ต้องตรงทุกอย่างที่กำลังปรากฏ_สนทนาธรรมไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึงการแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.
มานิช: อยากจะสื่อถึงการที่ท่านอาจารย์และคณะไปสนทนาธรรมที่อินเดีย ในความคิดรู้สึกอนุโมทนา
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น มีคำถามอะไรไหม? ธรรมเป็นสิ่งละเอียด ลึกซึ้ง เป็นเรื่องขัดเกลากิเลส และรู้ความจริง
มานิช: ตั้งแต่เริ่มฟังมา ทุกครั้งที่ฟังก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละนิดทีละหน่อย และเมื่อมีความเข้าใจเมื่อไหร่ก็เพิ่มความสนใจที่จะฟังต่อมากขึ้น วันนี้มีคำถามว่า สำหรับคนเริ่มต้น ควรเริ่มต้นจากไหนครับ
ท่านอาจารย์: เริ่มต้นจากรู้ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทุกขณะในชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของแต่ละขณะ ต้องเคารพ คำ ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้หรือเปล่า?
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้มีอะไร?
มานิช: มีเห็น มีได้ยิน
ท่านอาจารย์: ทีละหนึ่ง พร้อมกันได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์: เริ่มตรงต่อ ความจริง ทุกคำ
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้คุณมานิชรู้ไหมว่า ไม่ใช่คุณมานิชเห็น?
มานิช: ถ้าพูดจริงๆ แล้วยังไม่ได้เห็นเป็นธรรม ถ้าฟังแล้วพิจารณาได้ว่า เป็นอย่างนี้จริง แต่ว่าเมื่อออกจากห้องนี้แล้ว ออกจากการพิจารณาแล้วก็เหมือนเดิมว่า เราก็คิดว่า ตัวเราเองเห็น ตัวเราเองได้ยิน ครับ
ท่านอาจารย์: ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณาพูดเรื่องเห็นบ่อยๆ ไม่ใช่ครั้งเดียว ให้เริ่มรู้จากความจริงขณะที่เห็นว่า มีเห็นจริงๆ นี่เป็นการเริ่มต้นที่เคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้เริ่มจากคำอายตนะ ปฏิจจสมุปาทะอะไรเลย
ถ้าไม่รู้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้เข้าใจเดี๋ยวนี้ จะไม่มีทาง ไม่มีวันที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องตรงทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ
ขณะเห็น อะไรมีจริง?
มานิช: เห็น เป็นจริงครับ
ท่านอาจารย์: นี่เป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้อง ไม่ใช่อยากรู้เรื่องอื่น แต่ไม่รู้จักเห็นจริงๆ ที่กำลังเห็น ขณะเห็น อะไรเป็นธรรม?
มานิช: สิ่งที่เห็นครับ
ท่านอาจารย์: และ เห็น เป็นธรรมหรือเปล่า?
มานิช: เห็น เป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์: ไม่มีคุณมานิช เริ่มรู้ความจริง ขณะที่เห็น ไม่มีคุณมานิช แล้วมีโต๊ะ เก้าอี้ ไฟฟ้า น้ำ ไหม?
มานิช: ไม่มีโต๊ะ ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีอะไรครับ
ท่านอาจารย์: ขณะนั้นมีอะไร?
มานิช: เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นครับ
ท่านอาจารย์: อะไรเป็นธรรม?
มานิช: เห็นเป็นธรรม และ สิ่งที่ถูกเห็นเป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์: เริ่มรู้จักธรรม ตัวธรรมจริงๆ มีเห็น มีสิ่งที่ถูกเห็น ไม่มีคุณมานิช ไม่มีโต๊ะ ไม่มีเก้าอี๊ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
กำลังได้ยิน อะไรเป็นธรรม?
มานิช: ได้ยิน กับเสียงครับ
ท่านอาจารย์: ได้ยิน กับเสียง เป็นธรรมอันเดียวกันหรือเปล่า?
มานิช: ไม่ครับ ต่างกัน
ท่านอาจารย์: เวลาได้กลิ่น อะไรเป็นธรรม?
มานิช: การได้กลิ่น และกลิ่นเป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์: เวลารับท่านอาหาร รู้รส กับรส อะไรเป็นธรรม?
มานิช: ทั้งสองเป็นธรรมต่างกัน
ท่านอาจารย์: เวลาคิดนึก อะไรเป็นธรรม?
มานิช: ที่คิด และสิ่งที่คิดคิดครับ ทั้งสองอย่างต่างกันครับ
ท่านอาจารย์: ทั้งวัน เห็นเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม ได้กลิ่นเป็นธรรม ลิ้มรสเป็นธรรม รู้สิ่งที่กระทบกายเป็นธรรม คิดนึกเป็นธรรม ไม่มีเรา ไม่มีอะไร ใช่ไหมนอกจากธรรม
คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ เมื่อกี๊ที่ท่านอาจารย์ถามว่า เวลาคิด อะไรเป็นธรรม แล้วมานิชตอบว่า คิดเป็นธรรม และสิ่งที่คิดคิดเป็นธรรมด้วย ตรงนั้น ...
ท่านอาจารย์: แน่นอนค่ะ เพราะธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่เป็นธรรมอะไรอีกเรื่องหนึ่ง เราไม่ได้ถามเขาว่าเป็นธรรมอะไร
คุณสุคิน: ในใจผมคิดว่า สิ่งที่คิดคิดเป็นบัญญัติ ไม่ใช่ธรรม
ท่านอาจารย์: เป็นบัญญัติ แต่ต้องรู้ว่าขณะนั้นเป็นอะไร แต่เรายังไม่ได้พูดถึง เราพูดถึงสิ่งที่มีวันหนึ่งๆ ว่า ถ้าสิ่งที่ถูกคิดเป็นธรรมก็เป็นสิ่งที่มีธรรมบ้างไม่มีธรรมบ้าง ไม่เป็นธรรมบ้างเป็นธรรมบ้างใช่ไหม?
ขอเชิญอ่านได้ที่ ...
อนัตตาสุดโต่ง ใครพูด? ไปเอาคำนี้มาจากไหน? กล่าวตู่ บิดเบือนคำสอน อันตรายอย่างยิ่ง!!
คำว่า อนัตตา หมายความว่าอย่างไร
ขอเชิญฟังได้ที่ ...
ฟังจนมั่นคงในความเป็นอนัตตา
ความเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ
คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับผมอยากให้แน่ใจว่าความหมายของมานิชคืออะไร การที่เราสนทนาธรรมอยู่เราก็เข้าใจเท่าที่เราเข้าใจ เห็น สิ่งที่เห็นเป็นธรรม ได้ยิน กับเสียงเป็นธรรม แต่ว่าเมื่อกี๊เราพูดถึงอาหาร และการลิ้มรส ก็ไม่ได้ถามว่าควรเป็นอย่างนั้นหรือไม่ว่า ตรงนี้เราเข้าใจเท่าที่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ตอนที่เราออกจากห้องนี้แล้ว อย่างเช่นตอนที่เราทานอาหารควรจะมีการพยายามพิจารณาด้วย เพื่อความแน่ใจผมถามเขาว่า ที่พยายามจะถามคำถามอยากรู้ว่า อะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล อะไรถูกอะไรผิด หรือว่าถามว่าควรจะทำตัวอย่างไร เขาก็บอกว่า ควรจะไหมว่า เราพยายามที่จะพิจารณาในชีวิตประจำวันครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เขาจะไม่มีวันรู้เป็นธรรมไม่ใช่เขา และทุกอย่างเป็นอนัตตาเพราะเขาจะทำ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดดงพระธรรม ๔๕ พรรษา ไม่ใช่เพียงแสดงแค่นี้แล้วให้ทำอะไร
เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงที่จะรู้จักคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ทุกวัน คิดนึกทุกวัน แต่ไม่รู้ความจริงว่าเป็นธรรม ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คุณสุคิน: มานิชถามว่า การที่เรามาที่นี่เพื่ออะไร เพื่อบรรลุหรือว่าเพื่อเข้าใจ ผมถามเขาว่าแล้วมาที่นี่เพื่ออะไร เขาตอบว่า เพื่อความเข้าใจ แล้วผมก็ถามเขาว่า บรรลุนี่คืออย่างไร แล้วจะไปถึงนั่นอย่างไร ผมก็พูดว่าเป็นการเจริญความเข้าใจทีละเล็กทีละหน่อยใช่หรือไม่ เขาก็ตอบว่า ตกลงการบรรลุนี่เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ
ท่านอาจารย์: คุณมานิชจะบรรลุอะไร?
มานิช: บรรลุสิ่งที่มีจริงทุกอย่าง
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้รู้แล้วหรือยัง?
มานิช: รู้ว่ากำลังดำเนินทางนั้นอยู่ครับ มีความเข้าใจนิดหน่อยครับ
ท่านอาจารย์: เวลาที่ได้ยินว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วคุณมานิชจะทำเพื่อรู้ธรรม ขณะนั้นรู้จักธรรมหรือเปล่า?
มานิช: เข้าใจครับว่า ตอนนั้นไม่มีความเข้าใจ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จะบรรลุอะไร?
คุณสุคิน: ฟังคำตอบแล้ว คุณมานิชก็พูดว่า ตอนนี้ความคิดผิดๆ มีมากครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา เพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่เราพูดแล้ว เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกทุกวันทั้งวัน ตั้งแต่เกิดจนตาย
มานิช: เข้าใจครับว่าพระพุทธองค์สอนให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น รีบร้อนจะรู้ได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ ยิ่งพยายามเร่งก็ยิ่งผิด
ท่านอาจารย์: จนกว่าจะเข้าใจมั่นคงในธรรมแต่ละหนึ่งธรรม ๔๕ พรรษา แล้วเดี๋ยวนี้กี่คำ? ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เรื่องอื่น แต่เป็นเรื่องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ตลอดทุกวันทั้งชีวิต
เดี๋ยวนี้คุณมานิชรู้จักธรรมหรือยัง?
มานิช: ยังครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ฟังละเอียด ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เดี๋ยวนี้มีเห็นไหม?
มานิช: มีครับ
ท่านอาจารย์: เห็น เกิดหรือเปล่า?
มานิช: เกิดครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าเห็นไม่เกิด มีเห็นไหม?
มานิช: ไม่มีครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดแล้วต้องดับไปใช่ไหม?
มานิช: ใช่ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ หนึ่ง เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้น เห็น คุณมานิชทำให้เห็นเกิดได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์: ใครทำให้เห็นเกิดได้?
มานิช: ไม่มีใครครับ
ท่านอาจารย์: ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมทุกอย่างเกิดเมื่อมีเหตุอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ถ้าไม่มีจักขุปสาทะ จะเห็นได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์: แล้วทำไมจักขุปสาทะเกิดได้?
มานิช: ตา เกิดเพราะเหตุปัจจัยครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงเหตุปัจจัย ใครจะรู้ไหมว่าทุกอย่างเกิดเพราะอะไร?
มานิช: คิดก็ไม่ได้ คิดก็ไม่ถึงครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงความจริงให้รู้ แม้แต่ เห็น หนึ่งขณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า อะไรเป็นปัจจัยให้เห็นเกิด
เห็นเกิดแล้วไม่ดับได้ไหม?
มานิช: ถ้าเกิด ต้องดับครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ทุกอย่างมีปัจจัยทำให้เกิดแล้วดับ
คุณสุคิน: มานิชถามว่า อย่างนี้อย่างเดียวกันความหมายเดียวกันหรือไม่ว่า ทุกอย่างที่เกิดเกิดเพราะเหตุปัจจัย และดับก็ดับเพราะเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์: ปัจจัยทำให้เกิดเท่านั้น ปัจจัยทำให้เกิด จบหน้าที่ของปัจจัยแล้ว สิ่งนั้นเกิดแล้วก็ต้องดับ
เพราะฉะนั้น ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดทุกขณะ เกิดดับๆ สิ่งที่ดับแล้วจะกลับมาเกิดอีกได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: ตายแล้วจะเกิดเป็นคนนี้อีกไหม?
มานิช: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: เกิดอย่างไรๆ ก็ต้องไม่ใช่คนนี้
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: แสดงว่า ทุกอย่างเป็นธรรมจริงๆ เกิดแล้วก็ดับ ไม่กลับมาอีกเลย
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: วันนี้โกรธไหม?
มานิช: โกรธครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่มีปัจจัยให้โกรธเกิด โกรธเกิดได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์: แล้วโกรธที่ดับแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นโกรธนั้นอีกได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ แต่มีคำถามว่า โกรธเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ แต่ว่าวันหนึ่งอาจไม่มีปัจจัยให้โกรธเกิดเลย มีไหมครับ?
ท่านอาจารย์: ลองดูๆ
มานิช: ก็บังคับไม่ได้ ต้องเกิดขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนถ้ามีปัจจัยให้เกิดก็เกิด แต่มีไหมว่าจุดหนึ่งโกรธอาจจะไม่เกิด
ท่านอาจารย์: ก็ให้ลองดูต่อไปซิ
เพราะฉะนั้น เริ่มมีความเข้าใจมั่นคงว่า ทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น โกรธเป็นโกรธไม่ใช่ใคร
ถ้าคุณมานิชจะฟังธรรมต่อไปด้วยความไม่มั่นคงว่า เป็นธรรม คุณมานิชไม่สามารถจะเข้าใจธรรมได้ ไม่สามารถที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระองค์เป็นผู้ที่ประเสริญเลิศที่สุดในสากลจักรวาล
เพราะฉะนั้น จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะไม่ได้เข้าใจธรรมเลยได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้
ท่านอาจารย์: คุณมานิชรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วหรือยัง?
มานิช: ยัง
ท่านอาจารย์: ไม่รู้หรือว่าพระองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา?
มานิช: เข้าใจครับ
ท่านอาจารย์: เริ่มรู้จักว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงทุกขณะ ตลอดชีวิตเกิดมาเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เท่านั้นหรือ มีอะไรอีกไหม?
มานิช: นอกจากนี้ ก็ไม่มีอะไรอีกแล้วในชีวิต
ท่านอาจารย์: วันนี้นอกจาก เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ลองคิดดู มีอะไรอีกที่ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวแล้ว?
มานิช: มีแค่ ๖ ทวารนี้ครับ
ท่านอาจารย์: ถามว่า โกรธมีไหม?
คุณสุคิน: เมื่อกี๊ตอนท้ายเขาพูดว่า จะพูดถึงกุศล อกุศล ก็จบใน ๖ ทางนี้ เพราะฉะนั้น ตรงนั้นผมว่า ความหมายหมายถึงว่า ทุกอย่างอย่างอื่นก็รวมอยู่ในมโนทวารครับ
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแค่นี้หรือ? ๔๕ พรรษาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอะไรบ้าง?
มานิช: ก็คือ ๖ ทวารนี้ แล้วก็รวมในใจ กุศลอกุศลต่างๆ
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเท่านี้หรือ?
มานิช: เท่านี้ก็เยอะแล้วครับ
ท่านอาจารย์: แล้วรู้หรือยังว่าไม่มีมานิช แต่มีธรรม?
มานิช: เข้าใจมั่นคงครับว่า มีแต่ธรรม ไม่มีมานิช
ท่านอาจารย์: ถ้ามั่นคงนะ โกรธเป็นอะไร?
มานิช: เมื่อกี๊เหมือนหลงเข้าใจผิดว่า โกรธไม่ใช่ธรรม แต่ตอนนี้พิจารณาแล้ว โกรธเป็นธรรมครับ
ท่านอาจารย์: รู้เท่านั้พอไหม?
มานิช: ไม่พอครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษาจนสามารถรู้ เห็น ที่เกิดแล้วดับได้ จึงไม่ใช่คุณมานิชอีกต่อไป
รู้หรือยังว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา เรื่องอะไร?
มานิช: ไม่รู้ครับว่า สอนอะไร
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่มีจริงทุกขณะตลอดชีวิต ให้เข้าใจถูกต้องสิ่งที่มีจริงต้องมีปัจจัยเกิดแล้วดับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เดี๋ยวนี้อะไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา?
มานิช: เห็นครับ
ท่านอาจารย์: อะไรอีก?
มานิช: ได้ยิน
ท่านอาจารย์: อะไรอีก?
มานิช: ลิ้มรส
ท่านอาจารย์: อะไรอีก?
มานิช: นึกได้แค่ ๓ ครับ
ท่านอาจารย์: ทั้งหมดค่ะ ไม่ใช่แค่ ๓ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มี เป็นธรรมหนึ่งๆ ๆ ๆ ที่จะต้องรู้ จึงสามารถที่จะไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่ฟัง คำ ของพระองค์ จะรู้ไหมว่า ๔๕ พรรษาเป็นเรื่องของสิ่งที่มีจริงทุกขณะละเอียดขึ้นๆ ละเอียดอย่างยิ่งจนสามารถที่จะรู้ว่า ความจริงเป็นอย่างนั้นแน่นอน.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: รู้หรือยัง ว่า ฟังธรรมเพื่ออะไร?
มานิช: เพื่อ ...
ท่านอาจารย์: เพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ใช่ไหม?
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าฟังแล้วยังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ ยังไม่ใช่ความเข้าใจมั่นคงว่า ไม่มีคุณมานิช ไม่มีอะไร แต่เป็นธรรมทั้งหมด
ถ้าเห็นไม่เกิด ไม่มีเห็น ก่อนเห็นไม่มีเห็นเลย แล้วเห็นเกิดแล้วดับ เห็นเป็นนก หรือเห็นเป็นคน?
มานิช: เห็นเป็นเห็น ไม่ใช่นก ไม่ใช่คน
ท่านอาจารย์: นกเห็ไหม?
มานิช: เห็นครับ
ท่านอาจารย์: คนเห็นไหม?
มานิช: ไม่เห็นครับ
ท่านอาจารย์: คนเห็นหรือไม่เห็น?
มานิช: ไม่เห็นครับ
ท่านอาจารย์: นกเห็นไหม?
มานิช: ไม่เห็น
ท่านอาจารย์: อะไรเห็น?
มานิช: เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น มีเห็นเห็น
ท่านอาจารย์: ก่อนเห็น มีเห็นไหม?
มานิช: ไม่ครับ
ท่านอาจารย์: เห็นเกิดขึ้นจึงเห็นใช่ไหม?
มานิช: ใช่ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เห็นเป็นอะไร?
มานิช: ธรรมหนึ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์: ต่างกับสิ่งที่ถูกเห็นไหม?
มานิช: ต่างครับ
ท่านอาจารย์: ต่างกันตรงไหน?
มานิช: รู้ว่าต่างกัน แต่ไม่รู้ว่าต่างกันอย่างไรครับ
ท่านอาจารย์: อะไรเป็นสิ่งที่ถูกเห็น?
มานิช: สี
ท่านอาจารย์: เห็น กับสิ่งที่ถูกเห็นต่างกันไหม?
มานิช: ต่างกันครับ
ท่านอาจารย์: ต่างกันอย่างไร?
มานิช: อันหนึ่งเห็น และอีกอันถูกเห็นครับ
ท่านอาจารย์: แล้วต่างกันอย่างไร?
มานิช: ต่างกันตรงที่ ถ้าไม่มีสี ก็ไม่มีเห็น
ท่านอาจารย์: มีสี ไม่มีเห็นได้ไหม?
มานิช: ตอนนี้พิจารณาใหม่ว่า สี หรือรูปารมณ์มี แต่ไม่เห็นได้ครับ
ท่านอาจารย์: ถ้ามีปัจจัยให้เกิดก็เกิด แต่ปรากฏหรือไม่ปรากฏต่างกัน
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด ทุกอย่างเป็นไปเพราะสิ่งนี้ คือธาตุรู้ ที่เกิดขึ้นรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ธรรมมีจริง แต่ต่างกันเป็น ๒ ประเภท ธรรมอย่างหนึ่งเกิด แต่ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย เสียง เป็นเสียง ไม่รู้อะไร กลิ่น เป็นกลิ่น ไม่รู้อะไร รส เป็นรส ไม่รู้อะไร เป็นรูปธรรม แต่ถ้าไม่มี ธาตุรู้ เกิดขึ้น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส อะไรก็ปรากฏไม่ได้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงเกิดขึ้นรู้ เป็นนามธรรม ไม่มีคุณมานิชตอนเกิด เป็นอะไรเกิด?
มานิช: เป็นนามธรรมครับ
ท่านอาจารย์: อะไรเป็นนามธรรม?
มานิช: เป็นสิ่งที่เกิด แล้วรู้ครับ
ท่านอาจารย์: ต่อไปนี้เราจะเรียกนามธรรมนั้น ว่า จิตตะ ไม่มีมานิช แต่มีธาตุรู้เกิดขึ้นได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้น ธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฏ เป็นจิตตะ
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: โกรธ เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม?
มานิช: ไม่ได้เป็นนามธรรม รูปธรรม เพราะโกรธจะรู้อะไร
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้อะไร จะโกรธไหม?
มานิช: เป็นนามธรรมครับ
ท่านอาจารย์: แต่ไม่ใช่จิตตะ จิตตะเป็นธาตุรู้เกิดทุกขณะตั้งแต่เกิด จิตตะเห็น
โกรธ โกรธอะไร?
มานิช: ถ้าใครพูดอะไรไม่น่าฟัง
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิต ได้ยินเสียง แต่ไม่โกรธ จิตโกรธไม่ได้เพราะอะไร?
มานิช: ยังไม่เข้าใจครับ
ท่านอาจารย์: นี่ต้องฟังธรรมต่อไป ไม่ใช่เพียงได้ยินว่า มีธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม
มานิช: ต้องฟังเยอะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ฟังต่อไปๆ จะไม่มีความมั่นคงว่า ธรรมเป็นธรรม ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นอนัตตา
เป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดดีไหม?
มานิช: ไม่ดีครับ
ท่านอาจารย์: เพราะอะไรถึงไม่ดี?
มานิช: เพราะไม่เข้าใจ ไม่ได้เป็นความจริง
ท่านอาจารย์: แล้วความจริง คืออะไร?
มานิช: ความจริง ก็คือว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับ
ท่านอาจารย์: ถูกต้องที่สุด
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: แต่ยังไม่ประจักษ์แจ้งสิ่งที่เกิดแล้วดับที่เป็นธรรม เพียงเข้าใจว่าเกิดแล้วดับ
นี่เป็นความต่างกันของเราทุกคน กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ รู้แจ้งธรรม หมดกิเลส แล้วถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า?
มานิช: เป็นครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เริ่มรู้จักพระพุทธเจ้าทีละเล็กทีละน้อยใช่ไหม?
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: ไม่รู้จักพระพุทธเจ้ามานานเท่าไหร่?
มานิช: นานมาก
ท่านอาจารย์: แล้วเริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานเท่าไหร่?
มานิช: เพิ่งเริ่ม
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแค่ไหน?
มานิช: น้อยมาก เพราะเข้าใจน้อยมาก
ท่านอาจารย์: และจะรู้จักมากขึ้นได้ไหม?
มานิช: ได้ครับ
ท่านอาจารย์: เมื่อไหร่?
มานิช: ตามที่เป็นอยู่ ฟังแล้วก็เข้าใจเพิ่มขึ้นทีละนิดทีละหน่อยครับ
ท่านอาจารย์: เคารพมากขึ้นทุกครั้งที่เข้าใจเพิ่มขึ้น ต้องการที่จะรู้ความจริงไหม?
มานิช: ต้องการครับ
ท่านอาจารย์: จะรู้ได้อย่างไร?
มานิช: ฟังแล้วเจริญความเข้าใจครับ
ท่านอาจารย์: ฟัง คำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรู้ความลึกซึ้งที่พระองค์ทรงแสดง
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้มี ธรรม ไหม?
มานิช: มีครับ
ท่านอาจารย์: มี มานิช ไหม?
มานิช: ไม่มีครับ
ท่านอาจารย์: จริงไหม จริงหรือยัง?
มานิช: เท่าที่เข้าใจครับ
ท่านอาจารย์: เข้าใจธรรมพอหรือยัง?
มานิช: ยัง
ท่านอาจารย์: ถ้าเข้าใจกว่านี้ จะเป็นประโยชน์มากกว่านี้ไหม?
มานิช: ถ้ายิ่งเข้าใจยิ่งเป็นประโยชน์
ท่านอาจารย์: จะฟังต่อไปไหม?
มานิช: ฟังครับฟังต่อไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์: เป็นสัจจบารมี ถ้าไม่เข้าใจความละเอียด ไม่ใช่ปัญญาบารมี
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: ถ้ารู้ว่า อะไรถูกอะไรผิด ความเข้าใจถูกเป็นปัญญาบารมี
มานิชดีไหม?
มานิช: มานิชถามกลับว่ามานิช คือใคร?
ท่านอาจารย์: คนที่พูดที่นั่งอยู่ตรงนี้เป็นธรรม แต่ต้องเป็นมานิช ไม่ใช่คุณสุคิน
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เป็นธรรมทั้ง ๒ แต่ไม่รู้ว่าธรรมไหน จึงต้องมีชื่อให้รู้ว่า ธรรมนี้ ธรรมนั้น จึงต้องมีคำสำหรับเรียกธรรมทุกอย่าง ให้รู้ว่าเป็นธรรมแต่ละหนึ่งเท่านั้น และธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่ว่าจะใช้คำอะไร เรียกอะไร
มานิช ดีไหม สัจจบารมี?
มานิช: ไม่ดีครับ
ท่านอาจารย์: มานิชดีไหม ไม่ใช่สุคินดีไหม สัจจบารมี?
มานิช: ไม่ดีครับ
ท่านอาจารย์: ดีเป็นดีไม่ใช่มานิช ไม่ดีเป็นไม่ดีไม่ใช่มานิช
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: ถ้ายังเป็นมานิช คิดว่าเป็นมานิช ดีไหม?
มานิช: ไม่ดีครับ
ท่านอาจารย์: มานิชดีได้ไหม?
มานิช: ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์: แล้วฟังธรรมทำไม?
มานิช: มาเพื่อฟังเพื่อเข้าใจธรรมครับ
ท่านอาจารย์: ฟังเพื่ออะไร?
มานิช: เพื่อลดความไม่รู้ และกิเลสอื่นๆ ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เป็นปัญญาบารมีที่จะรู้ว่า จะลดกิเลส และความไม่รู้ได้อย่างไร?
ถ้าไม่ฟังธรรม จะไม่ดีเพิ่มขึ้นๆ ใช่ไหม?
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ว่า ทุกคนไม่ดี แต่ถ้าไม่ฟัง คำ ของพระองค์ จะไม่ดีๆ เพิ่มขึ้นๆ ความไม่ดีเป็นโทษมากไหม?
มานิช: เป็นโทษมากครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่รู้ความจริง จะไม่ดียิ่งขึ้นใช่ไหม?
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระคุณสูงสุดที่ทำให้คุณมานิชไม่ดีน้อยลงทีละนิดทีละหน่อย
ถ้าไม่ฟัง คำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนมีแต่จะไม่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโทษมากยิ่งขึ้น เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง?
ถ้าเข้าใจมากกว่านี้ ความเข้าใจถูกต้องนั่นเอง จะทำให้รู้ว่าอะไรไม่ดี และทำไม่ดีน้อยลง
มานิช: ครับ
ท่านอาจารย์: ยินดีที่คุณมานิชมีที่พึ่ง คือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะฟังต่อไป
ในชีวิต อะไรเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดประเสริฐที่สุด
เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุด คือทุกขณะที่เข้าใจ คำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถ้าเห็นประโยชน์สูงสุดอย่างนี้ จะทำให้เป็นผู้ที่ตรงต่อความจริง ถ้าไม่ตรงต่อความจริงไม่ใช่สัจจบารมี
ถ้าไม่มีสัจจบารมี จะไม่มีอธิษฐานบารมี
รู้ว่าพระธรรมยาก แต่ไม่ท้อถอยเป็น ขันติบารมี
ถ้าเข้าใจธรรม แต่ไม่ประพฤติตามธรรม ชื่อว่า ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ