๑๐. ปุคคลสูตร ว่าด้วยสงสารกําหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เหมือนโครงกระดูกบุคคล
โดย บ้านธัมมะ  4 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36619

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 521

๑๐. ปุคคลสูตร

ว่าด้วยสงสารกําหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เหมือนโครงกระดูกบุคคล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 521

๑๐. ปุคคลสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เหมือนโครงกระดูกบุคคล

[๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.

[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูกใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 522

ชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความสงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้แล.

จบปุคคลสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณกัฏฐสูตร

๒. ปฐวีสูตร

๓. อัสสุสูตร

๔. ขีรสูตร

๕. ปัพพตสูตร

๖. สาสปสูตร

๗. สาวกสูตร

๘. คงคาสูตร

๙. ทัณฑสูตร

๑๐. ปุคคลสูตร

อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

แม้ ๓ บทมีบทเป็นต้นว่า อฏฺิกงฺกโล ก็เป็นไวพจน์ของกองกระดูกนั่นเอง.

ก็สัตว์เหล่านี้ เวลาไม่มีกระดูกมากกว่าเวลามีกระดูก. ด้วยว่า กระดูกของสัตว์มีไส้เดือนเป็นต้นเหล่านั้นไม่มี. ส่วนสัตว์มีปลาและเต่าเป็นต้น มีกระดูกมากกว่าแล. เพราะฉะนั้น พึงถือเอาเฉพาะ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 523

เวลามีกระดูก มิได้หมายถึงเวลาไม่มีกระดูกและเวลามีกระดูกมากหลาย.

บทว่า อุตฺตโร คิชฺฌกูฏสฺส ได้แก่ ภูเขาตั้งอยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ.

บทว่า มคธานํ คิริพฺพเช คือ ใกล้ภูเขาแคว้นมคธ อธิบายว่า ตั้งอยู่ในวงล้อมของภูเขา.

คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรคที่ ๑