อุปนิสสยโคจร [สีลวเถรคาถา]
โดย wittawat  25 พ.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18411

ความหมายของโคจร

-โค คือ อินทรีย์ หมายถึง มนินทรีย์

-จร คือ การไป หรือ การท่องเที่ยวไป

-โคจร หมายถึง อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต (จิต เป็นมนินทรีย์)

ความหมายของอุปนิสสย โดยนัยของอนันตรูปนิสสย

-อุป คือ กำลัง

-นิสฺสย คือ ที่อาศัย

-อนนฺตร คือ ไม่มีระหว่างคั่น

-จิตเป็นธาตุที่สามารถที่จะสะสมกุศล และอกุศลทุกอย่าง สืบต่อมาจากจิตขณะก่อนทันทีที่จิตดับก็เป็นปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น

อุปนิสสยโคจร โดยนัยที่มี พระธรรมเป็นอารมณ์

อุปนิสสยโคจร อารมณ์ของจิตธาตุรู้เกิดขึ้นต้องมีสิ่งที่ให้จิตรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สะสมได้ทั้งกุศลและอกุศล ถ้าอารมณ์นั้น คือ พระธรรมที่ทรงแสดง ก็มีคุณค่าประมาณไม่ได้เลย เพราะทำให้สามารถละอกุศลซึ่งสะสมมาแล้วในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีทางใดเลยที่อกุศลจะหมดสิ้นไปได้ ถ้าไม่ใช่ด้วยปัญญา

อ่านข้อความเตือนสติทั้งหมดจากสีลวเถร คาถา..

ข้อความเตือนสติเรื่องสีลวเถรคาถา



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อุปนิสัยโคจร คือ การเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีคุณธรรมมีปัญญาแล้วทำให้ตัวเองเจริญในคุณธรรมและปัญญา เข้าใจถูกในหนทางดับกิเลส เป็นต้น
ดังนั้น เพราะอาศัยกัลยาณมิตร อาศัยที่อาศัยที่มีกำลังจึงทำให้ปัญญาเจริญและถึงการดับกิเลสครับ เพราะฉะนั้นอุปนิสัยโคจรอีกนัยท่านแสดงว่าคือกัลยาณมิตรครับ

ขออนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

ในโคจร ๓ อย่างนั้น อุปนิสสยโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุประกอบด้วยคุณคือกถาวัตถุ ๑๐ มีมิตรดี เข้าไปอาศัยมิตรดีย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังมิได้เคยฟัง ย่อมทำสิ่งที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ข้ามความสงสัย ทำความเห็นให้ตรง ทำจิตให้ผ่องใส เมื่อศึกษาตามย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะปัญญา นี้ชื่อว่า อุปนิสสยโคจร.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย wittawat  วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 26 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 5    โดย chotipong  วันที่ 31 ก.ค. 2563

ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย ตูน  วันที่ 3 มิ.ย. 2564

"อุป-" เป็นคำนำหน้า ที่มีความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งในที่นี้ หมายถึง'ใกล้' หรือ 'เข้าไป'

คงไม่ใช่ในความหมายว่า 'กำลัง' ในแบบ "อนันตรูปนิสสยะ" (ซึ่งเป็นคำในพระอภิธรรม)  เพราะ อุปนิสยยโคจร มีความหมายว่า "เข้าไปใกล้ (หรือเข้าไปหา) มิตรดี" โดยเป็นคำที่ทรงเทศนาแบบพระสูตร ครับ 


ความคิดเห็น 7    โดย khampan.a  วันที่ 3 มิ.ย. 2564

ขออนุญาตเรียนความคิดเห็นที่ ๖  ครับ
โดยความเป็น อุปนิสสยโคจร  ก็ต้องหมายถึง การมีโอกาสได้อาศัยพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง  ตั้งแต่เข้าไปหากัลยาณมิตร ฟังพระธรรมจากกัลยาณมิตร เป็นต้น  จึงจะเป็นที่พึ่งที่อาศัยที่มีกำลังได้ โดยมีพระธรรม นั่นแหละ เป็นอารมณ์ ให้ได้ฟังได้ศึกษา ดังนั้น  อุปนิสฺสย (ที่อาศัยที่มีกำลัง) คำนี้ ไม่เปลี่ยน แม้ในความหมายที่เป็นภาษาบาลี ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆท่านครับ...  


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 3 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 


ความคิดเห็น 9    โดย pnat121214  วันที่ 23 มิ.ย. 2564

สาธุ สาธุ สาธุ


ความคิดเห็น 10    โดย Sea  วันที่ 27 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย muda muda  วันที่ 20 ก.ย. 2567

กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ ประโยชน์อย่างยิ่งเจ้าค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย nui_sudto55  วันที่ 8 พ.ย. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ