นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ
สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ
สรณํ คจฺฉามิ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่หนักที่สุด มี ๔ สิกขาบท คือ
-ภิกษุเสพเมถุน ต้องอาบัติปาราชิก
-ภิกษุมีเจตนาที่จะถือเอาสิ่งของของผู้อื่นมีราคา ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก (ราคา ๕ มาสก พิจารณาด้วยการเทียบน้ำหนักทองคำกับข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด คือเอาข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ดมาชั่ง ได้น้ำหนักเท่าไหร่ น้ำหนักทองคำเท่านั้นตีเป็นเงินออกมา)
-ภิกษุมีเจตนาฆ่ามนุษย์ ต้องอาบัติปาราชิก
-ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ต้องอาบัติปาราชิก (อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน มรรค ผล นิพพาน)
เมื่อภิกษุต้องปาราชิกสิกขาบทเข้าแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เป็นผู้พ่ายแพ้ในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถที่จะเป็นพระภิกษุอีกต่อไป เปรียบเหมือนกับบุคคลผู้มีศีรษะขาด ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เปรียบเหมือนกับใบไม้เหลืองหล่นจากขั้ว ที่ไม่สามารถกลับมาเขียวสดได้อีก เปรียบเหมือนกับตาลยอดด้วน ที่ไม่สามารถเจริญงอกงามได้อีก และเปรียบเหมือนกับศิลาแตก ที่ไม่สามารถประสานเข้ากันได้อีก
แม้ในสมัยพุทธกาล มีพวกภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ต้องอาบัติปาราชิก ในข้อเสพเมถุน ได้ขอร้องให้ท่านพระอานนท์ไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อขอโอกาสได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาต่อไป ที่จะได้อบรมเจริญปัญญาต่อไปในเพศพระภิกษุ ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปกราบทูลเรื่องดังกล่าวนั้นแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะทรงยกเลิกปาราชิก สิกขาบทที่พระองค์ได้บัญญัติไว้แล้ว
ดังนั้น เมื่อต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ใครๆ ก็ไม่สามารถมาบอกหรือมายกเลิกไม่ให้พระภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิกได้เลย เพราะเมื่อต้องเข้าแล้วในข้อใดข้อหนึ่งในบรรดาปาราชิก ๔ ข้อ ต้องขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที
ถ้าเป็นผู้ที่สำนึกได้จริงๆ ก็สามารถดำรงอยู่ในภูมิสามเณร หรือเป็นอุบาสกที่ดีได้ สามารถฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในภูมิของสามเณรหรือในเพศคฤหัสถ์ได้
ข้อความในมโนรถปูรณีอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ก็มีแสดงไว้ว่า ผู้ที่ต้องปาราชิกแล้ว มาดำรงอยู่ในภูมิสามเณร หรือเป็นอุบาสก สามารถอบรมเจริญปัญญาจนถึงความเป็นโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีได้ หรือไม่ก็สามารถเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้ และที่สำคัญ จะต้องพิจารณาถึงอำนาจประโยชน์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ๑๐ ประการ ดังนี้ คือ
[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๙๓
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่
ภิกษุวัชชีบุตร ต้องปาราชิก [พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑]
ปาราชิกแล้ว ดำรงอยู่ในภูมิสามเณร หรือ เป็นคฤหัสถ์ สามารถบรรลุธรรมได้
ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกท่าน...
ขอกราบนมัสการอย่างสูงสุดแด่พระรัตนตรัย
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอย่างยิ่ง ครับ.
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาขอบพระคุณท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง
กราบอนุโมทนาขอบพระคุณท่านวิทยากรและผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองคฺ์เอง ทรงจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
บุคคลผู้เก้อยาก เป็นอย่างไรคะ ข่ม..คืออาการอย่างไร...บุคคลที่ถูกข่มจะมีอาการอย่างไรได้บ้าง ช่วยอธิบายความละเอียดให้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
บุคคลผู้เก้อยาก คือ คนทุศีล หน้าด้าน ไม่ละอาย เมื่อมีสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ พระภิกษุทั้งหลายก็สามารถยกสิกขาบทนั้นๆ กล่าวให้ทราบว่าเป็นความผิดอย่างไร เป็นการข่มขี่โดยธรรมวินัย ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น ผู้ที่ถูกข่มขี่ก็ย่อมจะได้รับการเตือนด้วยพระธรรมวินัย ส่วนผลจะเป็นอย่างไร ก็ตามการสะสมของแต่ละท่านว่าจะเห็นคล้อยตามสิกขาบทนั้นๆ หรือไม่ ครับ
ข้อความจากอรรถกถาพระวินัย แสดงไว้ว่า
บทว่า ทุมฺมงฺกูนํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่าผู้เก้อยาก. คนเหล่าใด แม้ถูกเขาทำให้ถึงความเก้อเขิน ก็ไม่ทุกข์ร้อน หรือกระทำการล่วงละเมิดสิกขาบท หรือ ทำแล้วก็ไม่ละอาย เพื่อประโยชน์แก่การข่มบุคคลเหล่านั้น.
จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทมีอยู่ ก็จักเบียดเบียนสงฆ์ว่า พวกท่านเห็นอะไร ได้ยินอะไร พวกผมทำอะไร พวกท่านจึงยกอาบัติอันไหน ในวัตถุอันไหนขึ้นมาข่มพวกผม ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักแสดงสิกขาบทแก่ภิกษุเหล่านั้น ข่มโดยสหธรรม ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย (เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก)
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ