[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
พระวินัยปิฎก เล่ม ๓
ภิกขุนีวิภังค์
ปาจิตติยกัณฑ์
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙
สิกขาบทที่ ๑ 444/468
พระบัญญัติ ๑๓๙.๑. 469
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑ 471
สิกขาบทที่ ๒ 449/472
พระบัญญัติ ๑๔๐.๒. 473
พระอนุบัญญัติ ๑๔๐. ๒. ก. 473
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ 475
สิกขาบทที่ ๓ 454/476
พระบัญญัติ ๑๔๑.๓. 477
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๓ 478
สิกขาบทที่ ๔ 457/479
พระบัญญัติ ๑๔๒.๔. 480
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๔ 480
สิกขาบทที่ ๕ 460/481
พระบัญญัติ ๑๔๓.๕. 482
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๕ 482
สิกขาบทที่ ๖ 463/483
พระบัญญัติ ๑๔๔.๖. 484
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๖ 484
สิกขาบทที่ ๗ 466/485
พระบัญญัติ ๑๔๕.๗. 486
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๗ 487
สิกขาบทที่ ๘ 469/488
พระบัญญัติ ๑๔๖.๘. 489
สิกขาบทที่ ๙ 490
พระบัญญัติ ๑๔๗.๙. 491
สิกขาบทที่ ๑๐ 492
พระบัญญัติ ๑๔๘.๑๐. 493
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๘, ๙, ๑๐ 493
สิกขาบทที่ ๑๑ 472/494
พระบัญญัติ ๑๔๙.๑๑. 494
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๑ 496
สิกขาบทที่ ๑๒ 476/497
พระบัญญัติ ๑๕๐.๑๒. 497
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๒ 499
สิกขาบทที่ ๑๓ 480/500
พระบัญญัติ ๑๕๑.๑๓. 501
อรรถกถาสิกขาบทที่ ๑๓ 502
บทสรุป 503
บทสรุปธรรม คือปาจิตตีย์ 504
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 5]
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 468
ปาจิตตีย์ ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๔๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์กั้นร่มและสวมรองเท้า คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้ร่มและรองเท้าเหมือนพวกสตรีคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ร่มและรองเท้าเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ร่มและรองเท้า จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้ร่มและรองเท้าเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 469
พระบัญญัติ
๑๓๙. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้ร่มและรองเท้า เป็นปาจิตตีย์.
ก็แลสิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้วแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๔๕] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นร่มและ รองเท้าแล้วไม่สบาย ภิกษุณีทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตรมและรองเท้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่ม และรองเท้าแก่ภิกษุณีผู้อาพาธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๑๓๙. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด มิใช่ผู้อาพาธ ใช้ร่มและ รองเท้า เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นร่มและรองเท้าแล้วก็สบาย.
ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ที่เว้นร่มและรองเท้าแล้วไม่สบาย.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 470
ที่ชื่อว่า ร่ม มี ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑ ร่มลำแพน ๑ ร่มใบไม้ ๑ ที่เขาเย็บเป็นวงกลม.
บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๔๗] ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ใช้ร่มและ รองเท้าต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ มีความสงสัย ใช้ร่มและรองเท้า ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ใช้ร่มและรองเท้า ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
จตุกกะทุกกฏ
ภิกษุณีใช้ร่ม ไม่ใช้รองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีใช้รองเท้า ไม่ใช้ร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้อาพาธ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๔๘] อาพาธ ๑ ใช้ร่มอยู่ในอาราม ในอุปจารแห่งอาราม ๑ มีเหตุ จำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 471
อรรถกถาฉัตตวรรคที่๑ ๙
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งฉัตตวรรค๒ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า สกึปิ ธาเรติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส มีความว่า ในการ เดินทาง ภิกษุณีกั้นร่มและสวมรองเท้า แม้ตลอดวันโดยประโยคเดียวเท่านั้น ก็เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. ถ้าไปถึงที่มีเปือกตมเป็นต้น ถอดรองเท้าแล้ว กั้น แต่ร่มอย่างเดียวเดินไป เป็นทุกกฏ. ถ้าแม้ว่า เห็นกอไม้เป็นต้น หุบร่มเสีย แล้ว สวมแต่รองเท้าเดินไป เป็นทุกกฏเหมือนกัน. ถ้าหุบร่มแล้วก็ดี ถอด รองเท้าแล้วก็ดี กลับกั้นร่มและสวมรองเท้าอีกเป็นปาจิตตีย์. พึงทราบอาบัติ มากตัวด้วยการนับประโยคอย่างนี้. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
๑ - ๒. บาลีเป็น ฉัตตปาหนวรรค.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 472
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๔๙] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถุ ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ไปโดยยาน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไปโดยยาน เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ไปโดยยานเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปโดยยาน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน เหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ไปโดยยานเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 473
พระบัญญัติ
๑๔๐. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปโดยยาน เป็นปาจิตตีย์.
ก็แลสิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีอาพาธ
[๔๕๐] ต่อจากสมัยนั้นแล. ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ ไม่สามารถจะเดิน ไปด้วยเท้าได้ ภิกษุณีทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงอนุญาตยาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ยานแก่ภิกษุณีผู้อาพาธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๑๔๐. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด มิใช่ผู้อาพาธ ไปโดยยาน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 474
ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้สามารถเดินไปได้ด้วยเท้า.
ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ไม่สามารถเดินไปด้วยเท้า.
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ วอ รถ เกวียน คานหาม แคร่ เก้าอี้.
บทว่า ไป คือ ไปแม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๕๒] ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ไปโดยยาน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ มีความสงสัย ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้อาพาธ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๕๓] อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 475
อรรถกถาฉัพพวรรค สิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้;-
แม้ในคำว่า ยาเนน ยายติ นี้ ก็พึงทราบว่า เป็นอาบัติหลายตัว ด้วยประการนับประโยคของภิกษุณีผู้ลงๆ ขึ้นๆ (ผู้ขึ้นลงบ่อยๆ). บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๑ ทั้งนั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 476
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๔๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งเป็นกุลุปิกาของสตรีคนหนึ่ง ซึ่งสตรีนั้นได้กล่าวขอร้องภิกษุณีรูปนั้น ว่าข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดนำเครื่องประดับเอวนี้ไปให้แก่หญิงชื่อโน้น ภิกษุณีนั้นจึงคิดเห็นว่า ถ้าเราจะนำไปด้วยบาตร เสียงดังจักมีแก่เรา แล้วได้ สวมไป เมื่อด้ายขาด เครื่องประดับเอวตกเรี่ยรายลงบนถนน คนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่อง ประดับเอวเหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึง ได้ใช้เครื่องประดับเอวเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว จริงหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ใช้เครื่องประดับเอวเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 477
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๔๑. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับเอว เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เครื่องประดับเอว ได้แก่ เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิด หนึ่ง.
บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๕๖] ใช้ด้ายรัดเอวเพราะเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 478
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้;-
บทว่า วิปฺปกิรึสุ คือ พวงแก้ว๑มณีเครื่องประดับเอว ตกเรี่ยราย ลง. แม้ในสิกขาบทนี้ ก็พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว ด้วยการนับประโยค ของภิกษุณีผู้ถอดแล้วใช้. สมุฏฐานเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. ใน สิกขาบทนี้ เป็นอกุศลจิตอย่างเดียว แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
๑. ปาฐะโยชนา ๒/๑๖๑ เป็น มณโย.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 479
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี เหมือนพวก สตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี เหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรีเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรีเล่า การกระทำของพวก นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 480
พระบัญญัติ
๑๔๒. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เครื่องประดับสำหรับสตรี ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับศอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๕๙] เหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
วินีจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้;-
บรรดาเครื่องประดับ มีเครื่องประดับศีรษะเป็นต้น ภิกษุณีใช้เครื่อง ประดับชนิดใดๆ พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดยนับวัตถุด้วยอำนาจแห่ง เครื่องประดับนั้นๆ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๓ นั่นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 481
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๖๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี เหล่าฉัพพัคคีย์ สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทินมีกลิ่นหอม คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้สนานกายด้วยน้ำ เครื่องประทีนมีกลิ่นหอม เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทีนที่มีกลิ่นหอมเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์อาบน้ำด้วยเครื่องประทีนมีกลิ่นหอม จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำด้วยเครื่องประทีนมีกลิ่นหอมเล่า การกระทำของ พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 482
พระบัญญัติ
๑๔๓. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยเครื่องประทิ่นมีกลิ่น หอม เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น ผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า เครื่องประทิ่น ได้แก่ เครื่องหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๖๒] เหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า คนฺธวณฺณเกน คือด้วยเครื่องหอมและเครื่องประเทืองผิว. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ ทั้ง นั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 483
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๔๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์สนานกายด้วยน้ำกำยานที่อบ คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้อาบน้ำกำยานที่อบ เหมือน สตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำกำยานที่อบเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์อาบน้ำกำยานที่อบ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำกำยานที่อบเล่า การกระทำของพวกนางนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 484
พระบัญญัติ
๑๔๔. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยกำยานที่อบ เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อบ ได้แก่ วัตถุที่อบด้วยของหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า กำยาน ได้แก่ วัตถุที่เรียกว่า แป้งงา.
บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๖๕] เหตุอาพาธ ๑ อาบน้ำกำยานธรรมดา ๑ วิกลจริต ๑ อาทิ- กัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ ๖ เป็นเช่นเดียวกันกับคำที่กล่าวแล้วใน สิกขาบทที่ ๕ นั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 485
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบ เห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของพวกนาง นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 486
พระบัญญัติ
๑๔๕. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังภิกษุณีให้นวดก็ดี ให้ฟั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น.
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๘๖๘] อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 487
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า อุมฺมทฺทาเปติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ในการบีบนวดไม่ปล่อยมือ เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. ในการบีบนวดปล่อยมือๆ เป็นอาบัติมากตัว โดยการนับประโยค. แม้ในการขยำก็นัยนี้นั่นแล.
บทว่า คิลานาย ได้แก่ มีอาพาธ โดยที่สุดแม้ด้วยความเมื่อยล้าใน การเดินทาง.
บทว่า อาปทาสุ ได้แก่ ในอันตรายมีร่างกายสั่นเท้า เพราะความ กลัวพวกโจรเป็นต้น. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นเช่นเดียวกัน กับสิกขาบทที่ ๓ นั้น แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 488
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้ง หลายใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบ เห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้ สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวก ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ใช้สิกขมานาให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของพวกนาง นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 489
พระบัญญัติ
๑๔๖. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาให้นวดก็ดี ให้ฟั้น ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว.
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๗๑] เหตุอาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 490
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย ใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบเห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้สามเณรี ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้ใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ใช้สามเณรีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง การกระทำของพวกนาง นั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 491
พระบัญญัติ
๑๔๗. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสามเณรีให้นวดก็ดี ให้ฟั้น ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้สมาทานสิกขาบท ๑๐
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
เหตุอาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 492
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย ใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบเห็น แล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้ สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ทั้งหลายจึงได้ใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ใช้สตรีคฤหัสถ์ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของ พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 493
พระบัญญัติ
๑๔๘. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีคฤหัสถ์ให้นวดก็ดี ให้ ฟั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า สตรีคฤหัสถ์ ได้แก่ สตรีที่เรียกว่าผู้ครองเรือน.
บทว่า ให้นวด คือ ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฟั้น คือ ให้ขยำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
เหตุอาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ - ๙ - ๑๐
ใน ๓ สิกขาบท มีสิกขาบทที่ ๘ เป็นต้น. คำว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา คิหินิยา นี้เท่านั้นทำให้ต่างกัน. คำที่เหลือ เหมือนกันกับคำ ที่กล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๗ นั้นแล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ - ๙ - ๑๐ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 494
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกขุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ เบื้องหน้าภิกษุเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงได้ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุเล่า การกระทำ ของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๔๙. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ เบื้องหน้าภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 495
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
คำว่า เบื้องหน้าภิกษุ คือ ตรงหน้าอุปสัมบันภิกษุ.
บทว่า ไม่ขอโอกาส คือ ไม่บอกกล่าวก่อน.
คำว่า นั่งบนอาสนะ คือ โดยที่สุด แม้นั่งบนฟั้นดิน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๗๔] ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ได้ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว นั่งบนอาสนะ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 496
อนาปัตติวาร
[๔๗๕] ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ภิกฺขุสฺส ปุรโต คือ ตรงหน้าจังๆ. ก็คำนี้บัณฑิต พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาอุปจาร (ที่ใกล้โดยรอบ ๑๒ ศอก). คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 497
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ทั้งหลายถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ถามปัญหากะภิกษุที่ตนยังมิได้ ขอโอกาสเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงได้ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาสเล่า การกระทำของพวก นางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง นี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๕๐. ๑๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ ขอโอกาส เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 498
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส คือ ตนยังมิได้บอกกล่าว.
บทว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบันภิกษุ.
คำว่า ถามปัญหา คือ ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระสูตรแล้ว ถาม พระวินัย หรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระวินัย แล้วถามพระสูตร หรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระอภิธรรม แล้วถามพระสูตร หรือพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๗๘] ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ถาม ปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ถามปัญหา ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ. ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 499
ไม่ต้องอาบัติ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๗๙] ยังภิกษุให้ทำโอกาสแล้วถาม ๑ ยังภิกษุให้ทำโอกาสไม่เจาะจงแล้วถามปัญหาในปิฏกหนึ่ง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๒ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อโนกาสกตํ ได้แก่ ผู้ที่ตนยังมิได้ทำการขอโอกาสอย่างนี้ว่า ดิฉันจักถามในสถานที่โน้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บทว่า ผู้ที่ตนยังมิได้ขอโอกาส คือ ตนยังไม่ได้บอกกล่าว.
บทว่า อนุทฺทิสฺส มีความว่า ไม่กำหนดอย่างนี้ว่า ดิฉันจักถามใน ฐานะชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้อย่างเดียวว่า ดิฉันจะถามข้อที่ควรถาม ซึ่งมีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า! คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปทโสธรรมสิกขาบท เกิดขึ้นทางวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 500
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๔๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี รูปหนึ่งไม่มีผ้ารัดถัน เข้าไปเพื่อบิณฑะในหมู่บ้าน ลมบ้าหมูพัดเวิกผ้าสังฆาฏิ ขึ้นที่ถนนนั้น คนทั้งหลายได้ส่งเสียงว่าถันและท้องของแม่เจ้าสวย ภิกษุณี รูปนั้นถูกคนทั้งหลายเยาะเย้ยได้เป็นผู้เก้อเขิน ครั้นนางไปถึงสำนักแล้ว ได้เล่า เรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายฟัง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุณีจึงไม่มีผ้ารัดถันเข้าบ้านเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันเข้าบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงไม่มีผ้ารัดถันเข้าบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้;-
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 501
พระบัญญัติ
๑๕๑. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีผ้ารัดถัน เข้าบ้าน เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ไม่มีผ้ารัดถัน คือปราศจากผ้ารัดนม.
ที่ชื่อว่า ผ้ารัดถัน ได้แก่ ผ้าที่ใช้ปกปิดอวัยวะเบื้องต่ำแต่รากขวัญ ลงมา เบื้องบนตั้งแต่นาภีขึ้นไป.
คำว่า เข้าบ้าน คือ บ้านที่มีเครื่องล้อม เดินเลยเครื่องล้อมต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๔๘๒] มีจีวรถูกชิงไป ๑ มีจีวรหาย ๑ อาพาธ ๑ หลงลืมไป ๑ ไม่รู้ตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ
๑. วรรคที่ ๑๐ ถึงวรรคที่ ๑๖ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท คือ มุสาวาทวรคที่ ๑๐ มี ๑๐ สิกขาบท ภูคคามวรรคที่ ๑๑ มี ๑๐ สิกขาบท โภชนวรรคที่ ๑๒ มี ๑๐ สิกขาบท จริตตวรรคที่ ๑๓ มี ๑๐ สิกขาบท โชติวรรคที่ ๑๔ มี ๑๐ สิกขาบท ทิฏฐิวรรคที่ ๑๕ มี ๑๐ สิกขาบท ธัมมิกวรรคที่ ๑๖ มี ๑๐ สิกขาบท รวมอีก ๗๐ สิกขาบท เป็นอุภโตบัญญัติ ผู้ปรารถนาพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในภิกขุวิภังค์โน้นเทอญ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 502
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๓ พึงทราบดังนี้;-
สองบทว่า ปริกฺเขปํ อติกฺกมนฺติยา คือ เมื่อก้าวไปด้วยเท้าก้าว แรกเป็นทุกกฏ เมื่อก้าวไปด้วยเท้าก้าวที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์. แม้ในอุปจารก็นัยนี้ เหมือนกัน.
ในคำว่า อจฺฉินฺนจีวริกาย เป็นต้น จีวร คือ ผ้ารัดถันนั่นแล บัณฑิตพึงทราบว่า จีวร.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ผ้ารัดถันมีค่ามาก เมื่อภิกษุณีห่มเดิน ไป อันตรายจะเกิดขึ้นได้ ไม่เป็นอาบัติในอันตรายเช่นนี้. คำที่เหลือ ง่าย ทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.
อรรถกถาฉัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
อรรถกถาฉัตตวรรคที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 503
บทสรุป
[๔๘๓] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ ลิกขาบท ข้าพเจ้า ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลาย ในธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าชื่อถามแม้ครั้ง ที่ ๒ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือ ปาจิตตีย์ทั้ง ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.
ปาจิตติยกัณฑ์ จบ
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 504
บทสรุปธรรม คือปาจิตตีย์
ในคำว่า อุทฺทิฏา โข อยฺยาโย ฉสฺสฏฺิสตา ปาจิตฺติยา ธมฺมา นี้ พึงทราบว่า สิกขาบท ๑๘๘ ทั้งหมดด้วยกัน คือ สิกขาบทใน ขุททกะของพวกภิกษุณี ๙๖ สิกขาบท ของพวกภิกษุ ๙๒ สิกขาบท ชักออก จากสิกขาบท ๑๘๘ นั้นเสีย ๒๒ สิกขาบทนี้ คือ ภิกขุณีวรรค ทั้งสิ้น (๑๐ สิกขาบท) ปรัมปรโภชนสิกขาบท ๑ อนติริตตโภชนสิกขาบท ๑ อนติ- ริตเตนอภิหัฏฐุมปวารณสิกขาบท ๑ ปณีตโภชนวิญญัติสิกขาบท ๑ อเจลก สิกขาบท ๑ ทุฏฐุลลปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ อูนวีสติวัสสูปสัมปาทนสิกขาบท ๑ สิกขาบทว่าด้วยการชักชวนกันเดินทางไกลกับมาตุคาม ๑ ราชันเตปุรัปเวสน สิกขาบท ๑ สิกขาบทว่าด้วยการไม่บอกลาภิกษุณีทีมีอยู่เข้าบ้านในเวลาวิกาล / นิสีทนสิกขาบท ๑ วัสสิกสาฎิกสิกขาบท ๑ เหลืออีก ๑๖๖ สิกขาบท เป็น อันข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ตามแนวทางแห่งปาฎิโมกขุทเทส. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์ จึงกล่าวว่า อุทฺทิฏฺา โข อยฺยาโย ฉสฺสฏฺิ- สตา ปาจิตฺติยา ธมฺมาฯ เปฯ เอวเมตํ ธารยามิ ดังนี้.
[วินิจฉัยสมุฏฐานเป็นต้นโดยย่อ]
ในขุททกวรรณนาธิการนั้น มีวินิจฉัยสมุฏฐาน โดยสังเขปดังต่อไปนี้;-
๑๐ สิกขาบทเหล่านี้ คือ คิรัคคสมัชชสิกขาบท ๑ จิตตาคารสิกขาบท ๑ สังฆาณีสิกขาบท ๑ อิตถาลังการสิกขาบท ๑ คันธวัณณกสิกขาบท ๑ วาสิตกปิญญากสิกขาบท ๑ การใช้ภิกษุณีเป็นต้น บีบนวด ๔ สิกขาบท เป็นอจิตตกะ โลกวัชชะ.
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓ - หน้า 505
ก็ในสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้:- สิกขาบทเหล่านี้ชื่อ ว่าเป็นอจิตตกะ เพราะแม้เว้นจากจิตก็ยังต้อง แต่เมื่อมีจิต ก็เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงต้องด้วยอกุศลจิตเท่านั้น สิกขาบทที่เหลือเป็นอจิตตกะ เป็น ปัณณัตติวัชชะ ทั้งนั้น.
๑๙ สิกขาบทเหล่านี้ คือ โจรีวุฎฐาปนสิกขาบท ๑ คามันตรอาราม สิกขาบท ๑ ในคัพภินีวรรค ๗ สิกขาบท ตั้งแต่ต้น ในกุมารีภูตวรรค ๕ สิกขาบท ตั้งแต่ต้น ปุริสสังสัฏฐสิกขาบท ๑ ปาริวาสิยฉันททานสิกขาบท ๑ อนุวัสสวุฎฐาปนสิกขาบท ๑ เอกันตริกวุฎฐาปนสิกขาบท ๑ เป็นสจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ ที่เหลือเป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ ทั้งนั้นแล.
ขุททกกัณฑวรรณนา ในภิกขุนีวิภังค์ ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ