ไม่หลงระเริง ไม่เพลิดเพลินมัวเมา
โดย ธรรมทัศนะ 9 ก.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9189
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ฟัง ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงเห็นประโยชน์จึงทรงแสดงพระธรรม บุคคลผู้ที่ได้สั่งสมอบรมเจริญปัญญามา สามารถที่จะฟัง พิจารณาไตร่ตรองตาม แล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นผู้เข้าใจธรรมซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ก็จะรู้ทำให้จักตนเองตามความเป็นจริงขึ้น เพราะมีความเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน
ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ลาภ เสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งนั้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่ดีไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็จะไม่เสียใจมากนักหรือ เมื่อได้รับสิ่งที่ดี ที่น่าใคร่น่าพอใจ ก็จะไม่หลงระเริง ไม่เพลิดเพลินมัวเมา
ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ลาภ เสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งนั้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่ดีไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็จะไม่เสียใจมากนักหรือ เมื่อได้รับสิ่งที่ดี ที่น่าใคร่น่าพอใจ ก็จะไม่หลงระเริง ไม่เพลิดเพลินมัวเมา
ความคิดเห็น 1
โดย นวล วันที่ 10 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนา ธรรมทัศนะ
ความคิดเห็น 2
โดย ตุลา วันที่ 10 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 3
โดย suwit02 วันที่ 10 ก.ค. 2551
สาธุ
ความคิดเห็น 4
โดย แล้วเจอกัน วันที่ 10 ก.ค. 2551
ความขยันของคฤหบดี ผู้อยู่ครองเรือนดีชั้นหนึ่ง การแบ่งปันโภคทรัพย์ให้แก่สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้วบริโภคด้วยตนเอง ดีชั้นสอง เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจด้วยความมัวเมา ดีชั้นสาม เมื่อเวลาเสื่อมประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้นสี่.
ขออนุโมทนาครับ
ความคิดเห็น 5
โดย prakaimuk.k วันที่ 10 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 6
โดย พุทธรักษา วันที่ 10 ก.ค. 2551
อนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 7
โดย wannee.s วันที่ 10 ก.ค. 2551
ขณะใดที่ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นไม่หลงระเริงค่ะ
ความคิดเห็น 8
โดย เมตตา วันที่ 10 ก.ค. 2551
เหตุที่จะทำให้ไม่หลงระเริง ไม่เพลิดเพลินมัวเมาก็ต้องเป็นบุคคลที่ได้สั่งสมอบรมเจริญปัญญาจนถึงเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ว่ากำลังได้รับผลของอกุศลกรรม เช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ่มรส กระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่ดีไม่น่ารักน่าใคร่ แม้จะเสียใจ โกรธ ก็รู้ตามความเป็นจริงว่าโกรธหรือเสียใจก็เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จะบังคับไม่ให้โกรธไม่ให้เสียใจก็ไม่ได้ เช่นเดียวกับเวลาได้รับผลของกุศลกรรม เช่น ได้เห็น ได้ยิน..... สิ่งทีดีสิ่งน่ารักสิ่งที่น่าพอใจ เมื่อเกิดความติดข้องชอบใจ ก็จะเข้าใจถูกว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยไม่ใช่เราจะได้ไม่หลงระเริง ไม่เพลิดเพลินมั้วเมาในสภาพธรรมตามความเป็นจริงซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 9
โดย pornpaon วันที่ 11 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 10
โดย opanayigo วันที่ 16 ก.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 11
โดย pamali วันที่ 9 ก.ย. 2553
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 12
โดย chatchai.k วันที่ 28 ก.ค. 2563
ขออนุโมทนาครับ