พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151
คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบ
เท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น
คนพาลย่อมประสบทุกข์.
คำว่าคนพาลในพระไตรปิฎกอธิบายอย่างไรคะ
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑ - หน้าที่ 20 [แก้พาลศัพท์]
สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า คนพาล. อีกประการหนึ่ง ครูทั้ง ๖ นี้ คือ ปรูณ กัสสป,มักขลิ โคสาล, นิครนถ นาฏบุตรสญชัย เวลัฏฐบุตร, ปกุทธ กัจจายนะ,อชิตเกสกัมพล, และปาปบุคคลเหล่าอื่นจากครูทั้ง ๖ นั้น มีพระเทวทัตและโกกาลิกภิกษุเป็นต้นพึงทราบว่า "คนพาล." จริงอยู่ คนเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่าคนพาล เพราะไม่เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญาเป็นอยู่คนพาล เพราะไม่เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยอาการสักว่าหายใจ. ด้วนเหตุนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า"ชนเหล่าใด เป็นอยู่ อธิบายว่า ดำรงชีพอยู่ ด้วยอาการสักว่าลมหายใจเข้าออก หาใช่เป็นอยู่ด้วยปัญญาอันประเสริฐไม่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า พาล."
[แก้พาลศัพท์อีกนัยหนึ่ง]
ชนจำพวกใด ตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ ถือเอาแต่สิ่งอันมิใช่ประโยชน์ทั้ง ๒, ชนจำพวกนั้น ชื่อว่าพาล. ความจริง ท่านเรียกชนจำพวกนั้นว่าพาล ก็เพราะถือเอาสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ทั้ง ๒ และเรียกว่าพาล ก็เพราะตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒. กิริยาศัพท์ว่า " ลนฺติ"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151 ๑๒. ก็กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้น ยังไม่แปรไปฉะนั้น บาปกรรมย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้า กลบไว้ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 215
คนพาลประสบทุกข์เพราะบาปกรรม
พระศาสดา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า " ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใด
ผู้หนึ่งเป็นพาล เมื่อทำกรรมลามก เป็นผู้ยินดีร่าเริง เป็นประดุจฟูขึ้นๆ
ย่อมทำได้ ประดุจบุรุษเคี้ยวกินรสของหวาน มีจำพวกน้ำผึ้ง และ
น้ำตาลกรวดเป็นต้น บางชนิด" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
"คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่า
ที่บาปยังไม่ให้ผล; ก็เมื่อใด บาปให้ผล; เมื่อนั้น
คนพาล ย่อมประสพทุกข์.
แก้อรรถ (อธิบาย)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มธุวา เป็นต้น ความว่า ก็เมื่อ
คนพาลกระทำบาป คืออกุศลกรรมอยู่ กรรมนั้นย่อมปรากฏดุจน้ำผึ้ง คือ
ดุจน้ำหวาน ได้แก่ประดุจน่าใคร่ น่าชอบใจ, คนพาลนั้น ย่อมสำคัญบาป
นั้น เหมือนน้ำหวาน ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยาว คือ ตลอดกาลเพียงใด.
สองบทว่า ปาป น ปจฺจติ ความว่า คนพาล ย่อมสำคัญ
บาปนั้นอย่างนั้น ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผลในทิฏฐธรรม หรือใน
สัมปรายภพ. บทว่า ยทา จ ความว่า ก็ในกาลใด เมื่อคนพาลนั้น ถูกทำ
กรรมกรณ์ต่างๆ ในทิฏฐธรรม หรือเสวยทุกข์ใหญ่ในอบายมีนรก
เป็นต้นในสัมปรายภพ บาปนั้นชื่อว่าย่อมให้ผล; ในกาลนั้น คนพาลนั้น
ย่อมเข้าถึง คือ ประสพ ได้แก่ กลับได้ทุกข์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-ปัตติผลเป็นต้น.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์