สติ ปัญญา นาม รูป...ย่อมดับไปที่ไหน อย่างไร?
โดย พุทธรักษา  14 มี.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11616

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ในการเป็นกลุ่ม ของนามรูป ... กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น อันใด อุปาทานขันธ์ ๕ อันนั้น เป็นนามรูปนี้ ฯ ในนามรูปนั้น ... . ธรรมใดมีผัสสะเป็นที่ ๕ ... ธรรมนี้ เป็นนาม. รูปอินทีย์ ๕ อันใด ... อินทรีย์ ๕ นี้ เป็นรูป.นามและรูป ทั้ง ๒ นั้นชื่อว่า นามรูป ซึ่งเกิดพร้อมกับวิญญาณฯ ท่านอชิตะ เมื่อจะถาม ความเกิดดับของนามและรูปที่เป็นไปกับปัญญาและสตินั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวอย่างนี้ในปารายนวรรค ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และ นาม รูป ธรรมทั้งหมดนี้ ย่อมดับไป ณ ที่ไหน พระองค์ ... อันข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด" ฯ
ในคาถานั้นสติ และ ปัญญา จัดเป็น อินทรีย์ ๔ คือ สตินทรีย์ ๒ ... ได้แก่ สตินทรีย์ และ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ๒ ... ได้แก่ ปัญญินทรีย์ และ วิริยินทรีย์ ฯ (ในวิจัยนี้ ท่านประสงค์เอาการละปริยุฏฐาน และการถอนอนุสัย จึงกล่าว่า สมาธินทรีย์ อาศัยสตินทรีย์ จึงสำเร็จการละปริยุฏฐาน ปัญญินทรีย์ ... อาศัย สัมมัปปธาน ๔ จึงสำเร็จการละ คือ ถอนอนุสัยได้เท่านั้น เป็นเหตุ ฯ ... อีกอย่างหนึ่ง ... สติ ๒ คือ เป็นโลกียะ และ โลกุตตระ ฯ)


"สัทธามั่นคง" ซึ่งสัมปยุตในอินทรีย์ ๔ เหล่านี้ ให้สำเร็จอยู่ในบุพพภาค หรือ ในขณะแห่งมรรคใด ธรรมชาตินี้ ... เป็น "สัทธินทรีย์" ในอินทรีย์ อันมี "สตินทรีย์" เป็นต้น เหล่านั้น ฯ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศเพราะมีสัทธา เป็นอธิบดี อันใดนี้เป็น ฉันทสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะความเป็น คือ การข่มกิเลสทั้งหลาย ด้วยกำลัง คือ การบริกรรม หรือ ด้วยกำลัง คือ ภาวนา นี้เป็นเหตุละ ฯ เมื่อจิตตุบาทนั้นตั้งมั่นแล้ว ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ วิตก วิจารสัญญา เวทนา การระลึก และการตรึกอันใด ธรรมเหล่านี้ เป็นสังขาร ฯ
ฉันทสมาธิ อันมีในกาลก่อน และสังขารเหล่านี้ เป็นเหตุละญาณทั้ง ๒ นั้น ย่อมยังอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อสละ ให้เกิดขึ้น ฯ ในการเจริญ ฉันทิทธิบาท นั้น ... .
ความที่จิตมีอารมณ์อันเลิศ เพราะวิริยาธิปติ อันใดนี้เป็น วิริยสมาธิ ... ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะจิตตาธิปติ อันใดนี้เป็น จิตตสมาธิ ... ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะ วิมังสาธิปติ อันใดอันนี้ เป็นวิมังสาสมาธิ ... ฯลฯ


ความที่จิตตั้งมั่นแล้ว เพราะความเป็น คือ การข่มกิเลสทั้งหลาย ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา คือ กำลังแห่งการบริกรรม หรือ ด้วยกำลังแห่งภาวนา นี้ชื่อว่า ปาหานะ (คือ การละ) ฯ
ในการละนั้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ วิตก วิจาร สัญญา เวทนา การระลึก การตรึก อันใด ... ธรรม เหล่านั้น เป็นสังขาร ฯ ด้วยประการฉะนี้ สมาธิจิตอันมีในกาลก่อน และวีมังสาสมาธิ ย่อมยัง อิทธบาท อันประกอบด้วย วีมังสาสมาธิปธานสังขาร อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ น้อมไปเพื่อการสละ ... ให้เกิด ฯ
สมาธิทั้งปวง คือ สมาธิ ๔ ได้แก่ ฉันทสมาธิ วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วีมังสาสมาธิเป็นมูลแห่งปัญญาในส่วนเบื้องต้น เป็นเครื่องบรรลุและเป็นไปในภายหลัง ในการพิจารณา คือ สมาธิในกาลก่อน ฉันใด สมาธิในภายหลัง ก็ฉันนั้น ฯลฯ
เมื่อเป็นไปแล้ว ด้วยจิตอันเปิดเผย ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องปกปิดอย่างนี้ ย่อมยัง มรรคจิต ... (สปฺปภาสํ) อันสัมปยุตด้วยอิทธิบาท ให้เกิดขึ้น
กุศล ที่เป็นอินทรีย์ ๕ ซึ่งเกิดพร้อมกับมรรคจิตเมื่อจิตเกิด ก็ย่อมเกิด เมื่อจิตดับ ก็ย่อมดับ ฯ นาม และ รูป ที่เกิดเพราะวิญญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัยนามรูปนั้น ก็ย่อมดับ เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ ฯ
เหตุ คือ ตัณหาเป็นต้นแห่งวิญญาณนั้น อันมรรคเข้าไปตัดขาดแล้ววิญญาณนั้น ก็ไม่มีอาหาร (ไม่มีปัจจัย) ไม่มีเหตุให้ยินดี ไม่มีปฏิสนธิย่อมดับไป ฯ
ปัญญา สติ นาม รูป ย่อมดับไป เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ อย่างนี้
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า "ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ถามแล้วแก่ท่าน นาม และ รูป ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ณ ที่ใด สติ และ ปัญญา นี้ ย่อมดับไป ณ ที่นั้น เพราะการดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้ ฯ

ข้อความบางตอนจากหนังสือ "เนตติปกรณ์" รจนาโดย ท่านพระมหากัจจายนะ แปลโดยอาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์

ขออนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย พุทธรักษา  วันที่ 14 มี.ค. 2552

จากข้อความข้างต้น.
ในการเป็นกลุ่ม ของนามรูป กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น อันใด อุปาทานขันธ์ ๕ อันนั้น เป็นนามรูปนี้ ฯ ในนามรูปนั้น ธรรมใดมีผัสสะเป็นที่ ๕ ธรรมนี้ เป็นนาม รูปอินทีย์ ๕ อันใด อินทรีย์ ๕ นี้ เป็นรูป นามและรูป ทั้ง ๒ นั้นชื่อว่า นามรูป ซึ่งเกิดพร้อมกับวิญญาณ ฯ
ขอเรียนถามว่า ข้อความที่ขีดเส้นใต้ หมายความว่าอะไรคะ

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย prachern.s  วันที่ 16 มี.ค. 2552
ท่านกล่าวถึงนามรูป ในขันธ์ ๕ อันเป็นที่ยึดถือนี้เองไม่ใช่นามรูปอื่นนามธรรมมีมาก แต่ท่านยกมาเป็นตัวอย่างคือ เวทนา สัญญา เจตนา จิตและผัสสะ ธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ คืออย่างนี้ บางนัยอาจใช้คำว่าธรรมหมวด ๕ มีผัสสะ เป็นต้น ก็มี ทั้งหมดเป็นนามธรรมส่วนรูปอินทรีย์ ๕ ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปสาทรูป๕) และนามรูปทั้งหมดดับไปไม่มีเหลือ พร้อมกับการดับไปแห่งสติและปัญญาซึ่งหมายถึงการดับขันธปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย..

ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ