับ ... ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ อาจารย์คำปั่นและทุกท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและอาจารย์คำปั่นครับ ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติม
ว่า เป็นภาระดัวยเหตุใด และ แต่ละอย่างเป็นภาระต่างกันอย่างไร
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ
คำว่า ภาระ โดยทั่วไปก็คือ เป็นสิ่งที่ต้องดูแล ไม่พ้นไปจากสิ่งหนึ่ง เป็นภาระกับบุคคลนั้น ทำให้ไม่พ้นไป เพราะต้องติดกับภาระนั้น ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดง ภาระตามความ เป็นจริง ว่า สิ่งที่เป็นภาระ มี 3 อย่างคือ
1.ขันธภาระ
2.กิเลสภาระ
3.อภิสังขารภาระ ขันธภาระ หมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิกและรูป คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ชื่อว่าเป็นภาระ เพราะมีขันธ์ 5 เมื่อกล่าวโดยนัยพระสูตรแล้ว เพราะ มีร่างกาย มีจิต ก็ต้องให้ทานอาหาร ต้องบริหารร่างกาย อย่างนี้ทุกๆ วัน เป็นภาระไปตลอด ตราบเท่าที่มีขันธ์ 5 และเมื่อกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงทีเกิดดับ ก็ต้อง เป็นภาระ ภาระคือ ไม่ให้ไม่เกิดไม่ได้ แม้จะไม่รู้ว่าเป็นภาระก็ตาม แต่การเกิดขึ้นและดับ
ไปของสภาพธรรม เป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ของการมีสภาพธรรมที่มีขันธ์ 5 ครับ
กิเลสภาระ หมายถึง สภาพธรรมทีเป็นอกุศลธรรมที่เป็นกิเลส ประการต่างๆ มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น กิเลสประการต่างๆ เหล่านี้ เป็นภาระแน่นอนครับ เพราะมีกิเลส ก็จะ ต้องทำกิจการงานประการต่างๆ ตามกำลังของกิเลส นี่กล่าวโดยนัยพระสุตร ทำให้มีภาระ และเมื่อกล่าวโดยละเอียดแล้ว เพราะ กิเลส เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุให้มีการเกิด เพราะฉะนั้นกิเลส เป็นสภาพธรรมที่ทำให้เกิดภาระ เกิดขันธ์ 5 ครับ กิเลสจึงเป็นภาระและ ทำให้เกิดภาระด้วยครับ
อภิสังขารภาระ หมายถึง สภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง คือ เจตนาเจตสิก ที่เป็นไปใน กุศลกรรม อกุศลกรรม ดังนั้น กุศลกรรมที่ทำ และ อกุศลกรรมที่ทำ เป็นภาระ เพราะทำ ให้เกิดการเกิดอีกเช่นกัน เกิดสิ่งทีเป็นภาระ คือ ขันธ์ 5 เพราะอาศัยการทำกรรมที่ดีหรือ ไม่ดี เมื่อกรรมนั้นให้ผลก็นำมาซึ่งปฏิสนธิ นำมาซึ่งการเกิดขึ้นของขันธ์ 5 จึงเป็นเหตุให้ เกิดภาระด้วย และกุศลกรรม อกุศลกรรม ก็เป็นภาระเพราะไม่พ้นจากการเกิดดับ ที่ต้อง เป็นไปอย่างนั้น จึงเป็นภาระด้วยเช่นกันครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...
ภารสูตร ... วันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๔
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาสาธุคะ