๗. ทุติยภิกขุสูตร ความกําจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ
โดย บ้านธัมมะ  5 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37577

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 22

๗. ทุติยภิกขุสูตร

ความกําจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 22

๗. ทุติยภิกขุสูตร

ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ

[๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 23

ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.

ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ

[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.

จบทุติยภิกขุสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุติยภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยภิกขุสูตรที่ ๗.

บทว่า นิพฺพานธาตุยา โข เอตํ ภิกฺเข อธิวจนํ ความว่า นั่นเป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็นอมตะ. บทว่า อาสวานํ ขโย เตน วุจฺจติ ท่านแสดงว่า อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ เพราะความกำจัดราคะเป็นต้นนั้นเสียได้. พระอรหัต ชื่อว่า ความสิ้นอาสวะ. บทว่า ราควินโย เป็นอาทินั่น เป็นชื่อแม้ของพระอรหัตเท่านั้น. บทว่า


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 24

เอตทโวจ ความว่า เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ เมื่อทูลถามจึงได้กราบทูลอย่างนี้ว่า พระศาสดาเมื่อตรัสว่า ธาตุ ก็ตรัสนิพพานแก่เราแล้ว. ส่วนทางแห่งนิพพานนั้นพระองค์ยังไม่ตรัส เราจักทูลให้พระองค์ตรัสทางแห่งนิพพานนั้น จึงทูลถามดังนี้.

จบอรรถกถาทุติยภิกขุสูตรที่ ๗