ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อหมอที่จะเยียวยาความเจ็บป่วยมีอยู่
ถ้าไม่แสวงหาหมอนั้น ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บป่วย
นั่นไม่ใช่ความผิดของหมอ
เป็นความผิดของบุรุษนั้นแต่ผู้เดียว ฉันใด
ก็ผู้ใดถูกความเจ็บป่วย คือ กิเลสบีบคั้นหนัก
ไม่แสวงหาศาสดาผู้ฉลาดในทางระงับกิเลสซึ่งมีอยู่
ก็เป็นความผิดของบุรุษผู้นั้นผู้เดียว
ไม่ใช่ความผิดของศาสดา
ผู้ขจัดความเจ็บป่วยคือกิเลส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เรื่องสุเมธดาบส พระสุตตันตปิฏก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ หน้า 173
ไม่แสวงหาศาสดาผู้ฉลาด
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ
บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ผิด กล่าววาจาผิด กระทำการงานผิดด้วยกาย ผู้มีการสดับน้อย ทำกรรมอันไม่เป็นบุญไว้ ในชีวิตอันมีประมาณน้อย ในมนุษยโลกนี้ เขาผู้มีปัญญาทราม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก
มิจฉาทิฏฐิสูตร พระสุตตันตปิฏก
ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๕ น. ๔๒๒
มิจฉาทิฏฐิสูตร - ๑๙-o๙-๒๕๕๘
WRONG VIEW
An individual here with a wrongly directed mind who utters wrong speech and performs wrong deeds, one of little learning, who does demerit in this short life-upon the perishing of the body that foolish one is reborn in hell.
ภัยที่หลายคนประสบไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว เป็นต้น เป็นภัยที่น่ากลัว เพราะนำมาซึ่งความทุกข์ ความเดือดร้อน แต่ก็เป็นภัยภายนอก ที่เมื่อรู้ล่วงหน้าก็ยังหาทางป้องกัน หรือหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยเหล่านั้นได้ แต่ภัยภายใน คือ กิเลสอกุศลธรรมทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยังมีอยู่ครบ เป็นภัยที่น่ากลัวที่สุด เพราะกิเลสนี้เองที่ทำให้สังสารวัฏฏ์ดำเนินต่อไป มีการเกิดในภพต่างๆ ต้องประสบกับภัยต่างๆ มากมาย เดือดร้อนอย่างไม่มีวันจบสิ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ประสบกับภัยภายนอก แต่ก็ต้องประสบทุกข์จากภัยภายใน คือกิเลส อยู่ร่ำไป
หนทางที่จะเป็นเครื่องป้องกันภัยภายใน มีหนทางเดียวเท่านั้น คือ การอบรมเจริญปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถเห็นว่ากิเลสนั่นเองที่เป็นภัย จึงไม่สามารถขัดเกลาละคลายกิเลสได้เลย การฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสไปตามลำดับ จนกว่าจะสามารถดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีก ไม่ต้องเกิดมาประสบกับภัยต่างๆ อีกต่อไป
www.dhammahome.com
ธรรมะวันนี้ สี่คำ
#สงบเสงี่ยม สภาพจิตที่สงบจากอกุศล ได้แก่จิตที่เป็นกุศล
#ศีล ความปกติ
#อินทรีย์ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตน โดยที่ไม่มีสภาพธรรมอื่นเข้ามาก้าวก่ายได้
#กามสัญญา ความจำที่เป็นไปกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
บ้านธัมมะ
www.dhammahome.com
ยินดีในกุศลจิตครับ