ขอเรียนถามเรื่องศีล
โดย Pinyapachaya  3 ม.ค. 2553
หัวข้อหมายเลข 14973

กราบเรียนถามและสนทนากับสหายธรรมทุกท่านค่ะ

อยากขอเรียนถามว่า ศีล เกิดขึ้นในขณะที่งดเว้นไม่กระทำการละเมิดเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่อาจจะละเมิดได้ ใช่หรือเปล่าคะ ดิฉันเข้าใจว่าศีลไม่ได้เกิดตลอดทั้งวันทั้งคืน ทั้งๆ ที่สมาทานถือศีลทั้งวันทั้งคืน ไม่ทราบว่าดิฉันเข้าใจผิดหรือถูกอย่างไร โปรดช่วยอธิบายให้เข้าใจทีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

กุศลศีล ต้องหมายถึงขณะจิตที่เป็นกุศล มีเจตนาวิรัติ งดเว้นจากทุจริตทางกายทางวาจา ขณะจิตที่เป็นอกุศล ขณะจิตที่เป็นวิบาก ไม่ใช่ศีล แต่เมื่อจะกล่าวโดยรวมบุคคลผู้สมาทานศีล หรือมีเจตนาเว้นจากทุจริต ตราบใดที่เขาไม่ล่วงละเมิดศีลแม้เขาจะหลับ หรือกำลังมีอกุศลจิตอยู่ ก็เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้มีศีล หรือแม้แต่พระภิกษุหลังท่านอุปสมบทแล้ว ตลอดเวลาที่ท่านไม่ล่วงละเมิดพระวินัย ก็เรียกว่าเป็นผู้มีศีล


ความคิดเห็น 2    โดย Pinyapachaya  วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย วิริยะ  วันที่ 3 ม.ค. 2553

เรียนถามค่ะ

ขอยกตัวอย่างสักนิดนะคะ เช่น ไม่ได้ตบยุงเลยทั้งวัน ก็มิได้เรียกว่าเป็นผู้มีศีล แต่ถ้ายุงกำลังจะกัดแล้วระลึกขึ้นได้ว่า อย่าทำปาณาติบาตเลย เช่นนี้เรียกว่า เป็นผู้มีศีล ถูกต้องหรือไม่


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 3 ม.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ 3

ศีลคือขณะที่งดเว้นที่จะไม่ทำบาปหรือขณะที่สมาทานที่จะถือเอาศีลในขณะนั้น ขณะนั้นชื่อว่ามีศีล ดังนั้น ในขณะที่คุณงดเว้นที่จะไม่ตบยุงในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อว่ามีศีลแล้วในขณะนั้นครับ


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 3 ม.ค. 2553

การสมาทานศีลครั้งเดียวแล้วตั้งใจรักษาศีล 5 ตลอดชีวิต เรียกว่าเป็นผู้มีปกติรักษาศีล แต่ถ้าไม่ได้สมาทาน เมื่อเจอเหตุการณ์เฉพาะหน้าแล้ววิรัติ ขณะนั้นก็เป็นศีลค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย พุทธรักษา  วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย Sam  วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย วิริยะ  วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย narong.p  วันที่ 5 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย bauloy  วันที่ 6 ม.ค. 2553

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ


ความคิดเห็น 11    โดย nida  วันที่ 7 ม.ค. 2553

คนทั่วไปมักจะรักษาศีล แต่ผู้มีปัญญานั้นมีศีลรักษาตน ต่างกันมากเลยนะ

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 12    โดย Zer02  วันที่ 9 ม.ค. 2553

อาตมาขอถามคุณโยมย้อนกลับบ้างว่า บุคคลที่เขามีเงินฝากอยู่ในธนาคาร สมมติว่าสักหนึ่งล้าน (เงินนี้ก็เป็นเงินที่เขาหามาโดยสุจริตนะ) บุคคลผู้นี้ไม่มีเงินสดอยู่ในมือแม้แต่บาทเดียว แต่เขาก็มีหลักฐานพอที่จะยืนยันจำนวนเงินของเขา อยากทราบว่าบุคคลผู้นี้ฐานะของเขาถือว่าเป็นคนมีเงินหรือไม่ หรือจะถือว่ามีเงินก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินให้ใครๆ เห็น (กรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน และมีใจเป็นฐานแห่งความสำเร็จจ้า)

ขอเจริญพร
พระไพศาล สุภทฺโท


ความคิดเห็น 13    โดย oom  วันที่ 12 ม.ค. 2553

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

โยมขอแสดงความคิดเห็นว่า เงินมีเมื่อปรากฎ ถ้ายังไม่ปรากฎเงินก็ไม่มี ที่ว่ามีนั้นเป็นเพียงความคิดนึกว่า มีเงินอยู่ในธนาคาร จริงๆ ทุกอย่างเป็นธรรมะ มีจริงเมื่อกำลังปรากฎ และเป็นความยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เจ้าค่ะ

ขอกราบนมัสการค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย WS202398  วันที่ 13 ม.ค. 2553

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ผมเห็นว่า ตอนเขามีเงิน หมายความว่า เขามีโอกาส มีความน่าจะเป็นที่จะใช้เงินนั้น ตอนเขาใช้เงินก็หมายความว่า เขาได้ใช้ มีโอกาส มีที่จะใช้เงินนั้นแล้ว แต่ตอนเขามีเงินก็ไม่แน่นอนว่าเขาจะมีโอกาสเงินนั้น เพราะเขาอาจตายก่อน ตอนจะใช้แบงค์อาจล้ม ตู้เอทีเอ็มอาจเสีย แบงค์อาจปิดวันนั้นก็ได้ ดังนั้นสิ่งใดจะเป็นสิ่งใดก็ต้องเป็นขณะนั้นจริงๆ ขณะอื่นเป็นจริงของขณะอื่น และเป็นบัญญัติของขณะที่มุ่งหมายจะกล่าวถึงในเมื่อมันยังไม่เกิดขึ้นจริง มันอยู่ที่นิยาม

ขอกราบนมัสการ


ความคิดเห็น 15    โดย รากไม้  วันที่ 26 ม.ค. 2553

กราบเรียนด้วยความเคารพ พระ ไพศาล สุภทฺโท

ความจริง คือ เขามี แต่อาจไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น ในความจริง จึงคิดไปเองว่า เขาไม่มี เป็นสัจจะธรรม อย่างหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่า อย่าไปยึดถือเอาว่า ทุกอย่างจะต้องเป็นไปอย่างที่เราคิดเอง มิฉะนั้นแล้ว ความรู้จริงจะไม่เกิด

กราบอนุโมทนา ทุกดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม


ความคิดเห็น 16    โดย sunshine  วันที่ 26 ม.ค. 2553

คุณ nida กล่าวประโยคนี้ได้ลึกซื้ง มีความหมายลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ขออนุญาตแสดงความชื่นชม กำลังทำอย่างที่ท่านกล่าวอยู่เหมือนกัน แต่ก็อย่างว่า ธรรมะของพระพุทธองค์เป็นเรื่องลึกซึ้งยากที่จะปลงใจได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและประณึต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยที่รู้ได้เฉพาะบัณฑิต"