[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓
พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
นิสสัคคิยกัณฑ์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 1/693
พระบัญญัติ 695
พระอนุบัญญัติเรื่องพระอานนท์ 2/695
สิกขาบทวิภังค์ 3/696
วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 4/697
บทภาชนีย์นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 7/699
อนาปัตติวาร 8/700
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 9/700
ทรงอนุญาตให้คืนจีวรที่เสียสละ 701
ทุติยสมันตปาสาทิกาวินัยวรรณนา 702
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ 702
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอานนท์ 703
เหตุที่พระอานนท์ทราบการมาของพระสารีบุตร 704
แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยการเดาะกฐิน 705
อธิบายกําเนิดจีวร ๖ ชนิด 708
อธิบายวิธีเสียสละและแสดงอาบัติ 709
ว่าด้วยขนาดจีวรที่ควรอธิษฐาน และวิกัป 715
ว่าด้วยการอธิษฐานไตรจีวรเป็นต้น 716
ว่าด้วยเหตุให้ขาดอธิษฐาน 719
อธิบายการวิกัปจีวร 723
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ เรื่องภิกษุหลายรูป 10/729
พระบัญญัติ 731
พระอนุบัญญัติเรื่องภิกษุอาพาธ 11/732
วิธีสมมติจีวราวิปวาส 732
พระอนุบัญญัติ 734
สิกขาบทวิภังค์ 12/734
วิธีเสียสละแก่สงฆ์เป็นต้น 734
บทภาชนีย์มาติกา 13/736
มาติกาวิภังค์ 14/737
อนาปัตติวาร 31/741
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ 742
พรรณนาอุทโทสิตสิกขาบท 742
อนุบัญญัติแก้อรรถเรื่องภิกษุอาพาธ 743
อธิบายสถานที่เก็บจีวรและวิธีปฏิบัติ 744
มติต่างๆ ในสถานที่เก็บและรักษาจีวร 746
จีวรวรรค สิกขาบทที่๓ เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 32/753
ทรงอนุญาต อกาลจีวร 754
พระบัญญัติ 756
สิกขาบทวิภังค์ 34/757
บทภาชนีย์ 39/762
อนาปัตติวาร 41/764
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓ 764
พรรณนาตติยกฐินสิกขาบท 764
แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยความหวังจีวร 765
จีวรวรรค สิกขาบทที่๔ เรื่องพระอุทายี 42/767
พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 770
บทภาชนีย์สําคัญว่ามิใช่ญาติ 44/773
อนาปัตติวาร 45/777
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔ 778
พรรณนาปูราณจีวรโธวาปนสิกขาบท 778
ว่าด้วยจีวรเก่าและการใช้ให้ซัก 780
ว่าด้วยการอาบัติและอนาบัติ 781
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ 783
เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณาเถรี 46/783
พระบัญญัติ 787
เรื่องแลกเปลี่ยน 48/787
สิกขาบทวิภังค์ 788
บทภาชนีย์ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 50/791
อนาปัตติวาร 52/792
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ 792
พรรณนาจีวรปฏิคคหณสิกขาบท 792
พระอุทายีขออันตรวาสกของพระเถรี 793
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 53/797
พระบัญญัติ 801
พระอนุบัญญัติเรื่องพระภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร 54/801
สิกขาบทวิภังค์ 55/803
บทภาชนีย์ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 56/806
อนาปัตติวาร 57/807
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ 807
พรรณนาอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท 807
เมื่อถูกโจรชิงจีวรไปห้ามเปลือยกายเดินทาง 808
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 58/813
พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 816
บทภาชนีย์ 60/818
อนาปัตติวาร 61/819
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ 820
พรรณนาตทุตตริสิกขาบท 820
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 62/823
พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 826
บทภาชนีย์ 64/829
อนาปัตติวาร 65/830
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ 830
พรรณนาปฐมอุปักขฏสิกขาบท 830
แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยทรัพย์จ่ายจีวร 831
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 66/835
พระบัญญัติสิกขาบทวิภังค์ 838
บทภาชนีย์ 68/842
อนาปัตติวาร 69/843
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙ 843
พรรณนาทุติยอุปักขฏสิกขาบท 843
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 70/844
พระบัญญัติ 848
สิกขาบทวิภังค์ 71/849
บทภาชนีย์ 72/853
หัวข้อประจําเรื่อง 854
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 855
พรรณนาราชสิกขาบท 855
อธิบายการทวงการยืน 857
ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร 859
วิธีปฏิบัติเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย 863
วิธีปฏิบัติในบึงและสระว่ายน้ําเป็นต้น 865
วิธีปฏิบัติในพืชผลที่ได้เพราะอาศัยสระน้ําเป็นต้น 868
วิธีปฏิบัติในทาสคนวัดและปศุสัตว์ที่มีผู้ถวาย 872
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 693
มหาวิภังค์ ทุตยภาค
นิสสัคคิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคติยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมก - เจดีย์ (๑) เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระองค์ทรงอนุญาตไตรจีวรแก่ภิกษุ ทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไตรจีวรแล้ว จึงครองไตรจีวรเข้าบ้านสำรับหนึ่ง อยู่ในอารามอีกสำรับหนึ่ง สรงน้ำอีกสำรับหนึ่ง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึง ได้ทรงจีวรเกินหนึ่งสำรับเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์
(๑) วิหารที่เขาสร้างไว้ ณ เจติยสถานของโคตมกยักษ์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 694
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทรงจีวรเกินหนึ่งสำรับจริงหรือ พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวภเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ทรงจีวรเกินหนึ่ง สำรับเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลี่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 695
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดทรงอดิเรกจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
พระอนุบัญญัติ
เรื่องพระอานนท์
[๒] ก็โดยสมัยนั้นแล อดิเรกจีวรที่เกิดแก่ท่านพระอานนท์มีอยู่ และท่านประสงค์จะถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แก่ท่านพระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต จึงท่านพระอานนท์มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงทรงอดิเรกจีวร ก็นี่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 696
อดิเรกจีวรบังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึงจักกลับมา
พระอานนท์กราบทูลว่า จักกลับมาในวันที่ ๙ หรือวันที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า
ทรงอนุญาตอดิเรกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง
อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๐. ๑. ก. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึง ทรงอดิเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอานนท์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓] บทว่า จีวรสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 697
ก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำ จีวรก็ดี
คำว่า กฐิน ... เดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใด อันหนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง
บทว่า ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก
ที่ชื่อว่า อดิเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ
คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณ ที่ ๑๑ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
[๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประณมมือกล่าวอย่างนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้น สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 698
เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
[๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง บ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
[๖] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 699
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗] จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแลว้ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 700
ทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องอาบัติ ทุกกฏ
จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้อง อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๘] ในภายใน ๑๐ วัน ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุ สละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอา ไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละ บรรดา ภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ให้คืนจีวร ที่เสียสละเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 701
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละเล่า การ กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว
ทรงอนุญาตให้คืนจีวรที่เสียสละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความ เป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจ คร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 702
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
จีวรวรร สิกขาบทที่ ๑ จบ
ทุติยสมันตปาสาทิกา วินัยวรรณนา
ติงสกกัณฑวรรณนา
ธรรม ๒๐ เหล่าใด ชื่อว่านิสสัคคีย์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สงบ ทรงแสดงแล้ว บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนา บทที่ยังไม่เคยมีมาก่อน แห่งธรรมเหล่านั้น.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
พรรณนาปฐมกฐินสิกขาบท
ในคำนิทานว่า โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ที่โคตมกเจดีย์ใกล้กรุงไพศาล ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตไตรจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น ที่ชื่อว่า ไตรจีวรนั้น ได้แก่จีวร ๓ ผืนนี้ คือ อันตรวาสก ๑ อุตราสงค์ ๑ สังฆาฏิ ๑ ย่อม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 703
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนญาตแล้วเพื่อใช้สอย. ก็จีวร ๓ ผืนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตในที่ใด ทรงอนญาตเมื่อไร? และ ทรงอนุญาตเพราะเหตุไร? คำนั้นทั้งหมดมาแล้วในเรื่องหมอชีวกในจีวรขันธกะนั่นแล.
ข้อว่า อญฺเเนว ติจีวเรน คามํ ปวิสนฺติ มีความว่า พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์ ครองไตรจีวรเข้าบ้านสำรับหนึ่งต่างหาก จากสำรับที่ใช้ครอง อยู่ในวัด และสำรับที่ใช้ครองสรงน้ำ. ใช้จีวรวันละ ๙ ผืน ทุกวัน ด้วย อาการอย่างนี้.
สองบทว่า อุปฺปนฺนํ โหติ มีความว่า อดิเรกจีวรนี้ เกิดขึ้นให้ ช่องแก่อนุบัญญัติ ด้วยอำนาจการได้ มิใช่ด้วยอำนาจความสำเร็จ.
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอานนท์]
ข้อว่า อายสฺมโต สารีปุตฺตสฺส ทาตุกาโม โหติ มีความว่า ได้ยิน ว่า ท่านพระอานนท์ ย่อมนับถือท่านพระสารีบุตรโดยนับถือความมีคุณ มากของพระสารีบุตรว่า เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลอื่นที่มีคุณวิเศษ เห็นปานนี้ ไม่มีเลย. ท่านได้จีวรที่ชอบใจ ซักแล้ว กระทำพินทุกัปปะ แล้ว ถวายแก่พระเถระนั่นแล แม้ทุกคราว. ในเวลาก่อนฉันได้ยาคูและ ของเคี้ยว หรือบิณฑบาตอันประณีตแล้ว ย่อมถวายแก่พระเถระเหมือน กัน. ในเวลาหลังฉัน แม้ได้เภสัช มีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็ถวาย แก่พระเถระนั่นเอง พาเด็กทั้งหลายออกจากตระกูลอุปัฏฐาก ให้บรรพชา ให้ถืออุปัชฌายะ ในสำนักพระเถระแล้ว กระทำอนุสาวนากรรมเอง. ฝ่ายท่านพระสารีบุตร ก็นับถือท่านพระอานนท์เหลือเกิน ด้วยทำในใจว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 704
ธรรมดาว่า กิจที่บุตรจะพึงกระทำแก่บิดา เป็นภาระของบุตรคนโต; เพราะฉะนั้น กิจใดที่เราจะพึงกระทำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กิจนั้น ทั้งหมด พระอานนท์กระทำอยู่, เราอาศัยพระอานนท์จึงได้เพื่อเป็นผู้มี ความขวนขวายน้อยอยู่. คำทั้งหมดว่า แม้พระเถระนั้น ได้จีวรที่ชอบใจ แล้ว ก็ถวายพระอานนทเถระเหมือนกัน เป็นต้น เป็นเช่นกับด้วยคำ ก่อนนั่นแล. พระอานนทเถระนับถือด้วยความนับถือคุณมากอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นผู้มีความประสงค์จะถวายจีวรนั้น แม้ที่เกิด ขึ้นในครั้งนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร.
ก็ในคำว่า นวมํ วา ภควา ทิวสํ ทสมํ วา นี้ หากใครๆ จะพึง มีความสงสัยว่า พระเถระทราบได้อย่างไร?
ตอบว่า พระเถระทราบได้ด้วยเหตุหลายอย่าง.
[เหตุที่พระอานนท์ทราบการมาของพระสารีบุตรได้]
ได้ยินว่า พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะหลีกจาริกไปในชนบท มัก บอกลาพระอานนทเถระก่อนแล้วจึงหลีกไปว่า ผมจักมาโดยกาลชื่อว่า ประมาณเท่านี้ ในระหว่างนี้ ท่านอย่าละเลยพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้. ถ้าแม้นว่า ท่านไม่บอกลาในที่ต่อหน้า, ก็ต้องส่งภิกษุไปบอกลาก่อนจึง ไป. ถ้าว่า ท่านอยู่จำพรรษาในอาวาสอื่น, และภิกษุเหล่าใดมาก่อน ท่านก็ส่งภิกษุเหล่านั้นไปอย่างนี้ว่า พวกท่านจงถวายบังคม พระบาทยุคล ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเรา, และจงเรียนถาม ถึงความไม่มีโรคของพระอานนท์แล้วบอกว่า เราจักมาในวันชื่อโน้น, และพระเถระย่อมมาในวันตามที่ท่านกำหนดไว้แล้วนั่นแลเสมอๆ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 705
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมทราบได้ด้วยการอนุมานบ้าง ย่อมทราบได้โดยนัยนี้บ้างว่า ท่านพระสารีบุตร เมื่อทนอดกลั้นความวิโยค (พลัดพราก) จากพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่สิ้นวันมีประมาณเท่านี้, บัดนี้ นับแต่นี้ไป จักไม่เลยวันชื่อโน้น, ท่านจักมาแน่นอน, จริงอยู่ ชน ทั้งหลายผู้ซึ่งมีปัญญามาก ย่อมมีความรักและความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้ามาก ดังนี้. พระเถระย่อมทราบได้ด้วยเหตุหลายอย่างด้วยประการ อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกราบทูลว่า จักมาในวัน ที่ ๙ หรือวันที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า! ดังนี้ เมื่อพระอานนทเถระกราบทูลอย่างนี้แล้ว เพราะสิกขาบทนี้มีโทษทางพระบัญญัติ มิใช่มีโทษทางโลก; เพราะเหตุ นั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำวันที่ท่านพระอานนท์ กราบทูลนั่นแลให้เป็นกำหนด จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ ถ้าหากว่า พระเถระนี้ จะพึงทูลแสดงขึ้นกึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่ง, แม้ กึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะพึงทรงอนุญาต.
[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยการเดาะกฐิน]
บทว่า นิฏฺิตจีวรสฺมึ ได้แก่ เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว โดยการสำเร็จ อย่างใดอย่างหนึ่ง. ก็เพราะจีวรนี้ ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้ว ด้วยการ กระทำบ้าง ด้วยเหตุมีการเสียหายเป็นต้นบ้าง; ฉะนั้น เพื่อทรงแสดง เพียงแต่อรรถเท่านั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า นิฏฺิตจีวรสฺมึ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ภิกฺขุนา จีวรํ กตํ วา โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตํ คือ อันภิกษุกระทำแล้วด้วยกรรม มีสูจิกรรมเป็นที่สุด. ที่ชื่อว่า กรรมมีสูจิกรรมเป็นที่สุด ได้แก่การทำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 706
กรรมที่ควรทำด้วยเข็มอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการติดรังดุมและลูกดุมเป็นที่สุด แล้วก็เก็บเข็มไว้ (ในกล่องเข็ม).
บทว่า นฏฺํ คือ ถูกพวกโจรเป็นต้นลักเอาไป. จริงอยู่ แม้ จีวรนั่น ท่านเรียกว่า สำเร็จแล้ว ก็เพราะความกังวล ด้วยการกระทำ นั่นเอง สำเร็จลงแล้ว
บทว่า วินฏฺํ คือ ถูกพวกสัตว์มีปลวกเป็นต้นกัดแล้ว.
บทว่า ทฑฺฒํ คือ ถูกไฟไหม้.
สองบทว่า จีวราสา วา อุปจฺฉินฺนา มีความว่า หมดความหวังใน จีวรซึ่งบังเกิดขึ้นว่า เราจักได้จีวรในตระกูลชื่อโน้นก็ดี. อันที่จริง ควร ทราบความที่จีวรแม้เหล่านี้สำเร็จแล้ว เพราะความกังวลด้วยการกระทำ นั่นแล สำเร็จลงแล้ว.
สองบทว่า อุพฺภตสฺมึ กิเน คือ (เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว) และเมื่อ กฐินเดาะเสียแล้ว. ด้วย บทว่า อุพฺภตสฺมึ กิเน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความไม่มีแห่งปลิโพธที่ ๒ ก็กฐินนั้น อันภิกษุทั้งหลายย่อม เดาะด้วยมาติกาอย่างหนึ่งในบรรดามาติกา ๘ หรือด้วยการเดาะในระหว่าง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อฏฺนฺนํ มาติกานํ เป็นต้น ในนิเทศแห่งบทว่า อุพฺภตสฺมึ กิเน นั้น
บรรดามาติกาและการเดาะในระหว่างนั้น มาติกา๑ ๘ มาแล้วใน กฐินขันธกะอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มาติกาแห่งการเดาะกฐิน ๘ เหล่านี้ คือ ปักกมนันติกา นิฏฐานันติกา สันนิฏฐานันติกา นาสนันติกา สวนันติกา อาสาวัจเฉทิกา สีมาติกกันติกา สหุพภารา.
แม้การเดาะกฐินในระหว่าง ก็มาในภิกขุนีวิภังค์๒ อย่างนี้ว่า
(๑) วิ. มหา. ๑/๑๓๙.
(๒) วิ. ภิกฺขุนีวิ. ๑/๑๔๕.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 707
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ กินํ อุธเรยฺย เอสา ตฺต, สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ กินํ อุทฺธรติ ยสฺสายสฺมโต ขมติ กินสฺส อุพฺภาโร โส ตุณฺหสฺส ยสฺส นกฺขมติ โส ภาเสยฺย, อุพฺภติ สงฺเฆน กินํ ขมติ สงฺฆสฺส ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิ แปลว่า ท่านเจ้าข้า! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า, ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงเดาะกฐิน, นี้คำเสนอ, ท่านเจ้าข้า! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า, สงฆ์ ย่อมเดาะกฐิน, การเดาะกฐินควรแก่ท่านผู้มีอายุใด ท่านผู้มีอายุนั้นพึง นิ่งอยู่, ถ้าไม่ควรแก่ท่านผู้มีอายุใด ท่านผู้มีอายุนั้น พึงพูดขึ้น, กฐิน อันสงฆ์เดาะแล้วย่อมควรแก่สงฆ์; เพราะฉะนั้น สงฆ์พึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้า จะทรงไว้ซึ่งความเป็นผู้นิ่งอยู่แห่งสงฆ์อย่างนั้นแล.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำที่ควรกล่าวในมาติกา เละอันตรุพภารานั้น ทั้งหมด ในอาคตสถานนั้นแล, แต่เมื่อจะกล่าวเสียในที่นี้ บาลีที่ควรจะ นำมาก็ดี เนื้อความที่ควรจะกล่าวก็ดี แม้จะเป็นอันกล่าวแล้ว, แต่ก็เป็น เรื่องที่รู้ได้ไม่ง่าย เพราะกล่าวไว้ในฐานะอันไม่ควร.
บทว่า ทสาหปรมํ มีวิเคราะห์ว่า ๑๐ วัน เป็นกำหนดอย่างยิ่ง แห่งกาลนั้น; เพราะเหตุนั้น กาลนั้นจึงชื่อว่ามี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า จีวรนั้น อันภิกษุพึงทรงไว้ ตลอดกาลมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง. แต่เพื่อจะทรงแสดงแต่อรรถเท่านั้น ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า พึงทรงไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง จริงอยู่ มีคำอธิบายว่า ความเป็นกาลมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ที่ตรัสไว้ในบทว่า ทสาหปรมํ นี้ ภาวะแห่งกาละมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งนั้น มีใจความดังนี้ว่า พึงทรงไว้ ได้ชั่วกาลประมาณเท่านี้ที่ยังไม่ล่วงเลยไป จีวรที่ชื่อว่า อติเรก เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 708
ไม่นับเข้าในจำพวกจีวรที่อธิษฐานและวิกัปไว้; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อดิเรกจีวร. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อติเรกจีวร นั้น จึง ตรัสว่า จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน และไม่ได้วิกัปไว้.
[อธิบายกำเนิดจีวร ๖ ชนิด]
ข้อว่า ฉนฺนํ จีวรานํ อญฺตรํ มีความว่า บรรดาจีวร ๖ ชนิด เหล่านี้ คือ จีวรผ้าเปลือกไม้ ๑ จีวรผ้าฝ้าย ๑ จีวรผ้าไหม ๑ จีวรผ้า กัมพล ๑ จีวรผ้าป่าน ๑ จีวรหาผสมกัน (๑) ๑ จีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำเนิดแห่งจีวร ด้วยคำว่า ฉนฺนํ เป็นต้นนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงขนาด (แห่งจีวรนั้น) จึงตรัสว่า จีวร อย่างต่ำควรจะวิกัปได้ ดังนี้. ขนาดแห่งจีวรนั้น ด้านยาว ๒ คืบ ด้าน กว้าง คืบหนึ่ง ในขนาดแห่งจีวรนั้น มีพระบาลีดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เราอนุญาตให้วิกัปจีวรอย่างต่ำ ด้านยาว ๙ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต (๒)
ข้อว่า ตํ อติกฺกามยโต นิสฺสคฺคิยํ มีความว่า เมื่อภิกษุ ยังจีวรมีกำเนิดและประมาณตามที่กล่าวแล้วนั้น ให้ล่วงกาลมี ๑๐ วันเป็น อย่างยิ่ง คือ เมื่อไม่ทำโดยวิธีที่จะไม่เป็นอติเรกจีวรเสียในระหว่างกาลมี ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่งนี้ เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์. อธิบายว่า จีวรนั้น เป็น นิสสัคคีย์ด้วย เป็นอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง การ เสียสละ ชื่อว่า นิสสัคคีย์. คำว่า นิสสัคคีย์ นั่นเป็นชื่อของวินัยกรรม อันภิกษุพึงกระทำในกาลเป็นส่วนเบื้องต้น, การเสียสละมีอยู่ แก่ธรรม-
(๑) วิ. มหา. ๕/๑๙๒.
(๒) วิ. มหา. ๕/๒๑๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 709
ชาตินั้น; เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นิสสัคคีย์ ฉะนี้แล. นิสสัคคีย์ นั้น คืออะไร? คือ ปาจิตตีย์. ในคำว่า ตํ อติกฺกามยโต นสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ นี้ มีใจความดังนี้ว่า เป็นปาจิตตีย์มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม แก่ภิกษุผู้ให้ล่วงกาลนั้นไป.
แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงอรรถวิกัปแรกก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งมาติกาว่า เมื่อภิกษุให้ล่วงกาลนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ แล้วตรัสคำว่า ในเมื่ออรุณวันที่ ๑๑ ขึ้น เป็นนิสสัคคีย์ คือ อันภิกษุ พึงเสียสละ ดังนี้. และจีวรนั้น อันภิกษุพึงเสียสละแก่บุคคลใดพึงเสียสละ โดยวิธีอย่างใด เพื่อทรงแสดงบุคคลและวิธีเสียสละนั้นอีก จึงตรัสคำ เป็นต้นว่า สงฺฆสฺส วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในคำว่า เอกาทเส อรุณุคฺคมเน นี้ ผู้ศึกษา พึงทราบว่า จีวรเกิดขึ้นในวันใด อรุณแห่งวันนั้น อาศัยวันที่จีวรเกิด ขึ้น; เพราะเหตุนั้น จึงเป็นนิสสัคคีย์ ในเมื่ออรุณวันที่ ๑๑ ขึ้นรวมกัน วันที่จีวรเกิด ถ้าแม้ว่า จีวรเป็นอันมากผูกหรือพับรวมกันเก็บไว้ ก็เป็น อาบัติเพียงตัวเดียว. ไม่จีวรที่พับไว้ไม่รวมกันเป็นอาบัติหลายตัวตาม จำนวนแห่งวัตถุ.
[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]
ข้อว่า นิสฺสชฺชิตฺวา อาปตฺติ เทเสตพฺพา มีความว่า ถามว่า พึง แสดงอาบัติอย่างไร?
แก้ว่า พึงแสดงเหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ขันธกะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 710
ถามว่า ก็ตรัสไว้ในขันธกะนั้น อย่างไร?
แก้ว่า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น พึงเข้า ไปหาสงฆ์ กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าแห่งภิกษุผู้แก่ ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประนมมือ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเส๑มิ (ท่านเจ้าข้า! กระผมต้อง อาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น).
ก็ในอธิการนี้ ถ้าจีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวว่า เอกํ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ ... (ต้องแล้ว) ซึ่งนิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ตัวหนึ่ง. ถ้าจีวร ๒ ผืน พึงกล่าวว่า เทฺว ... ซึ่งอาบัติ ๒ ตัว. ถ้าจีวรมากผืนพึงกล่าวว่า สมฺพหุลา ... ซึ่งอาบัติหลายตัว. แม้ในการเสียสละ ถ้าว่า จีวรมีผืนเดียว พึงกล่าวตามสมควรแก่บาลีนั่นแลว่า อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ ท่านเจ้าข้า! จีวรของกระผมผืนนี้ เป็นต้น ถ้าหากว่าจีวร ๒ ผืน หรือมากผืน พึง กล่าวว่า อิมานิ เม ภน เต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ อิมานาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ (ท่านเจ้าข้า! จีวรของกระผมเหล่านี้ล่วง ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์, กระผมเสียสละจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์) เมื่อไม่สามารถ จะกล่าวบาลีได้ พึงกล่าวโดยภาษาอื่นก็ได้. ภิกษุพึงรับอาบัติโดยนัย ดังกล่าวไว้ในขันธกะนั่นแลว่า ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ ในขันธกะนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียง สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลีกได้ เปิดเผย กระทำให้ตื้น ย่อมแสดงซึ่งอาบัติ, ถ้าความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์ ถึงที่แล้ว, ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่ออย่างนี้ (๒) ดังนี้.
(๑) วิ. จุลฺล. ๖/๒๗๐.
(๒) วิ. จุลล. ๖/๓๗๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 711
ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุรับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (เธอเห็น หรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ! ผมเห็น)
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป).
ผู้แสดง: สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี (๑) ).
ก็ในอาบัติ ๒ ตัว หรือหลายตัวด้วยกัน ผู้ศึกษาพึงทราบความต่าง แห่งวจนะโดยนัยก่อนนั่นแล แม้ในการให้จีวร (คืน) ก็พึงทราบความ แตกต่างแห่งวจนะด้วยอำนาจแห่งวัตถุ คือ สงฺโฆ อิมํ จีวรํ อิมานิ จีวรานิ ... สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ พึงให้จีวรทั้งหลายเหล่านี้ ... ถึงในการ เสียสละแก่คณะ และแก่บุคคล ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ก็ในการแสดงและการรับอาบัติในอธิการนี้ มีบาลีดังต่อไปนี้:- เตน ภิกขุเว ภิกฺขุนาฯ เปฯ เอวมสฺสุ วจนียา อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทสมิ (๒) แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อัน ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุมากรูป กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าทั้งหลายแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี พึงกล่าวอย่างนั้นว่า ท่านเจ้าข้า! ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนซึ่ง อาบัตินั้น.
อันภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุเหล่านั้นให้ทราบว่า สุณาตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ อาปตฺตึ สรติ วิวรติ อุตฺตานีกโรติ เทเสติ ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ อหํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน อาปตฺตึ ปฏิคฺคณฺเห๓ยฺยํ (๓) แปลว่า ท่านเจ้าข้า! ท่านผู้มีอายุ
(๑) วิ. จุลฺล. ๖/๓๗๐.
(๒) - (๓) วิ. จุลฺล. ๖/๓๖๙ - ๓๗๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 712
ทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ รูปนี้ย่อมระลึก ย่อมเปิด เผย ย่อมกระทำให้ตื้น ย่อมแสดงอาบัติ, ถ้าว่าความพรั่งพร้อมแห่งท่าน ผู้มีอายุทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้. ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุผู้รับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (ท่าน เห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ! ผมเห็น).
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ * (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).
ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า แล้ว นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส! ข้าพเจ้า ต้องอาบัติ มีชื่ออย่างนี้แล้ว, จะแสดงคืนอาบัติ, ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุ ผู้รับอาบัตินั้นพึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (ท่านเห็นหรือ).
ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ! ผมเห็น).
ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (ท่านพึงสำรวมระวังต่อไป).
ในวิสัยแห่งการแสดงและรับอาบัตินั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการระบุชื่อ อาบัติและความต่างแห่งวจนะ โดยนัยก่อนนั่นแล. และพึงทราบบาลี แม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูป เหมือนในการสละแก่คณะฉะนั้น. ก็ถ้าว่า จะพึงมีความแปลกกันไซร้, พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสบาลีไว้แผนกหนึ่ง แม้ในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้ เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสปาริสุทธิ- อุโบสถแก่ภิกษุ ๓ รูป โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาต ให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุทั้งหลาย! ก็แลภิกษุเหล่านั้น พึงทำอุโบสถเหล่านั้นอย่างนี้; ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงเผดียงภิกษุ
(๑) วิ. จุลฺล. ๖/๓๖๙/-๓๗๐.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 713
เหล่านั้นให้ทราบ แล้วตรัสปาริสุทธิอุโบสถแก่ภิกษุ ๒ รูปอีกแผนกหนึ่ง ต่างหาก โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ, ภิกษุทั้งหลาย! ก็แลภิกษุเหล่านั้น พึงทำอุโบสถ นั้นอย่างนี้ ภิกษุเถระพึงทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า * ดังนี้ ฉะนั้น. ก็เพราะ ไม่มีความแปลกกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ตรัสไว้ ทรง ผ่านไปเสีย เพราะฉะนั้น บาลีในการสละแก่ภิกษุ ๒ รูปนี้ เป็นบาลีที่ ตรัสไว้แก่คณะเหมือนกัน.
ส่วนในการรับอาบัติมีความแปลกกันดังนี้:- บรรดาภิกษุ ๒ รูป ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง อย่าตั้งญัตติ เหมือนภิกษุผู้รับอาบัติ ตั้งญัตติ ใน เมื่อภิกษุผู้ต้องอาบัติสละแก่คณะแล้วแสดงอาบัติ พึงรับอาบัติเหมือน บุคคลคนเดียวรับฉะนั้น. แท้จริง ชื่อว่าการตั้งญัตติสำหรับภิกษุ ๒ รูป ย่อมไม่มี. ก็ถ้าหากจะพึงมี, พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสปาริสุทธิ- อุโบสถไว้แผนกหนึ่ง สำหรับภิกษุ ๒ รูป แม้ในการให้จีวรที่เสียสละ แล้วคืน จะกล่าวว่า อิมํ จีวร อายสฺมโต เทม พวกเราใหัจีวรผืนนี้แก่ ท่าน เหมือนภิกษุรูปเดียวกล่าวว่า อิมํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ ผมให้ จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ ก็ควร. จริงอยู่ แม้ญัตติทุติยกรรม ซึ่งหนักกว่า นี้ ตรัสว่า ควรอปโลกน์ทำ ก็มี วินัยกรรมมีการสละนี้ สมควรแก่ ญัตติทุติยกรรมเหล่านั้น. แต่จีวรที่สละแล้ว ควรให้คืนทีเดียว, จะไม่ให้ คืนไม่ได้. ก็การให้คืนจีวรที่สละเสียแล้วนี้เป็นเพียงวินัยกรรม. จีวรนั้น เป็นอันภิกษุนั้นให้แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล หามิได้ ทั้งนั้นแล.
(๑) วิ. มหา. ๔/๒๔๓ - ๒๔๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 714
[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยอติเรกจีวรล่าง ๑๐ วันเป็นต้น]
ข้อว่า ทสาหาติกฺกนฺเต อติกฺกนฺตสญฺี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญใน จีวรที่ล่วง ๑๐ วันแล้วอย่างนี้ว่า จีวรนี้ล่วง (๑๐ วัน) แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เมื่อ ๑๐ วันล่วงแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ๑๐ วันล่วงไป แล้ว.
ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า ความสำคัญที่กล่าวไว้ใน บทว่า อติกฺกนฺตสญฺี นี้คุ้มอาบัติไม่ได้, ถึงภิกษุใดจะมีความสำคัญ อย่างนี้, จีวรนั้น ของภิกษุแม้นั้น ก็เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุนั้น ก็ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ด้วย, หรือเป็นปาจิตตีย์ มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม; เพราะฉะนั้น อรรถวิกัปทั้ง ๒ ย่อมถูกต้อง. ทุกๆ บทก็มีนัยเช่นนี้.
ข้อว่า อวิสฺสชฺชิเต วิสฺสชฺชิตสญฺี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญใน จีวรที่ตนไม่ได้ให้ คือ ไม่ได้สละให้แก่ใครๆ อย่างนี้ว่า เราสละแล้ว.
ข้อว่า อนฏฺเ นฏฺสญฺ มีความว่า โจรทั้งหลาย ย่อมลักเอา ซึ่งจีวรเป็นอันมากของภิกษุเหล่าอื่น ที่เก็บรวมไว้กับจีวรของตน, บรรดา ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความสำคัญในจีวรของตนซึ่งไม่ได้หาย ไป ว่าหายแล้ว. แม้ในจีวรที่ไม่ได้เสียหายเป็นต้น ก็มีนัยเช่นนี้
ก็ในบทว่า อวิลุตฺเต นี้ พึงทราบสันนิษฐานว่า ในจีวรที่มิได้ถูก ชิงไป ด้วยอำนาจที่พังห้องแล้วข่มขู่ชิงเอาไป.
ข้อว่า อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ภิกษุไม่เปลื้องจีวรที่นุ่งครั้งเดียว หรือห่มครั้งเดียวออกจากกายแล้วเที่ยว ไป แม้ตลอดวัน เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น. ภิกษุเปลื้องออกแล้วนุ่ง หรือห่มจีวรที่ยังไม่สละนั้น เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค. จัดจีวรที่นุ่งไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 715
เรียบร้อย หรือห่มไม่เรียบร้อย ให้เรียบร้อย ไม่เป็นอาบัติ. ไม่เป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ใช้สอยของภิกษุอื่น. ก็คำมีอาทิว่า ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่น กระทำแล้วใช้สอย ดังนี้ เป็นเครื่องสาธกในความไม่เป็นอาบัตินี้. ทรง หมายเอาการใช้สอย ปรับเป็นอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญในจีวร ยังไม่ล่วง (๑๐ วัน) ว่าล่วงแล้ว และภิกษุผู้มีความสงสัย.
[ว่าด้วยขนาดจีวรที่ควรอธิฐานและวิกัป]
ก็ในข้อว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา พึงทราบจีวรที่ควรอธิษฐาน และที่ควรวิกัป. ในจีวรที่ควรอธิษฐานและ วิกปะนั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้:-
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า จีวรทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ คือ ไตรจีวรก็ดี คือ วัสสิกสาฎก ก็ดี คือ นิสีทนะก็ดี คือ ปัจจัตถรณะก็ดี คือ กัณฑุปฏิจฉาทิก็ดี คือ มุขปุญฉนโจลกะก็ดี คือ ปริขารโจลกะก็ดี ควรอธิษฐานทั้งหมดหรือว่า ควรจะวิกัปหนอแล *. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาต ให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่อนุญาตให้วิกัป, ให้อธิษฐานวัสสิกสาฎก ตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากพ ๔ เดือนฤดูฝนนั้น อนุญาตให้วิกัปไว้, อนุญาตให้อธิษฐานนิสีทนะ ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานผ้าปูนอน ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานกัณฑุปฏิจฉาทิ (ผ้าปิดแผล) ชั่วเวลา อาพาธ พ้นจากกาลอาพาธนั้น อนุญาตให้วิกัป อนุญาตให้อธิษฐาน
(๑) วิ. มหา. ๕/๒๑๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 716
มุขปุญฉนโจล (ผ้าเช็ดหน้า) ไม่อนุญาตให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐาน บริขารโจล ไม่อนุญาตให้วิกัป * ดังนี้.
[ว่าด้วยการอธิษฐานไตรจีวรเป็นต้น]
บรรดาจีวรเป็นต้นเหล่านั้น อันภิกษุเมื่อจะอธิษฐานไตรจีวรย้อม แล้วให้กัปปะพินทุ พึงอธิษฐานจีวรที่ได้ประมาณเท่านั้น. ประมาณแห่ง จีวรนั้น โดยกำหนดอย่างสูง หย่อนกว่าสุคตจีวร (จีวรของพระสุคต) จึงควร และโดยกำหนดอย่างต่ำ ประมาณแห่งสังฆาฏิ และอุตราสงค์ ด้านยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง ๓ ศอกกำ จึงควร. อันตรวาสก ด้าน ยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง แม้ ๒ ศอก ก็ควร. เพราะอาจเพื่อจะปกปิด สะดือด้วยผ้านุ่งบ้าง ผ้าห่มบ้างแล. ก็จีวรที่เกินและหย่อนกว่าประมาณ ดังกล่าวแล้ว พึงอธิษฐานว่า บริขารโจล.
ในวิสัยแห่งการอธิษฐานจีวรนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า การอธิษฐาน จีวร มี ๒ อย่าง คืออธิษฐานด้วยกายอย่างหนึ่ง อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง หนึ่ง; ฉะนั้น ภิกษุพึงถอนสังฆาฎิผืนเก่าว่า อิมํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ (เรา ถอนสังฆาฎิผืนนี้) แล้วเอามือจับสังฆาฎิใหม่ หรือพาดบนส่วนแห่งร่างกาย กระทำการผูกใจว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ (เราอธิษฐานสังฆาฎินี้) แล้ว พึงทำกายวิการ อธิษฐานด้วยกาย นี้ ชื่อว่า การอธิษฐานด้วยกาย เมื่อไม่ถูกต้องจีวรนั้นด้วยส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การอธิษฐาน นั้น ไม่ควร.
ส่วนในการอธิษฐานด้วยวาจา พึงเปล่งวาจาแล้วอธิษฐานด้วย
(๑) วิ. มหา. ๕/๒๑๘ - ๒๑๙.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 717
วาจา ในการอธิษฐานด้วยวาจานั้น มีการอธิษฐาน ๒ วิธี. ถ้าผ้าสังฆาฏิ อยู่ในหัตถบาส พึงเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานสังฆาฎิผืนนี้. ถ้าอยู่ ภายในห้อง ในปราสาทชั้นบน หรือในวัดใกล้เคียง พึงกำหนดที่เก็บ สังฆาฎิไว้แล้วเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานสังฆาฎินั่น. ในอุตราสงค์ และอันตรวาสก ก็มีนัยอย่างนี้. จริงอยู่ เพียงแต่ชื่อเท่านั้นที่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น พึงอธิษฐานจีวรทั้งหมดโดยชื่อของตนเท่านั้น อย่างนี้ว่า สงฺฆาฎึ อุตฺตราสงฺคํ อนฺตรวาสกํ ดังนี้.
ถ้าภิกษุกระทำจีวรมีสังฆาฎิเป็นต้นด้วยผ้าที่อธิษฐานเก็บไว้ เมื่อ ย้อมและกัปปะเสร็จแล้วพึงถอนว่า ข้าพเจ้าถอนผ้านี้ แล้วอธิษฐานใหม่. แต่เมื่อเย็บแผ่นผ้าใหม่ หรือขัณฑ์ใหม่เฉพาะที่ใหญ่กว่าเข้ากับจีวรที่อธิษ- ฐานแล้ว ควรอธิษฐานใหม่. ในแผ่นผ้าที่เท่ากันหรือเล็กว่า ไม่มีกิจ ด้วยการอธิษฐาน (ใหม่).
ถามว่า ก็ไตรจีวรจะอธิษฐานเป็นบริขารโจล ควรหรือไม่ควร?
แก้ว่า ได้ทราบว่า พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ไตรจีวรพึง อธิษฐานเป็นไตรจีวรอย่างเดียว, ถ้าว่า อธิษฐานเป็นบริขารโจลได้, การบริหารที่ตรัสไว้ในอุทโทสิตสิกขาบท ก็จะพึงไร้ประโยชน์ไป. ได้ยิน ว่า เมื่อพระมหาปทุมเถระกล่าวอย่างนี้ พวกภิกษุที่เหลือกล่าวว่า แม้ บริขารโจล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า พึงอธิษฐาน; เพราะเหตุนั้น การอธิษฐานไตรจีวรให้เป็นบริขารโจล ย่อมสมควร.
แม้ในมหาปัจจรี ท่านก็กล่าวว่า ชื่อว่า บริขารโจลนี้เป็นเหตุแห่ง การเก็บ (จีวรโดยความไม่เป็นนิสสัคคีย์) ไว้แผนกหนึ่ง. จะอธิษฐาน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 718
ไตรจีวรว่า บริขารโจล แล้วใช้สอย ควรอยู่. ส่วนในอุทโทสิตสิกขาบท ตรัสการบริหารไว้สำหรับภิกษุผู้อธิษฐานไตรจีวรแล้วบริหารอยู่.
ได้ยินว่า แม้พระมหาติสสเถระผู้กล่าวอุภโตวิภังค์ ซึ่งอยู่ที่ปุณณวาลิการามได้กล่าวว่า ในกาลก่อน พวกเราได้ฟังจากพระมหาเถระว่า พวกภิกษุผู้ชอบอยู่ในป่าเก็บจีวรไว้ในโพรงไม้เป็นต้น ไปเพื่อต้องการจะ เริ่มบำเพ็ญเพียร, และเมื่อภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อประสงค์จะฟังธรรมในวัด ใกล้เคียง เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พวกสามเณร หรือพวกภิกษุหนุ่มจึง ถือบาตรจีวรมา (ให้) ; เพราะฉะนั้น การจะอธิษฐานไตรจีวรเป็นบริขารโจล เพื่อใช้สอยสะดวก ควรอยู่.
แม้ในมหาปัจจรีท่านก็กล่าวว่า ในกาลก่อน พวกภิกษุผู้อยู่ป่าได้ อธิษฐานไตรจีวรเป็นบริขารโจลนั่นแล แล้วใช้สอย ด้วยใส่ใจว่า ใน แดนที่ไม่ผูกสีมารักษาได้ยาก.
วัสสิกสาฏกที่ไม่เกินประมาณ อันภิกษุพึงระบุชื่อแล้วอธิษฐาน สิ้น ๔ เดือนฤดูฝนโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล, ต่อจากนั้นพึงถอนวิกัปไว้. ก็วัสสิกสาฎกนี้ แม้ย้อมพอทำให้เสียสี ก็ควร. แต่สองผืนไม่ควร.
ผ้านิสีทนะพึงอธิษฐานโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็แลผ้านิสีทนะ นั้น ได้ประมาณ มีได้เพียงผืนเดียวเท่านั้น. สองผืนไม่ควร.
แม้ผ้าปูนอนก็ควรอธิษฐานเหมือนกัน. ก็ผ้าปูนอนนั้น ถึงใหญ่ ก็ควร แม้ผืนเดียวก็ควร แม้มากผืนก็ควร. มีลักษณะเป็นต้นว่า สีเขียว ก็ดี สีเหลืองก็ดี มีชายก็ดี มีชายเป็นลายดอกไม้ก็ดี ย่อมควรทุกประการ. ภิกษุอธิษฐานคราวเดียว ย่อมเป็นอันอธิษฐานแล้วทีเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 719
ผ้าปิดฝีได้ประมาณพึงอธิษฐานชั่วเวลาที่ยังมีอาพาธอยู่, เมื่ออาพาธ หายแล้ว พึงปัจจุทธรณ์วิกัปไว้. ผืนเดียวเท่านั้น จึงควร.
ผ้าเช็ดหน้า พึงอธิษฐานเหมือนกัน. ภิกษุจำต้องปรารถนาผืนอื่น เพื่อต้องการใช้เวลาที่ยังซักอีกผืนหนึ่งอยู่, เพราะฉะนั้น สองผืนก็ควร. แต่พระเถระอีกพวกหนึ่งกล่าวว่า การอธิษฐานผ้าเช็ดหน้านั้น มุ่งการ เก็บไว้เป็นสำคัญ แม้มากผืนก็ควร.
ในบริขารโจล ชื่อว่าการนับจำนวนไม่มี, พึงอธิษฐานได้เท่า จำนวนที่ต้องการนั่นเทียว. ถุงย่ามก็ดี ผ้ากรองน้ำก็ดี มีประมาณเท่าจีวร ที่ควรวิกัปเป็นอย่างต่ำ พึงอธิษฐานว่า บริขารโจล เหมือนกัน. แม้จะ รวมจีวรมากผืนเข้าด้วยกันแล้วอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานจีวรเหล่านี้ เป็นบริขารโจล ดังนี้ ก็สมควรเหมือนกัน. แม้ภิกษุจะเก็บไว้เพื่อประโยชน์ แก่เภสัช นวกรรมและมารดาบิดาเป็นต้น ก็จำต้องอธิษฐานแท้. แต่ใน มหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนในเสนาสนบริขารเหล่านี้ คือ ฟูกเตียง ๑ ฟูกตั่ง ๑ หมอน ๑ ผ้าปาวาร ๑ ผ้าโกเชาว์ ๑ และในเครื่องปูลาดที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์ แก่เสนาสนบริขาร ไม่มีกิจที่ต้องอธิษฐานเลย.
[ว่าด้วยเหตุให้ขาดอธิษฐาน]
ถามว่า ก็จีวรที่อธิฐานแล้ว เมื่อภิกษุใช้สอยอยู่ จะละอธิษฐาน ไปด้วยเหตุอย่างไร?
ตอบว่า ย่อมละด้วยเหตุ ๙ อย่างนี้ คือ ด้วยให้บุคคลอื่น ๑ ด้วยถูกชิงเอาไป ๑ ด้วยถือเอาโดยวิสาสะ ๑ ด้วยหันไปเป็นคนเลว ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 720
ด้วยลาสิกขา ๑ ด้วยกาลกิริยา ๑ ด้วยเพศกลับ ๑ ด้วยถอนอธิษฐาน ๑ ด้วยความเป็นช่องทะลุ ๑.
บรรดาเหตุ ๙ อย่างนั้น จีวรทุกชนิดย่อมละอธิษฐานด้วยเหตุ ๘ อย่างข้างต้น. แต่เฉพาะไตรจีวรละอธิษฐานด้วยความเป็นช่องทะลุ ท่าน กล่าวไว้ในอรรถกถาทุกแห่ง. และการละอธิษฐานนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วย ช่องทะลุประมาณเท่าหลังเล็บ. ในช่องทะลุประมาณเท่าหลังเล็บนั้น ผู้ ศึกษาพึงทราบขนาดเท่าหลังเล็บ ด้วยสามารถแห่งเล็บนิ้วก้อย. และช่อง ทะลุ เป็นช่องโหว่ทีเดียว. ก็ถ้าแม้นว่า ภายในช่องทะลุมีเส้นด้ายเส้น หนึ่งยังไม่ขาด, ก็ยังรักษาอยู่.
บรรดาไตรจีวรนั้น สำหรับสังฆาฎิและอุตราสงค์ ช่องทะลุจาก ด้านในแห่งเนื้อที่มีประมาณเพียง ๑ คืบ จากซ้ายด้านยาว, มีประมาณ ๘ นิ้ว จากชายด้านกว้าง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน. แต่สำหรับอันตรวาสก ช่องทะลุจากด้านในแห่งเนื้อที่ มีประมาณเพียง ๑ คืบ จากชายด้านยาว, มีประมาณ ๔ นิ้ว จากชายด้านกว้าง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุ เล็กลงมา ไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน. เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเป็นช่องทะลุ จีวรนั้นย่อมตั้งอยู่ในฐานแห่งอติเรกจีวร, ควรกระทำสูจิกรรมแล้ว อธิษฐานใหม่.
แต่พระมหาสุมเถระกล่าวว่าสำหรับจีวรที่ได้ประมาณมีช่องทะลุที่ใด ที่หนึ่ง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน, แต่สำหรับจีวรที่ใหญ่ ช่องทะลุภายนอก จากประมาณ ยังไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุที่เกิดข้างในจึงทำให้ ขาด ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 721
พระกรวิยติสสเถระกล่าวว่า จีวรเล็ก ใหญ่ ไม่เป็นประมาณ, ช่อง ทะลุในที่ซึ่งภิกษุเมื่อครองจีวรซ้อนกัน * ๒ ตัวม้วนมาพาดไว้บนแขนซ้าย ยังไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุส่วนภายในย่อมทำให้ขาด, แม้สำหรับ อันตรวาสก ช่องทะลุในที่แห่งจีวรที่ภิกษุม้วนให้เป็นลูกบวบ ย่อมไม่ทำ ให้ขาด, ช่องทะลุที่ต่ำลงจากที่ม้วนให้เป็นลูกบวบนั้น ย่อมทำให้ขาด.
แต่ในอรรถกถาอันธกะ ท่านทำวาทะของพระมหาสุมเถระให้เป็น หลักในไตรจีวรแล้วกล่าวว่า จีวรประมาณอย่างต่ำ ย่อมรักษาอธิษฐาน ไว้ได้ จึงกล่าวคำแม้นี้เพิ่มเติมไว้ว่า ในบริขารโจล ด้านยาว ๙ นิ้ว โดย นิ้วสุคต ด้านกว้าง ๔ นิ้ว เป็นช่องทะลุ ณ ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมละ อธิษฐานไป, ในบริขารโจลผืนใหญ่ช่องทะลุที่ต่ำกว่า ๘ นิ้วและ ๔ นิ้ว นั้น ยังไม่ละอธิษฐาน, ในจีวรที่ควรอธิษฐานทั้งหมด ก็นัยนี้ ดังนี้.
บรรดาวาทะทั้ง ๔ นั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ประมาณอย่างเล็กอื่นๆ ที่ต่ำกว่าประมาณอย่างเล็ก แห่งจีวรที่ควรวิกัป ของจีวรที่จะพึงอธิษฐาน แม้ทั้งหมด ย่อมไม่มี. ด้วยว่า ประมาณแห่งผ้านิสีทนะ ผ้าปิดแผล และ ผ้าอาบน้ำฝนที่ท่านกล่าวไว้นั้น เป็นประมาณอย่างใหญ่ เพราะประมาณ ที่ยิ่งกว่าประมาณอย่างใหญ่นั้น สำเร็จแล้ว (ใช้ได้) , หาใช่ประมาณอย่าง เล็กไม่ เพราะประมาณอย่างเล็กลงมาจากประมาณอย่างใหญ่นั้น ไม่สำเร็จ (ใช้ไม่ได้). แม้ไตรจีวรที่หย่อนกว่าประมาณแห่งสุคตจีวร จัดเป็น ประมาณอย่างใหญ่เหมือนกัน. แต่ประมาณอย่างเล็กที่ท่านแยกกล่าวไว้ ต่างหากในพระสูตรไม่มี.
(๑) วิมติ: เทฺว จีวรานิ ปารุปนฺตสฺสาติ คามปฺปเวเส ทฺวิคุณํ กตฺวา สงฺฆาฏิโย ปารุปนํ สนฺธาย วุตฺตํ. แม้สารัตถทีปนี ๓/๑๔๖ ก็แก้คล้ายกันนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 722
การกำหนดขนาดใหญ่แห่งผ้าเช็คหน้า ผ้าปูนอน และผ้าบริขารโจล ไม่มีเหมือนกัน. แต่ท่านกล่าวกำหนดไว้ด้วยประมาณอย่างเล็กขนาดจีวรที่ ควรวิกัป เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ก่อน ในอรรถกถาอันธกะ ว่า ประมาณอย่างเล็กย่อมรักษาการอธิษฐานไว้ได้ แล้วแสดงประมาณ อย่างเล็ก ๘ นิ้ว และ ๔ นิ้ว โดยนิ้วสุคตแห่งบริขารโจลเท่านั้น ใน บรรดาไตรจีวรและบริขารโจลเป็นต้นนั้นแล้ว และหมายเอาประมาณอย่าง เล็กแห่งไตรจีวรเป็นต้นนอกนี้ ซึ่งมีชนิด ๕ ศอกกำเป็นต้น จึงกล่าวว่า ในจีวรที่ควรอธิษฐานทั้งหมด ก็นัยนี้, คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา อันธกะนั้น ย่อมไม่สมกัน. แม้ในวาทะของพระกรวิยติสสเถระ ท่านก็ แสดงช่องทะลุจากชายด้านยาวเท่านั้น จากชายด้านกว้างท่านมิได้แสดงไว้; เพราะฉะนั้น วาทะของพระกรวิยติสสเถระนั้น ก็ไม่ได้กำหนดไว้.
ในวาทะของพระมหาสุมเถระท่านกล่าวไว้ว่า ช่องทะลุในที่แห่งใด แห่งหนึ่งแห่งจีวรที่ได้ประมาณ ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุภาย นอกจากประมาณ แห่งจีวรขนาดใหญ่ ย่อมไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน. แต่ ท่านก็ไม่ได้กล่าวคำนี้ว่า จีวรชื่อนี้ จัดเป็นจีวรที่ได้ประมาณ, ที่โตกว่า จีวรที่ได้ประมาณนี้ จัดเป็นจีวรใหญ่.
อีกอย่างหนึ่ง ในวิสัยแห่งไตรจีวรเป็นต้นนี้ อาจารย์ทั้งหลาย ประสงค์เอาคำว่า ขนาดที่ต่างกันมี ๕ ศอกกำเป็นอาทิ เป็นประมาณ อย่างเล็กแห่งไตรจีวรเป็นต้น, ถ้าในจีวรใหญ่นั้น ช่องทะลุในภายนอก จากประมาณอย่างเล็ก ไม่พึงทำให้ขาดอธิษฐานไซร้, ช่องทะลุในภายนอก จากประมาณอย่างเล็กแม้แห่งบาตรขนาดใหญ่ หรือแห่งบาตรขนาดกลาง ก็ไม่พึงทำให้ขาดอธิษฐาน, แต่ (ช่องทะลุในภายนอกจากประมาณอย่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 723
เล็ก) จะไม่ทำให้ขาดอธิษฐานหามิได้; เพราะฉะนั้น วาทะแม้นี้ก็ไม่ได้ กำหนดขนาดไว้.
แต่อรรถกถาวาทะแรกทั้งหมดนี้ เป็นประมาณ ในอธิการวินิจฉัย ไตรจีวรเป็นต้นนี้. เพราะเหตุไร? เพราะมีกำหนด. จริงอยู่ ประมาณ อย่างเล็กแห่งไตรจีวร ประมาณช่องทะลุ และประมาณแห่งส่วนที่เป็น ช่องทะลุ ท่านกำหนดกล่าวไว้แล้วในทุกอรรถกถาเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น วาทะนั้นนั่นแลเป็นประมาณ. ด้วยว่า อรรถกถาวาทะนั้น ท่าน กล่าวคล้อยตามพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แท้. ส่วนใน ๓ วาทะนอกนี้ ไม่มีกำหนดเลย. คำหน้ากับคำหลังไม่สมกันฉะนี้แล.
ก็ภิกษุใดตามผ้าปะลงในที่ชำรุดก่อนแล้ว เลาะที่ชำรุดออกในภาย หลัง, การอธิษฐานของภิกษุนั้นยังไม่ขาดไป. แม้ในการเปลี่ยนแปลง กระทง (จีวร) ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. สำหรับจีวร ๒ ชั้น เมื่อชั้น หนึ่งเกิดเป็นช่องทะลุ หรือครากไป อธิษฐานยังไม่ขาด. ภิกษุกระทำ จีวรผืนเล็กให้เป็นผืนใหญ่ หรือกระทำผืนใหญ่ให้เป็นผืนเล็ก, อธิษฐาน ยังไม่ขาด. เมื่อจะต่อริมสองข้างเข้าที่ตรงกลาง ถ้าว่า ตัดออกก่อนแล้ว ภายหลังเย็บติดกัน, อธิษฐานย่อมขาด. ถ้าเย็บต่อกันแล้วภายหลังจึงตัด, ยังไม่ขาดอธิษฐาน. แม้เมื่อใช้พวกช่างย้อมซักให้เป็นผ้าขาว อธิษฐาน ก็ยังคงเป็นอธิษฐานอยู่ทีเดียวแล.
วินิจฉัยในการอธิษฐาน ในคำว่า อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเติ วิกปฺเปติ นี้ เท่านี้ก่อน.
[อธิบายการวิกัปจีวร]
ส่วนในการวิกัปมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 724
วิกัปมี ๒ อย่าง คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑.
ถามว่า วิกัปต่อหน้า เป็นอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุพึงทราบว่า จีวรผืนเดียว หรือมากผืน และว่า จีวร วางไว้ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้ (อยู่ในหัตถบาสหรือนอกหัตถบาส) แล้ว กล่าวว่า อิมํ จีวรํ จีวรผืนนี้ บ้าง ว่า อิมานิ จีวรานิ จีวรเหล่านี้ บ้าง ว่า เอตํ จีวรํ จีวรนั่น บ้าง ว่า เอตานิ จีวรานิ จีวรเหล่านั่น บ้าง แล้วพึงกล่าวว่า ตุยหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ท่าน ดังนี้. วิกัป ต่อหน้านี้ มีอยู่อย่างเดียว. ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้ จะเก็บไว้สมควรอยู่. จะใช้สอย หรือจะสละ หรือจะอธิษฐานไม่ควร. แต่เมื่อภิกษุนั้น (ภิกษุผู้รับวิกัป) กล่าวคำว่า มยฺหํ สนฺตกํ สนฺตกานิ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ แปลว่า จีวรนี้ หรือจีวร เหล่านี้ เป็นของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จงจำหน่าย จงกระทำตาม สมควรแก่ปัจจัยเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ปัจจุทธรณ์ (ถอนวิกัป) , จำเดิมแต่นั้น แม้การบริโภคเป็นต้น ย่อมสมควร.
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุพึงรู้ว่า จีวรผืนเดียวหรือมากผืน และว่าวางไว้ ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้ อย่างนั้นนั่นแล แล้วกล่าวว่า อิมํ จีวรํ หรือว่า อิมานิ จีวรานิ ดังนี้ ว่า เอตํ จีวรํ หรือว่า เอตานิ จีวรานิ ดังนี้ ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแล ระบุชื่อสหธรรมิก ๕ รูปใดรูปหนึ่ง คือ ผู้ใดผู้หนึ่ง ที่คนชอบใจแล้ว พึงกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัป ... แก่ภิกษุติสสะ หรือว่า ติสฺสาย ภิกขุนิยา, ติสฺสาย สิกฺขมานาย, ติสฺสสฺส สามเณรสฺส, ติสฺสาย สามเณริยา วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัป ... แก่ติสสาภิกษุณี, แก่ติสสาสิกขมานา, แก่ติสสสามเณร,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 725
แก่ติสสาสามเณรี ดังนี้. นี้เป็นวิกัปต่อหน้า อีกอย่างหนึ่ง. ด้วยการวิกัป เพียงเท่านี้ จะเก็บไว้สมควรอยู่. แต่ในการใช้สอยเป็นต้น กิจแม้อย่าง หนึ่ง ย่อมไม่ควร. แต่เมื่อภิกษุนั้นกล่าวคำว่า จีวรนี้ ของภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ ของสามเณรีชื่อติสสา ท่านจงบริโภคก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม จง กระทำตามสมควรแก่ปัจจัยก็ตาม ดังนี้ ชื่อว่าเป็นอันถอน, จำเดิมแต่ นั้นแม้การใช้สอยเป็นต้น ก็สมควร.
ถามว่า การวิกัปลับหลัง เป็นอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุพึงทราบว่า จีวรผืนเดียวหรือมากผืน และจีวรวางไว้ ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้ เหมือนอย่างนั้นแล้ว กล่าวว่า อิมํ จีวรํ ซึ่งจีวรนี้ หรือว่า อิมานิ จีวรานิ ซึ่งจีวรทั้งหลายนี้ ว่า เอตํ จีวรํ ซึ่งจีวรนั่น หรือว่า เอตานิ จีวรานิ ซึ่งจีวรทั้งหลายนั่น ดังนี้ แล้ว กล่าวว่า ตุยหํ วิกปฺปนตฺถาย ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ท่าน เพื่อประโยชน์ แก่การวิกัป. ภิกษุผู้วิกัป อันภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึงกล่าวว่า ใครเป็นมิตร หรือเป็นเพื่อนเห็น หรือเป็นเพื่อนคบกันของท่าน, ลำดับนั้น ภิกษุผู้ วิกัปนอกนี้พึงกล่าวว่า ภิกษุชื่อติสสะ หรือว่า ฯลฯ สามเณรีชื่อติสสา โดยนัยก่อนนั่นแล. ภิกษุนั้นพึงกล่าวอีกว่า อหํ ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ หรือว่า อหํ ติสฺสาย สามเณริยา ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่สามเณรีชื่อติสสา ดังนี้. อย่างนี้ ชื่อว่าวิกัปลับหลัง. ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้ การเก็บไว้ สมควรอยู่. ส่วนในการใช้สอยเป็นต้น กิจแม้อย่างเดียว ก็ไม่สมควร. แต่เมื่อภิกษุนั้นกล่าวคำว่า อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ (จีวร) ของภิกษุข้อนี้ ท่านจงใช้สอยก็ได้ จงจำหน่ายก็ได้ จงกระทำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 726
ตามสมควรแก่ปัจจัยก็ได้ โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิกัปต่อหน้าอย่างที่สอง นั่นแล ชื่อว่าเป็นอันถอน. จำเดิมแต่ถอนแล้วนั้น แม้กิจทั้งหลายมี การใช้สอยเป็นต้น ย่อมควร.
ถามว่า การวิกัปทั้ง ๒ อย่าง ต่างกันอย่างไร?
ตอบว่า ในการวิกัปต่อหน้า ภิกษุวิกัปเองแล้วให้ผู้อื่นถอนได้, ในวิกัปลับหลัง ภิกษุให้คนอื่นวิกัปแล้วให้คนอื่นนั่งเองถอน, นี้เป็น ความต่างกัน ในเรื่องวิกัปทั้ง ๒ นี้. ก็ถ้าวิกัปแก่ผู้ใด ผู้นั้นไม่ฉลาด ในพระบัญญัติ ไม่รู้จะถอน, พึงถือจีวรนั้น ไปยังสำนักสหธรรมิก อื่นผู้ฉลาด วิกัปใหม่แล้วพึงให้ถอน. นี้ชื่อว่า การวิกัปบริขารที่วิกัปแล้ว ควรอยู่.
ในบทว่า วิกปฺเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ก็คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แปลกกันว่า วิกปฺเปติ นี้ ดูเหมือนจะผิด จาก พระบาลีเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกขุเว ติจีวรํ อธิฏฺาตุํ น วิกปฺเปตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่ใช่ให้วิกัป ดังนี้, แต่พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำที่ผิด; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบเนื้อความแห่งคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ติจีวรํ เป็นต้นนั้น โดยนัยอย่างนี้ว่า เราอนุญาตให้อธิษฐาน สำหรับภิกษุผู้บริหารไตรจีวร โดยสังเขปว่าไตรจีวรเท่านั้น ไม่ใช่ให้วิกัป. แต่ผ้าอาบน้ำฝน อนุญาต ให้วิกัปอย่างเดียว ถัดจาก ๔ เดือน (ฤดูฝน) ไม่ใช่อธิษฐาน, และเมื่อ มีอรรถอย่างนี้ ภิกษุรูปใดใคร่จะอยู่ปราศจากไตรจีวร ผืนใดผืนหนึ่ง, เป็นอันทรงประทานโอกาสแก่ภิกษุนั้น เพื่อถอนจีวรอธิษฐานแล้ววิกัป เพื่อสะดวกในการอยู่ปราศ (ไตรจีวร) ไม่เป็นอาบัติ ในเมื่อล่วง ๑๐ วัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 727
โดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทราบความที่วิกัปไม่สำเร็จในจีวรเป็นต้นทั้งหมด ฉะนี้แล.
บทว่า วิสฺสชฺเชติ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุให้จีวรแก่ผู้อื่น ก็อย่างไร เป็นอันให้แล้ว และอย่างไร เป็นอันถือเอาแล้ว? ภิกษุผู้สละให้กล่าวว่า อิทํ ตุยฺหํ เทมิ ททามิ หชฺชามิ โอโณเชมิ ปริจฺจชามิ วสฺสชฺชามิ ข้าพเจ้าให้ ยกให้ มอบให้ น้อมให้ สละให้ จำหน่ายจีวรผืนนี้แก่ท่าน หรือว่า อิตฺถนฺนามสฺส เทมิฯ เปฯ นิสฺสชฺชามิ ข้าพเจ้าให้ ฯลฯ สละให้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ เป็นอันให้ทั้งต่อหน้าทั้งลับหลังแล้วทีเดียว; เมื่อผู้สละให้กล่าวว่า ตุยฺหํ คณฺหาหิ ท่านจงถือเอาของท่าน ดังนี้, ภิกษุ ผู้รับกล่าวว่า มยฺหํ คณฺหามิ ข้าพเจ้าถือเอาของข้าพเจ้า เป็นอันให้ถูก และถือเอาถูก, เมื่อผู้สละให้กล่าวว่า ตว สนฺตถํ กโรหิ ตว สนฺตกํ โหตุ ตว สนฺตถํ กริสฺสสิ ท่านจงทำให้เป็นของท่าน จงเป็นของท่าน ท่าน จักกระทำให้เป็นของท่าน ดังนี้. ภิกษุผู้รับกล่าวว่า มม สนฺตกํ กโรมิ ข้าพเจ้าจะทำให้เป็นของข้าพเจ้า มม สนฺตกํ โหตุ จงเป็นของข้าพเจ้า มม สนฺตกํ กริสฺสามิ ข้าพเจ้า จักกระทำให้เป็นของข้าพเจ้า ดังนี้, เป็นอันให้ไม่ถูกและเป็นอันถือเอาไม่ถูก.
ภิกษุ ผู้สละให้ ไม่รู้เพื่อจะให้ (ไม่รู้วิธีเสียสละให้) เลย, ฝ่ายผู้รับ ก็ไม่รู้เพื่อจะรับ (ไม่รู้วิธีรับ). ก็ถ้าเมื่อภิกษุผู้เสียสละให้กล่าวว่า ขอท่าน จงทำให้เป็นของท่านเสีย ภิกษุผู้รับกล่าวว่า ดีละ ขอรับ! ผมจะรับเอา แล้วถือเอา, เป็นอันให้ไม่ถูกต้อง แต่เป็นอันรับเอาถูกต้อง. ก็ถ้ารูปหนึ่ง กล่าวว่า, ท่านจะถือเอาเสีย, อีกรูปหนึ่ง (คือผู้รับ) กล่าวว่า ผมจะไม่ ถือเอา, ผู้เสียสละให้นั้นกล่าวอีกว่า ท่านจงถือเอาของที่ผมให้แล้วเพื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 728
ท่าน, ฝ่ายภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ผมไม่มีความต้องการด้วยของสิ่งนี้, หลัง จากนั้นแม้รูปก่อนก็ให้ล่วง ๑๐ วันไปด้วยเข้าใจว่า เราให้แล้ว, ฝ่าย รูปหลังก็ให้ล่วง ๑๐ วัน ไปด้วยเข้าใจว่า เราได้ปฏิเสธไปแล้ว เป็นอาบัติ แก่ใคร ไม่เป็นอาบัติแก่ใคร? ไม่เป็นอาบัติแก่ใคร, ก็ท่านรูปใดชอบใจ, ท่านรูปนั้นพึงอธิษฐานใช้สอยเถิด.
ฝ่ายภิกษุผู้ที่มีความสงสัยในการอธิษฐาน จะพึงทำอย่างไร? พึง บอกความเป็นผู้สงสัยแล้วกล่าวว่า ถ้าจีวรจักไม่ได้อธิษฐาน เมื่อเป็น อย่างนั้น จีวรเป็นของควรแก่ข้าพเจ้า แล้วพึงเสียสละโดยนัยดังกล่าวแล้ว นั้นแล. เพราะว่าเมื่อภิกษุให้รู้อย่างนี้แล้วทำวินัยกรรมไม่เป็นมุสาวาท. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า จีวรนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาเป็นวิสาสะแล้ว คืนให้ ก็ควร. คำของอาจารย์บางพวกนั้นไม่ชอบ. เพราะนั่น ไม่ใช่ วินัยกรรมของภิกษุผู้มีความสงสัยนั้น. ทั้งผ้านั้น ก็ไม่เป็นวัตถุอื่น ด้วย เหตุสักว่าถือเอาแล้วให้คืนนี้.
คำว่า นสฺสติ เป็นต้น มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
ในคำว่า โย น ทเทยฺย อาปตฺติ ทุกกฏสฺส นี้มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่คืนให้ ด้วยความสำคัญนี้ว่า ภิกษุนี้ให้แล้วแก่เรา. แต่ภิกษุผู้รู้ว่าเป็นของภิกษุนั้นแล้วชิงเอาด้วยเลศ พระวินัยธรพึงให้ตีราคา สิ่งของปรับอาบัติ ฉะนี้แล.
ในสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ ชื่อว่ากฐินสมุฏฐาน ย่อมเกิด ทางกายกับวาจา และทางกายวาจากับจิต เป็นอกิริยา เพราะต้องด้วย การไม่อธิษฐานและไม่วิกัป เป็นโนสัญญาวิโมกข์ เพราะไม่พ้นด้วยสัญญา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 729
แม้ไม่รู้ก็ต้อง เป็นอจิตตกะ ปัณณัติติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาปฐมกฐินสิกขาบท ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย ฝากผ้าสังฆาฎิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบท ผ้าสังฆาฎิเหล่านั้นถูกเก็บไว้นานก็ขึ้นราตกหนาว ภิกษุทั้งหลายจึงผึ่งผ้าสังฆาฏิเหล่านั้น
ท่านพระอานนท์เที่ยวตรวจดูเสนาสนะ ได้พบภิกษุเหล่านั้นกำลัง ผึ่งผ้าสังฆาฏิอยู่ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ถามว่าจีวรที่ขึ้นรา เหล่านี้ของใคร
จึงภิกษุเหล่านั้นแจ้งความนั้นแก่ท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงได้ฝากผ้าสังฆาฎิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้า อันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 730
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบท จริงหรือ
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้า อันตรวาสกหลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอี่นของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 731
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๑. ๒. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เป็นนิสัคคิยปาจิตตีย์
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุหลายรูป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 732
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปในสำนักภิกษุนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจักพยาบาล แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า ไปเถิดท่าน พวกญาติจักพยาบาลท่าน
เธอตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร ผมกำลัง อาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ ผมจักไม่ไปละ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ เพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจาก ไตรจีวรแก่ภิกษุผู้อาพาธ ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้:-
วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้อาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนั้นว่า ท่าน เจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์ ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 733
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อผู้นี้อาพาธ ไม่ สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็น วาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่ สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจาก ไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร อันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 734
พระอนุบัญญัติ
๒๑. ๒. ก. จีวร ... สำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุ อยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒] บทว่า จีวร ... สำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จ แล้วก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ ทำจีวรก็ดี
คำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอัน หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง
คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากผ้าสังฆาฏิก็ดี จากผ้าอุตราสงค์ก็ดี จากผ้าอันตรวาสก ก็ดี แม้คืนเดียว.
บทว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ.
บทว่า เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำจะสละ พร้อมกับเวลา อรุณขึ้น ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรในอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 735
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศจากแล้วล่วงราตรี เป็น ของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง ที่แล้ว สงฆ์พึงหญิงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศจากแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 736
ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของ จำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๓] บ้าน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
เรือน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
โรงเก็บของ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
ป้อม มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
ปราสาท มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
ทิมแถว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
เรือ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
หมู่เกวียน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
ไร่นา มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
สวน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
วิหาร มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
โคนไม้ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
ที่แจ้ง มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 737
มาติกาวิภังค์
[๑๔] บ้าน ที่ชื่อว่า มีอุปจารเดียว คือเป็นบ้านของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในบ้าน ต้องอยู่ภายในบ้าน เป็นบ้านไม่มีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือน นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส ที่ชื่อว่า มีอุปจารต่าง คือเป็นบ้าน ของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ใน เรือนนั้น หรือในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส เมื่อจะไปสู่ห้องโถง ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาส แล้วอยู่ในห้องโถง หรือ อยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส เก็บจีวรไว้ในห้องโถง ต้องอยู่ ในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส เป็นบ้านไม่มีเครื่อง ล้อม เก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๑๕] เรือน ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อย ต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน เป็นเรือนที่ไม่ มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจาก หัตถบาส เรือนต่างสกุล และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ในห้องโด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละ จากหัตถบาส เป็นเรือนไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๑๖] โรงเก็บของ ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็ก ห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในโรงเก็บของ ต้องอยู่ภายในโรง เก็บของ เป็นโรงไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส โรงเก็บของ ของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 738
มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือ ที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส เป็นโรงไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๑๗] ป้อม ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในป้อม ต้องอยู่ ภายในป้อม ป้อมของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ใน ห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๑๘] เรือนยอดเดียว ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือน ยอดเดียว ต้องอยู่ภายในเรือนยอดเดียว เรือนยอดเดียวของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องโด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือ ที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๑๙] ปราสาทของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในปราสาท ต้อง อยู่ภายในปราสาท ปราสาทของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บ จีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในหัองนั่น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจาก หัตถบาส.
[๒๐] ทิมแถว ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในทิมแถว ต้องอยู่ภายในทิมแถว ทิมแถวของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละ จากหัตถบาส.
[๒๑] เรือ ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือ ต้องอยู่ ภายในเรือ เรือของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ใน ห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๒๒] หมู่เกวียน ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ไม่พึงละอัพภันดรด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านละ ๗ อัพภันดร ด้านข้าง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 739
ด้านละ ๑ อัพภันดร หมู่เกวียนของต่างสกุล เก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ไม่พึงละจากหัตถบาส.
[๒๓] ไร่นา ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวร ไว้ภายในเขตไร่นา ต้องอยู่ภายในเขตไร่นา เป็นไร่นาไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส ไร่นาของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภาย ในเขตไร่นา ต้องอยู่ภายในเขตไร่นา หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจาก หัตถบาส เป็นเขตไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส.
[๒๔] ลานนวดข้าว ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บ จีวรไว้ภายในเขตลานนวดข้าว ต้องอยู่ภายในเขตลานนวดข้าว เป็นสถาน ไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส ลานนวดข้าวต่างสกุล และมีเครื่อง ล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตลานนวดข้าว ต้องอยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละจาก หัตถบาส เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส.
[๒๕] สวน ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภาย ในเขตสวน ต้องอยู่ภายในเขตสวน เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึง ละจากหัตถบาส สวนของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายใน เขตสวน ต้องอยู่ที่ริมประตูสวน หรือไม่ละจากหัตถบาส เป็นสถานไม่มี เครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส.
[๒๖] วิหาร ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ ภายในเขตวิหาร ต้องอยู่ภายในเขตวิหาร เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส วิหาร ของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่ อยู่นั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 740
เก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส.
[๒๗] โคนไม้ ของสกุลเดียว กำหนดเอาเขตที่เงาแผ่ไปโดยรอบ ในเวลาเที่ยง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตเงา ต้องอยู่ภายในเขตเงา โคนไม้ของต่างสกุล ไม่พึงละจากหัตถบาส.
[๒๘] ที่แจ้ง ที่ชื่อว่า มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง คือในป่า หาบ้านมิได้ กำหนด ๗ อัพภันดรโดยรอบ จัดเป็นอุปจารเดียว พ้น นั้นไป จัดเป็นอุปจารต่าง.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๒๙] จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ เว้นแต่ภิกษุได้รับ สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสงสัย เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าสละให้ไปแล้ว เว้นแต่ภิกษุ ได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 741
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับ สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เว้นแต่ภิกษุได้ รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เว้นแต่ ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๓๐] ภิกษุไม่สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ จีวร ไม่อยู่ปราศ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๑] ในภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวร หาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือ วิสาสะ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 742
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๒
พรรณนาอุทโทสิตสิกขาบท
อุทโทสิตสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- วินิจฉัยในอุทโทสิตสิกขาบทนั้น พึงทราบ ต่อไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุหลายรูป]
บทว่า สนฺตรุตฺตเรน มีความว่า อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ตรัส เรียกว่า อันตระ. อุตราสงค์ (ผ้าห่ม) ตรัสเรียกว่า อุตตระ. ผ้าห่มกับ ผ้านุ่งชื่อว่า สันตรุตตระ. มีแต่ผ้าห่มกับผ้านุ่งนั้น. อธิบายว่า พร้อมด้วย ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก.
บทว่า ณฺณกิตานิ ได้แก่ เกิดราเป็นจุดดำๆ ขาวๆ ในโอกาสที่ เหงื่อถูก.
คำว่า อทฺทสา โข อายสฺมา อานนฺโท เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺโต มีความว่า ได้ยินว่า พระเถระ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฏี เพื่อพระประสงค์จะพักผ่อนในกลางวัน ได้โอกาสนั้นแล้ว เก็บ ภัณฑะไม้ และภัณฑะดิน ที่เก็บไว้ไม่ดี ปัดกวาดสถานที่ที่ไม่ได้กวาด กระทำปฏิสันถารกับพวกภิกษุอาพาธ ไปถึงเสนาสนสถานแห่งภิกษุ เหล่านั้นได้เห็นแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ เที่ยวไปยังเสนาสนจาริกได้เห็นแล้วแล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 743
[อนุบัญญัติแก้อรรถเรื่องภิกษุอาพาธ]
คำว่า อวิปฺปวาสสมฺมตึ ทาตุํ มีความว่า สมมติในการไม่อยู่ปราศ (ไตรจีวร) ชื่ออวิปปวาสสมมติ. อนึ่ง สมมติ เพื่อการไม่อยู่ปราศ (ไตร จีวร) ชื่ออวิปปวาสสมมติ. ก็ในอวิปปวาสสมมตินี้ มีอานิสงส์อย่างไร? ภิกษุอยู่ปราศจากจีวรผืนใด, จีวรผืนนั้น ย่อมไม่เป็นนิสสัคคีย์ และภิกษุ ผู้อยู่ปราศจากไม่ต้องอาบัติ. อยู่ปราศจากได้สิ้นเวลาเท่าไร? พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ชั่วเวลาที่โรคยิ่งไม่หาย, แต่เมื่อโรคหายแล้ว ภิกษุพึงรีบกลับมาสู่สถานที่เก็บจีวร ดังนี้. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นรีบด่วนมา โรคพึงกลับกำเริบขึ้น; เพราะฉะนั้น ควรจะ ค่อยๆ มา, ก็ภิกษุยังแสวงหาพวกเกวียน หรือว่า ทำความผูกใจอยู่ว่า เราจะไป จำเดิมแต่กาลใด, จะอยู่ปราศจากจำเดิมแต่กาลนั้นไป ก็ควร, แต่เมื่อภิกษุทำการทอดธุระอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ไปในเวลานี้ พึงถอน เสีย, ไตรจีวรที่ถอนแล้วจักตั้งอยู่ในฐานะเป็นอติเรกจีวร ดังนี้.
ถามว่า ถ้าว่า โรคของเธอกลับกำเริบขึ้น, เธอจะพึงทำอย่างไร?
แก้ว่า พระปุสสเทวเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ถ้าโรคนั้นนั่นเองกลับ กำเริบขึ้น อวิปปวาสสมมตินั้นนั่นแล ยังคงเป็นสมมติอยู่ ไม่มีกิจที่จะ ต้องให้สมมติใหม่; ถ้าโรคอื่นกำเริบ, พึงให้สมมติใหม่ ดังนี้. พระอุปติสสเถระกล่าวว่า โรคนั้น หรือโรคอื่นก็ตาม จงยกไว้, ไม่มีกิจที่ จะต้องให้สมมติใหม่ ดังนี้.
ส่วนในบทว่า นิฏฺิตจีวรสฺมึ ภิกฺขุนา นี้ บัณฑิตอย่าเข้าใจอรรถ เหมือนในสิกขาบทก่อน พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ด้วยอำนาจแห่ง ฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า นิฏฺิต จีวรสฺมึ ภิกฺขุโน เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 744
แล้ว ดังนี้. เพราะอรรถด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติว่า กิจชื่อนี้ อันภิกษุ พึงกระทำ ดังนี้ ไม่มี, แต่ว่า อรรถด้วยอำนาจแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว และเมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุมีปลิโพธขาด แล้วอย่างนี้ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ดังนี้ ย่อมสมควร (เพราะเหตุใด; เพราะเหตุนั้น พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติด้วยอำนาจ ฉัฏฐีวิภัตติ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติจีวเรน ได้แก่ จากบรรดาไตรจีวรที่ อธิษฐานแล้ว จีวรผืนใดผืนหนึ่ง. จริงอยู่ ภิกษุแม้อยู่ปราศจากจีวรผืน เดียว ก็จัดว่าเป็นผู้อยู่ปราศจากไตรจีวร เพราะเป็นผู้อยู่ปราศจาก (จีวร ผืนหนึ่ง) อันนับเนื่องในความสำเร็จเป็นไตรจีวร เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า ติจีวเรน นั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า สงฺฆาฏิยา เป็นต้น.
บทว่า วิปฺปวเสยฺย คือ พึงเป็นผู้อยู่ปราศจาก.
[อธิบายสถานที่เก็บจีวรและวิธีปฏิบัติ]
คำว่า คาโม เอกูปจาโร เป็นอาทิ ตรัสไว้เพื่อให้กำหนดลักษณะ แห่งการไม่อยู่ปราศจาก (ไตรจีวร). ต่อจากคำว่า คาโม เอกูปจาโร เป็นต้นนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงขยายบทมาติกา ๑๕ บท เหล่านั้นนั่นแล ให้พิสดารตามลำดับ จึงตรัสว่า คาโม เอกูปจาโร นาม เป็นต้น. ในคำว่า คาโม เอกูปจาโร นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
พระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่ง หรือบ้านของนายบ้านคน หนึ่ง ชื่อว่าบ้านของตระกูลเดียว. บทว่า ปริกฺขิตฺโต มีความว่า ล้อม แล้วด้วยกำแพง ด้วยรั้ว หรือด้วยคู อย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 745
ท่านแสดงความที่บ้านของตระกูลเดียว มีอุปจารเดียวด้วยคำมี ประมาณเพียงเท่านี้.
สองบทว่า อนฺโตคาเม วฏฺพฺพํ มีความว่า ภิกษุจะเก็บจีวรไว้ใน บ้านเช่นนี้แล้ว ให้อรุณขึ้นในที่ซึ่งตนชอบใจในละแวกบ้านย่อมควร.
ด้วยบทว่า อปริกฺขิตฺโต นี้ ท่านแสดงความที่บ้านนั้นนั่นแล มี อุปจารต่างๆ กัน.
คำว่า ตสฺมึ ฆเร วฎฺพฺพํ มีความว่า พึงอยู่ในเรือนหลังที่ตนเก็บ จีวรไว้ในบ้านเห็นปานนั้น.
หลายบทว่า หตฺถปาสา วา น วิชหิตพฺพํ มีความว่า อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงละเรือนนั้น จากหัตถบาสโดยรอบ. มีคำอธิบายว่า ไม่พึงละให้ ห่างจากประเทศประมาณ ๒ ศอกคืบไป. ก็การอยู่ภายใน ๒ ศอกคืบ ย่อมสมควร. ล่วงเลยประมาณนั้นไป ถ้าแม้นภิกษุผู้มีฤทธิ์ยังอรุณให้ตั้ง ขึ้นในอากาศ ก็เป็นนิสสัคคีย์เหมือนกัน.
ก็บัณฑิตพึงทราบการกำหนดเรือนในบทว่า ยสฺมึ ฆเร ในวิสัยว่า บ้านของตระกูลเดียวนี้ โดยลักษณะเป็นต้นว่า เป็นเรือนของตระกูลเดียว ดังนี้.
คำว่า นานากุลสฺส คาโม ได้แก่ ตำหนักแห่งพระราชาต่างพระองค์ กัน หรือบ้านของพวกนายบ้านต่างๆ เช่นเมืองไพศาลีและเมืองกุสินารา เป็นต้น.
ด้วยบทว่า ปริกฺขิตฺโต นี้ ท่านแสดงความที่บ้านของตระกูลต่าง กัน มีอุปจารเดียวกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 746
ท่านกล่าวสภาด้วยลิงค์ตรงกันข้าม ในคำว่า สภาเย วา ทฺวารมูเล วา นี้ ว่า สภายํ
บทว่า ทฺวารมูเล ได้แก่ ที่ใกล้ประตูเมือง มีคำอธิบายว่า หรือ พึงอยู่ในเรือนที่ตนเก็บจีวรไว้ในบ้านเห็นปานนั้น. เมื่อภิกษุไม่อาจจะอยู่ ในเรือนนั้น แพราะเสียงอึกทึก หรือเพราะคนพลุกพล่าน พึงอยู่ในสภา หรือที่ใกล้ประตูเมือง. เมื่อไม่อาจอยู่แม้ในสภา หรือในที่ใกล้ประตูเมือง นั้น พึงอยู่ในที่ผาสุก แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วมาในภายในอรุณ ไม่พึงละ จากหัตถบาส แห่งสภาและที่ใกล้ประตูเมืองนั้นเลย. ส่วนกิจที่ภิกษุจะพึง อยู่ในหัตถบาสแห่งเรือน หรือแห่งจีวร ไม่มีเลย.
คำว่า สภายํ คจฺฉนฺเตน หตฺถปาเส จีวรํ นิกฺขิปิตฺวา มีความว่า ถ้าว่า ภิกษุไม่เก็บไว้ในเรือน ไปยังสภาด้วยทำในใจว่า เราจักเก็บไว้ที่ สภา, เมื่อภิกษุนั้น ไปยังสภา พึงเหยียดแขนออกไปในหัตถบาส เก็บ จีวรไว้ที่ร้านตลาดบางร้าน ที่เป็นทางแห่งการเก็บไว้ คือ อยู่ในหัตถบาส อย่างนี้ว่า เอาเถอะ! เราจักเก็บจีวรนี้ไว้ แล้วพึงอยู่ที่สภา หรือที่ใกล้ ประตู หรือไม่พึงละ (จีวร) จากหัตถบาส โดยนัยก่อนนั่นแล.
[มติต่างๆ ในสถานที่เก็บและการรักษาจีวร]
ในวิสัยว่า สภาเย วา ทฺวารมูเล วา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
พระปุสสเทวเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ไม่มีกิจจำเป็นที่จะต้องอยู่ใน หัตถบาสแห่งจีวร, จะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นหัตถบาสถนนก็ดี หัตถบาสสภาก็ดี หัตถบาสประตูก็ดี ย่อมสมควรทั้งนั้น ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 747
ส่วนพระอุปติสสเถระ กล่าวว่า เมืองมีประตูมากก็มี มีสภามาก ก็มี; เพราะฉะนั้น จะอยู่ในที่ทั่วไป ไม่สมควร, แต่ไม่พึงละจากหัตถบาสแห่งสภาและประตู ซึ่งมีอยู่ในที่ทรงหน้าแห่งถนนที่ตนเก็บจีวรไว้, จริงอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ อาจจะทราบความเป็นไปแห่งจีวรได้ ดังนี้.
แต่เมื่อภิกษุไปยังสภา เก็บจีวรไว้ในมือของชาวร้านตลาดคนใด. ถ้าชาวร้านตลาดคนนั้นไพล่นำจีวรนั้นไปเก็บไว้ที่เรือน, หัตถบาสถนน คุ้มไม่ได้, ภิกษุจะต้องอยู่ในหัตถบาสแห่งเรือนเท่านั้น. ถ้าเรือนใหญ่ ตั้งแผ่ครอบไปตลอดสองถนน, ภิกษุพึงให้อรุณตั้งขึ้นเฉพาะในหัตถบาส ทางข้างหน้า หรือทางข้างหลัง (แห่งเรือนนั้น). แต่ภิกษุเก็บ (จีวร) ฝากไว้ในสภา พึงให้อรุณขึ้นในสภา หรือที่ใกล้ประตูเมือง ตรงหน้า สภานั้น หรือว่า ในหัตถบาสแห่งสภา หรือที่ใกล้ประตูเมืองนั้นนั่นแล.
ด้วยบทว่า อปริกฺขิตฺโต นี้ ท่านแสดงความที่บ้านนั้นนั่นแล มี อุปจารต่างกัน. พึงทราบความมีอุปจารเดียวกัน และมีอุปจารต่างกันใน บททั้งปวง โดยอุบายอย่างนี้เหมือนกัน. แต่ในพระบาลีพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกบทมาติกาขึ้นเพียงบทเดียว อันมีอยู่ในคำต้น อย่างนี้ว่า บ้าน ชื่อว่า มีอุปจารเดียว และอันตั้งอยู่ในที่สุดอย่างนี้ว่า ที่แจ้ง ชื่อว่า มี อุปจารเดียว แล้วขยายบทภาชนะให้พิสดาร. เพราะฉะนั้น ในทุกๆ บท พึงทราบความมีอุปจารเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งที่มีเครื่องล้อมเป็นต้น และความมีอุปจารต่างกัน ด้วยอำนาจแห่งที่ไม่มีเครื่องล้อมเป็นต้น โดย ทำนองแห่งบทนั้นนั่นแล.
ในนิเวศน์ (เรือนพัก) เป็นต้น มีวินิจฉัย ดังนี้:-
บทว่า โอวรกา นี้ เป็นคำยักเรียกห้องทั้งหลายนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 748
บทว่า หตฺถปาสา วา ได้แก่ จากหัตถบาสแห่งห้อง หรือแห่ง เรือน.
บทว่า ทฺวารมูเล ได้แก่ ในที่ใกล้ประตูเรือนอันสาธารณะแก่ชน ทั้งปวงก็ดี.
บทว่า หตฺถปาสา วา ได้แก่ จากหัตถบาสแห่งห้อง หรือแห่งเรือน หรือแห่งใกล้ประตูเรือน.
ที่ชื่อว่าโรงเก็บของนั้น ได้แก่ โรงเก็บสิ่งของมียวดยานเป็นต้น. จำเดิมแต่โรงเก็บสิ่งของนี้ไป พึงทราบวินิจฉัย โดยนัยดังกล่าวแล้วใน เรือนพัก.
ที่ชื่อว่าป้อมนั้น ได้แก่ ที่อาศัยพิเศษ ซึ่งเขาก่อด้วยอิฐ เพื่อป้อง กันพระราชาข้าศึกเป็นต้น มีฝาผนังหนา มีฟื้น ๔- ๕ ชั้น.
ปราสาท ๔ เหลี่ยมจตุรัส อันสงเคราะห์เข้าด้วยยอดเดียวกัน ชื่อ ว่า เรือนยอดเดียว. ปราสาทยาว ชื่อว่า ปราสาท. ปราสาทมีหลังคา ตัด (ปราสาทโล้น) ชื่อว่า ทิมแถว. อัพภันดรนั่นที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า ๗ อัพภันดร นี้ มีประมาณ ๒๘ ศอก.
บทว่า สตฺโถ มีความว่า ถ้าหมู่เกวียนไปหยุดพักโอบหมู่บ้าน หรือแม่น้ำ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับหมู่เกวียนที่เข้าไปภายใน กระจายอยู่ ตลอดไปทั้งฝั่งในทั้งฝั่งนอก ย่อมได้บริหารว่า หมู่เกวียนแท้. ถ้าหมู่เกวียน ยังเนื่องกันอยู่ที่บ้าน หรือว่าที่แม่น้ำ, หมู่เกวียนที่เข้าไปภายในแล้ว ย่อม ได้บริหารว่า บ้าน และบริหารว่า แม่น้ำ. ถ้าหมู่เกวียนหยุดพักอยู่เลย วิหารสีมาไป, จีวรอยู่ภายในสีมา พึงไปยังวิหารแล้วอยู่ภายในสีมานั้น, ถ้าจีวรอยู่ในภายนอกสีมา, พึงอยู่ในที่ใกล้หมู่เกวียนนั่นแล. ถ้าหมู่เกวียน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 749
กำลังเดินทางเมื่อเกวียนหัก หรือโคหาย ย่อมขาดกันในระหว่าง, จีวรที่ เก็บไว้ในส่วนไหน พึงอยู่ในส่วนนั้น. หัตถบาสแห่งจีวรนั่นแล ชื่อว่า หัตถบาสในไร่นาของตระกูลเดียว. หัตถบาสแห่งประตูไร่นา ชื่อว่า หัตถบาสในไร่นาของตระกูลต่างกัน, หัตถบาสแห่งจีวรเท่านั้น ชื่อว่า หัตถบาสในไร่นาที่ไม่ได้ล้อม.
ลาน ท่านเรียกว่า ธัญญกรณ์ (ลานนวดข้าวเปลือก). สวนดอกไม้ หรือสวนผลไม้ท่านเรียกว่า สวน. ในลานนวดข้าวและสวนทั้งสอง มี วินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในไร่นานั่นแล. ในบทว่า วิหาร ก็มี วินิจฉัยเช่นเดียวกับเรือนพักนั่นเอง.
ในรุกขมูล พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้:-
บทว่า อนฺโตฉายายํ คือ เฉพาะภายในโอกาสที่เงาแผ่ไปถึง. แต่ จีวรที่ภิกษุเก็บไว้ในโอกาสที่แดดถูก แห่งต้นไม้มีกิ่งโปร่งเป็นนิสสัคคีย์ แท้. เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเก็บจีวรไว้ที่เงาแห่งกิ่งไม้ หรือที่เงาแห่ง ลำต้นของต้นไม้เช่นนั้น. ถ้าจะเก็บไว้บนกิ่งหรือบนค่าคบ, พึงวางไว้ใน โอกาสที่เงาแห่งกิ่งไม้ต้นอื่นข้างบนแผ่ไปถึงเท่านั้น. เงาของต้นไม้เตี้ย ย่อมแผ่ทอดไปไกล, พึงเก็บไว้ในโอกาสที่เงาแผ่ไปถูก. ควรจะเก็บไว้ใน ที่เงาทึบเท่านั้น. หัตถบาส แม้ในอธิการแห่งโคนไม้นี้ ก็คือหัตถบาส แห่งจีวรนั่นเอง.
คำว่า อคามเก อรญฺเ มีความว่า ป่าที่ชื่อว่าหาบ้านมิได้ ย่อม ได้ในป่ามีดงดิบเป็นต้น (ดงวิชฌาฏวีเป็นต้น) หรือบนหมู่เกาะ ซึ่งไม่ เป็นทางเที่ยวไปของพวกชาวประมง ในท่ามกลางสมุทร.
คำว่า สนฺตา สตฺตพฺภนฺตรา มีความว่า ๗ อัพภันดร ในทิศทั้งปวง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 750
แห่งบุคคลผู้ยืนอยู่ที่ตรงกลาง รวมเป็น ๑๔ อัพภันดร โดยทแยง. ภิกษุ นั่งตรงกลาง ย่อมรักษาจีวรที่เก็บไว้ในที่สุดรอบแห่งทิศตะวันออก หรือ ทิศตะวันตก. แต่ถ้าว่า ภิกษุเดินไปสู่ทิศตะวันออก แม้เพียงเส้นผมเดียว ในเวลาอรุณขึ้น จีวรในทิศตะวันตกเป็นนิสสัคคีย์. ในจีวรนอกจากนี้ ก็นัยนี้. ก็แลในเวลากระทำอุโบสถ พึงชำระสัตตัพภันตรสีมาให้หมดจด ตั้งแต่ภิกษุผู้นั่งในที่สุดท้ายแห่งบริษัท. ภิกษุสงฆ์ขยายไปตลอดที่ประมาณ เท่าใด, แม้สีมาก็ขยายออกไปตลอดที่ประมาณเท่านั้น.
ในคำว่า อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า ถ้าภิกษุผู้ประกอบความเพียร บำเพ็ญเพียรตลอดคืนยัง รุ่งใฝ่ใจว่า เราจักสรงน้ำในเวลาใกล้รุ่ง จึงออกไป วางจีวรทั้ง ๓ ผืน ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำ แล้วลงสู่แม่น้ำ, และเมื่อเธออาบอยู่นั่นเอง อรุณขึ้น, เธอ พึงกระทำอย่างไร? ด้วยว่า เธอถ้าขึ้นมาแล้วนุ่งห่มจีวร, ย่อมต้องทุกกฏ เพราะไม่เสียสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้วใช้สอยเป็นปัจจัย, ถ้าเธอเปลือย กายไป แม้ด้วยการเปลือยกายไปอย่างนั้น ก็ต้องทุกกฏ.
ตอบว่า เธอไม่ต้อง, เพราะว่า เธอตั้งอยู่ในฐานะแห่งภิกษุผู้มีจีวร หาย เพราะจีวรเหล่านั้น เป็นของไม่ควรบริโภค ตราบเท่าที่ยังไม่พบภิกษุ รูปอื่นแล้วกระทำวินัยกรรม, และชื่อว่า สิ่งที่ไม่สมควรแก่ภิกษุผู้มีจีวร หาย ไม่มี; เพราะฉะนั้น เธอพึงนุ่งผืนหนึ่ง เอามือถือสองผืนไปสู่ วิหารแล้วกระทำวินัยกรรม ถ้าว่า วิหารอยู่ไกล, ในระหว่างทางมีพวก ชาวบ้านสัญจรไปมา, เธอพบพวกชาวบ้านเหล่านั้น พึงนุ่งผืนหนึ่ง ห่ม ผืนหนึ่ง วางผืนหนึ่งไว้บนจะงอยบ่าแล้วพึงเดินไป. ถ้าหากไม่พบภิกษุที่ ชอบพอกันในวิหาร, ภิกษุทั้งหลายไปเที่ยวภิกษาจารเสีย, เธอพึงวางผ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 751
สังฆาฎิไว้ภายนอกบ้าน ไปสู่โรงฉัน ด้วยผ้าอุตราสงค์กับอันตรวาสก แล้ว กระทำวินัยกรรม. ถ้าในภายนอกรบ้าน มีโจรภัย พึงห่มสังฆาฏิไป ด้วย, ถ้าโรงฉันคับแคบมีคนพลุกพล่าน, เธอไม่อาจเปลื้องจีวรออก ทำ วินัยกรรมในด้านหนึ่งได้, พึงพาภิกษุรูปหนึ่งไปนอกบ้านกระทำวินัยกรรม แล้วใช้สอยจีวรทั้งหลายเถิด.
ถ้าภิกษุทั้งหลาย ให้บาตรและจีวรไว้ในมือแห่งภิกษุหนุ่มทั้งหลาย กำลังเดินทางไป มีความประสงค์จะนอนพัก ในปัจฉิมยาม, พึงกระทำ จีวรของตนๆ ไว้ในหัตถบาสก่อนแล้วนอน. ถ้าเมื่อพวกภิกษุหนุ่มมา ไม่ทัน อรุณขึ้นไปแก่พระเถระทั้งหลายผู้กำลังเดินไปนั้นแล, จีวรทั้งหลาย ย่อมเป็นนิสสัคคีย์ ส่วนนิสัยไม่ระงับ. เมื่อพวกภิกษุหนุ่มเดินล่วงหน้าไป ก่อนก็ดี พระเถระทั้งหลายเดินตามไม่ทันก็ดี มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อภิกษุทั้งหลายพลัดทางไม่เห็นกันและกันในป่าก็มีนัยอย่างนี้เหมือน กัน. ก็ถ้าพวกภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ! พวกกระผมจักนอนพัก สักครู่หนึ่งแล้ว จักตามไปทันพวกท่านในโอกาสชื่อโน้น ดังนี้แล้ว นอน อยู่จนอรุณขึ้น, จีวรเป็นนิสสัคคีย์ด้วย นิสัยก็ระงับด้วย. แม้เมื่อพระเถระ ทั้งหลายส่งพวกภิกษุหนุ่มไปก่อนแล้วนอน ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. พบ ทางสองแพร่ง พระเถระทั้งหลายบอกว่า ทางนี้, พวกภิกษุหนุ่มเรียนว่า ทางนี้ ไม่เชื่อถือถ้อยคำของกันและกัน ไปเสีย (แยกทางกันไป) , แม้ พร้อมกับอรุณขึ้น จีวรทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ และนิสัยย่อมระงับ.
ถ้าพวกภิกษุหนุ่มแวะออกจากทางกล่าวว่า พวกเราจักกลับมาให้ ทันภายในอรุณทีเดียว แล้วเข้าไปยังบ้านเพื่อต้องการเภสัชกำลังเดินมา, และอรุณขึ้นไปแก่พวกเธอผู้กลับมายังไม่ถึงนั่นเอง, จีวรทั้งหลายเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 752
นิสสัคคีย์ แต่นิสัยไม่ระงับ. ก็ถ้าว่าพวกเธอกล่าวว่า พวกเรายืนสักครู่ หนึ่งแล้วจักไป แล้วยืน หรือนั่ง เพราะกลัวแม่โคนม (แม่โคลูกอ่อน) หรือเพราะกลัวสุนัขแล้วจึงเดินไป, เมื่ออรุณขึ้นในระหว่างทาง จีวร ทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ด้วย นิสัยก็ระงับด้วย. เมื่อภิกษุทั้งหลาย (เมื่อ อาจารย์และอันเตวาสิก) เข้าไปสู่บ้านภายในสีมาด้วยใส่ใจว่า เราจักมาใน ภายในอรุณขึ้นนั่นเทียว อรุณขึ้นในระหว่าง, จีวรทั้งหลายไม่เป็นนิสสัคคีย์ นิสัยก็ไม่ระงับ. ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายนั่งอยู่ด้วยไม่ใส่ใจว่า ราตรีจงสว่าง หรือไม่ก็ตามที แม้เมื่ออรุณขึ้นแล้ว จีวรไม่เป็นนิสสัคคีย์ แต่นิสัยย่อม ระงับ.
ก็ภิกษุเหล่าใดเข้าไปสู่โรงในภายนอกอุปจารสีมาด้วยทั้งที่ยังมีอุตสาหะว่า เราจักมาในภายในอรุณนั้นแล เพื่อประโยชน์แก่กรรม มีอุปสมบทกรรมเป็นต้น, อรุณตั้งขึ้นที่โรงนั้น แก่พวกเธอ, จีวรเป็นนิสสัคคีย์ แต่นิสัยไม่ระงับ. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่โรงนั้นนั่นแลภายในอุปจารสีมา, เมื่ออรุณตั้งขึ้น จีวรไม่เป็นนิสสัคคีย์ นิสัยก็ไม่ระงับ. แต่ภิกษุ เหล่าใด ยังมีอุตสาหะไปยังวิหารใกล้เคียง เพื่อประสงค์จะฟังธรรม ตั้งใจว่า จักมาให้ทันภายในอรุณ, แต่อรุณขึ้นไปแก่พวกเธอในระหว่าง ทางนั่นเอง จีวรทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ แต่นิสัยยังไม่ระงับ. ถ้าพวกเธอ นั่งอยู่ด้วยเคารพในธรรมว่า พวกเราฟังจนจบแล้วจึงจักไป พร้อมกับ อรุณขึ้น แม้จีวรทั้งหลายก็เป็นนิสสัคคีย์ ทั้งนิสัยก็ระงับ.
พระเถระ เมื่อจะส่งภิกษุหนุ่มไปสู่ละแวกบ้าน เพื่อต้องการชัก จีวร พึงปัจจุทธรณ์จีวรของตนก่อนแล้วจึงให้ไป. แม้จีวรของภิกษุหนุ่ม ก็พึงให้ปัจจุทธรณ์แล้วเก็บไว้. ถ้าภิกษุหนุ่มไปแม้ด้วยไม่มีสติ, พระเถระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 753
พึงถอนจีวรของคนแล้ว ถือเอาจีวรของภิกษุหนุ่มด้วยวิสาสะ พึงเก็บไว้. ถ้าพระเถระระลึกไม่ได้ แต่ภิกษุหนุ่มระลึกได้ ภิกษุหนุ่มพึงถอนจีวรของ คน แล้วถือเอาจีวรของพระเถระด้วยวิสาสะแล้วไปเรียนว่า ท่านขอรับ ท่านจงอธิษฐานจีวรของท่านเสียแล้วใช้สอยเถิด. จีวรของตน เธอก็พึง อธิษฐาน. แม้ด้วยความระลึกได้ของภิกษุรูปหนึ่งอย่างนี้ ก็ย่อมพ้นอาบัติ ได้แล. คำที่เหลือมีอรรถอันตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฎฐานเป็นต้น ในปฐมกฐินสิกขาบทเป็นอกิริยา คือไม่อธิษฐานและไม่วิกัป ในสิกขาบทนี้เป็นอกิริยา คือไม่ปัจจุทธรณ์ (ไม่ถอน) อันนี้เท่านั้นเป็นความแปลกกัน. คำที่เหลือในฐานะทั้งหมด มีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้นแล.
พรรณนาอุทโทสิตสิกขาบท จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๓๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อกาลจีวรเกิดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เธอจะทำจีวร * ก็ไม่พอ จึงเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำ ตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเธอเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จ
(๑) ไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 754
เข้าไปหาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจุ่มจีวรนี้ลงในน้ำแล้วดึงเป็น หลายครั้ง เพื่อประสงค์อะไร
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า อกาสจีวรผืนนี้เกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า จะ ทำจีวรก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้จุ่มจีวรนี้ตากแล้วดึง เป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ก็เธอยังมีหวังจะได้จีวรมาอีกหรือ
ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า
ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม.
[๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มา เพิ่มเติม จึงรับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือน จีวรเหล่านั้นเธอห่อ แขวนไว้ที่สายระเดียง
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ ได้เห็นจีวรเหล่านั้น ซึ่งภิกษุทั้งหลายห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง ครั้นแล้วจึงถามภิกษุทั้งหลายว่า จีวรเหล่านี้ของใครห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อกาลจีวรเหล่านี้ของพวกกระผมๆ เก็บไว้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม
อา. เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 755
ภิ. นานกว่าหนึ่งเดือน ขอรับ
ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลาย จึงได้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือนเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุรับอกาลจีวรแล้วเก็บ ไว้เกินหนึ่งเดือน จริงหรือ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จงได้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือนเล่า การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่ แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชน บางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 756
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒. ๓. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 757
ผ้านั้นมีไม่พอ เมื่อความหวังจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้ เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ ก็เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔] บทว่า จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุ ทำสำเร็จแล้วก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมด หวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี
คำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่ง ในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง
ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เมื่อไม่ได้กรานกฐินเกิดได้ตลอด ๑๑ เดือน เมื่อได้กรานกฐินแล้ว เกิดได้ตลอด ๗ เดือน แม้ผ้าที่เขาเจาะจง ให้เป็นอกาลจีวรถวายในกาล นี่ก็ชื่อว่าอกาลจีวร.
บทว่า เกิดขึ้น คือ เกิดแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะตาม แต่ญาติ ก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม.
[๓๕] บทว่า หวังอยู่ คือ เมื่อต้องการก็พึงรับไว้
คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรับให้ทำ คือ พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
[๓๖] พากย์ว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ จะทำไตรจีวรผืนใดผืน หนึ่งไม่เพียงพอ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 758
พากย์ว่า ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง คือ เก็บไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างนาน
คำว่า เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน คือ เพื่อประสงค์จะยัง จีวรที่บกพร่องให้บริบูรณ์
พากย์ว่า เมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ คือ มีความหวังว่าจะได้มา แต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสุกุล ก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม
จีวรที่มีหวัง
[๓๗] พากย์ว่า ถ้าเก็บรู้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่า จะได้มีอยู่ อธิบายว่า จีวรเดิมเกิดขึ้นในวันนั้น จีวรที่หวังก็เกิดในวันนั้น พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 759
จีวรเดิมเกิดได้ ๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๑ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 760
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๑๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑๐ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๑ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๙ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๘ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๗ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๖ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๕ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๔ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๓ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๒ วัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 761
จีวรเดิมเกิดได้ ๒๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จ ใน ๑ วัน
จีวรเดิมเกิดได้ ๓๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงอธิษฐาน พึงวิกัปไว้ พึงสละให้ผู้อื่นไปในวันนั้นแหละ ถ้าไม่อธิษฐานไม่วิกัปไว้ หรือไม่สละ ให้ผู้อื่นไป เมื่ออรุณที่ ๓๑ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำ ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมี ชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 762
ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำ จะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
[๓๘] เมื่อจีวรเดิมเกิดขึ้นแล้ว จีวรที่หวังจึงเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่ เหมือนกัน และราตรียังเหลืออยู่ ภิกษุไม่ต้องการ ก็ไม่พึงให้ทำ.
บทภาชนีย์
นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์
[๓๙] จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 763
จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าสละให้ไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๔๐] จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติ ทุกกฏ จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 764
อาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้อง อาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๑] ในภายในหนึ่งเดือน ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจร ชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓
พรรณนาตติยกฐินสิกขาบท
ตติกฐินสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- พึงทราบวินิจฉัยตติยกฐินสิกขาบท ดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถเรื่องภิกษุรูปหนึ่ง]
หลายบทว่า อุสฺสาเปตฺวา ปุนปฺปุนํ วิมชฺชติ มีความว่า ภิกษุ นั่นสำคัญว่า เมื่อรอยย่นหายแล้ว จีวรนี้ จักใหญ่ขึ้น จึงเอาน้ำรด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 765
เอาเท้าเหยียบ เอามือดึงขึ้นแล้วรีดทีหลัง. จีวรนั้นแห้งแล้วด้วยแสงแดด ก็มีประมาณเท่าเดิมนั่นแล. ภิกษุนั้นก็กระทำอย่างนั้นซ้ำอีก เพราะเหตุ นั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า ดึงขึ้นแล้วรีดเป็นหลายครั้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นแล ทอดพระเนตรเห็น ภิกษุนั้นลำบากอยู่อย่างนั้น จึงเสด็จออกประดุจเสด็จไปสู่เสนาสนจาริก ได้เสด็จไปในที่นั้น. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า อทฺทสา โข ภควา เป็นต้น.
บทว่า เอกาทสมาเส ได้แก่ ตลอด ๑ เดือนที่เหลือ เว้นเดือน กัตติกาหลัง หนึ่งเดือน.
บทว่า สตฺตมาเส ได้แก่ ๗ เดือนที่เหลือ เว้น ๕ เดือน คือ เดือนกัตติกานั้นด้วย ๔ เดือนฤดูฝนด้วย.
[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยความหวังจะได้จีวร]
หลายบทว่า กาเลปิ อาทิสฺส ทินฺนํ มีความว่า จีวรที่ทายก อุทิศถวายแก่สงฆ์ว่า นี้เป็นอกาลจีวร หรือที่ทายกถวายแก่บุคคลผู้เดียว ว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทว่า สงฺฆโต วา มีความว่า จีวรเกิดขึ้นจากสงฆ์ด้วยอำนาจ แห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี.
บทว่า คณโต วา มีความว่า พวกทายกย่อมถวายแก่คณะอย่างนี้ ว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรนี้แก่คณะแห่งภิกษุผู้เรียนพระสูตร, ถวายจีวรนี้ แก่คณะแห่งภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม, จีวรพึงเกิดขึ้นจากคณะนั้นด้วย อำนาจแห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 766
คำว่า โน จสฺส ปาริปูริ คือ ถ้าผ้านั้นยังไม่พอ. อธิบายว่า จีวรที่ควรอธิษฐานได้ อันภิกษุทำอยู่ด้วยผ้าประมาณเท่าใดจึงจะพอ, ถ้า จีวรนั้น ประมาณเท่านั้นยังไม่มี คือขาดไป
ในคำว่า ปจฺจาสา โหติ สงฺฆโต วา เป็นต้น มีวินิจฉัย ดังนี้:-
มีความหวังจากสงฆ์ หรือจากคณะอย่างนี้ว่า ณ วันชื่อโน้น สงฆ์ จักได้จีวร, คณะจักได้จีวร, จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรา จากสงฆ์ หรือจาก คณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า มีความหวังจากญาติ หรือจากมิตร อย่างนี้ว่า ผ้าพวกญาติส่งมาแล้ว พวกมิตรส่งมาแล้วแก่เราเพื่อประโยชน์ แก่จีวร, ชนเหล่านั้นมาแล้ว จักถวายจีวร.
ก็ในบทว่า ปํสุกูลโต วา ผู้ศึกษาพึงประกอบคำว่า มีความ หวังจะได้ อย่างนี้ว่า เราจักได้ผ้าบังสกุลก็ตาม.
สองบทว่า อตฺตโน วา ธเนน ความว่า มีความหวังอย่างนี้ว่า เราจักได้ในวันชื่อโน้นด้วยทรัพย์มีฝ้ายและด้ายเป็นต้น ของตนก็ตาม.
ข้อว่า ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย สติยาปิ ปจฺจาสาย มีความว่า ถ้าหากภิกษุพึงเก็บไว้เกินกว่าเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะเมื่อจีวรที่หวังจะได้ มาเกิดขึ้นในระหว่าง จีวรที่หวังจะได้มาซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จีวรเดิมเกิด ในรูป จนถึงวันที่ ๒๐ ย่อมทำจีวรเดิมให้มีคติแห่งตน, ต่อจากวันที่ ๒๐ นั้นไป จีวรเดิมย่อมทำจีวรที่หวังจะได้มาให้มีคติแห่งตน; ก็เพราะเหตุนั้น เพื่อทรงแสดงความพิเศษนั้นจึงตรัสบทภาชนะโดยนัยมีอาทิว่า ตทหุปฺ- ปนฺเน มูลจีวเร ดังนี้. คำว่า. คำว่า ตทหุปฺปนฺเน เป็นต้น มีอรรถกระจ่างทีเดียว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 767
คำว่า วิสภาเค อุปฺปนฺเน มูลจีวเร มีความว่า ถ้าว่าจีวรเดิม เนื้อละเอียด จีวรที่หวังจะได้มา เนื้อหยาบ ไม่อาจเพื่อประกอบเข้ากันได้ และราตรีก็ยังมีเหลือ คือยังไม่เต็มเดือนก่อน.
บทว่า น อกามา มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ทำ จีวร. ได้จีวรที่หวังจะได้มาอื่นแล้วเท่านั้น พึงกระทำในภายในกาล. แม้จีวรที่หวังจะได้มา พึงอธิษฐานเป็นบริขารโจล. ถ้าจีวรเดิมเป็นผ้า เนื้อหยาบ, จีวรที่หวังจะได้มาเป็นผ้าเนื้อละเอียด พึงอธิษฐานจีวรเดิม ให้เป็นบริขารโจล แล้วเก็บจีวรที่หวังจะได้มานั่นแล ให้เป็นจีวรเดิม. จีวรนั้นย่อมได้บริหารอีกเดือนหนึ่ง ภิกษุย่อมได้เพื่อผลัดเปลี่ยนกันและกัน เก็บไว้เป็นจีวรเดิมจนตราบเท่าที่ตนปรารถนา โดยอุบายนี้นั้นแล. คำที่ เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับ ปฐมกฐินสิกขาบทนั้นแล.
พรรณนาตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี
[๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ปุราณทุติยิกา ของท่านพระอุทายี บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักท่านพระอุทายีเสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้นเสมอ และบางครั้ง ก็ฉันอาหารอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้น เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครอง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 768
อันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงสำนัก ครั้นแล้ว นั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่ง บนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าท่านพระอุทายีๆ มีความกำหนัด ได้เพ่งดูองค์กำเนิดของนาง อสุจิได้เคลื่อนจากองค์กำเนิดของท่านพระอุทายีๆ ได้พูดเคาะนางว่า ดูก่อนน้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะ ซักผ้าอันตรวาสก
นางบอกว่า ส่งมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันเองจักซักถวาย ครั้นแล้วนาง ได้ดูดอสุจินั้นของท่านส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้สอดเข้าไปในองค์กำเนิด นางได้ตั้งครรภ์เพราะเหตุนั้นแล้ว
ภิกษุณีทั้งหลายได้พูดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุณีรูปนี้มิใช่พรหมจาริณี ภิกษุณีรูปนี้จึงมีครรภ์
นางพูดว่า แม่เจ้า ดิฉันมิใช่พรหมจาริณีก็หาไม่ ครั้นแล้วนางได้ แจ้งความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุณีทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน พระอุทายี จึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า แล้วแจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า จริงหรือ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 769
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ ทรงพระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร การกระทำ อันน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักจีวรเก่าได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังเลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 770
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด ธรรมเครื่องอยู่อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 771
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤิตภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวรเก่า ได้แก่ ผ้านุ่งแล้วหนหนึ่งก็ดี ห่มแล้วหนหนึ่งก็ดี
ภิกษุสั่งว่า จงซัก ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีซักแล้วเป็น นิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า จงย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีย้อมแล้วเป็น นิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า จงทุบ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีทุบด้วยมือก็ตาม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 772
ด้วยตะลุมพุกก็ตาม เพียงทีเดียว จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของ จำจะต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสสะจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 773
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซักแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๑
[๔๔] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซักซึ่งจีวร เก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่ง จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ชัก ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 774
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อมซึ่งจีวรเก่า เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวร เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่ง จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญมิใช่ญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบซึ่งจีวรเก่าเป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบ ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สงสัย จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซักซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 775
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สงสัย จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกุฏี ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สงสัย จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 776
ภิกษุณีมิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้อง ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซักซึ่งจีวรเก่า เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซักให้ย้อมซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อมซึ่งจีวรเก่า เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่ง จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่ง จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 777
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่ง จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ให้ย้อม ซึ่ง จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กันนิสสัคคีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์
ทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักจีวรเก่าของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๕] ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุณีผู้ใช่ญาติเป็นผู้ช่วย เหลือ ๑ ภิกษุไม่ได้บอกใช้ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุใช้ให้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 778
ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค ๑ ภิกษุใช้ให้ซักบริขารอย่างอื่น * เว้นจีวร ๑ ใช้สามเณรีให้ซัก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๔
พรรณนาปูราณจีวรโธวาปนสิกขาบท
ปูราณจีวรสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในปูราณจีวรสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[อธิบายบุคคลที่จัดเป็นญาติและมิใช่ญาติ]
ข้อว่า ยาว สตฺตมา ปิตามหยุคา มีความว่า บิดาของบิดาชื่อว่า ปิตามหะ. ยุคแห่งปิตามหะ ชื่อว่า ปิตามหยุค. ประมาณแห่งอายุ ท่านเรียกว่า ยุค. ก็ศัพท์ว่า ยุค นี้ เป็นเพียงโวหารพูดกันเท่านั้น. แต่ โดยเนื้อความ ปิตามหะนั่นแหละ ชื่อว่า ปิตามหยุค. บรรพบุรุษ ถัด ขึ้นไปจากปิตามหยุคนั้น แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา ด้วยปิตามหศัพท์นั่นเอง. นางภิกษุณี ผู้ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกันมาตลอด ๗ ชั่วบุรุษอย่างนี้ ตรัสเรียกว่า ไม่ใช่คนเกี่ยวเนื่องกันมาตลอด ๗ ชั่วอายุ ของบุรพชนก. ปิตามหศัพท์นี้ เป็นมุขแห่งเทศนาเท่านั้น. แต่เพราะ พระบาลีว่า มาติโต วา ปิติโต รา ดังนี้ ปิตามหยุคก็ดี ปิตามหียุคก็ดี
(๑) บริขารอย่างอื่น หมายผ้าถุงรองเท้า ผ้าถุงบาตรเป็นต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 779
มาตามหยุดก็ดี มาตามหียุดก็ดี ก็ชื่อว่า ปิตามหยุค, แม้พวกญาติมีพี่น้อง ชายพี่น้องหญิง หลานลูกและเหลนเป็นต้น ของปิตามหยุคเป็นต้นแม้ เหล่านั้น ทั้งหมดนั้น พึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้าในคำว่า ปิตามหยุค นี้ทั้งนั้น.
ใน ๔ ยุค คือ ปิตามหยุค ปิตามหียุค มาตามหยุค และมาตามหียุคนั้น มีนัยพิสดารดังต่อไปนี้:-
ภิกษุณี ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ด้วยความเกี่ยวเนื่องทางมารดา ไม่ ใช่คนเนื่องถึงกัน ด้วยความเกี่ยวเนื่องทางบิดา ตลอด ๗ ชั่วอายุของ บุรพชนกอย่างนี้ คือ บิดา, บิดาของบิดา (ปู่) บิดาของบิดา (ปู่) , นั้น ปู่ทวด) , บิดาแม้ของปู่ทวดนั้น (ปู่ชวด) ,
ตลอด ๗ ชั่วยุค ทั้งข้างสูงและข้างต่ำ แม้อย่างนี้ คือ บิดา ๑ มารดาของบิดา ๑ (ย่า) บิดาและมารดาของมารดาแม้นั้น (ตายาย) ๑ พี่น้องชาย ๑ พี่น้องหญิง ๑ บุตร ๑ ธิดา ๑,
ตลอด ๗ ชั่วยุค แม้อย่างนี้ คือ บิดา, พี่น้องชายของบิดา, พี่น้อง หญิงของบิดา, ลูกชายของบิดา, ลูกหญิงของบิดา, เชื้อสายบุตรธิดาแม้ ของชนเหล่านั่น,
ตลอด ๗ ชั่วยุค อย่างนี้ คือ มารดา, มารดาของมารดา (ยาย) , มารดาของยายนั้น (ยายทวด) มารดาของยายทวดแม้นั้น (ยายชวด) ,
ตลอด ๗ ชั่วยุค ทั้งข้างสูงและข้างต่ำ แม้อย่างนี้ คือ มารดา ๑ บิดาของมารดา (ตา) ๑ บิดาและมารดาของบิดานั้น (ทวดชายหญิง) ๑ พี่น้องชาย ๑ พี่น้องหญิง ๑ บุตร ๑ ธิดา ๑.
ตลอด ๗ ชั่วยุค แม้อย่างนี้ คือ มารดา, พี่น้องชายของมารดา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 780
(ลุงน้าชาย) , พี่น้องหญิงของมารดา (ป้าน้าหญิง) , ลูกชายของมารดา, ลูกหญิงของมารดา, เชื้อสายบุตรธิดาของชนแมเ้หล่านั้น, นี้ ชื่อว่า ผู้ มิใช่ญาติ.
[ว่าด้วยจีวรเก่าและการใช้ให้ซัก]
บทว่า อุภโตสงฺเฆ มีความว่า ภิกษุณีผู้อุปสมบท ด้วยอัฏฐ- วาจิยกรรม คือ ด้วยญัตติจตุตถกรรม ในฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑ ด้วยญัตติ- จตุตถกรรม ในฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๑.
ข้อว่า สกึ นิวตฺถํปิ สกึ ปารุตํปิ มีความว่า จีวรที่ย้อมแล้วทำ กัปปะเสร็จ นุ่งหรือห่ม แม้เพียงครั้งเดียว. ชั้นที่สุดพาดไว้บนบ่า หรือ บนศีรษะ โดยมุ่งการใช้สอยเป็นใหญ่ เดินทางไป หรือว่า หนุนศรีษะ นอน, แม้จีวรนั่น ก็ชื่อว่า จีวรเก่าเหมือนกัน, ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุนอนเอาจีวรไว้ใต้ที่นอน หรือเอามือทั้งสองยกขึ้นทำเป็น เพดาน บนอากาศ ไม่ให้ถูกศรีษะะเดินไป. นี้ ยังไม่ชื่อว่า ใช้สอย.
ในคำว่า โธตํ นิสฺสคฺคิยํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ภิกษุณีที่ถูกภิกษุใช้อย่างนี้ ย่อมจัดเตาไฟ ขนฟืนมา ก่อไฟ ตัก น้ำมา เพื่อประโยชน์แก่การซัก, ย่อมเป็นทุกกฏแก่ภิกษุ ทุกๆ ประโยค ของนางภิกษุณี ตลอดเวลาที่นางภิกษุณียังยกจีวรนั้นขึ้นซักอยู่, จีวรนั้น พอซักเสร็จแล้วยกขึ้น ก็เป็นนิสสัคคีย์. ถ้านางภิกษุณีสำคัญว่า จีวรยัง ซักไม่สะอาด จึงเทน้ำราด หรือซักใหม่, เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค ตลอดเวลาที่ยังไม่เสร็จ. แม้ในการย้อมและการทุบ ก็มีนัยอย่างนี้. ก็ ภิกษุณี เทน้ำย้อมลงในรางสำหรับย้อม แล้วย้อมเพียงคราวเดียว, กระทำ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 781
กิจอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแต่การเทน้ำย้อมเป็นต้นนั้น เพื่อประโยชน์แก่ การย้อม หรือว่าภายหลัง กลับย้อมใหม่ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุทุกๆ ประโยค ในฐานะทั้งปวง. แม้ในการทุบ ก็พึงทราบประโยคอย่างนั้น.
ข้อว่า อญฺาติกาย อญฺติสญฺี ปุราณจีวรํ โธวาเปติ ความาว่า ถ้าแม้นว่า ภิกษุไม่พูดว่า เธอจงซักจีวรนี้ให้เรา, แต่ทำกายวิการ เพื่อ ประโยชน์แก่การซัก ให้ที่มือด้วยมือ หรือวางไว้ใกล้เท้า หรือฝาต่อๆ ไป คือ ส่งไปในมือของนางสิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสิกา และเดียรถีย์ เป็นต้น หรือว่า โยนไปในที่ใกล้แห่งนางภิกษุณีผู้กำลังซัก อยู่ที่ท่าน้ำ, คือ ในโอกาสภายใน ๑๒ ศอก จีวรเป็นอันภิกษุใช่นาง ภิกษุณีให้ซักเหมือนกัน. ก็ถ้าว่าภิกษุละอุปจารวางไว้ห่างจากร่วมในเข้ามา และนางภิกษุณีนั้น ซักแล้วนำมา, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ. ภิกษุให้จีวร ในมือแห่งนางสิกขมานาก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสิกาก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ การซัก, ถ้านางสิกขมานานั้น อุปสมบทแล้ว จึงซัก, เป็นอาบัติเหมือน กัน. ให้ไว้ในมือแห่งอุบาสก, ถ้าอุบาสกนั้น เมื่อเพศกลับแล้ว บรรพชา จีวรที่ให้ในมือของสามเณร หรือของภิกษุในเวลาเพศกลับ ก็มีนัยอย่างนั้น เหมือนกัน.
[ว่าด้วยอาบัติ และอนาบัติในใช้ให้ซัก]
ในคำว่า โธวาเปติ รชาเปติ เป็น มีวินิจฉัยดังนี้:-
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแรก เป็นทุกกฏแก่ภิกษุด้วยวัตถุที่ ๒, เมื่อภิกษุให้กระทำทั้ง ๓ วัตถุ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแรก เป็นทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 782
๒ ตัว ด้วยวัตถุที่เหลือ. แต่เพราะเมื่อภิกษุใช้ให้กระทำการซักเป็นต้น นี้ ตามลำดับ หรือว่า ผิดลำดับ ก็ไม่มีความพ้นจากอาบัติ; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสจตุกกะ ๓ หมวดไว้ในพระบาลีนี้. แต่ถ้าแม้เมื่อภิกษุ กล่าวว่า เธอจงย้อม ซัก จีวรนี้แล้วนำมาให้เรา ดังนี้ นางภิกษุณีนั้น ซักก่อนแล้ว จึงย้อมภายหลัง เป็นทุกกฏกับนิสสัคคีย์เท่านั้น. ในคำที่ ตรงกันข้ามแม้ทั้งหมด ก็พึงทราบนัยอย่างนี้. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุกล่าวว่า เธอซักแล้ว จงนำมา นางภิกษุณีซักด้วย ย้อมด้วย. เป็นอาบัติ เพราะ การซักเป็นปัจจัยอย่างเดียว, ไม่เป็นอาบัติในเพราะการย้อม. พึงทราบ อนาบัติ โดยลักษณะนี้ว่า ภิกษุมิได้สั่ง ซักเอง ในเพราะการกระทำเกิน กว่าคำที่ภิกษุสั่งทุกๆ แห่ง ด้วยประการอย่างนี้. แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า กิจใดที่จะพึงกระทำในจีวรนี้, กิจนั้น จงเป็นภาระของเธอทั้งหมด ดังนี้ ย่อมต้องอาบัติมากหลาย เพราะคำพูดคำเดียว. ก็บทเหล่านี้ว่า อญฺาติกาย เวมติโก อญฺาติกาย าติกสญฺี พึงทราบโดยพิสดาร ด้วยสามารถ แห่งจตุกกะ ๓ หมวด โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย มีความว่า เป็นทุกกฎแก่ภิกษุ ผู้ใช้นางภิกษุณีผู้อุปสมบท ในสำนักแห่งภิกษุณีทั้งหลายให้ซัก. แต่เมื่อ ใช้นางภิกษุณีผู้อุปสมบทในสำนักแห่งภิกษุทั้งหลายให้ซัก เป็นอาบัติตาม วัตถุเหมือนกัน. นางสากิยานี ๕๐๐ ชื่อว่าผู้อุปสมบทในสำนักแห่งภิกษุ ทั้งหลาย.
สองบทว่า อวุตฺตา โธวติ มีความว่า ภิกษุณีผู้มาเพื่ออุเทศ หรือ ว่า เพื่อโอวาท เห็นจีวรสกปรก ฉวยเอาไปจากที่วางไว้ หรือให้นำมา ให้ด้วยกล่าวว่า พระคุณเจ้าโปรดให้เถิด ดิฉันจักซัก แล้วซักก็ดี ย้อม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 783
ก็ดี ทุบก็ดี ภิกษุณีนี้ ชื่อว่า ผู้อันภิกษุไม่ได้สั่งซักเอง. แม้ภิกษุณีใด ได้ยินภิกษุสั่งภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรว่า เธอจงซักจีวรนี้แล้ว กล่าวว่า พระคุณเจ้า จงนำมาเถิด ดิฉันจักซักเอง แล้วซัก หรือถือเอาเป็นของ ยืมแล้ว ซัก ย้อมให้ แม้ภิกษุณีนี้ ก็ชื่อว่า ผู้อันภิกษุไม่ได้สั่ง ซักเอง.
สองบทว่า อญฺํ ปริกฺขารํ มีความว่า ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักล้าง บรรดาบริขารมีถุงรองเท้า ถลกบาตร ผ้าอังสะ ประคดเอว เตียงตั้ง ฟูก และเสื่ออ่อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือใน สิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
ก็ในบรรดาปกิณกะมีสมุฎฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ. กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาปูราณจีวรโธวาปนสิกขาบทที่ ๔ จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีอุปปลวัณณา
[๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีอุปปลวัณณาอยู่ในพระนครสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า นางครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 784
กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังอาหารแล้ว เดินเข้าไปทางป่าอันธวัน เพื่อ พักผ่อนกลางวัน เข้าไปถึงป่าอันธวันแล้วนั่งพักกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
สมัยนั้น พวกโจรทำโจรกรรม ฆ่าแม่โคแล้วพากันถือเนื้อเข้าไปสู่ ป่าอันธวัน นายโจรแลเห็นภิกษุณีอุปปลวัณณานั่งกลางวันอยู่ที่โคนไม้ แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วจึงดำริว่า ถ้าพวกโจรลูกน้องของเราพบเข้า จักเบียด เบียนภิกษุณีนี้ แล้วได้เลี่ยงไปทางอื่น ครั้นเมื่อเนื้อสุกแล้ว นายโจรนั้น ได้เลือกเนื้อชิ้นที่ดีๆ เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ที่ต้นไม้ใกล้ภิกษุณีอุปปลวัณณา แล้วกล่าวว่า เนื้อห่อนี้เราให้แล้วจริงๆ ผู้ใดเป็นสมณะหรือพราหมณ์ได้ เห็น จงถือเอาไปเถิด ดังนี้แล้วหลีกไป
ภิกษุณีอุปปลวัณณาออกจากสมาธิ ได้ยินนายโจรนั้นกล่าววาจานี้ จึงถือเอาเนื้อนั้นไปสู่สำนัก ครั้นราตรีนั้นผ่านไป นางทำเนื้อนั้นสำเร็จ แล้ว ห่อด้วยผ้าอุตราสงค์ เหาะไปลงที่พระเวฬุวัน.
[๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จเข้าไป บิณฑบาตยังหมู่บ้าน ท่านพระอุทายีเหลืออยู่เฝ้าพระวิหาร จึงภิกษุณี อุปปลวัณณาเข้าไปหาท่าน ครั้นแล้วถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน
ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน
อุป. โปรดถวายเนื้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าข้า
อุทายี. ดูก่อนน้องหญิง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอิ่มเอิบด้วยเนื้อ ของเธอ ถ้าเธอถวายผ้าอันตรวาสกแก่อาตมา แม้อาตมาก็จะพึงอิ่มเอิบ ด้วยผ้าอันตรวาสกเหมือนเช่นนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 785
อุป. ท่านเจ้าข้า ความจริง พวกดิฉันชื่อว่ามาตุคามมีลาภน้อย ทั้งผ้าผืนนี้ก็เป็นจีวรผืนสุดท้ายที่ครบ ๕ ของดิฉันๆ ถวายไม่ได้
อุทายี. ดูก่อนน้องหญิง เปรียบเหมือนบุรุษให้ช้างแล้ว ก็ควรสละ สัปคับ สำหรับช้างด้วยฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถวายเนื้อแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็จงสละผ้าอันตรวาสกถวายแก่อาตมา
ครั้นนางถูกท่านพระอุทายีแคะได้ จึงได้ถวายผ้าอันตรวาสกแล้ว กลับไปสู่สำนัก ภิกษุณีทั้งหลายที่คอยรับบาตรจีวรของภิกษุณีอุปปลวัณณา ได้ถามว่า แม่เจ้า ผ้าอันตรวาสกของคุณแม่อยู่ที่ไหน นางได้เล่าเรื่อง แก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าอุทายีจึงได้รับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า เพราะมาตุคามมีลาภน้อย ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จงได้รับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอรับจีวรจากมือภิกษุณี จริงหรือ
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ดูก่อนอุทายี นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 786
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่ สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติได้ การกระทำของเธอนั้น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรง กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 787
รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็น นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีอุปปลวัณณา จบ
พระอนุบัญญัติ
เรื่องแลกเปลี่ยน
[๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายตั้งรังเกียจ ไม่รับจีวรแลก เปลี่ยนของภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่รับจีวรแลกเปลี่ยนของพวกเรา ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 788
ทั้งหลายได้ยินภิกษุณีเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของ สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิกทั้ง ๕ นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๓๔. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.
เรื่องแลกเปลี่ยน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 789
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
บทว่า เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน คือ ยกเสียแต่จีวรที่แลกเปลี่ยนกัน.
ภิกษุรับ เป็นทุกกฏในประโยคที่รับ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 790
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มี ใช่ญาติ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวร ผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้ มิใช่ญาติ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวร ผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุณีมีชื่อนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 791
เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๐] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยน กัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ เว้นแต่ แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 792
ทุกกฏ
[๕๑] ภิกษุรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว เว้น แลกเปลี่ยนกัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้อง อาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๒] ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ แลกเปลี่ยนกัน คือ แลกเปลี่ยนจีวรดีกับจีวรเลว หรือจีวรเลวกับจีวรดี ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุขอยืมไป ๑ ภิกษุรับบริขารอื่นนอกจากจีวร ๑ ภิกษุรับจีวรของ สิกขมานา ๑ ภิกษุรับจีวรของสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๕
พรรณนาจีวรปฏิคคหณสิกขาบท
จีวรปฏิคคหณสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ต่อไป:- ในจีวรปฏิคคหณสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 793
[แก้อรรถศัพท์เรื่องปฐมบัญญัติ]
บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา แปลว่า กลับจากบิณฑบาต.
ข้อว่า เยน อนฺธวนํ เตนุปสงฺกมิ มีความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ภิกษุณีอุบลวรรณาเดินเข้าไปทาง ป่าอันธวัน.
บทว่า กตกมฺมา ได้แก่ ผู้กระทำโจรกรรม. มีคำอธิบายว่า ปล้น ภัณฑะของผู้อื่นด้วยกรรมมีการตัดช่องเป็นต้น.
บทว่า โจรคามณิโก ได้แก่ หัวหน้าโจร. ได้ยินว่า หัวหน้าโจร นั้นรู้จักพระเถรีมาก่อน; เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อไปข้างหน้าของพวกโจร เห็นพระเถรีนั้น จึงกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางนั้น จงมาทางนี้ทั้งหมด ดังนี้ แล้วได้พาพวกโจรเหล่านั้นไปทางอื่น.
สองบทว่า สมาธิมฺหา วุฏฺหิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า พระเถรี ออกจากสมาธิในเวลาที่กำหนดไว้นั่นแล. แม้นายโจรนั้นได้พูดอย่างนั้น ในขณะนั้นเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น พระเถรีนั้นจึงได้ยิน. ก็แลพระเถรี ครั้นได้ยินเสียงนั้นจึงคิดว่า บัดนี้ ในที่นี้ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นนอก จากเรา จึงได้ถือเอามังสะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า อถโข อุปฺปลวณฺณา ภิกขุนี ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า โอหียโก ได้แก่ คงอยู่คือเหลืออยู่, อธิบายว่า ถึงวาระ เฝ้าวิหาร อยู่ในวิหารเพียงรูปเดียว.
[พระอุทายีขออันตรวาสกของพระเถรี]
ถามว่า เพราะเหตุไร พระอุทายีจึงกล่าวว่า ถ้าท่านพึงให้อันตรวาสกแก่เรา ดังนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 794
แก้ว่า พระอุทายีเห็นอันตรวาสกเนื้อละเอียดแน่นและเกลี้ยง จึง กล่าวเพราะความอยากได้. อีกนัยหนึ่ง ความอยากได้ในอันตรวาสกของ พระอุทายีนั้นเล็กน้อย, แต่โกฎฐาสสมบัติของพระเถรีถึงยอดสุด; เพราะ เหตุนั้น พระอุทายีจึงคิดว่า เราจักดูความอวบอัดแห่งสรีระร่างของพระเถรีนั้น แล้วยังความอยากได้ไม่สม่ำเสมอ (ความอยากได้ลุ่มๆ ดอนๆ) ให้เกิดขึ้น จึงได้กล่าวอย่างนี้.
บทว่า อนฺติมํ ได้แก่ จีวรเป็นผืนสุดท้ายเขาทั้งหมดแห่งจีวร ๕ ผืน ชื่อว่าผืนสุดท้าย คือ ผืนท้ายสุด. จีวรผืนอื่นที่วิกัป หรือปัจจุทธรณ์ เก็บไว้แม้ด้วยเลศก็ไม่มี; เพราะฉะนั้น พระเถรีกล่าวอย่างนี้ ด้วยอำนาจ ที่ทรงจีวร ๕ ผืน ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ไม่ใช่ด้วยความ โลภ. จริงอยู่ ความโลภของพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่มี.
บทว่า นิปฺปีฬิยมานา มีความว่า นางถูกพระอุทายีแสดงอุปมา แล้วคาดคั้นหนักเข้า.
ข้อว่า อนฺตรวาสกํ ทตฺวา อคมาสิ มีความว่า พระเถรีนุ่งผ้ารัดถัน แล้วได้แสดง (จีวร) บนฝ่ามือเท่านั้นถวาย โดยอาการที่มโนรถของพระอุทายีจะไม่เต็มที่ ได้ไปแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุณีทั้งหลายจึงกล่าวโทษพวกภิกษุผู้ไม่ รับจีวรที่แลกเปลี่ยน.
แก้ว่า เพราะเป็นผู้ถูกความขาดแคลนมือ คือ ปัจจัยบีบคั้นอย่างนี้ ว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่มีความคุ้นเคยในพวกเรา แม้เพียงเท่านี้, พวกเราจักดำเนินชีวิตไปได้อย่างไรกัน?
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อิเมสํ ปญฺจนฺนํ มีความว่า เราอนุญาต
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 795
ให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิก ๕ จำพวกเหล่านี้ ผู้มีศรัทธาเสมอ กัน มีศีลเสมอกัน มีทิฎฐิเสมอกัน.
สองบทว่า ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏในเพราะอาการ มีอันเหยียดมือออก เพื่อประสงค์จะรับเป็นต้น.
บทว่า ปฏิลาเภน ได้แก่ เพราะรับ. ก็พึงทราบวินิจฉัยในการรับนั้นดังนี้:- ภิกษุณีจงให้ที่มือด้วยมือ
ก็ตาม วางไว้ที่ใกล้เท้าก็ตาม โยนไปในเบื้องบนก็ตาม, ถ้าภิกษุยินดี, จีวรย่อมเป็นอันภิกษุนั้นรับแล้วทีเดียว. ก็ถ้าว่าภิกษุรับเอาจีวรที่ภิกษุณี ฝากไปในมือของนางสิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสกและอุบาสิกา เป็นต้น, ไม่เป็นอาบัติ. บริษัททั้ง ๔ นำจีวรและผ้าสีต่างๆ มาวางไว้ ใกล้เท้าแห่งภิกษุผู้กล่าวธรรมกถา หรือยืนในอุปาจาร หรือละอุปจารโยน ให้. บรรดาผ้าเหล่านั้น จีวรใดเป็นของนางภิกษุณีทั้งหลาย, เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้รับจีวรนั้นเหมือนกัน นอกจากแลกเปลี่ยนกัน.
ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี และกุรุนทีว่า ก็ถ้าว่า จีวรทั้งหลาย ย่อมเป็นอันบริษัท ๔ โยนไปในเวลากลางคืน, ภิกษุไม่อาจรู้ได้ว่า นี้ของ ภิกษุณี นี้ของคนอื่น, ไม่มีกิจด้วยการแลกเปลี่ยน. คำที่กล่าวไว้ในมหาปัจจรีและกุรุนทีนั้น ไม่สมกัน เพราะสิกขาบทเป็นอจิตตกะ. ถ้าภิกษุณี ถวายผ้าอาบน้ำฝน พึงกระทำให้เป็นของแลกเปลี่ยนเหมือนกัน. ก็ถ้า ภิกษุณีวางไว้ที่กองหยากเยื่อเป็นต้นด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลายจงถือเอา เป็นผ้าบังสกุล ดังนี้, ภิกษุจะอธิษฐานเป็นผ้าบังสกุลถือเอา ควรอยู่.
ข้อว่า อญฺาติกาย อญฺาติกสญฺี คือ เป็นติกปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 796
สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย มีความว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ ผู้รับจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบท ในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลาย (ฝ่ายเดียว) แต่เป็นปาจิตตีย์ (แก่ภิกษุผู้รับจากมือ) ของภิกษุณีผู้อุปสมบทในสำนัก แห่งภิกษุทั้งหลาย.
สองบทว่า ปริตฺเตน วา วิปุลํ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ภิกษุจะรับ ไตรจีวรมีค่ามาก ด้วยจีวรมีค่าน้อย หรือด้วยบริขารอื่นมีถุงรองเท้า ถลกบาตร ผ้าอังสะ และประคดเอวเป็นต้น, ไม่เป็นอาบัติ. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ชั้นที่สุดแม้ด้วยชิ้นสมอ.
สองบทว่า วิปุเลน วา ปริตฺตํ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยความวิปลาส (ตรงกันข้าม) จากที่กล่าวแล้ว.
สองบทว่า อญฺํ ปริกฺขารํ มีความว่า บริขารชนิดใดชนิดหนึ่งมี ถลกบาตรเป็นต้น. แต่แม้ผ้ากรองน้ำมีขนาดเท่าจีวรอย่างต่ำที่ต้องวิกัป ไม่ควร. จีวรใด ไม่พอที่จะอธิษฐานไม่พอที่จะวิกัป, จีวรนั้น ควร ทุกอย่าง. ถ้าแม้นเป็นผ้าเปลือกฟูกมีขนาดเท่าเตียง ก็สมควรเหมือนกัน. ก็จะป่วยกล่าวไปไยในผ้าถลกบาตรเป็นต้นเล่า? บทที่เหลือมีอรรถตื้น ทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาจีวรปฏิคคหณสิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 797
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้เชี่ยวชาญแสดงธรรมีกถา จึงเศรษฐีบุตรผู้หนึ่ง เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วอภิวาทที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ ชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้เศรษฐีบุตรสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว
เศรษฐีบุตรนั้น อันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจง ด้วยธรรมีกถา ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว ได้ปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรในทันใดนั้นแลอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าพึงบอก สิ่งที่ต้องประสงค์ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็น ปัจจัยของภิกษุไข้ ซึ่งข้าพเจ้าสามารถจะจัดถวายแด่พระคุณเจ้าได้
ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้า ท่านประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้
เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดิน ไปมีผ้าผืนเดียวดูกระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดี กว่านี้มาถวาย
แม้ครั้งที่สองแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะ เศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่านประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎก ผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 798
เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดิน ไปมีผ้าผืนเดียวดูกระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดี กว่านี้มาถวาย
แม้ครั้งที่สามแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะ เศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่านประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎก ผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้
เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตร จะเดินไปมีผ้าผืนเดียวดูกระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ ดีกว่านี้ มาถวาย
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวพ้อว่า ท่านไม่ประสงค์จะถวาย ก็จะปวารณาทำไม ท่านปวาณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร
ครั้นเศรษฐีบุตรนั้นถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรแคะได้ จึงได้ ถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งแล้วกลับไป ชาวบ้านพบเศรษฐีบุตรนั้นแล้วถามว่า นาย ทำไมท่านจึงมีผ้าผืนเดียวเดินกลับมา จึงเศรษฐีบุตรได้เล่าเรื่องนั้น แก่ชาวบ้านเหล่านั้น ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้มักมาก ไม่สันโดษ จะปฏิบัติให้ถูก ต้องตามที่เขาขอผัดโดยธรรมสักหน่อยก็ไม่ได้ เมื่อเศรษฐีบุตรกระทำการ ขอผัดโดยธรรม ไฉนจึงได้ถือเอาผ้าสาฎกไปเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 799
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้ขอจีวรต่อเศรษฐีบุตรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอขอจีวรต่อเศรษฐีบุตรจริงหรือ
ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนอุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังขอ จีวรต่อเศรษฐีบุตรผู้มิใช่ญาติได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 800
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระอุปนันทะ โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่ น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับ ว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 801
พระบัญญัติ
๒๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร
[๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปเดินทางจากเมืองสาเกต สู่พระนครสาวัตถี พวกโจรในระหว่างทางได้ออกแย่งชิงจีวรภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นรังเกียจอยู่ว่า การขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้แล้ว จึงไม่กล้าขอ พากัน เปลือยกายเดินไปถึงพระนครสาวัตถี แล้วกราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกที่กราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นอาชีวกจริงๆ
ภิกษุผู้เปลือยกายเหล่านั้นตอบว่า พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก ขอรับ พวกกระผมเป็นภิกษุ
ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านพระอุบาลีว่า ข้าแต่ท่านพระอุบาลี โปรด สอบสวนภิกษุเหล่านี้
ภิกษุผู้เปลือยกายเหล่านั้น ถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน ได้แจ้งเรื่อง นั้นแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 802
ครั้นท่านพระอุบาลีสอบสวนภิกษุเหล่านั้นแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร แก่ภิกษุเหล่านั้นเถิด
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้เปลือยกายเดินมาเล่า ธรรมดาภิกษุควรจะต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือ ใบไม้เดินมา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรแย่งชิงจีวรไป หรือ มีจีวรหาย ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติได้ เธอเดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดฟื้นก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ จะถือเอาผ้าของ สงฆ์นั้นไปห่มด้วยคิดว่า ได้จีวรนั้นมาแล้ว จักคืนไว้ดังเก่า ดังนี้ก็ควร ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดฟื้นก็ดี ผ้าปูนอนก็ดี ของสงฆ์ไม่มี ต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้เดินมา ไม่พึงเปลือยกาย เดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 803
พระอนุบัญญัติ
๒๕. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่ เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นนิสสัคติยปาจิตตีย์ สมัย ในคำนั้นดังนี้ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี นี้สมัยในคำนั้น.
เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่ กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 804
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกันทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์ กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
บทว่า นอกจากสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า เป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไป ได้แก่ จีวรของภิกษุผู้ถูกชิงเอา ไป คือ ถูกพวกราชาก็ดี พวกโจรก็ดี พวกนักเลงก็ดี หรือพวกใด พวกหนึ่ง ชิงเอาไป
ที่ชื่อว่า มีจีวรฉิบหาย คือ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ก็ดี ถูกน้ำพัด ไปก็ดี ถูกหนูหรือปลวกกัดก็ดี เก่าเพราะใช้สอยก็ดี
ภิกษุขอ นอกจากสมัย เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 805
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิ ใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 806
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖] พ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร นอกจากสมัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร นอกจากสมัย เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวร นอกจาก สมัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
พ่อเจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ พ่อเจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
พ่อเจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 807
อนาปัตติวาร
[๕๗] ภิกษุขอในสมัย ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคน ปวารณา ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๖
พรรณนาอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้า จะกล่าวต่อไป:- ในอญัญาตกวิญญัตติสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อ ไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุปนันทศากยบุตร]
สองบทว่า อุปนนฺโท สกฺยปุตฺโต ได้แก่ บรรดาภิกษุผู้บวช จากศากยตระกูลประมาณแปดหมื่นรูป พระอุปนันทศากยบุตรเป็นภิกษุ เลวทราม มีชาติโลเล.
บทว่า ปฏฺโ ได้แก่ เป็นผู้ฉลาด สามารถ เฉียบแหลมถึงพร้อม ด้วยเสียง คือประกอบด้วยความเป็นผู้มีลูกคอไพเราะ.
บทว่า กิสฺมึ วิย มีความว่า ดูเหมือนกระไรอยู่ ดูเป็นผู้มี ความเศร้าหมอง คือเป็นดุจจะสะทกสะท้าน ดุจจะหวาดสะดุ้งด้วยอำนาจ หิริและโอตัปปะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 808
บทว่า อทฺธานมคฺคํ มีความว่า ทางยาว กล่าวคือทางไกลไม่ใช่ ทางถนนในเมือง.
คำว่า เต ภิกูขู อจฺฉินฺทึสุ มีความว่า ได้ปล้น คือได้แย่งชิง เอาบาตรและจีวรของภิกษุเหล่านั้นไป.
บทว่า อนุยุญฺชาหิ ความว่า ท่านโปรดสอบถาม เพื่อต้องการ ทราบความเป็นภิกษุ.
บทว่า อนุยุญฺชิยมานา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นถูกท่านพระอุบาลี สอบสวนถึงการบรรพชา อุปสมบท การอธิษฐานบาตรและจีวรเป็นต้น อยู่.
ข้อว่า เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ มีความว่า ทูลให้ทราบว่าเป็นภิกษุ แล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ภิกษุเหล่านั้นกล่าว โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นผู้ เดินทางไกลจากเมืองสาเกตสู่พระนครสาวัตถี.
[เมื่อถูกโจรชิงเอาจีวรไปห้ามเปลือยกายเดินทาง]
ในคำว่า อญฺาตกํ คหปตึ วา เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ อนุปุพพีกถา ตั้งต้นแต่คำที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ปกปิดแล้วด้วยหญ้าหรือ ด้วยใบไม้ เป็นต้น โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปอย่างนั้น:-
ถ้าพวกภิกษุหนุ่มเห็นพวกโจรแล้วถือเอาบาตรและจีวรหนีไป, พวก โจรชิงเอาเพียงผ้านุ่งและผ้าห่มของพระเถระทั้งหลายเท่านั้นไป, พระเถระ ทั้งหลายยังไม่ควรให้ขอจีวรทีเดียวก่อน, ยังไม่ควรจะหักกิ่งไม้และเด็ด ใบไม้. ถ้าพวกภิกษุหนุ่มทิ้งห่อของทั้งหมดหนีไป, พวกโจรชิงเอาผ้านุ่ง และผ้าห่มของพระเถระและห่อสิ่งของนั้นไป, พวกภิกษุหนุ่มมาแล้ว ยัง ไม่ควรให้ผ้านุ่งและผ้าห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลายก่อน. เพราะว่าพวก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 809
ภิกษุผู้มิได้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป ย่อมไม่ได้เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้เพื่อ ประโยชน์แก่ตน, แต่ย่อมได้ (เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้) เพื่อประโยชน์ แก่พวกภิกษุผู้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป. และพวกภิกษุผู้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป ย่อมได้ (เพื่อหักกิ่งไม้และใบไม้) เพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองทั้งแก่คนอื่น. เพราะฉะนั้น พระเถระทั้งหลายพึงหักกิ่งไม้และใบไม้เอาปอเป็นต้นถักแล้ว พึงให้แก่พวกภิกษุหนุ่ม หรือพวกภิกษุหนุ่มหักเพื่อประโยชน์แก่พระเถระทั้งหลาย ถักแล้วให้แก่พระเถระเหล่านั้นที่มือ หรือไม่ให้ ตนนุ่ง เสียเอง แล้วให้ผ้านุ่งและผ้าห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลาย. ไม่เป็น ปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคามเลย. ไม่เป็นทุกกฏ เพราะทรงผ้าธงชัยของ พวกเดียรถีย์นั้น.
ถ้าในระหว่างทางมีลานของพวกช่างย้อม หรือพบเห็นชาวบ้าน เหล่าอื่นผู้เช่นนั้นเข้า, พึงให้ขอจีวร. และพวกชาวบ้านที่ถูกขอเหล่านั้น หรือชาวบ้านพวกอื่น เห็นพวกภิกษุนุ่งกิ่งไม้และใบไม้แล้วเกิดความ อุตสาหะถวายผ้าเหล่าใดแก่ภิกษุเหล่านั้น. ผ้าเหล่านั้นจะมีชายหรือไม่มีชาย ก็ตาม มีสีต่างๆ เช่นสีเขียวเป็นต้นก็ตาม เป็นกัปปิยะบ้าง เป็นอกัปปิยะ บ้าง, ทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นควรนุ่งและควรห่มได้ทั้งนั้น เพราะพวกเธอ ตั้งอยู่ในฐานผู้ถูกโจรชิงจีวร. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร ท่านก็กล่าว คำนี้ไว้ว่า
ผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปะ ทั้งไม้ได้ย้อมด้วยน้ำย้อม ภิกษุพึงนุ่งห่มไปได้ตามปรารถนา และเธอไม่ต้อง อาบัติ, ก็ธรรมนั้น อันพระสุคตเจ้าทรงแสดงแล้ว, ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 810
จริงอยู่ ปัญหาข้อนี้ ท่านกล่าวหมายถึงภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร. ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายสมาคมกับพวกเดียรถีย์ และพวกเดียรถีย์นั้นถวาย จีวรคากรอง เปลือกไม้กรอง และผลไม้กรอง, แม้ผ้าเหล่านั้นควรที่ภิกษุ จะนุ่งห่มได้ไม่รับเอาลัทธิ คือ แม้นุ่งห่มแล้ว ก็ไม่พึงถือลัทธิ (ของเขา).
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในคำว่า ภิกษุเดินไปถึงวัด ใดก่อน, ถ้าจีวรสำหรับวิหาร หรือของสงฆ์ในวัดนั้น มีอยู่ เป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า จีวรสำหรับวิหาร คือ จีวรที่พวกชาวบ้านให้สร้างวัดแล้ว เตรียม จีวรไว้ด้วยกล่าวว่า ปัจจัย ๔ เป็นของส่วนตัวของพวกเราเท่านั้น จงถึง การใช้สอย แล้วตั้งไว้ในวัดที่ตนให้สร้าง จีวรนี้ ชื่อว่า จีวรสำหรับวิหาร.
เครื่องปูลาดบนเตียง ท่านเรียกว่า เครื่องลาดข้างบน.
เครื่องปูลาดที่ทำด้วยเศษผ้า เพื่อต้องการจะรักษาพื้นที่ทำบริกรรม ท่านเรียกว่า ผ้าลาดพื้น. ภิกษุทั้งหลายลาดเสื่ออ่อนบนเครื่องลาดนั้น แล้ว เดินจงกรม.
เปลือก (ปลอก) ฟูกรองเตียง หรือฟูกรองตั่ง ชื่อว่า เปลือกฟูก. ถ้าเปลือกฟูกเขายัดไว้เต็ม, แม้จะรื้อออกแล้วถือเอา ก็ควร. บรรดาจีวร สำหรับวิหารเป็นต้นเหล่านี้ ดังกล่าวมาอย่างนี้ จีวรทีมีอยู่ในวัดนั้น พวก ภิกษุที่ถูกโจรชิงเอาไป แม้ไม่ขออนุญาตจะถือเอานุ่งหรือห่มก็ได้. ก็แล การนุ่งหรือการห่มนั้น ย่อมได้ด้วยความประสงค์ว่า เราได้ (ผ้านุ่งหรือ ผ้าห่มแล้ว) จักตั้งลงไว้ คือ จักเก็บไว้อย่างเดิม, ย่อมไม่ได้ โดยการ ขาดมูลค่า (การถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน). ก็แล ครั้นได้ (ผ้านุ่งหรือ ผ้าห่ม) จากญาติ หรือจากอุปัฏฐาก หรือแม้จากที่แห่งใดแห่งหนึ่งอื่นแล้ว พึงกระทำให้กลับเป็นปกติเดิมทีเดียว. ภิกษุไปยังต่างถิ่นแล้ว พึงเก็บไว้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 811
ในอาวาสของสงฆ์แห่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอย โดยการใช้สอย เป็นของสงฆ์. ถ้าจีวรสำหรับวิหารนั้น ชำรุด หรือหายไป โดยการใช้สอย ของภิกษุนั้น ไม่เป็นสินใช้. แต่ถ้าว่า ภิกษุไม่ได้ผ้าอะไรๆ บรรดา ผ้าเหล่านี้ มีผ้าของคฤหัสถ์เป็นต้น มีเปลือกฟูกเป็นที่สุด มีประการ ดังกล่าวแล้ว, เธอพึงเอาหญ้า หรือใบไม้ปกปิดแล้วมาเถิด ฉะนี้แล.
จีวรแม้ที่อาจารย์และอุปัชฌาย์ ผู้ถูกโจรชิงจีวรไป ขอกะชนเหล่า อื่นว่า นำจีวรมาเถิด อาวุโส! แล้วถือเอาไป หรือถือเอาไปด้วยวิสาสะ ย่อมควรเพื่อจะกล่าวว่า ถึงการสงเคราะห์เข้า ในคำว่า เกหิจิ วา อจฺฉินฺนํ (ถูกใครๆ ชิงเอาไปก็ดี) นี้.
อนึ่ง แม้จีวรที่พวกนิสิตปกปิดด้วยหญ้า และใบไม้ด้วยตนเองแล้ว ถวายแก่ภิกษุมีอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ผู้ถูกโจรชิงจีวรย่อมควร เพื่อจะกล่าวว่า ถึงการสงเคราะห์เข้า ในคำว่า ปริโภคชิณฺณํ วา (ใช้สอยเก่าไปก็ดี) นี้. จริงอยู่ เมื่อมีเนื้อความที่ควรกล่าวอย่างนั้น ภิกษุ เหล่านั้นจักเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้ถูกชิงจีวร และในฐานเป็นผู้มีจีวรหาย แท้. เพราะฉะนั้น อนาบัติในเพราะวิญญัตติ และในเพราะบริโภคอกัปปิยจีวร จักเป็นของสมควรแก่ภิกษุเหล่านั้นแล.
ในคำว่า าติกานํ ปวาริตานํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นความอย่างนี้ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอ คือ ผู้อ้อนวอนขอกะญาติและคน ปวารณาว่า พวกท่านจงถวายของตน แก่ภิกษุเหล่านี้, แท้จริง ไม่มี อาบัติหรืออนาบัติ แก่ภิกษุทั้งหลายที่พวกญาติปวารณาแล้ว. *
แม้ในคำว่า อตฺตโน ธเนน นี้ บัณฑิตก็พึงเห็นความอย่างนี้ว่า
(๑) แปลตามอัตถโยชนา ๑/๕๔๑. ญาตกานํ ปวาริตานนฺติ ญาตเกหิ ปริวาริตานํ ภกฺขูนํ-ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 812
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอ คือผู้สั่งให้จ่าย หรือสั่งให้แลกเปลี่ยน ด้วยกัปปิยภัณฑ์ของตน โดยกัปปิยโวหารเท่านั้น.
อนึ่ง ในคำว่า ปวาริตานํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ในปัจจัยทั้งหลาย ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรขอแต่พอประมาณเท่านั้น. ใน การปวารณาเฉพาะบุคคล ควรขอแต่เฉพาะสิ่งของที่เขาปวารณาเหมือนกัน. แท้จริง คนใดปวารณาด้วยจตุปัจจัยกำหนดไว้เองทีเดียว แล้วถวาย สิ่งของที่ต้องการโดยอาการอย่างนั้น คือ ย่อมถวายจีวรตามสมควรแก่กาล ย่อมถวายอาหารมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นทุกๆ วัน, กิจที่จะต้องออก ปากขอกะคนเช่นนั้น ไม่มี. ส่วนบุคคลใดปวารณาแล้ว ย่อมไม่ให้ เพราะ เป็นผู้เขลา หรือเพราะหลงลืมสติ, บุคคลนั้น อันภิกษุควรขอ. บุคคล กล่าวว่า ผมปวารณาเรือนของผม, ภิกษุพึงไปสู่เรือนของบุคคลนั้นแล้ว พึงนั่ง พึงนอน ตามสบาย ไม่พึงรับเอาอะไรๆ. ส่วนบุคคลใด กล่าวว่า ผมขอปวารณาสิ่งของที่มีอยู่ในเรือนของผม ดังนี้, พึงขอสิ่งของที่เป็น กัปปิยะซึ่งมีอยู่ในเรือนของบุคคลนั้น. ในกุรุนทีกล่าวว่า แต่ภิกษุจะนั่ง หรือจะนอนในเรือน ไม่ได้.
ในคำว่า อญฺสฺสตฺถาย นี้ มีอรรถอย่างหนึ่ง ดังนี้ว่า ไม่เป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ขอกะญาติและคนปวารณาของตน เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนอรรถอย่างที่สองในบทว่า อญฺสฺส นี้ ดังต่อไปนี้ว่า ไม่เป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอกะญาติและคนปวารณาของภิกษุอื่น เพื่อประ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 813
โยชน์แก่ภิกษุนั้นนั่นเอง คือ พระพุทธรักขิต ซึ่งได้โวหารว่า ผู้อื่น *. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทแม้นี้ก็มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องของพระฉัพพัคคีย์
[๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้มีจีวรถูกชิงไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย การขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนหรือแม่เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้มีจีวรถูกชิงไป หรือผู้มีจีวร ฉิบหายแล้ว ท่านทั้งหลายจงขอจีวรเถิด
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พอแล้ว ขอรับ พวกผมได้จีวรมาแล้ว
ฉ. พวกผมจะขอเพื่อประโยชน์ของพวกท่าน
ภิ. จงขอเถิด ขอรับ
(๑) อตฺถโยชนา ๑/๕๔๒/ กำหนดให้แปลว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ขอปัจจัยทั้งหลายที่พวก ญาติของพวกภิกษุอื่นปวารณาไว้ เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธรักขิต หรือพระธรรมรักขิต นั้นนั่นแล-ผู้ได้โวหารว่า "ภิกษุอื่น" - ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 814
ลำดับนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้ว กล่าวคำนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีจีวรถูกชิงไปมาแล้ว ขอท่าน ทั้งหลายจงถวายจีวรแก่พวกเธอ ดังนี้แล้ว ขอจีวรได้มาเป็นอันมาก
ครั้งนั้น บุรุษหนึ่ง นั่งอยู่ในที่ชุมชน พูดกะบุรุษอีกผู้หนึ่งว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีจีวรถูกชิงไปมาแล้ว ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรแก่ท่าน เหล่านั้นแล้ว แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ได้ถวาย ไปแล้ว แม้บุรุษอื่นอีกก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไปแล้ว บุรุษเหล่านั้นจึงพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่รู้จักประมาณ ขอจีวรมามากมายเล่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จักทำการค้าผ้าหรือจักตั้งร้านขายผ้า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอจีวรมามากมายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่รู้จักประมาณ ขอจีวรมาไว้ มากมาย จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 815
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงไม่รู้จักประมาณ ขอ จีวรมาไว้มากมายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 816
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุนชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๖. ๗. ถ้าพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติปวารณา ต่อภิกษุนั้น ด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึง ยินดีจีวร มีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น ถ้า ยินดียิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙] บทว่า ถ้า ... ต่อภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้มีจีวรถูกชิงไป.
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือไม่ใช่คนเนื่องถึงกันทางมารดาก็ดี ทาง บิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก.
ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน.
ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน.
บทว่า ด้วยจีวรเป็นอันมาก คือ จีวรหลายผืน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 817
บทว่า ปวารณา ... เพื่อนำไปได้ตามใจ คือ ปวารณาว่า ท่านต้อง การจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด
คำว่า ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่าง มาก จากจีวรเหล่านั้น ความว่า ถ้าจีวรหาย ๓ ผืน เธอพึงยินดีเพียง ๒ ผืน หาย ๒ ผืน พึงยินดีเพียงผืนเดียว หายผืนเดียวอย่าพึงยินดีเลย
คำว่า ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น ความว่า ขอมาได้มากกว่านั้น เป็น ทุกกฏในประโยคที่ยินดีเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสีย สละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้า เรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 818
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงพึงข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๐] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวรเกิน กำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 819
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๑] ภิกษุนำเอาไปด้วยคิดว่า จักนำจีวรที่เหลือมาคืน ๑ เจ้าเรือน ถวายบอกว่า จีวรที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว ๑ เจ้าเรือนไม่ได้ถวาย เพราะเหตุจีวรถูกชิงไป ๑ เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย ๑ ภิกษุ ขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 820
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๗
พรรณนาตทุตตริสิกขาบท
ตทุตตริสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในตทุตตริสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องปวารณาเพื่อนำไป]
ศัพท์ว่า อภิ ในคำว่า อภิหฏฺฐุํ เป็นอุปสรรค. มีอรรถว่า เพื่อ นำไป. มีคำอธิบายว่า เพื่อถือเอา.
บทว่า ปวาเรยฺย มีความว่า พึงให้ปรารถนา คือ ให้เกิดความ ปรารถนา ความพอใจ, อธิบายว่า พึงบอก คือ พึงนิมนต์. เพื่อทรง แสดงอาการที่ผู้ปวารณาเพื่อให้นำไปจะพึงกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง ตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า อภิหฏฺฐุํ ไว้อย่างนี้ว่า ท่านต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถานี้ว่า เนกฺขมฺมํ หฏฺฐุ- เขมโต มีอรรถว่า ทิสฺวา (เห็นแล้ว) ฉันใด, สองบทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย แม้ในสิกขาบทนี้ ก็มีอรรถว่า เขานำมาแล้วปวารณา ฉันนั้น.
การนำมาในคำว่า อภิหริตฺวา นั้น มี ๒ อย่างคือ การนำมาด้วย กายอย่าง ๑ การนำนาด้วยวาจาอย่าง ๑. พ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ นำผ้าทั้งหลายมาด้วยกายแล้ววางไว้ที่ใกล้เท้า พึงปวารณา กล่าวว่า ท่านต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. อนึ่ง พึงกล่าว ปวารณาด้วยวาจาว่า เรือนคลังผ้าของพวกข้าพเจ้า เต็มบริบูรณ์, ท่าน ต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. ก็เพราะรวมการนำมาทั้งสอง นั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน ตรัสเรียกว่า ปวารณาเพื่อนำไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 821
บทว่า สนฺตรุตฺตรปรมํ มีวิเคราะห์ว่า ผ้าอุตราสงค์ กับอันตรวาสก เป็นอย่างยิ่งแห่งจีวรนั้น; เหตุนั้น จีวรนั้น จึงชื่อว่า มีอุตราสงค์ กับอันตรวาสกเป็นอย่างยิ่ง. มีคำอธิบายว่า ผ้าห่มกับผ้านุ่ง เป็นกำหนด อย่างสูงแห่งจีวรนั้น.
หลายบทว่า ตโต จีวรํ สาทิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุพึงถือเอาจีวร มีประมาณเท่านี้ จากจีวรที่คฤหบดี หรือ คฤหปตานี ผู้มิใช่ญาตินำมา ให้นั้น, อธิบายว่า ไม่ควรรับเกินกว่านี้. ก็เพราะว่าภิกษุผู้มีเพียงไตรจีวร เท่านั้น ถูกโจรชิงเอาจีวรไปหมด ควรปฏิบัติอย่างนี้, ภิกษุอื่นควร ปฏิบัติแม้อย่างอื่น; ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงวิภาคนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า ตโต จีวรํ สาทิตพฺพํ นั้น โดยนัยมีว่า สเจ ตีณิ นฏฺานิ โหนฺติ เป็นต้น.
วินิจฉัยในคำว่า สเจ ตีณิ นฏฺานิ เป็นต้นนั้น ดังต่อไปนี้:-
ถ้าภิกษุใดมีจีวรหาย ๓ ผืน, ภิกษุนั้น พึงยินดี ๒ ผืน. คือจักนุ่ง ผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แล้วแสวงหาอีกผืนหนึ่งจากที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาค กัน. ภิกษุใด มีจีวรหาย ๒ ผืน ภิกษุนั้น พึงยินดีผืนเดียว. ถ้าภิกษุ เที่ยวไปโดยปกติด้วยอุตราสงค์กับอันตรวาสก พึงยินดี ๒ ผืน. เมื่อยินดี เช่นนั้น จักเป็นผู้เสมอกับภิกษุผู้ยินดีผืนเดียวนั่นเอง. หายผืนเดียว ไม่ พึงยินดี. ภิกษุใดมีจีวรหายไปผืนเดียวในบรรดาจีวร ๓ ผืน, ภิกษุนั้น ไม่ควรยินดี. แต่บรรดาจีวร ๒ ผืน ของภิกษุใดหายผืนเดียว, เธอพึง ยินดีผืนเดียว. แต่ของภิกษุใด มีผืนเดียวเท่านั้น และจีวรผืนนั้นหาย, ภิกษุนั้น พึงยินดี ๒ ผืน. แต่สำหรับภิกษุนี้ เมื่อหายไปทั้ง ๕ ผืน พึง ยินดี ๒ ผืน. เมื่อหาย ๔ ผืน พึงยินดีผืนเดียว. เมื่อหาย ๓ ผืน ไม่พึง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 822
ยินดีอะไรๆ เลย. ก็ในจีวรที่หายไป ๒ ผืน หรือ ๑ ผืน จะต้องกล่าว ไปทำไมเล่า? จริงอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง พึงตั้งอยู่ในความเป็นผู้มี อุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างยิ่ง. ยิ่งกว่านั้นไปย่อมไม่ได้, คำดังกล่าว มานี้ เป็นลักษณะในข้อนี้.
สองบทว่า เสสกํ อาหริสฺสามิ มีความว่า ข้าพเจ้า จักทำจีวร สองผืนแล้ว จักนำผ้าที่เหลือมาคืนให้.
บทว่า น อจฺฉินฺนการณา มีความว่า พวกทายกถวายด้วยอำนาจ แห่งคุณมีความเป็นพหูสูตเป็นต้น.
ในบทว่า าตกนํ เป็นต้น มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ยินดีจีวรของพวกญาติถวาย ผู้ยินดีของพวกคนปวารณาถวาย ผู้ยินดี (จีวรที่จ่ายมา) ด้วยทรัพย์ของตน.
อนึ่ง ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ตามปกตินั่นแลจะขอ จีวรแม้มากในที่แห่งญาติและคนปวารณา ก็ควร, เพราะเหตุที่ถูกโจร เป็นต้นชิงไป ควรจะขอแต่พอประมาณเท่านั้น. คำนั้นไม่สมด้วยพระบาลี. ก็เพราะสิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ในเพราะเรื่อง ขอเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นเท่านั้น; เพราะฉะนั้น ในสิกขาบทนี้ พระองค์ จึงไม่ตรัสว่า เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทแม้นี้ ก็มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาตทุตตริสิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 823
จีวรวรรค สิกขายทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นบุรุษ ผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า ฉันจักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร
ภิกษุรูปหนึ่งผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ได้ยินบุรุษนั้นกล่าว คำนี้ จึงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโส อุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญมาก ใน สถานที่โน้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า ฉันจักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร
ท่านพระอุปนันทะกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของผม ครั้นแล้วท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้เข้าไปหาบุรุษนั้นแล้วสอบถาม เขาว่า จริงหรือ ข่าวว่า ท่านประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร
บุ. ความจริง ผมตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า จักยังท่านพระอุปนันทะให้ ครองจีวร
อุ. ถ้าท่านประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้ เถิด เพราะจีวรที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้
บุรุษนั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในขณะนั้นว่า พระสมณะเชื้อสายพระะศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะให้ ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะ อันเราไม่ได้ปวารณา ไว้ก่อนจึงได้เข้ามาหา แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 824
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร อันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือน ถึง การกำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนอุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่มิใช่ญาติย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของคนที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวรได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 825
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น คนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 826
พระบัญญัติ
๒๗. ๘. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติตระเตรียมทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วย ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขา ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนัก ของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูปให้ครองเถิด เป็นนิสสัคติยปาจิตตีย์ ถือ เอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว มุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า ด้าย หรือฝ้าย.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้ เฉพาะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 827
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จักถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาตระเตรียม ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ถวายเฉพาะ.
บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไร ถวายท่าน.
บทว่า เข้าไปหาแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใด แห่งหนึ่ง.
บทว่า ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้ กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้ เฉพาะ.
บทว่า เช่นนั้นหรือเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อ ละเอียด.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ยังรูปให้ครองเถิด คือ จงให้.
บทว่า ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือ มีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่มีราคาแพง
เขาจ่ายจีวรยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตาม คำของเธอ เป็นทุกกฏในประโยคที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 828
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 829
ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง กระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคติยปาจิตตีย์
[๖๔] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรเป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป หาเจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 830
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๕] ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ ปวารณาไว้ ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วย ทรัพย์ของตน ๑ เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวร มีราคาถูก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๘
พรรณนาปฐมอุปักขฏสิกขาบท
อุปักขฏสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในอุปักขฏสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถมูลเหตุปฐมบัญญัติ]
ในคำว่า อตฺถาวุโส มํ โส อุฏฺาโก นี้ มีความอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้มีอายุ! บุรุษที่ท่านพูดถึง เห็นปานนี้นั้น เป็นอุปัฏฐากของผม มีอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 831
คำว่า อปิมยฺยา เอวํ โหติ มีความว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ความจริง ผมตั้งใจไว้อย่างนั้น. ปาฐะว่า อปิ เมยฺยา เอวํ โหติ แปลว่า ข้าแด่พระคุณเจ้า! ถึงผมก็มีความคิดอย่างนี้ ดังนี้ ก็มี.
บทว่า อุทฺทิสฺส ที่มีอยู่ในคำว่า ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทิสฺส นี้ มี อรรถว่า อ้างถึง คือ ปรารภถึง. ก็เพราะทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรที่พ่อ เจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ตระเตรียมไว้เฉพาะภิกษุใด จัดว่าเป็นอัน เขาตระเตรียมแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุนั้น; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่ง บทว่า ภิกฺขุํ ปเนว อุทฺทสฺส นั้น ท่านพระอุบาลี จึงกล่าวว่า เพื่อ ประโยชน์แก่ภิกษุ.
[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร]
คำว่า ภิกฺขุํ อารมฺมณํ กริตฺวา ได้แก่ กระทำภิกษุให้เป็นปัจจัย.
จริงอยู่ ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรที่พ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือนตระเตรียมไว้เฉพาะภิกษุใด ย่อมชื่อว่าเป็นอันเขาทำภิกษุนั้นให้เป็นปัจจัย ตระเตรียมไว้โดยแน่นอนทีเดียว. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ทำภิกษุให้ เป็นอารมณ์. ความจริง แม้ปัจจัย ก็มาแล้วโดยชื่อว่า อารมณ์ ในคำว่า ลภติ มาโร อารมฺมณํ แปลว่า มารย่อมได้ปัจจัย ดังนี้เป็นต้น.
บัดนี้ เพื่อแสดงอาการของกัตตา (ผู้ทำ) ในบทว่า อุทฺทิสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประสงค์จะให้ภิกษุครอง. จริงอยู่ คฤหบดี ผู้ประสงค์จะให้ภิกษุครองนั้น ตระเตรียมไว้เฉพาะภิกษุนั้น, มิใช่ (ตระเตรียม) เพราะเหตุอื่น. เพราะเหตุนี้ คฤหบดีนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ประสงค์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 832
จะให้ครอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า ผู้ประสงค์ จะให้ภิกษุครอง.
สองบทว่า อญฺาตกสฺส คหปติสฺส วา มีอรรถว่า อันคฤหบดี ผู้มิใช่ญาติ ก็ดี. แท้จริง คำนี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. แต่ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะไม่วิจารณ์พยัญชนะ แสดงแต่อรรถอย่างเดียว จึงตรัสคำมีอาทิว่า อญฺาตโก นามฯ เปฯ คหปติ นาม ดังนี้.
บทว่า จีวรเจตาปนํ แปลว่า มูลค่าแห่งจีวรม, ก็เพราะมูลค่าแห่ง จีวรนั้น ย่อมเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในบรรดาทรัพย์มีเงินเป็นต้น; ฉะนั้น ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า หิรญฺํ วา เป็นต้น.
สองบทว่า อุปกฺขฏํ โหติ ได้แก่ เป็นทรัพย์ที่เขาตระเตรียมไว้ คือ รวบรวมไว้แล้ว. ก็เพราะด้วยคำว่า หิรญฺํ วา เป็นต้นนี้ ย่อมเป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่มูลค่าจีวรนั้น เป็นของอันคฤหบดีนั้น ตระเตรียมไว้แล้ว; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ทรงยกบทว่า อุปกฺขฏํ นาม ขึ้นแล้วตรัสบทภาชนะแยกไว้ต่างหาก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายถึงทรัพย์ ที่เขาตระเตรียมไว้ จึงตรัสว่า อิมินา เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า อิมินา นั้น จึงตรัสว่า ปจฺจุ- ปฏฺิเตน แปลว่า ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดไว้เฉพาะ. จริงอยู่ มูลค่าแห่งจีวร ที่คฤหบดี ตระเตรียมไว้ คือรวบรวมไว้แล้ว ชื่อว่า เป็นทรัพย์ที่เขาจัด หาไว้เฉพาะ ฉะนี้แล.
คำว่า อจฺฉาเทสฺสามิ นี้ เป็นคำสำนวน. แต่ความหมาย ในคำว่า อจฺฉาเทสฺสามิ นี้ ดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจักถวายแก่ภิกษุ ผู้มีชื่อนี้. เพราะ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 833
เหตุนั้นนั่นแล แม้ในบทภาชนะแห่งบทว่า อจฺฉาเทสฺสามิ นั้น พระองค์ จึงตรัสว่า ทสฺสามิ แปลว่า เราจักถวาย.
ในคำว่า ตตฺร เจ โส ภิกฺขุ นี้ มีการเชื่อมบทอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุ นั้น เขามิได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร ใน สำนักของเจ้าพ่อเรือน หรือแม่เจ้าเรือนนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น เมื่ออรรถแห่งบทว่า อุปสงฺกมิตฺวา แปลว่า เข้าไปหาแล้ว นี้สำเร็จด้วยบทว่า คนฺตฺวา แปลว่า ไปแล้ว นี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สู่เรือน ดังนี้ ด้วยอำนาจโวหารข้างมาก. เนื้อ ความในบทว่า คนฺตฺวา นี้ อย่างนี้ว่า ก็ทายกนั้นอยู่ ณ ที่ใด ไปแล้ว ณ ที่นั้น. เพราะฉะนั้น จึงตรัสซ้ำอีกว่า เข้าไปหาแล้ว ณ ที่แห่งใด แห่งหนึ่ง.
สองบทว่า วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย มีความว่า พึงถึงความกำหนด พิเศษยิ่ง คือ การจัดแจงอย่างยิ่ง. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดงเหตุเป็น เครื่องให้ถึงความกำหนดเท่านั้น จึงตรัสว่า อายตํ วา เป็นต้น.
ศัพท์ว่า สาธุ เป็นนิบาตลงในความอ้อนวอน.
ศัพท์ว่า วต เป็นนิบาตเป็นไปในความรำพึง.
ภิกษุย่อมอ้างตนเอง ด้วยบทว่า มํ (ยังรูป).
ย่อมร้อง คือ ย่อมเรียก ผู้อื่นว่า อายสฺมา (ท่าน).
ก็คำทั้งหมดนี้ เป็นเพียงสักว่าพยัญชนะ มีอรรถตื้นทั้งนั้น; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสอธิบายไว้ในบทภาชนะแห่งบทว่า สาธุ เป็นต้นนั้น.
สองบทว่า กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย มีความว่า ถือเอาความเป็น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 834
ผู้ใคร่ในจีวรที่ดี คือ ความเป็นผู้ปรารถนาจีวรที่วิเศษยิ่งด้วยจิต. บทว่า อุปาทาย นั้น เชื่อมความกับบทว่า อาปชฺเชยฺย เจ นี้. อนึ่ง เพราะเหตุ ที่ภิกษุใด ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี ย่อมถึงความกำหนด, ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีความต้องการจีวรดี คือ มีความต้องการด้วยจีวรที่มีค่ามาก; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า กลฺยาณกมฺยตํ อุปาทาย นั้น จึงทรง ละพยัญชนะเสีย ตรัสคำนั้นเท่านั้น เพื่อแสดงเฉพาะอรรถที่ต้องการ. แต่เพราะอาบัติ ยังไม่ถึงที่สุดด้วยเหตุสักว่า การถึงความกำหนดจีวรนี้ เท่านั้น; ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า ตสฺส วจเนน แปลว่า ตามคำของภิกษุ นั้น เป็นต้น.
ในคำว่า อนาปตฺติ าตกานํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงเห็นอรรถอย่างนี้ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ถึงความกำหนดในจีวรของพวกญาติ.
คำว่า มหคฺฆํ เจตาเปตุกามสฺส อปฺปคฺฆํ เจตาเปติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวแก่คฤหบดี ผู้ใคร่จะให้จ่ายจีวรมีราคา ๒๐ บาท ว่า อย่าเลย ด้วยจีวรมีราคา ๒๐ นี้ แก่รูป, จงถวายจีวรมีค่า ๑๐ บาท หรือ ๘ บาท เถิด.
คำว่า อปฺปคฺฆํ นี้ ตรัสไว้ เพื่อป้องกันราคาที่มากเกินไปนั่นเอง. แต่แม้ในจีวรที่เสมอกัน (มีราคาเท่ากัน) ก็ไม่เป็นอาบัติ. ก็แล จีวรนั้น เสมอกัน (เท่ากัน) ด้วยอำนาจแห่งราคาเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยอำนาจประมาณ (ขนาด). จริงอยู่ สิกขาบทนี้ มีการให้เพิ่มราคา; เพราะฉะนั้น แม้จะ พูดกะคฤหบดี ผู้ใคร่จะให้จ่ายอันตรวาสกมีราคา ๒๐ ว่า จงถวายจีวรมี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 835
ราคาเพียงเท่านี้แหละ ดังนี้ ก็ควร. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. แม้ สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับตทุตตริสิกขาบทนั่นแล.
พรรณนาปฐมอุปักขฏสิกขาบทที่ ๘ จบ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะบุรุษผู้หนึ่งว่า ผมจักยังท่านพระอุปนันทะให้ ครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้น ก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ผมก็จักยังท่าน พระอุปนันทะให้ครองจีวร
ภิกษุรูปหนึ่งถือการเที่ยวบิณฑบาต ได้ยินถ้อยคำที่เจรจากันนี้ของ บุรุษทั้งสองนั้น จึงเข้าไปหาพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าว คำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโสอุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญ มาก ในสถานที่โน้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะบุรุษอีกผู้หนึ่งว่า ผม จักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้นได้กล่าวอย่างนี้ ว่า แม้ผมก็จักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร
ท่านพระอุปนันทะกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาทั้งสองนั้นเป็น อุปัฏฐากของผม ครั้นแล้วท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้เข้าไปหาบุรุษ ทั้งสองคนนั้น แล้วสอบถามเขาว่า จริงหรือ ท่านทั้งหลาย ข่าวว่า ท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 836
บุ. ความจริง พวกผมได้พูดกันไว้อย่างนี้ว่า จักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร
อุ. ถ้าท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวร ชนิดนี้เถิด เพราะจีวรทั้งหลายที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้
บุรุษทั้งสองคนนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในขณะ นั้นว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่ สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะอันพวก เราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้ามาหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษทั้งสองนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลาย แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลายแล้วถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนอุปนันทะ เขาเหล่านั้นเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 837
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ ได้ ไม่ควรทำ คนที่ไม่ใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควรหรือ ไม่ควร ของที่มีอยู่ หรือไม่มี ของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธออันเขาทั้งหลายไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาพ่อเจ้าเรือน ทั้งหลายผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวรได้ การกระทำของเธอ นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น คนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมัก น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 838
รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๒๘. ๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สองคน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ไว้เฉพาะภิกษุ ว่า เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร เฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการกำหนดใน จีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือ เช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ทั้งสองคน รวมกัน ยังรูปให้ครองจีวรผู้ผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถือ เอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 839
สิกขาบทวิภังค์
[๖๗] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง.
บทว่า สองคน คือ สองคนด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว มุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า ด้าย หรือฝ่าย.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัด หาไว้เฉพาะ.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จักถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาทั้งสองคน ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ถวายเฉพาะ.
บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไร ถวายท่าน.
บทว่า เข้าไปหาแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใด แห่งหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 840
บทว่า ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้ กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัด หาไว้เฉพาะ.
บทว่า เช่นนั้นหรือเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อ ละเอียด.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ยังรูปให้ครอง คือ จงให้.
บทว่า ทั้งสองคนรวมกัน คือ รวมทรัพย์ทั้งสองรายเข้าเป็นราย เดียวกัน.
บทว่า ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือ มีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่มีราคาแพง.
เขาจ่ายจีวรยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตาม คำของเธอ เป็นทุกกฏในประโยคที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 841
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่:-
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 842
ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้า เจ้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละแล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๘] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณา ไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป หาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 843
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่า เป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๙] ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ ปวารณาไว้ ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วย ทรัพย์ของตน ๑ เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวร มีราคาถูก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙
พรรณนาทุติยอุปักขฏสิกขาบท
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในทุติยอุปักขฏสิกขาบทโดยนัยนี้แล. เพราะว่า สิกขาบทแรกนั้น เช่นเดียวกับอนุปัตติแห่งสิกขาบทที่สองนี้. ในสิกขาบทก่อน ภิกษุเพียงทำความเบียดเบียนแก่คนๆ เดียวเท่านั้น ใน สิกขาบทที่ ๒ กระทำแก่คน ๒ คน. นี้เป็นความแปลกกันในสิกขาบทนี้. คำที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกับสิกขาบทก่อนทั้งนั้น. และผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้กระทำความเบียดเบียนแก่คนมากคนถือเอา เหมือน ทำแก่คน ๒ คน ถือเอาฉะนั้น.
พรรณนาทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 844
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ส่งทรัพย์สำหรับ จ่ายจีวรไปกับทูต ถวายแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรสั่งว่า เจ้าจงจ่าย จีวรด้วยทรัพย์จ่ายจีวรนี้ แล้วให้ท่านพระอุปนันทะครองจีวร จึงทูตนั้น เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ท่านเจ้าข้า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล กระผมนำ มาถวายเฉพาะพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
เมื่อทูลนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ตอบ คำนี้ กะทูตนั้นว่า พวกเรารับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ได้ รับได้แต่จีวร อันเป็นของควรโดยกาลเท่านั้น
เมื่อท่านตอบอย่างนั้นแล้ว ทูตนั้นได้ถามท่านว่า ก็ใครๆ ผู้เป็น ไวยาจักรของท่านมีหรือ
ขณะนั้น อุบาสกผู้หนึ่งได้เดินทางไปสู่อารามด้วยกรณียะบางอย่าง จึงท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคำนี้กะทูตนั้นว่า อุบาสกนั้นแล เป็นไวยาจักรของภิกษุทั้งหลาย
จึงทูตนั้น สั่งอุบาสกนั้นให้เข้าใจแล้ว กลับเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรแจ้งว่า ท่านเจ้าข้า อุบาสกที่พระคุณเจ้าแสดงเป็น ไวยาวัจกรนั้น กระผมสั่งให้เข้าใจแล้ว ขอพระคุณเจ้าจงเข้าไปหา เขา จักให้ท่านครองจีวรตามกาล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 845
ขณะนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่ได้พูดอะไรกะอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่สองแล ท่านมหาอำมาตย์นั้น ก็ได้ส่งทูตไปในสำนักท่าน พระอุปนันทศากยบุตรว่า ขอพระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรนั้น ข้าพเจ้าต้อง การจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ก็มิได้พูดอะไรกะอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่สามแล ท่านมหาอำมาตย์นั้น ก็ได้ส่งทูตไปในสำนักท่าน พระอุปนันทศากยบุตรว่า ขอพระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรนั้น ข้าพเจ้าต้อง การจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น
ก็สมัยนั้น เป็นคราวประชุมของชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกา กันไว้ว่า ผู้ใดมาภายหลัง ต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
คราวนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปหาอุบาสกนั้น ครั้น แล้วได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ฉันต้องการจีวร
อุบาสกนั้นขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า โปรดรอสักวันหนึ่งก่อน วันนี้ เป็นสมัยประชุมของชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดมาภาย หลัง ต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคาดคั้นว่า ท่านจงให้จีวรแก่ ฉันในวันนี้แหละ แล้วยึดชาพกไว้
ครั้น อุบาสกนั้นถูกคาดคั้น จึงจ่ายจีวรถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร แล้วจึงได้ไปภายหลัง คนทั้งหลายพากันถามอุบาสกนั้นว่า เหตุไร ท่านจึงได้มาภายหลัง ท่านต้องเสียเงิน ๔๐ กหาปณะ จึงอุบาสกนั้นได้ เล่าเรื่องนั้นให้คนเหล่านั้นฟัง คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะเนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 846
ไม่สันโดษ จะทำการช่วยเหลือคนเหล่านี้บ้าง ก็ทำไม่ได้ง่าย ไฉนพระอุปนันทศากยบุตร เมื่ออุบาสกขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่ง ก่อน ก็รอไม่ได้
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร เมื่ออุบาสกขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็ รอไม่ได้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันอุบาสกขอผัดว่า ท่าน เจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็รอไม่ได้ ดังนี้ จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโฆษบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอเมื่ออุบาสกขอผัดว่า กรุณารอสักวันหนึ่ง จึง ไม่รอเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 847
โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนก ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น คนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก ปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความ รับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกัน อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดใน อนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนั้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 848
พระบัญญัติ
๒๙. ๑๐. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่าย จีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะ ท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้น อย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่ จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดง ชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาจักร ด้วยคำว่า คนนั้น แลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้า ใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่าน ครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สอง สามครั้ง ยังไวยาจักรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วย อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่ง กว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 849
พึงไปเองทรัพย์ก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร มาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอา ทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่านอย่างได้ฉิบหายเสียหาย นี้เป็น สามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๑] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของ ภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็นอารมณ์ใคร่จะให้ภิกษุครอง
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ทรงราชย์
ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยง ของพระราชา
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์ พราหมณ์ นอกนั้นชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้ว มุกดา แก้วลาย หรือแก้วผลึก.
บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้ เฉพาะ.
บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 850
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่าย จีวรนี้ นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้น พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาจักรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาจักรด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาจักรของภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวว่า จงให้แก่คุณ นั้น หรือว่านั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือว่าคนนั้น จักจ่าย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาจักรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาจักรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจ แล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้อง การจีวรเข้าไปหาไวยาจักรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูป ต้องการจีวร อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลก จีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป พึงพูดได้แม้ครั้งที่สอง พึงพูดได้แม้ ครั้งที่สาม ถ้าให้จัดสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็น การดี ถ้าให้จัดสำเร็จไม่ได้ พึงไปยืนนิ่งต่อหน้าในที่ใกล้ไวยาจักร นั้น ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขา ถามว่า มาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด ถ้านั่งบนอาสนะก็ดี รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย พึงยืนได้ครั้งที่สอง พึงยืนได้แม้ครั้งที่สาม ทั้ง ๔ ครั้งแล้ว พึงยืนได้ ๔ ครั้ง ทวง ๕ ครั้ง แล้ว พึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้ว จะพึงยืนไม่ได้ ถ้าเธอ พยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นทุกกฏในประโยคที่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 851
พยายาม เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึง ที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 852
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของ ท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละแล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้
ในประโยคว่า ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อย หนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน ทรัพย์ของท่าน อย่าได้ฉิบหายเสียเลย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ดังนี้ ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่งในเรื่องนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 853
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๒] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยัง จีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวรนั้น ให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยังจีวรนั้น ให้สำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวร นั้นให้สำเร็จ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๗๓] ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง ภิกษุทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ๑ ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาจักรถวายเอง ๑ เจ้าของทวง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 854
เอามาถวาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. ทสาหปรมสิกขาบท ว่าด้วยการทรงอติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง
๒. เอกรัตติสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้ราตรี หนึ่ง
๓. มาสปรมสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บจีวรไว้ได้เดือนหนึ่งเป็น อย่างยิ่ง
๔. ปุราณจีวรโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวรจากมือภิกษุณี
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรต่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ
๗. ตทุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรเกินกำหนด
๘. อุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์รายเดียว
๙. อุภินนอุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์สองราย
๑๐. ทูตสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรที่เจ้าทรัพย์ส่งมาถวาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 855
จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐
พรรณนาราชสิกขาบท
ราชสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในราชสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถมูลเหตุปฐมบัญญัติ]
สองบทว่า อุปาสกํ สญฺาเปตฺวา ได้แก่ ให้อุบาสกเข้าใจแล้ว. อธิบายว่า กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ท่านจงซื้อจีวรด้วยมูลค่านี้แล้ว ถวาย พระเถระ.
บทว่า ปญฺาสพนฺโธ มีคำอธิบายว่า ถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ. ปาฐะว่า ปญฺาสมฺพนฺโธ ก็มี.
หลายบทว่า อชฺชุณฺโห ภนฺเต อาคเมหิ มีความว่า ท่านขอรับ! วันนี้ โปรดหยุด คือ ยับยั้ง ให้กระผมสักวันหนึ่ง.
บทว่า ปรามสิ แปลว่า ได้ยืดไว้.
บทว่า ชิโนสิ มีความว่า ท่านถูกพวกเราชนะ คือ ชนะท่าน ๕๐ กหาปณะ อธิบายว่า ท่านจะต้องเสียให้ ๕๐ กหาปณะ.
บทว่า ราชโภคโค มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าราชอำมาตย์ เพราะมี เบี้ยเลี้ยงจะพึงบริโภค หรือพึงใช้สอย จากพระราชา. ปาฐะว่า ราชโภโค ก็มี. ความว่า ผู้มีโภคะ (ความเป็นใหญ่) จากพระราชา.
บทว่า ปหิเณยฺย แปลว่า พึงส่งไป. แต่เพราะมีอรรถตื้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า ปหิเณยฺย นั้นไว้. ก็บทว่า ปหิเณยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสบทภาชนะไว้ฉันใด,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 856
แม้บทว่า จีวรํ อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ เป็นต้น ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ไม่ได้ตรัสบทภาชนะไว้ เพราะมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บทว่า อาภฏํ แปลว่า นำมาแล้ว.
สองบทว่า กาเลน กปฺปิยํ คือ โดยกาลอันถึงความสมควร. ความว่า พวกเราจะรับจีวรที่ควรในเวลาพวกเรามีความต้องการ.
บทว่า เวยฺยาวจฺจกโร ได้แก่ ผู้ทำกิจ, ความว่า กัปปิยการก (ผู้ทำของให้สมควร).
ข้อว่า สญฺตฺโต โส มยา มีความว่า คนที่ท่านแสดงเป็น ไวยาจักรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว คือ สั่งโดยประการที่เมื่อท่านมี ความต้องการด้วยจีวรเขาจะถวายจีวรแก่ท่าน.
คำว่า อตฺโถ เม อาวุโส จีวเรน นี้ เป็นคำแสดงลักษณะแห่ง การทวง (ด้วยวาจา). จริงอยู่ คำสำนวนนี้ ควรกล่าว, อีกอย่างหนึ่ง อรรถแห่งคำว่า อาวุโส! รูปมีความต้องการด้วยจีวรนั้น ควรกล่าวด้วย ภาษาหนึ่ง. ลักษณะนี้ ชื่อว่าลักษณะแห่งการทวง. ส่วนคำว่า จงให้ จีวรแก่รูป เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงอาการที่ไม่ควรกล่าว. จริงอยู่ คำเหล่านี้ หรือเนื้อความของคำเหล่านี้ไม่ควรกล่าวด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง.
ข้อว่า ทุติยํปิ วตฺตพฺโพ ตติยํปิ วตฺตพฺโพ มีความว่า ไวยาวัจกร นั้น อันภิกษุพึงกล่าวคำนี้แลถึง ๓ ครั้งว่า อาวุโส! รูปมีความต้อง การจีวร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำหนดการทวง ที่ยกขึ้นแสดง ในคำว่า พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้ง อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรง แสดงใจความโดยสังเขปแห่งบทเหล่านี้ว่า ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจทยมาโน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 857
สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย อิจฺเจตํ กุสลํ จึงตรัสว่า ถ้าภิกษุ สั่งไวยาวัจกรนั้นให้จัดสำเร็จ การให้จัดสำเร็จได้อย่างนี้นั้น เป็นการดี. เมื่อทวงถึง ๓ ครั้ง อย่างนั้น ถ้าจัดจีวรนั้นให้สำเร็จได้ คือ ย่อมอาจเพื่อ ให้สำเร็จ ด้วยอำนาจ (ทำ) ให้ตนได้มา. การจัดการให้สำเร็จได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี คือ ให้สำเร็จประโยชน์ ดี งาม.
คำว่า จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกขตตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส าตพฺพํ นี้ เป็นการแสดงลักษณะแห่งการยืน. ก็คำว่า ฉกฺขตฺตุปรมํ นี้ บอกภาวนปุงสกลิงค์. จริงอยู่ ภิกษุนี้ พึงยืนนิ่งเฉพาะจีวร ๖ ครั้งเป็น อย่างมาก. ไม่พึงกระทำกิจอะไรๆ อื่น. นี้เป็นลักษณะแห่งการยืน. เพื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้นิ่ง (ที่ตรัส) ไว้ในบทว่า ตุณฺหีภูเตน นั้น ซึ่งเป็นสาธารณะแก่การยืนทุกๆ ครั้งก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ตตฺถ คนฺตฺวา ตุณฺหีภูเตน เป็นต้น ในบทภาชนะ.
[อธิบายการทวงการยืน]
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า น อาสเน นิสีทิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุแม้อันไวยาจักรกล่าวว่า โปรดนั่งที่นี้เถิด ขอรับ! ก็ไม่ควรนั่ง.
สองบทว่า น อามิสํ ปฏิคฺคเหตพฺพํ ความว่า แม้อันเขา อ้อนวอนอยู่ว่า โปรดรับอามิสต่างโดยยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น สักเล็ก น้อย ขอรับ! ก็ไม่ควรรับ.
สองบทว่า น ธมฺโม ภาสิตพฺโพ มีความว่า แม้ถูกเขาอ้อนวอน อยู่ว่า โปรดกล่าวมงคล หรืออนุโมทนาเถิด ก็ไม่ควรกล่าวอะไรเลย เมื่อถูกเขาถามอย่างเดียวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร? พึงบอบเขาว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 858
จงรู้เอาเองเถิด ผู้มีอายุ! จริงอยู่ คำว่า ปุจฺฉิยมาโน นี้ เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงเห็นใจความใน บทว่า ปุจฉิยมาโน นี้ แม้อย่างนี้ว่า ถูกเขาตั้งปัญหาถาม. จริงอยู่ บุคคลใด ย่อมตั้งปัญหาถาม, ภิกษุควรตอบบุคคลนั้นเท่านี้แล.
สองบทว่า านํ ภญฺชติ คือ ย่อมหักซึ่งเหตุแห่งการมา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการเพิ่ม และการลดใน การทวง ๓ ครั้ง และการยืน ๖ ครั้ง ที่พระองค์ตรัสไว้แล้ว จึงตรัสคำ เป็นต้นว่า จตุกฺขตฺตุํ โจเทตฺวา เป็นต้น. อนึ่ง ในพระบาลีนี้ตรัสให้ลด การยืน ๒ ครั้ง โดยเพิ่มการทวงครั้งหนึ่ง; เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันทรง แสดงลักษณะว่า การทวงหนึ่งครั้งเท่ากับการยืนสองครั้ง. มีคำอธิบายว่า โดยลักษณะดังกล่าวมานี้ ภิกษุทวง ๓ ครั้ง พึงยืนได้ ๖ ครั้ง, ทวง ๒ ครั้ง พึงยืนได้ ๘ ครั้ง, ทวงครั้งเดียว พึงยืนได้ ๑๐ ครั้ง, เหมือน อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทวง ๖ ครั้งแล้ว ไม่พึงยืน ฉันใด ยืน ๑๒ ครั้ง แล้ว ก็ไม่พึงทวง ฉันนั้น ดังนี้ก็มีเหมือนกัน.
เพราะฉะนั้น บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยในการทวง และการยืน ทั้งสองนั่นอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทวงอย่างเดียว ไม่ยืน ย่อมได้การทวง ๖ ครั้ง. ถ้ายืนอย่างเดียว ไม่ทวง ย่อมได้การยืน ๑๒ ครั้ง. ถ้าทวงบ้าง ยืนบ้าง พึงลดการยืน ๒ ครั้ง ต่อการทวงครั้ง ๑, บรรดาการทวงและการยืนนั้น ภิกษุใด ไปทวงบ่อยๆ วันเดียวเท่านั้นถึง ๖ ครั้ง, หรือว่าไปเพียงครั้ง เดียว แต่พูด ๖ ครั้งว่า ผู้มีอายุ รูปต้องการจีวร, อนึ่ง ไปยืนบ่อยๆ วันเดียวเท่านั้นถึง ๑๒ ครั้ง, หรือว่าไปเพียงครั้งเดียว แต่ยืนในที่นั้นๆ ๑๒ ครั้ง, ภิกษุแม้นั้นย่อมหักการทวงทั้งหมด และการยืนทั้งหมด ก็จะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 859
ป่วยกล่าวไปไย ในเรื่องหักการทวงและการยืน ของภิกษุผู้กระทำอย่างนี้ ในต่างวันกันเล่า?
ข้อว่า ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภฏํ มีความว่า ทรัพย์สำหรับ จ่ายจีวร ที่เขานำมาเพื่อภิกษุนั้น จากพระราชา หรือจากราชอำมาตย์ใด. ปาฐะว่า ยตฺราสฺส ก็มี เนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. อาจารย์บางพวก สวดว่า ยตฺถสฺส ก็มี และกล่าวอรรถว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรอันเขา ส่งมาเพื่อภิกษุนั้นในที่โด. แต่ว่า พยัญชนะไม่สมกัน.
บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสำนักแห่งพระราชา หรือว่าราชอำมาตย์ นั้น. จริงอยู่ คำว่า ตตฺถ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.
ข้อว่า น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจ อตฺถํ อนุโภติ มีความว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น ไม่ให้สำเร็จกรรมน้อยหนึ่ง คือ แม้มีประมาณ เล็กน้อย แก่ภิกษุนั้น.
ข้อว่า ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงทวง เอาทรัพย์ของตน คือ จงตามเอาทรัพย์นั่นคืนไปเสีย.
ข้อว่า มา โว สกํ วินสฺส มีความว่า ทรัพย์ส่วนตัวของท่าน จงอย่าสูญหายไปเลย, อนึ่ง ภิกษุใด ย่อมไม่ไปเอง ทั้งไม่ส่งทูตไป ภิกษุนั้น ย่อมต้องทุกกฏ เพราะละเลยวัตร.
[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]
ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ?
แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติ (อย่างนี้เสมอไป).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 860
แท้จริง ชื่อว่า กัปปิยการกนี้ โดยสังเขปมี ๒ อย่าง คือ ผู้ที่ถูก แสดง ๑ ผู้ที่มิได้ถูกแสดง ๑, ใน ๒ พวกนั้น กัปปิยการกผู้ที่ถูกแสดง มี ๒ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงอย่างหนึ่ง ผู้ที่ทูตแสดงอย่างหนึ่ง. แม้กัปปิยการกที่ ไม่ถูกแสดงก็มี ๒ อย่าง คือ กัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า ๑ กัปปิการกลับหลัง ๑. บรรดากัปปิยการก ที่ภิกษุแสดงเป็นต้นนั้น กัปปิยการกที่ภิกษุแสดง มี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจต่อหน้าและลับหลัง. กัปปิยการกที่ทูตแสดงก็เช่นเดียวกันแล.
อย่างไร? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมส่งอกัปปิยวัตถุไปด้วย ทูต เพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับภิกษุ. ทูตเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กล่าวว่า ท่านขอรับ! ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ ส่งอกัปปิยวัตถุนี้มาเพื่อประโยชน์แก่จีวร สำหรับท่าน, ขอท่านจงรับอกัปปิยวัตถุนั้น. ภิกษุห้ามว่า อกัปปิยวัตถุนี้ ไม่สมควร. ทูตถามว่า ท่านขอรับ! ก็ไวยาวัจกรของท่านมีอยู่หรือ? และ ไวยาวัจกรทั้งหลายที่พวกอุบาสก ผู้ต้องการบุญสั่งไว้ว่า พวกท่านจงทำ การรับใช้แก่ภิกษุทั้งหลาย หรือไวยาวัจกรบางพวกเป็นเพื่อนเคยเห็น เคยคบกันมา ของภิกษุทั้งหลายมีอยู่. บรรดาไวยาวัจกรเหล่านั้น คนใด คนหนึ่ง นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ ในขณะนั้น. ภิกษุแสดงเขาว่า ผู้นี้ เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ทูตมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของ ไวยาวัจกรนั้น สั่งว่า ท่านจงซื้อจีวรถวายพระเถระ ดังนี้ แล้วไป. นี้ ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงต่อหน้า.
ถ้าไวยาวัจกร มิได้นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ, อนึ่งแล ภิกษุย่อม แสดงขึ้นว่า คนชื่อนี้ ในบ้านชื่อโน้น เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 861
ทูตนั้นไปมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของไวยาวัจกรนั้นสั่งว่า ท่านพึงซื้อ จีวรถวายพระเถระ มาบอกแก่ภิกษุแล้วจึงไป. ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่า ผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างหนึ่ง.
ก็แล ทูตนั้นมิได้มาบอกด้วยตนเองเลย แต่กลับวานผู้อื่นไปบอกว่า ท่านขอรับ! ทรัพย์สำหรับจ่ายค่าจีวร ผมได้มอบไว้ในมือผู้นั้น, ขอท่าน พึงรับเอาจีวรเถิด. ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สอง.
ทูตนั้น มิได้วานคนอื่นไปเลย, แต่ไปบอกภิกษุเสียเองแลว่า ผม จักมอบทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือแห่งผู้นั้น, ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด. ผู้นี้ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สาม. ด้วยประการ ดังกล่าวมานี้ ไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงต่อหน้า จำพวกหนึ่ง ผู้ที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ ภิกษุแสดง. ในไวยาวัจกร ๔ จำพวกนี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในราชสิกขาบทนี้แล.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งถูกทูตถามแล้ว โดยนัยก่อนนั่นแล เพราะไวยาวัจกร ไม่มี หรือเพราะไม่อยากจะจัดการ จึงกล่าวว่า พวกเรา ไม่มีกัปปิยการก และในขณะนั้นมีคนบางคนผ่านมา, ทูตจึงมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของ เขา แล้วกล่าวว่า ท่านพึงรับเอาจีวรจากมือของผู้นี้เถิด แล้วไปเสีย, ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันทูตแสดงต่อหน้า.
ยังมีทูตอื่นอีกเข้าไปยังบ้านแล้ว มอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของผู้ใด ผู้หนึ่ง ที่ชอบพอกับตน แล้วมาบอก หรือวานผู้อื่นไปบอกโดยนัยก่อน นั่นแล หรือกล่าวว่า ผมจักให้ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือของคนชื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 862
โน้น, ท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ดังนี้ แล้วไปเสีย. ไวยาวัจกรที่ ๓ นี้ชื่อว่า ผู้ที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ไวยาจักร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือไวยาวัจกรที่ทูตแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง ไวยาวัจกรที่ทูตแสดง ไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ทูตแสดง. ในไวยาจักร ๔ จำพวกเหล่านี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน เมณฑกสิกขาบทนั่นแล.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ พวกมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส, มนุษย์เหล่านั้น ย่อมมอบหมายเงิน และ ทองไว้ในมือแห่งกัปปิยการกทั้งหลายสั่งว่า พวกท่านจงจัดของที่ควร ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยเงินและทองนี้ ภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาต ให้ยินดี สิ่งของซึ่งเป็นกัปปิยะจากเงินและทองนั้น, ภิกษุทั้งหลาย! แต่ เราหากล่าวไม่เลยว่า ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยาย ไรๆ.
ในอธิการแห่งไวยาวัจกร ๔ จำพวกที่ทูตแสดงนี้ ไม่มีกำหนดการ ทวง. การที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์โดยการทวงหรือการ ยืน แม้ตั้งพันครั้ง ก็ควร. ถ้าไวยาวัจกรนั้นไม่ให้, แม้จะพึงตั้งกัปปิยการกอื่น ให้นำมาก็ได้. ถ้ากัปปิยการกอื่นปรารถนาจะนำมา, ภิกษุพึง บอกแม้แก่เจ้าของเดิม. ถ้าไม่ปรารถนา, ก็ไม่ต้องบอก.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ถูกทูตถามโดยนัยก่อนเหมือนกัน กล่าวว่า พวก เราไม่มีกัปปิยการก. คนอื่นจากทูตนั้น ยืนอยู่ใกล้ๆ ได้ยินจึงกล่าวว่า ผู้เจริญ! โปรดนำมาเถิด, ผมจักจ่ายจีวรถวายพระคุณเจ้า ดังนี้. ทูตกล่าว ว่า เชิญเถิด ท่านผู้เจริญ! ท่านพึงถวาย แล้วมอบไว้ในมือของผู้นั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 863
ไม่บอกแก่ภิกษุเลย ไปเสีย. นี้ชื่อว่ากัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า.
ทูตอีกคนหนึ่งมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมืออุปัฏฐากของภิกษุ หรือคน อื่นสั่งว่า ท่านพึงถวายจีวรแก่พระเถระ แล้วหลีกไปจากที่นั่นทีเดียว. นี้ ชื่อว่า กัปปิยการกลับหลัง ; ฉะนั้น กัปปิยการกทั้งสองนี้จึงชื่อว่า กัปปิยการกที่ทูตไม่ได้แสดง. ในกัปปิยการกทั้ง ๒ นี้ พึงปฏิบัติเหมือนในอัญญาตกสิกขาบท และอัปปวาริตสิกขาบทฉะนั้น. ถ้ากัปปิยการกที่ทูตมิได้ แสดงทั้งหลาย นำจีวรมาถวายเอง ภิกษุพึงรับ, ถ้าไม่ได้นำมาถวาย, อย่าพึงพูดคำอะไรๆ.
ก็คำว่า ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย นี้ สักว่าเป็นเทศนาเท่านั้น. ถึงในพวกกัปปิยการกแม้ผู้นำอกัปปิยวัตถุมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่ บิณฑบาตเป็นต้นด้วยตนเอง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุจะรับเพื่อ ประโยชน์แก่ตนเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สมควร.
[วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย]
ถ้าใครๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทองและเงิน นี้แก่สงฆ์, ท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ หรือหอฉันเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม, จะรับทองและเงินแม้นี้ไม่ควร. ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้รับเพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น. ก็ถ้าเมื่อภิกษุปฎิเสธว่า ภิกษุทั้งหลายจะรับทองและเงินนี้ ไม่ สมควร. เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกช่างไม้ หรือพวก กรรมกร, ท่านทั้งหลายจงรับทราบการงานที่เขาทำดี และไม่ดีอย่างเดียว ดังนี้แล้ว มอบไว้ในมือพวกช่างไม้ หรือพวกกรรมกรเหล่านั้นจึงหลีกไป,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 864
จะรับก็ควร, ถ้าแม้น เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกคน ของผมเอง, หรือว่าจักอยู่ในมือของผมเอง, ท่านพึงส่งข่าวไปเพื่อ ประโยชน์แก่บุคคลผู้ที่เราจะต้องให้ทองและเงินเขาอย่างเดียว, แม้อย่างนี้ ก็ควร.
ก็ถ้าว่าพวกเขาไม่ระบุสงฆ์ คณะ หรือบุคคล กล่าวว่า ข้าพเจ้า ทั้งหลายถวายเงิน และทองนี้แก่เจดีย์, ถวายแก่วิหาร, ถวายเพื่อนวกรรม ดังนี้ จะปฏิเสธไม่สมควร. พึงบอกแก่พวกกัปปิยการกว่า ชนพวกนี้กล่าว คำนี้. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์ เป็นต้นเถิด พึงปฏิเสธว่า การที่พวกเรารับไว้ไม่สมควร.
แต่ถ้าคนบางคนนำเอาเงิน และทองมามากกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอ ถวายเงินและทองนี้แก่สงฆ์, ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด, ถ้า สงฆ์รับเงินและทองนั้น เป็นอาบัติทั้งเพราะรับ ทั้งเพราะบริโภค. ถ้า บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปฏิเสธว่า สิ่งนี้ไม่ควร. และอุบาสก กล่าวว่า ถ้าไม่ควรจักเป็นของผมเสียเอง ดังนี้แล้วไป, ภิกษุนั้นอันภิกษุ บางรูปไม่พึงกล่าวคำอะไรๆ ว่า เธอทำอันตรายลาภของสงฆ์, เพราะ ภิกษุใดโจทเธอ, ภิกษุนั่นเองเป็นผู้มีอาบัติติดตัว. แต่เธอรูปเดียวกระทำ ภิกษุเป็นอันมากไม่ให้เป็นอาบัติ. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายปฏิเสธว่า ไม่ควร เขากล่าวว่า จักอยู่ในมือของพวกกัปปิยการก หรือจักอยู่ในมือ ของพวกคนของผม หรือในมือของผม, ท่านทั้งหลาย จงบริโภคปัจจัย อย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้, สมควรอยู่.
อนึ่ง เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จตุปัจจัย พึงน้อมไปเพื่อปัจจัย ที่ต้องการ. เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จีวร พึงน้อมไปในจีวรเท่านั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 865
ถ้าว่าไม่มีความต้องการจีวรนั้น, สงฆ์ลำบากด้วยปัจจัยมีบิณฑบาตเป็นต้น พึงอปโลกน์เพื่อความเห็นดีแห่งสงฆ์แล้วน้อมไป แม้เพื่อประโยชน์แก่ บิณฑบาตเป็นต้น. แม้ในอกัปปิยวัตถุที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่ บิณฑบาตและคิลานปัจจัย ก็นัยนี้.
อนึ่ง อกัปปิยวัตถุที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ พึงน้อม ไปในเสนาสนะเท่านั้น เพราะเสนาสนะเป็นครุภัณฑ์. ก็ถ้าว่า เมื่อพวก ภิกษุละทิ้งเสนาสนะไป เสนาสนะจะเสียหาย, ในกาลเช่นนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้วบริโภค (ปัจจัย) ได้.
เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาเสนาสนะไว้ ภิกษุอย่ากระทำให้ขาดมูลค่า พึงบริโภคพอยังอัตภาพให้เป็นไป. และมิใช่แต่เงินทองอย่างเดียวเท่านั้น, แม้อกัปปิยวัตถุอื่นมีนาและสวนเป็นต้น อันภิกษุไม่ควรรับ.
[วิธีปฏิบัติในบึงและสระน้ำเป็นต้นที่มีผู้ถวาย]
ถ้าใครๆ กล่าวว่า บึงใหญ่ให้สำเร็จข้าวกล้า ๓ ครั้ง ของข้าพเจ้า มีอยู่, ข้าพเจ้าขอถวายบึงใหญ่นั้นแก่สงฆ์, ถ้าสงฆ์รับบึงใหญ่นั้น เป็น อาบัติทั้งในการรับ ทั้งในการบริโภคเหมือนกัน. แต่ภิกษุใดปฏิเสธ บึงใหญ่นั้น, ภิกษุนั้นอันภิกษุบางรูปไม่ควรว่ากล่าวอะไรๆ โดยนัยก่อน เหมือนกัน. เพราะว่าภิกษุใดโจทเธอ, ภิกษุนั่นเองมีอาบัติติดตัว. แต่ เธอรูปเดียวได้ทำให้ภิกษุมากรูปไม่ต้องอาบัติ.
อนึ่ง ผู้ใดแม้กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึงใหญ่เช่นนั้นเหมือนกัน ถูก พวกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร, ถ้ายังกล่าวว่า บึงโน้นและบึงโน้นของสงฆ์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 866
มีอยู่, บึงนั้นย่อมควรได้ อย่างไร? พึงบอกเขาว่า เขาจักทำให้เป็น กัปปิยะแล้วถวายกระมัง? เขาถามว่า ถวายอย่างไร จึงจะเป็นกัปปิยะ? พึงกล่าวว่า เขากล่าวถวายว่า ท่านทั้งหลาย จงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด ดังนี้. ถ้าเขากล่าวว่า ดีละขอรับ! ขอท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด ดังนี้, ควรอยู่.
ถ้าแม้น เขากล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับบังเถิด ถูกพวกภิกษุ ทั้งหลายห้ามว่า ไม่ควร แล้วถามว่า กัปปิยการกมีอยู่หรือ? เมื่อภิกษุตอบว่า ไม่มี จึงกล่าวว่า คนชื่อโน้นจักจัดการบึงนี้, หรือว่า จักอยู่ในความ ดูแลของคนโน้น หรือในความดูแลของข้าพเจ้า, ขอสงฆ์จงบริโภคกัปปิยภัณฑ์เถิด ดังนี้, จะรับควรอยู่. ถ้าแม้นว่า ทายกนั้นถูกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้วกล่าวว่า คนทั้งหลายจักบริโภคน้ำ จักซักล้างสิ่งของ, พวกเนื้อและนกจักดมกิน, แม้การกล่าวอย่างนี้ ก็สมควร.
ถ้าแม้นว่า ทายกถูกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้วยังกล่าวว่า ขอท่าน ทั้งหลายจงรับโดยมุ่งถึงของสมควรเป็นใหญ่เถิด, ภิกษุจะกล่าวว่า ดีละ อุบาสก! สงฆ์จักดื่มน้ำ จักซักล้างสิ่งของ พวกเนื้อและนกจักดื่มกิน ดังนี้ แล้วบริโภค ควรอยู่. แม้หากว่า เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึง หรือสระโบกขรณีแก่สงฆ์ ภิกษุจะกล่าวคำเป็นต้นว่า ดีละ อุบาสก! สงฆ์จักดื่มน้ำ แล้วบริโภคใช้สอย สมควรเหมือนกัน.
ก็ถ้า พวกภิกษุขอหัตถกรรม และขุดกัปปิยปฐพีด้วยมือของตนเอง ให้สร้างสระน้ำเพื่อต้องการใช้น้ำ, ถ้าพวกชาวบ้านอาศัยสระนั้นทำข้าว กล้าให้สำเร็จแล้วถวายกัปปิยภัณฑ์ในวิหาร ควรอยู่. ถ้าแม้นว่า พวกชาว บ้านนั่นแหละ ขุดพื้นที่ของสงฆ์เพื่อต้องการอุปการะแก่สงฆ์ แล้วถวาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 867
กัปปิยภัณฑ์จากกล้าที่อาศัยสระน้ำนั้นสำเร็จแล้ว, กัปปิยภัณฑ์แม้นี้ ก็ สมควร. ก็เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงตั้งกัปปิยการกให้พวกผม คนหนึ่ง แม้ภิกษุจะตั้งก็ได้.
อนึ่ง ถ้าพวกชาวบ้านนั้น ถูกราชพลีรบกวนพากันหนีไป, ชาว บ้านอื่นจักทำอยู่, และไม่ถวายอะไรๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย, พวกภิกษุ หวงห้ามน้ำก็ได้. ก็แลการหวงน้ำนั้น ย่อมได้ในฤดูทำนาเท่านั้น ไม่ใช่ ในฤดูข้าวกล้า (สำเร็จแล้ว). ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า ท่านขอรับ! แม้ เมื่อก่อนพวกชาวบ้านได้อาศัยน้ำนี้ทำข้าวกล้ามิใช่หรือ? เมื่อนั้นพึงบอก พวกเขาว่า พวกนั้นเขาได้กระทำอุปการะอย่างนี้ และอย่างนี้แก่สงฆ์, และได้ถวายแม้กัปปิยภัณฑ์ อย่างนั้น. ถ้าว่า พวกเขากล่าวว่า แม้พวก ข้าพเจ้า ก็จักถวาย ดังนี้,. อย่างนี้ก็ควร.
ก็ถ้าว่า ภิกษุบางรูปไม่เข้าใจ รับสระหรือให้สร้างสระโดยอกัปปิยโวหาร, สระนั้นพวกภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย. แม้กัปปิยภัณฑ์ที่อาศัย สระนั้นได้มา ก็เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน. ถ้าเจ้าของ (สระ) บุตรและ ธิดาของเขา หรือใครๆ อื่นผู้เกิดในสกุลวงศ์ของเขา ทราบว่า ภิกษุ ทั้งหลายสละแล้ว จึงถวายด้วยกัปปิยโวหารใหม่, สระนั้น ควร. เมื่อ สกุลวงศ์ของเขาขาดสูญ ผู้ใดเป็นเจ้าของชนบทนั้น, ผู้นั้นริบเอาแล้ว ถวายคืน เหมือนราชมเหสีนามว่า อนุฬา ทรงริบเอาฝายน้ำที่ภิกษุใน จิตตลดาบรรพตชักมาแล้ว ถวายคืนฉะนั้น, แม้อย่างนี้ก็ควร.
จะทำการโกยดินขึ้น และกั้นคันสระใหม่ ในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจ แห่งน้ำ แม้เป็นกัปปิยโวหาร ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์. แต่การ ที่ภิกษุเห็นพวกชาวบ้านอาศัยสระนั้น กระทำข้าวกล้าอยู่ จะตั้งกัปปิยการก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 868
ไม่ควร. ถ้าพวกเขาถวายกัปปิยภัณฑ์เสียเอง. ควรรับ, ถ้าพวกเขาไม่ถวาย, ไม่ควรทวงไม่ควรเตือน. การที่จะตั้งกัปปิยการกในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจ แห่งปัจจัย ควรอยู่. แต่จะทำการโกยดินขึ้นและกั้นคันสระเป็นต้น ไม่ ควร, ถ้าพวกกัปปิยการก กระทำเองเท่านั้น, จึงควร. เมื่อลัชชีภิกษุ ผู้ฉลาดใช้พวกกัปปิยการกทำการโกยดินขึ้นเป็นต้น สระน้ำจะเป็นกัปปิยะ ในเพราะการรับ แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็เป็นการบริโภคไม่ดี ดุจ บิณฑบาตที่เจือยาพิษ และดุจโภชนะที่เจืออกัปปิยมังสะฉะนั้น เพราะ กัปปิยภัณฑ์ที่เจือด้วยสิ่งของอันเกิดจากประโยคของภิกษุเป็นปัจจัย เป็น อกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไปเหมือนกัน.
แต่ถ้ายังมีโอกาสเพื่อน้ำ ภิกษุจะจัดการเฉพาะน้ำเท่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านจงทำโดยประการที่คันของสระจะมั่นคง จุน้ำได้มาก คือ จงทำให้ น้ำเอ่อขึ้นปริ่มฝั่ง ดังนี้ ควรอยู่.
[วิธีปฏิบัติในพืชผลที่ได้เพราะอาศัยสระน้ำของวัดเป็นต้น]
ชนทั้งหลายกำลังดับไฟที่เตาไฟ จะกล่าวว่า พวกท่านจงได้อุทกกรรมก่อนเถิด อุบาสก ดังนี้ ก็ควร. แต่จะกล่าวว่า ท่านจงกระทำข้าวกล้า แล้วนำมา ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุเห็นน้ำในสระมากเกินไป ให้ชักเหมือง ออกจากด้านข้าง หรือด้านหลัง ให้ถางป่า ให้ทำคันนาทั้งหลาย ไม่ถือ ส่วนปกติในคันนาเดิม ถือเอาส่วนที่เกิน, กะเกณฑ์เอากหาปณะว่า ท่าน ทั้งหลายจงให้กหาปณะประมาณเท่านี้ ในข้าวกล้านอกฤดูกาล หรือใน ข้าวกล้าใหม่ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้, เป็นอกัปปิยะแก่ภิกษุทุกรูป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 869
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้กล่าวว่า พวกท่านจงไถ จงหว่าน กะพื้น ที่อย่างนี้ว่า สำหรับฟื้นที่เท่านี้ มีส่วนชื่อประมาณเท่านี้ก็ดี เมื่อพวก ชาวนา กล่าวว่า พวกผมกระทำข้าวกล้าในส่วนฟื้นที่เท่านี้, ท่านทั้งหลาย จงถือเอาส่วนชื่อประมาณเท่านี้ เอาเชือก หรือไม้เท้าวัดเพื่อกำหนด ประมาณพื้นที่ก็ดี ยืนรักษาอยู่ที่ลานก็ดี ให้ขนออกจากลานไปก็ดี ให้เก็บ ไว้ในฉางก็ดี ผลที่เกิดขึ้นจากพื้นที่นั้น เป็นอกัปปิยะ แก่ภิกษุรูปนั้น เท่านั้น.
ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะมากล่าวว่า กหาปณะเหล่านี้พวกผม นำมาเพื่อสงฆ์, และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า ท่านจงนำผ้ามาด้วย กหาปณะเท่านี้, จงจัดข้าวยาคูเป็นต้นด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้ ด้วย ความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ สิ่งของที่พวกเขานำมา เป็นอกัปปิยะ แก่พวกภิกษุทั่วไป. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการ กหาปณะ.
ถ้าพวกชาวนานำข้าวเปลือกมากล่าวว่า ข้าวเปลือกนี้ พวกผมนำมา เพื่อสงฆ์, และภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจงนำเอาสิ่งนี้และ สิ่งนี้มาด้วยข้าวเปลือกประมาณเท่านี้ โดยนัยก่อนนั่นแล สิ่งของที่พวก เขานำมา เป็นอกัปปิยะเฉพาะแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. เพราะเหตุไร? เพราะ ภิกษุจัดการข้าวเปลือก.
ถ้าพวกเขานำเอาข้าวสาร หรืออปรัณชาติมากล่าวว่า พวกผมนำ สิ่งของนี้มาเพื่อสงฆ์. และภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจงนำเอา สิ่งนี้ และสิ่งนี้มาด้วยข้าวสารมีประมาณเท่านี้ โดยนัยก่อนนั่นแล, สิ่งของ ที่พวกเขานำมา เป็นกัปปิยะแก่ภิกษุทั้งหมด. เพราะเหตุไร? เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 870
ภิกษุจัดการข้าวสารเป็นต้นที่เป็นกัปปิยะ. ไม่เป็นอาบัติแม้ในเพราะซื้อขาย เพราะบอกกัปปิยการก.
แต่ในครั้งก่อน ภิกษุรูปหนึ่งที่จิตตลดาบรรพต ได้กระทำมณฑล (รูปดวงจันทร์) ไว้ ที่พื้นดิน ใกล้ประตูศาลา ๔ มุข เพื่อให้เกิดความ เข้าใจแก่พวกคนวัดโดยรำพึงว่า โอหนอ! พวกคนวัดพึงทอดขนม ประมาณเท่านี้ เพื่อสงฆ์ในวันพรุ่งนี้. อารามิกชนผู้ฉลาด เห็นมณฑล นั้น (รูปดวงจันทร์) แล้ว ได้ทำอย่างนั้น ในวันที่สอง เมื่อพวกเขา ตีกลองประชุมสงฆ์แล้ว จึงถือขนมไปเรียนพระสังฆเถระว่า ท่านขอรับ! ในกาลก่อนนี้ พวกผมไม่เคยได้ยินบิดามารดา ไม่เคยได้ฟังปู่ย่าตายาย (บอกเล่าเหตุการณ์) อย่างนี้เลย, พระคุณเจ้ารูปหนึ่งได้ทำเครื่องหมาย ที่ประตูศาลา ๔ มุข เพื่อประโยชน์แก่ขนม, บัดนี้จำเดิมแต่นี้ไป พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงบอกตามความพอใจของตนๆ เถิด, แม้พวกผมก็จัก อยู่เป็นผาสุก. พระมหาเถระกลับจากที่นั้นทันที. แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่ รับขนมเลย. ในกาลก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ฉันแม้ขนมที่เกิดขึ้นใน อารามนั้น อย่างนี้; เพราะฉะนั้น
ภิกษุ ผู้ไม่ประมาท ไม่ละการปฏิบัติขัดเกลา ไม่พึงกระทำความโลเล เพื่อประโยชน์แก่อามิส แม้ในสั่งที่เป็นกัปปิยะ ฉะนี้แล.
อนึ่ง แม้ในสระโบกขรณี ฝายและเหมืองเป็นต้น ก็มีนัยดังนี้ ที่กล่าวไว้แล้วในสระนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายนา หรือว่าสวน อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่เพาะปลูกบุพพัณชาติ อปรัณชาติ อ้อยและมะพร้าวเป็นต้น ภิกษุพึงปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 871
ปฏิบัติโดยนัยดังกล่าวแล้วในสระนั่นแล. ในเวลาเขากล่าวด้วยกัปปิยโวหารว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อประโยชน์แก่การบริโภคปัจจัย ๔ ภิกษุควรรับ, ก็เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสวน, ถวายป่า ควรจะรับไว้.
ถ้าพวกชาวบ้านมิได้ถูกภิกษุบังคับเลย ตัดต้นไม้ ในป่านั้น ยัง อปรัณชาติเป็นต้น ให้ถึงพร้อมแล้ว ถวายสวนแก่ภิกษุทั้งหลาย, จะรับก็ควร. พวกเขาไม่ถวาย, ไม่ควรทวง ไม่ควรเตือน.
ถ้าเมื่อพวกเขาพากันอพยพไป เพราะอันตรายบางอย่าง. คน พวกอื่นทำ และไม่ถวายอะไรๆ เลยแก่ภิกษุทั้งหลาย, พึงห้ามชนเหล่า นั้น. ถ้าพวกเขากล่าวว่า แม้เมื่อก่อน พวกชาวบ้านได้กระทำข้าวกล้า ในที่นี้มิใช่หรือ ขอรับ! ลำดับนั้น พึงบอกเขาว่า พวกนั้นเขาได้ให้ กัปปิยภัณฑ์อย่างนี้ๆ แก่สงฆ์. ถ้าพวกเขากล่าวว่า แม้พวกผมก็จักถวาย. อย่างนี้ ควรอยู่.
พวกเขากล่าวหมายถึงภูมิประเทศที่เพาะปลูกข้าวกล้า บางแห่งว่า ข้าพเจ้าจะถวายเขตแดน ควรอยู่. แต่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรปักเสาหรือวาง หิน เพื่อกำหนดเขตแดนเอง. เพราะเหตุไร? เพราะธรรมดาว่า แผ่นดิน มีค่านับไม่ได้, ภิกษุจะพึงเป็นปาราชิก แม้ด้วยเหตุเล็กน้อย. แต่พึงบอก พวกอารามิกชนว่า เขตของพวกเราไปถึงที่นี้. ก็ถ้าแม้นว่าพวกเขาถือ เอาเกินไปไม่เป็นอาบัติ เพราะกล่าวโดยปริยาย. ก็ถ้าว่าพระราชาและ ราชอำมาตย์เป็นต้น ให้ปักเสาเองแล้วถวายว่า ขอท่านทั้งหลายจงบริโภค ปัจจัย ๔ เถิด การถวายนั้น ควรเหมือนกัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 872
ถ้าใครๆ ขุดสระภายในเขตแดนสีมา หรือไขเหมืองไปโดยท่าม กลางวัด ย่อมทำลายลานพระเจดีย์และลานโพธิ์เป็นต้น, พึงห้าม. ถ้าสงฆ์ ได้อะไรๆ บางอย่างแล้ว ไม่ห้าม เพราะหนักในอามิส, ภิกษุรูปหนึ่งห้าม, ภิกษุรูปนั้นเท่านั้น เป็นใหญ่. ถ้าภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจงไขไป ไม่ห้าม คือ เป็นพรรคพวกของชาวบ้านเหล่านั้นนั่นแล, สงฆ์ห้าม, สงฆ์เท่านั้น เป็นใหญ่. จริงอยู่ ในกรรมอัน เป็นของสงฆ์ ภิกษุรูปใด ทำกรรมเป็นธรรม. ภิกษุรูปนั้น เป็นใหญ่. ถ้าแม้บุคคลที่ถูกภิกษุห้าม อยู่ ยังขืนกระทำ, พึงกลบดินร่วนที่เขาคุ้ยไว้ข้างล่างถมข้างล่าง กลบดิน ร่วนที่เขาคุ้ยไว้ข้างบนถมข้างบนให้เต็ม.
พระมหาสุมเถระกล่าวว่า ถ้าใครๆ ประสงค์จะถวายอ้อย หรือ อปรัณชาติ หรือผลไม้เถา มีน้ำเต้าและฟักเป็นต้น ตามที่เกิด แล้วนั่นแหละ กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะถวายไร่อ้อย ไร่อปรัณชาติ หลุม (เพาะปลูก) ผลไม้เถาทั้งหมดนี้ ดังนี้, ไม่ควร เพราะเขาระบุพร้อมวัตถุ (ไร่). ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า นั่นเป็นแต่เพียงโวหาร, เพราะ ภูมิภาคนั่น ยังเป็นของพวกเจ้าของอยู่นั่นเอง; เพราะเหตุนั้น จึงควร.
[วิธีปฏิบัติในทาส คนวัด และปศุสัตว์ที่มีผู้ถวาย]
ทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทาส การถวายนั้น ไม่ควร. เมื่อเขา กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายคนวัด, ถวายไวยาวัจกร ถวายกัปปิยการก ดังนี้ จึงควร. ถ้าอารามิกชนนั้น ทำการงานของสงฆ์เท่านั้นทั้งก่อนภัตและ ภายหลังภัต, ภิกษุพึงกระทำแม้การพยาบาลด้วยยาทุกอย่างแก่เขาเหมือน กับสามเณร, ถ้าเขาทำการงานของสงฆ์ก่อนภัตเวลาเดียว, ภายหลังภัตไป
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 873
กระทำการงานของตน ไม่พึงให้อาหาร ในเวลาเย็น. แม้ชนจำพวกใด กระทำงานของสงฆ์ตามวาระ ๕ วัน หรือตามวาระปักษ์ ในเวลาที่เหลือ ทำงานของตน พึ่งให้ภัตและอาหารแม้แก่บุคคลพวกนั้น ในเวลากระทำ เท่านั้น. ถ้าการงานของสงฆ์ไม่มี, พวกเขากระทำงานของตนเองเลี้ยงชีพ, ถ้าพวกเขานำเอามูลค่าหัตถกรรมมาถวาย พึงรับ. ถ้าพวกเขาไม่ถวาย ก็อย่าพึงพูดอะไรๆ เลย. การรับทาสย้อมผ้าก็ดี ทาสช่างหูกก็ดี อย่างใด อย่างหนึ่ง โดยชื่อว่า อารามิกชน ควรอยู่.
ถ้าพวกทายกกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายโคทั้งหลาย ดังนี้, ภิกษุ พึงห้ามพวกเขาว่า ไม่สมควร เมื่อมีพวกชาวบ้านถามว่า โคเหล่านี้ ท่าน ได้มาจากไหน? พึงบอกเขาว่า พวกบัณฑิตถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ การบริโภคปัญจโครส. เมื่อพวกเขากล่าวว่า แม้พวกผมก็ถวาย เพื่อ ประโยชน์บริโภคปัญจโครส ดังนี้ ควรอยู่. แม้ในปศุสัตว์มีแม่แพะ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
พวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายช้าง, ถวายม้า, กระบือ, ไก่, สุกร ดังนี้, จะรับไม่ควร. ถ้าพวกชาวบ้านบางหมู่กล่าวว่า ท่าน ขอรับ! ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด, พวกผมจักรับสัตว์ เหล่านี้แล้ว ถวายกัปปิยภัณฑ์แก่ท่านทั้งหลาย แล้วรับไป, ย่อมควร. จะปล่อยเสียในป่าด้วยกล่าวว่า ไก่และสุกรเหล่านี้ จงอยู่ตามสบายเถิด ดังนี้ ก็ควร. เมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายสระนี้ นานี้ ไร่นี้ แก่วิหาร ภิกษุจะปฏิเสธไม่ได้ฉะนี้แล. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถ ตื้นทั้งนั้น ดังนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 874
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทแม้นี้ ก็มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยาโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.
พรรณนาราชสิกขาบทในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
และจบวรรคที่ ๑