[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 63
๑๐. ทุติยปริยาทานสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อความครอบงําอุปาทาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 63
๑๐. ทุติยปริยาทานสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทาน
[๖๕] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. จักษุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 64
พ. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกกสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง.
จบ ทุติยปริยาทานสูตรที่ ๑๐
อวิชชาวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 65
ทุติยปัณณาสก์
อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ ๑
ในอวิชชาวรรคที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ ความไม่รู้ในสัจจะ ๔. บทว่า วิชฺชา ได้แก่ รู้แจ้งอรหัตตมรรค. บทว่า อนิจฺจโต ชานโต ปสฺสโต ความว่า เมื่อรู้ เมื่อเห็น ว่าเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่า ย่อมละได้ เหมือนกัน. ก็คำนี้ ตรัสไว้โดยอัธยาศัยของบุคคลผู้ตรัสรู้ ในเมื่อตรัสโดยเป็นของไม่เที่ยง. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ในที่นี้ บทว่า สญฺโชนา ได้แก่ สัญโญชน์ ๑๐. บทว่า อาสวา ได้แก่ อาสวะ ๔. บทว่า อนุสยา ได้แก่ อนุสัย ๗. บทว่า สพฺพูปาทานปริญฺา ได้แก่ เพื่อรู้ชัดอุปาทานหมดทั้ง ๔ ด้วยปริญญา ๓. บทว่า ปริยาทานาย ได้แก่ เพื่อความเกษม. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑ อวิชชาสูตร ๒. ปฐมสังโยชนสูตร ๓. ทุติยสังโยชนสูตร ๔. ปฐมอาสวสูตร ๕. ทุติยอาสวสูตร ๖. ปฐมอนุสัยสูตร ๗. ทุติยอนุสัยสูตร ๘. ปริญญาสูตร ๙. ปฐมปริยาทานสูตร ๑๐. ทุติยปริยาทานสูตร.