ผมเป็นคนหนึ่งที่ถือศีลอุโบสถมาตลอด แต่ยังไม่รู้รายละเอียดบางข้อก็เลยยกให้ศีลไป อย่างเช่น การกินอาหารหลังเที่ยง กินได้ก็มีแต่น้ำปานะ ผมเลยกินแต่น้ำเปล่าปลอดภัยกว่า เลยอยากทราบรายละเอียดจากท่านผู้รู้ธรรมดังนี้ครับ
๑. น้ำปานะ และน้ำอัฐบาล ประกอบด้วยอะไรครับ
๒. การทำศีลอุโบสถขาด สามารถต่อศีลได้ใช่ไหมครับ ยกเว้นข้อวิกาละต่อไม่ได้ใช่ไหมครับ
๓. มีบัญญัติอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มใหนครับ
๔. การสมาทานศีลอุโบสถมีบัญญัติไว้หรือเปล่าครับ ว่าต้องเริ่มจากเวลาเท่าไหร่ จบเมื่อไหร่ ที่ผมรู้มาก่อนเที่ยงวัน จนถึงอรุณแดงขึ้นของวันใหม่ ถูกไหมครับ
๕. การทำผิดศีลอุโบสถมีผลอย่างไรครับ เพราะที่รู้มาคือจะทำให้เป็นนายนิรยบาล ในนรก คอยทรมานสัตว์นรกตอนกลางวัน (เป็นหน้าที่ของท่านเทวดานี้) และกลางคืนก็เสวยสุขบนสวรรค์ หากวันนั้นผมถือศีลอุโบสถ แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ผมสามารถยกเลิกศีลอุโบสถได้หรือไม่ มีวิธีการยกเลิกหรือไม่ ต้องกล่าวอย่างไรครับ เพราะผมกลัวบาปของการผิดศีลครับ
๖. มีบางท่านบอกว่า ศีลอุโบสถหากให้บริสุทธิ์ ให้มาสมาทานก่อนนอนที่ไม่มีกิจต่างๆ ผมว่าไม่น่าใช่นะ เพราะน่าจะสมาทานก่อนเที่ยงนะครับ และเราน่าจะใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ขอบคุณครับ
๑.น้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบาล หมายถึงน้ำที่คั้นจากผลไม้สด และไม่มีกาก น้ำปานะ
๒.ศีลอุโบสถ สมาทานรักษาในวันอุโบสถ วันหนึ่งคืนหนึ่ง ถ้าขาดแล้วเป็นอันขาดทั้งหมด
๓.ศีลอุโบสถ มีบัญญัติในพระไตรปิฎก
๔.การสมาทานศีลอุโบสถ วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่อรุณขึ้น จนถึงอรุณขึ้นอีกวันหนึ่ง
๕.ยังไม่พบคำอธิบายเรื่องนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ควรจะแยกเป็นข้อๆ ว่า ผิดข้อใด โทษมีอย่างไร ถ้าไม่พร้อมหรือไม่สะดวกควรรักษาศีล ๕ ก็พอ ควรเป็นผู้ศึกษาพระธรรมคำสอนให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป เพื่อการอบรมเจริญปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ...
จำเป็นไหมที่ควรจะรักษาอุโบสถ
ขอเรียนถามเรื่อง การรักษาอุโบสถศีล
ถามเรื่องอุโบสถศึล กับ สเปร์ยดับกลิ่นกาย
น้ำปานะ คือ อะไร
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ข้อ ๓. ศีลอุโบสถ มีอยู่ในพระไตรปิฎก เล่ม 34 (อุโบสถสูตร-ปฐมราชสูตร) เล่ม 37 (สังขิตตสูตร-วิตถตสูตร) เล่ม 39 (สักกสูตร) เป็นต้น ฉบับมหามกุฎราช -วิทยาลัยนะ
ข้อ ๔. ตามปกติเป็นอย่างนั้น คือ อรุณขึ้นจนถึงรุ่งขึ้นอีกวัน แต่ในพระไตรปิฎก มีบางคนสมาทานครึ่งวันก็มี เช่น ตอนเย็นถึงรุ่งเช้า เป็นต้น
ข้อ ๕. จากที่คุณกล่าวมาในเรื่องนั้น เป็นเรื่องที่อำมาตย์ผู้หนึ่งรักษาศีลครึ่งวัน ด้วยผลบุญนั้น ท่านจึงอยู่ในวิมานเสวยสุขอยู่ครึ่งวัน คือในเวลากลางคืน แต่ผล ของอกุศลกรรมบางอย่างที่ทำไว้ อีกครึ่งวันท่านต้องเสวยทุกข์จากกรรมนั้นในเวลากลางวัน ดังนั้น การจะได้รับผลกรรมที่ไม่ดีต้องเป็นผลมาจากการล่วงอกุศลกรรมบถ เช่น ฆ่าสัตว์ เป็นต้น จึงควรพิจารณาละเอียดว่า ในขณะที่ ล่วงศีลอุโบสถนั้น ถึงกรรมบถหรือไม่ จนต้องเสวยทุกข์ตามที่กล่าวมาครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณatom ที่รักษาศีล ๘ แต่อย่าลืมว่า ขั้นศีล ขั้นทาน กี่ภพกี่ชาติ ก็ไม่สามารถออกจากวัฏฏะได้ นอกจากอบรมสติปัฏฐาน เป็นหนทางพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีค่ะ
ขอถามอีกนิดครับ เพราะดูรายละเอียดข้างบนเหมือนจะกระจ่างแต่ยังไม่กระจ่างอย่างแท้จริงครับ
๑. เครื่องดื่มชูกำลัง เช่น ลิโพ กระทิงแดง และ น้ำผึ้ง น้ำชา และกาแฟดำไม่ใส่นม ครีมดื่มได้ไหม?
๒. น้ำอัฐบาลที่บอกว่าเป็นกล้วย คือ กล้วยที่ไม่เหลือกากใช่มั๊ยครับ หรือน้ำกล้วยปั่นจะได้มั๊ย?
๓. น้ำเป๊บซี่ โค้ก และ น้ำเกลือแร่ ได้มั๊ยครับ
ขอบคุณครับ
ผู้ที่ถือศีล ๘ จุดประสงค์เพื่อขัดเกลาความติดข้องต่างๆ ที่ทำให้เกิดอกุศล
๑. ลิโพ กระทิงแดง กาแฟดำ ถึงจะไม่ใส่นม ถ้ารักษาศีล ๘ ก็ไม่สมควรดื่มค่ะ เพราะมีสิ่งเสพติดผสมอยู่ค่ะ ส่วนน้ำผึ้งเป็นเภสัช ถ้าร่างกายอ่อนเพลียดื่มได้ค่ะ
๒. น้ำอัฐบาล เป็นน้ำปานะ ๘ อย่าง น้ำกล้วยปั่น ถ้ากรองแล้วไม่มีกากก็ดื่มได้ค่ะ
๓. น้ำเป๊ปซี่ โค้ก ก็ดื่มไม่ได้ค่ะ ไม่สมควรดื่มค่ะ ส่วนน้ำเกลือแร่ ถ้าไม่สบายก็ดื่มได้เพื่อรักษาโรค
ขอสอบถามอีกครั้งสำหรับน้ำปานะครับ
อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร
จากข้อความดังกล่าว ผมอ่านบางตอนที่คุณ wannee.s Postไว้บอกว่า ดื่มโค้กไม่ได้เพราะมีการต้มด้วยไฟของผลโค้กครับ ถ้าเป็นอย่างงั้น กรณีน้ำเก๊กฮวย ที่ใช้ต้มด้วยไฟก็ดื่มไม่ได้ใช่มั๊ยครับ ไม่รู้ว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่า หรือเป็นใบไม้ต้มได้ครับ (เห็นหลายวัดพระฉัน น้ำเก๊กฮวย)
๑. น้ำปานะทุกชนิดตกลงต้องคั้นสดๆ ห้ามต้มใช่มั๊ยครับ หรือห้ามต้มเฉพาะผล ใบต้มได้?
๒. ผมอ่านแล้ว ก็งงๆ ครับ น้ำปานะเป็น ส่วนย่อยของน้ำอัฐบาลใช่หรือไม่ครับ? แล้วน้ำปานะกับน้ำอัฐบาลต่างกันอย่างไรครับ?
๓. เพราะเหตุใด กาแฟดำ ที่ไม่ใส่นม ครีมถึงดื่มไม่ได้ครับ /เมล็ดกาแฟเป็นผลไม้เล็กหรือไม่?
ขอบคุณครับขออนุโมทนากับทุกท่านที่ให้ธรรมทานครับ
๑. น้ำปานะทุกชนิดต้องคั้นสดๆ ห้ามต้มด้วยไฟ
๒. น้ำปานะกับน้ำอัฏฐบาลไม่ต่างกัน เพราะในตอนแรกทรงอนุญาตน้ำผลไม้ ๘ ชนิด
๓. กาแฟไม่ใช่น้ำปานะ ในเวลาวิกาลพระภิกษุดื่มไม่ได้ เพราะผ่านการต้ม
ขอบคุณครับกระจ่างแล้วครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ