[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 529
๕. ชนวสภสูตร
คติพยากรณ์เรื่องผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะ หน้า 529
ปริวิตกของพระอานนท์เถระ หน้า 530
ว่าด้วยชนวสภะ หน้า 532
ว่าด้วยสนังกุมารพรหม หน้า 537
คาถาอนุโมทนา หน้า 538
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งอิทธิบาท หน้า 540
ว่าด้วยการบรรลุโอกาส ๓ หน้า 541
ว่าด้วยสติปัฏฐาน หน้า 543
ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ หน้า 544
ปริวิตกของท้าวเวสวัณมหาราช หน้า 546
อรรถกถาชนวสภสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 529
๕. ชนวสภสูตร
คติพยากรณ์ เรื่องผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะ
[๑๘๗] ข้าพเจ้า ได้สดับมาดังนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระตําหนักคิญชกาวสถะ ในบ้านนาทิกะ. ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ถึงชนผู้บํารุง ซึ่งทํากาละล่วงไปนานแล้วในการอุบัติในชนบทใกล้เคียงคือ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจติ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสน ว่า คนโน้นเกิด ณ ที่โน้น คนโน้นเกิด ณ ที่โน้น ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นโอปปาติกะเพราะสิ้นไปซึ่งสังโยชน์เบื้องต่ํา ๕ อย่าง ปรินิพพาน ณ ที่นั่น ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๙๐ คน ทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จะกลับมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทําซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบันเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีสัมโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า.
[๑๘๘] ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะได้สดับข่าวมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ถึงชนผู้บํารุงทํากาละล่วงไปนานแล้วในการอุบัติในชนบทใกล้เคียง คือ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจติ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสน ว่าคนโน้นเกิด ณ ที่โน้น คนโน้นเกิด ณ ที่โน้น ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นโอปปาติกะเพราะสิ้นไปซึ่งสังโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 530
เบื้องต่ํา ๕ อย่าง ปรินิพพาน ณ ที่นั้น ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๙๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จะกลับมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทําซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบันเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีสัมโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า. เพราะเหตุนั้นแล ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะได้ฟังปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วดีใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส.
ปริวิตกของพระอานนทเถระ
[๑๘๙] พระอานนท์ผู้มีอายุได้สดับข่าวมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ถึงชนผู้บํารุงทํากาละล่วงไปนานแล้วในการอุบัติในชนบทใกล้เคียงทั้งหลายคือ กาลี โกศล วัชชี มัลละ เจติ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสน ว่าคนโน้นเกิด ณ ที่โน้น คนโน้นเกิด ณ ที่โน้น ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นโอปปาติกะเพราะสิ้นไปซึ่งสังโยชน์เบื้องต่ํา ๕ อย่าง ปรินิพพาน ณ ที่นั้น ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๙๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จะกลับมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทําซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะกว่า ๕๐๐ คนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบันเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีสัมโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้นแล ชนผู้บํารุงชาวบ้านนาทิกะได้ฟังปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วดีใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 531
ครั้งนั้นแล พระอานนท์ผู้มีอายุมีปริวิตกว่า ก็ชนผู้บํารุงชาวมคธเหล่านี้มีมากและเป็นรัตตัญู ทํากาละล่วงไปนานแล้ว อังคะและมคธเห็นจะว่างเปล่าจากชนผู้บํารุงชาวมคธซึ่งทํากาละล่วงไปนานแล้ว ก็ด้วยเหตุนั้นแลชาวมคธทั้งหลายเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ กระทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ชาวมคธเหล่านั้นทํากาละล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสําเร็จประโยชน์แม้แก่พวกเขา ชนมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะพึงไปสู่สุคติ อนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนี พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธพระองค์นี้ทรงดํารงอยู่ในธรรม เป็นพระราชาปกครองโดยธรรม ทรงเกื้อกูลแก่พราหมณ์คหบดี ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย อนึ่ง ได้ยินว่า พวกมนุษย์พากันสรรเสริญว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้นทรงดํารงอยู่ในธรรม เป็นพระราชาปกครองโดยธรรม ทรงปกครองให้พวกเราเป็นสุขอย่างนี้ เสด็จสวรรคตเสียแล้ว พวกเราอยู่เป็นผาสุกในแว่นแคว้นของพระองค์ผู้ทรงดํารงอยู่ในธรรม เป็นพระราชาปกครองโดยธรรมอย่างนี้ แม้อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้นแล ทรงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ทรงเลื่อมใสในพระธรรม ทรงเลื่อมใสในพระสงฆ์ ทรงทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกมนุษย์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม้จนกระทั่งเวลาจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนี พระเจ้าแผ่นดินมคธ ก็ยังทรงสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้นเสด็จสวรรคตล่วงไปนานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ การพยากรณ์จะพึงสําเร็จประโยชน์แม้แก่พระเจ้าแผ่นดินมคธนั้น ชนมากจะพึงเลื่อมใส แต่นั้นจะพึงไปสู่สุคติก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ในแผ่นดินมคธ เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงพยากรณ์ถึงชนผู้บํารุงชาวมคธซึ่งทํากาละล่วงไปนานแล้วในแผ่นดินมคธที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้นั้นในการอุบัติทั้งหลายเล่า ก็ถ้าพระผู้มีพระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 532
ภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ถึงชนผู้บํารุงชาวมคธทั้งหลายที่ทํากาละล่วงไปนานแล้วในการอุบัติทั้งหลาย ก็จะเป็นเหตุให้ชนผู้บํารุงชาวมคธทั้งหลายจะพึงเสียใจว่าไฉนพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงพยากรณ์ถึงพวกเขา. พระอานนท์ผู้มีอายุปรารภถึงชนผู้บํารุงชาวมคธนี้ ทูลเลียบเคียงเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าทําประทักษิณหลีกไปแล้ว.
[๑๙๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระอานนท์ผู้มีอายุหลีกไปไม่นาน ในปุพพัณหสมัยเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนาทิกะ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านนาทิกะ ภายหลังภัตเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงล้างพระบาทเสด็จเข้าพระตําหนักคิญชกาวสถะ ทรงปรารภถึงชนผู้บํารุงชาวมคธ ทรงตั้งพระทัยมนสิการประมวลเหตุทั้งปวงด้วยพระทัย ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ด้วยทรงพระดําริว่าผู้เจริญเหล่านั้นมีคติอย่างใด มีภพหน้าอย่างใด เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้านั้นของชนผู้บํารุงชาวมคธเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นชนผู้บํารุงชาวมคธว่าผู้เจริญเหล่านั้นมีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร. ครั้งนั้นแล ในสายัณหสมัยเวลาใกล้เย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จออกจากพระตําหนักคิญชกาวสถะ ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ในร่มเงาวิหาร.
ว่าด้วยชนวสภะ
[๑๙๑] ครั้งนั้นแล พระอานนท์ผู้มีอายุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง พระอานนท์ผู้มีอายุนั่ง ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระอิริยาบถสงบยิ่ง ทรงมีพระฉวีวรรณแห่งพระพักตร์เปล่งปลั่งยิ่งนัก เพราะพระอินทรีย์ทั้งหลายผ่องใสวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ด้วยวิหารธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 533
อันสงบแน่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อที่เธอปรารภชนผู้บํารุงชาวมคธ พูดเลียบเคียงเฉพาะหน้าเราแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ เราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านนาทิกะ ภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว ล้างเท้าเข้าไปยังที่พักคิญชกาวสถะแล้ว ปรารภถึงชนผู้บํารุงชาวมคธ ตั้งใจมนสิการประมวลเหตุทั้งปวงด้วยใจ นั่งอยู่บนอาสนะที่ปูลาดไว้ด้วยดําริว่า เราจักรู้คติ จักรู้ภพหน้าของชาวมคธเหล่านั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้นมีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร อานนท์ เราได้เห็นชนผู้บํารุงชาวมคธแล้วว่าผู้เจริญเหล่านั้นมีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร ครั้งนั้นยักษ์หายไปเปล่งเสียงให้ได้ยินว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าชื่อว่าชนวสภะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระพุทธเจ้าชื่อว่าชนวสภะ อานนท์ เธอรู้หรือไม่ว่าเธอเคยฟังชื่อว่าชนวสภะเห็นปานนี้ ในกาลก่อนแต่กาลนี้. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่รู้เลยว่าเคยได้ฟังชื่อว่าชนวสภะเห็นปานนี้ ในกาลก่อนแต่กาลนี้ อนึ่ง ข้าพระองค์ได้ฟังชื่อว่าชนวสภะทําให้ขนลุกชูชัน ทําให้เกิดความคิดว่ายักษ์ที่มีชื่อว่าชนวสภะไม่ใช่ยักษ์ชั้นต่ําเป็นแน่ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ในระหว่างนั้นเสียงได้ปรากฏขึ้น ยักษ์มีผิวพรรณอันงามยิ่งได้ปรากฏต่อหน้าเรา ได้เปล่งเสียงให้ได้ยินแม้เป็นครั้งที่สองว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าชื่อว่าพิมพิสาร ข้าแต่พระสุคต ข้าพระพุทธเจ้าชื่อพิมพิสาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าเข้าถึงความเป็นสหายของท้าวเวสวัณมหาราชเป็นครั้งที่ ๗ นี้ ข้าพระพุทธเจ้านั้นจุติจากนี้แล้วสามารถเป็นราชาในหมู่มนุษย์.
[๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้าท่องเที่ยวจากเทวโลกนี้เจ็ดครั้ง จากมนุษยโลกนั้นเจ็ดครั้ง รวมสิบสี่ครั้ง ย่อมรู้จักภพที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยอยู่อาศัยในกาลก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 534
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความไม่ตกต่ํา ทราบชัดถึงความไม่ตกต่ําเป็นเวลานาน อนึ่ง ความหวังเพื่อความเป็นพระสกทาคามีของข้าพระพุทธเจ้ายังคงมีอยู่. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้อที่ชนวสภยักษ์ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความไม่ตกต่ําทราบชัดถึงความไม่ตกต่ําเป็นเวลานาน และประกาศว่าความหวังเพื่อความเป็นพระสกทาคามีของข้าพระพุทธเจ้ายังคงมีอยู่นี้ น่าอัศจรรย์สําหรับท่านชนวสภยักษ์ ไม่เคยมีมาสําหรับท่านชนวสภยักษ์ ก็ท่านชนวสภยักษ์ทราบชัดถึงการบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้จากอะไรเป็นเหตุเล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าชนวสภยักษ์ประกาศว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นอกจากพระศาสนาของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการบรรลุคุณวิเศษอันโอฬาร ข้าแต่พระสุคต นอกจากพระศาสนาของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการบรรลุคุณวิเศษอันโอฬาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่ตกต่ํา ทราบชัดถึงความไม่ตกต่ําเป็นเวลานาน และความหวังเพื่อความเป็นพระสกทาคามีของข้าพระพุทธเจ้ายังคงมีอยู่. ข้าพระพุทธเจ้าถูกท้าวเวสวัณมหาราชส่งไปในสํานักของท้าววิรูฬกมหาราชด้วยกรณียกิจบางอย่าง ในระหว่างทางได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสด็จเข้าไปสู่พระตําหนักคิญชกาวสถะ ทรงปรารภถึงชนผู้บํารุงชาวมคธ ตั้งพระทัยมนสิการประมวลเหตุทั้งปวงด้วยพระทัยประทับอยู่ด้วย ทรงดําริว่า เรารู้จักคติ รู้จักภพหน้าของชาวมคธเหล่านั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้นมีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ข้าพระพุทธเจ้ารับคําต่อหน้าท้าวเวสวัณซึ่งกล่าวในบริษัทนั้นว่า ผู้เจริญเหล่านั้นมีคติเป็นอย่างไร มีภพหน้าเป็นอย่างไร เป็นความอัศจรรย์เล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า เราจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าและจักกราบทูลข้อนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 535
ข้าพระพุทธเจ้ามีเหตุ ๒ อย่างนี้แลเพื่อที่จะได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า วันก่อนๆ นานมาแล้ว ในวันอุโบสถที่ ๑๕ แห่งราตรีวันเพ็ญวัสสูปนายิกา เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมในสุธรรมาสภา เทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบและท้าวมหาราชทั้งสี่นั่งอยู่ใน ๔ ทิศ คือ ในทิศบูรพาท้าวธตรัฏฐมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศปัจฉิมแวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ในทิศทักษิณท้าววิรุฬกมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศอุดรแวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ในทิศปัจฉิมท้าววิรูปักขมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศบูรพาแวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ในทิศอุดรท้าวเวสวัณมหาราชนั่งผินหน้าไปทางทิศทักษิณแวดล้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย ก็เมื่อเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมในสุธรรมาสภา เทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบ และท้าวมหาราชทั้งสี่นั่งอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้ อาสนะของมหาราชทั้งสี่นั้นข้างหลังถัดออกมาก็เป็นอาสนะของข้าพระพุทธเจ้า เหล่าเทพที่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบังเกิดในดาวดึงส์เมื่อกี้นี้ ย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ด้วยเหตุนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงดีใจเบิกบาน เกิดปีติและโสมนัสว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ทิพยกายย่อมบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความบันเทิงของเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว จึงทรงบันเทิงตามด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
[๑๙๓] ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทวยเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมกับพระอินทร์ถวายนมัสการพระตถาคตและความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เห็นทวยเทพใหม่ๆ มีวรรณะ มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคตมาประชุม ณ สุธรรมาสภานี้ ย่อมบันเทิงหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 536
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เป็นสาวกของพระสุคตผู้ทรงภูริปัญญา บรรลุคุณธรรมวิเศษแล้วในสุธรรมาสภานี้ ไพโรจน์ล่วงเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะ ด้วยยศและอายุ.
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมกับพระอินทร์ถวายนมัสการพระตถาคตและความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เห็นเหตุนี้แล้วย่อมบันเทิง ดังนี้.
[๑๙๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่า เพราะเหตุนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงดีใจ เกิดปีติและโสมนัสยิ่ง ประมาณว่าทิพยกายบริบูรณ์หนอ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้งสี่ ถึงแม้จะมีคําที่เทวดาชั้นดาวดึงส์คิดกันปรึกษากันถึงความประสงค์ ซึ่งเป็นเหตุให้นั่งประชุม ณ สุธรรมาสภากล่าวแล้ว ก็มีในข้อประสงค์นั้น ท้าวมหาราชทั้งสี่แม้รับคําสั่งกําชับมาแล้วก็มีในข้อประสงค์นั้น ยืนอยู่บนอาสนะของตนๆ ไม่หลีกไป.
ท้าวมหาราชเหล่านั้นผู้รับถ้อยคํารับคําสั่งแล้ว มีใจผ่องใส สงบระงับ ยืนอยู่บนอาสนะของตนๆ ดังนี้.
[๑๙๕] ครั้งนั้นแล ในทิศอุดร แสงสว่างอย่างยิ่งเกิดขึ้น โอภาสปรากฏล่วงซึ่งเทวานุภาพแห่งเทพทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพจึงตรัสเรียกทวยเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ นิมิตปรากฏ แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏ พรหมจักเกิด ฉันใด ข้อที่ว่าแสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏนั่น เป็นบุพพนิมิตเพื่อเกิดของพรหม ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 537
นิมิตปรากฏ พรหมจักเกิดฉันใด ข้อที่ว่าโอภาสรุ่งเรืองใหญ่นั่น เป็นบุพพนิมิตของพรหม ฉันนั้น.
ว่าด้วยสนังกุมารพรหม
[๑๙๖] ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นดาวดึงส์นั่งบนอาสนะของตนๆ ด้วยคิดว่าพวกเราจักรู้โอภาสนั่น วิบากใดจักมี พวกเราจักทําให้แจ้งซึ่งวิบากนั่นก่อนแล้วจึงไป. ท้าวมหาราชแม้ทั้งสี่นั่งบนอาสนะของตนๆ ด้วยคิดว่าพวกเราจักรู้โอภาสนั่น วิบากใดจักมี พวกเราจักทําให้แจ้งซึ่งวิบากนั้นก่อนแล้วจึงไป. เทวดาชั้นดาวดึงส์ฟังข้อความนี้แล้วเข้าสงบอารมณ์ว่าพวกเราจักรู้โอภาสนั่น วิบากใดจักมี พวกเราจักกระทําให้แจ้งซึ่งวิบากนั้นก่อนแล้วจึงไป ในเวลาใด สนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็นิรมิตอัตภาพใหญ่ยิ่ง เพศปรกติของพรหมอันเทพเหล่าอื่นไม่พึงมองเห็นก็ปรากฏในสายตาของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ในเวลาใดที่สนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ เทวดามีกายเป็นทองคําย่อมรุ่งเรืองล่วงกายมนุษย์แม้ฉันใด ในเวลาที่สนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศฉันนั้นเหมือนกัน ในเวลาใดสนังกุมารพรหมปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบางองค์ในบริษัทนั้นไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ หรือไม่เชิญด้วยอาสนะเทพทั้งหมดเทียว นั่งนิ่ง ประคองอัญชลีอยู่บนบัลลังก์ บัดนี้ สนังกุมารพรหมจักปรารถนาต่อเทพองค์ใดก็จักนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์นั้น สนังกุมารพรหมนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใดแล เทพองค์นั้นย่อมได้ความยินดีอย่างยิ่ง ย่อมได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง พระราชาผู้กษัตริย์ได้มุรธาภิเษกแล้วทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 538
ครองราชสมบัติใหม่ ย่อมทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ย่อมทรงได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง แม้ฉันใด สนังกุมารพรหมนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นย่อมได้ความยินดีอย่างยิ่ง ย่อมได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ในเวลานั้น สนังกุมารพรหมนิรมิตอัตภาพใหญ่ยิ่ง เป็นเพศกุมารเช่นกับปัญจสิขเทพบุตร ปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เธอเหาะขึ้นเวหาส นั่งขัดสมาธิในอากาศที่ว่างเปล่า. บุรุษผู้มีกําลังนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ที่ปูลาดดีหรือบนภูมิภาคราบเรียบแม้ฉันใด สนังกุมารพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน เหาะขึ้นเวหาส นั่งขัดสมาธิในอากาศที่ว่างเปล่า ทราบความเบิกบานใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว บันเทิงด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
คาถาอนุโมทนา
[๑๙๗] ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ทวยเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมกับพระอินทร์ ถวายนมัสการพระตถาคตและความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เห็นทวยเทพใหม่ๆ มีวรรณะ มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคตมาประชุม ณ สุธรรมาสภานี้ ย่อมบันเทิงหนอ.
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เป็นสาวกของพระสุคตผู้ทรงภูริปัญญา บรรลุคุณธรรมวิเศษแล้วในสุธรรมาสภานี้ ไพโรจน์ล่วงเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะ ด้วยยศ และอายุ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 539
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมกับพระอินทร์ถวายนมัสการพระตถาคตและความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เห็นเหตุนี้แล้ว ย่อมบันเทิง ดังนี้.
[๑๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้ เสียงของสนังกุมารพรหมผู้กล่าวเนื้อความนี้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑. ก็สนังกุมารพรหมย่อมยังบริษัทเท่าใดให้ทราบเนื้อความด้วยเสียงของตน กระแสเสียงก็ไม่แพร่ไปในภายนอกบริษัทเท่านั้น. เสียงของผู้ใดประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ ผู้นั้นท่านเรียกว่ามีเสียงเพียงดังเสียงพรหม. ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมนิรมิตอัตภาพ ๓๓ อัตภาพนั่งอยู่บนบัลลังก์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ทุกๆ บัลลังก์แล้ว เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเพียงไร. ชนเหล่าใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง กระทําบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ชนเหล่านั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช พวกที่ยังกายที่เลวกว่าเขาทั้งหมดให้บริบูรณ์ ย่อมไปเพิ่มจํานวนหมู่เทพคนธรรพ์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 540
[๑๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้. กระแสเสียงของสนังกุมารพรหมกล่าวเนื้อความนี้เท่านั้น เทวดาทั้งหลายสําคัญว่าผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ของเรานี้ผู้เดียวกล่าว ฉะนั้น พระโบราณาจารย์ จึงกล่าวว่า
เมื่อสนังกุมารพรหมกล่าวผู้เดียว รูปนิรมิตทั้งหมดก็กล่าว เมื่อสนังกุมารพรหมนิ่งผู้เดียว รูปนิมิตเหล่านั้นทั้งหมดก็นิ่ง.
เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ย่อมสําคัญสนังกุมารพรหมนั้นว่าผู้ที่นั่งบนบัลลังก์ของเรานี้ผู้เดียวเท่านั้นกล่าว.
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งอิทธิบาท
[๒๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมกลับคืนคนเป็นผู้เดียวแล้ว นั่งบนบัลลังก์ของท้าวสักกะจอมเทพ เรียกเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์จะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้แล้ว เพื่อความทําฤทธิ์ให้มาก เพื่อความทําฤทธิ์ให้วิเศษ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 541
เพื่อความทําฤทธิ์ให้มาก เพื่อความทําฤทธิ์ให้วิเศษ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดแสดงฤทธิ์ได้เพราะความที่อิทธิบาททั้ง ๔ เหล่านี้เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว อนึ่ง สมณะหรือพราหนณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจะแสดงฤทธิ์ได้เพราะความที่อิทธิบาททั้ง ๔ อย่างเหล่านี้เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดแสดงฤทธิ์ได้เพราะความที่อิทธิบาททั้ง ๔ อย่างเหล่านี้แหละเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์เห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของเราหรือไม่. เห็นแล้ว ท่านมหาพรหม. แม้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ก็เพราะความมีอิทธิบาททั้ง ๔ อย่างนี้แลได้เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ดังนี้.
ว่าด้วยการบรรลุโอกาส ๓
[๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การบรรลุโอกาส ๓ ประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข. การบรรลุโอกาส ๓ ประการ คืออะไรบ้าง.
[๒๐๒] บุคคลบางคนในโลกนี้ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม คลุกคลีด้วยอกุศลธรรมอยู่. โดยสมัยอื่น เขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 542
ด้วยอกุศลธรรมอยู่. ความสุขความโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลีด้วยอกุศลธรรมนั้น. ความปราโมทย์เกิดต่อจากความบันเทิงแม้ฉันใด ความสุขความโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดแก่ผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่คลุกคลีด้วยอกุศลธรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล. การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข.
[๒๐๓] อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีกายสังขารหยาบไม่สงบระงับ มีวจีสังขารหยาบไม่สงบระงับ มีจิตตสังขารหยาบไม่สงบระงับ. โดยสมัยอื่น เขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า กระทําในใจโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. เมื่อเขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยเจ้า มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กายสังขารที่หยาบย่อมสงบระงับ วจีสังขารที่หยาบย่อมสงบระงับ จิตตสังขารที่หยาบย่อมสงบระงับ. ความสุขความโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะกายสังขารที่หยาบสงบระงับ เพราะวจีสังขารที่หยาบสงบระงับ เพราะจิตตสังขารที่หยาบสงบระงับ. ความปราโมทย์เกิดต่อจากความบันเทิงแม้ฉันใด ความสุขความโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสังขารที่หยาบสงบระงับ เพราะวจีสังขารที่หยาบสงบระงับ เพราะจิตตสังขารหยาบสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. การบรรลุโอกาสนี้เป็นที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข.
[๒๐๔] อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้กุศล ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้อกุศล ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้มีโทษ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ไม่มีโทษ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ควรเสพ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ไม่ควรเสพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 543
ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้เลว ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ประณีต ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่านี้เป็นส่วนธรรมดําและธรรมขาว. โดยสมัยอื่นเขาฟังธรรมของพระอริยเจ้า กระทําในใจโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้กุศล ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้อกุศล ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้มีโทษ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ไม่มีโทษ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ควรเสพ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ไม่ควรเสพ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้เลว ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ประณีต ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้เป็นส่วนธรรมดําและธรรมขาว. เมื่อเขารู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ อวิชชาย่อมละได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น. ความสุขโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะปราศจากอวิชา เพราะวิชาเกิดขึ้น. ความปราโมทย์เกิดต่อจากความบันเทิงแม้ฉันใด ความสุขโสมนัสอันยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น เพราะปราศจากอวิชา เพราะวิชาเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน. การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการที่ ๓ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข. การบรรลุโอกาส ๓ ประการเหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึงความสุข.
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติดีแล้ว เพื่อบรรลุกุศล สติปัฏฐาน ๔ มีอะไรบ้าง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณากายในกายเป็นภายใน มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 544
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณากายในกายเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในกายานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดยชอบในกายานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในกายอื่นในภายนอก. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาเวทนาในเวทนาเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในเวทนาอื่นภายนอก. ภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ย่อมผ่องใสโดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในจิตอื่นในภายนอก. ภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในธรรมอื่นในภายนอก. สติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติแล้ว เพื่อบรรลุกุศล.
ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ
[๒๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว ได้เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์จะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ อัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 545
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติแล้ว เพื่อความเจริญแห่งสัมมาสมาธิ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ. ความที่จิตมั่นแวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ มีอุปนิสัยดังนี้บ้าง มีบริขารดังนี้บ้าง สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาสติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสติ สัมมาญาณะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสมาธิ สัมมาวิมุตติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาญาณะ ก็บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบถึงความข้อนั้นพึงกล่าวว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญูชนพึงรู้เฉพาะตน เพราะฉะนั้น ประตูแห่งพระนิพพานเปิดเพื่อท่านแล้ว. บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบถึงความนี้เทียวกะบุคคลนั้นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงกล่าวว่า ก็พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญูชนพึงรู้เฉพาะตน ประตูแห่งพระนิพพานเปิดเพื่อท่านแล้ว. ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยเจ้าชอบใจ. ชนเหล่านี้เป็นโอปปาติกะ นํามาแล้วในพระธรรม ชนผู้บํารุง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 546
ชาวมคธเกินสองล้านสี่แสนคนทํากาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบันเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. ข้าพเจ้ากลัวการพูดเท็จ จึงไม่อาจคํานวณได้ว่าในชนเหล่านี้มีพระสกทาคามีเท่าไร และหมู่สัตว์นอกนี้บังเกิดด้วยส่วนบุญ.
ปริวิตกของท้าวเวสวัณมหาราช
[๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แล้ว. เมื่อสนังกุมารพรหมกล่าวเนื้อความนี้อยู่ ท้าวเวสวัณมหาราชเกิดความดําริแห่งใจอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาหนอ จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเห็นปานนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเห็นปานนี้ จักปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเห็นปานนี้. ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมได้ทราบความดําริในใจของท้าวเวสวัณมหาราชด้วยใจแล้ว ได้กล่าวกะท้าวเวสวัณมหาราชดังนี้ว่า ท่านเวสวัณมหาราชจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในอดีตกาลก็ได้มีพระศาสดาผู้ยิ่งเห็นปานนี้ ได้มีการแสดงธรรมที่ยิ่งเห็นปานนี้ ได้ปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเห็นปานนี้ แม้ในอนาคตกาลก็จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเห็นปานนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเห็นปานนี้ จักปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเห็นปานนี้.
[๒๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้กล่าวเนื้อความนี้แก่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว. ท้าวเวสวัณมหาราชได้บอกเนื้อความนี้ที่ได้สดับต่อหน้า ได้รับต่อหน้าสนังกุมารพรหมผู้กล่าวแก่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ในบริษัทของตน. ชนวสภยักษ์กราบทูลความนี้ที่ได้สดับต่อหน้า ที่ได้รับต่อหน้าท้าวเวสวัณมหาราชผู้กล่าวในบริษัทของตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับต่อหน้า ทรงรับต่อหน้าชนวสภยักษ์และทรงทราบได้เองได้ตรัส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 547
บอกเนื้อความนี้แก่ท่านพระอานนท์ พระอานนท์ผู้มีอายุได้ฟังมาต่อพระพักตร์ ได้รับมาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กล่าวบอกความข้อนี้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา. พรหมจรรย์นี้นั้น บริบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากทราบชัด เป็นปึกแผ่น จนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประกาศดีแล้ว ดังนี้แล
จบ ชนวสภสูตรที่ ๕