หมวดสารูป ในเสขิยวัตร
โดย ทรง  18 พ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 14296

ในปัจจุบันนี้การนุ่งห่มผ้าจีวรของพระภิกษุและสามเณรไม่ค่อยจะสำรวมเป็นเพราะอะไรครับขอถามจากภาพที่เห็นเป็นข่าวที่ปรากฎอยู่เรื่อยๆ



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 20 พ.ย. 2552

ควรทราบว่าในสมัยครั้งพุทธกาลกุลบุตรผู้มีศรัทธาเมื่อเข้ามาบวช ย่อมได้รับการฝึกอบรมจากอุปัชฌาย์อาจราย์ ให้ศึกษาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุในยุดนั้นจึงเป็นผู้สำรวม มีมรรยาททางกาย ทางวาจางาม น่าเลื่อมใส แต่ยุคปัจจุบันก็ต่างกันออกไป คือท่านไม่ได้รับการฝึกอบรม ไม่ได้ศึกษา ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ผลคือเป็นผู้มีความประพฤติทางกายทางวาจาที่ไม่น่าดู ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส.....


ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 21 พ.ย. 2552

พระภิกษุหรือสามเณร ต้องศึกษากับภิกษุที่มีความรู้ทางด้านการนุ่งห่มจีวร แม้ในครั้ง

พุทธกาล เช่น ท่านพระสารีบุตร ชายจีวรของท่านห้อยลง สามเณรเห็นก็เตือน

ท่านว่า จีวรท่านห้อยลงมา ท่านพระสารีบุตรก็ไปที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วก็นุ่งห่มให้

เรียบร้อย แล้วกลับมาบอกว่า อาจารย์เรียบร้อยหรือยัง


ความคิดเห็น 3    โดย ประสาน  วันที่ 22 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านครับ


ความคิดเห็น 4    โดย ทรง  วันที่ 3 ม.ค. 2554

ท่านพระสารีบุตร ชายจีวรของท่านห้อยลง สามเณรเห็นก็เตือน

ท่านว่า จีวรท่านห้อยลงมา ท่านพระสารีบุตรก็ไปที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วก็นุ่งห่มให้

เรียบร้อย แล้วกลับมาบอกว่า อาจารย์เรียบร้อยหรือยัง ขอที่มาด้วยนะครับว่ามาจากเล่มใด จะได้สมบูรณ์


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 3 ม.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ ๔ ครับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396ข้อความตอนหนึ่งจากอรรถกถาสุสิมสูตรมีว่า

...............บทว่า วจนกฺขโม ได้แก่ ย่อมทนฟังคำของผู้

อื่น จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งชอบสอนผู้อื่น แต่ตัวเองถูกผู้อื่นสอนเข้า ก็โกรธ.

ส่วนพระเถระให้โอวาทแก่ผู้อื่นด้วย ตัวเองแม้ถูกโอวาท ก็ยอมรับด้วยเศียร

เกล้า เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบ เรียนพระสารีบุตรเถระว่า

ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ. พระเถระไม่พูดอะไรเลย

ไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประณมมือพูดว่า

เท่านี้ เหมาะไหม อาจารย์ พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗

ขวบ โดยกำเนิด ถึงผู้นั้นพึงสั่งสอนเรา เราก็ยอมรับด้วยกระหม่อมดังนี้.