เหตุทำให้เกิดอาสวะคืออะไร
โดย teezaboo  21 พ.ย. 2566
หัวข้อหมายเลข 46993

เหตุทำให้เกิดอาสวะคืออะไร เนื่องจากกำลังศึกษาว่าอวิชชา มีเหตุเกิดจากอะไรก็พบว่าเกิดจาก อาสวะ แล้วก็สงสัยไปอีกว่าเหตุเกิด อาสวะ คืออะไร



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 23 พ.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ทรงแสดงไว้อย่างละเอียดตลอด ๔๕ พรรษา เพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูกของผู้ฟัง ผู้ศึกษา เกิดความเข้าใจถูก เห็นถูกเป็นปัญญาของตนเอง สำหรับในเรื่องของกุศลธรรม ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายที่ไม่ดี นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงจำแนกไว้หลายหมวด เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจ และเห็นโทษของกุศลธรรม ตามความเป็นจริง หนึ่งในนั้น คือ หมวดของอาสวะ ๔ ประการ

อาสวะ เป็นกุศลธรรมที่บางเบาไหลไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ ซึ่งไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย อาสวะเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่รู้ เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ไม่พ้นไปจากความติดข้องยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย ซึ่งก็มีจริงในชีวิตประจำวัน แต่เราก็ไม่รู้เลยว่าติดข้องแล้วในขณะนั้น หลังเห็น หลังได้ยิน เป็นต้น นี้คือ ลักษณะของอาสวะที่ คือ กามาสวะ

อาสวะที่ ๒ คือ ภวาสวะ ความติดข้องยินดีพอใจในภพ ในขันธ์ ในความมีความเป็น พระอรหันต์เท่านั้นที่จะไม่มีความติดข้องในภพ แม้พระอนาคามียังมีความติดข้องในขันธ์ที่ท่านเกิด ในความมีความเป็นของท่านที่เกิดขึ้นมา ขณะที่มีความเห็นผิดเกิดขึ้น ก็เป็นทิฏฐาสวะ ซึ่งเป็นอาสวะที่ ๓ และที่ร้ายไปกว่านั้น เป็นไปด้วยความไม่รู้ เป็นอาสวะ ที่ ๔ คือ อวิชชาสวะ ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด แต่เป็นกุศลธรรม เป็นธรรมที่ควรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา และเป็นสิ่งจะต้องละได้ด้วยปัญญา
สำหรับเหตุเกิดของอาสวะ ก็คือ อวิชชา ความไม่รู้นั่นเอง เป็นต้นเหตุ เป็นมูลรากของอกุศลทั้งปวง เมื่ออวิชชาถูกดับ ก็ไม่มีอาสวะ หนทางที่จะทำให้ถึงการดับอาสวะ ก็คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ตามข้อความใน [เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๓๙ ดังนี้
เพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรค (อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘) นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑


... ยินดีในกุศลของคุณ teezaboo และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 23 พ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ