วันมาฆบูชา - โอวาทปาฏิโมกข์
โดย พุทธรักษา  5 ก.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 4188

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วันมาฆบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ พระจันทร์เต็มดวง เป็นวันอุโบสถพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" ใจความมีว่า

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสพระนิพพานว่าเป็นยอดผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่จัดว่าเป็นบรรชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าสมณะ

การไม่ทำบาป ทั้งปวง ๑ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑ ความยังจิตให้ผ่องแผ้ว ๑ ๓ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

การไม่ว่าร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ การสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ ประกอบความเพียรในอธิจิต ๑

๖ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จาก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร

คัดลอกจากหนังสือ คุยกันวันพุธ โดย คณะสหายธรรม

ขออนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 5 ก.ค. 2550

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (มาฆบูชา) เกิดมีจตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วย

๑. วันนั้นเป็นวันมาฆปูรณมี คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือนมาฆะ จึง เรียกว่า มาฆบูชา

๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ที่ได้บรรลุพร้อมอภิญญา ๖

๔. พระภิกษุ เหล่านั้นทั้งหมด ได้รับการอุปสมบท จากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา) ทรงเทศนา "โอวาทปาติโมกข์"


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 5 ก.ค. 2550

ในวันที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือฤกษ์เดียวกับวันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 6 ก.ค. 2550

วันมาฆบูชาท่านพระสารีบุตรได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยค่ะ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 6 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 5    โดย suwit02  วันที่ 7 ก.พ. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 6    โดย pornpaon  วันที่ 7 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 7    โดย opanayigo  วันที่ 9 ก.พ. 2552

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย saifon.p  วันที่ 9 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย Komsan  วันที่ 9 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 10    โดย wichai_a  วันที่ 10 ก.พ. 2552

อะไรคือการไม่ทำบาปทั้งปวง อะไรคือการทำกุศลให้ถึงพร้อม และอะไรคือความยังจิตให้ผ่องแผ้ว ธรรมะใดจึงเป็นอุปการะ


ความคิดเห็น 12    โดย พุทธรักษา  วันที่ 11 ก.พ. 2552

เรียน ท่านวิทยากร ด้วยความเคารพข้าพเจ้าลองค้นหาความหมายโดยละเอียดของ คำว่า "ศีลสังวร" ได้ข้อมูลมาดังนี้

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[243] สังวร ๕ (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล — restraint) สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล — virtue as restraint)

ได้แก่ สังวร ๕ อย่าง คือ

๑. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์— restraint by the monastic code of discipline)

๒. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุ เป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น— restraint by mind—fulness) = อินทรียสังวร

๓. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่— restraint by knowledge) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์

๔. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ — restraint by patience)

๕. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ— restraint by energy) = อาชีวปาริสุทธิ.

ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น ๒ คือ สังวรวินัย กับปหานวินัยและจำแนกสังวรวินัยเป็น ๕ มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ ๑ เป็น สีลสังวร. (ดู สุตฺต.อ. 1/9 ; สงฺคณี.อ. 505; SnA.8; DhsA.351)

วิสุทฺธิ. 1/8;
ปฏิสํ.อ. 16 ;
วิภงฺค.อ. 429

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
จึงขอความกรุณา ช่วยตรวจทาน และเทียบเคียงให้ด้วยค่ะเพื่อความเข้าใจที่ละเอียด ถูกต้อง ประกอบการพิจารณาต่อไปหากมีข้อความคลาดเคลื่อนประการใด ขออภัยด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 13    โดย พุทธรักษา  วันที่ 11 ก.พ. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 04188 ความคิดเห็นที่ 10 โดย wichai_a

อะไรคือการไม่ทำบาปทั้งปวง อะไรคือการทำกุศลให้ถึงพร้อม และอะไรคือความยังจิตให้ผ่องแผ้ว ธรรมะใดจึงเป็นอุปการะ

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงสอนให้ละบาป (คือ ละอกุศลธรรมทั้งปวง) ด้วยศีลสังวรยังกุศล (คือ เจริญกุศลธรรมทั้งปวง) ด้วยสมถะ และวิปัสสนายังจิตใจให้ผ่องแผ้ว ด้วยอรหัตตผล

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย wichai_a  วันที่ 17 ก.พ. 2552
ขอบพระคุณครับ

ความคิดเห็น 15    โดย paderm  วันที่ 17 ก.พ. 2552
อนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 16    โดย pamali  วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 17    โดย nopwong  วันที่ 9 ก.พ. 2557

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 18    โดย ํํญาณินทร์  วันที่ 20 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 19    โดย chatchai.k  วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 20    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 24 พ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ