ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 273
๔. สิริชาดก
โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ
[๔๕๑] ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลป์หรือไม่ก็ตาม
ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก
ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น
[๔๕๒] โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์
เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียว
สำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้ ใช่แต่เท่านั้น
รัตนะทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นแม้ในที่มิใช่บ่อ-
เกิด.
[๔๕๓] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่า
บุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐีผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทำไว้แล้ว.
จบสิริชาดกที่๔
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถาสิริชาดกที่ ๔
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถามนี้ว่า :-
ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่มี
ศิลปะก็ตาม ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์
ใดไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์
เหล่านั้น. โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลย
สัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงแก่
ผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้ว ใช่แต่เท่านั้น
รัตนะทั้งหลายยังเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิด.
ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่
ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาผลใดย่อม
ได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้.
ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่
ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาผลใดย่อม
ได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้.
ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ๑ ความเป็นผู้มี
เสียงไพเราะ ๑ ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม ๑
ความเป็นผู้มีรูปสวย ๑ ความเป็นอธิบดี ๑
ความเป็นผู้มีบริวาร ๑ ผลทั้งหมดนี้ อัน
เทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ความเป็นเจ้าประเทศราช ๑ ความ
เป็นผู้มีอิสริยยศ ๑ ความสุขของพระเจ้า
จักรพรรดิอันเป็นที่รัก ๑ ความเป็นราชา
แห่งเทวดาในเทวโลก ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์
คือบุญนี้. สมบัติอันเป็นของมนุษย์ .
ความรื่นรมย์ยินดีในเทวโลก ๑ นิพพาน
สมบัติ ๑ ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ผล
ทั้งหมดคือความที่บุคคลถึงพร้อมด้วยมิตรสัมป-
ความเพียรด้วยอุบายอันแยบคายได้เป็นผู้
ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ค้าบุญนี้. ปฏิ-
สัมภิทา ๑ วิโมกข์ ๑ สาวกบารมี ๑
ปัจเจกโพธิ ๑ พุทธภูมิ ๑ ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ปุญญสัมปทา คือความถึงพร้อมด้วย
บุญนี้ ให้ความสำเร็จผลอันใหญ่ยิ่งอย่างนี้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้มีบุญอัน
ได้กระทำไว้ ดังนี้.
ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า หญิงผู้มีบุญญ-
ลักษณะ ย่อมเกิดแก่คนผู้ไม่มีบาป มีแต่
บุญอันได้กระทำไว้แล้ว.
คำว่า ทณฺโฑ ไม้เท้า ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายเอา
ไม้เจว็ด. บทว่า ถิโย ได้แก่ นางบุญญลักษณาเทวี ผู้เป็นภรรยา
ของเศรษฐี. คำที่เหลือในคาถานี้ ง่ายทั้งนั้น. ก็แหละ ครั้นตรัส
พระคาถานี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น
พระอานนท์ในบัดนี้ ดาบสผู้เป็นกุลุปกะในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสิริชาดกที่๔
__
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
การศึกษาพระธรรม แม้เรื่องราวในชาดกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอดีตชาติ ความเข้าใจจากการศึกษาจึงน้อมไปในกุศล ด้วยความเข้าใจของสภาพธรรมที่มีคุณ และเห็นโทษของสภาพธรรมที่ให้โทษ และทั้งหมด ก็เป็นสภาพธรรมที่ต้องเป็นไป ความเข้าใจนำไปในกิจที่เป็นกุศลแม้เล็กๆ น้อยๆ ก็เต็มได้ เพราะการสะสมทีละเล็กน้อย ทีละชาติ
ขออนุโมทนาขอบพระคุณพี่ orawan.c เป็นอย่างยิ่งด้วยค่ะ
ศึกษาพระธรรมเพิ่มขึ้น คลิ๊กฟังที่...
ไวในกุศล..
ไม่ประมาทกุศลแม้เล็กน้อย
โอกาสของกุศล